สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 21 ม.ค. 68
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 421,587 - [21 ม.ค. 68, 17:33]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 76: 3 ก.ค. 55, 20:46
สกุลปลายี่สก หรือ สกุลปลาเอิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Probarbus, อังกฤษ: Striped barb) เป็นชื่อสกุลปลาน้ำจ
สกุลปลายี่สก หรือ สกุลปลาเอิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Probarbus, อังกฤษ: Striped barb) เป็นชื่อสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

อองรี เอมิล โซวาค นักมีนวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลาสกุลนี้ในปี ค.ศ. 1880 และในปีถัดมาได้กลับมาบรรยายเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง โดยปลาที่เป็นต้นแบบมีความยาว 34 และ 53 เซนติเมตร ตามลำดับ ลักษณะที่สำคัญอีกประการ คือ มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว จำนวนทั้งหมดสี่ซี่ มีหนวดที่ริมฝีปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังมีก้านครีบแขนงเก้าก้าน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังสั้น แข็ง และมีขอบเรียบ ตามลำตัวมีเส้นขีดตามแนวนอนแตกต่างกันออกตามแต่ละชนิด

จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกจำพวกหนึ่งในวงศ์นี้ โดยขนาดเมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 135 เซนติเมตร ปลาตัวเมียเมื่อถึงฤดูวางไข่อาจมีน้ำหนักตัวถึง 36 กิโลกรัม โดยช่วงที่ไข่สุกพร้อมที่จะถูกปล่อยออกมาผสมกับน้ำเชื้อของตัวผู้อยู่ในช่วงปลายปีจนถึงต้นฤดูร้อนของปีถัดมา[1]

มีการกระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงและที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และมีพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในมาเลเซียอีกด้วย

เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก จึงถูกจับจนใกล้จะสูญพันธุ์แล้วในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม

มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เอิน" ขณะที่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย จะเรียกว่า "ปลาเสือ"
กระทู้: 0
ความเห็น: 1,029
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-07-2554
ความเห็นที่ 77: 3 ก.ค. 55, 20:47
++++1คับน้า
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 78: 3 ก.ค. 55, 20:51
ปลาพรมหัวเหม็น เป็น ปลาน้ำจืด อีกชนิดนึง ของบ้านเรา ซึ่งตอนนี้ จากการสำรวจ พบว่า จำนวน ประชากร ของปล
ปลาพรมหัวเหม็น เป็น ปลาน้ำจืด อีกชนิดนึง ของบ้านเรา ซึ่งตอนนี้ จากการสำรวจ พบว่า จำนวน ประชากร ของปลาชนิดนี้ ตามแหล่งน้ำสาธารณะ ต่างๆ ได้ลดจำนวนลงกว่า ในอดีต เป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจาก หลายประการ เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ จำนวนของเสีย ที่ถูกปล่อยลง แหล่งน้ำธรรมชาติ มี{จำนวนเพิ่มตามไปด้วย จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ทำให้ แหล่งน้ำ ธรรมชาติ เกิดการเน่าเสีย ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาพรมหัวเหม็น

ข้อมูล ทั่วๆ ไป ของ ปลาพรมหัวเหม็น
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลำตัวค่อนข้างยาว หัวทู่ ปากอยู่ต่ำและมีขนาดเล็ก ริมฝีปากล่างมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ อยู่รวมเป็นกระจุก บริเวณข้างลำตัวเหนือครีบอกมีแถบสีดำพาดตามขวาง 1 แถบเพศผู้และเพศเมีย ลักษณะภายนอกเหมือนกัน เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลเดียวกันและกล่าวกันว่าที่หัวมีกลิ่นเหม็น คาวจัด ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า ปลาพรมหัวเหม็น ถิ่นอาศัย อยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและไหล พบทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วไป อาหาร กินอาหารพวกตะไคร่น้ำ พืชน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 13-50 ซ.ม. ประโยชน์ ปรุงเป็นอาหารได้

ปลาพรมหัวเหม็น มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
GREATER BONY LIPPED BARB Osteocheilus melanopleura
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 79: 3 ก.ค. 55, 20:52
ปลาบัว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprin
ปลาบัว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลากาดำ (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว

เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา

ปลาบัว มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 80: 3 ก.ค. 55, 20:53
ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus strach
ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus stracheyi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ

อาหารได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม

ปลาพลวง มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก "พุง" หรือ "มุง" บางพื้นที่เรียกว่า "จาด" หรือ "โพ" หรือ "พลวงหิน" เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "ยะโม"

ในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพบปลาพลวงได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ น้ำตกพริ้วและน้ำตกลำนารายณ์ จ.จันทบุรี อุทยานถ้ำปลาและอุทยานถ้ำธารลอด จ.แม่ฮ่องสอน
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 81: 3 ก.ค. 55, 20:54
ปลาเวียน (อังกฤษ: Thai Mahseer, Greater Brook Carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ปลาเวียน (อังกฤษ: Thai Mahseer, Greater Brook Carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวง (Neolissochilus soroides) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร

อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4-8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม

เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี เพราะเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 82: 3 ก.ค. 55, 21:04
สกุลปลาแปบควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งชนิด อยู่ในวงศ์ปลาตะ
สกุลปลาแปบควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งชนิด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Alburninae

มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50-85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 83: 3 ก.ค. 55, 21:05
ปลาซิว (อังกฤษ: Minnow) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลา
ปลาซิว (อังกฤษ: Minnow) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Chela ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ

แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น

โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร

นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น

อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 84: 3 ก.ค. 55, 21:05
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น นางอ้าว, อ้ายอ้าว
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 85: 3 ก.ค. 55, 21:06
ชื่อสามัญ Silver shark

ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilos  melanopterus  (Bleeker, 1851)

ลักษณะทั
ชื่อสามัญ Silver shark

ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilos  melanopterus  (Bleeker, 1851)

ลักษณะทั่วไปของปลาหางไหม้

    ปลาหางไหม้เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างเรียวแบนด้านข้าง ขนาดที่พบในประเทศไทยประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ในเกาะบอร์เนียวพบขนาดยาวถึง 35 เซนติเมตร ส่วนปากอยู่ด้านใต้ของส่วนหัว ริมฝีปากบนหนาเป็นปุ่ม และริมฝีปากล่างมีร่องซึ่งมีลักษณะคล้ายถุงเปิดออกทางด้านหลัง ขอบด้านหลังของครีบหลังและครีบก้นเว้าเห็นได้ชัด ก้านครีบก้านสุดท้ายของครีบหลัง หนา แข็ง และมีหยักซี่เล็ก ๆ ครีบหางมีลักษณะเป็นหางสามเหลี่ยมเว้าลึก ไม่พบว่ามีหนวดเลย ลำตัวทางด้านหลังสีเทาอมฟ้า ข้างลำตัวสีเงินวาว ครีบทุกครีบสีเหลืองขลิบดำทางด้านหลังยกเว้นครีบหู  ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในแม่น้ำ และลำธารทั่วไป มีนิสัยชอบกินทั้งพืช และสัตว์ เช่น กุ้งขนาดเล็ก แมลงน้ำ และสัตว์ขนาดเล็ก ฯลฯ ปลาชนิดนี้มีความสามารถในการกระโดดลอยสูงจากผิวน้ำได้สูงถึง 2 เมตร ปลาตัวเมียค่อนข้างก้าวร้าวกว่าปลาตัวผู้ ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม

การแพร่กระจาย

              ปลาหางไหม้ในประเทศไทย พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำ และลำธารทั่วไป ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังพบแพร่กระจายอยู่ลาว กัมพูชา มลายู สุมาตราและบอร์เนียว

สถานภาพ

              ในอดีตเคยมีปลาหางไหม้ชุกชุมในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำโขง มีชุกชุมเป็นพิเศษในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์  สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์ เกิดจากการจับปลาหางไหม้เป็นจำนวนมากจากแหล่งน้ำธรรมชาติในระยะ 20 ปีที่แล้ว และการเน่าเสียของแหล่งอาศัยได้ทำให้ปลาชนิดนี้หมดไปจากแหล่งน้ำในหลายบริเวณ อย่างน้อยที่สุดก็หมดไปจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ปัจจุบันยังพอพบได้จากแหล่งน้ำอื่น ๆ  ปีละ 5-10 ตัวเท่านั้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 86: 3 ก.ค. 55, 21:07
เดี๋ยวต่อใหม่นะคับ
กระทู้: 0
ความเห็น: 60
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 02-10-2552
ความเห็นที่ 87: 3 ก.ค. 55, 21:27
กระทู้: 0
ความเห็น: 126
ล่าสุด: 05-05-2567
ตั้งแต่: 25-04-2554
ความเห็นที่ 88: 3 ก.ค. 55, 21:49
++
กระทู้: 0
ความเห็น: 300
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 14-06-2555
ความเห็นที่ 89: 3 ก.ค. 55, 21:56
ขอบคุณครับน้าสำหรับข้อมูล 
กระทู้: 2
ความเห็น: 319
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 26-01-2554
vvvv(59 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 90: 3 ก.ค. 55, 22:10
+++++ +++++
กระทู้: 94
ความเห็น: 24,265
ล่าสุด: 29-12-2567
ตั้งแต่: 29-11-2553
ความเห็นที่ 91: 3 ก.ค. 55, 22:13
++
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 92: 3 ก.ค. 55, 22:37
ขอเพิ่มเติมปลาหมูที่ตกหล่นไปนะคับ

ปลาหมูข้างลาย
ชื่อสามัญ  Tiger botia

 ชื่อวิทยาศาสตร์  Sync
ขอเพิ่มเติมปลาหมูที่ตกหล่นไปนะคับ

ปลาหมูข้างลาย
ชื่อสามัญ  Tiger botia

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syncrossus  hymenophysa  (Bleeker, 1852)

ลักษณะทั่วไปของปลาหมูลาย

                  เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ปลางวง เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามดินดาน หรือ ดินทราย ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอยู่ตามซอกหรือตามโพรง ลำตัวมีสีสันสวยงดงาม ลำตัวป้อม ด้านข้างแบน จะงอยปากเล็กเรียว ตรงปลายมีหนวดเป็นกระจุก ปากมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลม ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ขนาดของครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีเหลืองแกมเขียวมีริ้วสีน้ำเงินเข้มพลาดขวางลำตัวประมาณ 11 แถบ ครีบหู และครีบก้นเป็นสีเหลือง ขนาดใหญ่ที่พบมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดที่พบส่วนมากมีขนาด 12-15 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

                  ปลาหมูข้าลาย พบแพร่กระจายทั้งใน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม บึงบอระเพ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในแม่น้ำโขง
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 93: 3 ก.ค. 55, 22:39
ปลาหมูหางแดง

ชื่อสามัญ  Redtail botia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia  modesta  (Bleeker, 1864)
ปลาหมูหางแดง

ชื่อสามัญ  Redtail botia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia  modesta  (Bleeker, 1864)

ลักษณะทั่วไปของปลาหมูหางแดง

              เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาว มีขนาดประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนหลังโค้งลาดมายังส่วนหัวและส่วนหาง จะงอยปากเรียวแหลม ปากเล็ก ริมฝีปากบนมีหนวดสั้นอยู่ 3 คู่ ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉกอยู่หน้าตา ใช้ในการต่อสู้ และป้องกันตัว ครีบหลังใหญ่ ครีบหางปลายแยกเป็นแฉก ส่วนครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีลักษณะปลายมน สีของลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาเข้ม ท้องสีเทา มีแถบสีดำจางที่โคนครีบหาง กินตัวอ่อนแมลง และหนอนที่อยู่ตามโคลนตม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามบริเวณพื้นโคลน ตอไม้ รากไม้ และซอกหินใต้น้ำ

การแพร่กระจาย
              ปลาหมูหางแดงพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง


กระทู้: 104
ความเห็น: 13,113
ล่าสุด: 01-05-2567
ตั้งแต่: 16-12-2550
clashfan(3770 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 94: 3 ก.ค. 55, 22:40
++++8++++ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ................
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 95: 3 ก.ค. 55, 22:40
ชื่อสามัญ  Red tail หรือ Tinfoil barb 

 ปลาตะเพียนทอง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus  altus  (G&uum
ชื่อสามัญ  Red tail หรือ Tinfoil barb

ปลาตะเพียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus  altus  (G&uuml;nther, 1868)

ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนทอง

              ลำตัวเป็นสีน้ำตาลทองซึ่งในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีสีลำตัวเป็นสีเหลืองทอง ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับปลาตะเพียนขาว คือ ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากขอบส่วนโค้งยกสูงขึ้น ความยาวของลำตัวเท่ากับ 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็ก ๆ 2 คู่ ลำตัวเป็นสีเงิน ส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ปลาตะเพียนทองมีสีสวยงามกว่า ที่ฐานของครีบหางเป็นสีแดงส้ม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้นมีสีส้ม ซึ่งสีลดลงเมื่อปลาอายุมากขึ้น การกินอาหารกินพืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วางไข่ในฤดูฝน โดยวางไข่บริเวณน้ำไหล เป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย

การแพร่กระจาย

              ปลาตะเพียนทองอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบ นอกจากนี้ยังพบแพร่กระจายอยู่ ลาว กัมพูชา มลายู  และ อินโด
กระทู้: 25
ความเห็น: 9,901
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 16-12-2554
wanna2940(1333 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 96: 3 ก.ค. 55, 22:42
++++++1      ติดตามชมติดตามเชียร์ค่ะ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 97: 3 ก.ค. 55, 22:42
ปลากาแดง

ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  frenatum  (Fowler, 19
ปลากาแดง

ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  frenatum  (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลากาแดง

            ปลากาแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาแดงนคร อยู่ในสกุลเดียวกับปลาทรงเครื่องดูคล้ายปลาทรงเครื่องมาก แต่แตกต่างที่ลำตัวค่อนข้างยาว เรียวกว่า ตัวไม่ดำอย่างปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่มีลักษณะ มีรูปร่างยาวเพรียว คล้ายฉลาม หัวเล็กปากเล็ก มีหนวด 4 เส้น ครีบมีขนาดใหญ่ และสูง จัดเป็นปลาที่สวยงามชนิดเนื่องจากมีครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงสด หรือ สีส้มอมแดง ตัดกับลำตัวสีดำ มีเส้นสีดำคาดตา และจุดสีดำรูปไข่  บริเวณโคนที่คอดหาง ในอดีตจับได้จำนวนมากจากแม่น้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม จึงได้ชื่อว่า “กาแดงนครพนม” และพบที่แม่น้ำสงคราม กินอาหารจำพวกสาหร่าย และตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน แพลงก์ตอนสัตว์ และเศษพืชเน่าเปื่อย ปลาชนิดนี้มีขนาดเล็กเพียง 12 เซนติเมตรเท่านั้น

การแพร่กระจาย

              ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบในแม่น้ำภาคกลางตั้งแต่ แม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง และแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี กาญจนบุรี ภาคเหนือที่สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่แม่น้ำโขง


กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 98: 3 ก.ค. 55, 22:45
ปลาทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ  Redtail sharkminnow 


ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  bicolor  (Smi
ปลาทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ  Redtail sharkminnow


ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  bicolor  (Smith, 1931)

ลักษณะทั่วไปของปลาทรงเครื่อง

            ลักษณะของปลาทรงเครื่องจะมีลำตัวยาวเรียว จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาค่อนข้างโต ว่ายน้ำปราดเปรียว ลำตัวแบนข้าง มีสีดำหรือน้ำเงินเข้มปนดำ ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบสูง และมีขนาดใหญ่สะดุดตา  ครีบหางมีขนาดใหญ่ และเว้าลึกเป็นแฉกสีแดง หรือแดงอมส้ม และครีบอื่น ๆ มีสีเทาจาง ปลาทรงเครื่องมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากบนงุ้ม ยาวกว่าริมฝีปากล่าง ปากอยู่ในระดับขนานกับพื้นท้องน้ำ ขอบของริมฝีปากบนมีลีกษณะเป็นขอบครุย บริเวณข้างลำตัวมองเห็นจุดสีดำอยู่ข้างละ 1จุด อยู่เหนือครีบอก มีความยาวประมาณ 9-10 ซม. ตัวใหญ่มาก ๆ ที่พบมีขนาดประมาณ 12 ซม. ในวงการปลาสวยงามเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาฉลามหางแดง เพราะมีหุ่นเพรียวเป็นปลาที่ปราดเปรียว และว่องไว คล้ายฉลาม ปลาทรงเครื่องเป็นปลาปากคว่ำ ชอบซอนไซ้หากินตามพื้นตู้ ก้นบ่อ และชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินอาหารพวกสาหร่าย ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน

การแพร่กระจาย

          ปลาทรงเครื่อง ตามประวัติพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น พบในลุ่มน้ำแม่กลองที่กาญจนบุรี เจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด และบางปะกง เคยเป็นหนึ่งในชนิดพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดให้อยู่ในสถานภาพของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แต่ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้


กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 99: 3 ก.ค. 55, 22:48
ต่อไปจะเป็นประเภทปลา เสือ นะคับ

ปลาเสือสุมาตรา
ชื่อสามัญ Tiger barb

 ชื่อวิทยาศาสตร์  Puntius
ต่อไปจะเป็นประเภทปลา เสือ นะคับ

ปลาเสือสุมาตรา
ชื่อสามัญ Tiger barb

ชื่อวิทยาศาสตร์  Puntius  partipentazona  (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ

          ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปลำตัวมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ ตั้งแต่หัว หน้าครีบหลัง บนครีบหลัง เหนือครีบก้น และปลายคอดหาง  บริเวณปลายครีบมีสีส้ม  ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา และมีความว่องไว ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ปลาตัวผู้มีสีเข้มสดใส ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ แต่มีนิสัยก้าวร้าว โตเต็มที่มีขนาด 5 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

            ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณหมู่เกาะสุมาตราบอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณ แม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาคของไทย

การเพาะพันธุ์ปลาเสือสุมาตรา
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

          ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวแลดูยาว และแบนข้างมากกว่าตัวเมีย บริเวณปาก และครีบ มีสีออกแดง ส่วนตัวเมียมีลำตัวใหญ่ และป้อมกว่า ส่วนบริเวณปากมีสีไม่เข้มเหมือนตัวผู้ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

การเพาะพันธุ์

          ปลาเสือสุมาตราเพาะพันธุ์โดยการวางไข่ ไข่จะมีส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ไข่มีสีออกค่อนข้างเหลือง ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด ลูกปลาใช้เวลาในการฟักตัวออกจากไข่ประมาณ 36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตู้เพาะพันธุ์ควรใช้ตู้ปลาขนาด 12x20 นิ้ว โดยใส่สาหร่ายลงในตู้ เพื่อให้ไข่ปลาเกาะได้ น้ำควรเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และกำจัดคลอรีนแล้ว เมื่อเตรียมอุปกรณ์ พร้อมแล้วให้นำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในตู้ ปกติปลาชนิดนี้ไข่ในช่วงเช้ามืด จำนวนไข่ในแต่ละคอกเฉลี่ยประมาณ 200-300 ฟอง เมื่อพบปลาวางไข่เป็นที่เรียบร้อย แล้วให้ตักพ่อแม่ปลาออก

การอนุบาลลูกปลา

          เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร ประมาณ 2 วัน ลูกปลายังคงใช้อาหารสำรอง และเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ควรให้อาหารโดยใช้ไข่ต้มสุกแล้วนำเฉพาะไข่แดงมาบดให้ละเอียด แต่อย่าให้อาหารปลามากจนเกินไปเพราะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย หรือถ้ามีโรติเฟอร์ก็ควรให้กินในระยะนี้ เพราะทำให้ลูกปลามีอัตราการรอดตายสูงขึ้น หลังจากนั้นควรเริ่มให้ลูกไรเป็นอาหารอาหารสำหรับลูกปลา ปลาเสื่อสุมาตรา สามารถกินได้แทบทุกชนิด รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 21-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 100: 3 ก.ค. 55, 22:52
ปลาเสือตอ
ชื่อสามัญ  Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Datnioides
ปลาเสือตอ
ชื่อสามัญ  Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid

ชื่อวิทยาศาสตร์  Datnioides  undecimradiatus  (Roberts & Kottelat, 1994)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอ

              ปลาเสือตอเป็นปลาในวงศ์ Family Lobotidae ซึ่งปลาในวงศ์นี้ ในแหล่งน้ำจืดของประเทศไทย พบเพียง 2 ชนิด คือ ปลาเสือตอ และปลากระพงลาย ปลาทั้งสองชนิดมีรูปร่างคล้ายกันมากต่างกันที่ลายบนตัวปลาซึ่งในปลาเสือตอมีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6 แถบ แต่ในปลากระพงลายเส้น ลายดำมีถึง 8-10 แถบ และสีของปลาเสือตอเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ส่วนของปลากระพงลาย เป็นสีเงินอมเทา ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างแปลก หัวแหลมท้ายกว้าง ลำตัวค่อนข้างลึกแบนข้าง ลำตัวสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน จุดเด่น คือ มีลายดำพลาดขวางลำตัว 6 ลาย จะงอยปากยื่นยาว ปากกว้างสามารถยืดหดได้ ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม และมีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแหลมแข็งแรง 12 อัน  ครีบท้อง 1 คู่ อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลมแบบพัด ในแหล่งน้ำธรรมชาติพบมีความยาวประมาณ 40 ซม. สำหรับปลาเพศผู้หรือเมียค่อนข้างดูยาก

              ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทยมีลายบนตัวแตกต่างกันเป็น 2 พวก โดยพวกแรกมีลายสีดำที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางตัวกว้างพอ ๆ กับส่วนของสีพื้น ซึ่งเป็นสีอ่อน มักรู้จักในชื่อเฉพาะว่า “ปลาเสือตอลายใหญ่” และอีกชนิดหนึ่งลักษณะเส้นของลายดำที่พาดแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ปลาลายเส้นเล็กนี้เป็นปลาที่พบทั่วไปเป็นส่วนใหญ่เรียกว่า “ปลาเสือตอลายเล็ก” ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ไม่ชอบที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น แต่ชอบอยู่ในที่มีเสาหลัก ต่อไม้ใต้น้ำ อุปนิสัยคอยจ้องจับเหยื่อโดยแฝงตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ซึ่งการชอบอาศัยอยู่ที่ตอไม้นี่เอง จึงถูกเรียกว่าปลาเสือตอ อาหารของปลาเสือตอ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก และลูกกุ้ง การกินอาหารของปลาเสือตอโดยการพุ่งเข้าฮุบเหยื่ออย่างว่องไว ขณะที่กินอาหารปลาจะมีสีที่สดใส และมักกางหนามของครีบหลังตั้งขึ้น เป็นปลาที่มีประสาทตาไว คอยระมัดระวังตัวอยู่เสมอ ปลาเสือตอเป็นปลาที่รักสงบไม่ก้าวร้าวสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายตัว และสามารถเลี้ยงปนกับปลาอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้ ปลาเสือตอในภาคกลาง ปัจจุบันนี้ได้ลดจำนวนลงมาก และกำลังจะสูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง             

              ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสาน เป็นปลาเสือตอลายเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก  ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท

              ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิด นี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมร โดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทย เพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท

การแพร่กระจาย

              การแพร่กระจายของปลาเสือตอ มีชุกชุมบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ในแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพบที่แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง ส่วนในต่างประเทศพบที่ กัมพูชา สุมาตรา พม่า บอร์เนียว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=648486&begin=75