สยามฟิชชิ่ง
หน้าแรก|กระดาน|รีวิว|ประมูล|ตลาด|เปิดท้าย
login | สมัครสมาชิก | วิธีสมัครสมาชิก | ลืมชื่อ/รหัส | login ไม่ได้? | 5 ก.ค. 67
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4 : Fishing Article
 ห้องบทความ/เทคนิค > บทความตกปลา
ความเห็น: 3 - [18 พ.ค. 55, 02:26] ดู: 12,357 - [2 ก.ค. 67, 05:57] โหวต: 1
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
kittpong01 (311 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้) offline
17 พ.ค. 55, 16:30
1
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 1
ชื่อไทย
ปากคมปีกสั้น, ตุ๊กแก
ชื่อสามัญ
SHORTFIN LIZARDFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Saurida micropectoralis
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยนับตั้งแต่จังหวัดระยอง ชลบุรี ชุมพร สงขลา ภูเก็ต ระนอง และในทะเลอันดามัน ชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเล ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลน หรือทรายปนโคลน โดยปกติเป็นปลาที่ชอบทรงตัวนิ่งอยู่กับที่ เวลาเคลื่อนตัวไปบนพื้นทะ
อาหาร
กินพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและลูกปลาตัวเล็ก ๆ
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-50 ซม.
ประโยชน์
เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 2
ชื่อไทย
ทรายขาวหูแดง
ชื่อสามัญ
LATTICE MONOCLE BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scolopsis taeniopterus (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นดินที่เป็นโคลน และโคลนปนทราย บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภค
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 3
ชื่อไทย
ทรายแดงกระโดง
ชื่อสามัญ
NOTCHED THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus tolu (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นดินที่เป็นโคลน และโคลนปนทราย พบทั่วไปในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลาลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 14-29 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 4
ชื่อไทย
ทรายแดงญี่ปุ่น
ชื่อสามัญ
JAPANESE THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus japonicus (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พื้นท้องทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนปนทรายบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 12-32 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ในการบริโภค
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 5
ชื่อไทย
ทรายแดงโม่ง, อั้งโกลี้
ชื่อสามัญ
ORNATE THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus hexodon (Ouoy & Gaimard)
ถิ่นอาศัย
อยู่รวมกันเป็นฝูง หากินบริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นโคลนหรือโคลนปนทราย พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 6
ชื่อไทย
ทู
ชื่อสามัญ
SHORT-BODIED MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rastrelliger brachysoma (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
ผิวน้ำและกลางน้ำในทะเล พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลา สัตว์ไม่มีกระดูกและแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่ง ประชาชนนิยมบริโภค โดยนำมานึ่ง ตากแห้งทำเค็ม ในอดีตเป็นสินค้าส่งออก ไปยังประเทศข้างเคียงได้เงินปีละมาก ๆ
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 7
ชื่อไทย
ทูแขกหางเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOW-TAIL ROUND SCAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Decapterus maruadsi (Schlegel)
ถิ่นอาศัย
อาศัยในทะเลระดับกลางน้ำ อ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ภูเก็ต ระนอง
อาหาร
ลูกปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
นำมาแปรรูปเป็นปลากระป๋อง เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 8
ชื่อไทย
โอครีบเหลือง, ทูน่าครีบเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOWFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thunnus albacores
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลอันดามัน ในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ ชอบอพยพย้ายถิ่น
อาหาร
ลูกปลาตัวเล็ก ๆ กุ้งและปลาหมึก
ขนาด
ความยาวประมาณ 80-120 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภคโดยตรงและแปรรูปเป็นปลากระป๋อง
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 9
ชื่อไทย
ลัง, ทูโม่ง, โม่ง, โม่งลัง
ชื่อสามัญ
INDIAN MACKERREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rastrelliger kanagurta Ruppell
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 10
ชื่อไทย
นกขุนทอง
ชื่อสามัญ
WRASSE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Halichoeres kallochroma (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามโขดหินและแนวปะการังใต้น้ำ พบในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินกุ้ง ปูและหอยขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 11
ชื่อไทย
นวลจันทร์ทะเล
ชื่อสามัญ
MILKFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chanos chanos (Forskal)
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวจะพบมากในแถบจันทบุรี ระยอง ประจวบฯ สุราษฏร์ธานี ขณะยังมีวัยอ่อนจะชอบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย เมื่อโตขึ้นจึงจะออกไปอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วและกระโดดสูง
อาหาร
กินเนื้อปลาและแมลงน้ำรวมทั้งจุลินทรีย์ขนาดเล็ก
ขนาด
ยาวที่สุดจะมีขนาดประมาณ 150 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 2 กก.
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี แต่มีก้างมาก
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 12
ชื่อไทย
สากเหลือง, น้ำดอกไม้
ชื่อสามัญ
OBTUSE BARRACUDA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sphyraena obstsata (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายอยู่ทั่วอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
พืชและสัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก ๆ
ขนาด
ความยาว 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 13
ชื่อไทย
อินทรีบั้ง , เบกา
ชื่อสามัญ
SPANISH MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scomberomorus commerson (Lacepede)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและตะวันตก และทางฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากะตัก หลังเขียว และหมึก
ขนาด
ที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30-70 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร
ประโยชน์
เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นิยมใช้ทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกปลาเค็มที่ทำจากปลาชนิดนี้ว่า "เบกา"
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 14
ชื่อไทย
ลิ้นควายเกล็ดลื่น, ใบขนุน, ลิ้นเสือ
ชื่อสามัญ
LARGETOOTH FLOUNDER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseudorhombus arsius (Hamilton-Buchanan)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 15
ชื่อไทย
ใบโพธิ์, ใบปอ
ชื่อสามัญ
SPOTTED SICKLEFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Drepane punctata (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามหน้าดินบริเวณน้ำตื้น ๆ ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารและใช้ทำอาหารสัตว์
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 16
ชื่อไทย
ปากคมจุด
ชื่อสามัญ
BRUSHTOOTH LIZARDFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Saurida undosquamis (Richardson)
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 17
ชื่อไทย
แป้นเขี้ยว
ชื่อสามัญ
TOOTHED PONYFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gazza minuta (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น ที่บางปะกง ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต ระนอง พังงา
อาหาร
กินแมลงวและหนอนรวมทั้งแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
ส่วนมากจะนำไปทำปลาเป็ด
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 18
ชื่อไทย
แป้นยักษ์
ชื่อสามัญ
COMMON PONYFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leiognathus equulus (Forskal)
ถิ่นอาศัย
ตามบริเวณพื้นท้องทะเล พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สุราษฏร์ธานี สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ตรัง
อาหาร
กินแพลงค์ตอน ลูกหนอนและสัตว์น้ำวัยอ่อนทุกชนิด
ขนาด
13-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นอาหาร
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 19
ชื่อไทย
ผีเสื้อข้างลาย, ผีเสื้อ
ชื่อสามัญ
LINEATED BUTTERFLY-FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chaetodon trifasciatus Mungo Park
ถิ่นอาศัย
พบตามแนวหินปะการังและโขดหินใต้น้ำบริเวณอ่าวมะขาม ฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป
สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 4
ภาพที่ 20
ชื่อไทย
แพะทองเหลือง, หนวดฤาษี
ชื่อสามัญ
SPOTTED GOLDEN GOATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Parupeneus heptacanthus
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามกองหินและบริเวณหน้าดินที่มีพื้นเป็นทราย พบทั่วไปในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024
siamfishing.com/content/view.php?cat=article&nid=77496