บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 249 อ่าน 166,455 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
คห.76: 24 ต.ค. 50, 21:45
ใน MINI FAT. พูดถึง FRESHWATER MORAY EEL ไปแล้ว คราวนี้ม
ใน MINI FAT. พูดถึง FRESHWATER MORAY EEL ไปแล้ว คราวนี้มาดู " SNAKE EELS " หรือ "ปลาไหลงู"ที่มีการพบตามแหล่งนำทางโซน อินโดจีนกันบ้างครับ ที่แปลกใจคือ ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากนัก ที่ผมหาข้อมูลมาได้มี 2 สกุล(GENUS)ครับ ส่วนใหญ่ SNAKE EELS เป็นปลาที่พบในนำกร่อย(BRACKISH WATER) หรือ เป็นปลาทะเล(SALTWATER)ไปเลยครับ ทั้งสองสกุลที่ผมนำมาก็เหมือนกันครับ แต่ยิ่งค้นข้อมูลปรากฎว่าเจอใน ม.โขง(MEKONG ) ด้วยครับ สกุลแรก คือ OPHICHTHUS RUTIDODERMA หลายครั้งที่นักชีววิทยาได้พบใน กัมพูชา เวียตนาม และ ม.โขง เป็นปลาที่ฟันคมมาก ยาวได้เกือบ 1 เมตรครับผม.
คห.77: 24 ต.ค. 50, 22:00
สกุลที่2 PISODONOPHIS เป็นปลาไหลที่มีครีบคล
สกุลที่2 PISODONOPHIS เป็นปลาไหลที่มีครีบคล้ายปลาตูหนา และมีหางที่หางแข็ง ในสกุลนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด(SPECIES) สปีซีย์แรก คือ P. BORO หรือ RICE-PADDY EEL เป็นปลาที่พบได้ไกลถึงแอฟริกา ส่วนในแถบนี้ พบใน ม.โขง กัมพูชา อาศัยบริเวณก้นแม่นำ หรือ ตามขอบตลิ่ง หากินปลาในช่วงกลางคืน ยาวประมาณ 1 เมตร.
คห.78: 24 ต.ค. 50, 22:19
ชนิดที่2 คือ P.CANCRIVORUS หรือ LONGFIN SNAKE EEL ยาว 75ซม.
ชนิดที่2 คือ P.CANCRIVORUS หรือ LONGFIN SNAKE EEL ยาว 75ซม. ยังเป็นปลาที่มีรายงานว่าพบในกัมพูชา ถ้าจำไม่ผิดเคยมีการพบสกุลนี้ แต่จำไม่ได้ว่าเป็นชนิดไหนแน่นอนนะครับ.ในเมืองไทยด้วย เคยอ่านเจอ แต่นานมากแล้วครับ
หมายเหตุ-- มีคำถามว่าในสกุลPISODONOPHISทั้ง2ชนิดนี้มีอะไรที่พอสังเกตุได้บ้าง? คำตอบคือ สังเกตุ จุดเริ่มของครีบหลัง(DORSAL FIN) ใน P.BORO ระยะห่างครีบหลังอยู่ห่างจาก PECTORAL FIN หรือ ครีบหู(บางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่า ครีบหู คือตรงไหน พูดตามความเข้าใจง่ายๆครับ คือ ครีบว่าย นั่นแหละครับ)ออกไปอีกเท่ากับความยาวของครีบหู ส่วนใน P. CANCRIVORUS. ครีบหลัง ตรงกับ ครีบหูครับน้า
คห.79: 25 ต.ค. 50, 18:07
หวัดดีครับน้า KING_ABU กับน้า POP POP คือผมพยา
หวัดดีครับน้า KING_ABU กับน้า POP POP คือผมพยายามสอดแทรกรายละเอียดปลาทั้งในประเทศต่างๆ และภายในประเทศเราเองคือตอนนี้พยายามแยกว่าต่างประเทศไป MINI FAT ส่วนปลาไทยมากระทู้นี้ การตกแต่งตู้ปลาไปกระทู้ที่ให้น้าๆช่วยพิจารณาด้วย น้าๆที่ชอบตกจะได้พอสังเกตุว่าเจ้าตัวนี้เป็นปลาอะไร อย่างล่าสุด ถ้าจำไม่ผิด ทางภาคใต้มีคนตกปลามรกตดำ หรือ ปลากดดำได้ จนเขาสงสัยว่ามันมาได้ยังไง น้าบางท่านที่อาจไม่คุ้น ถ้าชอบตกปลา หรือ เลี้ยงปลาจะได้แวะเข้ามาชม เผื่อจะได้ความคิดเห็นแปลกๆของผม. เสียดายครับน้าPOP POP ในญี่ปุ่น จะบอกได้ว่า เป็น MASTER AQUARIUM เชียวครับ ไอ้ผมก็รอชม "ไรเงียว" อยู่นะเนี่ย วันนี้เพิ่งสั่ง DVD ปลาหมอในนิคารากัว คงได้ความรู้อะไรใหม่มาเล่าให้ฟัง ถ้าน้าท่านใดสนใจปลาชนิดต่าง IMAGEเกี่ยวกับแหล่งที่ตกในเมืองไทย เห็นน้าๆนำ VCD มาขายอยู่ หรือ มีน้าอยู่2ท่านที่ขายDVD ในญี่ปุ่น กับอีกท่านนึงที่ขายDVDปลาทางยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย น่าสนใจทั้งนั้นละครับ ที่อยากแนะนำสำหรับปลาอเมซอน ของOKUBOใช้ได้เลยครับ ถ้าเป็นฝรั่ง ขอแนะนำ ของMATT HEYS เลยครับ น้าเขาขายถูกด้วย ผมสั่งทางEBAYเลยแพงหน่อย อย่างMATT HEYS ที่ตกในAMAZON (2แผ่น) ผมว่า "THE BEST" จริงๆครับ อีกตอน MATT ในอินเดีย น้าจะเห็นเจ้า GOLDEN MASHEER รวมถึง ปลาแค้ยักษ์อย่าง GOONCH มีอีกเรื่องที่ผมสนใจ เมื่อวานเห็นที่แมงป่อง ถ้าขายเป็นVCD น้ารีบคว้าเลยนะครับ ถามว่า สารคดีตอน" FRESHWATER" หรือ ปลานำจืด ชมได้เลยครับ ผมหาVCDไม่ได้ มีแต่เป็นDVD ราคาอื้อๆเลยต้องรอไปก่อนครับผม
คห.80: 28 ต.ค. 50, 09:46
น้า อิอิ ผม แหะแหะ นะครับ ล้อเล่นครั
น้า อิอิ ผม แหะแหะ นะครับ ล้อเล่นครับน้า อย่าถือนะครับผม.
คห.81: 29 ต.ค. 50, 01:37
ห่างหายไปนาน สำหรับสกุล BAGARIUS หรือสกุ
ห่างหายไปนาน สำหรับสกุล BAGARIUS หรือสกุลปลาแค้ ว่ามีกี่ชนิดบ้าง ยอมรับครับว่าไม่เคยติดใจปลาแค้เลย แต่พอมาดูในสารคดีตกปลาของ MATT ใน FISHING WORLD IN INDIA บอกเลยครับอย่างปลื้ม นึกขึ้นได้ว่า ในไทยก็มีพบที่ลุ่ม ม.โขง ว่างๆก็หาข้อมูลไปเรื่อย ปรากฏว่าพบ 5 ชนิด มีชนิดนึงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ BAGARIUS GIGAS ที่เหลืออีกทั้ง 4 ชนิด ประกอปด้วย
BAGARIUS BAGARIUS ( บากาเรียส-บากาเรียส) แค้วัว
พบใน ม.โขง เจ้าพระยา สาละวิน กัลกัตต้า อินเดีย ชวา อินโดนีเซีย ขนาดที่พบ 20-34ซม. แผ่นกระโหลกตรงสัน เป็นรูปคลื่น แต่ไม่คม สีลำตัวค่อนข้างสว่าง ถ้าสังเกตุจากภายนอกจะเห็นว่า จุดกำเนิดของครีบท้อง ถ้ามองจากด้านข้าง จะเหลื่อมเข้ามาในแนวปลายๆสุดของครีบหลังครับผม ก้านครีบแรกของครีบหลังเป็นก้านครีบแข็งและชี้ยาว ลองดูภาพครับผม
 
คห.82: 29 ต.ค. 50, 01:52
ตัวที่2 นี้จัดว่ายักษ์ทีเดียวครับ " BA
ตัวที่2 นี้จัดว่ายักษ์ทีเดียวครับ " BAGARIUS YARRELLI" หรือ " GOONCH"
พบในอินเดีย ม.โขง อินโดนีเซีย ยาวโดยประมาณ 2 ม. ลักาณะแผ่นกระโหลกไม่มีสัน สีของลำตัวจะดูทึมกว่าแค้วัว บริเวณแผ่นหลังของครีบหลัง จะมีแถบจุดดำๆในบางครั้ง ก้านครีบหลังแข็ง ถ้าดูด้นข้างและลากเส้นตรงลงมาจะพอสังเกตเห็นว่า เลยปลายครีบหลังไปหน่อยถึงจะเป็นจุดเริ่มของครีบท้อง ลองชมดูภาพครับ
คห.83: 29 ต.ค. 50, 02:01
ชนิดที่3 " BAGARIUS SUCHUS" หรือ "CROCODILE CATFISH"
พบใน ม.โข
ชนิดที่3 " BAGARIUS SUCHUS" หรือ "CROCODILE CATFISH"
พบใน ม.โขง ไทย ลาว ทางตอนเหนือของกัมพูชา และใน ม.เจ้าพระยา ยาวโดยประมาณ 60 ซม. ทรงหัวเทลาดเอียงยาว ก้านครีบหลังแข็งแต่ไม่ยาวเท่า2 ชนิดแรก จุดที่น่าสังเกตง่ายสุดน่าจะเป็นแต้มดำ2จุด บริเวณด้านข้างตรงใต้ครีบหลัง และใต้ครีบไขมัน ถ้ามองจากด้านข้าง ลองชมภาพดูครับผม
คห.84: 29 ต.ค. 50, 02:15
ชนิดสุดท้ายครับผม " BAGARIUS RUTILUS"
พบที่ แม่
ชนิดสุดท้ายครับผม " BAGARIUS RUTILUS"
พบที่ แม่นำแดง แม่นำ MA ทางตอนเหนือของเวียตนาม ยาวโดยประมาณ 1 ม.ครับผม สังเกตครีบไขมันจะดูเป็นทรงสามเหลี่ยม จุดเริ่มต้นของครีบไขมัน ตรงกับจุดเริ่มต้นของครีบก้น สีของลำตัวส่วนใหญ่เป็นโทนสีเหลือง ปน นำตาล สีลำตัวจะดูคล้ายGOONCH  ลองชมภาพครับผม
คห.85: 29 ต.ค. 50, 02:23
ต้องฝากขอโทษน้าๆนะครับ หากข้อมูลผม
ต้องฝากขอโทษน้าๆนะครับ หากข้อมูลผมอาจจะไม่ลึกมาก คือ ยอมรับว่า ถ้าละเอียด ผมก็คงเพียงอ่านจากในเว็บ และถอดออกมา ว่าก้านครีบแต่ละก้านเป็นอย่างไรมีกีก้าน ทั้งก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน สัดส่วนการวัดกระบอกตาเทียบกับความยาวหัวทั้งหมด ฯลฯ ถ้าน้าท่านใดลองสังเกตจะเห็นว่าหลักในการเทียบอย่างกว้างๆใกล้เคียงกันมากครับผม ฝากน้องๆที่อ่านด้วยนะครับ ว่าหลักมันควรจะเป็นแบบนี้ได้หรือเปล่า ขอบคุณมากครับที่เข้ามาชมกระทู้ปลาของผมครับ
คห.86: 2 พ.ย. 50, 00:38
หาปลากินตะไคร่ดีกว่า ติดหิน หรือ สา
หาปลากินตะไคร่ดีกว่า ติดหิน หรือ สายนำผึ้งดีหน้อ? เอาสายนำผึ้งดีกว่าราคาถูกด้วย ถ้าน้าท่านใดได้ตัวนี้มาเลี้ยงเก็บได้เลยนะครับ สามารถพบได้ที่เดียวกับสายนำผึ้ง(CHINESE ALGAE  EATER) พบได้ในแถบกว้างของประเทศไทย รวมถึงแม่นำโขงด้วยครับ กลับมาตัวที่ว่าครับ "สายนำผึ้งจุด" ครับผม.มีภาพให้ชมก่อนจบครับ.
 
คห.87: 2 พ.ย. 50, 00:44
ลองชมภาพเต็มๆครับ " SPOTTED ALGAE EATER" พบได้ที่
ลองชมภาพเต็มๆครับ " SPOTTED ALGAE EATER" พบได้ที่เดียวครับ "แม่นำโขง" ยาวสูงสุด 11 นิ้วครับ ในขณะที่ สายนำผึ้งทั่วไป บางแหล่งจะให้ข้อมูลต่างกันในเรื่องความยาวนะครับเอาเป็นว่าประมาณ7-8 นิ้วแล้วกันนะครับ ลองชมภาพ " SPOTTED ALGAE EATER" ก่อนนะครับ.
คห.88: 2 พ.ย. 50, 00:45
ส่วนภาพนี้เป็นสายนำผึ้งที่เราคุ้น
ส่วนภาพนี้เป็นสายนำผึ้งที่เราคุ้นๆกันครับผม.
คห.89: 3 พ.ย. 50, 08:02
มีการยืนยัน แบบนั่งยันนอนยันแล้วคร
มีการยืนยัน แบบนั่งยันนอนยันแล้วครับ (อันนี้ได้จากที่เข้าไปอ่านที่เขาตั้งกระทู้เสือตอพม่ากันแหละครับ และจากที่ถามคนรู้จัก) ว่ามีตัวจริงๆสำหรับ "เสือพ่นนำพม่า" หรือ " TOXOTES BLYTHII " ที่ตอนนั้นทางคนเลี้ยง เขาไม่กล้าออกมายืนยันก็คงจะเป็นกระแสของแปลก ที่ไม่ว่าจะเป็น นักสะสมปลาสวยงาม หรือ นักอะไรก็แล้วแต่ท่านอื่นๆ มีการโจมตี ว่า รีทัชภาพบ้างละ บางท่านก็เชื่อจากภาพที่ปรากฏให้เห็น ก็ยังออกมาโจมตีว่าทำไมถึงไม่ยืนยันออกมา ส่วนตัวผม ผมไม่รู้ว่ารีทัชเป็นยังไงจริงหรือไม่ไม่สน แต่รู้ว่ามีการระบุปลาชนิดนี้ขึ้นมาแล้วในFISHBASEหรือในเว็บต่างๆ สำหรับผมจุดนี้ก็คงพอแหละครับ แต่ก็อดที่จะออกมาบ่นหน่อยๆว่า ถ้าตอนนั้นพี่ถ่ายภาพและเผยแพร่ในFISHBASEจริงๆจะเป็นคุณความดีที่มีค่าในการให้ความรู้คนอื่นๆ จนในตอนนี้คำตอบว่า มีจริง ยอมรับว่าดีใจมากๆที่มีภาพออกมาให้เห็นว่า เสือพ่นนำที่มีลายยาว.ครับผม
คห.90: 3 พ.ย. 50, 08:03
รูปที่2ครับสำหรับภาพที่มีการยืนยัน
รูปที่2ครับสำหรับภาพที่มีการยืนยันว่ามีจริงแล้วครับ.
คห.91: 3 พ.ย. 50, 08:32
ยอมรับว่าตั้งใจเพิ่มสีสันให้กับผู
ยอมรับว่าตั้งใจเพิ่มสีสันให้กับผู้ที่ต้องการหาความรู้เรื่องปลา ว่าเสือพ่นนำของพม่านั้นมีจริง ก็เลยอดนึกไปถึง " ปลาแป้นหัวโหนก" ที่ปัจจุบันผมไม่ค่อยได้มีโอกาสเห็น คือ ประมาณว่าถ้าน้าท่านใดมีให้เก็บไว้เลยครับ เผื่ออนาคต จะมีเสือพ่นนำพม่าเข้ามา จะได้จับคู่กัน ส่วนจะเป็นเมื่อใดนั้น อืมย์! รอให้ราคามันสูงๆหน่อย หรือ ไม่ทราบดีกว่านะครับ ล้อเล่นนะครับ อย่าถือเป็นจริงเป็นจังครับผม.
PARAMBASSIS PULCINELLA.
ชื่ิอทั่วไปที่เรียก      =  HUMPHEAD GLASS
                              PERCHLET.
แหล่งที่พบ            = พม่า.
หมายเหตุ = มีการระบุแหล่งที่พบว่าพบใน แม่นำATARAN. ของพม่า แต่มีพ่อค้าส่งออกระบุว่า มันแตกต่างจากปลาที่เขารวบรวมได้ใน แม่นำ สาละวิน ระหว่างชายแดนไทยกับพม่า แต่ถึงอย่างไร นักวิชาการทางการคัดแยกแบ่งสายพันธุ์ หรือ TAXONOMIST หลายท่านได้ทำการตรวจสอบว่าเป็นปลาชนิดเดียวกันจริงครับผม.
ขนาด                = 8ซม. หรือ 3 นิ้ว
สภาพนำ            = จำเป็นต้องระมัดระวังเพราะ สถาพนำใน
                            ธรรมชาติกับนำที่เรานำมาเลี้ยง แตก
                            ต่างกัน จึงจำเป็นต้องระวัง( ส่วนใหญ่ที่
                            นำมาขายในบ้านเราจะอยู่นำแล้ว).

     
คห.92: 3 พ.ย. 50, 22:06
COSMOCHILUS HARMANDI.
ตะกาก , หมากบาน ( ลาว )
แหล่งที
COSMOCHILUS HARMANDI.
ตะกาก , หมากบาน ( ลาว )
แหล่งที่พบ = แม่นำเจ้าพระยา , แม่นำโขง.
ยาว = 1 เมตร.
อาหาร = บางตำราเป็น HERBIVORES.(กินพืช) , บางตำราเป็น OMNIVORES(กินทั้งพืชและสัตว์ - ซึ่งสัตว์ที่ว่าเป็นสัตว์เปลือแข็งขนาดเล็ก เช่น หอย เป็นต้น) ผมว่าน่าจะมีความเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่างครับผม.
สวัสดีครับน้าพรานระพิน. เชิญตามสบายครับผม กลายเป็นตอนนี้เริ่มติดใจแล้วครับ ยอมรับว่าดีใจมากๆครับที่กระทู้ผมมีคนติดตาม แต่ส่วนตัวยอมรับนะครับ บางครั้งกลัวจะทำให้น้าๆบางท่านผิดหวัง หากน้าๆโพสท์ภาพปลามาถามผมแล้วผมหาคำตอบให้ไม่ได้ ผมอยากจะให้น้าๆทุกท่านรับผมเป็นส่วนนึงของชาวเว็บที่ชอบเลี้ยงปลาครับผม ไม่ได้เก่งกาจอะไร ถือว่ามีคนๆนึงมาโพสท์ภาพปลาให้ชมก็แล้วกันนะครับ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้น้องๆเด็กๆเข้ามาชมแล้วติดตามไปเรื่อยๆ ผมจะพยายามสอดแทรกรายละเอียดที่คิดว่า เป็นหลักทั่วไปในการดูลักษณะปลาจากภายนอก ข้อสังเกตว่าเป็นไปได้มั๊ยอย่างนี้. ขอบคุณอีกครั้งครับน้าที่เข้ามาชมกระทู้ของผมครับ ก่อนจากขอฝากไว้ประโยคนึงเป็นคำขวัญส่วนตัวใหม่ของผมครับ
" DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
คห.93: 6 พ.ย. 50, 19:54
AMBLYRHYNCHICHTHYS TRUNCATUS.
ชื่อไทย = ตามิน.
ขนาด = 40 ซม.
AMBLYRHYNCHICHTHYS TRUNCATUS.
ชื่อไทย = ตามิน.
ขนาด = 40 ซม.
แหล่งที่พบ = ลุ่มแม่นำ เจ้าพระยา แม่นำโขง คาบสมุทรมาเลย์ สุมาตรา  ตะวันตก และ ทางใต้ ของบอร์เนียว.
อาหาร = เป็นOMNIVORES.คือกินทั้งพืชและสัตว์(สัตว์ ในความหมายนี้เป็น แพลงค์ตอน)แต่สัดส่วนของพืช/สัตว์ = 80/20.
ช่วงเวลาวางไข่ = จากการสำรวจในเขื่อน สิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์ ปลาจะวางไข่ในช่วง เดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน.
"DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
คห.94: 7 พ.ย. 50, 21:01
COILIA LINDMANNI.
ชื่อไทย = หางไก่.
ถิ่นที่อยู่ =
COILIA LINDMANNI.
ชื่อไทย = หางไก่.
ถิ่นที่อยู่ = ในข้อมูลพบใน เวียตนาม ไทย ตะวันออกเฉียงใต้ของสุมาตรา. ส่วนในไทย มีรายงานพบในบึงบอระเพ็ด และจากรายงานการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบางปะกงในช่วงปี2547. หรือจากรายงานเรื่องประเด็นปัญหาและสภาวะวิกฤตของนิเวศลุ่มนำบางปะกงในปี2545.กับปี2548.  ได้กล่าวว่าปลาหางไก่เป็นอีกสายพันธุ์นึงที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์.
ความยาว = ในบางตำราระบุ 4-5ซม. แต่ก็มีบางเว็บอ้างอิงว่าเค้ายาวได้ถึง 20 ซม.
หมายเหตุ = ที่น่าเสียดายคือไม่มีรายงานถึงช่วงเวลาในการผสมพันธุ์และวางไข่ครับผม. ถ้าน้าๆท่านใดมีรายละเอียดรบกวนช่วยโพสท์มาแจ้งให้ทราบด้วยครับผม.
คห.95: 8 พ.ย. 50, 09:09
SETIPINNA MELANOCHIR.
ชื่อทั่วไป = DUSKY-HAIRFIN ANCHOVY.หรือ ปลา
SETIPINNA MELANOCHIR.
ชื่อทั่วไป = DUSKY-HAIRFIN ANCHOVY.หรือ ปลาแมวหูดำ.
ขนาด = 33 ซม.
แหล่งที่พบ = พบได้ทั้งปากแม่นำ และแม่นำขนาดใหญ่ทั้งเจ้าพระยา ม.โขง หรือ แม้แต่ในอินโดนีเซีย ผมขออนุญาตอ้างอิงจากFISHBASE. มีการบันทึกว่าปลาชนิดนี้สามารถอพยพจากทะเลเข้ามาในแม่นำได้ตั้งแต่ 90-210 กิโลเมตร.ปลาชนิดนี้กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนักในวงกว้าง ลักษณะที่โดดเด่นจาก สกุลปลาหางไก่ และ สกุลปลาแมวเขี้ยว คือ สีดำที่ครีบหู (PECTORAL FIN.) ที่ติดตัวมา แต่จะค่อยจางหายไปในตัวโตเต็มวัยครับ.
อาหาร = กินแมลง และลูกปลาขนาดเล็ก.
หมายเหตุ = จากที่ได้หาข้อมูลคร่าวๆในไทยแล้ว พบว่ามีการสำรวจลุ่มนำสงครามในปี2544-2546ได้พบปลาชนิดนี้อยู่และที่น่ายินดีสุดๆคือ พบปลาหมากผางที่นี่ด้วย "ปลาหมากผาง"จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์สุดๆครับอีกชนิดนึงส่วนปลาแมวหูดำชนิดนี้ก็เข้าข่ายใกล้จะสูญพันธุ์ ยอมรับตรงๆว่าไม่อยากค้นคว้าหาว่าพบในไทยส่วนไหนให้ชมจริงๆครับ เพราะข้อมูลบางอย่างที่ได้มามันเหมือนดาบสองคมครับน้า คือมีข่าวที่เขาโพสท์ให้อ่านเล่นๆจากต่างประเทศเกี่ยวกับ "การสูญพันธุ์" ของปลาทั่วโลก แต่วิธีนึงที่ทำให้สูญพันธุ์ มาจากการตกปลาที่ไม่คำนึงถึงผลเสียอะไรเลย. ซึ่งมีการยอมรับว่าไม่สามารถควบคุมได้ แต่ขอเสริมส่วนตัวนะครับ แต่สิ่งเหล่านี้เรารับทราบข้อมูลได้ เพียงอย่าปิดใจตัวเอง ปลาไทยสมัยก่อนที่ผมพอทราบจาก ดร.ปกรณ์(ขออนุญาตเอ่ยนามท่าน) ท่านบอกว่ามีกว่า500 สายพันธุ์ ปัจจุบันเหลือ 200กว่าๆ อันนี้สิครับน่าตกใจ แต่ผมไม่ได่ว่าเกิดจากการตกปลา หรือ หาปลาทั้งหมดนะครับ เดี๋ยวจะเข้าใจผมผิดไปกันใหญ่มันมีทั้งปัจจัยทางตรง และทางอ้อม เช่น สมัยก่อนบ้านเรามีแหล่งนำท่วมถึง(FLOODPLAIN.) ตรงแถวๆภาคกลางซึ่งจากที่ผมทราบมาว่า ปลาหลายชนิดที่สูญพันธุ์เข้ามาวางไข่ หนึ่งในนั้นก็คือ "ปลาฉลามหางไหม้ของไทย" ที่ผมเคยลงรายละเอียดไปบ้างแล้วนั้นละครับ ในปัจจุบันที่แห่งนี้ก็ยังเป็นที่นำท่วมถึงเหมือนกันครับ แต่เป็นบ้านคนนะครับ. น้าๆหลายท่านที่พอจะเข้าใจรายที่ผมเคยพิมพ์ไว้คือ " DISAPPEARANCE OF ONE SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES." ก็คือว่า " การหายไปของปลาชนิดนึงอาจจะนำไปสู่การลดลงของปลากลุ่มนึงในอีกชนิดหนึ่ง " วัฏจักร หรือ ห่วงโซ่ ของธรรมชาติ มันเป็นอะไรที่ละเอียดและลึกซึ้งเกินกว่าที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมด เพราะปลาบางอย่างที่เราถูกแต่งแต้มลงในธรรมชาติบางชนิด บางสกุล ไม่ใช่สายเลือดไทยนะครับ จึงอยากฝากรายละเอียดเหล่านี้ไว้ให้น้องๆรุ่นหลังๆไว้ด้วยครับผม ขอบคุณนะครับน้าๆที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
หมายเหตุ = น่าเสียดายอีกละครับที่กลับไม่มีข้อมูลรายละเอียดในช่วงเวลาผสมพันธุ์และช่วงเวลาที่ปลาวางไข่ครับผม.
คห.96: 8 พ.ย. 50, 09:12
ส่วนภาพนี้ดูเป็นภาพวาดแต่น่าจะชัด
ส่วนภาพนี้ดูเป็นภาพวาดแต่น่าจะชัดกว่านะครับสำหรับ " ปลาแมวหูดำ".
คห.97: 8 พ.ย. 50, 20:05
อันนี้ถือเป็นความผิดพลาดและอาจจะท
อันนี้ถือเป็นความผิดพลาดและอาจจะทำให้คนอื่นผิดพลาดไปด้วยครับน้าเลยอยากจะแก้ไขสิ่งที่ตนเองบอกผิดครับ " ปลาไทยมีจริงๆประมาณ700 กว่าๆชนิดลดลงไปประมาณ200กว่าๆ" อันนี้ผมจำผิดพลาดเองครับจากที่บอกไว้ว่ามี500กว่าๆแล้วลดเหลือ200กว่าๆ ต้องขอประทานโทษอย่างแรงเลยครับน้า. เพราะวันนี้บังเอิญเข้าไปเจอ ด็อคเตอร์ส่วนตัวผมจะเรียกท่านว่าอาจารย์ครับ ก็เลยถามท่านว่าอันนี้จริงๆเป็นอย่างไร ท่านก็เลยบอกมาว่าต้องแก้ไขให้เขาเข้าใจกันนะ คุยไปคุยมาท่านเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบ และท่านยังบอกผมเลยว่าด็อคเตอร์อีกท่านเป็นศิษย์เก่าคริสเตียน. อ้าวงั้นก็รุ่นพี่เราสิ.
 
คห.98: 10 พ.ย. 50, 09:11
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ.
เราเคยเห็นปลามังก
เกร็ดเล็กๆน้อยๆ.
เราเคยเห็นปลามังกร หรือ สกุลปลาอะโรวาน่า มีลิ้นใช้มั๊ยครับ แต่ยังมีปลาอีก2 สกุล ที่มีลิ้นและก็มีฟันอยู่บนลิ้นด้วย?
คำตอบคือ สกุลปลากราย( CHITALA ) และในสกุลปลาสลาด( NOTOPTERUS) อย่างที่ได้กล่าวมาเกริ่นๆว่า ปลาทั้ง2สกุลนี้มีฟันอยู่บนลิ้นด้วย และลิ้นมีหน้าที่ผลักดันอาหารลงสู่ช่องคอ.
คห.99: 10 พ.ย. 50, 21:11
ได้มีโอกาสเข้าไปชมรายละเอียดต่างๆ
ได้มีโอกาสเข้าไปชมรายละเอียดต่างๆของปลาไทยที่น้าบางท่านจากเว็บต่างๆได้โพสท์ลงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆให้กับผู้หลงใหลในการเลี้ยง หรือ การตกก็แล้วแต่ ส่วนตัวผมถือว่าเป็นคุณประโยชน์ทั้งนั้น แต่ส่วนนึงที่ผมยังเป็นห่วงสำหรับนักสะสมปลาไทย หายาก บางท่านสามารถทะนุทะนอมเขาได้จนลงตู้และเลี้ยงได้รอดจนถึงทุกวันนี้ กับบางท่าน หรือ บางร้านใช้วัดดวงเอาโดยไม่มีการเช็คค่านำต่างๆ อันนี้น่าเป็นห่วงครับ อาศัยปลาช่วยตัวเอง รอดก็รอด ไม่รอดก็มาเอาใหม่ อย่างนี้คงไม่ดีแน่นะครับ พูดซะยืดยาวเลย วันนี้จะลองดูคงอาจจะมีซำแน่นอนเลยเรา.ขอพูดถึงสกุลปลานำหมึก (GENUS OPSARIUS.) จากรายละเอียดที่พบใน ม.โขง หรือ ลุ่มนำบางแห่ง หรือ นำตกบางที่ เอาเป็นว่าตัวที่ได้รับความสนใจคงหนีไม่พ้น OPSARIUS KORATENSIS. กับ OPSARIUS PULCHELLUS.แต่ก่อนที่เราจะเข้าไปดูในแต่ละชนิด( SPECIES.)นั้น เรามาดูลักษณะเด่นๆร่วมของสกุลนี้ก่อนดีกว่านะครับ.
1) มีแนวแถบสีรูปร่างคล้ายลักษณะเป็นแท่งตรั้งตรงตลอดทั้งสองข้างของตัวปลา.
2) เส้นข้างลำตัว( LATERAL LINE.)ที่อยู่ครึ่งล่างของลำตัวลงมาโดยวัดตามยาวจากการแบ่งครึ่งขอดหาง จะได้ส่วนบน และล่างตามยาวให้นึกภาพว่าเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และแบ่งครึ่งความสูง เป็นต้นนึกภาพออกแล้วนะครับ ในปลาสกุลนี้เส้นข้างลำตัวจะอยู่ส่วนล่างหรือครึ่งล่าง ปลาบางชนิดมีเส้นข้างลำตัวอยู่ด้านบน หรือ อยู่ตรงกลาวลำตัวพอดีครับผม.
3)มีหนวดเส้นเล็กบางมากๆครับ.
OPSARIUS KORATENSIS.
ชื่อทั่วไป = ปลานำหมึก.(ขออนุญาตไม่เสริมต่อจากนำหมึกนะครับ เพราะในรายงานของอาจารย์ไม่ได้ระบุอะไรเพิ่มครับผม)
ขนาด = โดยเฉลี่ย 10 ซม.
แหล่งที่พบ = พบในแหล่งนำไหลทั้งใน ม.โขง และ ม.เจ้าพระยา.
อาหาร = แมลงนำขนาดเล้กต่างๆ.
คห.100: 10 พ.ย. 50, 21:14
รูปนี้เป็นภาพวาด ที่โพสท์คู่เพื่อจ
รูปนี้เป็นภาพวาด ที่โพสท์คู่เพื่อจะได้เห็น รายละเอียดที่ผมพูดถึงอย่าง LATERAL LINE. ได้ชัดเจนขึ้น และเพื่อสังเกตถึงข้อแตกต่างของปลาทั้งสองชนิดได้ง่ายขึ้นอีกหน่อยนะครับ.
<12345>>>
siamfishing.com © 2024