ภาพที่ 1
วันนี้ว่างๆ เลยมาเล่าให้ฟังกันหน่อยเกี่ยวกับโฮโลแกรมที่หลายๆ ท่านสงสัย งงงวย และอยากจะรู้จักกับมันว่ามันเป็นยังไงกันแน่(ฮึ)
ที่มาเล่าให้ฟังไม่ใช่เพราะเก่ง รู้ลึก รู้จริง เป็นเทพ แต่อย่างใด แค่มาแชร์ให้ฟังจากการศึกษาข้อมูลมาระยะนึงเท่านั้นเองครับ
มาๆ เริ่มเลย .......
โฮโลแกรม มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจตุรัส มี 6 ด้าน โดยแต่ล่ะด้านจะมี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 โดยวิธีใช้จะใช้พร้อมกัน 3 ลูก <=== งามไส้ นั่นมันไฮโลแกรม 5555
เอ้าๆ เข้าเรื่องๆ โฮโลแกรมเป็นภาพ 3 มิติแบบนึง โดยภาพแบบนี้ได้มาจากเทคนิคการสร้างภาพ 3 มิติ ที่เรียกว่า "โฮโลกราฟี"
เทคนิคการสร้างภาพแบบนี้ ทำให้เราได้ภาพ "โฮโลแกรม" ออกมา
เอ็าๆ จดนะๆ โฮโลแกรมคือ ภาพ 3 มิติแบบนึงนั่นเอง
เมื่อโฮโลแกรมคือ ภาพ 3 มิติแบบนึง
=> เมื่อเรานำภาพนี้พิมพ์ลงบนฟอยล์ เราจึงเรียกว่า "ฟอยล์โฮโลแกรม"
=> เมื่อเรานำภาพนี้พิมพ์ลงบนสติ๊กเกอร์ เราจึงเรียกว่า "สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม"
=> เมื่อเราพิมพ์ลงวัสดุอื่นๆ จึงเกิดชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ด้วยประการล่ะฉะนี้นี่เอง
พอเข้าใจแล้วเน๊าะว่าโฮโลแกรมมันมีที่มายังไง มาๆ อย่าพึ่งเบื่อ ไอ้ที่เราอยากรู้มันอยู่ต่อจากนี้ต่างหากล่ะ
เมื่อเราต้องการติดภาพโฮโลแกรมลงบนชิ้นงาน(ในที่นี้คือเหยื่อปลอมของเรา) เราก็ต้องมาเลือกว่าเราจะใช้โฮโลแกรมแบบไหน
เลือกยังไง นี่แหล่ะประเด็นเลย เพราะโฮโลแกรมแต่ล่ะประเภทมีการติดที่แตกต่างกัน ผมแบ่งออกมาเป็นข้อๆ ตามสติของผมคือ แบ่งตามวิธีติด "กาว" ของโฮโลแกรม
อย่าพึ่งงง มาฟังกันต่อครับ อธิบายให้งงๆ คือ
1. กาวเหนียวๆ ที่เรารู้จักกันนี้แหล่ะ
=> กาวแบบแรกนี้ที่เราคุ้นเคยคือ กาวที่มาพร้อมโฮโลแกรม คือพร้อมติดทันที เห็นเต็มตลาดก็คือ สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม, สติ๊กเกอร์ฟอยล์โฮโลแกรม วิธีการติดก็ง่ายๆ ลอกแผ่นหลังออกก็ติดชิ้นงานได้เลย
=> แบบที่สองคือ กาวจะแยกกันกับโฮโลแกรม อันนี้จะไกลตัวนิดนึงแต่เห็นได้ตามร้านเสริมสวยทั่วไป เช่น ฟอลย์โฮโลแกรมติดเล็บ(เรียกสั้นๆ ว่า Nail foil) การติดโฮโลแกรมแบบนี้จะต้องทากาวก่อนถึงจะติดโฮโลแกรมลงที่ชิ้นงานได้
2. กาวแห้ง อันนี้หลายๆ คนอาจจะงง มาๆ ต่อๆ
=> กาวแบบนี้คือ กาวที่มาพร้อมโฮโลแกรมเช่นกันแต่ไม่เหนียวเนอะหนะ ซึ่งวิธีการติดคือต้องทำให้กาวละลายด้วยความร้อนเพื่อติดลงบนชิ้นงาน หรือเรียกกันว่า Hot Stamping นั่นเอง และเรามักจะเรียกโฮโลแกรมประเภทนี้ว่า "โฮโลแกรมฮอตสแต้มป์" หรือ "ฟอยล์ฮอตสแต้มป์" นั่นเอง
=> มาถึงตรงนี้หลายๆ คนคงเข้าใจกันล่ะว่าอะไรคืออะไร
....... เข้าเรื่องๆ เพ้ออยู่ได้.....
เทคนิคการติดแบบ Hot Stamping โดยทั่วไปเราจะใช้เครื่องในการติดซึ่งเค้าจะเรียกว่า Hot Stamp machine หรือเครื่อง Hot Stamp นั่นแหล่ะ
แต่ความต้องการพื้นฐานของกาวแห้งคือ ความร้อนที่จะมาทำหน้าที่ละลายกาวให้ติดกับชิ้นงาน ดังนั้นอุปกรณ์ใดๆ ที่ให้ความร้อนจนกาวนั้นๆ ละลายได้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการติดได้ทั้งหมดนั่นเอง
แต่ๆๆ กาวแห้งที่มาพร้อมโฮโลแกรมใช่ว่ากาวแต่ล่ะตัวจะใช้ความร้อนเท่ากัน งงมั้ย???
"ฟอยล์ฮอตสแต้มป์" แต่ล่ะตัวจะระบุสเปคชัดเจนว่าใช้ติดกับพื้นผิวแบบใด ใช้ความร้อนเท่าไหร่ เช่น ใช้ติดกับกระดาษ, ใช้ติดกับเรซิ่น, ใช้ติดกับโลหะ เป็นต้น แต่เราสามารถเอาไปติดกับพื้นผิวอื่นๆ ที่ไม่ตรงสเปคได้เช่นกัน แต่มันจะไม่ใช่ Best case เท่านั้นเอง
มาเล่ากันต่อซิว่า "ฟอยล์ฮอตสแต้มป์" เค้าซื้อขายกันยังไง????
=> บริษัทผู้นำเข้าแต่ล่ะรายที่ผมเจอจะขายแบบยกม้วนเท่านั้น สนนราคาก็ตั้งแต่ 5,XXX ไปจนถึง 1X,XXX ต่อม้วน
=> บริษัทผู้นำเข้าจะมีฟอลย์ให้เลือกเป็นมาตรฐาน แต่เราสามารถสั่งลายของเราได้แต่แพงคอดๆๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเหยื่อปลอมทั่วโลกเมื่อใช้ Hot Stamp ลายจะซ้ำๆ กัน
ผมดีใจที่เห็นเหยื่อของคนไทยใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำสีให้เหยื่อปลอม
ขอบคุณครับ