ภาพที่ 1
ปลาทอง (goldfish; Carassius auratus auratus) เป็นสมาชิกกลุ่มเล็กๆ ในวงศ์ปลาคาร์พ (carp) และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียตะวันออก ปลาทองถือเป็นหนึ่งในปลาชนิดแรกๆ ที่มุนษย์นำมาเพาะเลี้ยง และยังคงเป็นหนึ่งในปลาสวยงามที่ทุกตู้ปลาจะต้องมี ปลาทองมีสายพันธุ์ทั้งหมดประมาณ 125 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกเฟ้นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีมาผสมพันธุ์กัน ปลาทองในปัจจุบันถูกผสมพันธุ์และเพาะเลี้ยงมาจากปลาคาร์พสีดำ การนำปลาทองมาเลี้ยงครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ซุง (Sung) ของจีนเมื่อหลายพันปีก่อน และแพร่ไปยังทวีปยุโรปเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 17
มัก จะมีคำกล่าวที่ว่า ปลาทองมีช่วงความจำแค่ 2-3 วินาที (บ้างก็ว่า 1 วินาที บ้างก็ว่า 7 วินาที) แต่มันไม่ถูกต้องทั้งหมด ปลาทองมีความจำแบบเลือกจำ (selctive memory) หมายถึง พวกมันจะรู้ว่ามีสิ่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่มันไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร มันสามารถเรียนรู้ที่จะกินอาการจากเสียงกระดิ่งภายในตู้ปลา หรือแม้แต่ภายในมือเจ้าของมัน เพราะมันจะจำว่ามีสิ่งที่ดีอยู่ในบริเวณดังกล่าวแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ในธรรมชาติ ถ้ามีศัตรูเข้ามาใกล้เช่น นกกระยาง เป็นต้น มันจะว่ายไปซ่อนตัวสักพักหนึ่ง แต่มันไม่รู้หรอกว่ามันซ่อนตัวจากอะไร (เออ ดีเหมือนกันแฮะ!) แต่มันรู้ว่ามันควรจะซ่อนตัว
คนเลี้ยงปลาทองบางคนกล่าวว่า ปลาทองของเขาจำหน้าเขาได้ และจะว่ายเล่นทั่วตู้ปลาเมื่อเขาอยู่ แต่จะหลบเป็นชั่วโมงๆ เมื่อมันเห็นคนแปลกหน้าเข้ามาในห้อง และมันจะเช่นนี้แม้ว่าเขาจะไม่อยู่บ้านนานเป็นอาทิตย์ก็ตาม บางคนก็บอกว่า ปลาของเขาจะมาอยู่ที่ตู้ปลาด้านซ้ายตอน 5 โมงเย็นทุกวัน เพราะมันรู้ว่ามันจะได้กินอาหาร พฤติกรรมดังเราเรียกว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง (associative learning) ปลาทองคิดว่า เมื่อพบเรา มันจะได้อะไรดีๆ เช่น อาหาร เป็นต้น
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือ ไม่?
นักวิทยาศาสตร์ที่ University of Plymouth ประเทศอังกฤษได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความจำของปลา (รวมถึงปลาทองด้วย) พบว่า ปลามีช่วงความจำอย่างน้อย 3 เดือน และปลาสามารถเรียนรู้ที่จะแยกแยะความแตกต่างชองรูปทรง สี และเสียงได้เช่นกัน พวกมันยังเรียนรู้ที่จะกดคันโยกเพื่อให้อาหารออกมาในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ ละวันอีกด้วย นายโยอิชิ โอดะ (Yoichi Oda) ของมหาวิทยาลัยโอซากา (Osaka University) ใช้เวลาหลายปีเพื่อศึกษาความจำของปลาทองอย่างละเอียด ซึ่งเขาพบว่าปลาทองมีความดี ในงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพฤติกรรมของปลาได้พิสูจน์คำกล่าวที่ว่า ปลาทองมีความจำที่ไม่ดีเป็นเรื่องไม่จริง ปลาทองมีความจำที่ดีมากทีเดียว เช่นกับกับการทดลองของนักศึกษาที่ Berlin Free University ในเรื่อง การแยกความยาวคลื่นของปลาทอง พบว่า มันมีความจำที่ดีและสามารถแยกความยาวคลื่น และสีได้ นักวิทยาศาสตร์ชื่อ เอวา เชส (Ava Chase) สามารถสอนให้ปลาทองของเธอแยกความแตกต่างของเพลงคลาสสิก และเพลงบลูส์ได้อีกด้วย และในรายการโทรทัศน์ Myth Buster พวกเขาได้สอนให้ปลาทองว่ายน้ำผ่านเขาวงกต พบว่า มันใช้เวลาเร็วขึ้น แสดงว่า มันจำได้ว่าช่องไหนจะไปต่อได้
สรุป คำกล่าวที่ว่าปลาทองมีช่วงความจำแค่ 3 วินาทีเป็นเรื่องไม่จริงครับ ปลาทองมีความจำที่ดี (ความจำของปลาทองจะเป็นแบบ selective memory) และมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้