** ชมแอบถ่ายขั้นตอนการผลิตคันเบ็ด ***( Part1): SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 183 อ่าน 48,598 โหวต 111
** ชมแอบถ่ายขั้นตอนการผลิตคันเบ็ด ***( Part1)
ตั้ง: 30 ก.ย. 52, 09:25
** ชมแอบถ่ายขั้นตอนการผลิตคันเบ็ด ***( Part1)

เมื่อผมได้รับเชิญจากตัวแทนของบริษัท OKUMA ให้ไปร่วมงาน Meeting ที่โรงงานในประเทศจีน
และมีโอกาสได้เข้าไปตกปลาที่เมืองจีน 
แต่จุดประสงค์หลักที่อยากไปชมคือ  ขั้นตอนการผลิตรอกและคัน  เพราะเคยไปชมหลายๆโรงงาน
ที่ผลิตคันเบ็ด และรอกมาบ้างแล้ว    แต่ทาง OKUMA เป็นโรงงานขนาดใหญ่  และเน้น QC ส่ง
ออกเป็นหลัก  และตอนงาน Tackle Show ตอนเดือนเมษายนที่เมืองไทย  ทางโรงงานนำเสนอไว้มาก  เลยอยากไปเห็นกับตาครับ

นั้นตามผมไปชมด้วยกันเลยดีกว่า ว่าเค้าผลิตคันเบ็ดกันอย่างไร
คห.1: 30 ก.ย. 52, 09:38

หลังจากที่กลุ่มคนไทย 3 คนได้เดินทา

หลังจากที่กลุ่มคนไทย 3 คนได้เดินทางไปเมืองจีน  และได้ตกปลาแล้ว  ช่วงบ่ายหลังจาก
รับประทานอาหารกลางวัน  และพักผ่อนตามอัธยาศัย ช่วงบ่ายก็มีคิวเข้าชมโรงงานผลิตคัน
เบ็ดของ OKUMA  โดยตัวโรงงาน จะแยกส่วนจากโรงงานผลิตรอก  แต่อยู่ในนิคมของ
OKUMA เอง

โดยโรงงานผลิตคันจะใช้ชื่อว่า UPRO  ซึ่งจะผลิตคันทั้งหมดให้กับ OKUMA และรับผลิต
บางส่วนให้กับตัวแทน OKUMA ใน Brand ต่างๆ
คห.2: 30 ก.ย. 52, 09:44

เริ่มต้นผลิตคัน Graphite  ก็ต้องเริ่มที่

เริ่มต้นผลิตคัน Graphite  ก็ต้องเริ่มที่วัตถุดิบคือผ้า Graphite โดยที่โรงงานนี้ ในส่วนของผ้า Graphite ไม่ได้ผลิตเอง ต้องนำเข้า 100% จาก ญี่ปุ่น เป็นม้วนใหญ่ๆที่อยู่ด้านหลัง  จะนำมาออกมาและตัดตามรูปแบบหรือแพทเทินล์ที่ต้องการ  โดยในส่วนนี้ต้องทำอยู่ในห้องปรับอากาศเท่านั้น  เพราะคุณสมบัติของผ้า Graphite ถ้าโดนอากาศร้อนมาก จะประสานติดกัน
โดยในส่วนนี้จะเป็นการตัดแบบคร่าวๆตามแบบ 
คห.3: 30 ก.ย. 52, 09:49
หลังจากที่ผ่านขั้นตอนการตัดผ้าจาก
หลังจากที่ผ่านขั้นตอนการตัดผ้าจากม้วน และนำมาตัดคร่าวๆให้ตามแบบแล้ว
ก็จะมาสู่ขั้นตอนการวัดและตัดให้ได้ขนาด  ตามสเปคที่ออกแบบไว้  ซึ่งคันจะหนากี่ชั้น
หรือโคนจะหนาเท่าไหร่ หรือบางเท่าไหร่  ต้องผ่านขั้นตอนนี้  แล้วมาเรียงขึ้นชั้นไม้ไว้
ด้านหลัง  เพื่อรอสู่ขั้นตอนต่อไป

ตามไปดูกันต่อนะครับ
คห.4: 30 ก.ย. 52, 09:56

ในขั้นตอนในส่วนของผ้า Graphite เสร็จเรี

ในขั้นตอนในส่วนของผ้า Graphite เสร็จเรียบร้อย  ต่อมาก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมโม
สำหรับทำคัน  โดยโมแบบที่จะใช้พันคัน จะถูกทำความสะอาดเรียบร้อย  จัดเรียงไว้รอการ
พันผ้า Graphite เข้าสู่แบบตามโมที่ต้องการ  ซึ่งโมจะมีขนาดต่างๆตามความต้องการ หรือ
ตามขนาดที่ออกแบบไว้  ส่วนอายุการใช้งานของโม แต่ละตัวนั้น จะไม่เท่ากันแต่โดยทั่วไปเท่าที่สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่  โมเส้นหนึ่งสามารถผลิตคันได้ประมาณ 5000 - 6000 ครั้ง
คห.5: 30 ก.ย. 52, 10:02

หลังจาก โมพร้อม  ผ้า Graphite ที่ตัดไว้เป

หลังจาก โมพร้อม  ผ้า Graphite ที่ตัดไว้เป็นแบบพร้อม ก็ถึงเวลาขึ้นรูป ถ้าเปรียบการตัดเสื้อผ้า  ในส่วนนี้ก็คือช่างเย็บนั่นเอง  โดยที่โรงงานที่นี่จะใช้เครื่องในการช่วยม้วนผ้าเข้าโมสำหรับขึ้นรูปแบลงค์  ซึ่งจะต่างจากหลายๆโรงงานที่เคยเข้าชม  จะใช้วิธีการม้วนมือ และใช้เตารีดเล็กๆม้วนขึ้นรูปแบลงค์  ซึ่งคำตอบนี้คือ  คันที่ใช้เครื่องม้วนขึ้นรูปจะได้แบลงค์ Graphite ที่ค่อนข้างแน่นกระชับ ช่องว่าของอากาศภายในแบลงค์จะน้อย  ดังนั้นการควบคุมคุณภาพของ แบลงค์จะทำได้ดีกว่า  การใช้เตารีดความร้อนแล้วม้วนด้วยมือ
คห.6: 30 ก.ย. 52, 10:15

หลังจากที่ม้วนขึ้นรูปได้ Graphite เป็นแ

หลังจากที่ม้วนขึ้นรูปได้ Graphite เป็นแท่งตามรูปทรงคันเบ็ดเรียบร้อยแล้ว จะถูกส่งมายัง
แผนกรัดและใช้เทปใสๆ  ที่สามารถละลายเมื่อถูกความร้อน  ที่วางอยู่เป็นม้วนบนชั้นด้านหลัง  ซึ่งขั้นตอนจะนำแบลงค์ที่ขึ้นรูปและรีดม้วนเรียบร้อย  เข้าสู่เครื่องพันเทปใสตลอดทั้ง
แบลงค์  ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างสำคัญ  ในโรงงานที่ประเทศจีนหลายๆโรงานที่มีขนาดเล็ก
หรือต้องการลดต้นทุน  ก็จะลดต้นทุนในขั้นตอนนี้  ก็จะได้แบลงค์เหมือนกันเมื่อผ่านตู้อบ
แต่คุณภาพแบลงค์จะแตกต่างกันมากพอสมควร  เพราะเทปใสๆที่อยู่บนชั้นด้านหลัง  ที่
ใช้รัดราคาค่อนข้างสูง และมีหลายเกรด ตัวนี้จะช่วยประสานและเพิ่มความยีดหยุ่นได้พอ
สมควร
คห.7: 30 ก.ย. 52, 10:20

เมื่อม้วนด้วยเทปอีลาสติคเรียบร้อ

เมื่อม้วนด้วยเทปอีลาสติคเรียบร้อยแล้ว  แบลงค์ก็จะถูกส่งเข้าตู้อบความร้อน ในรูปแบบ
แขวน ตรงแนวดิ่ง  เพราะลดการงอหรือบิดตัวขณะถูกความร้อน
โดยความร้อนจะช่วยในการเชื่อมประสาน Graphite ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ซึ่งแบลงค์ขนาดต่างกัน ความร้อน และเวลาที่ใช้ก็ต่างกันครับ
คห.8: 30 ก.ย. 52, 10:29

คันที่ผ่านจากตู้อบเรียบร้อย และถอ

คันที่ผ่านจากตู้อบเรียบร้อย และถอดโมเรียบร้อยแล้ว ก็จะถูกจัดเรียงพักรอเป็นขนาดแต่
ละขนาด  เพื่อเตรียมตัวสู่ขั้นตอนต่อไป
คห.9: 30 ก.ย. 52, 10:35

แล้วแบลงค์ที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ก็ผ

แล้วแบลงค์ที่ผ่านขั้นตอนต่างๆ ก็ผ่านมาถึงขั้นตอนนี้
ในจุดนี้แบลงค์ทุกเส้นจะถูกตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
โดยการตัดนั้นจะตัดผ่านน้ำครับ คือเป็นการป้องกันการสูญเสียคุณภาพ
เมื่อได้รับความร้อนสูง จึงต้องตัดผ่านน้ำและอีกส่วนหนึ่งคือลดความฟุ้ง
กระจายของฝุ่นด้วยครับ
คห.10: 30 ก.ย. 52, 10:43

เมื่อได้ตัดแบลงค์ตรงตามขนาดที่ต้

เมื่อได้ตัดแบลงค์ตรงตามขนาดที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการขัดผิวให้เรียบ
แบลงค์ที่ผ่านขั้นตอนต่างๆมาแล้ว  ผิวยังเป็นรอนๆตามแนวการพัน เหมือนกับแบลงค์
หลายๆตัวที่นำมาขายในเมืองไทย หรือแบลงค์ตีเหยื่อปลอมสไตล์ญี่ปุ่นที่ต้องการน้ำหนัก
เบา ใช้แบลงค์ Graphite เกรดสูงๆ ไม่ต้องพันผ้าหลายชั้น  การขัดผิวอาจทำให้แบลงค์
บางลงและหักง่ายเมื่อมีการใช้งาน  ดังนั้นการขัดผิวจึงไม่สามารถทำได้  ขั้นตอนนี้ก็จะถูก
ตัดออกไป  ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการตกแต่งให้สวยงามมากกว่า
คห.11: 30 ก.ย. 52, 10:45

เมื่อขัดเรียบร้อย ก็นำมาทำความสะอ

เมื่อขัดเรียบร้อย ก็นำมาทำความสะอาดเพื่อรอต่อขั้นตอนการ QC
ต่อไป
คห.12: 30 ก.ย. 52, 11:06

สำหรับโรงงาน UPRO ในเครือ OKUMA จุดเด่นอย

สำหรับโรงงาน UPRO ในเครือ OKUMA จุดเด่นอย่างหนึ่งคือการ QC ซึ่งโรงงาน
ถือว่าเป็นหนึ่งในจุดแข็งหลายๆจุด  ที่ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทจะคอยเน้นให้เราฟังตลอด
ในการ QC ด่านแรก จะเป็นการ QC100% คือแบลงค์ทุกเส้น  ถ้าเป็นแบลงค์ขนาดเล็ก
พวกตีเหยื่อปลอม  ปลายชิงหลิว หรืออุลต้าไลท์  ทุกอันจะต้องผ่านการการ QC บนโต๊ะ
ลักษณะนี้  ซึ่งจะมี Scale แต่ละขนาดให้ทดสอบ  ตามสเปคที่ระบุไว้  ถ้าหักจากขั้นตอน
นี้  ก็จะถูกคัดออก  และถ้าหักเกิน 30 % ของขั้นตอนนี้ จะต้องผลิตใหม่ทั้งหมด
ซึ่งจากการ QC ในส่วนนี้แล้ว  แบลงค์ทุกเส้นยังต้องถูก QC100% ในขั้นตอนต่อไปอีก
คห.13: 30 ก.ย. 52, 11:14
เราเข้าไปถ่ายในระยะไกล ซึ่งสาวน้อย
เราเข้าไปถ่ายในระยะไกล ซึ่งสาวน้อยที่เป็น QC นั้นทำค่อนข้างเร็วมากๆ
ซึ่งแต่ละโต๊ะ จะมี Scale คล้ายๆกันตีเป็นตาราง ระหว่างที่ทำการ QC ก็มีแบลงค์
ที่หักๆอยู่เหมือนกัน ซึ่งในส่วนที่หักก็จะถูกคัดออก และนำมารวมกันตีเป็น เปอร์เซ็นต์
เฉลี่ยในขั้นตอน QC ส่วนแรก

สำหรับ ** Part 1 คงจบด้วยภาพนี้  สำหรับใน Part 2 นั้นจะรีบจัดการภาพและลง
ให้ชมในช่วงบ่าย  ถ้าคะแนนโหวตผมถึง
 
" สำหรับผู้ที่ต้องการชมขั้นตอนการผลิตรอก ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆมากกว่าการผลิตคันมากๆ
ถ้ายังไม่เบื่อ  ผมจะนำมาให้ชมครับ "
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024