ผลกระทบที่เกรงว่าเราอาจจะมองข้าม. : SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 41 อ่าน 8,214 โหวต 13
ผลกระทบที่เกรงว่าเราอาจจะมองข้าม.
ตั้ง: 29 ก.ค. 52, 21:37
ผลกระทบที่เกรงว่าเราอาจจะมองข้าม.
ขออนุญาตน้าๆทุกท่านในเว็บในการตั้งกระทู้ ในลักษณะอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ถ้าหากทางแอ็ดมิน และ น้าเว็บ เห็นว่าไม่สมควร รบกวนพิจารณาตามเห็นสมควรได้เลยครับผม.

สมัยผมเริ่มหัดตีเหยื่อปลอมแรก  เหยื่อที่ชอบตอนนั้นคือ สปินเนอร์ มีอยู่ครั้งนึงที่ยอมรับว่า กลัวคือ สิ่งที่มากิน กลายเป็นเต่าญี่ปุ่น ซึ่งความเข้าใจในขณะนั้น คิดว่าเต่าชนิดนี้ เป็นเต่าไทยเสียด้วยซ้ำ เพิ่งมาทราบหลังจากนั้นอีกหลายปีว่าจริงๆแล้วไม่ใช่ หลังจากที่เขางับเต็มปาก จะปลดไม่กล้าครับ เพราะ สมัยก่อนมักจะได้ยินผู้ใหญ่ พูดว่า ถ้าหากถูกเต่างับหรือกัด เต่าจะปล่อยเวลาฝนตกฟ้าร้องเท่านั้น และหนำซ้ำ หลายๆคนเคยทราบว่า เต่าอายุยืน ผมจำได้ว่าใช้เวลาอยู่นาน สุดท้ายใช้ครีมดึงออกจนได้  หลังจากนั้นยอมรับว่าไม่เคยคิดซื้อเขามาเลี้ยง จนเมื่อ หลายปีก่อน พอที่จะสังเกตุเห็นได้ว่า เต่าชนิดนี้ เริ่มกระจายในแหล่งน้ำมากขึ้น ที่เห็นชัดๆมีอยู่ครั้ง ผมเห็นคนให้อาหารเต่า  ในแหล่งน้ำนั้มีเต่าไทยอยู่ด้วย สิ่งที่ผมเห็นคือ ความสามารถในการหาอาหาร หรือ แย่งอาหาร เขาทำได้ดีกว่าเต่าไทยมากๆ วันนี้เลยถือโอกาส นำเสนอ ในเรื่องของที่มาของมันนิดนึง ว่าเต่าญี่ปุ่นนี้ มีถิ่นกำเนิดจากที่ไหน จุดประสงค์ ส่วนตัว สัตว์จำพวกเอเลี่ยนต่างๆ ผมบอกเลยว่า ไม่ใช่ความผิดเขาเลยน่ะครับ หากแต่เกิดจากการเลี้ยงโดยปราศจากความรู้ของคนมากกว่า ลองอ่านรายละเอียดเพียงนิดนึงน่ะครับ.

เต่าญี่ปุ่น หรือ Trachemys scripta elegans หรือ  Red-eared slider มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปอเมริกา  แถบ มิสซิสซิปปี้  นิวเม็กซิโก หลุยส์เซียน่า เป็นต้น เต่าชนิดนี้ถูกนำเสนอออกสู่สาธารณะชนในมุมมองของสัตว์เลี้ยง หนึ่งในนั้น คือญี่ปุ่น ซึ่งผมคาดเดาเอาว่า อาจจะเป็นที่มาของชื่อ เต่าญี่ปุ่นในเมืองไทย หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ไม่เห็นมีอะไรที่น่าสนใจเลย หากจะกล่าวเช่นนั้น คงจะไม่ถูกเสียเต็มร้อย แต่หลายท่าน อาจจะไม่เคยทราบว่า สัตว์ต่างๆเหล่านี้ ส่งผลกระทบอย่างไร หากถูกนำเสนอไปในประเทศที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดของเขาเอง จริงๆแล้วมีการตีพิมพ์ สิ่งเหล่านี้ออกมานานแล้ว หากเพียงแต่ไม่มีใครใส่ใจและหยิบยกสิ่งเหล่านี้มาพูด หลายสิ่งหลายอย่างถูกบดบังด้วยความสวยงาม และเมื่อความสวยงามนี้เปลี่ยนไป สุดท้ายผู้เลี้ยงก็ให้ธรรมชาติเป็นคนตัดสินใจแทนตนเอง ผมพูดได้เต็มปากเลยว่า สัตว์เหล่านี้ไม่ผิด คนหากเขาทราบถึงผลกระทบก็ไม่ถือว่าผิด ผมจึงใคร่ขอให้น้าหลายๆท่านที่มีลูกหลาน หากต้องการ ซื้อเต่าชนิดนี้เพื่อเอาใจ รบกวนช่วยพิจารณาด้วยน่ะครับ ให้ความรู้เขาสักนิด หากบางท่านบอก ไม่มีลูกหรือ หลาน หากมีโอกาสบอกต่อก็ได้ครับ  ผมก็เป็นคนนึงที่ไม่อยากเห็นนักตกปลา แทนที่จะเป็นปลา กลายเป็นเต่า หรือสัตว์อะไรก็ไม่ทราบ สงสารให้ถูกต้องครับ เราจะไม่เกิดความรู้สึกนี้หากเราไม่นำเขามาเลี้ยง หรือ หากเลี้ยงแล้วก็อย่านำไปปล่อย ไหนๆเราคิดว่าเขาคือสัตว์เลี้ยง เขาก็ควรจะเป็นสัตว์เลี้ยง หรือ ท่านจะมาสงสรหลังจากที่ตกเขาได้ หรือ ติดตาข่ายตาย.

เริ่มจากเราก่อนครับ ส่วนใครจะบอกว่า ผมมาบอกอะไรตอนนี้ แต่ส่วนตัวยังดีกว่าไม่ได้บอกอะไรเลย  หยุดวันนี้  อย่างน้อย ก็ไม่เพิ่มขึ้นจากน้ำมือเรา สัตว์เขาก็รักชีวิตเหมือนกันครับ แต่หากไม่ทำให้ลดลง ผลในอนาคต ก็อยู่ในมือคุณ มือผม เท่านั้นล่ะครับ ความเห็นต่อไปคือ เกี่ยวกับ crayfish .
คห.1: 29 ก.ค. 52, 22:00
ปัจจุบันเท่าที่ทราบมา ก็ไม่กล้ายืน
ปัจจุบันเท่าที่ทราบมา ก็ไม่กล้ายืนยันเต็มร้อยน่ะครับว่า ที่ได้ยินมาเต็มร้อยขนาดไหน แต่ที่พอจะทราบมาจากการที่เคยทดลองเลี้ยงกุ้งชนิดนี้มา2เดือน ผมเลี้ยงเขาในน้ำระดับก้านขา  ไม่ปริ่มตัวพบว่า เขาสามารถทนได้ และที่น่ากังวลอยู่  คือ  การหากินของกุ้งชนิดนี้  ในช่วงที่ปลาวางไข่ หรือ ปลานอน กุ้งชนิดนี้สามารถจับกินได้ ด้วยก้ามที่แข็งแรง ปัญหาของcrayfish นี้ ถูกบรรยายมานานพอควรแล้ว ในแถบประเทศญี่ปุ่น หรือ ฟิลิปินส์ ส่วนใหญ่ปัญหาที่ประเทศเหล่านี้ประสบเกิดจาก พืชผลทางการเกษตรบางชนิดถูกทำลาย มีหลายคนหยิบยกว่า แล้วทำไมอเมริกาถึงไม่มีปัญหาขนาดปล่อยในนาข้าว ถึงเวลาเก็บเกี่ยว แถมยังได้ผลผลิตทางโปรตีน อีกต่างหาก ถ้าถามผม  ผมยอมรับว่าไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี คงได้แต่บอกว่า เอาเหอะ เพราะอะไร เพราะปัญหาของสัตว์ต่างถิ่น และต่อมา เมื่อหลุดลงในแหล่งน้ำ เป็นเพราะ เราไม่ศึกษาหาข้อมูล  แล้วจะมากำจัดทีหลัง คือ มุมมองของคน หากถูกทำให้เข้าใจตั้งแต่แรกว่า เป็นสัตว์เลี้ยง กับ เพื่อการบริโภค  จาก2ข้อนี้ ผมถามว่าหากเราจะกิน เราจะกินได้สนิทใจ แบบไหน ใน2แบบนี้.  ฝากด้วยน่ะครับ .
คห.2: 30 ก.ค. 52, 20:50
1)" Invasive crayfish in Europe: the impact of Procambarus clarkii on the littoral community of a Mediterranean lake "
โดย FRANCESCA GHERARDI AND PATRIZIA ACQUISTAPACE
Dipartimento di Biologia Animale e Genetica, Università di Firenze, Firenze, Italy
Correspondence to Francesca Gherardi, Dipartimento di Biologia
Animale e Genetica, Università di Firenze, Via Romana 17,
50125 Firenze, Italy. E-mail: francesca.gherardi@unifi.it

2) " Impact of the crayfish Procambarus clarkii on Schistosoma haematobium transmission in Kenya "
โดย GM Mkoji, BV Hofkin, AM Kuris, A Stewart-Oaten, BN Mungai, JH Kihara, F Mungai, J Yundu, J Mbui, Rashid JR, CH Kariuki, JH Ouma, DK Koech, and ES Loker

ไม่กล้าบอกหรอกครับว่าสิ่งที่ทำถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ แต่เรียนว่าอย่า ส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลายคงพอ คำตอบ ผมไม่ทราบ หรอกครับ ไว้สัก5-10 ปีต่อจากนี้ดีกว่า  อนาคตตอบเราได้ทั้งหมด เชื่อผมสิ.

 
คห.3: 2 ส.ค. 52, 20:25
บ่อยครั้งที่เรามักจะเจอคำถามที่ว่า ขายแล้วได้เงิน ไม่ขายจะเอาอะไรกินใครจะให้? หรือจะให้ไปทำอะไร? ดูแลแล้วได้เงินหรือเปล่า? คำถามเหล่านี้ไม่ได้ตั้งเพื่อดูแคลนคนไทยทั้งหมดน่ะครับ หากประชาชนสัก10 ล้านคิดแบบนี้  จึงอยากให้ทุกท่านพิจารณานิดนึงครับว่า จริงๆแล้ว เป็นเหตุผล หรือ ข้ออ้าง.  หรือว่าผมเซ้นส์ซิทีฟเกินไป.

ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024