กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
ชมโรงงานผลิตคัน ตอนที่ 2: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 79 อ่าน 36,079 โหวต 27
ชมโรงงานผลิตคัน ตอนที่ 2
น้องอิง
(1415
)
1
ตั้ง: 25 มิ.ย. 51, 09:22
ความเดิมตอนที่ 1 หลังจากแบลงค์ถูกนำมาม้วนขึ้นรูปเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำมารัดด้วยพลาสสติกเพื่อป้องกันการคลาย และเป็นการเคลือบแบลงค์ไปในตัว
ติดตามชมตอนที่ 2 ของการเยื่ยมชมโรงงานได้แล้วครับ
ต้องขอขอบคุณบริษัท Viva ที่พาคณะของเราไปเยี่ยมชมทั้งโรงงานผลิต รอก คัน เหยื่อปลอม และร้านค้าต่างๆมากมาย
ทุกคห.
น้องอิง
(1415
)
คห.1: 25 มิ.ย. 51, 09:25
หลังจาก แบลงค์ถูกพันด้วยพลาสสติกเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำไปเข้าเตาอบ โดยจะอบที่อุณหภูมิแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดและประเภทของคัน ซึ่งในเตาจะถูกเรียงเข้าไป ในลักษณะการแขวน
น้องอิง
(1415
)
คห.2: 25 มิ.ย. 51, 09:27
หลังจากที่อบได้ที่แล้ว ก็จะผ่านขั้นตอนการดึงแบลงค์ออกจาก Mo ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องระวังมาก เพราะต้องดึงตอนที่มีความร้อนและต้องระวังไม่ให้แบลงค์ที่ยังร้อนอยู่เสียรูปด้วย ซึ่งแบลงค์ที่คดหรือไม่ตรง หรือแบลงค์ที่ยาวมากๆ ปลายจะมีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นที่ขั้นตอนนี้
น้องอิง
(1415
)
คห.3: 25 มิ.ย. 51, 09:32
สำหรับแบลงค์บางเส้นอาจมีปัญหา จะมีคนตรวจในจุดนี้ก่อน ( สำหรับโรงงานนี้เท่านั้น ) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการ QC ในส่วนที่ออกจาก Mo โดยสามารถแก้ไขให้เรียบร้อย บางเส้นปลายจะคดเล็กน้อย สามารถใช้ความร้อนที่แผ่นเหล็กด้านหน้า โดยค่อยๆทาบแบลงค์ในส่วนที่คดหรือไม่ตรงแล้วค่อยๆดัด
น้องอิง
(1415
)
คห.4: 25 มิ.ย. 51, 09:42
หลังจากผ่านขั้นตอนการอบเรียบร้อย จะสู่การ QC ตัวแบลงค์ พอดีเจ้าของโรงงานเรียกให้กลับเข้าไปชม เนื่องจากพนักงานกำลังพันแบลงค์รุ่นหนึ่งของ **** อยู่
ซึ่งแบลงค์ที่ใช้ก็จะเป็นแบลงค์ Graphite 30T แล้วนำแผ่นลายผ้าตัดเป็นสี่เหลี่ยม 2 ท่อนไม่เท่ากัน มาตกแต่งเท่านั้น
น้องอิง
(1415
)
คห.5: 25 มิ.ย. 51, 09:49
หลังจากผ่านขั้นตอนการอบแบลงค์เรียบร้อย ก็จะเข้าสู่การ QC โดยจะมีพนักงานในส่วน QC คอยตรวจแบลงค์ที่เข้ามาทุกเส้น ทุกขนาด ในส่วนที่เป็นคันชิงหลิวก็จะตรวจอย่างละเอียดทุกท่อน ในส่วนนี้เจ้าของโรงงานแจ้งว่า ในส่วนนี้ของโรงงานคือการให้พนักงานหาตำหนิให้พบแล้วคัดออก ซึ่งแปลเป็นไทยว่าให้จับผิดให้ได้ แม้แต่เศษผงต่างๆที่ติดไปในขั้นตอนการเคลือบก็ต้องคัดออก และเท่าที่ดูโรงงานมาหลายๆที่ โรงงานนี้แบ่งเป็นส่วนๆค่อนข้างสะอาดมากๆ
น้องอิง
(1415
)
คห.6: 25 มิ.ย. 51, 09:56
หลังจากผ่าน QC แบลงค์เรียบร้อยแล้ว ในส่วนแบลงค์ที่ต้องทำสี ก็จะไปสู่ขั้นตอนการเคลือบสี ซึ่งการเคลือบสีทำค่อนข้างง่ายๆคือ จะมีกระบอกใส่สีไว้ และที่โคนการะบอกจะใช้ยางเจาะรูเล็กๆขนาดเล็กกว่าแบลงค์เล็กน้อย โดยแทงผ่านยางเข้าไปในกระบอกใส่สี แล้วชักออกมา ยางจะทำหน้าที่รูดและปาดสีให้สม่ำเสมอสวยงาม
น้องอิง
(1415
)
คห.7: 25 มิ.ย. 51, 10:00
หลังจากเคลือบสีเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำไปเรียบในตะแกรงเหล็กและผ่านเข้าไปอบในห้องอบสีด้านหลัง
น้องอิง
(1415
)
คห.8: 25 มิ.ย. 51, 10:01
ภายในห้องอบสี
น้องอิง
(1415
)
คห.9: 25 มิ.ย. 51, 10:09
คันที่เคลือบสีและอบเรียบร้อย คันที่เคลือบสีจะถูกไป QC อีกรอบ
น้องอิง
(1415
)
คห.10: 25 มิ.ย. 51, 10:14
หลังจากแบลงค์เปล่าถูกผลิต และ QC เรียบร้อยแล้ว ก็จะผ่านสู่ขั้นตอนการพันไกด์ ประกอบด้าม และพันลาย
โดยจะมีพนักงานเกือบ 100 คนนั่งทำงานในส่วนนี้
น้องอิง
(1415
)
คห.11: 25 มิ.ย. 51, 10:19
พนักงานที่นี่พันค่อนข้างชำนาญมากๆ เดินดูไปเรื่อยเจ้าของโรงงานก็ชี้ให้ดูคันที่กำลังพันลายอยู่ ซึ่งค่อนข้างคุ้นตา
น้องอิง
(1415
)
คห.12: 25 มิ.ย. 51, 10:23
เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆในส่วนที่งานที่พันเสร็จแล้ว คัน Tournament G7 ก็ทำอยู่ที่โรงงานนี้ คันตัวนี้สั่งไปค่อนข้างนานพอสมควร เพราะต้องรอ order แบลงค์จากทาง Japan ทางเมืองไทยถึงพ่วงสายการผลิตเข้าไปได้ เพราะถ้าผลิตเฉพาะส่วนของ Tournament ราคาที่จำหน่ายคงทำไม่ได้ เพราะราคาแบลงค์ค่อนข้างสูงมากๆ
น้องอิง
(1415
)
คห.13: 25 มิ.ย. 51, 10:28
นอกจากที่นี่จะผลิต Lamiglas , Tournament G7 , MUZASHI ,C.E.O บางรุ่นและคัน Japan อีกยี่ห้อหนึ่งซึ่งผมจำชื่อไม่ได้แล้ว โรงงานนี้ยังผลิตคัน Marine Park ของ Viva ด้วย
ซึ่งเท่าที่สอบถามกับบริษัท Viva ที่พาเราไปชม ยังมีอีกหลายๆรุ่นของ Acadia และ Browning ผลิตที่นี่เหมือนกัน
ในภาพเป็นคัน Marine Park กำลังสู่สายงานพันลาย
น้องอิง
(1415
)
คห.14: 25 มิ.ย. 51, 10:38
ในภาพเป็นตัวอย่างคันที่เคยพันไกด์หรือพันลาย จะถูกเก็บไว้ในส่วนนี้ 1 คัน เพื่อเป็น reference และอีก 1 คันเก็บไว้ในห้องโชว์
น้องอิง
(1415
)
คห.15: 25 มิ.ย. 51, 10:44
เมื่อเข้าไปรื้อดูใกล้ๆ ก็พบคันของตระกูล Tournament อยู่ที่นี่ 3 คันคือ G - Series , G7 และ Ultralight U2
ซึ่งในส่วน G-series ผมเองไม่ได้ผลิตที่โรงงานนี้ เลยต้องมีการสอบถามว่าคันตัวนี้มาได้อย่างไร คันทุกตัวจะมีรหัสผู้สั่งผลิต เมื่อเช็คแล้วว่าใครเป็นผู้สั่งผลิต และตรวจสอบว่าคันตัวนี้เป็นลิขลิทธิ์ของเรา เจ้าของโรงงานเลยหยุดไม่ผลิตให้และเลิกทำธุรกิจกับลูกค้ารายนั้นไป
น้องอิง
(1415
)
คห.16: 25 มิ.ย. 51, 10:50
เมื่อคันถูกพันไกด์และพันลายเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปยังแผนกเคลือบน้ำยา โดยแผนกนี้จะเคลือบไกด์และเคลือบก๊อก
โดยคันจะถูกนำไปใส่ในแท่นที่มีหัวจับคัน คล้ายกับหัวจับเคลือบบ้านเราใช้ แต่จำนวนในแต่ละตัวค่อนข้างมาก ในหนึ่งตัวสามารถเคลือบได้ครั้งละ 144 คัน
น้องอิง
(1415
)
คห.17: 25 มิ.ย. 51, 10:51
ในส่วนที่เป็นก๊อกที่ต้องการเคลือบ ก็จะถูกนำมาร้อยเข้าในแบลงค์ เหมือนเสียบลูกชิ้น แล้วนำเข้าไปเคลือบในแท่นเคลือบ
น้องอิง
(1415
)
คห.18: 25 มิ.ย. 51, 10:52
ก๊อกที่เคลือบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
น้องอิง
(1415
)
คห.19: 25 มิ.ย. 51, 10:59
ในตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนที่ 3 หลังจากขั้นตอนนี้คันก็จะเสร็จเรียบร้อย รอติดสติกเกอร์ และนำคันไป Test ซึ่งในตอนที่ 3 จะนำทุกท่านไปดูการ Test คันกัน และในช่วงที่เราไปนั้นโชคดีมากที่ทางเจ้าหน้าที่ **** ซึ่งเป็นคน Japan มาตรวจเช็คคันพอดี ซึ่งปกติจะห้ามถ่ายรูปโดยเด็ดขาด แต่ในช่วงที่เราไปถึงเจ้าหน้าที่พักเที่ยง เลยมีโอกาสเข้าไปชม และ Test คัน *** โดยคนไทย
ระหว่างทางเดินไปพบคันตัวนี้ตั้งเรียงอยู่ในกล่อง เรียงอยู่จำนวนมากพอสมควร เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า คัน **** ตัวนี้จะไปไหนต่อ ในตอนที่ 3
น้องอิง
(1415
)
คห.20: 25 มิ.ย. 51, 17:48
ต้องขอโทษที่ต้องถอดข้อความ และภาพบางภาพออก
อย่าถามผมเรื่องเหตุผลครับ เพราะไม่มีเหตุผลจริงๆ
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024