สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 พ.ย. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 417,364 - [22 พ.ย. 67, 22:44]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 101: 3 ก.ค. 55, 22:56
ปลาเสือพ่นน้ำ

ชื่อสามัญ  Archer fish

 ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes  chatareus  (Hamilton, 1822)
ปลาเสือพ่นน้ำ

ชื่อสามัญ  Archer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes  chatareus  (Hamilton, 1822)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ

              ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัว และลำตัว ประกอบด้วยจุดสีดำกลม หรือรี จำนวน 6-7 จุด ครีบหางตัดตรงมีสีส้มอมเหลือง ครีบหลัง และครีบก้นมีสีเหลืองขอบเป็นสีดำ จะงอยปากแหลม ตามีขนาดใหญ่ค่อนไปทางด้านบน จึงมีความสามารถมองเห็นเหนือผิวน้ำได้ดี ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ลำตัวรูปทรงขนมเปียกปูน ป้อมสั้น แบนข้าง โดยเฉพาะท้องแบนเป็นสัน บริเวณท้องมีสีเงิน ลำตัวสีเหลืองลายดำเหมือนเสือ จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือ มีขนาดลำตัวทั่วไปยาวเฉลี่ยไม่เกิน 20 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 25 ซม. การแยกเพศสังเกตจากลักษณะภายนอก เพศเมียมีช่วงท้องยาวกว่าเพศผู้ ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำขึ้นมาตามผิวน้ำหรือระดับใต้ผิวน้ำพอดี การเคลื่อนที่ในระยะยาวมักเคลื่อนไปในแนวเส้นตรง และมองเห็นน้ำแยกเป็นทางที่ปลายขอบกระพุ้งแก้ม จนทำให้สามารถรู้ว่ามีปลาว่ายน้ำในบริเวณนั้น การที่ปลาเสือพ่นน้ำ มีนิสัยว่ายน้ำแบบนี้เนื่องจาก ปลาต้องคอยมองหาเหยื่อที่จะกินเป็นอาหารส่วนมากเป็นแมลงขนาดเล็ก ๆ และอีกประการหนึ่งเนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในบริเวณปากอ่าวปากแม่น้ำที่น้ำมีความขุ่นสูง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้สายตาในน้ำมีจำกัด ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์ โรติเฟอร์ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกกุ้ง สัตว์จำพวกมด และแมลง สามารถฝึกให้กินเนื้อปลาสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้  นอกจากนี้ปลาเสือพ่นน้ำมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการกินแมลง โดยมีวิวัฒนาการทำให้เหงือกเกิดช่องใต้เพดานปาก เพื่อสามารถพ่นน้ำออกไปได้เป็นลำด้วยแรงอัดของแผ่นปิดเหงือก

การแพร่กระจาย

                ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศแถบตะวันออก เช่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า และอินเดีย ในประเทศไทยพบอยู่ตามแม่น้ำ และลำคลอง หนอง บึง ที่มีการเชื่อมต่อกับแม่น้ำ และพบมากในบริเวณปากแม่น้ำ ปลาเสือพ่นน้ำพบชุกชุมในเขตภาคกลาง และภาคใต้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 102: 3 ก.ค. 55, 22:58
ตก ปลาสร้อยไป  ขอเพิ่มนะคับ  :grin:
ปลาสร้อยขาว (อังกฤษ: Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ
ตก ปลาสร้อยไป  ขอเพิ่มนะคับ 
ปลาสร้อยขาว (อังกฤษ: Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร

ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย"

มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ส้อยหัวกลม ในภาษาอีสาน, หรือ กระบอก ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 103: 3 ก.ค. 55, 23:00
ปลาสร้อยนกเขา

ชื่ออื่นๆ ขี้ขม , ซ่า , นกเขา , พรมหัวเหม็น (ภาคกลางและภาคใต้) , อีไทย (ภาคเหนือและ
ปลาสร้อยนกเขา

ชื่ออื่นๆ ขี้ขม , ซ่า , นกเขา , พรมหัวเหม็น (ภาคกลางและภาคใต้) , อีไทย (ภาคเหนือและอีสาน) , อิกันตูโบ (มลายู)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteochilus hasseltii (Valenciennes, 1842)

ชื่ออังกฤษ Nilem carp, Carp, Javakarpe

ถิ่นอาศัย พบในทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันออก

ขนาด มีขนาด 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 30 เซนติเมตร

ลักษณะ ปลาสร้อยนกเขาจัดเป็นปลากินพืช(Herbivorous) ปลาน้ำจืดมีเกล็ด ลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ จากข้อมูลลักษณะภายนอก ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลาสร้อยนกเขาที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ตลอดข้างลำตัวมีจุดสีดำเรียงกระจายต่อกันเป็นแนวจากหลังช่องเหงือกจรดโคนหาง พบจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนครีบหาง พบจุดสีส้มประกระจายบริเวณด้านหน้าของลำตัว บริเวณส่วนท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น ครีบหลัง และครีบหางมีสีแดง ดวงตามีขนาดปานกลาง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 104: 3 ก.ค. 55, 23:02
ต่อไปเป็นตระกูลปลาหมอ นะคับ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในว
ต่อไปเป็นตระกูลปลาหมอ นะคับ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami"

ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง

ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย

มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 105: 3 ก.ค. 55, 23:03
ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่
ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis mossambicus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีปากกว่าที่ยื่นยาวกว่า และไม่มีลายบนครีบ

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 โดยผ่านมาจากปีนัง แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคของปลาหมอเทศสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่อจากเนื้อค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 106: 3 ก.ค. 55, 23:05
ปลาหมอตาล (อังกฤษ: Kissing gourami) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสต
ปลาหมอตาล (อังกฤษ: Kissing gourami) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้

มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามาถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้

ปลาหมอตาล มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาชนิดอื่น คือ เมื่อจะต่อสู้หรือข่มขู่กัน จะใช้ปากตอดกันคล้ายกับการจูบที่แสดงออกถึงความรักของมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาจูบ" วางไข่แบบไข่ลอยบนผิวน้ำ

พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปรวมถึงนาข้าวหรือท้องร่องสวนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12-20 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 30 เซนติเมตร สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน และพบบางส่วนในป่าพรุทางภาคใต้

กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำตลอดจนถึงแมลงและแพลงก์ตอน โดยใช้ปากที่ยืดหดได้นี้ตอดกิน จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเพื่อความเพลิดเพลินและทำความสะอาดภายในตู้ปลา โดยนิยมเลี้ยงกันในตัวที่มีสีพื้นลำตัวเป็นสีขาวนวลหรือสีชมพู ในขณะที่ปลาที่มีสีตามธรรมชาติจะนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ใบตาล, อีตาล, ตาล, ปากง่าม, อีโก๊ะ หรือ วี ในภาษาใต้ เป็นต้น[
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 107: 3 ก.ค. 55, 23:06
ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osph
ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ

ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichogaster ที่ใหญ่ที่สุด

มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง

พฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่

ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

มีชื่อเรียกในภาษามาเลย์ว่า "sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่หนังงู" (snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 108: 3 ก.ค. 55, 23:08
สกุลปลากระดี่ (อังกฤษ: Gourami, อินโดนีเซีย: Sepat, อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสก
สกุลปลากระดี่ (อังกฤษ: Gourami, อินโดนีเซีย: Sepat, อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichogaster ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae

มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนัก[1]

เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่

พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่

ปลากระดี่มุก (Trichogaster leerii)
ปลากระดี่นาง (Trichogaster microlepis)
ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis)
ปลากระดี่หม้อ (Trichogaster trichopterus)
มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ จึงสามารถดำรงชีพอยู่ในน้ำที่ออกซิเจนต่ำได้เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ แต่ทว่า สำหรับปลากระดี่แล้วอวัยวะส่วนนี้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสู้ปลาชนิดอื่นไม่ได้ จึงจะเห็นปลากระดี่ในบางครั้งจะลอยตัวขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำเสมอ ๆ อุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร แต่ไม่เท่ากับปลาในสกุลอื่น เช่น สกุลปลากัด (Betta spp.) หรือ สกุลปลากริม (Trichopsis spp.) การผสมพันธุ์และวางไข่จะกระทำในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป โดยมีการก่อหวอดเช่นเดียวกับปลากัดและปลากริม แต่ทว่าลักษณะฟองหวอดของปลากระดี่จะมีขนาดเล็กกว่า แต่จะติดกันเป็นแพใหญ่กว่า และบางครั้งอาจมีเศษหญ้าหรือพืชน้ำหรือสาหร่ายผสมร่วมด้วย และยังแตกต่างออกไปในแต่ละชนิด[2]

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ สำหรับการบริโภค โดยนำไปทำเป็นปลาแห้ง ซึ่งนิยมกันมาก โดยเฉพาะปลาสลิด ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างมากโดยเฉพาะในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และปรุงสด ๆ อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย[3] โดยเฉพาะ ปลากระดี่หม้อที่มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันมาก

ปลากระดี่นับเป็นปลาอีกจำพวกหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน จนเกิดมีภาษิตที่ว่า "กระดี่ได้น้ำ" อันหมายถึง คนที่มีพฤติกรรมระริกระรี้กระหยิ่มดีใจจนเกินเหตุ[4] และมีชื่อบ้านนามเมืองของ ชุมชนบางกระดี่ ที่ตั้งอยู่ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เล่ากันว่าเป็นเพราะในสมัยก่อนมีปลากระดี่ชุกชุม
(อันนี้เป็นกระดี่หม้อ นะคับ)
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 109: 3 ก.ค. 55, 23:09
ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osph
ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อ "กระดี่มุก" ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง

มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น

เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น

นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ

[แก้] อ้างอิง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 110: 3 ก.ค. 55, 23:10
ปลากระดี่นาง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster microlepis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่
ปลากระดี่นาง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster microlepis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลำตัวรูปไข่และแบนข้างมาก หลังยกสูงเล็กน้อย ด้านท้ายเรียวเล็ก หัว ตา และปากเล็ก ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ลำตัวสีเงินนวลเหลือบด้วยสีเขียวและสีฟ้า โดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบสีจางใส

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวเฉลี่ย 7-14 เซนติเมตร

เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำในภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะก่อหวอดผสมกับเศษหญ้าหรือพืชไม้ชนิดต่าง ๆ

เป็นปลาที่สามารถใช้บริโภคได้ ในพื้นที่อีสานนิยมบริโภคโดยปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาแห้ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ด้วยความที่เป็นปลาที่มีสีเงินทั้งลำตัว จึงได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า "กระดี่แสงจันทร์" (Moonlight gourami, Moonbeam gourami) มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "สลาก" หรือ "สลาง"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 111: 3 ก.ค. 55, 23:13
ปลากริม (อังกฤษ: Threestripe gourami) เป็นปลากริมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopsis schalleri
ปลากริม (อังกฤษ: Threestripe gourami) เป็นปลากริมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopsis schalleri ในวงศ์ Osphronemidae

มีรูปร่างและสีสันคล้ายกับปลากริมมุก (T. pumilus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ทว่ามีครีบหลังและครีบอกยาวกว่า

ปลากริมอีสานนั้นมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะลุ่มน้ำโขงทางภาคอีสานของไทยเท่านั้น ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง แรกเริ่มเคยเชื่อว่าเป็นความหลากหลายทางสีสันของปลากริมควาย (T. vitatus) ซึ่งเป็นปลากริมชนิดที่พบชุกชุมมากที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดที่คล้ายคลึงกันและพบในแหล่งเดียวกัน แต่เมื่อได้ศึกษาไปแล้วพบว่าทั้ง 2 ชนิด นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กัน จึงถือว่าเป็นชนิดใหม่[1]

มีความยาวลำตัวประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 112: 3 ก.ค. 55, 23:15
ปลากัดหม้อ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splend
ปลากัดหม้อ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง

มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 113: 3 ก.ค. 55, 23:17
ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

     เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล
ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

    เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า “ปลาป่า” หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 114: 3 ก.ค. 55, 23:17
ปลากัดจีน
    เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉ
ปลากัดจีน
    เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 115: 3 ก.ค. 55, 23:22
ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)
ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

[แก้] ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

[แก้] อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง

[แก้] นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

[แก้] การสืบพันธุ์ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ

ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 116: 3 ก.ค. 55, 23:24
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลาน
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 117: 3 ก.ค. 55, 23:25
ปลาแรด (อังกฤษ: Giant gourami-แปลตรงตัว "ปลากระดี่ยักษ์"; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy) เป็
ปลาแรด (อังกฤษ: Giant gourami-แปลตรงตัว "ปลากระดี่ยักษ์"; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy) เป็นปลาน้ำจืดในสกุลปลาแรด ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด
ลักษณะลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทย โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป

[แก้] อาหารเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ แต่นิยมกินพืชมากกว่า มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคใต้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร จึงนับว่าเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Osphronemidae แต่ว่าขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร

[แก้] ที่อยู่เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยนิยมเพาะเลี้ยงกันในหลายพื้นที่ เช่น นิยมเลี้ยงกันที่แม่น้ำสะแกกรัง ในจังหวัดอุทัยธานี ที่มีเลี้ยงกันในกระชังในแม่น้ำจนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี[1]

นอกจากนี้แล้ว ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยในปลาธรรมดาจะเรียกกันว่า "แรดดำ" และในปลาที่มีผิวเผือกจะเรียกว่า "แรดเผือก" หรือ "แรดเผือกตาแดง" นอกจากนี้แล้วยังมีปลาที่สีแตกต่างออกไปด้วย

[แก้] ชื่อเรียกอื่นปลาแรดชนิดนี้ มีชื่อเรียกในภาษาอีสานและภาษาลาวว่า "มิน" ขณะที่ภาษาใต้จะเรียกว่า "เม่น"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 118: 3 ก.ค. 55, 23:27
ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae, อังกฤษ: Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์
ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae, อังกฤษ: Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล

มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii)

มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง"

มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตราย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 119: 3 ก.ค. 55, 23:29
ปลาน้ำผึ้ง หรือ อีดูด

ชื่อสามัญ  Siamese algae eater

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gyrinocheilus  aymonieri
ปลาน้ำผึ้ง หรือ อีดูด

ชื่อสามัญ  Siamese algae eater

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gyrinocheilus  aymonieri  (Tirant, 1883)

ลักษณะทั่วไปของปลาน้ำผึ้ง

              ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด เป็นปลาประจำท้องถิ่นของไทย ในธรรมชาติเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ปลาน้ำผึ้งเป็นปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก ค่อนข้างเรียวไปทางโคนหาง ความยาวลำตัววัดจากจะงอยปากถึงโคนหางเป็น 4.5-5.4 เท่าของความกว้างลำตัว ส่วนหัวสั้น ด้านล่างของส่วนหัว และส่วนท้องแบนราบ ตาค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากอยู่ด้านล่าง ลำตัวมีสีน้ำตาล บริเวณหลังมีแต้มสีดำ หรือน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวของปลาวัยอ่อนมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัว ครีบมีสีเหลือง หรือน้ำตาลพร้อมด้วยจุดสีดำเล็ก ๆ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบ 13-14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8-9 อัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 39-41 เกล็ด ปลาน้ำผึ้งพบมากทั้งแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับการยึดเกาะ เหมือนปลาซัคเกอร์ ช่องเปิดเหงือกแต่ละข้างมีสองช่องสำหรับให้น้ำไหลผ่านใช้ในการหายใจ ผิดจากปากน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ที่ดูดน้ำเข้าทางปาก และปล่อยออกทางเหงือก กินอาหารประเภท ตะไคร่น้ำ สาหร่ายบางชนิด เศษพืช และสัตว์เน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีขนาดความยาว 20-26 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

                ปลาน้ำผึ้งมีการแพร่กระจายตามแหล่งน้ำไหลทั่วไปทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชามาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศลาว พบที่หลวงพระบาง และ อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำงึม  ในประเทศกัมพูชาพบบริเวณแม่น้ำโขงของกัมพูชา ในประเทศไทยพบแพร่กระจายอย่างกว้างขว้างทั่วไปในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด พบมากที่สุโขทัย โดยเฉพาะในแม่น้ำยม และลำคลองสาขา แถบจังหวัดอีสาน พบมากในแม่น้ำโขง และทางภาคใต้ พบที่สงขลา
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 120: 3 ก.ค. 55, 23:31
ปลากะพงขาว (อังกฤษ: Barramundi, Silver perch, White perch) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อย
ปลากะพงขาว (อังกฤษ: Barramundi, Silver perch, White perch) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lates calcarifer อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัม โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด[1]

พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มี[2]เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า

เป็นปลาเศรษกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะ, นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากะพงขาว ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "โจ้โล้
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 121: 3 ก.ค. 55, 23:33
เริ่มง่วงนอนและ ต่อให้จบแล้วไปนอนดีกว่า :sleeping: :sleeping: :sleeping:
ต่อไปเป็นตระกูลปลา กราย คั
เริ่มง่วงนอนและ ต่อให้จบแล้วไปนอนดีกว่า
ต่อไปเป็นตระกูลปลา กราย คับ

ปลากราย (อังกฤษ: Clown featherback, Clown knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala ornata อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3 - 20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร หนัดถึง 15 กิโลกรัม

มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย ก็เป็นส่วนที่นิยมรับประทานโดยนำมาทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทอง ขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "หางแพน" ในภาษากลาง "ตอง" ในภาษาอีสาน "ตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 122: 3 ก.ค. 55, 23:36
ปลาตองลาย (อังกฤษ: Royal knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ
ปลาตองลาย (อังกฤษ: Royal knifefish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala blanci อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างเหมือนปลาทั่วไปในวงศ์นี้ แต่มีส่วนหลังและหน้าผากลาดชันน้อยกว่าปลากราย (C. ornata) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน สีลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ลำตัวด้านท้ายมีลายจุดและขีดจำนวนไม่แน่นอนคาดเฉียงค่อนข้างเป็นระเบียบ มีขนาดประมาณ 60 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1 เมตร

เป็นปลาที่พบได้เฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาที่ไหลสู่แม่น้ำโขง โดยมีรายงานพบเมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีรายงานพบที่แม่น้ำน่านด้วยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถือว่าเป็นมีแค่เพียงสองแหล่งนี้ในโลกเท่านั้น เป็นปลาที่หายากชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อติดอยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย โดยอยู่ในระดับหายาก (R)แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

โดยการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาท โดยพ่อแม่ปลาเป็นปลาที่จับมาจากแม่น้ำโขง เมื่ออายุประมาณ 1 ปี น้ำหนักประมาณ 100-120 กรัม ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3 ปี ในตู้กระจก จนปลามีความสมบูรณ์เต็มที่เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์พบว่าตัวผู้มีน้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.1 กิโลกรัม โดยตัวผู้มีความยาวครีบท้องมากกว่าตัวเมียถึงสองเท่า

เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่ ปลาจะมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว จะมีพฤติกรรมไล่กัดปลาตัวอื่นที่มาข้องแวะหรือมาอยู่ใกล้ ๆ ฤดูวางไข่ของปลาตองลายอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม แม่ปลาวางไข่ครั้งทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 200-400 ฟอง การวางไข่แต่ละครั้งห่างกันราว 2-8 วัน ไข่มีลักษณะเป็นไข่จมเกาะติดกับวัสดุใต้น้ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ที่อุณหภูมิ 23-26 องศาเซลเซียส ลูกปลาจะเจริญเติบโตได้ดีและมีอัตราการรอดตายสูงที่อุณหภูมิประมาณ 29-31 องศาเซลเซียส[3]
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 123: 3 ก.ค. 55, 23:39
ปลาสะตือ (อังกฤษ: Giant featherback) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis อยู่ในวงศ
ปลาสะตือ (อังกฤษ: Giant featherback) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitala lopis อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีรูปร่างคล้ายปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนี้ทั่วไป แต่มีท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร นับเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้เป็นอันดับสองรองจากปลากรายอินเดีย (C. chitala)

นับเป็นปลาที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบอาศัยเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น คือ แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำตาปี, แม่น้ำโขง พบน้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา ในต่างประเทศพบที่พม่า, มาเลเซีย และบนเกาะบอร์เนียว โดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "ตองแหล่" ในภาษาอีสาน "สือ" ในภาษาใต้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ตือ" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 124: 3 ก.ค. 55, 23:40
ปลาสลาด (เบงกาลี: ফলি) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopter
ปลาสลาด (เบงกาลี: &#2475;&#2482;&#2495;) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Notopterus notopterus อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างไม่เกินลูกตาเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวมีสีเรียบ ยกเว้นปลาวัยอ่อนจะมีลายบั้งเหมือนปลากราย (Chitala ornata) วัยอ่อน จมูกมีสองคู่ คู่หน้ายื่นออกมาคล้ายหลอดหรือหนวด มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร จัดเป็นปลาที่เล็กที่สุดชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Notopterus[1]

พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะสุมาตราและชวาหรือบอร์เนียว เป็นปลาที่หาง่าย มักอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ อาหารได้แก่ ลูกกุ้ง ลูกปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง และนิยมนำเนื้อไปทำทอดมันแทนเนื้อปลากรายซึ่งมีราคาแพงกว่าได้ นอกจากนี้ยังแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลูกชิ้นสับนก หรือรมควัน เป็นต้น และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีก โดยเฉพาะปลาที่กลายสีเป็นสีเผือก

ปลาสลาด ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น "ตอง", "ฉลาด" หรือ "ตองนา" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,714
ล่าสุด: 22-11-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 125: 3 ก.ค. 55, 23:43
ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีวิวัฒนาการจากปลาโบราณเพียงเล็กน้อย จ
ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า อะโรวาน่า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีวิวัฒนาการจากปลาโบราณเพียงเล็กน้อย จึงมีลักษณะคล้ายปลาโบราณ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Arowana (อะโรวาน่า) หรือ Arawana (อะราวาน่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไปได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาตู้ ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

สำหรับชื่อ "ตะพัด" เป็นชื่อที่เรียกกันในภาคตะวันออก แถบจังหวัดจันทบุรีและตราด ในภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หางเข้" ถูกค้นพบเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2474 ตามรายงานของสมิธที่ลำน้ำเขาสมิง จังหวัดตราด โดยระบุว่าในขณะนั้น ปลาตะพัดเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแม่น้ำลำคลองในภาคตะวันออก ไข่มีลักษณะสีส้มลูกกลมใหญ่ ฟักไข่ในปาก เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมใช้ทำเป็นอาหาร

ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เชื่อว่าเหลือเพียงบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน ซึ่งเป็นต้นแม่น้ำตาปี และบริเวณแม่น้ำ ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น ส่วนทางภาคตะวันออกที่เคยชุกชุมในอดีต ไม่มีรายงานการพบอีกเลย อีกที่หนึ่งที่ได้เคยได้ชื่อว่ามีปลาตะพัดชุกชุมคือ บึงน้ำใส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในอดีตเป็นแหล่งจับปลาตะพัดที่มีชื่อเสียงมาก จนมีชื่อปรากฏในคำขวัญประจำอำเภอ โดยชาวบ้านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กรือซอ" แต่จากการจับอย่างมากในอดีต ทำให้ในปัจจุบัน ปริมาณปลาตะพัดลดน้อยลงจนแทบจะสูญพันธุ์

ลักษณะลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงินอมเขียวหรือฟ้าเรียงเป็นระเบียบอย่างสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโต ปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณครีบหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ปลาตะพัดขนาดโตเต็มที่ได้ยาวได้ราว 90 เซนติเมตร หนักได้ถึง 7 กิโลกรัม พฤติกรรมมักจะว่ายบริเวณริมผิวน้ำ อาหารของปลาตะพัด ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนแมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารได้สูงถึง 1 เมตร


[แก้] ที่อยู่อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่มีสภาพใสสะอาด มีนิสัยค่อนข้างดุ ก้าวร้าว ขี้ตกใจ มักอาศัยอยู่ลำพังตัวเดียวหรือเป็นคู่ ถ้าอยู่เป็นฝูง ก็จะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่เกิน 3-5 ตัว พบได้ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปลาในแต่ละแหล่งน้ำจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายกันออกไป เชื่อว่าเกิดเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่อยู่ เช่น สีทอง สีแดง สีเงิน สีทองอ่อน เป็นต้น

] การเลี้ยงปลาตะพัด หรือ ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมา โดยตลอดซึ่งอาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย "มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาอะโรวาน่า โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด

หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?begin=100&onlyuserid=0&tid=648486