สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 23 ม.ค. 68
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 421,721 - [23 ม.ค. 68, 13:29]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 26: 3 ก.ค. 55, 19:28
ปลากดหิน หรือ ปลาแขยงหิน เป็นปลาน้ำจืด ที่พบได้ทั่วไป ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ประเภท ห้วย หนอง คลอง บึง
ปลากดหิน หรือ ปลาแขยงหิน เป็นปลาน้ำจืด ที่พบได้ทั่วไป ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ประเภท ห้วย หนอง คลอง บึง ของประเทศไทย ปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่อาศัย แพลงตอนน้ำจืด และ สิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กในน้ำ ปัจจุบัน จากการสำรวจ พบว่า ปลาชนิดนี้ ถูกภาวะ น้ำเน่าเสีย จากการทิ้งขยะ และปล่อย สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คุกคามแหล่งที่อยู๋อาศัย จน ปลากดหิน ลดจำนวนลงเป็นอย่างมากลักษณะ ทั่วไปของ ปลากดหิน ปลาแขยงหิน
ตัวค่อยข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็กๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกันครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา ถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำกลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 17 ซม. ประโยชน์ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้

ปลากดหิน ปลาแขยงหิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ
SIAMESE ROCK CATFISH Leiocassis siamensis

กระทู้: 12
ความเห็น: 1,622
ล่าสุด: 03-09-2567
ตั้งแต่: 04-07-2552
ความเห็นที่ 27: 3 ก.ค. 55, 19:29
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 28: 3 ก.ค. 55, 19:30
ชื่อวิทยาศาสตร์   Mystus multiradiatus  Roberts, 1992

ชื่อสามัญ           แขยงข้างลาย

ลักษณะทั
ชื่อวิทยาศาสตร์  Mystus multiradiatus  Roberts, 1992

ชื่อสามัญ          แขยงข้างลาย

ลักษณะทั่วไป

                M. multiradiatus มีส่วนหัวแบนกว่า และมีฐานครีบไขมันกว้างกว่า M. mysticetus  หากินบริเวณหน้าดิน กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและซากสัตว์ต่างๆเป็นอาหาร มีขนาดความยาวประมาณ  15 เซนติเมตร  พบอาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่และปะปนกับปลาแขยงข้างลายชนิดอื่นๆแต่มีปริมาณน้อยกว่า


 
กระทู้: 10
ความเห็น: 5,219
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 21-03-2555
lek-3(1108 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 29: 3 ก.ค. 55, 19:32
+++1  ตามมาชมค่ะ....
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 30: 3 ก.ค. 55, 19:34
ปลาแขยงใบข้าว
ชื่อท้องถิ่น: ปลาแขยงใบข้าว 
ชื่อสามัญ: ปลากะแยง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: LONG-FATTY FINNE
ปลาแขยงใบข้าว
ชื่อท้องถิ่น: ปลาแขยงใบข้าว
ชื่อสามัญ: ปลากะแยง
ชื่อวิทยาศาสตร์: LONG-FATTY FINNED MYSTUS
ชื่อวงศ์: Mystus cavasius
ประเภทสัตว์: สัตว์น้ำ
ลักษณะสัตว์:  มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนมากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำคลองและลำธาร
ปริมาณที่พบ: น้อย
การใช้ประโยชน์: อื่นๆ
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: ตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
แหล่งที่พบ: หนองน้ำ
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:  กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ ซากสัเนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ทุกฤดู
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 31: 3 ก.ค. 55, 19:35
แขยงธง 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mystus bocourti (Bleeker, 1864) 
ชื่อสามัญ BOCOURT’S RIVER CATFISH

ถ
แขยงธง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mystus bocourti (Bleeker, 1864)
ชื่อสามัญ BOCOURT’S RIVER CATFISH

ถิ่นอาศัย

            โดยปกติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ตามแม่น้ำและลำคลอง อาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำนิ่งเป็น ครั้งคราว


ลักษณะทั่วไป

                            ปลาแขยงธง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวด้านข้างแบน หัวเล็ก ตาค่อนข้างโต ปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และยาวสูงเด่นคล้ายชายธง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมคมข้างละอัน ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว ครีบหางเว้าลึก แพนหางส่วนบนมีปลายยาวเป็นเส้นระยาง ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลเรื่อ มีแต้มสีคล้ำจาง ๆ ที่โคนครีบหาง กินลูกปลา ลูกกุ้ง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร

                ปลาแขยงธงมีจำนวนโครโซมแบบดิพลอยด์ 2n=56 คาริโอไทพ์ประกอบด้วยโครโมโซมแบบเมตาเซนตริก 12 คู่ แบบสับเมตาเซนตริก 9 คู่ แบบสับทีโลเซนตริก 3 คู่ และแบบอะโครเซนตริก 4 คู่ จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 98 ข้อมูลด้านเซลล์พันธุศาสตร์ของปลาแขยงธงเป็นข้อมูลใหม่ อาจมีประโยชน์ทางด้านเซลล์อนุกรมวิธานและความสัมพันธ์ทางด้านวิวัฒนาการของปลา (แหล่งที่มาhttp://kucon.lib.ku.ac.th)

                  ปลาแขยงธงเป็นปลาเศษฐกิจเลี้ยงไว้ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด เนื้ออร่อยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทแกงผัดเผ็ดต่างๆ เป็นที่นิยมของคนในภาคเหนือ และภาคอีสานและสามารถพัฒนาเป็นปลาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม.ในปัจจุบันวงการปลาสวยงามสามารถผลิตปลาขแยงธงเผือกได้แล้ว
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 32: 3 ก.ค. 55, 19:37
ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariid
ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร

อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 33: 3 ก.ค. 55, 19:39
ปลาหนวดพราหมณ์ (อังกฤษ: Paradise threadfin) ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ มีชื่อวิทย
ปลาหนวดพราหมณ์ (อังกฤษ: Paradise threadfin) ปลาน้ำกร่อยที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemus paradiseus อยู่ในวงศ์ปลากุเรา (Polynemidae) มีส่วนหัวขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็กอยู่เกือบสุดปลายส่วนหัวและมีเยื่อไขมันคลุม ปากกว้างมีฟันซี่เล็กละเอียดบนขากรรไกร ลำตัวแบนข้าง ครีบอกยาว ส่วนที่เป็นเส้นยาวมีความยาวมากกว่าลำตัวถึง 2 เท่า โดยเฉพาะเส้นบนมีทั้งหมดข้างละ 10 เส้น ครีบหางเว้าลึกปลายแหลม เกล็ดเล็กละเอียดมีลักษณะเป็นปากฉลาม ตัวมีสีเงินวาวอมชมพูหรือสีเนื้อ หัวสีจางอมชมพูหรือสีเนื้อ ครีบสีจาง ด้านท้องสีจาง

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง บางครั้งหากินด้วยการหงายท้องล่าเหยื่อ พบมากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำโขงตอนล่าง ในต่างประเทศพบได้จนถึงบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา

เป็นปลาที่นิยมใช้บริโภคโดยการปรุงสดและทำปลาตากแห้ง นิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งด้วยความสวยงามของหนวดที่ยาว ทำให้ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เลี้ยงให้รอดได้ยากมาก เนื่องจากเป็นปลาที่เปราะบาง มักตายอย่างง่าย ๆ จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูงแต่ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นอย่างมาก โดยมีราคาเฉลี่ย 500 ถึง 1,500 บาท แล้วแต่ขนาดและความสมบูรณ์ของปลา
ปัจจุบันเริ่มหายากแล้วนะคับ ผมตกได้ก็จะปล่อยคืน
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 34: 3 ก.ค. 55, 19:41
ปลาไหล (อันดับ: Anguilliformes) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล (อังกฤษ: Eel) เป็นปลากร
ปลาไหล (อันดับ: Anguilliformes) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล (อังกฤษ: Eel) เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น

เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม

ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด

อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) หรือ ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) ถูกจัดอยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น

กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 35: 3 ก.ค. 55, 19:42
ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูป
ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปลาสะแงะ (A. bengalensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนามีสีคล้ำ ในปลาโตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า ปลาไหลหูดำ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย ใต้ท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร

ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และในภาคตะวันตกในชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก, แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยชาวกระเหรียงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หย่าที" ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกพบได้ตั้งแต่พม่า บังคลาเทศ จนถึงอินเดีย โดยปลาที่พบในประเทศแถบนี้จะเป็นสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า A. b. pacifica ส่วนปลาที่พบในแถบเอเชียตะวันออกมีชื่อเรียกว่า A. b. bicolor

ปลาตูหนามีพฤติกรรมจะกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลูกปลาแรกเกิดมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อยอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด ซึ่งบางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา

ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง ในต่างประเทศที่นิยมบริโภค ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น โดยหน่วยงานประมงของประเทศเหล่านี้ได้มีการส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจ มีการทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ แต่ว่าเนื้อมีกลิ่นคาวมาก จึงนิยมปลาตูหนาญี่ปุ่น (A. japonica) มากกว่า

สำหรับชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะโซโลมอนจะชื่นชอบปลาชนิดนี้มาก โดยจะไม่มีการจับมาบริโภค แต่จะเลี้ยงด้วยเนื้อเมื่อพวกมันว่ายทวนน้ำมาถึงบริเวณต้นน้ำ เพราะปลาชนิดนี้กินเนื้อและซากสัตว์เป็นอาหารซึ่งทำให้แหล่งต้นน้ำนั้นสะอาด
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 36: 3 ก.ค. 55, 19:44
ปลาหลด (อังกฤษ: Spotfinned spinyeel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis
ปลาหลด (อังกฤษ: Spotfinned spinyeel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่นแหลมยาว ครีบหางเล็กปลายมนแยกจากครีบหลังและครีบก้นที่ยาว ครีบอกเล็กกลม ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 ดวงตลอดความยาวลำตัว โคนครีบหางมีอีก 1 ดวง มีความยาวประมาณ 12 - 15 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบ 25 เซนติเมตร

อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค บริโภคโดยปรุงสด ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 37: 3 ก.ค. 55, 19:45
ปลากระทิง (อังกฤษ: Tire track eel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus armatus อยู
ปลากระทิง (อังกฤษ: Tire track eel) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus armatus อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมต่อกัน ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นหลายอัน ตาเล็ก ครีบอกใหญ่ หัวมีลายตั้งแต่ปลายจะงอยปากคาดมาที่ตาถึงช่องปิดเหงือก ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีคล้ำเป็นวงหรือเป็นลายเส้น มีลวดลายหลากหลายแบบ ด้านท้องสีจาง ครีบคล้ำมีจุดประสีเหลืองอ่อน มีขนาดประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร

อาศัยอยู่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่งบริเวณที่มีกิ่งไม้หรือพืชน้ำหนาแน่น พบทุกภาคของประเทศไทยตั้งแต่แม่น้ำตอนล่างถึงบริเวณต้นน้ำลำธาร บริโภคโดยปรุงสด เช่น ย่าง และต้มโคล้ง ซึ่งขึ้นชื่อมาก และทำปลาเค็ม และยังนิยมรวบรวมเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หลาด"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 38: 3 ก.ค. 55, 19:46
ปลากระทิงไฟ (อังกฤษ: Fire spiny eel) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacem
ปลากระทิงไฟ (อังกฤษ: Fire spiny eel) ปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mastacembelus erythrotaenia อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป กล่าวคือ รูปร่างยาวคล้ายงูหรือปลาไหล แต่ท้ายลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหางจะมีลักษณะแบนข้าง และส่วนหัวหรือปลายปากจะยื่นยาวและแหลม จะงอยปากล่างจะยื่นยาวกว่าจะงอยปากบน ตามีขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบทวาร และหางจะเชื่อมต่อติดกันเป็นครีบเดียว โดยครีบหลังตอนหน้าจะมีขนาดเล็กมากและลักษณะเป็นหยักคล้ายกับฟันเลื่อย หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น โดยปลายหางมีลักษณะมนโค้ง ปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีหนามใต้ตาเช่นปลากระทิงชนิดอื่น ๆ มีหนามแหลมขนาดเล็กตลอดทั้งความยาวลำตัวช่วงบนไว้เพื่อป้องกันตัว ปลากระทิงไฟจะมีรูปร่างป้อมแต่มีขนาดยาวกว่าปลากระทิง (M. armatus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกประเทศจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคใต้

ปลากระทิงไฟ มีลักษณะเด่นคือ เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำสนิทและประแต้มด้วยแถบสีแดงสดเป็นเส้นๆ และเป็นจุด ๆ ลักษณะคล้ายกับเส้นประ โดยลายนี้จะคาดตามความยาวจากหัวจรดหางหัวค่อนข้างแหลม ซึ่งสีของครีบจะกลมกลืนกับสีพื้นลำตัวและบริเวณขอบครีบด้านนอกเป็นสีแดงหรือสีส้ม บริเวณแนวโคนครีบมีจุดกลมสีแดงประแต้มตลอดแนวซึ่งจุดและลายแถบสีแดงเหล่านี้ขณะที่ปลายังเล็กจะเป็นสีน้ำตาลอมส้มหรือเหลือง เมื่อปลาโตขึ้นจุดและแถบลายเหล่านี้สีก็จะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีแดงหรือสีแดงอมส้มในที่สุด แต่ปลาส่วนใหญ่สีแดงสดจะเข้มจัดเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางหัว ส่วนลาย ที่อยู่ค่อนไปทางหางโดยมากจะเป็นสีแดงส้มหรือสีน้ำตาลส้ม พบน้อยตัวมากที่มีลายสีแดงเพลิงทั้งตัว

สำหรับลวดลายและสีสันทั้งหมดนี้ ยังแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องที่ สำหรับปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลวดลายและสีสันแตกต่างออกไป ซึ่งภาษาใต้จะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "กระทิงลายดอก" หรือ "กระทิงลายดอกไม้"

มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน โดยมักชอบหลบอยู่ใต้ซากไม้ใต้น้ำเพื่อรออาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป

จากสีสันที่สวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่สำหรับสถานะในธรรมชาติ มีแนวโน้มว่าใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถูกจับจากธรรมชาติมากเกินไป
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 39: 3 ก.ค. 55, 19:46
ปลารากกล้วย เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acantopsis choirorhynchos ในวงศ์ปลาหมู (Cobi
ปลารากกล้วย เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acantopsis choirorhynchos ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) มีลำตัวเล็กยาว หัวแหลม ตาเล็ก หางแหลม กลางลำตัวมีเส้นสีเทาจากหัวถึงหางระหว่างเส้นมีจุดสีดำเป็นแนวยาว ครีบหางเว้าตื้น

มีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร แต่ที่พบโดยทั่วไปจะยาวเพียงแค่ 5-14 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในพื้นท้องน้ำที่มีกรวดทรายมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว สามารถมุดทรายได้ดีเวลาตกใจหรือซ่อนตัวจากสัตว์นักล่า จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ซ่อนทราย" พบครั้งแรกที่แม่น้ำในเมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยพบที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำสาละวิน

นิยมบริโภคด้วยการรับประทานทั้งตัวและก้าง เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก โดยนำมาทำเป็นอาหารได้หลายอย่างทั้งการปรุงสดและตากแห้ง โดยเมนูที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ ปลารากกล้วยทอดกระเทียม รับประทานกับข้าวต้ม สำหรับการปรุงสดสามารถทำอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ หรือ ต้มโคล้ง หรือ ฉู่ฉี่ ก็ได้

นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีก โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ นิยมเลี้ยงเพราะเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารที่ปลาอื่นกินเหลือไว้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยพรวนทรายให้ร่วนอยู่ตลอดเวลาด้วย จากความสามารถที่สามารถมุดทรายได้เป็นอย่างดี

มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลามัน" หรือ "ปลามูด" สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "ปลาค้อหน้าม้า" (Horseface loach)

อนึ่ง ปลารากกล้วยนั้น จะหมายถึงปลาในวงศ์ปลาหมูที่มีสกุล Acantopsis ซึ่งนอกจากปลาชนิด A. choirorhynchos นี้แล้ว ยังมีปลารากกล้วยชนิดอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันอีก เช่น A. thiemethdi, A. spectabilis, A. octoactinotos เป็นต้น และยังมีหลายชนิดที่ยังไม่สามารถอนุกรมวิธานได้ จึงใช้ชื่อสายพันธุ์เป็น sp. อยู่
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 40: 3 ก.ค. 55, 19:49
วงศ์ปลาหมูไทย (อังกฤษ: Loache; วงศ์: Cobitidae) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับ Cypriniformes จัดเป็นปลาขน
วงศ์ปลาหมูไทย (อังกฤษ: Loache; วงศ์: Cobitidae) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดในอันดับ Cypriniformes จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะสำคัญคือบริเวณใต้ตามีกระดูกเป็นหนามโค้งพับซ่อนอยู่ข้างละ 1 ชิ้น ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นแหลม ปากเล็กอาจมีติ่งรอบริมฝีปาก มีหนวดสั้น ๆ 3 คู่ ครีบหลังสั้น ครีบอื่น ๆ มีขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ครีบหางเว้าหรือเว้าลึก ผิวหนังมีเกล็ดขนาดเล็กมากฝังอยู่ จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีเมือกปกคลุมตัว ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cobotidae

เป็นปลาที่ไม่มีฟันที่ลำคอและขากรรไกร มักอาศัยอยู่ในบริเซรที่น้ำไหลแรง เช่น ต้นน้ำลำธารบนภูเขาหรือน้ำตก มักอาศัยในระดับพื้นท้องน้ำใกล้ซอกหิน หรือโพรงไม้ โดยพบเป็นฝูงใหญ่ กินอินทรียสารและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บางชนิดสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว

พบได้กว้างขวางตั้งแต่ทวีปยุโรป ยูเรเชียจนถึงทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้ 2 วงศ์ รวมทั้ง 2 วงศ์มีสกุลทั้งหมด 27 สกุล ในประเทศไทยพบไม่น้อยกว่า 30 ชนิด ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า "ปลาหมู" หรือ "ปลาค้อ"

มีความสำคัญคือ นิยมบริโภคในบางสกุล บางสายพันธุ์ อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 41: 3 ก.ค. 55, 19:50
ปลาหมูอารีย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia sidthimunki ในวงศ์ปลาหมู
ปลาหมูอารีย์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Yasuhikotakia sidthimunki ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวเรียวยาวเล็กน้อย ลำตัวมีสีเหลืองสด หลังและกลางลำตัวมีแถบสีดำพาด และมีบั้งสีดำพาดลงมาจากสันหลังถึงด้านท้อง ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ ใต้ตามีกระดูกแข็งอยู่ข้างละคู่ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ครีบมีแถบสีดำบนพื้นสีจาง ๆ

เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยจะพบแค่ 2-3 เซนติเมตรเท่านั้น

เป็นปลาที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยนายดำริ สุขอร่าม ที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ในเขตจังหวัดราชบุรีติดต่อกับเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดยปะปนมากับปลาทรงเครื่อง (Epalzeorhynchos bicolor) ต่อมา นายสมพงษ์ เล็กอารีย์ (ผู้ค้นพบปลาปักเป้าสมพงษ์ ((Carinotetraodon lorteti)) ได้ส่งตัวอย่างปลาให้แก่ ดร.Von Wolfgang Klausewitz ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาถึงลักษณะทางด้านอนุกรมวิธาน พบว่าเป็นปลาหมูชนิดใหม่ จึงได้ให้ชื่อสายพันธุ์ว่า "sidthimunki" เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายอารีย์ สิทธิมังค์ รองอธิบดีกรมประมงในขณะนั้น และได้เรียกชื่อสามัญว่า "หมูอารีย์"

ปลาหมูอารีย์เป็นปลาที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปลาหมูชนิดที่มีสีสันสวยงามมากที่สุด และสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากถิ่นที่อยู่ไม่กว้างขวาง โดยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำแม่กลองแถบจังหวัดราชบุรีและลุ่มแม่น้ำสาละวินในจังหวัดกาญจนบุรี ในต่างประเทศพบที่แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเท่านั้น แม้ว่าจะมีรายงานเพิ่มต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ว่าพบในลำน้ำว้า จังหวัดน่านด้วยก็ตาม แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ปลาหมูอารีย์ หากแต่เป็นปลาหมูน่าน (Y. nigrolineata) ซึ่งเป็นปลาหมูในสกุลเดียวกัน และมีลักษณะและสีสันคล้ายคลึงกัน สำหรับปลาหมูอารีย์ที่พบในลุ่มแม่น้ำน่านจะพบในเขตจังหวัดพิษณุโลกและบึงบอระเพ็ดด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 42: 3 ก.ค. 55, 19:50
พักเหนื่อยซักครู่เดี๋ยวมาต่อใหม่คับ 
กระทู้: 1
ความเห็น: 1,639
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 29-04-2553
bank-may(3 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 43: 3 ก.ค. 55, 19:55
กระทู้: 6
ความเห็น: 539
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 11-06-2555
ความเห็นที่ 44: 3 ก.ค. 55, 20:00
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 45: 3 ก.ค. 55, 20:01
ปลาหมูลายเมฆ (อังกฤษ: Cloud-pattern loach, Polkadot botia) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาส
ปลาหมูลายเมฆ (อังกฤษ: Cloud-pattern loach, Polkadot botia) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Botia kubotai อยู่ในวงศ์ปลาหมู (Cobotidae) มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวเรียวยาวเล็กน้อย ลำตัวมีสีสันสวยงามมาก โดยเป็นปล้องและดวงสีเหลืองสลับกับสีดำบนพื้นลำตัว ครีบและหางก็มีสีสันแบบนี้ด้วยเช่นกัน โดยปลาแต่ละตัวสีสันจะไม่เหมือนกัน ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ ใต้ตามีกระดูกแข็งอยู่ข้างละคู่ซึ่งสามารถพับเก็บได้

มีขนาดลำตัวใหญ่เต็มที่ไม่เกิน 8.5 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เป็นฝูง หากินบริเวณหน้าดินเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินเท่านั้น โดยพบระหว่างพรมแดนไทย-พม่า โดยในเขตแดนไทยพบที่แม่น้ำสุริยะ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

เป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ และถูกอนุกรมวิธานโดย ดร.Maurice Kottelat นักมีนวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 นี่เอง

จากความที่มีสีสันสวยงาม ทำให้ปลาหมูลายเมฆได้รับความนิยมในฐานะเป็นปลาสวยงามในระยะเวลาไม่นาน ในสถานที่เลี้ยง ปลาสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี มีอุปนิสัยไม่ก้าวร้าว สามารถเลี้ยงรวมเป็นฝูงหรือรวมกับปลาอื่นได้เป็นอย่างดี โดยจะเก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่ในตู้กินเหลือ

อนึ่ง มีปลาหมูอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปลาหมูลายเมฆ และพบในลุ่มแม่น้ำสาละวินเช่นเดียวกัน คือ ปลาหมูพม่า (B. histrionica)
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 46: 3 ก.ค. 55, 20:03
ปลาหมูฮ่องเต้ หรือ ปลาหมูกำพล (อังกฤษ: Emperor loach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Botia udomritthiruji) เป็นปลา
ปลาหมูฮ่องเต้ หรือ ปลาหมูกำพล (อังกฤษ: Emperor loach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Botia udomritthiruji) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae)

ปลาหมูฮ่องเต้มีสีพื้นผิวของลำตัวจะเป็นสีเหลืองคล้ายกับชุดของฮ่องเต้หรือจักรพรรดิจีนในสมัยโบราณ อันเป็นที่มาของชื่อ สลับลายคู่สีดำขนาดใหญ่ตลอดทั้งลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว

จัดเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามมาก จึงเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบกระจายพันธุ์เฉพาะลุ่มแม่น้ำตะนาวศรีบริเวณชายแดนของไทยกับพม่า ในเขตตะนาวศรีของพม่าเท่านั้น เป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2550 และถูกตั้งทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ นายกำพล อุดมฤทธิรุจ นักธุรกิจด้านส่งออกปลาสวยงามชาวไทย

ปลาหมูฮ่องเต้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญสำหรับเศรษฐกิจท้องถิ่น เมื่อเป็นปลาที่มีความต้องการของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สร้างรายได้ให้แก่ชาวท้องถิ่นที่จับปลาชนิดนี้ส่งขาย และถูกเปิดตัวอย่างเป็นการครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้า ครั้งที่ 19 ที่ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อปีเดียวกันกับที่มีการค้นพบ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 47: 3 ก.ค. 55, 20:04
ปลาเข็ม (อังกฤษ: Wrestling Halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อ
ปลาเข็ม (อังกฤษ: Wrestling Halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae)

มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน

มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว

เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย

ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 48: 3 ก.ค. 55, 20:05
วงศ์ปลากระทุงเหว หรือ วงศ์ปลาเข็มแม่น้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Belonidae, อังกฤษ: Needlefish) เป็นวงศ์ปลา
วงศ์ปลากระทุงเหว หรือ วงศ์ปลาเข็มแม่น้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Belonidae, อังกฤษ: Needlefish) เป็นวงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง

มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ามาก ปากแหลมยาวทั้งบนและล่าง และภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคม เกล็ดมีขนาดเล็ก เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 130-350 แถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงประมาณ 14-23 ก้าน ครีบอกใหญ่แข็งแรง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก

เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่าปลาขนาดเล็กกว่ารวมทั้งแมลงและสัตว์น้ำต่าง ๆ กิน นิยมอยู่รวมเป็นฝูง หากินตามผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ส่วนมากจะพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับปากแม่น้ำ จึงจัดเป็นปลาน้ำกร่อยอีกจำพวกหนึ่ง

แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ไข่มักจะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ๆ และใช้เวลาประมาณ 6-9 วันถึงจะฟักเป็นตัว นับว่านานกว่าปลาในวงศ์อื่นมาก ลูกปลาในวัยอ่อนส่วนปากจะยังไม่แหลมคมเหมือนปลาวัยโต

เป็นปลาที่สามารถกระโดดจากผิวน้ำได้สูงมาก ขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 120 เซนติเมตร นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการตกปลาว่า "ปลาเต็กเล้ง" บางชนิดมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon canciloides)
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 23-01-2568
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 49: 3 ก.ค. 55, 20:06
วงศ์ปลาลิ้นหมา (วงศ์: Soleidae, อังกฤษ: True sole) เป็นปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ
วงศ์ปลาลิ้นหมา (วงศ์: Soleidae, อังกฤษ: True sole) เป็นปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Pleuronectiformes เป็นปลาลิ้นหมาที่มีลำตัวแบนราบ ตาเล็กอยู่ชิดกันที่ด้านเดียวกัน โดยส่วนหัวจะหันไปทางขวา โดยมีครีบหลังอยู่ด้านบน รูปร่างเป็นรูปไข่หรือวงรี เรียวที่ด้านท้าย ปากเล็กเป็นรูปโค้งอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ครีบอกและครีบก้นเล็ก ครีบหลังยาวตลอดลำตัว มีก้านครีบอ่อนสั้น ๆ เชื่อมต่อกับครีบหางและครีบก้น เกล็ดเล็กเป็นแบบสาก ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำ มีลวดลายต่าง ๆ และเส้นข้างลำตัวหลายเส้น ลำตัวด้านล่างสีขาว เมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนจะมีตาอยู่คนละซีกเหมือนปลาทั่ว ๆ ไป แต่จะย้ายมาอยู่ข้างเดียวกันเมื่อโตขึ้น และลำตัวด้านซ้ายจะกลายเป็นด้านที่ไม่มีตาและอยู่ด้านล่างแทน มีรูก้นและช่องท้องอยู่ชิดกับส่วนล่างของหัวด้านท้าย

อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ว่ายน้ำโดยขนานกับพื้นและพลิ้วตัวตามแนวขึ้นลง สามารถมุดใต้พื้นทรายหรือโคลนได้เวลาตกใจ กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น ไส้เดือนน้ำ, ลูกกุ้ง, ลูกปลาขนาดเล็ก

พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก พบทั้งหมด 22 สกุล 89 ชนิด ในประเทศไทยพบในน้ำจืด 4 ชนิด
กระทู้: 4
ความเห็น: 365
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 17-08-2554
rayb0186(72 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 50: 3 ก.ค. 55, 20:06
ตามติดและติดตามครับน้า
หน้าที่:< 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2025
siamfishing.com/board/view.php?tid=648486&begin=25