เหตุใด..เวลาน้ำตายปลาถึงไม่กินเหยื่อ??: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 22 อ่าน 10,481
เหตุใด..เวลาน้ำตายปลาถึงไม่กินเหยื่อ??
ตั้ง: 6 ก.ค. 45, 15:11
ผมออกเรือตกปลามาหลายปีก็ยังไม่เข้าใจ  เวลาถามไต๋เรือก็ได้คำตอบว่าน้ำไม่เดิน ก็ถามต่อแล้วเรื่องอะไรเล่าที่มันไม่กินน่ะ ถามรุกหนักเข้าก็พาลโกรธเราอีก เฮ่อ..รบกวนผู้รู้หน่อยครับ
คห.1: 6 ก.ค. 45, 22:53
เป็นคำตอบจากเฮียถัง(แร้งเฒ่า)ที่ช่วยชี้แจงมาคับ พอดีที่เครื่องของแกไม่สามารถส่งหรือโพสท์ข้อความตอบกระทู้นี้ได้(ไม่รู้เพราะอะไร) จึงฝากให้ผมโพสท์ความเห็นของแกให้แทนนะคับ ดูกันเลย เพราะผมเองก็อยากรู้อยู่เหมือนกันคับ

จังหวะน้ำตายฝูงปลามักไม่ว่ายหากินรอบหินโอกาสจะเจอกับเหยื่อจึงน้อยลงแต่ไม่ใช่สิ้นหวังโดยสิ้นเชิง ตามหมายน้ำลึกๆปลาเล็กปลาน้อยก็ยังออกกวนเหยื่อมั่งกับปลาเกมส์ซึ่งเป็นปลาใหญ่กว่า มักฉวยเหยื่อตามจังหวะน้ำเช่นหัวน้ำขึ้นหัวน้ำลงหรือจังหวะน้ำหดตัวที่เรียกว่าน้ำงงๆ ถ้าเป็นหมายน้ำตื้นๆอย่างหมายข้างเกาะจังหวะน้ำตายยิ่งมีผล เพราะเหยื่อที่วางไว้จะไม่มีกระแสน้ำมาช่วยทำให้เหยื่อพริ้วหรือลอยขึ้นเหนือหน้าดินกับปลาที่มักหลบตามหินยิ่งทำให้โอกาสปลาเจอเหยื่อน้อยลงอีกนอกจากบังเอิญหย่อนตรงปากมัน ซึ่งแม้มีโอกาสน้อยแต่ก็เกิดขึ้นบ่อยซึ่งก็ขึ้นกับชนิดของปลาด้วย นอกจากสภาพอากาศภูมิประเทศก็มีผลกับองค์ประกอบอื่นๆที่ยังเป็นเรื่องลี้ลับกับธรรมชาติ จึงเป็นการเรียนรู้ไม่จบสิ้นทุกอย่างขึ้นกับสภาวะซึ่งเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามผมยืนยันว่าเคยได้ตัวมาแล้วทั้งที่เป็นจังหวะน้ำตาย ที่กล่าวมาทั้งหมดมิได้ยึดเป็นกฎเกณท์ตายตัวเพียงถ่ายทอดจากประสบการณ์

                                                                                      แร้งเฒ่า
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.2: 7 ก.ค. 45, 00:09
อืมมมมมมมมมม  เป็นเช่นนี้นี่เอง
ธรรมชาติ ยากแท้ หยั่งถึง
jOne5Oo(4 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.3: 7 ก.ค. 45, 10:29
อื้มมมมม....มีเรื่องเช่นนี้ด้วยหรือ
คห.4: 7 ก.ค. 45, 10:42
ไม่รู้มาก่อนเลยขนาดเป็นเด็กเกาะนะเคยแต่ออกไปทรอลิ่งแล้วก็กลับเอ็งอะไมเคยตกหน้าดินเลย
คห.5: 7 ก.ค. 45, 11:25
อื่ม...แล้วเหตุนี้หรือเปล่าที่สายท้านเรือมักจะเจอปลากินก่อนเสมอๆ เวลาตกปลาด้วยวิธีเดียวกัน
xx1offline
คห.6: 7 ก.ค. 45, 20:33
เวลาน้ำไม่ไหลหรือน้ำตายปริมาณ ออกซิเย่น ที่ละลายในน้ำมีความเช้มข้นน้อยลงและมีคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเนื่องจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่มีมากในบริเวณนั้น ทำให้บริเวณดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมใดๆของปลา กล่าวคือปลาจะพยายามอยู่นิ่งๆ เพื่อรักษาอัตราการหายใจให้อยู่ระดับต่ำสุดโดยพยายามจะไม่ออกแรงใดๆโดยไม่จำเป้นปรากฏการณ์นี้เห็นได้ชัดเจนมากในระดับน้ำที่ลึกไม่เกิน 20 เมตร ในกรณีน้ำลึกบางครั้งเราอาจเห็นว่าที่ผิวน้ำน้ำไม่ไหล แต่ที่ระดับลึกน้ำกลับไหลได้ เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิ และปรากฏการณ์ทาง Hydromachanics
คห.7: 7 ก.ค. 45, 22:32
น่าน.......'จานเรา
คห.8: 8 ก.ค. 45, 08:55
เยี่ยมเลยคับอาจารย์พี่XX แล้วเรื่องDHAล่ะคับจารย์ ช่วยเล่าให้ฟังอีกทีได้ป่าวคับ
ผีปลา
คห.9: 8 ก.ค. 45, 12:45
หรือว่าน้ำไหลแล้วกลิ่นเหยื่อสามารถลอยตามน้ำได้ ทำให้กลิ่นเข้าจมูกปลาแล้วปลาก็จะตามเข้าฮุบเหยื่อ กรณีน้ำตายแทนที่กลิ่นเหยื่อจะลอยตามน้ำกลับเป็นว่าลอยขึ้นข้างบน ทำให้ปลาส่วนใหญ่ที่อยู่นิ่งเวลาน้ำตายมักจะอยู่นิ่งไม่ว่ายน้ำหลบตามซอกหินก็จะไม่ค่อยได้กลิ่นเหยื่อนะ......กรั่กกกกกกกก
jOne5Oo(4 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.10: 8 ก.ค. 45, 14:47
อื้มมมมม มีเหตุผลครับ มีเหตุผล
คห.11: 8 ก.ค. 45, 16:27
หรือว่ามันเป็นศีลข้อนึงของปลา "ละเว้นการกินอาหารตอนน้ำตาย"อิๆๆ
xx1offline
คห.12: 8 ก.ค. 45, 19:27
Health Benefits of Docosahexaenoic Acid (DHA)
by
Horrocks LA, Yeo YK
Docosa Foods Ltd, 1275 Kinnear Road,
Columbus, OH, 43212-1155, USA,
Pharmacol Res 1999 Sep; 40(3):211-225

ABSTRACT
Docosahexaenoic acid (DHA) is essential for the growth and functional development of the brain in infants. DHA is also required for maintenance of normal brain function in adults. The inclusion of plentiful DHA in the diet improves learning ability, whereas deficiencies of DHA are associated with deficits in learning. DHA is taken up by the brain in preference to other fatty acids. The turnover of DHA in the brain is very fast, more so than is generally realized. The visual acuity of healthy, full-term, formula-fed infants is increased when their formula includes DHA. During the last 50 years, many infants have been fed formula diets lacking DHA and other omega-3 fatty acids. DHA deficiencies are associated with foetal alcohol syndrome, attention deficit hyperactivity disorder, cystic fibrosis, phenylketonuria, unipolar depression, aggressive hostility, and adrenoleukodystrophy. Decreases in DHA in the brain are associated with cognitive decline during aging and with onset of sporadic Alzheimer disease. The leading cause of death in western nations is cardiovascular disease. Epidemiological studies have shown a strong correlation between fish consumption and reduction in sudden death from myocardial infarction. The reduction is approximately 50% with 200 mg day(-1)of DHA from fish. DHA is the active component in fish. Not only does fish oil reduce triglycerides in the blood and decrease thrombosis, but it also prevents cardiac arrhythmias. The association of DHA deficiency with depression is the reason for the robust positive correlation between depression and myocardial infarction. Patients with cardiovascular disease or Type II diabetes are often advised to adopt a low-fat diet with a high proportion of carbohydrate. A study with women shows that this type of diet increases plasma triglycerides and the severity of Type II diabetes and coronary heart disease. DHA is present in fatty fish (salmon, tuna, mackerel) and mother's milk. DHA is present at low levels in meat and eggs, but is not usually present in infant formulas. EPA, another long-chain n-3 fatty acid, is also present in fatty fish. The shorter chain n-3 fatty acid, alpha-linolenic acid, is not converted very well to DHA in man. These longchain n-3 fatty acids (also known as omega-3 fatty acids) are now becoming available in some foods, especially infant formula and eggs in Europe and Japan. Fish oil decreases the proliferation of tumour cells, whereas arachidonic acid, a longchain n-6 fatty acid, increases their proliferation. These opposite effects are also seen with inflammation, particularly with rheumatoid arthritis, and with asthma. DHA has a positive effect on diseases such as hypertension, arthritis, atherosclerosis, depression, adult-onset diabetes mellitus, myocardial infarction, thrombosis, and some cancers.
รวมความแล้ว บมคัดย่อนี้บอกว่า
DHA
มีส่วนช่วยในการสร้างเซลสมองในเด็ก
ลดความอ้วน
ป้องกันโรคมากมายหลายชนิด
ช่วยให้ไม่แก่เร็ว
ป้องกันโรคความจำเสื่อม
และอีกมากมาย

มีีมากในน้ำมันปลาทูน่า น้ำเย็น
(ช่าวว่าโดยเฉพาะในน้ำลูกตาปลาทูน่า ที่แม่บ้านญี่ปุนนิยมซื้อให้ลูกกินจนขาดตลาด)
อีกอย่างหนึ่งที่มีมากในน้ำมันปลาคือ EPA (eicospentaenoic acid) สำหรับตัวนี้คล้าย DHA มากแต่มีกรดไขมันที่มีความยาวโมเลกุลสั้นกว่า กรดไขมันใน DHA(ในDHAเป็น omega-3 fatty acid แต่ในEPAเป็นacidsalpha-linolenic acid) ในผู้ชายร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ DHA จาก EPA ได้ ดีนัก
(รายละเอียดทางเทคนิคไม่ขอกล่าวถึงนะครับ น้าโอว)

ทราบดังนี้แล้วขอให้พ่อลูกอ่อนทั้งหลายซื้อมาให้ลูกกินเสียลูกจาได้เรียนหนังสือเก่งๆ จ้า ยิ่งให้ภรรยากินตอนตั้งครรถ์ยิ่งดี (น้าเล็กแปด ที่ให้ไปกินหมดรึยัง?)
คห.13: 8 ก.ค. 45, 19:58
โอ้ว เย้...........
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.14: 8 ก.ค. 45, 20:07
ฮัดช๊า..........ท่านอาจารย์
คห.15: 11 ก.ค. 45, 00:18
ยอดเยี่ยมจริงๆครับพี่ xx  อิ อิ
สิงห์ ปล.
คห.16: 11 ก.ค. 45, 18:25
อ่านความเห็น 6 แล้วรู้สึกฉลาดขึ้นโดยไม่ต้องเสริม DHA แต่ความเห็น 12 อ่านไม่ออก (็Ha)
ผมเคยนอนนึกถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน (นอนอยู่ในเรือนึกตอนปลาไม่กินเพราะน้ำตายนี้แหละ) เคยคิดไว้เล่นๆ ว่าถ้าการไหลของน้ำสำหรับปลาเปรียบเป็นลมพัดผ่านหน้าบ้านผม ถ้าน้ำนิ่งก็เหมือนกับไม่มีลม ผมคงไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อส้มตำไก่ย่างกินสักเท่าไร มันคงร้อนอบอ้าว ถ้าลมเอื่อยๆ พัดมา (ประมาณลมพัดชายทุ่ง) อย่างนี้คงไม่ออกแค่หากินต้องตั้งวงเลยแหละ แต่ถ้าพายุมา ผมก็คงไม่ออกจากบ้านเหมือนกัน
ไม่รู้ว่าประเด็นมันจะเหมือนกันหรือเปล่า เพราะเท่าที่สังเกต ปลาจะกินเหยื่อมากเป็นพิเศษตอนน้ำไหลเอื่อยๆ ซึ่งมักก็จะเป็นช่วงหัวน้ำนั่นเอง (เข้าตำราป๋าแร้งในความเห็นหนึ่ง)ส่วนน้ำหยุดกับน้ำไหลแรง ปลาจะกินเหยื่อน้อยกว่า แต่ไม่ใช่ว่าปลาไม่กินเหยื่อตอนน้ำตายเด็ดขาด
ส่วนเรื่องออกซิเจนของน้า XX เขา อืมม์ ทะเลมันกว้างนะ ปริมาณของออกซิเจนจะมีผลมากน้อยแค่ไหนก็ไม่รู้ เพื่อนๆ ช่วยกันค้นข้อมูลมาอ่านกันบ้างก็ดี
คห.17: 12 ก.ค. 45, 11:34
ขอบคุณมากคับจารย์พี่ XX
คห.18: 12 ก.ค. 48, 14:33
น่าคิดนะครับ
guanguan(533 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.19: 12 ก.ค. 48, 15:24
เวลาน้ำตาย ปลาก็กำลังโศกเศร้าเสียใจ กับการตายไปของน้ำ
เลยพาลทำให้ปลากินอะไรไม่ลงไปด้วย







อ๊ะๆๆๆๆๆ........ เค้าล้อเล่งๆๆๆ
คห.20: 12 ก.ค. 48, 17:47
อืม น่าสนใจดีครับ ตกปลาทะเลเนี่ยปัจจัยหลายอย่างเนอะ
คห.21: 12 ก.ค. 48, 18:27
ดีใจคะที่ชุมชนเราช่วยเหลือกันให้ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวแต่ละบุคคลเพื่อสร้างประโยชน์แก่เพื่อน...ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้นี้
BOYd(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.22: 12 ก.ค. 48, 18:48
พี่สิงห์ รีบ ๆ กลับมาถ่ายรูปปลาเร็ว ๆ ขังรอไว้หลายวัน เดี๋ยวมันผอม หุ่นจะไม่สวย
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024