ต่อไปจะเป็นประเภทปลา เสือ นะคับ
ปลาเสือสุมาตรา
ชื่อสามัญ Tiger barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius partipentazona (Fowler, 1934)
ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ
ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปลำตัวมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ ตั้งแต่หัว หน้าครีบหลัง บนครีบหลัง เหนือครีบก้น และปลายคอดหาง บริเวณปลายครีบมีสีส้ม ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา และมีความว่องไว ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ปลาตัวผู้มีสีเข้มสดใส ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ แต่มีนิสัยก้าวร้าว โตเต็มที่มีขนาด 5 เซนติเมตร
การแพร่กระจาย
ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณหมู่เกาะสุมาตราบอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณ แม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาคของไทย
การเพาะพันธุ์ปลาเสือสุมาตรา
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวแลดูยาว และแบนข้างมากกว่าตัวเมีย บริเวณปาก และครีบ มีสีออกแดง ส่วนตัวเมียมีลำตัวใหญ่ และป้อมกว่า ส่วนบริเวณปากมีสีไม่เข้มเหมือนตัวผู้ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
การเพาะพันธุ์
ปลาเสือสุมาตราเพาะพันธุ์โดยการวางไข่ ไข่จะมีส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ไข่มีสีออกค่อนข้างเหลือง ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด ลูกปลาใช้เวลาในการฟักตัวออกจากไข่ประมาณ 36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตู้เพาะพันธุ์ควรใช้ตู้ปลาขนาด 12x20 นิ้ว โดยใส่สาหร่ายลงในตู้ เพื่อให้ไข่ปลาเกาะได้ น้ำควรเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และกำจัดคลอรีนแล้ว เมื่อเตรียมอุปกรณ์ พร้อมแล้วให้นำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในตู้ ปกติปลาชนิดนี้ไข่ในช่วงเช้ามืด จำนวนไข่ในแต่ละคอกเฉลี่ยประมาณ 200-300 ฟอง เมื่อพบปลาวางไข่เป็นที่เรียบร้อย แล้วให้ตักพ่อแม่ปลาออก
การอนุบาลลูกปลา
เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร ประมาณ 2 วัน ลูกปลายังคงใช้อาหารสำรอง และเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ควรให้อาหารโดยใช้ไข่ต้มสุกแล้วนำเฉพาะไข่แดงมาบดให้ละเอียด แต่อย่าให้อาหารปลามากจนเกินไปเพราะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย หรือถ้ามีโรติเฟอร์ก็ควรให้กินในระยะนี้ เพราะทำให้ลูกปลามีอัตราการรอดตายสูงขึ้น หลังจากนั้นควรเริ่มให้ลูกไรเป็นอาหารอาหารสำหรับลูกปลา ปลาเสื่อสุมาตรา สามารถกินได้แทบทุกชนิด รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป