รอชม..จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี : Fishing Article
ห้องบทความ/เทคนิค > บทความอื่นๆ
คห. 7, อ่าน 1,891 โหวต: 1
รอชม..จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี
Mapleoffline
7 มิ.ย. 54
รอชม..จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี
ภาพที่ 1
จับตาเฝ้าชม 'จันทรุปราคา' เต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี แถมใช้เวลาเกิดนานที่สุดถึง 3.36 ชั่วโมง 16 มิ.ย.นี้ คนไทยเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาค นอกจากนี้ยังจะได้ชม 'จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์' ในวันเดียวกันอีกด้วย ...

วันที่ 6 มิ.ย. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แถลงข่าว ชวนคนไทยรอชม 2 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า “จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาบังดาวฤกษ์” ว่า ในคืนวันที่ 15 มิ.ย. ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิ.ย. 2554 จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ คือ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังเคยเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2550 โดยจันทรุปราคาเต็มดวง หรือดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันครั้งนี้ จะเกิดขึ้นใช้เวลายาวนานมาก โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกในเวลา 01:22:37 น. และดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงคลาสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02:22:11 น. ถึง 04:03:22 น.เป็นเวลายาวนานถึง 100 นาทีเต็มๆ หรือ 1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาที ที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลก แต่ถ้านับปรากฏการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจะพบการเกิดจันทร ุปราคาครั้งนี้กินเวลา นานถึง 3 ชั่วโมง 39 นาที ซึ่งถือว่านานที่สุดตั้งแต่เคยเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา

สำหรับ จันทรุปราคาครั้งนี้ เราจะได้เห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐอยู่บริเวณทิศตะวันตกเ ฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา (สังเกตการณ์จากจังหวัดเชียงใหม่) นอกจากนี้หากท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆมากนัก ประกอบกับตำแหน่งที่สังเกตการณ์อยู่ห่างจากตัวเมือง และไม่มีแสงไฟรบกวน ก็จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจั นทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้ง ดวง

ดร.ศรัณย์ กล่าวต่อว่า จันทรุปราคาในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ คนไทยสามารถชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่าในทุก ภูมิภาคของประเทศค่อน ข้างชัดเจน นอกจากนี้ หากท้องฟ้าใส ไม่มีเมฆ และไม่มีแสงไฟรบกวน จะมีโอกาสเห็น “ทางช้างเผือก” ในคืนวันเพ็ญ ขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังอีกด้วย สำหรับจันทรุปราคาครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในเดือนมหามงค ลและในวันรัฐธรรมนูญคือ วันที่ 10 ธ.ค.2554

รอง ผอ.สดร. กล่าวต่อว่านอกจากนี้ในวันที่ 16 มิ.ย. ยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อีกปรากฏการณ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน คือ ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลกเกือบเต็ มดวงนั้น ดวงจันทร์ยังเคลื่อนที่ไปบังดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า 51 Ophiuchi(โอฟีอุชชี) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวที่อยู่นอกระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก แต่อยู่ไกลจากโลกมากถึง 446.35 ปีแสง อีกด้วยทั้งนี้ เราจะมองเห็นดาวฤกษ์ 51 Ophiuchi เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลาประมาณ 02.02 น. และจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลาประมาณ 02.12 น.
กรุณา ลงทะเบียน และ login ก่อนส่งความเห็นครับ
siamfishing.com © 2024