เอานกกรงหัวจุกมาโชว์กันหน่อยครับน้าๆๆ.....: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<1234
กระดาน
คห. 148 อ่าน 108,498 โหวต 19
เอานกกรงหัวจุกมาโชว์กันหน่อยครับน้าๆๆ.....
คห.76: 28 เม.ย. 56, 20:27
อ้างถึง: Natmymonster posted: 28-04-2556, 19:45:14

ทำไงดีครับน้า ช่วงนี้นกของผมถ่ายขนยกฝูงเลย เงียบยังกะเป่าสากเแหน่ะ จะร้องแค่ตอนเอาหนอนไปให้แค่นั้น นอกนั้นก้อร้องแค่วิ๊ดๆ


ปัญหานกถ่ายขนนั้นมีที่มาจากหลายสาเหตุครับ แต่ที่แน่นอนคือการเปลี่ยนฤดู จากฤดูร้อนไปเป็นฤดูฝนครับ ช่วงนี้เป็นช่วงที่นกหัวจุกถ่ายขนมากที่สุด  นอกจากนั้นอาจจะมาจากพวกอาหารเม็ด และหนอนนี่แหล่ะครับ  โดยเฉพาะการให้อาหารที่เปลี่ยนยี่ห้ออยู่บ่อยๆ การให้หนอนนานๆครั้ง ผมเคยสังเกตดูอยู่ครับ จาก 2 กรณี นกจะถ่ายขนเต็มพื้นกรงเลยครับ เพราะฉะนั้นอย่าพยายามเปลี่ยนอาหารยี่ห้อบ่อยๆ  และการให้หนอนก็ให้วันละ 2 -3 ตัว ต่อนก 1 ตัว ก็พอแล้วครับ  แต่การดูแลนกในช่วงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  ต้องให้อาหารหลักที่มีประโยชน์ สด ใหม่ ทุกวัน เช่นกล้วย มะละกอ ตำลึง ก็ให้สุกจริงๆครับ เสริมด้วยอาหารเสริม ไม่เน้นหนอนครับ  ดูแลความสะอาด ให้นกเล่นน้ำตามเวลา และที่สำคัญครับ อย่าเอานกที่ผลัดขนออกแดดจัดๆเด็ดขาดครับ..... เอาแค่ ช่วงเช้าๆ กับเย็นๆ ก็เพียงพอแล้ว รอจนขนใหม่ขึ้นมาเต็ม (ขนปีก-หางครบ ขนดำก็ดำสนิทเป็นเงาวาว ขนขาวก็แน่น  แก้มแดงสนิทไม่มีขนขาวแซม) แล้วค่อยเริ่มฝึกใหม่ครับ เดี๋ยวนี้หาคลิปเสียงนกดีๆจาก youtupe มาฝึกได้เลยครับ..... ลองทำดูนะครับ...
คห.77: 28 เม.ย. 56, 20:38
[q][i]อ้างถึง: bomปลากัด posted: 28-04-2556, 20:29:40[/i]

หวัด
อ้างถึง: bomปลากัด posted: 28-04-2556, 20:29:40

หวัดดีครับเมื่อก่อนพ่อผมเลี้ยงเยอะมากและเป็นนกต่อจากป่าทั้งนั้นเลยครับ  แถมทำกรงเองอีกต่างหาก  แถวบ้านผมที่ตรังเค้าเรียกนกครู  จำความได้พ่อก็เลี้ยงมานานแล้ว แต่ละตัวไม่รู้อายุเท่าไหร่  แต่ที่รู้ๆจำความได้เลี้ยงอยู่แล้ว  แต่ละตัวไม่ตำ่กว่า20ปีครับ  ร้อง6-7พยางค์ขึ้นไป  เสียดายครับตอนนี้มันแก่มากๆๆๆๆ


ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม และทักทายกันครับ
ต้องบอกว่านกหัวจุกสมัยก่อนนั้นเป็นนกประจำถิ่นจริงๆครับ  และมีเพลงร้องที่ยาวน่าฟัง  แต่ปัจจุบันไม่รู้ว่าเป็นนกที่ไหนแล้วบ้าง  อิๆๆ ตั้งแต่ประจวบฯ ไปจนถึงทางเหนือ  ปัจจุบันพวกเล่นข้ามฝั่งไปเอานกพม่า นกเวียดนามมาเล่นกันแล้ว... อิๆๆ  แล้วนกหัวจุกเป็นนกที่มีอายุยืนมากๆๆ ผมเคยมีอยู่ 3 ตัว ที่แข้งลอกเลยครับ อายุซัก 12 - 15 ปี น่าจะได้ แต่ก็ตายในที่สุดครับ  ถ้ามีโอกาสถ่ายรูปมาให้ชมกันหน่อยนะครับ...
คห.78: 28 เม.ย. 56, 20:42
อ้างถึง: bomปลากัด posted: 28-04-2556, 20:34:06

พ่อไม่เคยพาไปแข่งแต่เป็นความชอบส่วนตัว  เพื่อนพ่อมายืมไปแข่งได้รางวัลตลอด  แต่นานแล้วครับ  เสียดายนกสมัยนี้เพลงไม่ยาวไม่เพราะเหมือนเมื่อก่อนครับ



เข้าไปดูประวัติ แล้วเห็นน้าเป็นคนตรัง  นกหัวจุกตรัง เป็นนกที่มีชื่อเสียงครับ  รวมถึงฝีมือการทำกรงนก ช่างตรังก็มีชื่อเสียงมากๆโดยเฉพาะกรงฮั้วตรัง...... สวยมากครับ
คห.79: 29 เม.ย. 56, 15:29
อ้างถึง: lek-m posted: 29-04-2556, 09:26:29




ที่บ้านผม  แฟนเลี้ยงไว้ 2 ตัว  เมื่อวันที่ 22 เมษายน  โดนขโมยไป ทั้งกรง ทั้ง นก  เลย  นกกำลังเชื่องเลย 

สืบมาได้ความว่า  มีแก๊งตระเวน  ออกขโมย  แถวย่าน  พระยาสุเรนทร์    โดนกันไปหลายบ้านเหมือนกัน  เพื่อน ๆ  ระวังกันด้วยครับ




อย่าว่าแต่แถวกรุงเทพฯเลย ครับ แถวบ้านผมก็เผลอไม่ได้เหมือนกัน หายทั้งนกทั้งกรงเหมือนกันครับ  ผมเองต้องแขวนไว้สูงๆ ไม่ให้เอื้อมมือยกกรงได้น่ะครับ

คห.80: 29 เม.ย. 56, 15:47
อ้างถึง: NHooM posted: 29-04-2556, 12:33:14

น้าครับงั่นผมขอความรู้จากน้าสักหน่อยนะครับ ผมซื้อนกป่ามาแต่มันไม่ยอมอาบน้ำจะทำไงให้มันอาบดีละครับ ซื้อมาจะสองเดือนละครับ ขอบคุณน้ามากๆครับ กรงหลังฝาชีที่น้าบอกว่าเป็นไม้มะม่วงป่าแก่จัดได้มาจากจังหวัดอะไรหรอครับ ผมเป็นนคนนึงนะที่หลงเสน่ห์ไม้มะม่วงป่า แต่ที่ผมลองสังเกตุแล้วก็ดูเนื้อไม้สีไม้ของไม้มะม่วงป่าแต่ละจังหวัดสีจะไม่เหมือนกันนะครับ ที่เคยเห็นมาไม้มะม่วงของอำเภอๆนึงในจังหวัดกระบี่ สีไม้และลายไม้สวยมากๆ จนช่างที่มาจากจังหวัดปัตตานีถึงกับเอ่ยปากชมเลยว่าสีสวยมากๆ ขอบคุณครับ


โดยธรรมชาติของนกพวกนี้จะเล่นน้ำครับ ก็ต้องฝึกกันไป  เอานกออกตากแดด พอช่วงบ่ายเอาขันใส่น้ำวางไว้ แขวนนกไว้ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก เดี๋ยวก็เล่นน้ำครับ ส่วนสีของไม้มะม่วงป่านั้น จะมีหลายโทนสี ตั้งแต่น้ำตาลอ่อนๆ จนถึงน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับอายุไม้ครับ  ส่วนไม้ของกรงที่ถามนั้นเป็นไม้จากยะลาครับ เก็บมาตั้งแต่รุ่นพ่อ  เป็นไม้ท่อนใหญ่ เอามาผ่าคัดมาทำกรงนก ได้ไม้ลายสีแบบนั้นได้เพียง 4 กรงเท่านั้นครับ ลองดูในหน้าที่หนึ่ง ความเห็นที่ 25 ครับ  ไม้มะม่วงป่าเหมือนกัน แต่ละโทนสี ก็ดูสวยไปคนละแบบครับ  แต่ที่นิยมจะเป็นออกสีน้ำตาลๆ ครับ
<1234
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024