สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 396,264 - [28 เม.ย. 67, 13:37]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 176: 4 ก.ค. 55, 12:07
อ้างถึง: patipolpond posted: 04-07-2555, 12:04:04

สุดยอดความรู้เลย ครับ +1 ให้เลย มีปลาที่ผมไม่รู้จักเพียบเลย ปลาที่เคยเห็นแล้วไม่รู้จักก็มี ขอบคุณครับ ความรู้มากๆเลย


ขอบคุณคับน้า patipolpond
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 177: 4 ก.ค. 55, 12:09
ปลิงเข็ม (Cattle leech) ปลิงเข็มคือตัวลูก ของปลิงควาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Poecilobdella manillen
ปลิงเข็ม (Cattle leech) ปลิงเข็มคือตัวลูก ของปลิงควาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Poecilobdella manillensis จัดอยู่ใน วงศ์ Hirudidae มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลิงควายอินเดีย (P. granulosa) และปลิงควายชวา (P. javanica) ในสมัยก่อนจัดให้ปลิงควายอยู่ในสกุล Hirudinaria นอกจากปลิงควายแล้วยังพบมีปลิงอีกหลายชนิด เช่น ปลิงชนิด Dinobdella ferox ดูดกินเลือดอยู่ภายในช่องจมูกของวัว ควาย ปลิงชนิด Hemiclepsis marginata ดูดกินเลือดปลาน้ำจืด และปลิงชนิด Paraclepsis vulnifera ดูดกินเลือดในช่องเหงือกของปูน้ำจืด สองชนิดหลังนี้จัดอยู่ในวงศ์ Glossiphoniidae

          ปลิงเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาจากพวกไส้เดือน เหตุที่เชื่อเช่นนี้เพราะปลิงหลายชนิดยังพบมีขนสั้นๆ บนปล้องลำตัว 5 ปล้องแรก ขนาดและ ลักษณะของปลิงก็แตกต่างกันไปตามปริมาณของอาหารในทางเดินอาหาร รูปร่างจะยาวเรียวเมื่อหิวและอ้วนสั้นเมื่ออิ่ม จำนวนปล้องลำตัวมักมี 22 ปล้อง ส่วนปาก 4 ปล้องเป็นปุ่มดูดด้านหน้า ส่วนท้ายลำตัวมีปุ่มดูดขนาด ใหญ่ รูปทรงเกือบกลม และมีกล้ามเนื้อแข็งแรงประกอบไปด้วยปล้อง 7 ปล้องรวมเป็นจำนวนปล้องตลอดตัว 33 ปล้อง ปล้องลำตัวแต่ละปล้องยังแบ่ง ออกเป็นวงแหวนเล็กๆ อีก 3-5 วง ตรงกึ่งกลางของลำตัวแต่ละปล้องมี 5 วงแหวน ซึ่งจำนวนวงแหวนนี้จะลดลงไปเรื่อยๆ ทางด้านหัวและด้านท้ายมี จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 100 วง ทางเดินอาหารของปลิงมีส่วนกลางขนาด ใหญ่และมีถุงเล็กๆ อยู่ทางด้านข้างเป็นจำนวนมาก เพื่อให้บรรจุเลือดได้เป็น ปริมาณมาก ลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับตัวในการกินอาหารของปลิง เพราะ โอกาสที่จะดูดเลือดเหยื่อมีไม่บ่อยนักและแต่ละครั้งอาจกินเวลานาน ห่างกันมาก รูทวารของปลิงเปิดออกทางด้านกึ่งกลางหลังตรงรอยต่อระหว่าง ลำตัวกับปุ่มดูดท้ายลำตัว
ปลิงเคลื่อนที่ไปโดยการคืบไปบนพื้นดิน ใช้ปุ่มดูดอันหน้าและปุ่มดูด อันท้ายจับพื้นสลับกันและสลับกับการยืดลำตัวยาวออกไป ปลิงว่ายน้ำได้เก่ง โดยการทำลำตัวให้แบนแล้วสะบัดลำตัวเป็นคลื่น ทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้า ในการหาอาหารปลิงอาศัยคลื่นเสียงที่ไปกับน้ำและกลิ่นของเหยื่อเป็นตัวพาไปสู่เหยื่อ

          เนื่องจากปลิงจัดเป็นตัวเบียนภายนอกที่คอยดูดกินเลือดสัตว์อื่นๆ ปลิงจึงต้องมีการปรับตัวหลายประการให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ปลิงมีชุกชุมมากในฤดูฝน เมื่อฝนเริ่มตกจะเห็นลูกปลิงควายออกมาว่ายน้ำเป็นจำนวนมาก แต่ในฤดูแล้งปลิงจะซุกนอนอยู่ใต้ผิวโคลน รอจนกว่าฝนจะตกลงมาอีกครั้งหนึ่ง โดยธรรมชาติปลิงจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำทั่วไปทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล พบชุกชุมเป็นพิเศษในหนองน้ำ นาข้าว และปลักควาย ฯลฯ ปลิงแต่ละสกุลชอบกินเลือดของสัตว์แตกต่างกันไป เช่น ปลิงควายในสกุล Poecilobdella กินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น ในขณะที่ปลิงสกุล Hirudo กินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาน้ำจืด



กระทู้: 0
ความเห็น: 9,181
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-08-2552
ความเห็นที่ 178: 4 ก.ค. 55, 12:11
...............................
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 179: 4 ก.ค. 55, 12:11
หอยทราย หรือ หอยไซ (Bithynia spp.) เป็นหอยน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก ขนาด ๐.๔ - ๐.๘ x ๐.๖ - ๑.๕ ซม. เปลือกเ
หอยทราย หรือ หอยไซ (Bithynia spp.) เป็นหอยน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก ขนาด ๐.๔ - ๐.๘ x ๐.๖ - ๑.๕ ซม. เปลือกเป็นเกลียวสีน้ำตาล ผิวเรียบ พบตามลำธารที่มีน้ำไหล ทุ่งนา หนองบึง
น้าท่านใดพบเจอช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วยนะคับ
ผมไม่เจอมา 10 ปีได้แล้วเมื่อก่อนแม่น้ำปิงมีเยอะมาก
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 180: 4 ก.ค. 55, 12:13
ชื่อท้องถิ่น: หอยกาบ 
ชื่อสามัญ: หอยกาบ 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phylloda foliacea 
ชื่อวงศ์: Foliated T
ชื่อท้องถิ่น: หอยกาบ
ชื่อสามัญ: หอยกาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phylloda foliacea
ชื่อวงศ์: Foliated Tellin
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ
ลักษณะสัตว์: มีสีดำคล้ำ เปลือกแข็ง ลักษณะแบนไม่มีรวดลายเป็นหอยที่มีสมาชิกมากรองจากหอยกาบ เดี่ยว เปลือกมีสองชิ้นยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อ คล้ายบานพับ ส่วนหัวไม่ค่อยเจริญ บางพวกมีกาบ ด้านหนึ่งยึดติดกับพื้นและไม่เคลื่อนที่ และ บางพวกเคลื่อนที่ได้โดยเท้าชอนไชคืบ คลานได้อย่างช้า
ปริมาณที่พบ: น้อย
การใช้ประโยชน์: เป็นอาหาร
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: แกะเปลือกออก นำเนื้อ มาเป็นอาหาร ตามความชอบ

แหล่งที่พบ: คลอง แม่น้ำสาขาต่างๆ บึง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 181: 4 ก.ค. 55, 12:14
หอยเจดีย์

   เป็นหอยชนิดที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง แม้จะมีชื่อเหมือนกับหอยเจดีย์ แต่ทว่ารูปร่างหน้าตาแต
หอยเจดีย์

  เป็นหอยชนิดที่หาได้ยากชนิดหนึ่ง แม้จะมีชื่อเหมือนกับหอยเจดีย์ แต่ทว่ารูปร่างหน้าตาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หอยชนิดนี้เปลือกบาง ช่องปากเปิดเห็นรูกลม แล้วจึงเวียนขึ้นไปเป้นรูปทรงเจดีย์ ผิวเปลือกสีขาวสะอาดคาดด้วยสันที่พาดขวางกับความยาวของลำตัว ซึ่งวัดได้ประมาณ 4-6 เซนติเมตร

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 182: 4 ก.ค. 55, 12:15
อ้างถึง: chakrit.w posted: 04-07-2555, 12:11:21

...............................


ขอบคุณคับน้า chakrit.w
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 183: 4 ก.ค. 55, 12:15
หอยขม หรือภาษาในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป เป็นหอ
หอยขม หรือภาษาในบางท้องถิ่นเรีอกว่า หอยจุ๊บ หรือหอยดูด เป็นที่รู้จักกันดีและมีขายในตลาดทั่วไป เป็นหอยฝาเดียวที่พบเฉพาะในแหล่งน้ำจืดเท่านั้น นิยมนำมาทำอาหาร เช่น แกงคั่วหอยขม แกงอ่อมหอยขม และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยส่วนมากจะพบจากแหล่งธรรมชาติ โดยชาวบ้านในท้องที่เก็บมาขาย หรือพบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้สำหรับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา แต่ในปัจจุบันมีการทำฟาร์มเพื่อการเพาะเลี้ยงหอยขมในกระชังโดยเฉพาะ หอยขมเป็นสัตว์ที่มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 184: 4 ก.ค. 55, 12:21
ชื่อท้องถิ่น: หอยโข่ง 
ชื่อสามัญ: หอยโข่ง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: - 
ชื่อวงศ์: - 
ประเภทสัตว์: สัตว์น้
ชื่อท้องถิ่น: หอยโข่ง
ชื่อสามัญ: หอยโข่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: -
ชื่อวงศ์: -
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ
ลักษณะสัตว์: เป็นหอยขนาดใหญ่มีฝาปิด ขนาด ๒-๙ x ๒-๑๐ ซม. เปลือกแข็งรูปร่างครึ่งวงกลม
มีลายพาดขวางบนเปลือก พบได้ที่ภาคใต้ของประเทศไทยหอยโข่ง  Pila politaเป็นหอย
ขนาดใหญ่มีฝาปิด รูปร่างเป็นรูปไข่ มีส่วนท้ายรีแหลมพบได้ทั่วไปในประเทศไทยหอยโข่ง
Pila ampullaceal  เป็นหอยขนาดใหญ่  มีฝาปิด รูปร่างครึ่งวงกลม พบได้ทั่วไปในประเทศไทย

ปริมาณที่พบ: น้อยมากอยู่ในภาวะสูญพันธุ์
การใช้ประโยชน์: เป็นอาหาร
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: นำมาต้มกินกับน้ำพริก
แหล่งที่พบ: หนอง บึง
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: พบได้ในนาข้าว  หนองและบึงทั่วไป

อาหารธรรมชาติ 
          ข้าว พืชน้ำต่าง ๆ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บัว ฯลฯ

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 185: 4 ก.ค. 55, 12:22
หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled apples
หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว สามารถแบ่งหอยเชอรี่ได้ 2 พวก คือ พวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง และพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ลูกหอยอายุเพียง 2 – 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ได้ 1 – 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำ ข้าง ๆ คันนา และตามต้นข้าวในนา ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 – 3 นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็ก ๆ เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ 388 – 3,000 ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน 7 – 12 วัน หลังวางไข่

หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ทว่าไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในปัจจุบัน
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 186: 4 ก.ค. 55, 12:24
หอยทาก จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางย
หอยทาก จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา เป็นสัตว์โบราณที่มีกำเนิดมาในราวตอนกลางยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) ราวๆ เกือบสี่ร้อยล้านปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบมีหอยทาก มากกว่า 500 ชนิด

วงจรชีวิตหอยทากจะพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน เพื่อออกหากินสะสมอาหารจำนวนมากและแพร่ขยายพันธุ์ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะอาศัยที่ร่มหลบแสงแดด หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วเปอร์เซ็นรอดน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5 ปี

หอยที่การเคลื่อนที่ช้ามาก ถึงขนาดมีหอยทากแถวๆ ทะเลแดงเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 600 เมตร ต่อ 26 ปี แต่หอยทากสามารถไม่กินอะไรเลยได้ 1 ปี

กระทู้: 5
ความเห็น: 7,787
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 06-09-2549
pi621(27 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 187: 4 ก.ค. 55, 12:40
กระทู้: 1
ความเห็น: 253
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 07-09-2554
ความเห็นที่ 188: 4 ก.ค. 55, 12:55
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 189: 4 ก.ค. 55, 12:57
ขอบคุณคับน้า ฟินิค
กระทู้: 16
ความเห็น: 1,603
ล่าสุด: 18-04-2567
ตั้งแต่: 09-03-2554
ความเห็นที่ 190: 4 ก.ค. 55, 14:38
+++1

เยี่ยมครับน้า ความรู้ทั้งนั้นเลย  ขอบคุณครับ ที่แบ่งปัน
กระทู้: 18
ความเห็น: 8,411
ล่าสุด: 06-02-2567
ตั้งแต่: 24-09-2553
DoctorK(909 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 191: 4 ก.ค. 55, 14:43
ขอบคุณสำหรับความรู้มากครับ
ถ้ามีรูปปลาหลายมุมมองมากกว่านี้จะดีมากๆ ครับ
กระทู้: 2
ความเห็น: 213
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-12-2554
ความเห็นที่ 192: 4 ก.ค. 55, 14:45
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 193: 4 ก.ค. 55, 17:01
อ้างถึง: หนุ่มธุดงค์ไพร posted: 04-07-2555, 14:38:55

+++1

เยี่ยมครับน้า ความรู้ทั้งนั้นเลย  ขอบคุณครับ ที่แบ่งปัน


ขอบคุณคับน้า หนุ่มธุดงค์ไพร
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 194: 4 ก.ค. 55, 17:02
อ้างถึง: DoctorK posted: 04-07-2555, 14:43:26

ขอบคุณสำหรับความรู้มากครับ
ถ้ามีรูปปลาหลายมุมมองมากกว่านี้จะดีมากๆ ครับ


ขอบคุณคับน้า DoctorK
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 195: 4 ก.ค. 55, 17:03
อ้างถึง: เก่ง_คลองจั่น posted: 04-07-2555, 14:45:05



ขอบคุณคับน้า เก่ง_คลองจั่น
กระทู้: 0
ความเห็น: 261
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-05-2555
ความเห็นที่ 196: 4 ก.ค. 55, 17:04
ตามชมค่ะ 
กระทู้: 95
ความเห็น: 10,432
ล่าสุด: 29-03-2567
ตั้งแต่: 06-06-2550
porntap(5297 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 197: 4 ก.ค. 55, 17:27
กระทู้: 10
ความเห็น: 14,709
ล่าสุด: 25-02-2567
ตั้งแต่: 09-02-2554
nongconnon(444 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 198: 4 ก.ค. 55, 17:36
+++        +++
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 199: 4 ก.ค. 55, 18:09
อ้างถึง: opoxmanza2 posted: 04-07-2555, 17:04:07

ตามชมค่ะ 


คับ opoxmanza2
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 28-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 200: 4 ก.ค. 55, 18:10
อ้างถึง: porntap posted: 04-07-2555, 17:27:34



คับน้า porntap
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024