การคุกคามเต่าน้ำจืด :
คห. 1, อ่าน 11,108 โหวต: 1
การคุกคามเต่าน้ำจืด
13 ม.ค. 51
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 1
ในปัจจุบันพบว่าสถานะภาพของเต่าน้ำจืดได้ถูกคุกคามเป็นจำนวนมาก จากการสำรวจตลาดค้าสัตว์ใน กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในนั้นจากทั้งหมด 6 ชนิดที่มาจากอินโดนีเซีย ระดับความคุ้มครองอยู่ในระดับความคุ้มครองเดียวกับ เสือ หรือ แรด. ลองมาชมกันดูน่ะครับว่าเต่าน้ำจืดที่ถูกจัดความคุ้มครองให้อยู่ใน CITES. มีชนิดไหนบ้างครับ
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 2
ตัวที่ 1 " Batagur baska."  หรือ " Mangrove terrapin." จัดอยู่ในระดับห้ามซื้อ-ขาย ( Appendix I )
แหล่งที่พบ อินเดียบางส่วน บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียตนาม คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา อินโดนีเซีย และ กัมพูชา
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 3
ชนิดที่ 2 ครับ ถ้าเห็นภาพ ้นาๆทุกท่านคงเรียกชื่อเขาถูกน่ะครับ " Chitra chitra." หรือ " Narrow-headed softshell turtle." ( Appendix II ) จากรายงานว่าตัวใหญ่อาจมีน้ำหนักได้ถึง 150-200 กิโลกรัมครับผม.

**หมายเหตุ**  " softshell  turtle " เรามักใช้คำนี้  ใช้เรียกกับ " ตะพาบ"
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 4
Pig-nosed turtle  หรือ  Fly river turtle หรือ Carettochelyx  insculpta. ยาวประมาณ 60-70 ซม. พบใน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และ อิเรียน จาญ่า ( อินโดนีเซีย) จัดอยู่ใน Cites Appendix II.
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 5
New Guinea Snake-necked turtle. หรือ Chelodina novaeguineaa. หรือ ถ้าแปลตรงๆคือ เต่าคอยาวนิวกินีได้ครับ ปัจจุบันติด Cites Appendix II
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 6
New Guinea Snapping Turtle. หรือ Elesya navaeguineae. ติด Cites Appendix II.
การคุกคามเต่าน้ำจืด
ภาพที่ 7
Elesya boroneensis. หรือ Malaysian Giant Turtle. พบใน กะลิมันตัน สุมาตรา มาเลเซีย ซาราวัค. ติด Cites Appendix II. ครับ.
สุดท้ายก่อนจากกัน เลยอยากฝากความคิดเห็นส่วนตัว เกี่ยวกับปลาน้ำจืดบางชนิดที่ขึ้นบัญชีความคุ้มครองในระดับต่างๆ บางท่านอาจสงสัยว่า เห็นตามบ่อตกปลาเยอะแยะ หรือ พบที่นี่ที่นั่น ทำไมยังติด Cites. หรือ ทำไมกันนักกันหนา  ส่วนตัวผมขอสรุปว่า
1) ราชการเราอ่อนเรื่องนี้.
2) ปลาบางชนิดเป็นปลาที่พบในที่เฉพาะ อย่าง ปลาบึก พบในแม่น้ำโขง โดยสภาพแม่น้ำโขงผ่านหลายประเทศมาก กลายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศไปแล้ว แต่ปลาบึก พบในแม่น้ำเจ้าพระยามาก อย่าง อะราไพม่าก็ยังติด Cites. เท่าที่ตัวเองคิด ทางองค์กร เขาเน้นในแหล่งกำเนิดมากกว่า
3) เห็นเพาะได้เยอะแยะ แต่การเพาะพันธุ์นั้นอยู่ในระดับ มหภาค หรือไม่ ตรงนี้อาจจะลดระดับจาก Appendix I ไปแค่ Appendix II หรือ Appendix III แต่ก็ยังติด Cites อยู่ เพราะฉะนั้น ถ้านำมารวมกันว่า ถ้าปลาที่ได้รับความคุ้มครองชนิดนั้นๆ พบในแหล่งที่กำเนิดจริงๆ ในปริมาณที่มาก และ สามารถผสมพันธุ์กันได้ตามธรรมชาติ ส่วนตัวผมว่าอาจจะไม่ติด Cites.ก็ได้น่ะครับ
เรื่องสุดท้าย ฝากข้อเสนอที่น่าจะพอเป็นไปได้นิดนึงน่ะครับ ปลาใหญ่บางชนิดเมื่อผ่านการผสมพันธุ์มากๆเข้า เท่าที่พอทราบมาว่า เกรงว่าปลาที่ได้ในระยะต่อไป อาจมีการผิดปกติ เช่น ไม่ใหญ่เหมือนที่คิด รูปร่างที่ผิดแผกไป ผู้เพาะเลี้ยงนั้นจำเป็นต้องกลับไปนำพ่อแม่จากธรรมชาติมาผสมแทนอีกครั้ง เช่นนี้เรื่อยไป.  จึงขอฝากไว้เป็นเรื่องสุดท้ายน่ะครับ. ขอบคุณครับ.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024