สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 พ.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 417,370 - [22 พ.ย. 67, 23:25]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 201: 4 ก.ค. 55, 18:10
อ้างถึง: nongconnon posted: 04-07-2555, 17:36:08

+++        +++


คับน้า nongconnon
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 202: 4 ก.ค. 55, 18:11
วงศ์กบนา หรือ วงศ์กบแท้ (อังกฤษ: True frog; วงศ์: Ranidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ
วงศ์กบนา หรือ วงศ์กบแท้ (อังกฤษ: True frog; วงศ์: Ranidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ranidae

กบในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายมีส่วนปลายนิ้วเรียวยาวหรือเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องจะงอยปากและมีฟัน ช่องเปิดของเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างของด้านซ้ายลำตัว

มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ กบโกไลแอท (Conrana goliath) ที่พบในทวีปแอฟริกาที่มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิด บางสกุลมีลำตัวอ้วนป้อมและอาศัยอยู่ในโพรงดิน บางชนิดอาศัยอยู่ในลำธารที่กระแสน้ำไหลแรงและว่ายน้ำได้ดีมาก ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในหลายสกุล

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 203: 4 ก.ค. 55, 18:12
กบทูด หรือ กบภูเขา หรือ เขียดแลว (อังกฤษ: Kuhl's Creek Frog, Giant Asian River Frog, ชื่อวิทยาศาสตร
กบทูด หรือ กบภูเขา หรือ เขียดแลว (อังกฤษ: Kuhl's Creek Frog, Giant Asian River Frog, ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnonectes blythii) เป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ในประเทศไทย  ความยาวจากปลาย ปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยพบภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา, อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในกัมพูชา, ลาว, เวียดนาม

มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุดสีดำ น้ำตาลเข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่ามันสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวของมันจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้ตายได้

ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย

ฤดูผสมพันธุ์ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่มันขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร

กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยทางกรมประมง เช่น สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติและกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 204: 4 ก.ค. 55, 18:14
อึ่งอ่างบ้าน หรือ อึ่งยาง หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า อึ่งอ่าง (อังกฤษ: Asian painted frog, Chub
อึ่งอ่างบ้าน หรือ อึ่งยาง หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า อึ่งอ่าง (อังกฤษ: Asian painted frog, Chubby frog, Banded bull frog, Rice frog, Bubble frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaloula pulchra) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae)

มีลำตัวอ้วนกลม ไม่มีคอ หัวกว้าง และปลายปากแหลมไม่มาก ขาและแขนค่อนข้างสั้น มีความยาวไล่เลี่ยกัน นิ้วมือและนิ้วเท้า ตอนปลายแผ่แบน และตัดตรงทางด้านหน้า ผิวหนังเรียบลื่น มีปุ่มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วหลังและมากในขาคู่หลัง ใต้ฝ่าเท้ามีแผ่นแข็งยาวสองแผ่นใช้ใน การขุดดิน ลำตัวด้านหลังสีออกน้ำตาลคล้ำ หรือน้ำตาลแกมแดง มีลายแถบกว้างสีน้ำตาลอ่อนพาด ตั้งแต่เหนือลูกตาจนถึงโคนขาทั้งสองข้าง ตรงปลายบนสุดแต่ละแถบยังเชื่อมต่อกันระหว่างลูก ตาทั้งสองข้าง ปลายล่างสุดในบางตัวลายแถบจะแตกออกเป็นปื้น ๆ แต่ยังอยู่ในแนวเดิม ใต้ ท้องสีออกคล้ำ โดยเฉพาะใต้คางมีสีเกือบดำ บริเวณอื่น ๆ เป็นลายตาข่ายสีออกม่วงคล้ำ ๆ เห็นไม่ชัดเจนนัก ยกเว้นในบางตัวที่มีขนาดใหญ่มาก

มีขนาดความยาวจัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 58–70 มิลลิเมตร มีอายุยืนเต็มที่ประมาณ 10 ปี

มีการแพร่กระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่อินเดีย, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, พม่า, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, ไทย จนถึงคาบสมุทรมลายู

ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ด้วยการขุดดินลึกลงไปซ่อนตัวอยู่ เลือกดินที่ชื้นและร่วนซุย เมื่อฝนตกจึงจะออกมาหากินเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน มักพบในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อถูกรบกวนจะพองตัวออกจนกลมป่องคล้ายลูกบอล เสียงร้องจะเรียงเสียงว่า "อึ่ง ๆ " อันเป็นที่มาของชื่อเรียก

ในช่วงชุกชุมมักถูกจับกินเป็นอาหารสำหรับบางพื้นที่
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 205: 4 ก.ค. 55, 18:19
ชื่อ                             เขียดตะปาด

ชื่อสามัญ                      Common Bush Frog

ชื
ชื่อ                            เขียดตะปาด

ชื่อสามัญ                      Common Bush Frog

ชื่อวิทยาศาสตร์              Rhocoprus leucomystax

ลักษณะ
   

          เขียดตะปาด  เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (สะเทินน้ำสะเทินบก) ยาวประมาณ ๖๐ - ๗๐ มิลลิเมตร ลำตัวมีหลายสี ตั้งแต่ขาว  เหลือง  ชมพู เทา น้ำตาล จนถึงน้ำตาลเข้ม ปลายนิ้วเท้าแผ่เป็นแผ่นกลม มีแผ่นหนังผืดระหว่างนิ้วเท้าเท่านั้น แต่ไม่มีในนิ้วมือ  ด้านหลังระหว่างลูกตาผิวหนังจะแบนราบลงจนติดกระโหลก  ทำให้บริเวณกกหูด้านหลังมีลักษณะเป็นสันยาว

แหล่งที่พบ
    ตามแอ่งน้ำขัง สระน้ำ กระถางต้นไม้ ในโอ่งน้ำ และป่าทุกประเภท

ความสัมพันธ์กับชุมชน
    เขียดตะปาดกินแมลงตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ตามชายน้ำ เป็นการช่วยระบบนิเวศได้ดี

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
  นิยมนำมาจำหน่ายเพื่อใช้ประกอบอาหาร
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 206: 4 ก.ค. 55, 18:21
ชื่อท้องถิ่น: เขียดขาคำ 
ชื่อสามัญ: อึ่งขาคำ 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Painted chorus frog 
ชื่อวงศ์: Mic
ชื่อท้องถิ่น: เขียดขาคำ
ชื่อสามัญ: อึ่งขาคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Painted chorus frog
ชื่อวงศ์: Microhyla pulchra
ประเภทสัตว์: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ลักษณะสัตว์: เป็นอึ่งขนาดเล็ก หัวเล็ก หน้าสั้น ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเทา น้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลือง หรือสีน้ำตาลแดง มีลายรูปน้ำเต้าสีน้ำตาลเข้มและอ่อนเรียงเป็นชั้น บริเวณตะโพกมีลายจุดสีน้ำตาลเข้ม ท้องและซอกขาหลังสีเหลืองสด อกสีขาว ตัวผู้คางสีดำ ขามีลายพาดขวางสีน้ำตาลเข้ม ตัวผู้คางสีดำ ปลายนิ้วเรียว เท้าหลังมีพังผืดเต็มความยาวนิ้ว
ปริมาณที่พบ: น้อย
การใช้ประโยชน์: -
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: ประกอบอาหาร
แหล่งที่พบ: พื้นที่แฉะเช่น ขอบ นา หนอง คลอง บึง
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: -
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ทุกฤดูกาล
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 207: 4 ก.ค. 55, 18:23
เขียดลาว (ชื่อสามัญ)
กบภูเขา (ชื่อสามัญ)
Rana blythii (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BLYTH'S MOUNTAIN FROG (ช
เขียดลาว (ชื่อสามัญ)
กบภูเขา (ชื่อสามัญ)
Rana blythii (ชื่อวิทยาศาสตร์)
BLYTH'S MOUNTAIN FROG (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)


ลักษณะทั่วไป

เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวค่อนข้างยาว หัวกลมรีรูปไข่ จะงอยปากค่อนข้างแหลมจมูกอยู่ใกล้กับปลายจะงอยปาก นัยน์ตาโตและมีหนังตาปิดเปิดได้ ขาคู่หน้าสั้น มีนิ้ว 4 นิ้ว ขาคู่หลังยาวมี 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีลักษณะเป็นตุ่มกลม ระหว่างนิ้วมีพังผืดใช้ในการว่ายน้ำ ที่เราเรียกว่า "ตีนกบ" ผิวหนังโดยทั่วไปเรียบ จะมีเม็ดสิวขนาดเล็กอยู่บริเวณขาหลังและใต้คาง สีของหัว หลังและข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม ริมฝีปากบนและล่างมีจุดสีดำขนาดใหญ่หลายจุด ขอบปากล่างมีเส้นสีเหลืองแบ่งเขตระหว่างส่วนในปากและส่วนนอก ขาคู่หลังมีพื้นสีน้ำตาลและสีน้ำตาลแก่พาดขวางขา ทำให้ดูเป็นปล้อง ส่วนของท้องและใต้ขาเป็นสีขาวปนเหลือง บริเวณด้านหน้าของอกมีจุดสีดำจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ลูกกบภูเขาที่ยังไม่เจริญวัยนั้น สันหลังจะมีแถบสีขาวพาดตามยาวลำตัว เริ่มจากปลายจะงอยปากถึงรูก้น เขียดแลวตัวผู้ไม่มีถุงเสียง แต่สามารถส่งเสียงร้องได้ดังกังวาลคล้ายเสียงร้องของวัว เป็นเสียงที่ใช้เรียกหาตัวเมียให้มาผสมพันธุ์ เสียงร้องของกบตัวผู้จะมีเสียงดังแตกต่างกันไปตามชนิดของกบ กบทุกเพศจะร้องดังได้เหมือนกันเมื่อได้รับอันตราย การแยกเพศสังเกตจากตำแหน่งปุ่มกระดูกขากรรไกรล่างที่ยื่นแหลมออกมาคล้ายเขี้ยว ตัวผู้เขี้ยวจะอยู่บริเวณด้านหน้าของขากรรไกร ส่วนตัวเมียเขี้ยวจะอยู่ลึกเข้าไปในปาก



ถิ่นอาศัย

อยู่ในบริเวณลำธารและน้ำตกบนภูเขาในป่าลึก พบที่แม่ฮ่องสอน ภาคใต้พบที่ยะลา และกาญจนบุรี



อาหาร

กินแมลง ลูกปลา ลูกกุ้งและตัวแมลงอ่อน



ขนาด

ความยาวประมาณ 10-28 ซ.ม.



ประโยชน์

เนื้อมีรสชาติดี แต่เป็นสัตว์คุ้มครองตามกฎหมาย
กระทู้: 11
ความเห็น: 2,769
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 01-07-2554
ความเห็นที่ 208: 4 ก.ค. 55, 18:24
ความรู้เพียบ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 209: 4 ก.ค. 55, 18:24
เพิ่มเติมคับ 
ปลามรกต  ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิด
เพิ่มเติมคับ
ปลามรกต  ในปัจจุบัน มีการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและข้ามสกุลกัน จนได้เป็นลูกปลาพันธุ์ผสมชนิดใหม่ที่ให้ผลผลิตดี โดยใช้ชื่อในทางการค้าว่า "ปลามรกต" หรือ "เขียวมรกต" นิยมเลี้ยงกันมากโดยเฉพาะในภาคอีสานของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 210: 4 ก.ค. 55, 18:29
อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Glyphoglossus molossus; อังกฤษ: Truncate-snouted burrowin
อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Glyphoglossus molossus; อังกฤษ: Truncate-snouted burrowing frog, Balloon frog) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง จำพวกอึ่งอ่าง

จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Glyphoglossus

มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอางชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน

อึ่งปากขวด พบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน โดยจะทำการผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ จะหากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง

อึ่งปากขวด ไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ทว่าในสถานะปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะการถูกจับมาบริโภคและสภาพแวดบ้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันกรมประมงได้ทำการสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 211: 4 ก.ค. 55, 18:31
อึ่งอ่างผี 
“อึ่งผี” สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า หน้าตาเหมือนผีและใกล้สูญพันธุ์แล้ว แต่กรมประมงอนุรักษ์ ไ
อึ่งอ่างผี
“อึ่งผี” สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า หน้าตาเหมือนผีและใกล้สูญพันธุ์แล้ว แต่กรมประมงอนุรักษ์ ไว้ ถูกนำมาโชว์ในงานประมงน้อมเกล้า ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย. ที่อิมแพค เมืองทองธานี

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 212: 4 ก.ค. 55, 18:32
คางคก (อังกฤษ: Toad, วงศ์: Bufonidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช
คางคก (อังกฤษ: Toad, วงศ์: Bufonidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae

ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน

มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส

คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโทท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย  เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ

คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด อาทิ จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansoia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 213: 4 ก.ค. 55, 18:33
อ้างถึง: lucky_ผีเบ็ด posted: 04-07-2555, 18:24:05

ความรู้เพียบ


ขอบคุณคับน้า lucky_ผีเบ็ด
กระทู้: 107
ความเห็น: 59,725
ล่าสุด: 19-11-2567
ตั้งแต่: 16-08-2544
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 214: 4 ก.ค. 55, 18:54
กระทู้: 0
ความเห็น: 127
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 15-11-2553
ความเห็นที่ 215: 4 ก.ค. 55, 19:01
มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้ ขอบคุณน้าที่นำมาให้ชม สวดยวดเลยลวกเพ่
กระทู้: 1
ความเห็น: 158
ล่าสุด: 18-11-2567
ตั้งแต่: 26-12-2554
zondaa(9 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 216: 4 ก.ค. 55, 19:17
ตามชมคร้าบ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 217: 4 ก.ค. 55, 19:36
อ้างถึง: A21 posted: 04-07-2555, 18:54:31



ขอบคุณคับน้า A21
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 218: 4 ก.ค. 55, 19:36
อ้างถึง: elephanteye posted: 04-07-2555, 19:01:35

มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้ ขอบคุณน้าที่นำมาให้ชม สวดยวดเลยลวกเพ่


ขอบคุณคับน้า elephanteye
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 219: 4 ก.ค. 55, 19:37
อ้างถึง: zondaa posted: 04-07-2555, 19:17:51

ตามชมคร้าบ


ขอบคุณคับน้า zondaa
กระทู้: 0
ความเห็น: 28
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 12-06-2554
ความเห็นที่ 220: 4 ก.ค. 55, 20:14
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับน้าชอบมากเลยครับ อึ่งอ่างผีผมพึ่งรู้นี่แหล่ะครับ อ่านแล้วรู้สึกเกิดความอนุรักษ์สัตว์น้ำไปในตัวเลยครับ
กระทู้: 43
ความเห็น: 39,613
ล่าสุด: 10-05-2567
ตั้งแต่: 27-07-2552
ความเห็นที่ 221: 6 ก.ค. 55, 21:53
+1 สวัสดีครับ ตามชมครับ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 222: 7 ก.ค. 55, 20:17
อ้างถึง: NoviceFishing posted: 04-07-2555, 20:14:46

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับน้าชอบมากเลยครับ อึ่งอ่างผีผมพึ่งรู้นี่แหล่ะครับ อ่านแล้วรู้สึกเกิดความอนุรักษ์สัตว์น้ำไปในตัวเลยครับ


คับผมก็พึ่งรู้จักเหมือนกันคับน้าNoviceFishing
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 223: 7 ก.ค. 55, 20:18
อ้างถึง: เก่งแหลมฉบัง posted: 06-07-2555, 21:53:49

+1 สวัสดีครับ ตามชมครับ


คับน้า เก่งแหลมฉบัง
กระทู้: 0
ความเห็น: 33
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 13-12-2554
ความเห็นที่ 224: 7 ก.ค. 55, 22:21
กระทู้: 3
ความเห็น: 134
ล่าสุด: 17-04-2567
ตั้งแต่: 03-04-2554
ton007(69 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 225: 8 ก.ค. 55, 19:05
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?begin=200&onlyuserid=0&tid=648486