ฝากสักนิด ก่อนคิดจะโพสท์: SiamFishing : Thailand Fishing Community
12>
กระดาน
คห. 32 อ่าน 4,421
ฝากสักนิด ก่อนคิดจะโพสท์
ตั้ง: 1 มี.ค. 54, 23:55
หลายครั้ง ที่ผมเห็นเพื่อนนักตกปลา - ถ่ายภาพ  หลายๆคนในเว็บสยามฯแห่งนี้ เอาภาพมาโพสท์ ทำให้ผมคิดถึงเรื่องๆนึงขึ้นมา ก้อคือเรื่อง เกี่ยวกับกฏหมายการเผยแผ่ลิ่งพิมพ์หรือสื่อ อิเลคโทนิค ที่ว่าด้วยเรื่องของการถ่ายภาพ ซึ่งถ้าจะว่ากันไปแล้วก้อคงว่ากันยาวๆเลย แต่ ถ้าเอาแบบย่อๆ ก้อคือ

เรื่องถ่ายถ่ายภาพบบุคคลอื่น ในลักษณะ จงใจ * ซึ่งถ้าเราถ่ายเก็บไว้ดูคนเดียวก้อคงไม่มีอะไร แต่ถ้าหากมีการนำเอาภาพดังกล่าว มา เผยแผ่ ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ สื่อต่างๆ แล้วบุคคลในภาพ ไม่ยินยอม พอใจ หรือ รู้สึกทำให้เสื่อมเสีย* * ผู้โพสท์อาจจะถูกฟ้องร้องได้ ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

จึงอยากฝากเพื่อนนักตกปลา - ถ่ายภาพ ในสยามฯ  ซักนิดนึง ว่าจะโพสท์ภาพที่ถ่ายมาแต่ละครั้ง มันมีภาพที่ ล่อแหลม กับเรื่องที่ผมกล่าวมาหรือเปล่า  ลองคิดซักนิดว่าถ้าเป็นตัวเพื่อนนักตกปลาเองหรือ แฟนของเพื่อนนักตกปลาเอง ถูกบุคคลอื่นแอบถ่าย ในขณะที่ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ริมหาด หรือแต่งตัวว๊อบๆแวมๆ แล้วมีคนเอามาโพสท์แล้ว คุณมาเจอเอง คุณจะรู้สึกอย่างไร ??? 

ฝากกันช่วยพิจรณาด้วยนะครับ

หมายเหตุ
บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วถ้าถ่ายอย่างอื่นแล้ว บุคคลนั้น ดันติดมาเองล่ะ กลับไปอ่านที่ *
หรือ บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วถ่าย เพตตี้ งานต่างๆ หรือนางแบบ ล่ะ กลับไปอ่านที่ **





rockygoby(428 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.1: 2 มี.ค. 54, 00:56
เห็นด้วยครับ
ZEANG D_DAY(222 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.2: 2 มี.ค. 54, 01:22
ยังไม่นอนหร่าเพ่ตุล
คห.3: 2 มี.ค. 54, 01:26
เห็นด้วยอย่างยิ่งคับน้า 

คห.4: 2 มี.ค. 54, 01:38
เห็นด้วยอย่างแรง
B.bangbon(502 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.5: 2 มี.ค. 54, 03:09
sarasin(56 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.6: 2 มี.ค. 54, 03:48
น่าคิด ต้องระวัง สิทธิส่วนตัว
คห.7: 2 มี.ค. 54, 03:54
ครับเห็นด้วยครับ
คห.8: 2 มี.ค. 54, 03:57
เห็นด้วยครับ........

pok9(2677 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.9: 2 มี.ค. 54, 05:47
เห็นควรด้วยครับ
NaiJuy(308 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.10: 2 มี.ค. 54, 17:04
cnadee(96 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.11: 2 มี.ค. 54, 17:46
ถูกต้องตามนั้นครับ...
Toey140(23 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.12: 2 มี.ค. 54, 17:48
เห็นด้วยครับ
คห.13: 2 มี.ค. 54, 18:17
นั้นซิครับ.....ผมอยากทราบข้อกฎหมายด้วยครับ.....แล้วบทลงโทษด้วยครับ...น้าๆหรือป้าๆท่านใดพอทราบ....บ้างครับ....จะได้ระวังกันไว้บ้างนะครับ...ขอบคุณครับ




แล้วฝากอีกเรื่องครับผมอยากทราบแต่หาใน...กูลเกิ้ล...ไม่เจอ..ครับเรื่องเอาโล้โกของพวกนางแบบ..ดารามาลงผิดหรือเปล่าครับบบบบ....ผู้รู้ช่วยบอกด้วยครับบบบผมสงสัยมานานแล้วครับ
คห.14: 2 มี.ค. 54, 19:00


ถ้ารูปนั้นมีผลต่อผู้ที่ถูกถ่ายก็ไม่น่าเอามาโพสครับ...เห็นด้วย....
neenan(999 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.15: 2 มี.ค. 54, 19:07
ดูก่อนถ่าย  คิดก่อนโพสท์   
narita(4636 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.16: 2 มี.ค. 54, 19:41
คห.17: 2 มี.ค. 54, 20:24
ฝากให้น้าผู้การเสือ ครับ

[b]เครดิตของคุณ Lexusman จาก Pantip.com[b/]


ผมคงไม่เอามาลงทั้งหมดนะครับ เอามาให้อ่านแค่บางส่วนเท่านั้น

เป็นบทความยาว ประมาณ ๑๕ หน้า ms-word

ขอเขียนแสดงแนวทาง ซึ่งผู้เขียนไม่ใช่ผู้รู้ อาจผิดพลาดได้ ขอช่วยแก้ไขชี้แนะด้วย ..........

กฎหมายการถ่ายภาพและการนำภาพลงเผยแพร่


ตามที่ได้มีเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นใน pantip.com  เมื่อต้น กค. ๒๕๔๗ ซึ่งทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว  ในฐานะที่เกี่ยวกับการใช้กล้อง  การนำภาพลงเว็บ  ก็ขอทบทวนข้อกฎหมาย และ มารยาท ต่างๆ ความควรไม่ควร เพื่อจะได้แนวทางที่ไม่ล่วงเกินผู้ใดและยึดถือปฏิบัติต่อไป
นอกจากรายละเอียดอื่นๆ ที่ ทาง พันทิป ได้ขึ้นข้อความแนะนำข้างบนนี้แล้ว  ขอยกมาบางส่วน ...................
ภาพที่น่าจะนำมาโพสต์ได้
1. ภาพที่ตั้งใจให้เผยแพร่อยู่แล้ว
2. ภาพที่ได้มาจากการเปิดเผยตัวในที่สาธารณะ เช่น งานเปิดตัว งานคอนเสิร์ต ฯลฯ

ภาพที่ไม่สามารถนำมาโพสต์ได้
1. ภาพที่แอบถ่ายจากที่ส่วนตัว หรือแม้จะอยู่ในที่สาธารณะแต่ไม่ได้ตั้งใจเปิดเผยตัว
2. ภาพที่ถูกปรับแต่งให้ดูเกินจริง
.................................

ในวันนี้ ค้นได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สองฉบับ คือ กฎหมายอาญา แบ่งเป็นกรณีภาพลามกอนาจาร และภาพทั่วๆไป  และกฎหมายอีกฉบับ คือ ลิขสิทธิ์
ในแง่กฎหมายอาญา
ระหว่างค้นไปค้นมา พบว่า มีบทความเขียนไว้ดีมาก ที่นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 นี้ หน้า scitech ชื่อเรื่อง “ Pantip.com กับภาพจากภาพยนตร์ชื่อดัง “  เขียนโดยคุณ ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ จากบริษัท กิลเบิร์ต รี้ด แอนด์ คอมปานี จำกัด
ผมยังไม่นำ Link ลงเพราะ ยังไม่ได้ขออนุญาต
ในนั้นอ้างถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ
1)ความผิดฐานเผยแพร่ ซึ่งสื่อลามกอนาจาร ตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 287 ที่ระบุว่า

ผู้ใด ทำให้เผยแพร่โดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียงหรือ แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2)ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 ซึ่งระบุว่า

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงอย่างอื่น กระทำโดยการกระจายเสียง หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

....................


ผม(ผู้เขียนกระทู้) ขอสรุป ทางที่เราในฐานะผู้ถ่ายภาพและนำภาพลงเว็บต่างๆ จะปฏิบัติไปเลย ไม่ต้องยกเหตุผลมาอ้างกันให้ยาวความ
เพื่อไม่ให้สับสน จึงขอแบ่งการเขียน ออกเป็นหัวข้อดังนี้
๑. ภาพลามกอนาจาร
๒. ภาพใดถ่ายได้  ภาพใดละเมิด และอาจโดนฟ้องหมิ่นประมาทได้
๓. ลิขสิทธิ์ของภาพที่ถ่ายเป็นของใคร  ภาพเช่นใดละเมิดหรือเช่นใดไม่ละเมิด
๔. ยกกรณีตัวอย่าง

๑. ในเรื่องภาพลามก อนาจาร
เรื่องนี้ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ท และคงเถียงกันไปอย่างไม่มีวันจบ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีกิเลสราคะอยู่
เขียนมากไปก็ยาวมาก และตรงนี้คนส่วนใหญ่รู้กันหมดแล้ว
ขอสรุป ทางแก้ว่า ในเรื่องภาพที่อาจอนาจารนั้น เราควรที่จะหยุดนำภาพที่หมิ่นเหม่ มาลง เรื่องก็จะหมดปัญหาไปมาก ถ้าสงสัยว่าจะหมิ่นเหม่ หรือไม่ ก็ให้ตระหนักว่านั้นละใช่แล้ว

ผมขอไปต่อในอีกหลายๆประเด็น ที่คนยังไม่ค่อยรู้นะครับ
Z, ๒. ภาพใดถ่ายได้ ภาพใดละเมิด และอาจโดนฟ้องหมิ่นประมาทได้
คือในแง่ การหมิ่นประมาทนั้น ที่ขอยก ประมวล กม. มาลงข้างต้น

ตรงนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน ต้องใช้วิจารณญาณในการ ตัดสินอย่างมาก และต่างคนก็คงต่างความเห็น อาทิ
การถ่ายภาพในที่ไม่ใช่สาธารณะ นั้นทำโดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับอนุญาตอันนี้ทุกคนคงทราบกันดี
การถ่ายภาพบุคคลในที่สาธารณะเป็นที่ไม่เข้าใจกันมาก ขอสรุปให้ว่า สามารถทำได้ ไม่ละเมิด เพราะมีคำตัดสินของศาลฎีกา ให้ยึดถือว่า บุคคลที่อยู่ในที่สาธารณะ ย่อมถูกถ่ายภาพได้แม้เจ้าตัวไม่ยินยอมก็ตาม อันนี้ไม่อาจห้ามการถ่ายภาพได้ และภาพที่ได้ย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ถ่าย ไม่ใช่ของผู้ถูกถ่ายที่ปรากฏอยู่ในภาพ แต่ถ้าได้ภาพในอิริยาบถที่อาจไม่ดี เมื่อนำไปเผยแพร่ อาจทำให้คนที่เห็นรู้สึกดูหมิ่นดูแคลนเสื่อมเสีย ผู้ที่ถูกถ่าย ก็ย่อมฟ้องด้วยข้อหานี้ได้ การนำสืบก็ต้องว่ากันไปว่าเสียหายอย่างไร จริงหรือไม่ ยิ่งถ้ามีการทำไปด้วยผลประโยชน์ ได้เงิน ต่างๆ คงยิ่งไปกันใหญ่

จะเห็นได้ว่า มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องหลายฉบับ และ ต้องพิจารณาทีละลำดับขั้นตอน

สรุปถ่ายได้ แต่ ถ้านำลงสื่อ หรือเผยแพร่แล้วทำให้เสื่อมเสียก็ โดนฟ้องได้เช่นกัน ส่วนน้ำหนักจะไปทางใด ก็แล้วแต่การนำสืบ อันนี้สรุปจากข้อเท็จจริง

ในความเห็นส่วนตัวของผมที่ตีความ คือ
ทางที่ควรปฏิบัติ นักถ่ายภาพควรที่จะขออนุญาตผู้ถูกถ่าย ถ้าเป็นไปได้ แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้เช่น ถ่ายภาพคนละฟากถนน เป็นต้น ก็ถ่ายได้ แต่การนำเผยแพร่ ก็อาจต้องใช้ดุลยพินิจ ว่าภาพนั้น จะทำให้ผู้ถูกถ่าย ถูกหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือไม่ ถ้าอาจจะเป็นได้ ก็ควรที่จะยั้งไว้ไม่เผยแพร่ หรือไม่ควรแม้แต่เก็บภาพไว้ ควรทำลายภาพนั้นเสีย แต่ถ้าคิดว่าไม่ใช่ ก็อาจที่จะนำภาพนั้นๆมาเผยแพร่ได้ อย่างไรก็ตาม การทำให้ถูกดูหมิ่นนั้น ผู้ที่จะรู้สึกและมีผลอย่างมากก็คือ ตัวผู้ถูกถ่ายเอง อันนี้ต้องระวัง


๓. ลิขสิทธิ์ของภาพที่ถ่ายเป็นของใคร ภาพเช่นใดละเมิดหรือเช่นใดไม่ละเมิด
การถ่ายภาพดารามาแล้ว ลิขสิทธิ์เป็นของใคร
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ
ขั้นต้นใครถ่ายภาพคนนั้นเป็นเจ้าของภาพนั้น
ต่อมา ภาพนั้นถ่ายโดยรับความยินยอมของผู้ถูกถ่ายหรือไม่ เช่นแอบถ่าย ปาปารัสซี่ ทั้งหลาย ตรงนี้ฟ้องได้ถ้าละเมิดสิทธิ ในที่รโหฐาน และ ในที่สาธารณะอาจฟ้องได้ในแง่เสื่อมเสีย
การอาจฟ้องได้ แปลว่าเขาจะไม่ฟ้องก็ได้ เช่นถ้าได้ผลประโยชน์ ภาพออกมาดี ดังไปเลยก็คงไม่มีใครเอาเรื่อง คนถ่ายก็ขายภาพได้ เงินเป็นของผู้ถ่าย


ส่วน กม.อีกฉบับ ที่เกี่ยวข้องคือ เรื่องลิขสิทธิ์ เช่นไปถ่ายภาพ งานศิลปะ มานำลง เว็บ
อย่างนี้จะละเมิดหรือไม่ ก็ขอยก ตัวกม. ที่ อาจารย์ พุทธินคร นำมาลงไว้ที่ เว็บ bwthai.org ให้อ่าน
....เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์เรื่องภาพถ่าย ....
“ในพรบ.ลิขสิทธิ์ได้มีการยกเว้น ในมาตราที่น่าสนใจและถกเถียงกันมากในหมู่นักถ่ายภาพว่า ถ่ายตรงนี้ไปละเมิดไหม ผิดกฏหมายหรือไม่ ผมยกเอามาตราในพรบ.ที่น่าสนใจมาให้พิจารณากัน ส่วนใครจะตีความไปอย่างไรก็สุดแท้แต่นะครับ” ...........อ.พุทธินคร

ข้อที่พรบ.สิขสิทธิ์ได้ยกเว้นไว้ที่น่าสนใจ

มาตรา ๓๗ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การ แกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการ กระทำใด ๆ ทำนอง เดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้น

มาตรา ๓๘ การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การ พิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือ การแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น

มาตรา ๓๙ การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใด ๆ อันมีศิลปกรรมใด รวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น


อธิบายด้วยความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนกระทู้ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
๓.๑ ศิลปกรรม (เช่น รูป ปั้น หรือภาพถ่าย) จัดวาง จัดแสดง ในที่สาธารณะ ใครจะถ่ายภาพ งานชิ้นนั้นๆ ถือ ว่าไม่ละเมิดต่อเจ้าของผลงาน เช่นศิลปกรรมตามสวนสาธารณะต่างๆ เป็นต้น ถ่ายได้
ถ้าจัดแสดงภาพ หรือศิลปกรรม ในที่ ไม่ใช่สาธารณะ เช่น แกลเลอรี่ ใครมาถ่ายภาพ ที่จัดแสดง (ถ่ายเน้นๆที่ ผลงานศิลป์นั้นเลย) โดยไม่ได้รับการยินยอมนั้นไม่ได้ ถือว่าละเมิด

ขยาย ความข้อ๓.๑ ถ้าถ่าย รูป ทั่วๆไป ไม่ได้เน้น ภาพที่เราจัดแสดง แค่ติดภาพมาเป็นส่วนหนึ่ง ก็ไม่ถือว่าละเมิด
เช่น ถ่ายภาพ คนที่มายืนดูภาพที่แสดง ในแกลเลอรี่ แล้วติดภาพที่แสดงนั้นด้วย อย่างนี้ ไม่ละเมิด ยิ่งถ้าเป็น การเปิดงาน และมีการให้ถ่ายบรรยากาศเพื่อนำลง ประชาสัมพันธ์ อย่างนี้ถือว่าถ่ายได้ แพร่ได้ โดยไม่ละเมิดต่อ ศิลปินเจ้าของผลงาน หรือเจ้าของลิขสิทธิ์
ตรงนี้ต้องเข้าใจว่าคนละส่วนกันระหว่างแกลเลอรี่เจ้าขิองพื้นที่ และศิลปิน ทางแกลเลอรี่ ทางแกลเลอรี่ให้ถ่ายภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ได้ แต่ภาพนั้นจะไปละเมิดส่วนของศิลปินไม่ได้เช่นกัน
รวมไปถึงงานแสดงศิลปกรรม อื่นๆด้วย ถ่ายหนัง คือภาพยนตร์ต่างๆ ในงานแสดง ไม่ได้เน้นที่ ศิลปกรรมนั้น ก็ได้ ไม่ละเมิด คืองานศิลป์ชิ้นต่างๆนั้นเป็นแค่ฉากหลัง เป็นต้น



๓.๒ ตัวตึก สถาปัตยกรรมต่างๆ ถ่ายภาพได้ตามสบาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
แต่ใครถ่ายภาพ ตึกมุมใด แล้ว ภาพที่ได้ย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ถ่าย เฉพาะภาพนั้นๆ แต่ไม่ใช่มุมมองนั้นๆ ซึ่งใครจะมายืนถ่ายซ้ำ ตำแหน่งเดิมก็ย่อมได้ ไม่ถือว่าลอกเลียน หรือละเมิดผู้ถ่ายคนแรก ส่วนจะละเมิดทางเจ้าของตึก หรือไม่ให้ดูว่ายืนถ่ายจากตรงไหน ถ้าเข้าไปในเขตของสถานที่ อาจผิดข้อหาละเมิดได้ ถ้าเขาไม่อนุญาต แต่ถ้ายืนถ่ายในที่สาธารณะก็ไม่เป็นไร แม้ในรั้วขอบเขต เขาจะไม่ให้ถ่าย แต่ยืนถ่ายนอกรั้ว ย่อมทำได้ และเผยแพร่ได้ ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้านำเอาไปทำให้เสื่อมเสีย ทางเขาก็ย่อมฟ้องได้เช่นกัน
เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีหลายฉบับ แต่ละฉบับ ก็ร่างไว้ด้วยจุดประสงค์ต่างๆกันไป ดังนั้น เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น ก็ต้องค่อยๆพิจารณาไปทีละประเด็น ไม่ใช่ คิดแต่ว่ามีสิทธิถ่ายได้ ก็ถ่าย และนำลงไปทำอย่างไรก็ได้

ความเห็นส่วนตัวของผมในแนวทางปฏิบัติ ก็คือ
แม้ได้รับอนุญาตให้ถ่าย แต่ถ้าผลงานถ่ายออกมาเป็นในแง่ ที่อาจทำให้เสื่อมเสีย และมีการเผยแพร่ออกไป ก็ย่อมโดนฟ้องในอีก กฎหมายหนึ่ง คืออาญา ข้อหาหมิ่นประมาทได้
แต่ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ก็ผิดตั้งแต่ละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วถ้าทำให้เลื่อมเสียด้วย ก็ผิดสองข้อไปเลย
แต่โดยทั่วไป ถ้าถ่ายออกมาดี และเผยแพร่แล้วได้ผลรับในทางบวก แม้ไม่ได้รับอนุญาต เท่าที่เป็นอยู่ ก็ไม่มีผลเสียอะไร เจ้าของก็จะชอบใจเพราะได้ประโยชน์ในทางบวก

๔. ยกกรณีตัวอย่าง
ทีนี้ขอยก กรณีต่างๆ มาแสดง ประกอบความเห็นของผม ซึ่งผมอาจสรุปและตีความไม่ตรงได้ ขอให้ผู้รู้ช่วยสรุปในทางที่ถูกต้องให้ด้วย
ก. ถ่ายภาพนางแบบ ในงานต่างๆ
แนวทาง สรุป ถ่ายได้ และนำลงได้ เพราะ ถือว่าอนุญาตแล้ว เช่นงานมอเตอร์โชว์ต่างๆ แม้ไม่ใช่ที่สาธารณะ แต่วัตถุประสงค์ของงานที่จัด เพื่อต้องการเผยแพร่อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ถ้าภาพที่ได้นำลง เผยแพร่ ทำให้ผู้ถูกถ่ายเขาเสียหาย ย่อมฟ้องได้เช่นกัน การรับผิดการนำสืบว่ากันไปตามลำดับ

ข. ถ่ายภาพ ผลงานงานแสดง ต่างๆ เช่น งานศิลปกรรม ในแกลเลอรี่
แนวทางสรุป ตัวผลงานถ่ายไม่ได้ แต่ ถ่ายคนถ่ายบรรยากาศ แล้วติดไป ย่อมได้ ถ้าได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่เจ้าของงานเปิดตัวนั้นๆ แม้ศิลปินเจ้าของงานจะไม่อนุญาต ก็ถ่ายได้
แต่ถ้า ภาพนั้นตีความได้ว่าเน้นที่ผลงานศิลป์ ก็อาจละเมิดได้
ค. ถ่ายภาพงานแสดง บนเวที ต่างๆ
ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ผิดแน่นอน การนำลงก็ยิ่งผิดทั้งละเมิด และ ตีความได้ทันทีว่าทำให้เสื่อมเสียทางธุรกิจ
สรุปการถ่าย การนำลง ต้องได้รับอนุญาต

ผมเห็นคนแอบถ่ายตามงานแสดงบนเวทีต่างๆ มาก ก็ขอเตือน ที่เขาไม่เอาเรื่องนั้น เพราะไม่มีอะไร แต่ไม่ใช่ไม่ผิดนะครับ และการนำลงเผยแพร่ถ้าทำให้เขาเสียหายก็อาจโดนฟ้องได้เช่นกัน

ง. ถ่ายภาพบุคคลต่างๆ ในที่สาธารณะ
แนวทางสรุป ย่อมถ่ายได้ แม้เจ้าตัวไม่อนุญาต ตอนถ่ายไม่ละเมิด แต่ถ้านำไปเผยแพร่ เจ้าตัวก็ย่อมฟ้องได้ ข้อหาละเมิดนั้นอาจต้องพิจารณากันมาก แต่ข้อหาทำให้เสื่อมเสียนั้น ไม่ยากที่จะนำสืบ ขอแค่มีใครบอกว่าเห็นภาพแล้ว รู้สึกดูแคลน ผู้ถูกถ่าย ก็มีน้ำหนักได้แล้ว ที่จะเอาผิดผู้เผยแพร่ อาจเอาผิดผู้ถ่ายไม่ได้ ถ้าผู้ถ่ายไม่ได้เผยแพร่ ถ่ายอย่างเดียวเก็บไว้ดีพอควร แต่รั่วออกมาเอง หรือแพร่ทางอีเมล์ ก็เอาผิดที่ผู้ทำให้รั่วไหลออกมาและนำลง ตามลำดับ

จ. ได้รับภาพต่างๆทางใดๆก็ตาม อีเมล์ รับมาโดยตรง แล้วนำมาลงเว็บ หรือเผยแพร่ต่อทางอื่นๆ

แนวทางสรุป ก็ดูตามข้อมูลข้างต้น ว่าละเมิดหรือไม่ ทำให้เสื่อมเสียหรือไม่ ตามลำดับ และขอย้ำว่าภาพที่อาจหมิ่นเหม่ต่อการอนาจาร ให้ระวังให้จงหนัก อย่าไปสุ่มเสี่ยง

ฉ. ภาพจากหนังสือ นิตยสารวารสารต่างๆ แล้วทำสำเนานำมาเผยแพร่ต่อ
แบ่งเป็น ไม่ได้ทำเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่นภาพในตัวนิตยสารต่างๆ
และทำเพื่อเผยแพร่อยู่แล้ว เช่นใบปิดหนังต่างๆ

แนวทางสรุป มีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายส่วนเลย ตั้งแต่ผู้ถูกถ่าย ผู้ถ่าย หนังสือที่นำลงพิมพ์
และจะเป็นกรณีต่างๆได้หลากหลายมาก
ให้พิจารณาไล่ไปตามกฎหมายที่นำมาให้อ่านข้างต้น
ถ้างานนั้นตั้งใจแพร่อยู่แล้ว ก็ไม่ละเมิดอะไร แต่ถ้างานนั้นตั้งใจแพร่แค่ที่ลงในหนังสือ การนำลงลงต่อย่อมละเมิด
แต่ ในอีกกฎหมายหนึ่ง ถ้านำมาลงต่อแล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสียดูถูกดูหมิ่นต่างๆ ก็ย่อมฟ้องได้ แล้วน้ำหนักไปทางใดก็ว่ากันไปคดี


ช. ภาพส่งต่อๆมาทางอีเมล์ หรือหนังสือต่างๆ มีการแอบแฝงเพื่อให้ช่วยกันแพร่ภาพ

แนวทางสรุป สุดท้าย แม้ว่าภาพจะหลุดมาจากที่ใดก็ตาม ถ้าเผยแพร่แล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสีย คนสุดท้ายที่นำลง ผิดมากที่สุดนะครับ เพราะเป็นผู้ทำให้เกิดความเสื่อมเสียมากที่สุด พูดง่ายๆปลายทางผิดสุด ไม่ใช่ต้นทาง
เช่น ภาพ ที่อาจตั้งใจทำการตลาด แอบแฝง แล้วแกล้งปล่อยหลุดออกมา หรือมีผู้ขโมยออกมา แล้วขายต่อ ส่งต่อๆกันมา แล้วมีผู้นำลงเผยแพร่ คนสุดท้ายผิดมากที่สุดครับ คนแรกผิดแค่ ข้อหาละเมิด แต่คนหลังๆ พ่วงข้อหาอื่นๆไปด้วย จนมาคนสุดท้ายครับ

หรือยกตัวอย่าง ถ่ายภาพมาอย่างถูกต้อง แล้วลงลายน้ำชื่อผู้ถ่ายไว้ ต่อมา มีคนนำไปดัดแปลงตัดต่อ ให้เสื่อเสีย แล้วนำไปลง ใครผิด คนที่ถ่ายแล้วมีลายน้ำติดอยู่ที่เป็นเจ้าของภาพครั้งแรก หรือผู้ดัดแปลง
ก็ค่อยๆนำสืบ นำแสดงให้ได้ ตามข้อกฎหมายข้างต้น ผมจะลองไล่ลำดับให้ดู ถ้าผู้ถ่าย ไม่เกี่ยวเลย และเก็บรักษางานอย่ารอบคอบตามสมควร แต่มีคนขโมย หรือลักลอบนำภาพไปดัดแปลงแล้ว ส่งเผยแพร่ คนนั้นผิด โดยที่ผู้ถ่ายภาพแม้จะมีลายน้ำในภาพ ก็ไม่ผิด แต่คงต้องแสดงหลักฐานกันเหนื่อย เพราะ ผู้ถูกถ่าย คงต้องฟ้องทั้งหมดทุกคนไว้ก่อน

ซ. กรณีถ่ายภาพที่แสดงอยู่ เช่นใบปิดภาพยนตร์ ที่ปิดตามเสาไฟฟ้า หรือถ่ายผลงานคนอื่นๆ ในหนังสือต่างๆ แล้วนำมาเผยแพร่ต่อ
ก็นำคิดไปตามกฎหมายข้างต้นคงได้ข้อสรุปเองนะครับ

ต่อยกตัวอย่าง

การถ่ายภาพในสถานที่บริการ
ผมขอแบ่งสถานบริการออกเป็น การให้ที่พักเช่นโรงแรมและอื่นๆ
โดยทั่วไป ถือเป็นที่เฉพาะ แต่ สถานที่พักพิงและหย่อนใจ ที่มีจุดขายด้านการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สวนสามพราน เมืองโบราณ มักจะให้ถ่ายภาพได้ เพราะเขาถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งในการเผยแพร่ ถ้าไม่มีข้อห้ามระบุไว้ (บางแห่งระบุห้ามใช้กล้องใหญ่ ถ่ายกล้องคอมแพ็คได้เป็นต้น) ก็ถ่ายได้เลย นำลงได้เลย ถ้าไม่เสื่อมเสียนะครับ
แต่สถานบริการอื่นๆเช่น โรงพยาบาล ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ฯลฯ แทบจะทั้งหมดมีข้อห้ามไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องบอก เพราะเป็นที่เฉพาะอยู่แล้ว ถ้าไม่ระบุไว้เป็นอย่างอื่นๆ ถือว่าห้ามไว้ก่อน นะครับ

ท้ายนี้ขอยก กระทู้ใน www.bwthai.org มาประกอบเพราะมีความเห็นที่น่าสนใจของคุณผู้ที่ใช้นาม titi ครับ

ความคิดเห็นที่ 6

ผมยังมีข้อสงสัยมากๆ เลยครับ พี่ๆ ผมอยากเข้าใจจริงๆ ไม่ทราบว่า ในเรื่องนี้ ใคร ที่รู้จริงๆ ช่วยตอบ ให้กระจ่างได้ไหมครับ

1. ถ้าถ่ายเพื่อ fine art ได้ แต่ถ้า commercial หมายถึงว่า อาจถ่ายไม่ได้หรือครับ เช่น ผมเคยเข้าไปถ่ายในมหาวิทยาลับ เชียงใหม่ พอยกกล้อง medium format ใส่ขาตั้งกล้อง เท่านั้น เอง ยาม ก็เข้ามา บอกว่า ห้ามถ่ายเลย
แสดงว่า ในรั้วมหาวิทยาลัย ก็ไม่ใช่ที่สาธารณะ ใช่ไหมครับ
อืม แล้วที่ใดบ้างที่ถือว่า เป็นที่สาธารณะ เช่น วัดต่างๆ อนุสาวรีย์ต่างๆ สวนสาธารณะ ตึกช้าง ตึกธนาคารไทยพานิชสาขาใหญ่ พวกนี้ ถือว่า อยู่ในที่สาธารณะ หรือเปล่าครับ ถ้าอยู่ในที่สาธารณะ แล้ว เราถ่ายภาพ มาทำโพสต์การ์ด ได้ไหมครับ หรือ ถ้าถ่ายเพื่อ fine art แต่ว่า เราติดราคาขายงาน fine art เราได้ไหม หรือว่า ห้ามขายงานภาพถ่ายที่เราใช้ฟิล์มเราถ่าย ผมไม่เข้าใจจริงๆ ครับ

2. ที่สาธารณะ รวมไปถึง ภาพใน internet หรือเปล่าครับ เราจะบอกได้ไง ว่า ภาพ digital ใดๆ ไม่ใช่ของสาธารณะ เช่น ผม เห็นรูปหนึ่งสวยมาก แต่มีคำว่า copyright ติดอยู่ด้วย แต่ตามที่อ่านข้างบน หมายถึงว่า ถ้าผมใช้กล้อง digital กด snap มาจากจอ computer แล้ว ภาพๆ นั้น จะเป็นภาพของผมได้ไหมครับ และก็มีต่อทันทีว่า ในเมื่อจอคอมพิวเตอร์ กับภาพบนอินเตอร์เน็ต มันสามารถไปปรากฏที่ไหนต่อไหน ก็ได้ ผมคิดว่า มันก็เป็นที่สาธารณะ ไม่ใช่หรือครับ ถ้างั้น ทำไม ผม click save as เสียเลยไม่ได้หละ และก็รวมไปถึงภาพของหลายๆ คนที่ไม่มีคำว่า copyright ติดอยู่อีก
3. มีตึกหลายตึกที่ผมรู้มา ตั้งอยู่ในที่สาธารณะ เช่น ตึก ไคสเลอร์ ใน NY เขาก็มี ลิขสิทธิ์ ด้วย จริงๆ แล้ว ก็ห้ามถ่ายหนะ เท่าที่ผมรู้มา แต่ใครๆ ก็ถ่ายได้ อันนี้ ก็ ok เพราะเขาไม่รู้ หรือไง แต่ว่าห้ามเอารูปตึกนี้ ไปขายเด็ดขาด
4. จริงๆ แล้วผมเคยอ่าน column หนึ่งของช่างภาพชื่อ Gary Gross หนะครับ เขาถ่าย nude บรู๊คชิว ซึ่งอายุได้สิบขวบ สมันก่อน เสร็จแล้วงานเขา ไปโชว์บนตู้กระจกสาธารณะ แล้วมีช่างภาพอีกคนชื่อ Prince ไปถ่ายรูปนี้ที่โชว์บนตู้กระจก แล้วก็มา print ขายต่อ และงานเขา ก็ใช้คำว่า การทำงานเพื่อ fine art ด้วย จน whiteney museum ที่ NY เขาเอาภาพไปโชว์ และมีคนชอบภาพนี้ มากเลยซื้อภาพนี้ ต่อเป็นจำนวนเงิน $US150,000
ครับ โดยที่ภาพๆ นี้ จริงๆ แล้ว คนที่ถ่าย บรู๊คชิวคือ Gary Gross ครับ แต่คนที่ถ่ายภาพ copy มาทั้ง ดุ้น คือ คนที่ชื่อ prince และก็เอาไปขายได้เงินมา
ทางกฏหมาย ก็เอาผิดใดๆ ไม่ได้ด้วย เลยทำให้ผมเริ่มงงๆ ไปใหญ่

5. มันก็เลยมีคำถามต่อว่า ในยุคนี้ กฏหมายไทย จะครอบคลุมไปถึงต่างประเทศด้วยหรือเปล่า ถ้าใครถ่ายรูป copy รูปเราคนไทยทั้งดุ้น แล้วไปขายโชว์ต่อที่ต่างประเทศหละ และกฏหมายต่างประเทศจะครอบคลุม คุ้มครองงานของชาวต่างประเทศมาแทรกกฏหมายในเมืองไทยไหมครับ

6. พวกพาพารัสซี่ นั้นก็อีกพวกครับ เขาสามารถ ถ่ายภาพ ดาราหรือบุคคลดังในสังคมได้หมด ถึงแม้ว่า จะอยู่ในบ้าน เขาก็ใช้กล้องซูมเข้ามาได้ ผมเห็นเยอะมากเลยครับ หรือว่า ถ้าดาราไปต่างอากาศที่ resort โรงแรม ถ้ามีการแอบถ่าย เขาจะถือว่า ผิดหรือไม่ผิดครับ มีสองแง่ หนึ่ง resort เป็นที่สาธารณะ หรือไม่ ทุกคนอาจตอบว่า ไม่ ถ้างั้น ผมรู้อย่างหนึ่งมาว่า พวกที่เป็นคนดังในสังคม ทุกคนเป็นคนของสาธารณะชนครับ เพราะงั้น เขาก็ไม่มีสิทธิ sue คนแอบถ่ายใช่ไหมครับ ยังสงสัย แต่ไอ้คนที่อาจจะ sue คนถ่ายได้คือ เจ้าของ resort เนื่องจากว่า ไปแอบถ่ายพื้นที่ใน resort เขา แต่เจ้าตัวดารานั้น sue คนอื่นไม่ได้เนื่องจากว่า เขาเป็นบุคคลของประชาชน (อันนี้ ผมเห็นภาพแบบนี้ เยอะมากในนิตยสารต่างประเทศ ถามช่างภาพต่างประเทศเรื่องนี้ เขาอธิบายให้ผมฟังได้แค่ว่า ดารา คือคนของสาธารณะชน ใครจะถ่ายเขาก็ได้ แต่ก็ไม่มีเวลาได้คุยและถามต่อว่า ในแง่อื่นๆ หละ

พอดี ผมคิดๆ ว่า อยากจะลองถ่ายนางแบบ (backgrond เป็นตึกรามบ้านช่อง)หรือ achitecture ดู แต่ก็กลัวๆ ว่า ถ้าเอารูปไปลงในโฮมเพจตัวเอง หรือว่า ไปทำเป็น brochure เมื่อไหร่ แล้วจะไปผิดกฏหมายข้อไหนเข้าหรือเปล่าหนะครับ (ตึก ไคส์เลอร์ทีว่า นี้ ผมรู้มา คือ ห้ามเอานางแบบไปถ่ายคู่กับตึก แล้วมาทำโฆษณาหนะครับ จะโดน Sue ได้


ลองอ่านดูนะครับ อาจจะ cover ทุกคำถามเกี่ยวกับเรื่อง การถ่ายภาพแล้วนำเอามาเผยแผ่ ใน อินเตอร์เน็ตได้


คห.18: 2 มี.ค. 54, 20:29
ปวดหัวจัง
BIG-EYE(145 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.19: 2 มี.ค. 54, 20:52
คห.20: 2 มี.ค. 54, 23:26
aOJVOJ(884 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.21: 3 มี.ค. 54, 02:05
คห.22: 3 มี.ค. 54, 02:08
เห็นด้วยอย่างยิ่งคับน้า 
คห.23: 3 มี.ค. 54, 02:27
ขอบคุณครับได้ความรู้เพิ่ม

คห.24: 3 มี.ค. 54, 12:18
ขอบคุณน้ารินคัม...ที่ทำให้พวกเราชาวสยามฟิชชิ่งทราบกันครับ....ข้อกฎหมายในการถ่ายภาพและโพสท์มาก..ครับ....จะได้ระวังกันมากขึ้นครับ...ขอบคุณครับ
คห.25: 3 มี.ค. 54, 12:30

                  ได้ความรู้ครับ
12>
siamfishing.com © 2024