กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
27 พ.ย. 67
กระทู้แชร์ความรู้ปลาน้ำจืดไทยครับ........ตกปลาอย่างอนุรักษ์: SiamFishing : Thailand Fishing Community
1
2
>
กระดาน
คห. 101 อ่าน 70,772 โหวต 11
กระทู้แชร์ความรู้ปลาน้ำจืดไทยครับ........ตกปลาอย่างอนุรักษ์
เด็กจัน
(23
)
1
ตั้ง: 5 ก.ย. 51, 21:33
ผมพึ่งตั้งกระทู้เป็นครังแรกครับ ยังไม่ค่อยรู้ระบบระเบียบต่างๆดีหากผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ.....
ผมอยากขอเชิญชวนน้าๆทุกท่านที่มีความรู้เรื่องปลาน้ำจืด หรือเคยไปพบเห็นปลาน้ำจืดไทยที่น่าสนใจมาร่วมแบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์ หรือน้าๆท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปลาน้ำจืดก็มาโพสได้เลยครับ ซึ่งถือเป็นการแบ่งความรู้ซึ่งกัน และกันครับ
ถึงจะชอบตกปลา แต่ก็รวมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ได้เช่นกันครับ
ทุกคห.
เด็กจัน
(23
)
คห.1: 9 ก.ย. 51, 10:18
ขอโทษน้าๆหลายๆคนด้วยนะครับหายหน้าหายตาไปหลายวัน
ช่วงนี้งานยุ่งจริงๆ......
มาอัพเดตความรู้ครับ...น้าๆเคยคิดบ้างไหมครับทำไมปลาน้ำจืดไทยหลายชนิดถึงอยู่บนบกได้นานกว่าจะตาย...?
ก็เพราะว่า มันมีอวัยวะพิเศษที่ทำให้หายใจบนบกได้นะสิครับ....หลักๆเราแบ่งมันเป็น 3 กลุ่มครับ(เฉพาะของไทย)
1. กลุ่มปลาหมอ (Anabas testudineus) ปลาพวกนี้จะมีอวัยวะคล้ายดอกกระหล่ำอยู่ในหัว เรียกว่า labyrinth (ลา-ไบ-รินทร์) ซึ่งตาบใดก็ตามถ้าเจ้าดอกกระหล่ำนี้ยังไม่แห้งปลาก็สามารถหายใจได้แม้จะอยู่บนบก
ด้วยเหตุนี้พวกปลาหมอถึงแถกบนบกได้นานช่วงที่ฝนตก
ปลาในกลุ่มนี้ได้แก่ หมอ กัด กระดี่ แรด เป็นต้น ....แต่น่าเศร้ามันก็มีข้อเสียอยู่ที่ว่า เหงือกของปลาพวกนี้คุณภาพแย่เอามากๆ ถ้ามันไม่ขึ้นมาอุปอากาศอยู่เป็นประจำมันก็จะตายในที่สุดครับ เป็นที่มาของปลาหมอตายเพราะปาก...555
เด็กจัน
(23
)
คห.2: 9 ก.ย. 51, 10:37
2. กลุ่มปลาช่อน (Channa spp.) ปลาในกลุ่มนี้มีอวัยวะที่ดีมากๆ เราเรียกมันว่า diverticula(ได-เวอ-ติ-คู-ล่า) มีลักษณะเป็นเหมือนประการังตะปุ่มตะปั่มอยู่ติดกับเหงือก ซึ่งตาบใดก็ตามที่ยังพอมีความชื้นอยู่บ้างปลาจะหายใจบนบกได้ (สังเกตุเวลาแม่ค้าขายปลาช่อนจะใส่น้ำแค่คลุกคลิกมันก็อยู่ได้)
ซึ่งเจ้าประการังนี้ มีประโยชน์ในเรื่อง การจำศีลของปลาครับ...
เมื่อใกล้ฤดูแล้งปลาช่อนจากินอาหารมากเพื่อสะสมพลังงาน แล้วมันก็จะมุดไปใต้โคลนก่อนที่น้ำจาแห้ง(บางแหล่งนะครับ)
แล้วจาขับเมือกอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เจ้าประการังชื้นครับ ดังนั้น
มันจึงสามารถจำศีลอยู่ใต้โคลนเพื่อรอฤดูน้ำหลากครั้งหน้าครับ.....
เด็กจัน
(23
)
คห.3: 9 ก.ย. 51, 10:55
3. กลุ่มปลาดุก (Clarias spp.) ปลากลุ่มนี้ก็คล้ายกับปลาช่อนครับ...แต่ในหัวมันเป็นโพรงและมีอวัยวัคล้ายกิ่งก้าน เรียกว่า dendrite (เด็น-ไดท์) ซึ่งโพรงในหัวมันทำหน้าที่เก็บอากาศครับ
ดังนั้น เวลาที่คุณภาพน้ำย่ำแย่ (เน่าๆมาก) มันก็อยู่ได้เนื่องจากมันขึ้นมาหายใจโดยอุปอากาศที่ผิวน้ำแทนการหายใจในน้ำได้ครับ......แต่แน่นอนว่ามันก็ยังต้องการหายใจในน้ำอยู่บ้างครับ
ไม่งั้นมันคงตายแน่ครับ........5555
เด็กจัน
(23
)
คห.4: 9 ก.ย. 51, 11:14
ปลาที่น้า จิรชัยโพสมาตั้งแต่แรก(ขออนุญาติใช้รูปน้าจิรชัยนะครับ) ผมคิดว่า เป็นปลาในกลุ่มปลาแป้นแก้ว (Ambassidae) ซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กพวกเดียวกับปลากระจกที่จตุจักรเอามาฉีดสีน่ะครับ.....
แต่ตัวในรูปนี่ไม่ใช่ของไทยแน่นอนครับ.....ดูจากรูปเดาว่าน่าจะเป็น.....
Gymnochanda flamea (จิม-โน-ชาน-ดา ฟรา-เมีย) ซึ่งเป็นปลาแป้นแก้วขนาดเล็ก (ประมาณ 2-4 ซม.) พบทั่วไปแถบ
ทางใต้ของ เกาะบอเนียว อินโดนีเซีย (ตามแหล่งน้ำไหลเอื่อยๆ คุณภาพน้ำค่อนข้างดี หรือ ตามทะเลสาป) อาหารมีรายงานว่ากินแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร........
ปล. หากข้อมูลบางส่วนผิดพลาดก็ขออภัยด้มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับนะครับ.......................เด็กจัน
เด็กจัน
(23
)
คห.5: 9 ก.ย. 51, 19:39
มาแนะนำปลาน้ำจืดที่ได้ข่าวลือมาว่า หาได้ยากแล้วในภาคกลาง...........
ปลาจีด (Heteropneustes fossilis) ลักษณะภายนอกดูเผินคล้ายปลาดุก แต่ปลาจีดครีบหลังสั้นครับ....ปลาดุกครีบหลังยาว ในตำราอ้างว่ามีการแพร่กระจายตั้งแต่ อินเดีย ถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เด็กจัน
(23
)
คห.6: 9 ก.ย. 51, 19:44
.....แต่เจ้าปลาจีดนี้มีข้อมูลน้อยเหลือเกิน น้าๆท่านใดมีข้อมูลน่าสนใจ ช่วยกรุณาโพสมาแชร์กันบ้างนะครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.7: 9 ก.ย. 51, 20:10
ตอบน้า XmakeR นะครับ....
ขอตอบแบบวิชาการนิดนึงอย่าพึ่งเบื่อนะครับ......
การที่น้าตัดหัวปลาดุกนะแน่นอนว่าปลามันตายไปแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ครับ
....แต่การที่น้าเห็นมันมีอาการเหมือนว่ายน้ำน่ะครับเป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อบางส่วนของปลายังสามารถขยับตัวได้ระยะหนึ่งแม้ปลาจะตายไปแล้วครับ.......
.....เช่นเดียวกับหัวใจสัตว์ทุกชนิด....ถ้าพึ่งควักออกมานอกร่างกายใหม่ๆมันก็ยังสามารถเต้นได้อีกระยะหนึ่งครับ.....แม้สัตว์ตัวนั้นจะตายไปนานแล้วครับ....เป็นเรื่องปกติครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.8: 9 ก.ย. 51, 20:34
แนะนำปลาน้ำจืดไทยขนาดเล็กครับ........
ปลาเสือดำ หรือเสือลายเมฆ เป็นปลาที่มีจำน่ายเป็นปลาสวยงามบ้างเล็กน้อยตามจตุจักร แต่ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นปลาจับจากธรรมชาติ .....ลักษณะทั่วไปคล้ายปลาเสือตอแต่เป็นปลาคนละกลุ่มกันครับ......
ในไทยมีปลาเสือดำ 2 ชนิดครับ
1. ปลาเสือดุมซี หรือเสือลายเมฆ (Nandus nebulosus)--(นาน-ดัส เน-บู-รอส-ซัส) เป็นปลาขนาดเล็กประมาณ 10 ซม. พบในแหล่งน้ำไหลที่ค่อนข้างใส เช่น น้ำตก ลำธาร พบทั่วไปแถวๆภาคตะวันออก ........ ยังไม่สามารถเพาะพันธ์ได้ครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.9: 9 ก.ย. 51, 20:36
เอาไปดูกันอีกรูปครับ........ปลาดุมซี แห่งภาคตะวันออกครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.10: 9 ก.ย. 51, 20:54
2. ปลาเสือลายเมฆ (Nandus oxyrhynchus) --(นาน-ดัส อ๊อก-ซี่-ริน-ชัส)เป็นชนิดที่พบในลุ่น้ำโขงในภาคอีสานครับ......
จากชื่อนะครับ oxy แปลว่ารูปร่าง rhynchus แปลว่า จมูก
ง่ายๆเลยนะครับ.....เจ้าเสือลายเมฆตัวนี้จะคล้ายกับเจ้าดุมซีมาก
....แต่จะต่างกันตรงจมูกครับ ส่วนหน้าจะยื่นมากกว่าครับ....
.......เป็นปลาขนาดเล็กเช่นเดียวกันครับ....พบในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำหนาแน่น....กินลูกกุ้ง ลูกปลาเป็นอาหารครับ....
เด็กจัน
(23
)
คห.11: 10 ก.ย. 51, 09:00
ปลาเอินฝ้าย (Probarbus labeaminor) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลายี่สกไทย(Probarbus gullieni)และปลาเอินตาขาว (Probarbus labeamajor) แต่ไม่มีแถบตามแนวยาวลำตัว และมีครีบที่ขนาดใหญ่กว่าทั้ง 2 ชนิดนั้น จัดเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกัน และพบได้เพียงที่เดียวเท่านั้นคือ แม่น้ำโขง
เด็กจัน
(23
)
คห.12: 10 ก.ย. 51, 09:10
ส่วนปลาเอินตาขาว(Probarbus labeamajor) และ ปลายี่สกไทย(Probarbus gullieni) จะต่างกันค่อนข้างชัดเจนจากเอินฝ้ายตรงที่ปลาทั้งสองชนิดมีริมฝีปากจะหนากว่ามาก และ มีลายตามยาวข้างลำตัวชัดเจน.....แต่ทั้ง 3 ชนิดก็เป็นปลาแม่น้ำโขงครับ
ในรูปเป็นปลาเอินตาขาว(Probarbus labeamajor) ขนาดเล็กประมาณ 20 ซม.
เด็กจัน
(23
)
คห.13: 10 ก.ย. 51, 09:19
......ขออภัยน้าๆด้วยนะครับ..ชื่อวิทย์ของ ยี่สกไทยใน 2 กระทู้ที่ผ่านมาผมพิมพ์ผิดที่ถูก คือ Probarbus jullieni.....
ในรูปเป็นปลายี่สกไทย (Probarbus jullieni)หรือบางคนเรียกยี่สกทอง บ้างก็เรียก เอินตาแดง.....แต่เป็นปลาตัวเดียวกันครับ
ปลายี่สกไทย(Probarbus jullieni)จะคล้ายกับปลาเอินตาขาว(Probarbus labeamajor)มาก......ซึ่งเราแยกชนิดจากลายดำที่พาดตามยาวลำตัวครับ
ยี่สกไทย(Probarbus jullieni).....มีลายดำพาดยาวเหนือเส้นข้างลำตัว 5 แถบ
เอินตาขาว(Probarbus labeamajor)....มีลายมีลายดำพาดยาวเหนือเส้นข้างลำตัว 6 แถบ
เด็กจัน
(23
)
คห.14: 10 ก.ย. 51, 09:29
เนื่องจากรูปปลาเอินฝ้ายค่อนข้างหายากมาก....น้าๆท่านใดมีรูปปลาเอินฝ้ายช่วยกรุณาแชร์กันบ้างครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.15: 10 ก.ย. 51, 09:35
ปลาจีดนั้น...ยังให้เครดิตกับน้านุ้ยไม่ได้ครับ...เพราะน้านุ้ยยังไม่ยอมเขียนเอกสารวิชาการ(paper) ซักที...
...........จึงำเป็นต้องยึดตาม ตำราอื่นไปก่อนครับน้า จิรชัย..
.....การจะยึดชื่วิทยาศาสตร์อะไรก็ตามจำเป็นมากที่จะต้องมี paper มารองรับ...ครับ
....ส่วน nandus ที่เกาะซุนดา ไม่ใช่ของไทยผมเลยไม่ค่อยสนใจ จึงไม่ได้เก็บเอกสารไว้ครับ.....แต่จะพยายามหาให้นะครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.16: 10 ก.ย. 51, 17:38
ขอขอบคุณน้าๆทุกท่านเลยนะคราบ......
ซึ้งใจจริงๆที่มีคนเข้ามาดูกัน....และยิ่งดีใจที่มาร่วมแชร์ความรู้กันครับ......
เด็กจัน
(23
)
คห.17: 10 ก.ย. 51, 18:05
สำหรับน้า Rut_jang ที่ถามมาเรื่องปลาช่อน....ผมเลยแถมให้
ในหัวข้อ........ปลาในวงศ์ ช่อน(Channa spp.) หลักๆที่พบในไทยครับ
1. ปลาช่อน (Channa striata)
2. ปลาชะโด(Channa micropeltes)
3. ปลาก้าง(Channa cf. gachua)
4. ปลากระสง(Channa lucius)
5. ปลาช่อนงูเห่า(Channa marulius)
6. ปลาช่อนข้าหลวง(Channa marulioides)
7. ปลาพังกับ(Channa melasoma)
ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดทีละตัวนะครับ.....แต่ก่อนอื่นขอโพสรูป ช่อนงูเห่า(Channa marulius) ของน้า Rut_jang ก่อนนะครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.18: 10 ก.ย. 51, 18:15
เจ้าตัวนี้ เรียกว่า ปลาช่อนข้าหลวง (Channa marulioides)
คล้ายปลช่อนงูเห่ามาก แต่ลำตัวป้อมสั้นกว่า มีลายสีเหลืองทอง สลับกับดำ ครีบมีจุดประสีเหลือง
เจ้าตัวนี้จะพบเฉพาะภาคใต้ พบในแม่น้ำ หรือ ลำธารขนาดใหญ่ที่มีพืชน้ำหนาแน่น........ครับ
น้าท่านใดเคยพบเห็นช่วยกรุณาเพิ่มเติมข้อมูลด้วยครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.19: 10 ก.ย. 51, 18:22
ส่วนเจ้าตัวนี้ เรียกว่า พังกับ(Channa melasoma) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กครับ มีรายงานว่าใหญ่สุดประมาณ 30 ซม. จะงอยปากจะมน หัวโต ลำตัวทรงกระบอก(เกล็ดเส้นข้างลำตัว 50-52)
จะพบพวกนี้ตามพรุ เป็นกรดอ่อนๆ กระจายตั้งแต่แม่โขง ถึง อินโดนีเซีย..............
เด็กจัน
(23
)
คห.20: 10 ก.ย. 51, 18:29
ตัวถัดมา คือ เจ้า ปลากั้ง(Channa cf. gachua) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กที่สุดของไทย(ตัวไม่ถึงฟุต) จะพบพวกนี้ตามน้ำตก หรือ ลำธารที่ใสสะอาด...........ลักษณะภายนอกที่สังเกตุง่ายๆ ตรงจมูกมันจะมีลักษณะเหมือนท่อสั้นๆ ยื่นออกมาครับ และ ปลายครีบหลัง ครีบก้น และ ครีบหางจะมีสีออกแดงๆครับ............
พบตัวนี้ได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตกครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.21: 10 ก.ย. 51, 18:32
ปลากระสง(Channa lucius)......เจ้าตัวนี้ น้าๆคงรูปจักกันดีอยู่แล้ว........ลักษณะเด่นก็ดูที่ ลวดลายตามตัวที่เหมือนใคร
เป็นปลาหาง่ายพบได้ทั่วไปครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.22: 10 ก.ย. 51, 18:36
ปลาชะโด(Channa micropeltes) คิดว่าทุกคนคงไม่มีใครไม่รู้จักครับ.......แต่ลักษณะ(ทางวิชาการ)ที่แยกตัวนี้ออกจากปลาช่อนตัวอื่น คือ เกล็ดมันจะละเอียดมากที่สุดในบรรดาช่อนๆทั้งหลายในเมืองไทย(เกล็ดเส้นข้างลำตัว 80-100)
เด็กจัน
(23
)
คห.23: 10 ก.ย. 51, 18:39
และ ตัวสุดท้ายก็ คือ ปลาช่อน ธรรมด๊า....ธรรมดา ครับ
เด็กจัน
(23
)
คห.24: 10 ก.ย. 51, 23:01
มาดูกลุ่มปลาแรดกันบ้างครับ.................
ปลาแรด(Osphronemus spp.)ทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 5 ชนิด มีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดียยันอินโดนีเซีย แต่ในไทยพบ 2 ชนิด
1. ปลาแรด(Osphronemus gouramy)
2.ปลาแรดแม่น้ำโขง(Osphronemus exodon)
ซึ่งทั้ง 2 ชนิด จะต่างกันที่แรดแม่น้ำโขง(Osphronemus exodon) ริมฝีปากไม่สามารถปิดสนิทได้เราจึงสามารถมองเห็นฟันลักษณะเป็นเขี้ยวแหลมคมซึ่งไม่พบลักษณะดังกล่าวในปลาแรด(Osphronemus gouramy)
.......ในรูปเป็น ปลาแรด(Osphronemus gouramy) สถานภาพค่อนข้างชุกชุม พบได้ทั่วไปตั้งแต่ ศรีลังกา จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เด็กจัน
(23
)
คห.25: 10 ก.ย. 51, 23:11
ปลาแรดแม่น้ำโขง(Osphronemus exodon) เป็นปลาหายากครับ พบที่แม่น้ำโขงเท่านั้น.........
รูปนี้ ยืมมาจากกระทู้ของ น้าจิรชัย ข้อมูลเพิ่มเติมดูที่กระทู้ บอกเล่าเก้าสิบ ของน้าจิรชัยนะครับ
1
2
>
siamfishing.com © 2024