สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 22 ธ.ค. 67
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
หน้าที่: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
 กระดาน > น้ำจืด
ความเห็น: 229 - [3 ก.ค. 55, 18:50] ดู: 419,612 - [22 ธ.ค. 67, 10:30]  ติดตาม: 8 โหวต: 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้งกระทู้: 3 ก.ค. 55, 18:50
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
หลังจากที่เห็นน้าๆหลายท่านลงข้อมูลและรูปถาพเกี่ยวกับปลาน้ำจืดไป และผมก็ติดตามมาตลอดแต่ยังมีปลาอีกหลากหลายชนิดที่ยังไม่ได้รับการอ้างถึง ผมจึงตัดสินใจเปิดกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อ แชร์ความรู้จากน้าๆโดยผมได้เปิดให้ช่องลงรูปและYoutube ได้เพื่อที่ น้าคนใหนมีรูปปลาแปลกๆของไทยเราพร้อมข้อมูลมาลงเพิ่มได้คับ

เริ่มจาก ตระกูลปลาหนังก่อนนะคับ
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 1: 3 ก.ค. 55, 18:52
ปลาสวาย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius hypophthalmus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiid
ปลาสวาย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius hypophthalmus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก (Pangasianodon gigas) รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8 - 9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร

พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 มีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพ (P. larnaudi) เข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 2: 3 ก.ค. 55, 18:54
ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิ
ปลาบึก (อังกฤษ: Mekong Giant Catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณประเทศลาว เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก

ปลาบึกถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pangasinodon[1] ลักษณะภายนอกที่สามารถแยกแยะปลาบึกออกจากปลาในสกุล Pangasius ซึ่งเป็นปลาในสกุลที่ใกล้เคียงที่สุด ได้แก่ลักษณะของฟันและหนวด ปลาบึกไม่มีฟันและเกือบจะไม่มีหนวด โดยที่ปลาวัยอ่อนมีฟันและกินปลาอื่นเป็นอาหาร แต่เมื่อโตขึ้นฟันจะหลุดไป และตาซึ่งจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรง ๆ จะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อีกทั้งปลาบึกมีซี่กรองเหงือกเล็กกว่า และ ปลายถุงลมจะลงถึงบริเวณช่วงท้องไม่เกินครีบก้น อีกทั้งความกว้างของปากและส่วนหัวของปลาบึกก็มีมากกว่า

อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ

ในธรรมชาติยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อน ปลาบึกเป็นปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร โดยฤดูกาลที่ปลาอพยพมานั้น ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะถือว่าเป็นประเพณีจับปลาบึก โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

ปลาบึกถือเป็นอาหารที่ราคาสูงในประเทศลาว ในอดีตมีการประกอบพิธีกรรมร่วมกับการจับปลาชนิดนี้ ซึ่งมีการจับเพียงครั้งเดียวต่อปี และเนื้อปลาก็พบเห็นได้น้อยตามตลาด นอกจากเนื้อแล้ว ตับและไข่ปลาหมักเป็นอาหารรสชาติดี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ปลาบึกมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ไตรราช"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 3: 3 ก.ค. 55, 18:55
ปลาเทพา (อังกฤษ: Chao Phraya giant catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitw
ปลาเทพา (อังกฤษ: Chao Phraya giant catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและปากกว้างกว่าปลาในสกุลเดียวกันและชนิดอื่น ๆ มีฟันแหลมคม รูปร่างป้อม ลำตัวลึก ส่วนหลังยกสูงปลายครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องยื่นเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าลึก เมื่อว่ายน้ำจะตั้งชั้นเหมือนปลาฉลาม ปลาวัยอ่อนมีสีเทาคล้ำ ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำแนวเฉียง ท้องสีจาง ครีบมีแต้มสีดำ ปลาตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเทาคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบก้นตอนหน้ามีแถบสีคล้ำตามแนวยาว ครีบหางมีแถบสีจางตามแนวยาวทั้ง 2 แฉก มีขนาดประมาณ 1 - 1.25 เมตร ใหญ่สุดพบยาวได้ถึง 3 เมตร

พบเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงเท่านั้น ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และหายากในแม่น้ำโขง แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยวิธีการผสมเทียม ปลาวัยอ่อนกินปลาเล็กเป็นอาหาร ปลาวัยโตกินซากสัตว์อื่น และปลาเล็ก เนื้อมักถูกนำมาขายแทนเนื้อปลาบึก (Pangasinodon gigas) ซึ่งหายาก และมีราคาแพงกว่า นอกนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาพิการที่ลำตัวสั้นกว่าปกติมีราคาสูงมาก

โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เลิม"

ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาเทพานั้น ตั้งขึ้นโดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรก เพื่อเป็นเกียรติแด่ ม.ร.ว.สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในฐานะเป็นผู้ผลักดันและบุกเบิกให้มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาและจัดการสัตว์น้ำในประเทศ ซึ่งก็คือกรมประมงในปัจจุบัน
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 4: 3 ก.ค. 55, 18:56
ปลาเทโพ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae)
ปลาเทโพ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius larnaudii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวและจะงอยปากมน ปากอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง รูปร่างป้อมสั้น ปลาขนาดใหญ่มีลำตัวส่วนท้องลึก ปลายครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว มีแต้มสีดำเห็นชัดเจนที่ฐานครีบอก ตัวมีสีเทาคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างมีสีเทาจาง ด้านท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ครีบก้นมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบหางมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1.5 เมตร

ปลาขนาดเล็กกินแมลง ปลาขนาดใหญ่กินพืช เช่น ผลไม้, เมล็ดพืช, ปลา, หอย, แมลง ตลอดจนถึงซากสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และสาขาทั่วประเทศ โดยมักรวมฝูงกับปลาสวาย (P. hypophthalmus) ด้วย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

เป็นปลาที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาปรุง "แกงเทโพ" มีการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หูหมาด", "หูดำ" หรือ "ปึ่ง" ในภาษาเหนือ เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 5: 3 ก.ค. 55, 19:00
ปลาสายยู ปลาลึงค์ ปลาโมง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวง
ปลาสายยู ปลาลึงค์ ปลาโมง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60 - 80 เซนติเมตร

พบปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย ปู เมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง บริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ต่างประเทศเช่นที่ เวียตนามและมาเลเชีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย

มีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น "โมงออดอ้อ", "เผาะ" ลึงค์ (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti) หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "สายยูเผือก" เป็นต้น

กระทู้: 4
ความเห็น: 1,630
ล่าสุด: 18-11-2567
ตั้งแต่: 09-01-2554
jakka(44 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 6: 3 ก.ค. 55, 19:00
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 7: 3 ก.ค. 55, 19:01
ปลาสวายหนู เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย
ปลาสวายหนู เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helicophagus waandersii อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวหลิม ตาเล็ก ขอบตามีแผ่นหนังคลุม จะงอยปากเรียว ปากเล็กกว่าปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ ริมฝีปากบางมีแผ่นหนังนิ่มหุ้ม รูจมูกอยู่ห่างกัน หนวดทั้ง 2 คู่ยาวถึงช่องเปิดเหงือก รูปร่างเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ครีบก้นยาว ครีบไขมันยาว ลำตัวสีเทาอ่อนหรืออมฟ้า ด้านข้างลำตัวสีจางไม่มีแถบสี หัวและท้องสีจางอมชมพู ครีบสีจาง ปลาวัยอ่อนมีสีเทาอมชมพู

มีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร อาหารกินแต่เฉพาะหอยขนาดเล็ก ทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ โดยมักหากินใกล้พื้นท้องน้ำ มักกินจุจนท้องป่อง แล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ พบในแม่น้ำโขงและเจ้าพระยา ไม่พบในภาคใต้ของไทย แต่มีในมาเลเชียจนถึงเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเชีย ในประเทศไทยบริโภคโดยการปรุงสุดและหมักสับปะรด (เค็มบักนัด)

ปลาสวายหนู มีชื่อที่เรียกในภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนหนู" และ "หน้าหนู"
กระทู้: 156
ความเห็น: 80,542
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 07-07-2545
BULINO(12950 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 8: 3 ก.ค. 55, 19:04
+1 
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 9: 3 ก.ค. 55, 19:04
ปลาสังกะวาด  เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวา
ปลาสังกะวาด  เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudolais pleurotaenia อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะ หัวสั้น ตาโต ปากแคบ หนวดสั้น ลำตัวแบนข้างกว่าชนิดอื่น ๆ ท้องเป็นสันคมตลอด ปลาตัวผู้มักมีรูปร่างเพรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบท้องเล็กอยู่สูงกว่าระดับสันท้อง ครีบไขมันเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าเป็นแฉก ตัวด้านบนสีคล้ำเหลือบเขียวหรือเหลือง ข้างลำตัวสีจางมีแถบสีคล้ำตามยาวตั้งแต่บริเวณโคนครีบอก ท้องสีจาง ครีบหางสีเหลืองอ่อนขอบคล้ำ

มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบคือ 30 เซนติเมตร จัดว่าเป็นปลาขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้

กินแมลงเป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืช ผลไม้ และพืชน้ำในบางครั้ง พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง พบน้อยในแม่น้ำตาปี เป็นปลาที่พบชุกชุม จึงเป็นปลาเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอีสาน นิยมบริโภคเป็นปลาแห้งและปรุงสด

มีชื่อเรียกเป็นภาษาถิ่นอีสานว่า "ยอนปีก"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 10: 3 ก.ค. 55, 19:06
ปลาขาไก่ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kryptopterus cryptopterus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้
ปลาขาไก่ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kryptopterus cryptopterus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ส่วนหลังไม่ยกสูง มีหนวดยาว 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณขอบฝาปิดเหงือก หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็งที่ยาวเกือบเท่าความยาวของครีบ ครีบก้นยาว มีหางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง ขอบครีบก้นมีสีคล้ำเช่นเดียวกับครีบหาง ครีบอกในตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร

อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักย้ายถิ่นขึ้นมาในบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน โดยกินอาหารได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด หรือนำมาทำเป็นปลาแห้ง ปลารมควัน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แค่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากเป็นปลาขี้ตกใจ ตายง่าย

ปลาขาไก่ มีชื่อเรียกที่เรียกกันหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น "เพียว" ที่ภาคอีสาน "กะปิ๋ว" ที่ จังหวัดปราจีนบุรี "ปีกไก่" หรือ "นาง" หรือ "ดอกบัว" ในแถบแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล หรือบางครั้งเรียก "หางไก่" หรือ "ไส้ไก่" เป็นต้น ซึ่งนอกจากปลาชนิดนี้แล้ว ชื่อเหล่านี้ยังเป็นชื่อที่เรียกปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้วย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 11: 3 ก.ค. 55, 19:07
ปลาคางเบือน (อังกฤษ: Twisted-Jaw Catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ช
ปลาคางเบือน (อังกฤษ: Twisted-Jaw Catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belodontichthys truncatus มีลักษณะส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า "คางเบือน" มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร

พบในแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

คางเบือนยังมีชื่อเรียกในภาษาอีสานอีกว่า "เบี้ยว", "ขบ" , "ปากวิบ" หรือ "แก็ก
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 12: 3 ก.ค. 55, 19:08
ปลาเค้าขาว (อังกฤษ: Great white sheatfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago a
ปลาเค้าขาว (อังกฤษ: Great white sheatfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago attu อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70 - 80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดัง

พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู เป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้แล้วยังนิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ โดยมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า "เค้าคูน"
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 13: 3 ก.ค. 55, 19:10
ปลาชะโอน (อังกฤษ: Butter catfish, One-spot glass catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสต
ปลาชะโอน (อังกฤษ: Butter catfish, One-spot glass catfish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร

อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก

ชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "สยุมพร", "เนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "เซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "โอน" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 14: 3 ก.ค. 55, 19:11
ปลาแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus bleekeri อยุ่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluri
ปลาแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus bleekeri อยุ่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาน้ำเงิน (P. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปากล่างยื่นน้อยกว่า ตาโต ปากกว้าง แต่ส่วนคางไม่เชิดขึ้น มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ที่มุมปากและใต้คาง ส่วนหลังไม่ยกสูง และครีบหางเว้าตื้น ฟันบนเพดานเป็นแผ่นรูปโค้ง ตัวค่อนข้างใสและมีสีเงินวาวอมแดงเรื่อ หรือมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียวที่ด้านบนลำตัว หรือสีขาวอมชมพู โดยสีเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งน้ำ ครีบก้นสีจาง ไม่มีแถบสีคล้ำ มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร มีน้ำหนักได้ถึง 8.3 กิโลกรัม

มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาน้ำเงิน โดยมักอาศัยในแหล่งน้ำเดียวกันและอาจปะปนกันในฝูง แต่พบในภาคใต้มากกว่า ซึ่งในการตกปลาชนิดนี้ (รวมถึงปลาน้ำเงินด้วย) พรานเบ็ดมักใช้เหยื่อกลิ่นฉุนเช่น แมลงสาบ เป็นต้น เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกินอาหารกลิ่นแรง ทำให้ในบางคนไม่นิยมรับประทานโดยอ้างว่าเนื้อมีกลิ่นฉุน

มีชื่อเรียกในภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงว่า "เซือม", "นาง" หรือ "นางแดง" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 15: 3 ก.ค. 55, 19:12
ปลาน้ำเงิน (ญี่ปุ่น: コモンシート) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อ
ปลาน้ำเงิน (ญี่ปุ่น: コモンシート) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus apogon อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างคล้ายปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีดำอมเขียว หัวแบนสั้นและตาเล็ก ปากค่อนข้างกว้าง มีฟันแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหูใหญ่ปลายมน ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว แต่ไม่มีครีบหลัง สันหลังบริเวณต้นคอสูงและลาดต่ำลงไปทางปลายหาง ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 15-77 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

อาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ของภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง เป็นต้น โดยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก และแมลงต่าง ๆ และจะชอบอาหารกลิ่นแรง เช่น แมลงสาบ เป็นที่รู้จักกันดีของนักตกปลาที่ใช้เป็นเหยื่อ

เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอดพริก, ทอดกระเทียม เป็นต้น ของจังหวัดตามริมแม่น้ำ และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย จัดเป็นปลาที่เมื่ออยู่ในตู้แล้วจะมีความแวววาวสวยงามมากชนิดหนึ่ง

เคยพบชุกชุมในธรรมชาติ ปัจจุบันพบน้อยลงเพราะการจับมากเกินไปและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่ปัจจุบันกรมประมง โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการผสมเทียม
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 16: 3 ก.ค. 55, 19:16
ปลาจีด (อังกฤษ: Stinger catfish, Heteropneustid catfish) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ
ปลาจีด (อังกฤษ: Stinger catfish, Heteropneustid catfish) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Heteropneustidae

มีเพียงสกุลเดียว คือ Heteropneustes พบทั้งหมด 2 ชนิด คือ H. fossilis และ H. kemratensis

มีรูปร่างคล้ายปลาใน วงศ์ปลาดุก (Clariidae) แต่มีลำตัวยาวเรียวและแบนข้างกว่ามาก ส่วนหัวแบนลาดลงข้างล่าง ปากเล็ก ตาเล็ก มีหนวดค่อนข้างยาว 4 คู่รอบปาก ครีบหลังมีขนาดเล็ก อยู่ตรงกับครีบท้อง ครีบหูมีก้านครีบที่เป็นหนามแหลมหนึ่งอัน มีพิษแรงกว่าปลาดุกมาก ครีบก้นเป็นแผง ครีบหางกลมมน ไม่มีครีบไขมัน ครีบก้นเล็ก ตัวมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำตาลอมแดง ในสายพันธุ์ H. fossilis มีแถบสีขาวจางบนข้างลำตัวข้างละ 1 - 2 แถบตามความยาวลำตัว ส่วนในสายพันธุ์ H. kemratesis สีลำตัวจะอ่อนจางกว่า ด้านท้องสีจาง หนวดสีคล้ำ เพศผู้มีลำตัวยาวเรียว เพศเมียป้อม ขนาดโตเต็มที่ได้ราว 1 ฟุต

นอกจากนี้แล้วปลาจีดยังมีอวัยวะช่วยหายใจที่แตกต่างไปจากปลาในวงศ์ Clariidae ชนิดและสกุลอื่น คือ มีท่อยื่นยาวจากช่องเหงือกไปทางด้านท้ายของลำตัว 1 คู่ ซึ่งทำให้ได้รับชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอีกชื่อหนึ่งว่า "Airsac catfish"

ปลาจีดพบได้ในทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย รวมทั้งพบในประเทศใกล้เคียง ตั้งแต่ อินเดีย, ปากีสถาน, ศรีลังกา, พม่า จนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย สำหรับในประเทศไทย ใกล้สูญพันธุ์แล้วในภาคกลาง แต่ในภาคใต้ยังพบมากอยู่ และมีการนิยมเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจด้วยการผสมเทียมในบ่อเลี้ยง

โดยมีชื่อท้องถิ่นในภาษาใต้เรียกว่า "ปลาเมง"

ปลาจีดจะแพร่พันธุ์วางไข่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยแม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว 70-100 กรัม สามารถวางไข่ได้ประมาณ 2,500-4,000 ฟอง โดยไข่มีลักษณะเป็นไข่จมน้ำและมีสภาพเกาะตัวติดกัน

อนึ่ง ยังมีปลาจีดที่พบในประเทศใกล้เคียงกับไทยอีก 2 สายพันธุ์ คือ H. microps และ H. longipectoralis แต่ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ อาจเป็นไปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ซ้ำซ้อนกับสายพันธุ์ที่รู้จัก 2 สายพันธุ์แรก

นอกจากนี้แล้ว ปลาจีดยังถูกนิยมรวบรวมปลาวัยอ่อนที่พบในธรรมชาติ เลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ปลาชนิดนี้เมื่อก่อนเคยเจอตามทุ่งนา สมัยนี้ไม่รู้จะยังมีอยู่ปล่าวนะคับ เหมือนปลาดุก เพียงแต่ตัวเล็ก เขาเลยเรียกปลาจี้ด
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 17: 3 ก.ค. 55, 19:17
ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus
ปลาดุกด้าน (อังกฤษ: Walking catfish, Batrachian walking catfish ; ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias batrachus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีรูปร่างค่อนข้างยาวเรียว ส่วนหางค่อนข้างแบน มีสีเทาปนดำ ส่วนท้องมีสีขาว สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบ เรียกว่า "ปลาแถก" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร

พบได้ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, คาบสมุทรมาเลย์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ และมีรายงานว่าพบในศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และพม่า

ถูกควบคุมการซื้อขายในประเทศเยอรมนี และมีรายงานจากบางประเทศว่าส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศหลังจากนำเข้าไป เนื่องจากเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ปลาดุกด้านเป็นปลาที่ใช้เป็นอาหารชนิดสำคัญชนิดหนึ่ง และปลาสีเผือก ยังถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ในประเทศไทย ปลาดุกด้านถือเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ถูกนำมาปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ปลาดุกย่าง, ปลาดุกฟู หรือปลาหยอง เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 18: 3 ก.ค. 55, 19:18
ปลาดุกอุย หรือ ปลาอั้วะชื้อ ในภาษาแต้จิ๋ว (อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfis
ปลาดุกอุย หรือ ปลาอั้วะชื้อ ในภาษาแต้จิ๋ว (อังกฤษ: Broadhead catfish, Günther's walking catfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Clarias macrocephalus) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Clariidae มีกระดูกท้ายทอยยื่นแหลมออกไปลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ลำตัวสั้นป้อมกว่าปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวมีสีดำปนเหลือง มีจุดขาวเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวขวางลำตัวหลายแถว มีครีบหลังสูงกว่าปลาทั่วไปมาก สามารถเคลื่อนที่บนบกได้เป็นระยะทางสั้น ๆ โดยใช้ครีบช่วย พบได้ในพื้นที่แถบประเทศไทยไปจนถึงเวียดนาม และมีการนำไปเลี้ยงในประเทศจีน, มาเลเซีย, เกาะกวม และฟิลิปปินส์

บางครั้งมีความเข้าใจผิดกันว่าปลาดุกอุยคือปลาดุกด้านตัวเมีย แต่ที่จริงเป็นปลาคนละชนิดกัน ปลาดุกอุยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทยและชาวลาวมากกว่าปลาดุกด้าน เนื่องจากเนื้อมีรสชาติมัน อร่อย มีราคาที่สูงกว่าปลาดุกด้าน จึงได้มีการเพาะเลี้ยงและผสมเทียมในบ่อ แต่ปัจจุบันได้นำมาผสมกับปลาดุกเทศ (C. gariepinus) เป็นปลาลูกผสม เรียกว่า "บิ๊กอุย" ทำให้โตเร็วและเลี้ยงง่ายกว่าปลาดุกอุยแท้ ๆ ซึ่งได้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลาย

ในภาษาใต้ เรียกปลาดุกอุยว่า "ดุกเนื้ออ่อน"
กระทู้: 0
ความเห็น: 99
ล่าสุด: 27-01-2566
ตั้งแต่: 23-06-2555
ความเห็นที่ 19: 3 ก.ค. 55, 19:18
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 20: 3 ก.ค. 55, 19:20
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ใ
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างเล็กกว่า สีข้างลำตัวเป็นสีเหลืองจึงเป็นที่ของชื่อ หรืออาจเป็นสีเทาคล้ำ สีท้องจาง ครีบหลังยาวจนถึงครีบไขมัน และครีบไขมันมีสีคล้ำ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 เซนติเมตร

พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ใช้บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง

นอกจากนี้แล้วยังมีปลากดในสกุลเดียวกันนี้ อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน คือ ปลากดขาว (H. nemurus) ซึ่งบางครั้งอาจสับสนกันและเรียกชื่อสามัญตรงกันว่า "ปลากดเหลือง" ด้วย

ซึ่ง 2 ชนิดนั้นยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง", "ปลากดนา", "ปลากดขาว", "ปลากดชงโลง" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 21: 3 ก.ค. 55, 19:22
ปลากดคัง (อังกฤษ: Asian Redtail Catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่
ปลากดคัง (อังกฤษ: Asian Redtail Catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckioides อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagaridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 22: 3 ก.ค. 55, 19:23
ปลากดดำ หรือ ปลากดหม้อ (อังกฤษ: Crystal eye catfish, Black diamond catfish) ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดห
ปลากดดำ หรือ ปลากดหม้อ (อังกฤษ: Crystal eye catfish, Black diamond catfish) ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน

มีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่สุด 70 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง (H. wyckioides) และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น ปลาสิงห์ดำ, ปลากดหางดอก ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ "มรกตดำ" แต่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เลย
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 23: 3 ก.ค. 55, 19:24
ปลาแค้ยักษ์ (อังกฤษ: Goonch, ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagarius yarrelli) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลา
ปลาแค้ยักษ์ (อังกฤษ: Goonch, ชื่อวิทยาศาสตร์: Bagarius yarrelli) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) มีรูปร่างคล้ายปลาแค้วัว (B. bagarius) ที่อยู่ในสกุลเดียวกันมากจนสังเกตได้ยาก ที่แตกต่างกันคือ ครีบท้องของปลาแค้ยักษ์จะอยู่เยื้องด้านท้ายของครีบหลัง สีสันก็คล้ายกันมาก แต่อาจมีสีน้ำตาลเข้มหรือคล้ำกว่าในปลาตัวเต็มวัย รวมทั้งมีกระตามผิวหนังมากกว่าด้วย เมื่อปลาโตยิ่งขึ้นยิ่งมีมากขึ้น มีขนาดประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร อาศัยอยู่ในสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้ แต่พบมากในแม่น้ำโขง เนื้อมีรสชาติดีและมีสีเหลืองอ่อนรวมถึงหนังและไขมัน ซึ่งต่างจากปลาแค้วัวซึ่งมีเนื้อสีขาว โดยทั้ง 2 ชนิด มักถูกปรุงเป็นอาหารด้วยวิธีเดียวกัน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ปลาแค้ยักษ์ ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "แค้ควาย" หรือ "ตุ๊กแก" เป็นต้น
กระทู้: 20
ความเห็น: 2,715
ล่าสุด: 22-12-2567
ตั้งแต่: 28-04-2549
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 24: 3 ก.ค. 55, 19:26
ปลากดหัวเสียม เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sperata acicularis ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีลักษณะสำคั
ปลากดหัวเสียม เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sperata acicularis ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีลักษณะสำคัญ คือ ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาวมากที่สุดในกลุ่มปลากดทั้งหมด หัวแบนราบเล็กน้อย ลำตัวทรงกระบอก แต่ด้านหลังยกสูง และเรียวไปทางด้านท้าย ตาเล็กอยู่ด้านบนของหัว ริมฝีปากตัดตรงอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวมาก ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบไขมันยาวมาก ครีบหางใหญ่เว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง ครีบไขมันมีดวงสีดำเด่น ขอบขาวที่ตอนปลายท้ายสุด ครีบหางมีสีแดงเรื่อ ๆ

ขนาดพบใหญ่สุดถึง 1 เมตร ขนาดที่พบทั่วไป 50 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวิน และสาขาและแม่น้ำตะนาวศรีในพม่า นิยมบริโภคในท้องถิ่นโดยปรุงสด มักถูกจับขึ้นขายในท้องตลาดของ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นครั้งคราว เนื้อมีรสชาติดีพบมีการทำรังวางไข่โดยขุดแอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร และเลี้ยงลูกอ่อนถึงขนาด 3 – 4 เซนติเมตร หรืออาจจะใหญ่กว่า แต่ตัวผู้หรือตัวเมียเป็นผู้เลี้ยงยังไม่ทราบแน่ชัด รังที่พบอยู่ในระดับความลึกประมาณ 2 เมตร ในเดือนเมษายน ที่แม่น้ำปายมีพื้นเป็นทรายปนโคลนมีกรวดปนและใกล้กับกองหิน

นอกจากนี้แล้ว ปลากดหัวเสียมยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย มีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "แก๊ด"
กระทู้: 47
ความเห็น: 2,761
ล่าสุด: 06-11-2567
ตั้งแต่: 03-06-2552
pound(955 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ความเห็นที่ 25: 3 ก.ค. 55, 19:27
+ตามชมคสามรู้ครับ
หน้าที่: 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 >
no ads
no ads
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/board/view.php?tid=648486&begin=0