มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
กระดาน
คห. 99 อ่าน 22,106
มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
ตั้ง: 9 ม.ค. 46, 22:34
มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ
วันนี้ผมได้คุยกับพี่หมู โอเชี่ยน เรื่องที่พี่หมูไปทำปะการังเทียมที่ภูเก็ต ก็เลยมีความเห็นว่า น่าจะชวนเพื่อนๆ สยามฟิชชิ่ง มาทำกันที่แสมสาร หรือบางเสร่ ก็น่าจะดี ช่วยกันคนละนิดละหน่อย เราน่าจะทำกันได้บ้าง

การทิ้งปะการังเทียมได้รับการพิสูจน์จากหลายท้องที่แล้วว่า สามารถเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนปลาในที่สุด เราอาจไม่สามารถไปจัดการกับการประมงที่ผิดกฎหมายได้ แต่เราก็สามารถช่วยเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาได้

เพื่อนๆ มีความเห็นกันว่ายังไงบ้างครับ

( ภาพจาก http://www.sawasdee.or.th )
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.1: 9 ม.ค. 46, 22:40
ภาพระยะใกล้แสดงวิธีการวางปะการังเ
ภาพระยะใกล้แสดงวิธีการวางปะการังเทียมจากเรือเล็กของชาวประมง
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.2: 9 ม.ค. 46, 22:42
สภาพกองปะการังเทียมที่เพิ่งถูกทิ้
สภาพกองปะการังเทียมที่เพิ่งถูกทิ้งลงใต้ทะเล
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.3: 9 ม.ค. 46, 22:44
ลักษณะความเปลี่ยนแปลงบริเวณกองปะก
ลักษณะความเปลี่ยนแปลงบริเวณกองปะการังเทียม หลังจากทิ้งเพียงไม่กี่เดือน
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.4: 9 ม.ค. 46, 22:49
ภาพฟองน้ำหนามสีขาว (sping sponge) ที่เกาะอยู
ภาพฟองน้ำหนามสีขาว (sping sponge) ที่เกาะอยู่บนกองปะการังเทียม
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.5: 9 ม.ค. 46, 22:52
ปลากะพงเหลืองขมิ้น (olives striped snapper) จัดเป็
ปลากะพงเหลืองขมิ้น (olives striped snapper) จัดเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง ที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณกองปะการังเทียม

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://www.sawasdee.or.th/env/reefs.htm
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.6: 10 ม.ค. 46, 20:41
น้าโอว ปล่องบ่อซีเมนต์ นี่ใช้ที่เข้าใช้ทำบ่อน้ำหรือเปล่าครับ
ถ้าใช่ ต้องผูกปล่องเข้าด้วยกันมั้ย หรือว่าทิ้งไว้ใกล้ๆกัน

เมื่อตอนไปตราดคราวที่แล้ว ก่อนถึงแหลมงอบไม่นาน ผมเห็นที่แปลงหนึ่ง
มีปะการังเทียมแบบลูกเต๋าอยู่หลายสิบลูก ไม่ทราบว่ามีข้อมูลมั้ยครับว่าเป็นของหน่วยงานใด หรือของเอกชนทำจำหน่าย
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.7: 14 ม.ค. 46, 21:54
(อีกความเห็นจากคุณอาวันชัย แจ้งอัมพร ที่พี่หมูเมล์มาให้ครับ)

ซั้ง VS ปะการังเทียม โดย วันชัย แจ้งอัมพร 11-01-2546   

การอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะกับพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ นั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทางด้านของวงการตกปลา ให้ความสำคัญกับงานอนุรักษ์ธรรมชาติค่อนข้างมาก จะเห็นได้ว่าโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลานานาชนิด เกิดจากวงการตกปลามากกว่าวงการอื่นใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การตกปลาแล้วปล่อย (Catch & Release) การติดเครื่องหมายบนตัวปลา (Tag & Releases) การกำหนดมาตรการในการตกปลา เช่น ฤดูที่ปลาวางไข่, ขนาด และปริมาณของปลา, ชนิดของปลาบางประเภท เป็นต้น นอกจากนี้ ซั้ง และปะการังเทียม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ ที่วงการตกปลาดำเนินการมาโดยตลอด ในบ้านเราเองรู้จักกับการวางซั้ง และปะการังเทียมมานานพอสมควร ปัจจุบันหลายต่อหลายฝ่ายก็ให้ความสำคัญมากขึ้น

ปะการังเทียม  มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า  อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef)  ความหมายของมันก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม กันจนคุ้นเคยเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกเช่นนั้นตามไปด้วย โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยหากินของพวกมันนั่นเอง แต่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเล จึงมีการ สร้าง บ้านใหม่ให้พวกมันได้อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณที่ต้องการ มีสิ่งที่นักตกปลารู้กันดีอย่างหนึ่งก็คือ บริเวณที่เป็นซากเรือจม จะมีปลาอยู่ชุกชม จึงมีการเลียนแบบซากเรือจม โดยใช้วัสดุเหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้ว เช่น เรือ, รถไฟ, เครื่องบิน, รถยนต์, แท่งคอนกรีต และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง นำไปทิ้งลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อให้ปลาได้เข้ามาอยู่อาศัย แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก ส่วนทางภาครัฐ คือกรมประมง ก็มีโครงการทำปะการังทียม โดยการหล่อคอนกรีต เป็นก้อนสี่เหลี่ยมโปร่ง นำไปทิ้งตามจุดที่กำหนดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างได้ผลเช่นเดียวกับหินกองใต้น้ำตามธรรมชาติ

ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป ถ้าจะพูดถึงกิจกรรมการตกปลากันแล้ว แนวปะการังเทียมนั้นตกปลาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาจะอาศัยอยู่ ตามซอกโพรงของกองหินเทียม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อสายเบ็ดตกปลา ประกอบกับในแนวปะการังเทียม มีปลาเกมที่นักตกปลาต้องการอยู่น้อยชนิด แต่ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับ ชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน

ซั้ง  มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า ฟิช แอกกรีเกทติ้ง ดีไวซ์ (Fish Aggregating Device) เรียกกันย่อๆ ว่า แฟ้ดส์ (FADs) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้ปลามาอยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยน้ำต่างๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยน้ำ โดยใช้วัสดุต่างๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ ซั้ง อาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่า ปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมของการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งเขาจะลงทุนทำซั้งเป็นจำวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วก็จะจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมากๆ  ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลามากกว่าปะการังเทียม

ซั้ง เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างถูก และทำงานง่าย แต่จะไม่อยู่ถาวรเหมือนปะการังเทียม ต้องมีการทำเพิ่มเติมอยู่เสมอ การวางปะการังเทียมต้องลงทุนสูงกว่า , การขนส่งที่ค่อนข้างลำบาก และอาศัยแรงงานมาก รวมทั้งต้องขอความร่วมมือ และอาจต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง และกรมเจ้าท่าในกรณีไปกีดขวางการจราจรทางน้ำ แต่ซั้งไม่ได้ใช้วัสดุถาวร จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านนี้เท่าใดนัก

โดยสรุปแล้ว ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์ทางด้านอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชาวประมงพื้นบ้านได้มาก แต่ซั้งจะให้ประโยชน์กับกิจกรรม ของการตกปลาโดยตรงเสียมากกว่า จะอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ มีการวางซั้ง และแนวปะการังเทียมไปพร้อมๆ กัน จึงเกิดประโยชน์ทั้งอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน และกับวงการตกปลาด้วยเช่นกัน
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.8: 14 ม.ค. 46, 23:01
จากที่ได้คุยกับคุณอาวันชัย แจ้งอัมพรวันนี้ ก็ได้มุมมองที่น่าสนใจหลายประการ

คุณอาเคยร่วมกับนักศึกษา ทำปะการังเทียมจากยางรถยนต์เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วที่พัทยา โดยใช้ยางมากกว่า 1,000 เส้น ทั้งหมดมีผู้บริจาคให้ฟรี แต่ต้องหารถมาขนย้ายเองซึ่งก็ต้องขนกันหลายสิบเที่ยว การผูกยางก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก แต่ก็อาศัยนักศึกษาที่สมัครใจมาช่วยกันทำ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรืออนุเคราะห์เรือมาขนย้ายไปยังหมายอีกด้วย  การทำปะการังเทียมในครั้งนั้นไม่ได้เทคอนกรีตในยางที่เป็นฐาน เวลาปล่อยลงท้องทะเล ยางจึงลอยน้ำ จึงต้องมีทีมนักประดาน้ำคอยพลิกยางไปมาเพื่อไล่ฟองอากาศไปด้วย การวางปะการังเทียมในครั้งนั้นใช้งบประมาณไปราว 3 หมื่นบาท
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.9: 14 ม.ค. 46, 23:22
หลังจากนั้นผมก็ได้โทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่กรมประมง และก็ได้คุยกับนักวิชาการชื่อ คุณกรวิทย์ ซึ่งดูแลเรื่องปะการังเทียมโดยเฉพาะ  ข้อมูลที่ได้รับก็พอสรุปได้คราวๆ ได้นี้

กรมประมงได้ทำการทิ้งปะการังเทียมคอนกรีตเสริมเหล็กแบบโครงสี่เหลี่ยมลูกเต๋ามานาน และทำต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งทิ้งเสริมในบริเวณเดิมที่ทรุดโทรมไป และด้วยความที่การทิ้งปะการังเทียมแบบนี้ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก จึงมักแนะนำให้ชาวประมงที่สนใจสอบถามเข้ามาเรื่องการปะการังเทียม ให้ทำซั้งเสริมบริเวณปะการังเทียมแทน โดยให้ทิ้งในช่วงหลังหมดมรสุม ทั้งนี้ซั้งจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการรวมตัวของฝูงปลาได้เร็ว อย่างไรก็ตามซั้งจะเสื่อมสลายค่อนข้างเร็ว ส่วนการทำปะการังเทียมด้วยยางนั้น นิยมทำกันเองในหลายท้องที่ ทั้งนี้เพราะราคาถูก และมีน้ำหนักเบา จึงดำเนินการจัดทำและทิ้งได้ง่าย  แต่ปะการังเทียมที่ทำจากยาง จะไม่คงทนและเมื่อเวลาผ่านไป ยางจะหลุดออกจากกัน กระจัดกระจายกลายเป็นขยะในท้องทะเล บางส่วนก็จะถูกพัดขึ้นฝั่ง

รายละเอียดในเรื่องปะการังเทียมยังมีอีกมาก นักวิชาการท่านนี้ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านทำงานอยู่ที่กรมประมง ม.เกษตร บางเขน โทร (02) 562-0600 ถึง 2 ต่อ 4708
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.10: 18 ม.ค. 46, 20:20
ปะการังเทียมอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเ
ปะการังเทียมอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "reef ball" ถูกออกแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย Reef Ball Development Group, Ltd

- ลักษณะครึ่งวงกลมจะทำให้วางบนพื้นทรายได้มั่นคง
- มีรูโดยรอบเพื่อให้ปลาเล็กได้หลบภัย วางไข่ และทำให้กระแสน้ำใหลผ่านได้จึงไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป
- มีรูด้านบนซึ่งจะทำลายแรงยกตัวของกระแสน้ำที่พัดผ่านเข้ามา

รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.reefball.com
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.11: 18 ม.ค. 46, 20:34
diagram และ reef ball ที่เพิ่งหล่อเสร็จ
diagram และ reef ball ที่เพิ่งหล่อเสร็จ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.12: 18 ม.ค. 46, 20:38
ความลึก 42 ฟุต, อายุปะการัง 2 ปี
ความลึก 42 ฟุต, อายุปะการัง 2 ปี
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.13: 18 ม.ค. 46, 20:49
reef ball อายุ 8 ปี
reef ball อายุ 8 ปี
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.14: 18 ม.ค. 46, 20:54
ภาพ reef ball ในสถานที่ต่างๆ อีกมากมายดูได้ที่
http://www.artificialreefs.org/Photogallery/gallery.htm

ท่านที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติมลองค้นด้วย http://www.google.com ด้วยคำว่า
- artificial reef
- imitation reef
- reef ball
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.15: 22 ม.ค. 46, 22:54
เฮียเหลา และเพื่อนๆ ที่ติดตามครับ เป็นไปได้มั้ยที่เราจะหล่อปะการังเทียมคอนกรีตในลักษณะลูกเต๋าเหมือนกรมประมง (หรือรูปแบบอื่น) แต่มีขนาดที่สามารถใช้แรงงานคน (พวกเรา) หล่อกันเอง รวมไปถึงการขนลงเรือ และทิ้งลงทะเลโดยใช้เรือปะมงทั่วๆ ไป

ตัวอย่างเช่น อาจจะหล่อเป็นลูกเต๋าขนาด กว้างxยาว 2x2 ฟุต (หรืออาจเล็กกว่านี้หากหนักไป) โดยอาศัยทิ้งเป็นกลุ่มๆ เหมือนกับที่ทิ้งยางรถยนต์ เพื่อให้เกิดกอง(ของ)ปะการังเทียมทับซ้อนกันขึ้นไป เวลาทิ้งเป็นไปได้มั้ยที่จะอาศัยกว้านสมอของเรือ ค่อยๆ ปล่อยลงไปเพื่อไม่ให้กระแทกกันแตก (ขั้นตอนนี้อาจต้องอาศัยเพื่อนนักดำน้ำช่วย)

รูปแบบนี้อาจจะไม่แข็งแรงเหมือนของกรมประมง (ซึ่งลูกใหญ่มาก) แต่ก็น่าจะคงทนมากกว่าแบบยางรถยนต์ และความคมของคอนกรีตน่าจะปกป้องเรืออวนขนาดได้บ้าง ที่สำคัญเรารวมตัวทำกันเองได้ (พิจารณาทั้งในแง่การผลิต การขนย้าย การทิ้ง และค่าใช้จ่ายทั้งหมด) และหากทำได้ผลดี ก็น่าจะนำไปสู่การเผยแพร่ให้กลุ่มอื่นๆ ได้รวมตัวกันทำในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่การรวมตัวเพื่อปกป้อง ดูแลทรัพยากรณ์ของตนเองในที่สุด
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.16: 23 ม.ค. 46, 06:56
พอดีเช้านี้ต้องรีบเดินทางครับพี่สิงห์
ผมมีความเห็นค่อนข้างมากในเรื่องนี้จึงเรียบเรียงไม่ทันครับ

ขอบคุณครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.17: 28 ม.ค. 46, 07:35
ไปทริพหมายนอกกลับมา มีได้ความเห็นจากเพื่อนร่วมทริพหลายท่าน
ไว้กลับจากทำงาน ผมจะนำเสนอเพิ่มเติมอีก และตอบข้อเสนอแนะของหลายท่านอีกครั้งครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.18: 29 ม.ค. 46, 07:15
1. เรื่องการโวต จะทำหรือไม่
ผมมีความเห็นว่า เป็นเรื่องว่ามีทุนทรัพย์ และจำนวนคนที่สนจนจะมาร่วมกันทำมากพอหรือไม่เป็นสำคัญ หากเพียงพอก็ทำ หากไม่พอ ก็เลื่อนออกไปจนกว่าโอกาศจะเหมาะสม โดยสรุปคือเป็นเรื่องของการอาสา มากกว่าเป็นเรื่องการขอมติ

2. การตั้งคณะกรรมการศึกษา
เนื่องจากเราเป็นกลุ่มคนเล็กๆ และเป็นการรวบรวมข้อมูลมานำเสนอมากกว่าเป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้น หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้เลย อย่างที่ปรากฎอยู่ครับ

ผมเห็นว่าขณะนี้อยู่ในช่วงที่ผู้สนใจหลายท่านกำลังรวบรวมข้อมูล และความเห็นจากผู้ที่เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้านอยู่ ว่ารูปแบบปะการังเทียมที่จะทำออกมาควรมีลักษณะอย่างไร สร้างอย่างไร ขนย้ายอย่างไร ทิ้งลงทะเลอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ หากมีการเสนอมาหลายรูปแบบ ถึงจุดนั้นน่าจะมีการคัดเลือกกัน เมื่อได้ต้นแบบปะการังเทียมที่จะทำแล้ว ก็จะนำไปสู่การวางแผนงานในขั้นการตอนไปครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.19: 30 ม.ค. 46, 21:38
ปะการังเทียมแบบสี่เหลี่ยมลูกเต๋าท
ปะการังเทียมแบบสี่เหลี่ยมลูกเต๋าที่กรมประมงใช้ แต่ย่อขนาดลงมาหน่อย ภาพต้นแบบโดยผีปลา
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024