เรียนรู้กล้องดิจิตอลเบื้องต้น บทที่1 ตอนที่1: SiamFishing : Thailand Fishing Community
123>
กระดาน
คห. 52 อ่าน 88,154
เรียนรู้กล้องดิจิตอลเบื้องต้น บทที่1 ตอนที่1
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้ง: 18 ธ.ค. 48, 10:37
เรียนรู้กล้องดิจิตอลเบื้องต้น บทที่1 ตอนที่1

  ได้เวลาเริ่มต้นเสียที กับสิ่งนี้ที่ผมรับปากกับพี่เว็บมานาน (นานเกินไปหน่อยครับ แหะๆขออภัย)

  ผมตั้งใจว่าจะทำบทความแยกเป็นบท เป็นตอนไป  เริ่มจากความเข้าใจพื้นฐานก่อน  พยายามจะใช้ภาษาง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ และหลีกเลี่ยงคำศัพท์ทางเทคนิคที่เข้าใจยาก แต่คงต้องมีการบรรยายเป็นตัวอักษรมากสักหน่อย คำอธิบายทางเทคนิคบางอย่างที่ดูยุ่งยากซับซ้อน ถ้าข้ามได้ ผมจะข้ามลัดไปเลย ก็ค่อยๆอ่าน ค่อยๆฝึก ทำความเข้าใจ ซ้ำไปซ้ำมา ไปเรื่อยๆ แบบไม่ต้องเครียดนะครับ เดี๋ยวก็เข้าใจได้เอง  หรือไม่ก็งงมากขึ้น  ก๊ากกกกกกกกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
   
หากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ท่านใด มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือติชมอย่างไร เชิญได้ตามสะดวกครับ ไม่ต้องเกรงใจ 

--------------------------------------------------------------------------------


  สำหรับบทที่1  มี 3 ตอน

  ตอนที่ 1 ทำความรู้จักค่า F-stop
  ตอนที่ 2 ทำความรู้จักค่า Shutter speed
  ตอนที่ 3 ทำความรู้จักค่า ISO
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.1: 18 ธ.ค. 48, 10:38
  ตอนที่ 1 ทำความรู้จักค่า F-stop



  ค่า F-stop หรือ ค่ารูรับแสง คืออะไรมันก็ไม่ค่อยยุ่งยากที่จะอธิบาย แต่เอาง่ายๆ เลย ให้สังเกตุที่ดวงตาของเราเอง ลองแหงนหน้าขึ้นมองหลอดไฟ แล้วลืมตาให้กว้างๆ -----------> เป็นไงครับ สว่างจ้า แสบตา

  ทีนี้ทดลองหรี่ตาลงจนตาแทบจะปิด ---------------> ดูมืดๆทึบๆลงมั๊ยครับ

  รูรับแสงที่เลนส์ของกล้อง ก็ลักษณะคล้ายๆกันนี้ คือถ้ารูกว้าง ก็รับแสงได้มาก ถ้ารูแคบลง ก็รับแสงได้น้อยลง
  แต่ที่จะงงก็ตรงตัวเลขค่า F-stop ที่โชว์อยู่ในกล้องนี่แหละครับ  ให้จำง่ายๆว่า รูรับแสงกว้าง----> ตัวเลขน้อย  , รูรับแสงแคบ----->ตัวเลขมาก
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.2: 18 ธ.ค. 48, 10:38
  ค่ารูรับแสง ไม่เพียงส่งผลกับ"ปริมา
  ค่ารูรับแสง ไม่เพียงส่งผลกับ"ปริมาณแสง"ที่เข้าสู่ตัวกล้องเพียงอย่างเดียว  แต่ยังส่งผลถึง "ระยะชัด" ของภาพที่ออกมาด้วย

  สังเกตุภาพนี้ ที่ฉากหลังเป็นต้นไม้เขียวๆ จะเบลอจนไม่เห็นรายละเอียด
  การถ่ายภาพให้ตัวแบบชัด--ฉากหลังเบลอ  พยายามใช้รูรับแสงกว้าง (ค่า F น้อยๆ  เช่น F5.6  , F2.8) โดยให้ตัวแบบ อยู่ห่างจากฉากหลังพอสมควร(ยิ่งห่างมาก ฉากหลังยิ่งเบลอ) แล้วซูมเลนส์เข้าไปหาตัวแบบ
  ลักษณะดังที่กล่าวมานี้  เราเรียกกันว่า  "ชัดลึก - ชัดตื้น"
  ภาพนี้ เข้าข่าย ชัดตื้น ครับ
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.3: 18 ธ.ค. 48, 10:38
  ** ข้อควรสังเกตุอย่างหนึ่งคือ  กล้องดิจิตอลคอมแพค ทั่วๆไป จะมีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือ "มีความชัดลึกสูง"  นั่นคือ พยายามถ่ายอย่างไร ฉากหลังก็เบลอได้ยาก ซึ่งมีสาเหตุมากจากขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพในตัวกล้อง
  หลายท่านถ้าอ่านบทความทำความเข้าใจแล้ว นำกล้องดิจิตอลคอมแพค ไปลองถ่าย ผลปรากฎว่า ตั้งรูรับแสงให้กว้างที่สุดแล้ว  ซูมก็เข้าไปจนสุดแล้ว  แถมตัวแบบก็ยังอยู่ห่างจากฉากหลังตั้งไกล  ฉากหลังก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเบลอซักที  อันนี้ต้องเข้าใจข้อจำกัดของตัวกล้องด้วยนะครับ  แต่อย่าถึงกับซีเรียสไป  การถ่ายภาพไม่ใช่ว่า หน้าชัด-หลังเบลอ แล้วจะดูสวยเสมอไป  มุมมองสิครับ สำคัญกว่า

  พูดมาถึงตรงนี้  อ้าว ! แล้วกล้องดิจิตอลแบบไหนบ้างที่ใช้แล้ว เห็นผล เรื่องหน้าชัด-หลังเบลอ อย่างชัดเจน  ก็ตอบง่ายๆเลยอย่างแรกก็ต้องกล้องดิจิตอลแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ (SLR)  และ กล้องดิจิตอลคอมแพคพวกที่ซูมได้ไกลสุดกู่ทั้งหลายน่ะครับ  ที่โฆษณาว่า ซูม 10X  , 12X  เนี่ยแหละครับ  ใช้รูรับแสงกว้างให้สุดๆ แล้วซูมเข้าไปเยอะๆ รับรองฉากหลังเบลอแน่  แต่ระวัง ! ตัวแบบจะเบลอไปด้วยนะครับ  แหะๆ  ก็แหม ซูมเข้าไปขนาดน๊านนน  โอกาสภาพสั่นก็สูงอยู่  (แล้วจะว่ารายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป  ถ้าไม่ลืม)

  แต่จริงๆแล้ว อาจไม่ต้องใช้รุ่นซูมถึงขนาดนั้นก็ได้ครับ  ผมเคยใช้โซนี่ รุ่น F717  ซูมได้ 5 เท่าเอง แต่ดีตรงรูรับแสงที่ปรับได้ค่อนข้างกว้างมากคือ F2.0-2.4  ก็เลยได้เปรียบตรงนี้มาชดเชยช่วงซูมครับ
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.4: 18 ธ.ค. 48, 10:38
  สังเกตุน้องเหมียวตัวหน้า ตรงจมูก ต
  สังเกตุน้องเหมียวตัวหน้า ตรงจมูก ตา หน้าผาก และมือ ครับ จะเห็นว่าชัด

  สังเกตุตรงขอบล่างของภาพ จะเห็นว่า เบลอ
  สังเกตุตรงตัวเหมียว พ้นจากส่วนหัวไปจนถึงฉากหลัง จะเห็นว่า เบลอ เช่นกัน

  ภาพนี้ ผมโฟกัสที่จมูก  ใช้ค่า F5.6  แล้วซูมเข้าไปที่ 255 mm  ส่งผลทันทีให้ภาพมีความ "ชัดตื้น" สูง หรือ มีระยะชัดที่น้อยมาก ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ระยะก่อน และหลัง ตำแหน่งโฟกัส (จมูก) จะเบลอ
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.5: 18 ธ.ค. 48, 10:38

  รูปนี้ ผมโฟกัสที่ ตัวแพ ครับ ใช้ค่

  รูปนี้ ผมโฟกัสที่ ตัวแพ ครับ ใช้ค่า F8  ซูมเข้าไปที่ 46 mm

  ดูภาพที่ Resize มาแบบนี้ ต้องบอกว่าภาพนี้ แยกไม่ค่อยออกครับว่า ตรงไหนชัด ตรงไหนไม่ชัด  เดี๋ยวผมจะ Crop ให้ดู ขนาด 100% ใน แต่จุด
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.6: 18 ธ.ค. 48, 10:38

  ตรงแพ คือจุดโฟกัส  ส่วนต้นไม้ใบหญ้

  ตรงแพ คือจุดโฟกัส  ส่วนต้นไม้ใบหญ้าข้างหลังนั่น ถือเป็น ฉากหลัง
  สังเกตุได้เลยว่า ฉากหลังไม่เบลอ  เพราะ ฉากหลังอยู่ใกล้กับตัวแบบมาก บวกกับช่วงซูมแค่น้อยนิด  และค่า F-stop ที่ แคบพอประมาณ
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.7: 18 ธ.ค. 48, 10:39

  ขอนไม้ที่อยู่ตรงกลางภาพต้นฉบับ  ส

  ขอนไม้ที่อยู่ตรงกลางภาพต้นฉบับ  สังเกตุว่า เบลอนิดๆนะครับ  อยู่ ณ ตำแหน่งที่ไกลจากจุดโฟกัสมาก
CRKN(2 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.8: 18 ธ.ค. 48, 10:39

  สรุปเอาซะงั้น ในเรื่องค่า F-stop ว่า

  สรุปเอาซะงั้น ในเรื่องค่า F-stop ว่า

  1. ส่งผลต่อปริมาณแสงที่กล้องจะได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง (ซึ่งควบคุมโดยความไวชัตเตอร์ ที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป)
  2. ส่งผลต่อระยะชัดของภาพ "ที่แผ่จากจุดโฟกัส"  ค่า F น้อยๆ ระยะชัดก็น้อย แต่รับแสงได้มาก    -------> ในขณะที่ ค่า F มากๆ ระยะชัดก็เพิ่มขึ้น แต่จะรับแสงได้น้อยลง

  และสุดท้าย ... ส่งผลให้หลายๆคนที่มาอ่าน ชักจะงงๆไปกับเจ้าค่านี้ไม่มากก็น้อย  กรั่กๆๆๆๆๆๆ

  ก็จบเรื่องค่า F-stop เอาไว้เท่านี้ก่อน  ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะเอามาต่อทีหลังครับ

  ไปอ่านกันตอนต่อไป  เรื่อง ค่า Shutter speed
คห.9: 18 ธ.ค. 48, 10:48
รอเข้าชั้นเรียนคร้าบบบบบบบบบบบ
คห.10: 18 ธ.ค. 48, 11:14

ขำรูป คห.2 คับพี่หนุน

อิอิ

เอ้านักเรียน

หาที่นั่งเร๊ว โปรหนุนจะสอนแว๊วววววว 
คห.11: 18 ธ.ค. 48, 11:29
ปิดหน้าที่รูปไมอ่ะน้า หนุน  ไม่หนุกเลย
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.12: 18 ธ.ค. 48, 11:34
มาเข้าเรียนด้วยครับ
คห.13: 18 ธ.ค. 48, 11:38
มาเรียนด้วยคนคร้าบจะได้ถ่ายรูปเป็นซะที
คห.14: 18 ธ.ค. 48, 13:26
มาเรียนด้วยก๊าบบบบ 
คห.15: 18 ธ.ค. 48, 13:59
เรียนด้วยครับบบบบบ
คห.16: 18 ธ.ค. 48, 14:19
เป็นบทเรียนที่ดีเลยครับ 
A21(2434 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.17: 18 ธ.ค. 48, 15:46
มาเรียนด้วยคนครับโผ้มๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
offie(103 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.18: 18 ธ.ค. 48, 17:51
ขอเข้าโรงเรียนด้วยคนครับบบบบ..... 

คห.19: 18 ธ.ค. 48, 18:13
ขออนุญาตเพิ่มเติมให้พี่ฮาหนุนนิดนึงนะคับ

โดยหลักแล้ว กล้องคอมแพคถูกออกแบบมาสำหรับถ่ายภาพแบบที่มี " Deph Of Filed " หรือ " คมชัดลึก " สูงๆ จึงค่อนข้างเหมาะสำหรับเก็บภาพบรรยาศ ภาพความประทับใจแบบ " Pick & Shot " หรือ กดถ่ายได้เลย กล่าวคือ...จะมีความล่าช้าในการกดปุ่มชัตเตอร์ของกล้องน้อยมาก ต่างกับกล้องประเภท SLR หรือ DSLR ที่ต้องอาศัยการวัดแสงด้วยตัวผู้ใช้ก่อน จึงจะสามารถถ่ายได้ ทำให้บางโอกาศ อาจจะพลาดวินาทีสำคัญไปได้ครับ


อีกอย่างนึงที่ DSLR ทำไม่ได้ แต่ Compact ทำได้

กล้อง Compact สามารถมองภาพผ่านทางจอ LCD ได้ เนื่องด้วยการออกแบบที่แตกต่างกัน CCD หรือ CMOS ของกล้องประเภท Compact จะเปิดค้างไว้ตลอด แล้วจึงส่งสัญญานภาพไปยังจอ LCD ทำให้บางกรณี กล้องคอมแพคจะใช้งานได้สะดวกกว่าประเภท SLR ได้ ยิ่งโดยเฉพาะรุ่นที่สามารถหมุนเปลี่ยนทิศทางของจอ LCD ได้ครับ

DSLR อาศัยการมองผ่าน " View Finder " ซึ่งจะต่างกับคอมแพคโดยสิ้นเชิง CCD มีเพียงหน้าที่รับภาพหลังจากกดชัตเตอร์ลงไปเท่านั้น แต่จะคล้ายกับตาของคนเรามากที่สุดครับ...เช่น ถ่ายภาพตอนกลางคืน เวลาที่เรามองผ่านจอ LCD เราะจะเห็นเพียงสีดำๆบนจอ แต่ DSLR จะเห็นคล้ายกับที่ตาของเรามองเห็นจริงๆครับ

ผิดถูก ขออภัยด้วยครับ อิอิ
kruchat(693 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.20: 18 ธ.ค. 48, 18:37
..มาลงทะเบียนรายงานตัวด้วยคับ..
คห.21: 18 ธ.ค. 48, 20:43
ดีครับน้าหนุนได้ความรู้ดีครับ จะลองเอาไปทำบ้าง
คห.22: 18 ธ.ค. 48, 20:56
คห.23: 18 ธ.ค. 48, 20:59
คห.24: 18 ธ.ค. 48, 23:58
แจ๋วเลยหนุน   
คห.25: 19 ธ.ค. 48, 06:45
พี่ฮาหนุนมาแว้ววววว
123>
siamfishing.com © 2024