ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
12>
กระดาน
คห. 70 อ่าน 44,043 โหวต 5
ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ
ตั้ง: 1 มิ.ย. 50, 13:39
คราวที่แล้วพูดกันถึงวงศ์ปลาช่อนที่พบในบ้านเรา มาคราวนี้ขอเล่นกับวงศ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด ที่มีหลากหลายสปีชี่ที่สุดกันนะครับ...และต้องขอออกตัวว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญนะครับเพียงอยากจะศึกษาเพื่อตัวเองจะได้ออกจากกะลาแคบๆ  หากน้าๆท่านใดเห็นจุดไหนผิดก็รบกวนทักท้วงและให้ข้อกระจ่างด้วยนะครับ  ร่วมด้วยช่วยกัน  เวปของเราคนของเราไม่ใช่ตกเป็นอย่างเดียวยังจำแนกได้อีก  อืมมม  ผมภูมิใจในตัวน้าๆทุกท่านจริงๆครับ 

เข้าเรื่องกันเลยนะขอรับ...วันนี้ขอเสนอวงศ์ปลาเกล็ดที่ใหญ่ที่สุด  วงศ์ปลาตะเพียนครับ

วงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด (Species) มากกว่า 2000 ชนิดใน 200 สกุล

เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชนิด

ปลาในวงศ์ ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบและบาง ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางส่วนมากเป็นเว้าแฉกลึก ครีบท้องอยู่ค่อนมาทางตอนกลางของลำตัวด้านท้อง

ในเมืองไทยวงศ์ปลาตะเพียนที่พอจะพบเห็นได้มี 42 ชนิดด้วยกันที่เป็นวงศ์หลัก คือ

ปลาแดงน้อย
ปลาตะเพียนหน้าแดง
ปลาบ้า
ปลากระมัง
ปลากระมังครีบสูง
ปลากระสูบขีด
ปลากระสูบจุด
ปลากระแห
ปลากระโห้
ปลากาดำ
ปลาจิ้งจอก
ปลาซิวควาย
ปลาซิวควายข้างเงิน
ปลาซิวอ้าว
ปลาตะกาก
ปลาตะพาก
ปลาตะเพียน
ปลาตะโกก
ปลาตามิน
ปลาตุ่ม
ปลานวลจันทร์
ปลาน้ำหมึก
ปลาน้ำหมึกโคราช
ปลาบัว
ปลาปากเปี่ยน
ปลาฝักพร้า
ปลาพลวง
ปลาพลวงชมพู
ปลายี่สก
ปลาสะนาก
ปลาสะนากยักษ์
ปลาสะอี
ปลาหนามหลัง
ปลาหว้าหน้านอ
ปลาหางบ่วง
ปลาแปบควาย
ปลาเพ้า
ปลาเล็บมือนาง
ปลาเวียน
ปลาไส้ตันตาขาว
ปลาไส้ตันตาแดง

ปล.จำนวนที่พบผิดถูกยังไงช่วยกันเพิ่มเติมนะครับน้าๆทุกท่าน ช่วยกันๆ
แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย , ฟิชเบส



คห.1: 1 มิ.ย. 50, 13:43
ปลาแดงน้อย : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dische
ปลาแดงน้อย : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Discherodontus ashmeadi ลักษณะคล้ายปลาตะเพียน แต่เพรียวยาวกว่า หัวโต ปากเล็ก เกล็ดเล็ก ครีบหลังมีแต้มสีคล้ำขนาดใหญ่เป็นจุดเด่น และมีแถบสีดำพาด ลำตัวสีเงินอมเขียว ครีบอื่น ๆ ใส และมีแต้มสีแดงเรื่อ ครีบหางมีขลิบสีคล้ำและสีแดงทั้งปลายบนและล่าง มีขนาดประมาณ 10 ซ.ม. พบเฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้นครับ  คนท้องถิ่นเรียก ไอ้หางแดง
คห.2: 1 มิ.ย. 50, 13:51
ปลาตะเพียนหน้าแดง :ชื่อวิทยาศาสตร์ P
ปลาตะเพียนหน้าแดง :ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius denisonii เป็นปลาน้ำจืดกึ่งเขตร้อน มีถิ่นอาศัยอยู่ในแม่น้ำและลำธารน้ำไหล ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เพิ่งนำมาเลี้ยงเป็นงานอดิเรกได้ไม่นาน ปลาตะเพียนหน้าแดงเป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ค่อนข้างสงบ ว่ากันว่ามีคนนำมันมาจากประเทศอินเดียครับ
คห.3: 1 มิ.ย. 50, 13:56
ปลาบ้า: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoeveni
ปลาบ้า: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii  ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก ปลาบ้า ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น ปลาไอ้บ้า ปลาพวง ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาโพง
คห.4: 1 มิ.ย. 50, 14:04
ปลากระมัง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntiopli
ปลากระมัง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites proctozysron อันนี้คงไม้ต้องพรรณา เป็นปลารับแขกตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่เราๆคุ้นเคยกันดี ปลากระมัง มีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ  เช่น " มัง " ที่บึงบอระเพ็ด " วี " ที่เชียงราย " เหลี่ยม " หรือ " เลียม " ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก " แพะ " และภาคอีสานเรียก " สะกาง "
คห.5: 1 มิ.ย. 50, 14:07
ปลากระมังครีบสูง : มีชื่อวิทยาศาสตร
ปลากระมังครีบสูง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites falcifer
พบเฉพาะแม่น้ำโขง ที่เดียวเท่านั้น มีชื่อเรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า " สะกางเกสูง "
คห.6: 1 มิ.ย. 50, 14:13
ปลากระสูบขีด : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าH
ปลากระสูบขีด : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าHampala macrolepidota  มีขนาดใหญ่กว่ากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน สามารถยาวได้ถึง 30 ซ.ม. หรือ 60 ซ.ม.
พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่ากระสูบจุด จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม
กระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาถิ่นอีสานว่า " สูบ " " สูด " " สิก " หรือ " ขม " เป็นต้น

คห.7: 1 มิ.ย. 50, 14:18
กระสูบจุด : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala d
กระสูบจุด : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อันนี้เราคุ้นหน้าคุ้นตาเขาดีไม่ต้องบรรยายสัพคุณ  พบได้ทั่วไปไม่ว่าแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ
คห.8: 1 มิ.ย. 50, 14:22
กระแห : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfe
กระแห : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii (เดิม Babodes และ Puntius schwanenfeldii)  รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย กระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า " กระแหทอง " หรือ " ตะเพียนหางแดง " ในภาษาอีสานเรียก " ลำปำ " ในภาษาใต้เรียก " เลียนไฟ " ภาษาเหนือเรียก " ปก " เป็นต้น



คห.9: 1 มิ.ย. 50, 14:27
กระโห้: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamens
กระโห้: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ นอกจากชื่อกระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า " คาบมัน " หรือ " หัวมัน " ภาษาเหนือเรียกว่า " กะมัน "


คห.10: 1 มิ.ย. 50, 14:46
ปลากาดำ :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhyncho
ปลากาดำ :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos chrysophekadeon มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้
ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น เพี้ย ในภาษาเหนือ อีตู๋ หรือ อีก่ำ ในภาษาอีสาน

คห.11: 1 มิ.ย. 50, 14:50
จิ้งจอก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus s
จิ้งจอก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus siamensis มีรูปร่างลำตัวเพรียวทรงกระบอก หัวเรียว ตาเล็ก ปากเล็ก มีหนวดสั้น 1 คู่ มีแผ่นหนังคลุมด้านริมฝีปากบน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบทอง และมีแถบสีคล้ำพาดยาวจากหัวถึงกลางครีบหาง ครีบสีจาง ครีบหางเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 10-15 ซ.ม. ใหญ่สุด 16 ซ.ม.
พฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธาร โดยเฉพาะที่เป็นแก่งและมีพรรณไม้หนาแน่น ในเมืองไทยพบเฉพาะที่ภาคใต้ที่เดียวเท่านั้น
คห.12: 1 มิ.ย. 50, 14:52
ซิวควาย : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornier
ซิวควาย : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora tornieri  ปากเล็กไม่มีหนวด ตาโต ครีบเล็ก ครีบหางเว้าลึก มีเกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเหลืองอ่อนอมทอง มีแถบสีเงินพาดตามความยาวกลางลำตัวจนถึงโคนหาง ครีบสีเหลืองอ่อนมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 6 ซ.ม. ใหญ่สุด 10 ซ.ม.
อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแม่น้ำและแหล่งน้ำนิ่ง รวมถึงลำธารในที่สูงบางแห่ง พบในภาคใต้ ภาคกลาง ถึงแม่น้ำโขง
คห.13: 1 มิ.ย. 50, 14:56
ซิวควายข้างเงิน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์
ซิวควายข้างเงิน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rasbora argyrotaenia  มีรูปร่างคล้ายปลาซิวควายซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน  เป็นปลาผิวน้ำ ชอบอยู่กันเป็นฝูง ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวว่องไว ข้างลำตัวมีแถบสีเงิน และสีเหลืองสดอมส้มพาดคู่ขนานไปกับแถบสีเงินตามยาวลำตัว พบในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล พบอยู่ทั่วทุกภาค
คห.14: 1 มิ.ย. 50, 14:59
ซิวอ้าว : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleek
ซิวอ้าว : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri  ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง
คห.15: 1 มิ.ย. 50, 15:07
ตามิน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys t
ตามิน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblyrhynchichthys truncatus มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวแบนข้าง แต่ส่วนหัวและจงอยบปากสั้นทู่ หน้าหนัก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด ตามีขนาดใหญ่มีเยื่อไขมันใสคลุม จึงเป็นที่มาของชื่อ ครีบหลังสูง มีก้านแข็งที่ขอบหยัก ครีบหางเว้า เกล็ดมีขนาดใหญ่ปานกลาง ครีบอกสั้น ตัวมีสีเงินวาวตลอดทั้งตัว ไม่มีจุดหรือสีอื่นใด ๆ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีเหลืองอ่อนใส มีขนาดประมาณ 20 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบคือ 40 ซ.ม.
อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง  ตามิน ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ตาโป ในภาษาอีสาน ตาเหลือก หรือ หนามหลัง เป็นต้น



คห.16: 1 มิ.ย. 50, 15:19
ตัวล่างของน้ามดน่าจะเป็นใส้ตันตาแ
ตัวล่างของน้ามดน่าจะเป็นใส้ตันตาแดงครับ
คห.17: 1 มิ.ย. 50, 15:22
ไส้ตันตาแดง :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cy
ไส้ตันตาแดง :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys apogon  มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ตัวกว้างกว่าและหัวค่อนข้างแหลม ปากเล็ก ริมฝีปากบาง ไม่มีหนวด จงอยปากและหน้าผากมีริ้วบาง ๆ หลายริ้ว ตาเล็ก ครีบหลังยกสูง มีก้านหยักแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็ก ตัวแบนข้าง ลำตัวสีเงินวาวอมน้ำตาลอ่อน ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำ มีแถบข้างลำตัวสีคล้ำ 7-9 แถบพาดตามแนวยาวใกล้โคนหาง ที่โคนหางมีแต้มสีคล้ำรูปกลม ขอบตาบนมีสีแดง เป็นที่มาของชื่อ ครีบสีแดงเรื่อหรือแดงสด ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 ซ.ม. ใหญ่สุดที่พบ 20 ซ.ม.
ไส้ตันตาแดง มีชื่อที่เป็นภาษาถิ่นที่เรียกต่างออกไปอีก เช่น " แม่สะแด้ง " ในภาษาอีสาน " หญ้า " ในภาษาใต้ และมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " ตะเพียนทราย " หรือ " สร้อยหางแดง " เป็นต้น
คห.18: 1 มิ.ย. 50, 15:28
ไส้ตันตาขาว :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cy
ไส้ตันตาขาว :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys repasson มีรูปร่างคล้ายไส้ตันตาแดงซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน  เว้นแต่ขอบตาบนไม่มีสีแดง และมีหนวดสั้นๆ 2 คู่
ไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น ที่จังหวัดพะเยาเรียกว่า " แพ็บ " เป็นต้น

คห.19: 1 มิ.ย. 50, 15:34
ตะกาก: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi
ตะกาก: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi มีรูปร่างเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังยกสูงมาก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น
ตะกาก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " ปากบาน " หรือ " โจกเขียว "

คห.20: 1 มิ.ย. 50, 15:41
ตะพาก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei
ตะพาก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei  มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง ตะพากมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กระพาก, พาก, สะป๊าก, ปากคำ, ปากหนวด, ปีก เป็นต้น
คห.21: 1 มิ.ย. 50, 15:43
ตะเพียน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gon
ตะเพียน :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus  อันนี้ไม่ต้องบรรยายสัพคุณ พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
คห.22: 1 มิ.ย. 50, 15:55
ตะโกก :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys en
ตะโกก :  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos มีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด  เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ  มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม.
พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย
ตะโกก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " โจก "

คห.23: 1 มิ.ย. 50, 15:56
เดี๋ยวมาต่อให้ที่เหลือครับน้าๆ ขอบคุณครับที่เข้ามาชม 
คห.24: 2 มิ.ย. 50, 12:42
ตุ่ม หรือ ตุม : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P
ตุ่ม หรือ ตุม : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites bulu  มีรูปร่างเหมือนปลากระมัง เว้นแต่ก้านครีบก้นไม่มีรอยหยัก เกล็ดเล็กกว่า และลำตัวมีรอยขีดสีคล้ำตามขวางประมาณ 7-8 รอย
เป็นปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่ ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด
คห.25: 2 มิ.ย. 50, 12:45
นวลจันทร์ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus
นวลจันทร์ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู
เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขง
นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า " พอน "

12>
siamfishing.com © 2024