จูนทุ่นชิงหลิว กับเรื่องง่ายๆในการตั้งทุ่น: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 60 อ่าน 60,224 โหวต 9
จูนทุ่นชิงหลิว กับเรื่องง่ายๆในการตั้งทุ่น
ตั้ง: 22 ม.ค. 50, 11:41
จูนทุ่นชิงหลิว กับเรื่องง่ายๆในการตั้งทุ่น
ช่วงนี้เห็นว่ากระแสสะปิ๋วกำลังมาแรงครับ  พอดีช่วงนี้ผมไม่ค่อยได้ไปตกปลาด้วยเหตุผลเรื่องหน้าที่การงาน เลยขอใช้ช่วงเวลาอู้งานมานั่งเขียนบทความเล็กๆน้อย สำหรับเพื่อนนักตกปลา

มือใหม่และผู้ที่สนใจการตกสะปิ๋วได้ลองนำไปใช้หรือไปประยุคใช้กันดู ที่จริงแล้วเคยเขียนบทความไว้ ค่อนข้างยาว ชื่อ "ขอดเกล็ด"ลองไปหาอ่านกันได้ในเว็บเพื่อนบ้าน ซึ่งจะพูดถึงการ
ตกสะปิ๋วแบบโดยรวม และรวมถึง เทคนิคการตกปลาเกล็ดชนิดต่างๆ 

แต่วันนี้อยากจะพูดถึงหัวใจสำคัญอีกอย่างนึงในการตกสะปิ๋ว นั่นคือการตั้งทุ่น ซึ่งถ้าพูดกันจริงๆแล้วสิ่งสำคัญในการตกสะปิ๋วนั้นผมจะให้ความสำคัญหลักๆดังนี้

1. จุดที่จะตก หรือเราเรียกว่าหมายนั่นเอง แน่นอนโดยตกปกแล้วปลาก้อมักจะอาศัยอยู่ทั่วบ่อ แต่ ปลาเกล็ดนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีเส้นทางในการออกหาอาหารตามหน้าดิน  ซึ่งมักจะอยู่
ตามขอบชายตลิ่ง ตอไม้ใต้น้ำ หรือร่มเงาไม้ที่ยื่น ลงไปในน้ำ และจากประสพการณ์แล้ว ปลาเกล็ดมักชอบที่จะอาศัยอยู่เหนือลมมากกว่า ใต้ลม และข้อดีอีกอย่างในการตกเหนือลมคือ อ่าน
ทุ่นได้ง่ายกว่า

2. การตั้งทุ่น และ จูนทุ่น การตั้งทุ่นส่วนใหญ่เพื่อนนักตกปลาทราบกันอยู่แล้ว ซึ่งแล้วแต่ความถนัดและประสพการณ์ของแต่ละคน แต่การจูนทุ่นนั้นคืออะไร เดี๋วเราค่อยมาว่ากัน

3. ช่วงเวลาและเหยื่อ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนะครับปลาเกล็ดเกือบจะทุกชนิด มันจะมีพฤติกรรมในการหาอาหารของมัน นอกจากเส้นทางในการ ออกหาอาหารแล้ว ช่วงเวลาก้อมีผลในการ

ตกปลาเกล็ดด้วยเช่นกันโดยส่วนตัวแล้วผมจะแบ่งช่วงเวลาที่ตกสะปิ๋วได้เหมาะสมสุด 2 ช่วง ช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้หมายถึง ช่วงที่ปลาจะเข้ามาตอดเหยื่อ หรือกินเหยื่อมากกว่าช่วงเวลาอื่น 
คือช่วง 10 โมงเช้า จนถึง บ่ายโมง และช่วง 4 โมงจนถึงตะวันตกดิน  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าช่วงเวลาที่เหลือปลาจะไม่กินเบ็ดนะครับ ที่กล่าวมานั่นคืออัตราความถี่ และช่วงเวลาที่หวังผล
แอดมินแก้ไข เพื่อทำการย้ายกลุ่มย่อย 29 ม.ค. 50, 10:42
คห.1: 22 ม.ค. 50, 11:45
เอาล่ะเข้ามาพูดถึงการตั้งทุ่น และ
เอาล่ะเข้ามาพูดถึงการตั้งทุ่น และ จูนทุ่นกันดีกว่า การตั้งทุ่นอย่างที่เพื่อนนักตกปลาทราบกันแล้วนะครับ แบ่งได้หลักๆ 2 แบบ คือ บาลานซ์ และไม้ตาย ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของแต่ละคนซึ่งส่วนมากแล้วเราจะใช้การตั้งทุ่นแบบไม้ตายมากกว่า  เหตุผลคือง่ายไม่ยุ่งยาก หวังผลได้กับปลาเกล็ดทุกชนิด
ส่วนการตั้งทุ่นแบบบาลานซ์นั้นข้อดี คือ สามารถสื่อสารได้ไว เวลาปลาเข้ามาตอดเหยื่อ แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีประสพการณ์แล้ว จะไม่รู้จังหวัดในการวัดคันเบ็ด เปอร์เซ็นการที่จะวัดเบ็ดเข้า
ปากปลานั้นมีน้อยมาก เพราะเราไม่สามารถแยกออกได้ว่า ขณะที่ทุ่นขยับนั้นปลา กำลังทำอะไร  ตอมเหยื่อ, ตอดเหยื่อ หรือ อมเหยื่อเข้าปากไปแล้ว ยกเว้นแต่  ปลาจะอมเหยื่อเข้าปาก
เต็มๆ แล้วถอนทุ่นหรือดึงทุ่นจมไปเลย หรือบางทีเหยื่อที่ห้อมเบ็ดไว้หมดทำให้ทุ่นถอน นักตกปลากัดวัดเบ็ดเปล่าๆเอาซะอย่างงั้น ข้อเสียอีกอย่างของการตั้งทุ่น บานลานซ์คือ ถ้าบรเวณที่
ตกมีลม พัดทุ่นจะพาเหยื่อคลื่นไปตามแรงลม ฉนั้น การตั้งทุ่นแบบบาลานซ์ จะเหมาะสมกับการตกปลาที่ตอดเหยื่อเบาๆ อย่างพวกปลาจีน และในพื้นที่ ที่ไม่ค่อยมีลมมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่า
จะไม่เหมาะกับการตกปลาเกล็ดอื่นๆเอาเสียเลย อย่างที่กล่าวไว้ถ้าเราสามารถอ่านทุ่นได้เข้าใจพฤติกรรมปลา การตั้งทุ่นแบบบาลานซ์นั้นก้อจะถือว่าเป็นอาวุธชั้นยอดอย่างนึงทีเดียว   
การตั้งทุ่นแบบไม้ตาย อันนี้สำหรับเซียนสะปิ๋วและมือใหม่ เข้าใจหลักการและการประกอบอยู่แล้ว เพียงแค่ผูกชุดสายหน้า (เบ็ด และ ลูกหมุนเล็กๆ) ตะกั่ว และ ทุ่น เท่านี้ก้อสามารถตกได้ หวังผลได้กับปลาเกล็ดทุกชิด (ไม่รวมปลาล่าเหยื่อ) ดีไม่ดีรวมไปถึงปลาหนัง และปลาเกราะ(ซัคเกอร์)ที่ไม่ได้รับเชิญด้วย
การตั้งทุ่นแบบไม้ตายนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคน บางคนตั้งสูง บางคนตั้งต่ำ ผมเองก้อเช่นกัน ในการตกปลาแต่ละครั้งผมก้อจะตั้งทุ่น สูงต่ำไม่เท่าไร เพราะอะไร?  ขึ้นอยู่กับลม และปลาที่ตก  ถ้าลมแรง การตั้งทุ่นสูง ลมก้อจะพัดทุ่นเอน อ่านทุ่นลำบาก ส่วนปลาที่ตกนี้ไม่ได้หมายถึงว่าวันนี้ผมจะตั้งใจตกปลาอะไร แต่หมายถึงเวลา ถ้าเกิดวันนั้น หรือ บ่อนั้นมีปลาเล็ก
เยอะ จำพวกปลานิลการตั้งทุ่นต่ำ จะทำให้วัดไม่ค่อยได้ปลา เพราะปลาเล็กจะตอมตอดเหยื่อจนทุ่น  ขยับอยู่อย่างนั้น วัดเท่าไรก้อไม่เข้าปากซักที แต่โดยปกติแล้ว ถ้าปราศจากปัจจัยทั้ง 2 ข้อ ข้างต้นผมจะตั้งทุ่น ให้โผล่มา 3 ข้อ  1ข้อสำหรับปลาตอดและเหยื่อคลื่นที่ไปจากจุดเดิม ข้อที่ 2 วัดได้เลย  แต่ถ้ามีกั๊ก ขยับเล็กน้อยระหว่างข้อ1-2 ถ้าขยับขึ้นถึงข้อ3 ก้อวัดได้เลยเช่นกัน

ซึ่งเทคนิคการตั้งทุ่น นี้ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละท่านนะครับ
คห.2: 22 ม.ค. 50, 11:48
ส่วนการจูนทุ่นนั้นคืออะไร ก่อนอื่น
ส่วนการจูนทุ่นนั้นคืออะไร ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนว่าทุ่นชิงหลิวมีหลายแบบหลายขนาด หรือ เรียกกันว่าเบอร์ ซึ่งเบอร์แต่ละยี่ห้อก้อต่างขนาดกันไปด้วย บางท่านอาจจะคิดแค่ว่า เอา
ตะกั่วเม็ดหรือตะกั่วฟิวส์ใส่ไปแค่ถ่วงทุ่นให้จม โผล่หางมาแค่ที่เราต้องการ หรือถ้าเกิดว่าใส่ตะกั่วเข้าไปแล้วทุ่นยังนอนหรือยังเอนอยู่ ก้อใส่เพิ่มเข้าไปอีก อย่างนั้นก้อถูกต้องแล้วครับ แต่
เราไม่รู้เลยว่าตะกั่วที่เราถ่วงไปนั้นหนักเกินไปหรือเปล่า ฉนั้น การจูนทุ่น หรือการปรับบาลานซ์ระหว่างทุ่นกับตะกั่วก้อมีความสำคัญอย่างนึง
เพราะ
การจูนทุ่นทำให้เรารู้น้ำหนักของตะกั่วที่เหมาะสมกับทุ่น คือทุ่นจะสื่อสารได้ดีเพราะตะกั่วไม่ถ่วงทุ่นหนักเกินไป สามารถสื่อสารให้เรารู้ได้ว่าปลาตอดเหยื่ออยู่ หรือปลาอมเหยื่อเข้าไปแล้ว
ส่วนการจูนทุ่นนั้นก้อง่ายมากๆ เพียงแค่เราเอาทุ่นที่มีอยู่ ลองมาร้อยสายเอ็นยาวซัก2คืบ ผูกเบ็ดและลูกหมุน แล้วลองเอาเบ็ดเกี่ยวตะกั่วที่เราใช้ดู (ในที่นี้ส่วนใหญ่ผมจะใช้ตะกั่วเม็ดเล็กๆ

มีขายเป็นกล่องมีรูตรงกลางไม่ใช่ตะกั่วหนีบนะครับไม่ดี เพราะทำให้สายขาดได้ง่าย) แล้วลองปล่อยทุ่นลงในโอ่งน้ำ แล้วคอยดูว่าทุ่นที่ปล่อยลงไปเป็นอย่างไร ถ้าหนักเกินไปตะกั่วจะดึงทุ่น
จมลงไปอยู่ใต้น้ำทันที แต่ถ้าได้น้ำหนักตะกั่วที่เหมาะสม เมื่อปล่อยลงไป ทุ่นจะจมลงน้ำเมื่อตะกั่วลงไปถึงก้นโอ่ง ทุ่นจะมีการให้ตัวนิดหน่อย ให้ตัวในที่นี้คือ เมื่อตะกั่วลงถึงพื้น ทุ่นจะมี
แรงดึงตะกั่วลอยขึ้นมาจากพื้น เล็กน้อยแล้วค่อยจมลงไป แล้วเราก้อจำว่า ทุ่นดอกนี้เบอร์นี้ ใช้ตะกั่วกี่เม็ด หรือควรใช้ตะกั่วขนาดใหน แล้วลอง ทำตามขั้นตอนนี้กับทุ่นเบอร์อื่นๆที่ท่านมีอยู่ดู


เพียงเท่านี้เพื่อนนักตกปลาก้อจะมีทุ่นที่สามารถสื่อสารได้แม่นยำในการตกสะปิ๋วแล้วล่ะครับ

เอาไว้คราวหน้าจะเอาเรื่อง "วัดเท่าไรก้อไม่ติด" มาให้เพื่อนๆนักตกปลาได้อ่านกันนะครับ

คห.3: 22 ม.ค. 50, 13:27
ต้องขอโทษคุณ noiet พอดีไม่มีรูปชุดปลาย
ต้องขอโทษคุณ noiet พอดีไม่มีรูปชุดปลายสายเลย แต่ ดูตัวอย่างจาก รูป ค.ห.1 ได้ แต่จะอธิบาย ให้คร่าวๆนะครับ

การประกอบชุดปลายสายในการตกสะปิ๋วนั้น ขึ้นอยู่กับนักตกปลาว่าทุ่นชิงหลิวที่นำมาใช้นั้นใช้แบบเสียบใส้ไก่ หรือแบบที่เปลี่ยนเป็นลูกหมุนแล้ว แต่อยากแนะนำให้เปลี่ยนเป็นลูกหมุนจะดีกว่าเพราะโยนเหยื่อได้ง่ายว่า และเวลาอัดปลาไม่ต้องมาพะวงว่าทุ่นจะไปติดปลายไกด์ในกรณีที่เราตั้งทุ่นน้ำลึก

ส่วนเทคนิคในการประกอบสายหน้านั้น คือ
1. line Stopper ---> ลูกปัดขนาดเล็ก
2. ทุ่นชิงหลิวที่เปลี่ยนจากใส้ไก่เป็นลูกหมุนแล้ว --->
3. line stopper (ดึงให้สูงขึ้นมาจากลูกหมุนชุดปลายสาย 10-12นิ้วฟุต)
4. ชุดปลายสาย ประกอบด้วย ลูกหมุนขนาดเล็ก สายเอ็น4ปอนด์ เบ็ดเบอร์ 4-6 เมื่อผูกเบ็ดเข้ากับลูกหมุนแล้วยาวไม่เกิน 3 นิ้วฟุต

ทำไมผมถึงใช้ line stopper 2 ตัว เหตุผลคือ ตัวล่างจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้ทุ่นมาพันกับสายหน้าเวลาโยนเหยื่อ เพราะเวลาโยนเหยื่อโดยไม่มี line stopper ตัวล่างนี้ ชุดปลายสายมักจะไปพันกับหางทุ่นที่ห้อยลง จนดึงทุ่นจมน้ำไปต้องเก็บสายขึ้นมาปั้นเหยื่อแล้วโยนใหม่ครับ

line stopper ตัวล่างนี้ พอเราตัดสายเก็บอุปกรณ์แล้วไม่ต้องทิ้งนะครับ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยใช้เข็มเล่มเล็กๆ แทงเข้ารูเดิม แล้วใช้สายเอ็นสนเข็มเข้าไปใหม่ได้เลยครับ
คห.4: 23 ม.ค. 50, 16:20
สำหรับการเปลี่ยนทุ่นจากแบบเสียบใส
สำหรับการเปลี่ยนทุ่นจากแบบเสียบใส้ไก่เป็นลูกหมุนไม่ยากเลยครับ พอดีไม่ได้ถ่ายรูปไว้ลองทำตามรูปที่ผมวาดให้นะครับ

ตัดไหมที่มากับทุ่นออก ใช้ลูกหมุนเบอร์เล็กผูกกับสาย ไดนีม่า หรือแดรกค่อนก้อได้ แล้วเอาไปผูกติดกับโคนทุ่นพยายามดึงให้ลูกหมุนมาชิดกับโคนทุ่นนะครับ หยอดกาวตราช้างลงไปเล็กน้อย รอให้กาวแห้งก้อตัดท่อหดเบอร์เล็กสีใดก้อได้ ยาวประมาณ2เซ็นติเมตร สอดเข้าไปให้ปลายด้านล่างท่อหดทับอยู่บนห่วงด้านบนของลูกหมุน เสร็จแล้วก้อเอาไฟแช็กลน แค่นี้ก้อเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ 
คห.5: 27 ม.ค. 50, 13:21
สำหรับสภาพหมาย ก้ออย่างที่กล่าวไว้
สำหรับสภาพหมาย ก้ออย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นนะครับ ตามมุมบ่อเป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการตกสะปิ๋วมากที่สุด แต่บ่อส่วนใหญ่แล้วจะมีตั้ง 4 มุม แล้วเราจะเลือกตกตรงใหนดีล่ะ??  การพิจรณา ว่ามุมใหนดีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ

1. ควรตกอยู่เหนือลม เพราะจุดที่อยู่เหนือลมง่ายต่อการอ่านทุ่น ตั้งทุ่น แต่ถ้ามีคำถามในใจว่าใต้ลมไม่ดีกว่าหลอเพราะเศาอาหารเศษเหยื่อจะลอยไปอยู่ที่มุมนั้นทำให้ปลาน่าจะเยอะกว่า  อันนี้ ไม่จริงครับเพราะเศษขนมปังเศษเหยื่อที่ลอยไป ทับถม หรือลอยไปติดริมฝั่งที่อยู่ใต้ลมถ้าข้ามวันข้ามคืนไป เศษอาหารพวกนั้น จะบูดทำให้เกิด ไนไตร ไม่ถึงกับทำให้น้ำเสียนะครับ แต่พวกปลาเกล็ดจะเซ็นซิทีฟกับสภาพน้ำมากกว่าปลาหนัง  อีกอย่าง ใต้ลม มักจะเกิดคลื่นริมตลิ่ง ซึ่งปลาเกล็ดก้อไม่ชอบเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าใต้ลมจะไม่มีปลาเอาเสียเลยนั่งตกไม่ได้ แต่ในข้อนี้ผมให้คิดซะว่าใช้ในการเลือกจุดที่เหมาะสม
คห.6: 27 ม.ค. 50, 13:21

2. จุดที่มีล่มไม้ชายน้ำ มีกอหญ้า หรื

2. จุดที่มีล่มไม้ชายน้ำ มีกอหญ้า หรือตอไม้ จุดเหล่านี้ปลาเกล็ดมักชอบที่จะมาพักอาศัย หรือหาอาหารบริเวณนี้

3. บริเวณที่น้ำไม่ลึกจนเกินไป แต่ถ้าจะถามว่าไม่ควรลึกขนาดใหนอันนี้ก้อแล้วแต่ บ่อที่ตกนะครับ แต่ผมเคยตกปลายี่สก ขนาด 3-5 กิโลกรัม ได้ในบริเวณมุมบ่อที่น้ำสูงแค่ไม่เกิน 2 ฟุตบ่อยๆครับ
สำหรับ 3 ข้อนี้คงเพียงพอที่จะทำให้เพื่อนนักตกปลาและคุณนาราสามารถเลือกจุดที่จะนั่งตกสะปิ๋วได้ไม่ยากนะครับ
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024