เส้นทาง
ประทุม-ไม้ตา บางไทร เสนา
ปลาที่ตกได้
ตะโกก 1ตัว + แห้วอีกหนึ่งคันรถ
เหยื่อ
ขนมปัง+รำ +ตามสะดวก
อื่นๆ
ภาพที่ 2
ภาพที่ 3
ภาพที่ 4
แพดี โอเคเลย(แพดีแต่ปลาไปไหนเจอแต่ต้นแห้ว)
ภาพที่ 5
สุดท้ายแล้วตกปลาแล้วไดแต่แห้ว
ภาพที่ 6
ภาพที่ 7
ภาพที่ 8
การปลูกแห้ว โดย นายไสว พงษ์เก่า และนายโสภณ สินธุประมา
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
หัวข้อ
ฤดูปลูก
การเลือกและการเตรียมที่
วิธีปลูก
การทะนุบำรุง
โรคและแมลง
การเก็บหัวและรักษา
ประโยชน์
ฤดูปลูก
แห้วเป็นพืชที่ขึ้นในน้ำ ขึ้นได้ดีในแหล่งที่มีการให้น้ำได้ตลอดปี ชอบอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี ในการงอกต้องการอุณหภูมิในดินประมาณ ๑๔-๑๔.๕ องศาเซลเซียส ฤดูปลูกที่เหมาะสมจึงควรเป็นต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ เริ่มเพาะเดือนมีนาคม-เมษายน ย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้ในราวเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ฤดูเดียวกับการทำนา
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การเลือกและการเตรียมที่
แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถ พรวนให้ดินร่วนดี กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
วิธีปลูก
แห้วปลูกโดยใช้หัวเล็กๆ สามารถปลูกได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งเพาะหัวแห้วในแปลงเพาะเสียก่อน คล้ายปลูกหอม แต่ละหัวห่างกัน ๓-๔ ซม. ทำร่มรดน้ำ จนกระทั่งต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ในราว ๑๕-๒๐ วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงเพาะ ปลูกห่างกันราว ๙๐-๑๐๐ ซม. นานราว ๒ เดือน เมื่อแตกหน่อจึงใช้หน่อไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยปักดำคล้ายดำนา วิธีนี้ปลูกในเนื้อที่ไม่มาก อีกวิธีหนึ่งปลูกหัวแห้วลงบนแปลงใหญ่เลย ไม่ต้องเพาะก่อน ถ้าเนื้อที่ไม่มากใช้มือปลูก ปลูกลงใน หลุมลึก ๑๐-๑๒ ซม. แต่ในเนื้อที่มากๆ เช่น ในต่างประเทศ ปลูกด้วยมือไม่ทันต้องใช้เครื่องปลูก โดยเปิดร่องเสียก่อนแล้วหยอดหัวแห้วลงในร่องให้ห่างกันตามที่ต้องการแล้วกลบ ระยะปลูกที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา ระยะระหว่างแถว ๗๕ ซม. ระหว่างหลุม ๗๕ ซม. ในประเทศจีนปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยม ระหว่างต้นห่างกัน ๔๕-๖๐ ซม. สำหรับกสิกรไทยใช้ระยะปลูกห่างกันประมาณ ๑๐๐ ซม.
[กลับหัวข้อหลัก]
ต้นแห้วที่ปลูกอยู่ในแปลงใหญ่
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การทะนุบำรุง
การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้วทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลงเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อยๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ ๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก
การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดินและกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้วก่อนปลูกเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒, ๔-D กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงานหรือไม่กำจัดเลย
การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูงๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้วปล่อยน้ำเข้า
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงไม่มี แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรดคือ pH ๕.๕ มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อราศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัดกินต้นอ่อน
[กลับหัวข้อหลัก]
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การเก็บหัวและรักษา
แห้วมีอายุประมาณ ๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่าเริ่มทำการเก็บได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว เก็บแห้วโดยปล่อยน้ำออกก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง เก็บโดยขุดแล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บโดยใช้ไถ ไถลึกประมาณ ๑๕ ซม. พลิกหัวขึ้นมาแล้วเลือกหัวแห้วล้างน้ำ สำหรับรายที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ซึ่งได้แก่ การปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องเก็บแห้วโดยการใช้มือลงไปงมขึ้นมาเรียกว่า "งมแห้ว" ในต่างประเทศผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓.๒-๖.๔ ตันต่อไร่ สำหรับประเทศไทยผลผลิตประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่ หรือประมาณ ๓๐๐ ถัง ขนาดของหัว ๓-๓.๕ ซม.
หัวแห้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้ โดยตากให้แห้งบรรจุในภาชนะที่รักษาความชื้นได้ หรือเก็บในอุณหภูมิ ๑-๔ องศาเซลเซียสได้นานกว่า ๖ เดือนขึ้นไป กสิกรสามารถเก็บรักษาหัวแห้วไว้ได้เองโดยเก็บในภาชนะปิดสนิท เช่น ตุ่ม ลังไม้หรือทรายแห้งสนิท เก็บได้นานประมาร ๖ เดือน ถ้าอยู่ในอุหณภูมิ ๑๔ องศาเซลเซียส หัวแห้วจะงอก
[กลับหัวข้อหลัก]
การงมแห้วและปลิดหัวแห้วออกจากกอ
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ประโยชน์
หัวแห้วประกอบด้วยส่วนที่กินได้ร้อยละ ๔๖ ส่วนที่เป็นของแข็งประมาณร้อยละ ๒๒ ในจำนวนนี้เป็นโปรตีนร้อยละ ๑.๔ คาร์โบไฮเดรตและเส้นใยต่ำกว่าร้อยละ ๑ จากการวิเคราะห์หัวแห้วสดประกอบด้วย : ความชื้นร้อยละ ๗๗.๙ โปรตีนร้อยละ ๑.๕๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑๕ ไนโตรเจนร้อยละ ๑๘.๙ น้ำตาลร้อยละ ๑.๙๔ ซูโครสร้อยละ ๖.๓๕ แป้งร้อยละ ๗.๓๔ เส้นใยร้อยละ ๐.๙๔ เถ้าร้อยละ ๑.๑๙ แคลเซียม ๒-๑๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม ของส่วนที่กินได้ ฟอสฟอรัส ๕๒.๒-๖๕ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๔๓-๐.๖ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๒๔ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน ๐.๐๐๗ มิลลิกรัม ไนอาซิน มิลลิกรัม กรดแอสโคบิก (ascobic acid) ๙.๒ มิลลิกรัม
แป้งที่ได้จากหัวแห้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับแป้งจากมันเทศหรือมันสำปะหลัง และมีขนาดใหญ่จนถึง ๒๗ ไมครอน น้ำที่สกัดจากหัวแห้วประกอบด้วยสารปฏิชีวนะ
หัวแห้วที่ซื้อขายได้ ต้องมีขนาดอย่างน้อยประมาณเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ ซม. ขึ้นไป เนื้อแห้วสีขาวกรอบ รับประทานสด บรรจุกระป๋อง คั้นน้ำ หรือจะต้มทำขนม หรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ มักเป็นอาหารจีน นอกจากนี้ยังใช้ทำแป้งได้ด้วย หัวเล็กๆ ใช้เลี้ยงเป็ดไก่ได้ดี หัวแห้วบางชนิดใช้ทำยาต้นแห้วใช้เลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ในการบรรจุหีบห่อผลไม้ ใช้ทำตะกร้า ทอเสื่อ เป็นต้น
[กลับหัวข้อหลัก]
ลักษณะของหัวแห้วที่วางขาย