สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 396,259 - [28 เม.ย. 67, 12:37]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 151: 4 ก.ค. 55, 11:19
ขอบคุณคับน้า
หล่อได้อีก
fish-on
gonoi
woot_2513
tira
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 152: 4 ก.ค. 55, 11:21
ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหน
ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliida)

ปลาสอดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซุเอลา ที่สีสันในธรรมชาติจะเป็นสีน้ำเงินทึม ๆ หรือสีเขียววาว ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่สวยกว่าตัวเมีย รวมทั้งครีบต่าง ๆ ที่ใหญ่ยาวกว่า ขณะที่ลำตัวของตัวเมียนั้นจะใหญ่กว่า ท้องอูมป่องกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นฝูง โดยกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย, พืชน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงต่าง ๆ เช่น ลูกน้ำ เป็นต้น โดยบางครั้งอาจพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อย

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1907 ได้มีการนำเข้าปลาสอดจากเม็กซิโกเข้าไปในเลี้ยงในฐานะปลาสวยงามที่ประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงแพร่ต่อไปยังสหรัฐอเมริกา มีการเพาะขยายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์จนได้สายพันธุ์ใหม่ ที่สวยงามและมีลักษณะต่างจากปลาในธรรมชาติอย่างน้อย สายพันธุ์ เช่น เพลตี้ ใช้สำหรับเรียกปลาสายพันธุ์ที่มีสีทองทั้งตัว

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1965 ปลาสอดได้รับการผสมเพื่อให้ได้สายพันธุ์แปลก ๆ จากเดิมที่มีลักษณะ โดยเฉพาะได้สายพันธุ์ที่มีครีบหลังสูงใหญ่คล้ายใบเรือ เรียกว่า เซลฟิน ถือเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก แต่ลูกที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยเหมือนพ่อแม่ กลับไปเหมือนบรรพบุรุษดั้งเดิมของคือ มีกระโดงครีบหลังสั้นและเล็กเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะปลาสอดเซลฟินไม่ใช่สายพันธุ์แท้ แต่เป็นพันธุ์ผสมหรือพันธุ์ทาง อย่างไรก็ตามปลาสอดเซลฟินคู่ที่ดี อาจจะให้ลูกสายพันธุ์แท้คือมีกระโดงใหญ่เหมือนพ่อแม่ ได้ประมาณร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 90

และก็ยังมีสายพันธุ์ที่มีสีดำทั้งตัว เรียกว่า มิดไนต์ เป็นต้น ในปัจจุบันยังมีปลาสายพันธุ์ที่พิการ โดยที่มีลำตัวสั้นอ้วนกลมคล้ายลูกบอล แต่นิยมเลี้ยงกันเรียกว่า ปลาบอลลูน

ปลาสอดจะเติบโตได้ดีและให้ลูกได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่สุด 22 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ 24 องศาเซลเซียส โดยปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุด เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส ปลาตัวเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะออกลูกทุก ๆ 4 สัปดาห์ ปกติจะออกลูกคราวละ 2-200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะออกลูกคราวละ 20 ตัว
กระทู้: 0
ความเห็น: 414
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 08-12-2554
ความเห็นที่ 153: 4 ก.ค. 55, 11:23
+++มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับผม เยี่ยมเรยครับ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 154: 4 ก.ค. 55, 11:26
ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจาระเม็ดน้ำจืด (อังกฤษ: Pacu) เป็นชื่อสา
ปลาเปคู หรือ ปลาคู้ หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจาระเม็ดน้ำจืด (อังกฤษ: Pacu) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา

ปลาเปคูมีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาเปคูนั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาเปคูจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว

อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาเปคูแม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด

ปลาเปคูมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น


รูปแสดงให้เห็นถึงฟันของปลาเปคูปลาที่ได้ชื่อว่าเปคู จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่

สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาเปคูที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 155: 4 ก.ค. 55, 11:27
อ้างถึง: kukky^^ posted: 04-07-2555, 11:23:43

+++มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับผม เยี่ยมเรยครับ


ขอบคุณคับน้าkukky^^
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 156: 4 ก.ค. 55, 11:33
เพิ่มเติมคับ

ปลาจิ้มฟันจระเข้ (อังกฤษ: Pipefish) คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Sy
เพิ่มเติมคับ

ปลาจิ้มฟันจระเข้ (อังกฤษ: Pipefish) คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Syngnathinae ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำและมังกรทะเล

ปลาจิ้มฟันจระเข้ มีลักษณะและพฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับปลาชนิดอื่นและสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน กล่าวคือ มีปากที่ยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยม แต่ยาวเรียวมากดูคล้ายกิ่งไม้ ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีน้ำตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวางในบางชนิด

หากแต่ปลาจิ้มฟันจระเข้ จะพบได้แม้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยด้วย ซึ่งผิดไปจากปลาในวงศ์เดียวกันนี้ส่วนใหญ่

มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึงฟุตกว่า ๆ ในชนิด ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja) ที่พบในน้ำจืด เป็นต้น

มีทั้งหมด 52 สกุล

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการนำไปทำเป็นยาจีนเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำอีกด้วย ในการถ่ายภาพใต้น้ำในแนวปะการัง เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Corythoichthys haematopterus)เป็นต้น



กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 157: 4 ก.ค. 55, 11:39
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (อังกฤษ: Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dory
ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (อังกฤษ: Freshwater pipefish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Doryichthys boaja อยู่ในวงศ์ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathidae) วงศ์ย่อย Syngnathinae มีรูปร่างแปลกไปจากปลาทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกิ่งไม้ สัณฐานเป็นเหลี่ยม เกล็ดได้เปลี่ยนรูปกลายเป็น แผ่นกระดูกแข็ง เป็นข้อรอบตัว จะงอยปากยื่นแหลม ปลายปากคล้ายปากแตร ไม่มีฟัน ใช้ปากดูดอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว และมีลายดำเป็นวงทั่วตัว ว่ายน้ำเชื่องช้า อาหารได้แก่ แมลงน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก และแพลงก์ตอนสัตว์ มีความยาวประมาณ 16 - 47 เซนติเมตร

ปลาในวงศ์นี้ โดยมากเป็นปลาทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด มีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อวางไข่ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องโดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่หน้าท้องตัวผู้ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว

จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ พบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ในแม่น้ำลำคลองและหนอง บึง ทางน้ำติดต่อกับแม่น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศ สำหรับภาคใต้พบมากในส่วนของทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลา

ไม่ใช้สำหรับการบริโภค แต่ในสูตรยาจีน ใช้ตากแห้งเพื่อเป็นสมุนไพรทำยาเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นชนิดที่เลี้ยงยากมาก เนื่องจากปากมีขนาดเล็ก ผู้เลี้ยงจึงหาอาหารให้กินได้ลำบาก

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 158: 4 ก.ค. 55, 11:42
ขอแทรกพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่นบ้างนะคับ

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic So
ขอแทรกพันธุ์สัตว์น้ำชนิดอื่นบ้างนะคับ

ตะพาบสวน หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย (อังกฤษ: Asiatic Softshell Turtle, Malayan Softshell Turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amyda cartilaginea เป็นตะพาบชนิดที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, พม่า, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย

จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Amyda

มีลักษณะสีกระดองสีเขียว ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีบันทึกว่ามีน้ำหนักสูงสุดถึง 40 กิโลกรัมที่เวียดนาม[2] เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม

พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา"

สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็นอาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวัน (Trionyx sinensis) ไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า

นอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามเพื่อความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในตัวที่มีจุดกระเหลืองเป็นจำนวนมาก จะถูกเรียกว่า "ตะพาบข้าวตอก" หรือ "ตะพาบดาว" ซึ่งอาจจะมีจุดเหลืองเหล่านี้จวบจนโตโดยไม่หายไป ซึ่งตะพาบที่มีลักษณะเช่นนี้ จะถูกเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx nakornsrithammarajensis (วิโรจน์, 1979) ซึ่งมีรายงานว่าพบในภาคใต้ของไทย เช่นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 159: 4 ก.ค. 55, 11:44
ตะพาบม่านลาย (อังกฤษ: Nutaphand's Narrow Headed Softshell Turtle) เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใ
ตะพาบม่านลาย (อังกฤษ: Nutaphand's Narrow Headed Softshell Turtle) เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra chitra มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว เมื่อขนาดเล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน โดยสีสันนั้นอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วงก็ได้ บนกระดองลายแถบจะพาดผ่านส่วนหัวยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร ความกว้างของกระดอง 1 เมตร และหนักถึง 100-120 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียครึ่งต่อครึ่ง เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี แม่น้ำแม่กลอง, จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย

ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้

สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยงอย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายได้สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้วในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ผสมพันธุ์ในน้ำและขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ตะพาบม่านลายอัตราการเจริญเติบโตเทียบกับเต่าหรือตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก

และในต้นปี พ.ศ. 2553 แม่พันธุ์ตะพาบม่านลายของกรมประมงก็ได้วางไข่สูงสุดถึง 305 ฟอง ซึ่งนับว่ามากสุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาฟัก 61-70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิด เป็นอัตราการฟักประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ซึ่งทางกรมประมงตั้งเป้าหมายจะเพาะขยายพันธุ์ให้มากขึ้นกว่านี้เพื่อจะได้ปล่อยลูกตะพาบลงสู่ธรรมชาติ เพื่อมิให้เกิดการสูญพันธุ์นอกจากนี้แล้ว ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น

โดยที่ตะพาบม่านลายชนิดนี้เดิมถูกจัดเป็นชนิดเดียวและใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกับ ตะพาบม่านลายอินเดีย (C. indica) ซึ่งเป็นชนิดที่พบในอินเดียและปากีสถาน แต่ทว่าได้ถูกอนุกรมวิธานใหม่จาก น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย เมื่อปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โดยแยกออกเป็นชนิดใหม่
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 160: 4 ก.ค. 55, 11:45
ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pel
ตะพาบหัวกบ (อังกฤษ: Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys cantorii มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบ (Pelochelys spp.) นี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก

เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส

มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่"

ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง
กระทู้: 2
ความเห็น: 151
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 07-08-2552
nphon_yeth(30 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 161: 4 ก.ค. 55, 11:48
ได้ความรูมากเลยครับ ขอบคุณนะครับ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 162: 4 ก.ค. 55, 11:48
ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan Solf-Shell Turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศา
ตะพาบแก้มแดง (อังกฤษ: Malayan Solf-Shell Turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dogania subplana จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายดวงตากระจายไปทั่วกระดองเห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม ตะพาบชนิดนี้มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก

จัดเป็นตะพาบเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dogania[2]

ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต หนักประมาณ 15 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า, มาเลเซีย, บรูไน, สุมาตรา, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก, กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้ แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง

ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝาดำ"

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 163: 4 ก.ค. 55, 11:50
เต่าหับ (อังกฤษ: Asian box turtle) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuora ambo
เต่าหับ (อังกฤษ: Asian box turtle) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuora amboinensis มีรูปร่างคล้ายเต่านา (Malayemys subtrijuga และ M. macrocephala) แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็นสองตอน ซึ่งเรียกว่าแผ่น สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร

สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์

เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

มีสายพันธุ์ย่อย ถึง 4 ชนิด ได้แก่ C. a. lineata พบในพม่า, C. a. amboinensis พบในอินโดนีเซีย, ซูลาเวสี, C. a. couro พบในสุมาตรา, ชวา, บาหลี และ C. a. kamaroma พบในไทย, มาเลเซีย

นอกจากนี้แล้ว เต่าหับยังมีความแตกต่างหากหลายทางสีสันและลวดลายต่าง ๆ ออกไปอีก

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 164: 4 ก.ค. 55, 11:51
อ้างถึง: nphon_yeth posted: 04-07-2555, 11:48:51

ได้ความรูมากเลยครับ ขอบคุณนะครับ


ขอบคุณคับน้า nphon_yeth
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 165: 4 ก.ค. 55, 11:52
เต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (อังกฤษ: Elongated tortoise) เป็นเต่าบกชนิด
เต่าเหลือง หรือ เต่าเทียน หรือ เต่าแขนง หรือ เต่าขี้ผึ้ง (อังกฤษ: Elongated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indotestudo elongata

จัดเป็นเต่าบกขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงพอสมควร ทั่วตัวมีสีขาวหรือเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มีแต้มสีดำบ้างประปราย ขอบกระดองของบางตัวมีสีเหลืองใสดูคล้ายขี้ผึ้งหรือเทียน จึงเป็นที่มาของชื่อ ในบางตัวเมื่อโตเต็มที่อาจมีสีน้ำตาลแก่ปน ขามีสีเทาดำ ขาหน้ามีเกล็ดใหญ่ ๆ อยู่ด้านบน ขาหลังสั้นทู่ ขาหน้าและขาหลังไม่มีพังผืดระหว่างนิ้ว แต่มีนิ้วแข็งแรงมาก ตัวผู้มีเกล็ดกระดองเว้าและลึก ขณะที่ตัวเมียราบเรียบกว่า

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนในเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินเนื้อ เช่น ซากสัตว์หรือหอยได้ด้วย

เป็นเต่าที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบที่จะแช่น้ำ พบได้ในป่าแทบทุกสภาพ แม้กระทั่งในสวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จากนั้นในเดือนธันวาคมจึงจะวางไข่ โดยจะขุดหลุมลึกประมาณครึ่งตัว ใช้เวลาฟักประมาณ 146 วัน ลูกเต่าที่เกิดมาใหม่กระดองจะมีความนิ่ม จะแข็งเมื่ออายุได้ราวหนึ่งปี

เต่าชนิดนี้ ในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ง่าย คือ ที่หมู่บ้านบ้านกอก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวอำเภอเมืองราว 50 กิโลเมตร โดยจะพบเต่าเหลืองอาศัยและเดินไปเดินมาทั่วไปในหมู่บ้าน โดยที่ชาวบ้านไม่ทำอันตรายหรือนำไปรับประทาน เต่าจึงอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าเต่าเหลืองเป็นเต่าเจ้า เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และเรียกชื่อเต่าชนิดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า "เต่าเพ็ก" จนได้รับชื่อเรียกว่าเป็น "หมู่บ้านเต่า"  เต่าเหลือง มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 166: 4 ก.ค. 55, 11:57
เต่านา หรือ เต่าสามสัน (อังกฤษ: Snail-eating turtle) สัตว์เลื้อยคลานสองชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Ma
เต่านา หรือ เต่าสามสัน (อังกฤษ: Snail-eating turtle) สัตว์เลื้อยคลานสองชนิดจำพวกเต่าที่อยู่ในสกุล Malayemys มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. macrocephala และ M. subtrijuga สำหรับชนิดแรกนั้นเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาเต่าทั้งหมดที่พบในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภาค มีลักษณะกระดองสีน้ำตาลอ่อน หัวมีสีดำมีลายสีขาวเป็นเส้นใหญ่จากจมูกผ่านนัยน์ตาตอนบนและจากปากผ่านนัยน์ตาตอนล่าง 2 ขีด มีลายขาวที่แก้มด้วย ลายเส้นขาวใหญ่นี้เป็นจุดเด่นของเต่าชนิดนี้ ผิวหนังทั่วไปและขามีสีเทาดำ ความยาวกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1/2 กิโลกรัม

ส่วนชนิด M. subtrijuga เป็นชนิดที่เพิ่งแยกออกมาใหม่ พบได้ในแถบภาคอีสาน มีลักษณะความต่างจากชนิดแรก คือ จะมีขีดตามแนวตั้งใต้จมูก 4-5ขีด ซึ่งมากกว่า และเส้นขีดที่นัยน์ตาจะเล็กกว่า รวมทั้งมีรูปร่างที่เล็กกว่าด้วย

เต่านาทั้งสองชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 167: 4 ก.ค. 55, 11:58
เต่าหก (อังกฤษ: Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys

เมื
เต่าหก (อังกฤษ: Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys

เมื่อโตเต็มที่มีกระดองยาว 2 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆ ขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีกสองขา เป็นหกขา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก

เต่าหก พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย

แม้จะเป็นเต่าบก แต่ก็ชอบความชื้น ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมหรือใกล้แหล่งน้ำ ในป่าดิบเขา โดยจะขุดหลุมแล้วฝังตัวอยู่ ไม่ค่อยพบในที่ราบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

เต่าหกเหลือง (M. e. emys) มีกระดองเป็นสีเหลือง ด้านขอบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เดือยด้านข้างลำตัวมีลักษณะกลมกว่า พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย แหลมมลายู ไปจนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย
เต่าหกดำ (M. e. phayrei) มีกระดองสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป มีขนาดใหญ่กว่าเต่าหกเหลือง จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินสัตว์ขนาดเล็กได้ด้วย เช่น ทากหรือสัตว์น้ำอย่าง ปู กุ้ง หรือหอย เป็นต้น

เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 30-50 ฟอง อายุยืนกว่า 100 ปี ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีชื่อติดอยู่ในบัญชีหลายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส แต่ก็นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 168: 4 ก.ค. 55, 11:59
เต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (อังกฤษ: Black marsh turtle; จีน: 粗頸龜; ชื่อ
เต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (อังกฤษ: Black marsh turtle; จีน: &#31895;&#38968;&#40860;; ชื่อวิทยาศาสตร์: Siebenrockiella crassicollis) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำ มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง อันเป็นที่มาของชื่อ กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 200 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำประเภทหนองหรือบึง ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกทั่วภาค แต่จะพบได้มากในภาคกลางและภาคใต้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ

มีอุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ นาน ๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่ ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ ในเต่าที่เป็นเต่าเผือกจะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เพราะถือเป็นสัตว์ที่หายาก
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 169: 4 ก.ค. 55, 12:01
ปลิงควาย (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อ
ปลิงควาย (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง (สำหรับปลิง) และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน (สำหรับทากดูดเลือด) ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์เป็นอาหาร

การดำรงชีวิตปลิงดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และ ปลาบางชนิดเป็นอาหาร และเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของเหยื่อด้วยแรงสั่นสะเทือนในน้ำ (สำหรับปลิง) และสำหรบทากดูดเลือด (Land Leech) มันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ มีสัมผัสที่ไวต่อกลิ่นและอุณหภูมิ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด (Sucker) เกาะเข้ากับตัวเหยื่อ ซึ่งอวัยวะนี้มีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ

เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงปลิงออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยปลิงจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ปลิงดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน (Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)

เมื่อปลิงหรือทากดูดเลือดอิ่มจนมีลักษณะตัวอ้วนบวมแล้ว มันจะปล่อยตัวร่วงลงสู่พื้นดินเอง

การห้ามเลือดหลังจากโดนปลิงใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล

ประโยชน์ทางด้านการแพทย์วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำปลิงมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของปลิงมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

การแก้ไขหลังจากโดนทากดูดเลือดกัด ให้ใช้มวนบุหรี่ ปิดที่แผลที่โดนทากดูด เพราะมวนบุหรี่มีสารนิโคตินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวสังเกตได้จากผู้ที่สูบบุหรี่จะรู้สึกปวดหัว เพราะสารนิโคตินทำให้ให้เลือดใหลไปเลี้ยงสมอง
กระทู้: 0
ความเห็น: 14
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-01-2551
ความเห็นที่ 170: 4 ก.ค. 55, 12:01
สุดยอดครับน้า

ปลาบึก เเพาะพันธุ์ได้แล้วคราฟฟฟฟ   เป็นเรื่องดีนะครับ จะได้มีไว้เย่อกันเยอะๆ
กระทู้: 11
ความเห็น: 480
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 12-03-2550
sommai364(380 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 171: 4 ก.ค. 55, 12:02
ความรู้ดีดี +1 ครับ

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 172: 4 ก.ค. 55, 12:02
ทาก (อังกฤษ: Slug; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemadipsa sylvestris) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟ
ทาก (อังกฤษ: Slug; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haemadipsa sylvestris) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา อยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) จัดอยู่ในคลาสฮิรูดินี(Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

[แก้] ลักษณะทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ ทากทุกชนิดมีหนวดหนึ่งคู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นหอยทาก หรือทากทะเล

กระทู้: 0
ความเห็น: 240
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-06-2555
ความเห็นที่ 173: 4 ก.ค. 55, 12:04
สุดยอดความรู้เลย ครับ +1 ให้เลย มีปลาที่ผมไม่รู้จักเพียบเลย ปลาที่เคยเห็นแล้วไม่รู้จักก็มี ขอบคุณครับ ความรู้มากๆเลย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 174: 4 ก.ค. 55, 12:06
[q]อ้างถึง: ฅนชอบเย่อ posted: 04-07-2555, 12:01:55

สุดยอดครับน้า

ปลาบึก เเพาะพันธุ์ได้แล้วคราฟฟฟฟ   เป็นเรื่องดีนะครับ จะได้มีไว้เย่อกันเยอะๆ
ขอบคุณคับน้าฅนชอบเย่อ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 175: 4 ก.ค. 55, 12:06
อ้างถึง: sommai364 posted: 04-07-2555, 12:02:46

ความรู้ดีดี +1 ครับ


ขอบคุณคับน้า sommai364
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024