สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 28 เม.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 396,229 - [28 เม.ย. 67, 02:34]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 51: 3 ก.ค. 55, 20:08
ปลาใบไม้ (ปลาลิ้นควาย)
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ปลาใบไม้ (ปลาลิ้นควาย)
เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brachirus harmandi มีรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมาน้ำจืด (B. panoides) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่ปลาใบไม้ มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ ตาอยู่ชิดกัน ปากเล็กและเบี้ยว ครีบมีลักษณะเชื่อมต่อกันเกือบทั้งลำตัว ครีบอกเล็กมาก ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีแต้มสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว มีแต้มจุดสีคล้ำตลอดแนวครีบ ครีบมีขอบสีจาง มีจุดประสีคล้ำกระจาย ลำตัวด้านล่างสีขาว เกล็ดเป็นแบบสาก ขนาดลำตัวประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมคล้ายกับปลาลิ้นหมาน้ำจืด พบในถิ่นที่อยู่เดียวกัน เพียงแต่ใบไม้จะพบในภาคอีสานและลุ่มแม่น้ำโขงด้วย

ใช้บริโภคโดยปรุงสดและทำปลาตากแห้ง มีราคาค่อนข้างสูง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
กระทู้: 5
ความเห็น: 137
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-09-2554
ChopayaDem(48 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 52: 3 ก.ค. 55, 20:08
ปลาหนวดพราม ใส่เกลือทอดอร่อยสุดๆๆหล่ะครับ  แต่หายากมากๆๆ(เขื่อนเจ้าพระยานะครับ)

++++ เลย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 53: 3 ก.ค. 55, 20:09
ต่อไปจะเข้ากลุ่มปลาเกล็ด นะคับ 
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 54: 3 ก.ค. 55, 20:10
อ้างถึง: ChopayaDem posted: 03-07-2555, 20:08:36

ปลาหนวดพราม ใส่เกลือทอดอร่อยสุดๆๆหล่ะครับ  แต่หายากมากๆๆ(เขื่อนเจ้าพระยานะครับ)

++++ เลย


สวัสดีคับน้าChopayaDem
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 55: 3 ก.ค. 55, 20:12
มาเริ่มที่ปลาหัวงู หรือ Snackhead กันก่อนนะคับ

ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehe
มาเริ่มที่ปลาหัวงู หรือ Snackhead กันก่อนนะคับ

ปลาช่อน (อังกฤษ: Common snakehead, Chevron snakehead, Striped snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striata อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร

โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง[1] เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ

ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก ที่เรียกว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา

ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "หลิม" ในภาษาเหนือ "ค้อ" หรือ "ก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 56: 3 ก.ค. 55, 20:14
ปลาช่อนข้าหลวง (อังกฤษ: Emperor snakehead) เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa m
ปลาช่อนข้าหลวง (อังกฤษ: Emperor snakehead) เป็นชื่อของปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง

ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยพบชุกชุมบริเวณเขื่อนรัชชประภา และพบไปจนถึงมาเลเซีย มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น

เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง

ปลาช่อนข้าหลวง ยังมีชื่อที่เรียกกันในเขตจังหวัดนราธิวาสว่า "ช่อนทอง"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 57: 3 ก.ค. 55, 20:15
ปลาช่อนงูเห่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa aurolineatus จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (
ปลาช่อนงูเห่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa aurolineatus จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สัลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ จึงมีอีกชื่อเรียกนึงว่า "ปลาช่อนดอกจันทน์" เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว

ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด

มีการกระจายพันธุ์ในไทย, กัมพูชา, มาเลเซีย โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย

อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน

ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง

มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก้วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 58: 3 ก.ค. 55, 20:16
ปลากระสง (อังกฤษ: Blotched snakehead, Forest snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ปลากระสง (อังกฤษ: Blotched snakehead, Forest snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa lucius อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (C. striata) แต่มีส่วนหัวที่แบนกว่า จะงอยปากงอนขึ้นเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า สีสันบริเวณลำตัวเป็นสีเขียวมะกอกมีลวดลายคล้ายลายไม้ ลูกปลาขนาดเล็กมีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง มีลายแถบดำพาดตามแนวนอนตลอดตัว มีสีแดง

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำขนาดใหญ่รวมถึงในบริเวณพื้นที่ป่าพรุด้วยทั่วประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน [1]

นิยมเอามาบริโภคสดและตากแห้งเหมือนปลาในวงศ์ปลาช่อนทั่วไป อีกทั้งสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้

ปลากระสง ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "กระจอน" ในภาษาอีสาน หรือ "ช่อนไช" ในภาษาใต้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 59: 3 ก.ค. 55, 20:18
ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง (อังกฤษ: Sleepy goby, Marbled sleeper) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร
ปลาบู่ทราย หรือ ปลาบู่ทอง (อังกฤษ: Sleepy goby, Marbled sleeper) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oxyeleotris marmorata ในวงศ์ปลาบู่ทราย (Eleotridae) มีลักษณะลำตัวกลมยาว ความลึกลำตัวประมาณ 1 ใน 3.5 ของความยาวมาตรฐานลำตัว ส่วนหัวยาวเป็น 1 ใน 2.8 ของความยาวมาตรฐานของลำตัว หัวค่อนข้างโต และด้านบนของหัวแบนราบ หัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่เปิด ทางด้านบนตอนมุมปากเฉียงลงและยาวถึงระดับกึ่งกลางตา ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบน ทั้งขากรรไกรบนและล่างมีฟันแหลมซี่เล็ก ๆ ลักษณะฟันเป็นฟันแถวเดียว ลูกตาลักษณะโปนกลมอยู่บนหัวถัดจากริมฝีปากบนเล็กน้อย รูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาอยู่ติดกับร่องที่แบ่งจงอยปากกับริมฝีปากบน ครีบหูและครีบหางมีลักษณะกลมมนใหญ่ มีลวดลายดำและสลับขาว มีก้านอ่อนอยู่ 15-16 ก้าน ครีบหลัง 2 ครีบ ครีบอันหน้าสั้นเป็นหนาม 6 ก้าน เป็นก้านครีบสั้นและเป็นหนาม ครีบอันหลังเป็นก้านครีบอ่อน 11 ก้าน ครีบท้องหรือครีบอกอยู่แนวเดียวกับครีบหูและมีก้านครีบอ่อน 5 ก้าน สีลำตัวสีน้ำตาลเหลืองมีรอยปื้นสีดำกระจายไปทั่วตัว ในบางตัวสีอาจกลายเป็นสีเหลืองทองได้ จึงทำให้ได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาบู่ทอง"

มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่ที่สุด 60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Oxyeleotris พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดทุกประเภทของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำเพื่อล่าเหยื่อ อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า

ปลาบู่ทราย จัดเป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมากชนิดหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากนิทานพื้นบ้านของภาคกลางเรื่อง ปลาบู่ทอง เป็นต้น จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมใช้เนื้อบริโภคกันมาช้านาน มีราคาขายที่แพง ปัจจุบัน นิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้แล้วในตัวที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองหรือสีเงิน พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 60: 3 ก.ค. 55, 20:22
ปลาก้าง (อังกฤษ: Dwarf snakehead, Red-tailed snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
ปลาก้าง (อังกฤษ: Dwarf snakehead, Red-tailed snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่มีส่วนหัวมนกลมและโตกว่า ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำเงินคล้ำ และมีลายประหรือจุดสีคล้ำ ท้องสีจาง โคนครีบอกมีลายเส้นสีคล้ำเป็นแถบ 4-6 แถบ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีสีเทาหรือน้ำเงินเรือ ขอบมีสีส้มหรือสีจาง โดยปลาในแต่ละถิ่นจะมีสีสันแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย

มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพม่า, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเชีย, บาหลี โดยอาจพบได้ถึงต้นน้ำหรือลำธารบนภูเขา

ปลาก้าง จัดว่าเป็นหนึ่งชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต นับเป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยอาจจะเรียกชื่อเพี้ยนไปตามถิ่นว่า "กั๊ง" หรือ "ขี้ก้าง" มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้เป็นผู้อมไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ปลาก้างยังถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ไม่มีการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์เหมือนปลาช่อนชนิดอื่น และยังพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 61: 3 ก.ค. 55, 20:23
สุดท้ายพี่ใหญ่ใน ตระกูลนี้คับ
ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดข
สุดท้ายพี่ใหญ่ใน ตระกูลนี้คับ
ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว

นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"

เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ[1]

นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 62: 3 ก.ค. 55, 20:25
ต่อไปเป็นตระกูล ปลาคาร์ฟ  

ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: Carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่
ต่อไปเป็นตระกูล ปลาคาร์ฟ 

ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: Carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง

เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ

ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาแต้จิ๋วว่า หลีฮื้อ (จีนตัวเต็ม: &#39881;&#39770;) (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)

ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดยชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 63: 3 ก.ค. 55, 20:27
ปลากระมัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites proctozysron อยู่ในวงศ์ปลาตะเ
ปลากระมัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites proctozysron อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนและปลาตะพาก แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร

พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ นิยมบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

กระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 64: 3 ก.ค. 55, 20:28
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า H
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร

เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 65: 3 ก.ค. 55, 20:28
ปลากระสูบขีด (อังกฤษ: Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hamp
ปลากระสูบขีด (อังกฤษ: Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H. dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่

พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่าปลากระสูบจุด[1]

เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "สูบ", "สูด", "สิก" หรือ "ขม" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 66: 3 ก.ค. 55, 20:29
ปลากระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyp
ปลากระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

กระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ" ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 67: 3 ก.ค. 55, 20:31
ปลากระโห้ (อังกฤษ: Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปล
ปลากระโห้ (อังกฤษ: Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
ลักษณะทางกายภาพมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียว ที่อยู่ในสกุล Catlocarpio[2] มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง

แหล่งอาศัยพบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยจะวางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 มิลลิเมตร ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ

อาหารของปลากระโห้คือ แพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้

ปลากระโห้นอกจากนำมาทำเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ชื่อเรียกอื่นนอกจากชื่อกระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "คาบมัน" หรือ "หัวมัน" ภาษาเหนือเรียกว่า "กะมัน" ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เรียกว่า "ปลาสา"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 68: 3 ก.ค. 55, 20:32
ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo chrysophekadion อยู่ในวงศ์ปลาตะเพีย
ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo chrysophekadion อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร[1]

มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้

บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลาตัวอื่น

ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "เพี้ย" ในภาษาเหนือ "อีตู๋" หรือ "อีก่ำ" ในภาษาอีสาน ปัจจุบันปลากาดำเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 69: 3 ก.ค. 55, 20:33
ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cypr
ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร

เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น

เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C. enoplus) เพราะเนื้อแข็งกว่า

พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "กระมังครีบสูง "

และมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปากบาน" หรือ "โจกเขียว"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 70: 3 ก.ค. 55, 20:35
ปลาตะโกก (อังกฤษ: Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilicht
ปลาตะโกก (อังกฤษ: Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ลักษณะมีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย, ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

ที่อยู่พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ เป็นต้น โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "โจก"

ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยเฉพาะตัวที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 71: 3 ก.ค. 55, 20:36
ปลาตะพาก เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypsibarbus (/ฮีพ
ปลาตะพาก เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypsibarbus (/ฮีพ-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลาง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์และวงศ์ย่อยเดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น

โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 9 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (Hypsibarbus wetmorei)[2] โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห[3]

ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ ปากหนวด, ปีก (ภาษาอีสาน), ปากคำ หรือ สะป๊าก (ภาษาเหนือ) เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 72: 3 ก.ค. 55, 20:37
ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonym
ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น "ตะเพียนขาว" หรือ "ตะเพียนเงิน" ภาคอีสานเรียกว่า "ปาก"

ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช แมลง สัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้

มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 73: 3 ก.ค. 55, 20:41
ปลานวลจันทร์ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพี
ปลานวลจันทร์ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม

นวลจันทร์มีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ

เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง

นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "พอน" และ "พรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นปลาประจำจังหวัดสุรินทร์[1] เช่นเดียวกับปลาแกง (C. multitorella) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันที่เป็นปลาประจำจังหวัดเลย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 74: 3 ก.ค. 55, 20:43
ปลาบ้า (อังกฤษ: Mad carp, Sultan fish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus h
ปลาบ้า (อังกฤษ: Mad carp, Sultan fish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง

ปลาบ้า ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น ปลาไอ้บ้า, ปลาพวง ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาโพง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "แซมบ้า"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,712
ล่าสุด: 27-04-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 75: 3 ก.ค. 55, 20:45
ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (เบงกาลี: রুই) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า La
ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (เบงกาลี: &#2480;&#2497;&#2439;) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60-80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริสสา, รัฐพิหารและรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่

เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511 เช่นเดียวกับ ปลากระโห้เทศ (Catla catla) และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย เช่น ที่แม่น้ำโขง
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024