เดินตามพี่วามาจนทัน เงยหน้าขึ้นไปแทบกรี๊ดแตก พระเอกใหญ่อีก 1 ชนิด ออกดอกบานสะพรั่ง
ไม่รู้ว่าใครจะรู้สึกยังไง แต่สำหรับโจ้ได้โทรฟี่ถึง 2 ครั้งในทริปนี้ กับสิงโตใบพัดเหลือง
และสิงโตอาจารย์เต็มที่ทุกท่านได้เห็นภาพอยู่นี่เองค่ะ ได้ภาพไปฝากแม่อีกแล้วน้ำตาจะเล็ด
แต่อยู่สูงซะเหลือเกิน เลยเปลี่ยนเลนส์ และปีนขึ้นไปบนต้นไม้อีกต้นนึง ถ่ายมาได้เท่านี้
แม้จะไม่ชัดก็ตาม ตอนปีนน่ะพลิ้วเลย แต่ขาลงสิ่คะ เดือดร้อนเพื่อนซี๊ดต้องมาลากลงไปอีก 555+
***สิงโตอาจารย์เต็ม พบครั้งแรกที่ตีนเขาหลวง ในพื้นที่หมู่บ้านคีรีวง จ. นครศรีธรรมราช
ที่ระดับความสูง 700-900 เมตร จากการสำรวจร่วมกันของ ศาสตราจารย์ Gunnar Seidenfaden
นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก และศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์ นักพฤกษศาสตร์ชาวไทย
ในปี พ.ศ.2509 แต่ในครั้วนั้นยังไม่ได้มีการตั้งเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ เนื่องว่า "มีตัวอย่างกล้วยไม้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น"
เหตุด้วยว่าเป็นตัวอย่างเพียงชิ้นเดียวนั้นไม่อาจแน่ใจได้ว่าเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ได้ แต่อาจเป็นการผสมข้าม
ของกล้วยไม้ 2 ชนิด (สมมุติว่า ระหว่าง Bulbophyllum A. และ Bulbophyllum B.
และได้เป็นกล้วยไม้ Bulbophyllum AB สิงโตอาจารย์เต็มขึ้นมา)
ต่อมาหลังจากนั้น คุณชนินทร์ โถรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญกล้วยไม้ไทย โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลสิงโต
ได้ออกสำรวจในพื้นที่เดิม ซ้ำอีกครั้งจนได้ตัวอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงพบว่าเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่จริง
ไม่ได้เกิดจากการผสมข้าม (ดังที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น) ทั้ง 2 ท่าน คือ Prof. Gunnar Seidenfaden
และคุณชนินทร์ โถรัตน์ จึงร่วมกันศึกษาและตั้งเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของโลกครับ
โดยใช้หลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบ eponymy โดยใช้ชื่อสกุลของศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันทน์
เป็นชื่อระบุชนิดของกล้วยไม้ชนิดนี้ครับ คือ B. smitinandii และเรียกชื่อในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
ของกล้วยไม้ชนิดนี้ว่า "สิงโตอาจารย์เต็ม" หนึ่งในผู้สำรวจพบกล้วยไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรก (ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้ว)
http://www.trekkingthai.com/board/show.php?Category=trekking&forum=18&No=90870