ปลาเหล่านี้ปล่อยไปก็ไปตายรวมกันที่ทะเลครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไปตักปลาเหมือนกัน
ก็ได้มาเยอะพอสมควรนะครับ ลักษณะปลาที่ว่าย จะถูกกระแสน้ำพัดพาไป โดยมันไม่มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับกระแสน้ำแล้ว
ส่วนใหญ่จะเป็นปลาลิ้นหมา ปลาตะโกก ปลาสังฆวาส ปลากระมัง ปลากดเหลือง ปลาม้า
ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ตักปลาจะทำได้บริเวณข้างตลิ่งเท่านั้น นอกจากพวกที่ใช้เรือ
ส่วนที่ชาวบ้านจับมา ส่วนมากจะนำไปใช้บริโภคกันหมด ไม่ได้เอาไปทิ้งให้เสียประโยชน์
ทีนี้ลองมาคิดดูหลายๆแง่มุม (ความคิดส่วนตัวนะครับ)
1. เจ้าของเรือ ผู้ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เขาคงไม่อยากสูญเสียสินค้าที่เขาขนส่งมา แต่เหตุการณ์นี้มันเป็นอุบัติเหตุ
และผมได้ทราบข่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เจ้าของเรือได้เสียชีวิตด้วย แต่เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ทางรัฐน่าจะหามาตรการณ์ควบคุมการขนส่งทางน้ำให้เข้มงวดขึ้น เช่น บริเวณที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุควรให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยตลอดเวลา
หรือช่วงที่น้ำไหลเชี่ยวควรงดให้เรือบรรทุกสินค้าผ่าน
2. กรณีปลาน๊อคน้ำ ถือว่าเป็นโอกาสที่ชาวบ้านจะได้จับปลาที่คาดว่าน่าจะตาย นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะนำมาบริโภคเอง หรือว่านำไปขายเพื่อให้เกิดรายได้ อย่าไปว่าชาวบ้านเขาเลย
3. คนรับผิดชอบคือใคร คนรับผิดชอบเหตุการณ์นี้หลักๆคือ
เจ้าของเรือน้ำตาล การรับผิดชอบที่ทำได้ง่ายที่สุดคือ ควรนำพันธุ์ปลามาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
รัฐควรวางมาตรการหรือออกกฏหมายการขนส่งทางน้ำให้รัดกุมขึ้น แยกประเภทสินค้าที่สามารถขนส่งได้ทางน้ำ เผื่อกรณีเกิดอุบัติเหตุขึ้นสินค้าที่ขนส่งมาด้วยจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ
พวกเราทุกคน ควรรักษาแหล่งน้ำให้เป็นเส้นเลือดหลักของประเทศต่อไป
ปล. ใครอยากไปจับปลาน๊อคน้ำ ตอนนี้น้ำเสียไหลมาถึง กทม. แล้วนะครับ