ขอเชิญร่วมกันออกแบบ ปะการังเทียม ครับ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 89 อ่าน 20,229 โหวต 2
ขอเชิญร่วมกันออกแบบ ปะการังเทียม ครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้ง: 3 ก.พ. 46, 21:53
จากกระทู้ http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=4270 เราได้ข้อมูลเบื้องต้นมาจำนวนหนึ่ง และคิดว่าน่าจะเริ่มต้นกันที่ตัวปะการังเทียมกันก่อนว่าจะมีน่าตาอย่างไร เมื่อได้แบบแล้ว จะได้นำไปสู่ขั้นตอนการปฎิบัติในลำดับต่อไปได้

แม้ปะการังเทียมจะมีหน่วยงานของกรมประมงเป็นผู้จัดทำเป็นประจำอยู่แล้ว แต่นั่นก็เป็นการกำหนดมาจากหน่วยราชการ หากทางเอกชน ชุมชน กลุ่มคน สามารถร่วมมือกันทำเองได้ ก็น่าจะสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะถิ่น หรือกลุ่มผู้สนใจได้ดี ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นหัวใจสำคัญต่อการส่งเสริมให้ชุมชน หรือกลุ่มคน ได้หันมาพึ่งพาตนเอง ทำให้เห็นว่าหากรวมตัวกัน เราก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

กรอบความคิดของการทำปะการังเทียมในความเห็นผมคือ "ปะการังเทียมที่ชุมชน หรือกลุ่มคน สามารถรวมตัวกันทำได้เอง"

คราวนี้ลองมาไล่ดูรูปแบบปะการังเทียมเท่าที่ทราบ

- ปะการังเทียมลูกเต๋าของกรมประมง: เป็นรูปแบบปะการังเทียมที่มีขนาดใหญ่และหนักมาก จำเป็นต้องใช้เรือที่มีเครนยก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำโดยชุมชน

- ยางรถยนต์มัด: เป็นรูปแบบที่ชุมชนมักจะทำกัน เพราะมีต้นทุนไม่สูง และสามารถขนย้าย ทิ้งลงทะเลได้ด้วยกำลังของชุมชนเอง ทิ้งทับซ้อนกันได้ โดยไม่ต้องระมัดระวังเรื่องการแตกหัก แต่มีข้อด้อยเรื่องความคงทน รวมทั้งพื้นผิวของยางเอง ก็ไม่เหมาะต่อการยึดเกาะของปะการัง

- reef ball: ปะการังเทียมรูปแบบนี้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ มีพื้นผิวให้ปะการังได้ยึดเกาะค่อนข้างมาก แต่ข้อจำกัดก็คล้ายกับปะการังเทียมของกรมประมง คือหนัก และต้องใช้เรือที่มีเครนในการทิ้ง

- ซากเรือ: หากเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ จะมีโครงสร้างที่เอื้อให้สิ่งมีชีวิตนาๆ ประเภท เข้ามาอาศัยอยู่ น่าจะเป็นปะการังเทียมที่ดีที่สุดในเรื่องของระบบนิเวศน์ทางน้ำ ข้อจำกัดอยู่ที่การหาซากเรือ และการเคลื่อนย้าย (นักดำน้ำที่ภูเก็ต ลงขันกันซื้อซากเรือ แล้วจ้างเรือลากไปทิ้ง - ที่มา:คุณวันชัย แจ้งอัมพร)


เท่าที่ประมวลจากความเห็นของหลายท่าน ข้อจำกัดสำคัญของสร้างปะการังเทียม อยู่ทีการขนย้ายและทิ้งทางน้ำ ค่าใช้จ่ายของเรือเครนอยู่ในระดับที่ไม่อาจจะทำได้โดยชุมชนเลย ด้วยเหตุนี้ผมจึงได้ยึดเอาข้อจำกัดนี้เป็นเงื่อนไข
สำคัญอันดับแรกในการออกแบบปะการังเทียม คือ

1. เพื่อให้ชุมชุน หรือกลุ่มคน ทำกันเองได้ ปะการังเทียม จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีขนาดที่สามารถขนย้ายลงเรือด้วยคน ขนย้ายได้ด้วยเรือประมงทั่วๆไป และสามารถทิ้งลงน้ำโดยไม่ได้อาศัยเครน
การขนย้ายสิ่งของลงเรื่อ และทิ้งลงน้ำได้สะดวก ก็ควรจะมีขนาดและน้ำหนักที่คน 2 คน สามารถยกได้
2. เนื่องจากปะการังมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงไม่สามารถตั้งอยู่โดดเดียวเหมือนของกรมประมง และ reef ball เพื่อลดจุดด้อยนี้ ปะการังเทียมน่าจะมีการวางทับซ้อน และยึดเกาะกันได้ คล้ายกับกองหินได้น้ำ
3. ควรมีรูปร่างที่ไม่ต้านกระแสน้ำ และทำลายแรงยกตัวได้ดี
4. ใช้เงินลงทุนเบ็ดเสร็จทั้งโครงการอยู่ในระดับที่ชุมชน หรือกลุ่มคนในวงกว้าง รวบรวมกันได้

ผมคิดว่ารูปแบบที่ออกมา ไม่น่าจะเป็นปะการังเทียมที่ดีที่สุด ไม่น่าจะเป็นปะการังเทียมที่มีสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด และไม่ใช้ปะการังเทียมความความคงทนที่สุด

ผมคิดว่ารูปแบบที่ออกมา น่าจะเป็นปะการังเทียมที่มีพอใช้ได้ เป็นปะการังเทียมที่มีสิ่งแวดล้อมเอื้อให้เกิดระบบนิเวศน์ได้บ้าง และเป็นปะการังเทียมที่มีความคงทนเพียงพอในระดับ 10-20 ปี
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.1: 6 ก.พ. 46, 22:29
ผมคุ้นๆ ว่าเคยเห็นที่ต่างประเทศใช้
ผมคุ้นๆ ว่าเคยเห็นที่ต่างประเทศใช้ปูนหล่อลักษณะนี้ทิ้งบริเวณชายฝั่ง
ลักษณะที่สมมาตร มีขา 3 ขา น่าจะรักษาสมดุลย์ได้ดี และขาที่ยื่นออกมาช่วยให้เกิดการเกาะเกี่ยวระหว่างกันได้
ผมไม่ทราบว่าจะสามารถสร้างแม่แบบได้หรือไม่
แต่มีข้อสังเกตุว่า หากขาแต่ละขาไม่ยาวนัก อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงเหล็กก็ได้ ซึ่งน่าจะทำให้การสร้างง่ายขึ้น
หนึ่งก้อนสร้างให้มีน้ำหนักที่ 2 คนแบกได้ น่าจะไม่เกิน 50 โล
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.2: 6 ก.พ. 46, 22:31
ทดลองทำขึ้นมาทั้งหมด 15 อัน แยกสีเพื
ทดลองทำขึ้นมาทั้งหมด 15 อัน แยกสีเพื่อให้เห็นชัดเวลานำมากองรวมกัน
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.3: 6 ก.พ. 46, 22:35
หากสามารถหาวิธีทิ้ง เช่นผูกกว้านสม
หากสามารถหาวิธีทิ้ง เช่นผูกกว้านสมอเรือ แล้วค่อยๆ ปล่อยลงไป และคิดวิธีปลดเชือกออกได้ (มิฉะนั้นก็ต้องมีนักดำน้ำช่วย) ก็น่าจะสามารถทิ้งกองทับซ้อนกันได้โดยไม่แตก กลายเป็นกองหินใต้น้ำ ที่น่าจะยึดเกาะกันได้ดี ช่องว่างที่ระหว่างก้อนปะการังเทียมแต่ละก้อน อาจจะเล็กไปหน่อย ในรูปแบบนี้

หากวางลักษณะนี้ 1 กองมีประมาณ 15 ก้อน วางทับกัน 3 ชั้น ความสูงของกองไม่น่าจะเกิน 1 เมตร

หากก้อนละ 50 กิโลกรัม 15 ก้อนก็มีน้ำหนักรวม 750 กิโลกรัม
อาจจะได้ใช้เรือตกปลาขนาดกลาง 2 ลำ
ลำแรก ขนของ ลำที่สอง ขนคน
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.4: 7 ก.พ. 46, 12:50
พี่ ป.ประจิณ ครับ งานวันแข่งผมอาจไม่ได้ไป เนื่องจากจะมีงานวันแต่งที่จำเป็นต้องไป
ยังไงรบกวนฝากพี่ให้พี่สุชน (ใต๋ต่วย) ด้วยครับ
ขอบคุณมากครับพี่
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.5: 16 ก.พ. 46, 21:47
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ใช้เศษ
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ใช้เศษวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้าง เช่น หัวเสาเข็มที่ตัดออก แผ่นพื้นคอนกรีต ท่อนคอนกรีตขนาดต่างๆ ซากตึกอาคารที่ทุบทิ้ง ส่วนผสมของวัสดุมากจาก อิฐ หิน ปูนทราย เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแรงมาก เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่มีมลภาวะ การนำไปทิ้งทำได้โดย
1. หาเรือประมงเก่าๆ เรือเอี้ยมจุ๊น ทุ่นหรือถังขนาดใหญ่บรรทุกเศษวัสดุจากฝั่ง ใช้เรือลากจูงออกไปจม หรือต่อเรือเหล็กขึ้นมาง่ายๆ ตามแบบประกอบ (ความเห็น 24) หลังจากจมไม่นาน เรือเหล็กจะผุพังไปเอง เหลือแต่เศษวัสดุ และยังช่วยกั้นกระแสน้ำให้ปะการังยึดเกาะในช่วงแรก
2. หาเรือพ่วงลากจูงบรรทุกเศษวัสดุไปทิ้ง โดยใช้ทั้งแรงคนงาน รอกยกน้ำหนัก หรือเครนช่วยยก ในกรณีเป็นของหนักจำพวกหัวเสาเข็ม คานคอนกรีต ฯลฯ ทิ้งต่อเนื่องกันได้หลายกอง
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.6: 16 ก.พ. 46, 21:48
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ต้นแบบ
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ต้นแบบเรือบรรทุก
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.7: 16 ก.พ. 46, 21:51
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ภาพตัด
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
ภาพตัดเรือบรรทุกเศษวัสดุก่อนสร้างเมื่ออยู่ใต้น้ำ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.8: 16 ก.พ. 46, 21:57
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
(พี่ ป. ประจิณ ฝากข้อมูลมาให้)
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.9: 21 ก.พ. 46, 07:15
หลายวันมานี้ ผมมัวแต่คิดหาวิธีผูกเงื่อนที่จะปล่อยปะการังเทียมให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่แตก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องพึงนักดำน้ำ ซึ่งจะทำให้โครงการมีเงื่อนไขน้อยลง ดูจากความเห็นของคุณ pinto2 แล้ว ก็เป็นอันว่า เรื่องการทิ้งปะการังเทียมโดยการใช้เชือกโรยตัวลงไป เป็นอันว่าจัดการได้แน่

ความเห็นของพี่ ป.ประจิณ ในการบรรทุกปะการังเทียมใส่เรือ แล้วปล่อยให้จมทั้งลำ ก็น่าสนใจตรงที่ เราไม่ต้องใช้เรือเครน แต่เงื่อนไขสำคัญคือเราต้องต่อเรือ ซึ่งการต่อเรือดังกล่าว เกรงว่าหากคนที่ต่อให้เราก็อาจจะไม่มีความชำนาญ หรือแบบที่ออกมาหากประสบปัญหาในระหว่างบรรทุกกลางทะเล ก็จะทำให้โครงการผิดพลาดไปทั้งหมด

เรื่องเศษวัสดุก่อสร้าง หากใช้วิธีรวบรวมจากหลายๆ แห่ง ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายจะสูง รวมทั้งต้องมีที่เก็บ และผู้ดูแลการขนย้ายอยู่ทุกครั้ง หากได้ในที่เดียว ก็ต้องหาที่เก็บ และคัดขนาดของวัสดุอีก เพราะหากเป็นวัสดุขนาดใหญ่ เราจะขนลงเรือได้อย่างไร ส่วนที่มีขนาดใช้ไม่ได้ จะทิ้งไว้ที่ใหน

วิธีการสร้างขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็จะมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องมีสถานที่เก็บ ใช้ระยะเวลาและแรงงานในการทำ

วิธีที่ซื้อวัสดุก่อสร้างที่ทำกันอยู่แล้ว ที่มีน้ำหนักในระดับใช้แรงงานคนยกได้ เราตัดปัญหาเรื่องการสร้างและสถานที่จัดเก็บไปได้เลย หลักๆ คือนัดเรือนัดวัสดุ นัดคนให้พร้อม แล้วก็ลงมือได้เลย ในส่วนของท่อน้ำว่า ลักษณะที่เป็นท่อ จะถูกกระแสน้ำพัดให้เคลื่อนไหวได้มั้ยครับ หรือว่ามีวิธีแก้ไข

เรื่องสถานที่ จะตั้งกระทู้คัดเลือกสถานที่อีกทีหนึ่งครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.10: 22 ก.พ. 46, 07:25
ในเรื่องของสถานที่ ผมคิดว่าเราควรเลือกสถานที่ที่ทำได้ง่าย (พื้นทรายหรือหิน กระแสน้ำไม่แรง ไม่เป็นแหล่งทับถมของตะกอน เป็นต้น) เหมาะกับการทำปะการังเทียมไว้ก่อน เพราะเรามีข้อจำกัดอยู่มาก อย่าง ที่พี่ pinto เสนอ รายละเอียดความเห็นอยู่ในกระทู้ของพี่สิงห์http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=4270

ปัจจัยสำคัญที่เหลือในการเลือกแบบใดแบบหนึ่ง จึงเป็นเรื่องของเงินทุน และกำลังคน หากมีน้อยเราก็เลือกทำในรูปแบบที่สะดวกสุดอย่างของพี่ pintoหากมีมากเราก็รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นไป แต่หากมีไม่พอ เราก็หยุดโครงการนี้ไว้ก่อน เอาไว้รอเวลาที่เหมาะสม

ถึงจุดนี้ผมขอเสนอความเห็นว่า น่าจะตั้งกระทู้
1. เสนอสถานที่ที่เหมาะกับการวางปะการังเทียม ภายใต้เงื่อนไขที่เรามี
2. รับอาสาสมัครร่วมกันทำปะการังเทียม ทั้งในด้าน ทุนทรัพย์ และกำลังคน หลังจากจบกระทู้อาสาฯ ก็มาสรุปแบบกันอีกที

ไม่ทราบว่าทุกท่านมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

(ส่วนกระทู้นี้ก็เปิดไว้ ให้เสนอแบบกันได้เรื่อยๆ)
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.11: 22 ก.พ. 46, 19:35
แนวทางที่ขอใช้ที่วัด เป็นสถานที่เตรียมปะการังเทียม นับว่ามีความเหมาะสมในหลายๆ ด้านเป็นอย่างมาก
ภาพเหล็กหล่อปะการังเทียมลูกเต๋า ก็มีคุณค่ามากครับ

น่าแปลกใจที่ทางฝั่งชลบุรี ระยอง ตราด ไม่มีโครงการทำเช่นนี้

ตอนนี้ขอให้สมาชิกที่ติดตามมาได้เข้ามาอ่านกันถ้วนหน้าก่อน หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในคืนวันจันทร์ ผมจะตั้ง

กระทู้เพื่อเลือกสถานที่
กระทู้อาสาสมัคร (ประเมินกำลังคน และจัดทีมงาน)
กระทู้รับบริจาค (ประเมินทุน)

แนวทางการจัดการเรื่องเงิน ผมได้รับคำแนะนำจาก พี่ Nature ประธานชมรมแมงปอล้อคลื่น ว่าเปิดบัญชี โดยมีผู้ที่ได้รับการคัดเลือก 2-3 คน เซ็นชื่อร่วมกันครับ ส่วนจะเป็นใครบ้าง จะประเมินจากกระทู้อาสาสมัครอีกทีครับ

เรื่องสถานที่ ยังไงรบกวนพี่ mairoo ให้ความเห็นในกระทู้เลือกสถานที่อีกทีนะครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.12: 22 ก.พ. 46, 22:38
ลองปูนหน้าตาเป็นยังไงครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.13: 26 ก.พ. 46, 12:54
ก็น่าจะมีการคุยกันเหมือนกันครับ
ผมติดที่อยู่ต่างจังหวัด ต้องใช้เวลาและค่าเดินทางค่อนข้างมากครับ
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024