สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 396,308 - [28 เม.ย. 67, 22:12]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 126: 3 ก.ค. 55, 23:46
ปลาซ่ง หรือ ปลาซ่งฮื้อ หรือ ปลาหัวโต (อังกฤษ: Bighead carp, ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypophthalmichthys nobi
ปลาซ่ง หรือ ปลาซ่งฮื้อ หรือ ปลาหัวโต (อังกฤษ: Bighead carp, ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypophthalmichthys nobilis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypophthalmichthys

มีลักษณะแบบเดียวกับ ปลาลิ่น (H. molitrix) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน รวมทั้งมีขนาดและถิ่นกำเนิดในแหล่งเดียวกันอีกด้วย แต่ทว่าปลาซ่งจะมีส่วนหัวที่โตกว่าปลาลิ่น และส่วนท้องมนกลมไม่เป็นสันแคบเหมือนปลาลิ่น

ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยราวปี พ.ศ. 2465-พ.ศ. 2475 โดยเรือสำเภาของชาวจีนจากเมืองซัวเถา ต่อมากรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนและผสมเทียม ซึ่งปลาในธรรมชาติจะไม่วางไข่เอง ซึ่งจะทีชื่อเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจีน"

ปัจจุบัน ปลาในสกุล Hypophthalmichthys ทั้ง 2 ชนิด รวมทั้งปลาเฉา (Ctenopharyngodon idella) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของหลายประเทศในโลก รวมทั้งนิยมในการตกเป็นเกมกีฬา สำหรับในประเทศไทย เป็นที่นิยมรับประทานมากโดยเฉพาะชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีน และนิยมเลี้ยงปลาทั้ง 3 ชนิดนี้รวมกันในบ่อเพื่อกินแพลงก์ตอนที่ทำให้น้ำเขียว และกินมูลจากปลาชนิดอื่น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 127: 3 ก.ค. 55, 23:49
เพิ่มเติมคับ  :smile: :smile:
ปลาก้างพระร่วง ปลากระจก ปลาผี

ชื่อสามัญ Glass sheatfish

ชื่อวิท
เพิ่มเติมคับ 
ปลาก้างพระร่วง ปลากระจก ปลาผี

ชื่อสามัญ Glass sheatfish

ชื่อวิทยาศาสตร์  Kryptopterus  bicirrhis  (Valenciennes, 1840)

ลักษณะทั่วไปขอองปลาก้างพระร่วง

              ปลาก้างพระร่วงเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด รูปร่างด้านข้างแบนมาก ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย มีชื่อเรียกหลายชื่อตามท้องถิ่น อาทิ ภาคกลางเรียก ปลาก้างพระร่วง ปลากระจก ภาคใต้เรียก ปลาบาง ปลาผี ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ คือ เนื้อปลามีลักษณะโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัวได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาว และชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็ก และสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัว และกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ปลาก้างพระร่วงขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 – 15 ซม. ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม. อุปนิสัย เป็นปลาที่ชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ชอบน้ำค่อนข้างใส และไหลรินอยู่ตลอดเวลา เป็นปลาชอบความสงบเงียบ ตื่นตกใจง่าย กินอาหารค่อนข้างช้า เวลากลางคืนจึงออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10-20 ตัว อาหารที่เหมาะสมกับปลาชนิดนี้ได้แก่ ลูกน้ำ ไรแดง ไส้เดือน ตัวหนอน เป็นต้น พันธุ์ปลาก้างพระร่วงขณะนี้ใช้วิธีเก็บรวบรวมจากแหล่งธรรมชาติ เพราะยังเพาะขยายพันธุ์ยาก ในธรรมชาติพบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี

การแพร่กระจาย

              ถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบในลำห้วย ลำธาร อ่างน้ำตกแถวภาคใต้ ภาคตะวันออก และในแม่น้ำ บางแห่งบริเวณภาคกลางของประเทศเป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติทางภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฎธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา พบตามแหล่งน้ำไหล และเย็น มีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ เวลากลางคืนจึงออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10-20 ตัว มักอยู่เป็นที่ กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติพบมากในบริเวณ อำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือน มกราคม-พฤษภาคม ของทุกปี
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 128: 3 ก.ค. 55, 23:53
ปลาเฉา (อังกฤษ: Grass Carp, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ctenopharyngodon idella) หรือ เฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า เ
ปลาเฉา (อังกฤษ: Grass Carp, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ctenopharyngodon idella) หรือ เฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ctenopharyngodon

มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ส่วนหัวเล็กและกลมมน ในช่องคอมีฟันที่แข็งแรง ไม่มีหนวด ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอมทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง บริเวณฐานของเกล็ดบนของลำตัวส่วนมากมีสีคล้ำ

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1 เมตร แต่โดยเฉลี่ยจะยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ตัวผู้ในช่วงเจริญพันธุ์จะปรากฏตุ่มคล้ายสิวขึ้นมาที่ครีบอก และก้านครีบด้านในที่เป็นหยัก หัวและหน้าผาก

มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณแม่น้ำอามูร์ทางภาคตะวันออกของจีนและรัสเซีย กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำทุกชนิด โดยมักจะหากินตามก้นแม่น้ำ

ปัจจุบัน ถือเป็นปลาเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากมีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับปลาในสกุล Hypophthalmichthys รวมถึงเป็นปลาที่นิยมในการตกปลาอีกด้วย ซึ่งจะมีชื่อเรียกรวม ๆ กันในภาษาไทยว่า "ปลาจีน"

สำหรับในประเทศไทย ได้นำเข้ามาทางเรือสำเภาโดยชาวจีนผ่านทางฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2465 โดยได้ถูกนำเข้ามาเลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอาหาร ต่อมากรมประมงได้ทดลองเพาะขยายพันธุ์ด้วยการฉีดฮอร์โมนจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2509 จึงได้มีการขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ในประเทศได้สำเร็จจนถึงปัจจุบัน โดยที่ปลาจะไม่ไข่เองตามธรรมชาติแต่จะเกิดจากการฉีดฮอร์โมนกระตุ้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 129: 3 ก.ค. 55, 23:56
เพิ่มเติมคับ  :smile: :smile:

ปลาหมอบัตเตอร์ (อังกฤษ: Zebra tilapia, Zebra cichlid) ปลาน้ำจืดชนิด
เพิ่มเติมคับ 

ปลาหมอบัตเตอร์ (อังกฤษ: Zebra tilapia, Zebra cichlid) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia buttikoferi ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างคล้ายปลานิล (Oreochromis niloticus) ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเดิมก็เคยอยู่ในสกุล Tilapia นี้มาก่อน

จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก และพบมากที่สุดที่ประเทศไลบีเรีย มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว

สำหรับในประเทศไทย ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 130: 3 ก.ค. 55, 23:59
เพิ่มเติม คับ  :smile: :smile:

ปลาพลวงชมพู  (Tor douronensis)

              ปลาพลวงชมพู หรือปล
เพิ่มเติม คับ 

ปลาพลวงชมพู  (Tor douronensis)

              ปลาพลวงชมพู หรือปลาเงียน (smith.1945) มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า        "กือเลาะห์" หรือ "อีแกกือเลาะห์" สามารถจำแนกทางชีววิทยาได้ดังนี้


    Class : Pisces 
        Subclass : Teleoste 
            Order : Eventognathi 
                Family : Cyprinidae (Carps) 
                    Subfamily : Cyprininas 
                        Genus : Tor 


              ลักษณะปลาในตระกูล Tor จะมีลักษณะทั่วไปดังนี้คือ มีลำตัวเรียวยาวแบนข้างเล็กน้อย ปลายจมูก(snout)เป็นโหนก ปากอยู่ด้านล่าง รูปเกือกม้า ขากรรไกรบนแข็งแรงและยืดหดได้ ริมฝีปากหนาติดต่อกันทั้งข้างบนและข้างล่าง  ที่ริมฝีปากล่างอาจเจริญขึ้นเป็นพูตรงกลางมีหนวด 2 คู่ อยู่เหนือขากรรไกรบน 1 คู่ และที่ริมฝีปากบนก่อนถึงมุมปาก 1 คู่ มีเกล็ดที่เส้นข้างลำตัว 21-28เกล็ด ไม่มีร่องรับความรู้สึกที่หัว มีฟันที่หลอดคอ (pharyngeal teeth)  Tor douronensis Smith, 1945 (Mekhan), Suvatti, 1950, 273 (Mekhan), Weber, Max and Beaufort,L,F. (1913) ได้อธิบายลักษณะปลาพลวงชมพูนี้ว่า มีหนวด 1 คู่ เหนือขากรรไกรบนอีก 1 คู่ ที่ริมฝีปากก่อนถึงมุมปาก  หนวดยาวเป็นสองเท่าของความยาวตา  ริมฝีปากหนาและต่อเนื่องกันทั้งบนและล่าง  ที่ริมฝีปากล่างมีพูตรงกลางยาวไม่ถึงมุมปาก ปลายจมูก (snout) ไม่แหลม  ปลายจมูกจะนูนขึ้นเป็นโหนก ปากอยู่ด้านล่างเป็นรูปเกือกม้า ฐานครีบหลังจะเริ่มตรงกับเกล็ดที่ 6-7 บนเส้นข้างลำตัว ก้านครีบหลังที่ 3 ในส่วนที่เป็นกระดูกค่อนข้างแข็งสั้นกว่าหัว (วัดจากส่วนหัว ไม่รวม snout) ครีบก้นตัด (truncate) เล็กกว่าครีบหลัง  ยื่นไม่ถึงครีบหลัง  ฐานของครีบท้องห่างจากเส้นข้างลำตัว 2 เกล็ด มีความยาวเท่ากับหรือยาวกว่าครีบก้น และอยู่ห่างจากกัน ครีบอกสั้นกว่าครีบหลัง ครีบหางเป็นง่ามเว้าลึกแหลม  ที่รอบคอดหางมีเกล็ด 12 เกล็ด  เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ที่ฐานเกล็ดมีสีดำ ขอบเกล็ดค่อนข้างดำ เกล็ดบริเวณหลังสีเข้มกว่าบริเวณท้อง ที่ครีบจะมีสีแดงส้มปนดำเล็กน้อย
              พบได้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลางตอนใน บริเวณหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 และ 9 (เดิมเป็นบริเวณบ้านโต๊ะโม๊ะของ จคม.) และบริเวณต้นน้ำของเขื่อน โดยเฉพาะในสายที่มาจากเขาโต๊ะโม๊ะ คลองฮาราซะ และคลองกาบู(คลองน้ำใส) และสายที่ไหลมาจากประเทศมาเลเซีย ผ่านป่าบาลาฮาลา(ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีฯ)  ที่เรียกกันว่าคลองฮาลา ปลาพลวงชมพูมีชื่อเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างว่า “ ปลากือเลาะห์” หรือ “ อีแกกือเลาะห์” เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ ปลาเวียน และ ปลาพลวงหิน ที่เป็นที่รู้จักกันดีในภาคอื่นๆ  ตามธรรมชาติปลาชนิดนี้จะมีครีบสีส้มแดง เมื่อนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อสีจะจางลงจนเป็นสีชมพู
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 131: 4 ก.ค. 55, 00:10
ขอบคุณที่ตามชมคับ น้า
jakka
BULINO
pound
lek-3
bank-may
rayb0186
sky21
Eak_ลูกพระเจ้าตาก
vvvv
clashfan
wanna2940
บาสล่าหมี
ตัวกลมทีม
น้องฝน
ตูนเด็กวัด!
ธนาทร
นายชักช้า

ต้องขอตัวไปนอนก่อนนะคับ ดึกแล้ว ถ้าใครมีข้อมูลปลาไทยมาเพิ่มได้เลยนะคับผมเปิดช่องให้ใส่เพิ่มไว้ได้ 
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 132: 4 ก.ค. 55, 08:49
เพิ่มเติมคับ
ปลาหวีเกศ (อังกฤษ: Siamese schilbeid catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์
เพิ่มเติมคับ
ปลาหวีเกศ (อังกฤษ: Siamese schilbeid catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platytropius siamensis อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีรูปร่างคล้ายปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมรวมกัน ตัวเรียวยาว มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนหลังเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กมาก มีลักษณะเด่นคือ มีหนวดยาว 4 คู่ แต่หนวดจะแบนไม่เป็นเส้น คล้ายกับเส้นผมของผู้หญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ พบอาศัยอยู่เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเท่านั้น กินแมลงเป็นอาหาร ขนาดโตเต็มที่ราว 20 เซนติเมตร

เป็นปลาที่มีรายชื่ออยู่ในกาพย์แห่ชมปลา ของเจ้าฟ้ากุ้งนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันนี้ไม่มีรายงานพบในธรรมชาติมานานแล้ว จึงเชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือแต่เพียงซากที่ถูกดองเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยากรมประมง ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เก็บตัวอย่างได้จากตลาดปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 และสถาบันสมิธโซเนียนเท่านั้น

มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาสายยู"

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 133: 4 ก.ค. 55, 08:54
เพิ่มเติมคับ
ปลากดหลาว
(ชื่อสามัญ)
    TRUNCATED ESRTUARINE CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
    Ar
เพิ่มเติมคับ
ปลากดหลาว
(ชื่อสามัญ)
    TRUNCATED ESRTUARINE CATFISH (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
    Arius truncatus (ชื่อวิทยาศาสตร์)

ลักษณะทั่วไป
    ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด จัดอยู่ในจำพวก "ปลาหนัง" ส่วนหัวแบนราบลงเล็กน้อย ลักษณะเด่นของปลากดหลาวคือระหว่างจมูกทั้งสองคู่มีแผ่นเนื้อแข็ง ๆ กั้นกลาง นัยน์ตาเล็ก มีหนวดค่อนข้างยาว 3 คู่ ฟันบนเพดานปากมีขนาดเล็ก หางคอดเล็กน้อย ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ขอบหนามหยัก เป็นฟันเลื่อย มีครีบไขมันอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น พื้นลำตัวสีเหลือง หลังสีเทาเข้ม ท้องสีขาว ครีบหลังสีเทาเข้ม ปลายสีดำจาง ครีบหางสีเทาเข้ม ครีบอื่น ๆ สีเหลือง ปลากดหลาวอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ว่ายน้ำรวดเร็วและว่องไว เป็นปลาทะเลที่เข้ามาหากินอยู่ในน้ำจืด

ถิ่นอาศัย
อยู่บริเวณแหล่งน้ำกร่อยและอพยพมาอยู่ในน้ำจืด พบบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง

อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ขนาด
ความยาวประมาณ 16-33 ซ.ม.

ประโยชน์
นับได้ว่าเป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้นำมาบริโภคได้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 134: 4 ก.ค. 55, 09:00
เพิ่มเติมคับ
ปลากดทองคำ ( Mystus  bimaculatus )
      ชื่อสามัญ Two-spotted catfish
    ปลากดทองค
เพิ่มเติมคับ
ปลากดทองคำ ( Mystus  bimaculatus )
      ชื่อสามัญ Two-spotted catfish
    ปลากดทองคำจะมีลักษณะคล้ายกับปลาเทโพ คือ มีจุดสีดำเห็นได้ชัดเจนบริเวณคอ แต่มีรูปร่าง
ที่ต่างกันมาก และมีสีสันที่แตกต่างกันด้วย ขนาดของปลากดทองคำที่โตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 12 นิ้ว  มีสีสันที่สวยงามอร่าม ต้องใช้คำว่าอร่ามแหละครับ เพราะเวลามันอยู่รวมกันเป็นฝูงในตู้ปลาแล้วไปกระทบกับแสง เปรียบเสมือนว่าเราได้นำทองคำแท่งไปเก็บไว้ในตู้ปลา ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามเหนือคำบรรยายจริง ๆ ระดับเรา ๆ จะหาทองคำแท่งมาเป็นสมบัติประดับบารมี ยังคงเป็นเป็นไปได้ยาก สู้เลี้ยงปลากดทองคำให้เต็มตู้เสียเลยจะดีกว่า อย่างน้อยมันคงจะช่วยปลอบใจเราได้บ้าง
ปลากดทองเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นตู้ ว่ายน้ำรวดเร็ว นิสัยไม่ดุร้าย ไม่กัดกันเองและไม่กัดทำร้ายปลาอื่นๆ แต่จะกินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก ตลอดจนเศษกุ้ง เศษอาหารเม็ดจม ฯลฯ ตามพื้นตู้ได้เป็นอย่างดี
ถิ่นกำเนิด : เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
ถิ่นอาศัยยังไม่มีข้อมูล แต่จากที่ติดตามดูหนังสือของ น้าบุหลัน แล้ว พบบริเวณแม่น้ำแถวชายดนไทย-พม่า
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 135: 4 ก.ค. 55, 09:14
ปลาปักเป้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tetraodontiformes, อังกฤษ: Puffer, Sunfish, Triggerfish, Filefish) เป็น
ปลาปักเป้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tetraodontiformes, อังกฤษ: Puffer, Sunfish, Triggerfish, Filefish) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย

ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก

วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในเมืองไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 28 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 12 ชนิด

ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้[1]

ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น

กระทู้: 10
ความเห็น: 1,768
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 11-01-2555
HMX(311 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 136: 4 ก.ค. 55, 09:19
ติดตามชมครับ 
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 137: 4 ก.ค. 55, 09:20
สะนากยักษ์ สะนากปากเบี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aaptosyax grypus
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อย : Oxygast
สะนากยักษ์ สะนากปากเบี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aaptosyax grypus
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อย : Oxygastrini
ขนาด : 60-100 ซ.ม.
ลักษณะ : มีปากกว้าง ขากรรไกรโค้งคล้ายกรรไกรตัดหมาก ตามีเยื่อไขมันคลุม ลำตัวทรงกระบอก มีเกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบสีส้มเรื่อ ๆ
อาหาร : ปลาที่อยู่ตามผิวน้ำ
พฤติกรรม : ผสมพันธุ์ในฤดูแล้ง ลูกปลาเลี้ยงตัวในลำธารแม่น้ำสาขา
ถิ่นอาศัย : เฉพาะในแม่น้ำโขงและสาขาที่เป็นแก่งหิน
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 138: 4 ก.ค. 55, 09:21
ฝักพร้า ดาบลาว ท้องพลุ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macrocheilichthys macrocheilus
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อ
ฝักพร้า ดาบลาว ท้องพลุ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macrocheilichthys macrocheilus
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อย : Oxygastrini
ขนาด : 20-60 ซ.ม.
ลักษณะ : ลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ
อาหาร : ปลาขนาดเล็กและแมลง
พฤติกรรม : มักล่าเหยื่อใกล้ผิวน้ำ ว่ายน้ำได้เร็วมาก
ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและแหล่งน้ำหลาก ปัจจุบันพบน้อย ที่บึงบอระเพ็ดมีผู้พบเห็นเป็นบางครั้ง
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 139: 4 ก.ค. 55, 09:22
ขอบคุณคับน้า HMX 
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 140: 4 ก.ค. 55, 09:23
ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็น
ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta birostris) ที่พบได้ในทะเล โดยสามารถหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม กว้างได้ถึง 2.5-3 เมตร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura chaophraya เป็นปลากระเบนที่อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) ซึ่งเป็นปลากระเบนชนิดที่มีหางเรียวยาวเหมือนแส้ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8-10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ พบครั้งแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงถูกตั้งชื่อชนิด ว่า "เจ้าพระยา" (chaophraya) และยังพบในแม่น้ำสายอื่น ๆ เช่น แม่น้ำแม่กลอง, บางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี จนถึงออสเตรเลียตอนเหนือ

โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ พื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ

ปลากระเบนราหู ถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 1990 โดย ศ.ดร.สุภาพ มงคลประสิทธิ์ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ไทสัน โรเบิร์ตส์ แห่งสถาบันกองทุนสัตว์ป่าโลก

ปลากระเบนราหูมักถูกพบจับขึ้นมาชำแหละขายเสมอในจังหวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ชัยนาทจนถึงอยุธยา และปากแม่น้ำแม่กลอง ตามที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อย ๆ ตามหน้าสื่อหนังสือพิมพ์

จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 141: 4 ก.ค. 55, 09:25
เพิ่มเติมคับ 
ปลาสะนาก (อังกฤษ: Burmese trout) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า R
เพิ่มเติมคับ
ปลาสะนาก (อังกฤษ: Burmese trout) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลา
ลักษณะมีลักษณะ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีประสีน้ำเงินคล้ำ หางเว้าเป็นแฉกลึกสีแดงมีแถบสีดำใกล้ขอบบนและขอบล่าง ครีบหลังสีเหลืองอ่อนมีแต้มคล้ำ ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มแตกต่างจากตัวเมียโดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ และสีลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ขนาดประมาณ 15 - 45 เซนติเมตร

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินบริเวณผิวน้ำ ล่าเหยื่อได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู ต่าง ๆ เป็นปลาที่มีความว่องไว ปราดเปรียวมากและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีรูปร่างคล้ายปลาแซลมอน ที่พบในต่างประเทศ จึงได้ฉายาจากนักตกปลาว่า "แซลม่อนเมืองไทย"

ที่อยู่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคเหนือ, ภาคกลางและอีสาน มีชื่อเรียกต่างออกไปเช่น มะอ้าว ในภาษาไทยใหญ่ น้ำหมึกยักษ์, นางอ้าว, อ้าว, ดอกหมาก, ปากกว้างและจิ๊กโก๋ในภาษาอีสาน

เป็นปลาเศรษฐกิจที่พบบ่อยในบางฤดูกาล บริโภคโดยการปรุงสด และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามบางครั้งด้วย

กระทู้: 25
ความเห็น: 2,662
ล่าสุด: 11-04-2567
ตั้งแต่: 30-07-2550
ความเห็นที่ 142: 4 ก.ค. 55, 09:29
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 143: 4 ก.ค. 55, 09:31
ขอบคุณคับน้า ปฎิยุทธ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 144: 4 ก.ค. 55, 09:35
เกือบลืมปลาอร่อยอีกชนิดและ  :grin:

ปลาม้า (อังกฤษ: Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิท
เกือบลืมปลาอร่อยอีกชนิดและ 

ปลาม้า (อังกฤษ: Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae) มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวดต หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania[1]

มีความประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร

อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขงในภาคอีสาน โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย ซึ่งชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง"

พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรอดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า

ปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก

ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ สามารถส่งเสียงร้องได้เหมือนม้า จึงเป็นที่มาของชื่อ และกระเพาะของปลาม้า ขึ้นชื่อมากในการทำกระเพาะปลา เพราะมีกระเพาะขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถพองลมทำให้เกิดเสียงได้ นอกจากนี้แล้วกระเพาะปลาม้ายังใช้ทำเป็นยางในของรถจักรยานและทำกาวในอดีตอีกด้วย แต่ปลาม้าเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อจับพ้นจากน้ำ

นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย

กระทู้: 0
ความเห็น: 496
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 27-09-2554
ความเห็นที่ 145: 4 ก.ค. 55, 10:03
กระทู้: 0
ความเห็น: 1,101
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 22-10-2552
ความเห็นที่ 146: 4 ก.ค. 55, 10:09
+  ความรู้ทั้งนั้น     
กระทู้: 0
ความเห็น: 58
ล่าสุด: 23-04-2567
ตั้งแต่: 16-08-2546
ความเห็นที่ 147: 4 ก.ค. 55, 10:21
สวดยอด
กระทู้: 95
ความเห็น: 2,836
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 12-01-2552
woot_2513(2541 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 148: 4 ก.ค. 55, 11:00
+++1
กระทู้: 5
ความเห็น: 266
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-11-2549
tira(62 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 149: 4 ก.ค. 55, 11:03
เยี่ยมครับความรู้ล้วนๆ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 150: 4 ก.ค. 55, 11:17
ปลาหางนกยูง (อังกฤษ: Guppy) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata
ปลาหางนกยูง (อังกฤษ: Guppy) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

มีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วย

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

ปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น ทักซิโด้, กร๊าซ, คอบร้า, โมเสค , หางดาบ, นีออน เป็นต้น

จากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกัน

หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024