พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 229 อ่าน 412,524 โหวต 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.76: 3 ก.ค. 55, 22:37
ขอเพิ่มเติมปลาหมูที่ตกหล่นไปนะคับ
ขอเพิ่มเติมปลาหมูที่ตกหล่นไปนะคับ

ปลาหมูข้างลาย
ชื่อสามัญ  Tiger botia

ชื่อวิทยาศาสตร์  Syncrossus  hymenophysa  (Bleeker, 1852)

ลักษณะทั่วไปของปลาหมูลาย

                  เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ปลางวง เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามดินดาน หรือ ดินทราย ที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ ชอบอยู่ตามซอกหรือตามโพรง ลำตัวมีสีสันสวยงดงาม ลำตัวป้อม ด้านข้างแบน จะงอยปากเล็กเรียว ตรงปลายมีหนวดเป็นกระจุก ปากมีขนาดเล็ก ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลม ปลายแยกเป็นสองแฉก ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ขนาดของครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีเหลืองแกมเขียวมีริ้วสีน้ำเงินเข้มพลาดขวางลำตัวประมาณ 11 แถบ ครีบหู และครีบก้นเป็นสีเหลือง ขนาดใหญ่ที่พบมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดที่พบส่วนมากมีขนาด 12-15 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

                  ปลาหมูข้าลาย พบแพร่กระจายทั้งใน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม บึงบอระเพ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในแม่น้ำโขง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.77: 3 ก.ค. 55, 22:39
ปลาหมูหางแดง

ชื่อสามัญ  Redtail botia

ชื่อ
ปลาหมูหางแดง

ชื่อสามัญ  Redtail botia

ชื่อวิทยาศาสตร์ Yasuhikotakia  modesta  (Bleeker, 1864)

ลักษณะทั่วไปของปลาหมูหางแดง

              เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวเรียวยาว มีขนาดประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนหลังโค้งลาดมายังส่วนหัวและส่วนหาง จะงอยปากเรียวแหลม ปากเล็ก ริมฝีปากบนมีหนวดสั้นอยู่ 3 คู่ ตาเล็ก มีเงี่ยงแหลมปลายแยกเป็น 2 แฉกอยู่หน้าตา ใช้ในการต่อสู้ และป้องกันตัว ครีบหลังใหญ่ ครีบหางปลายแยกเป็นแฉก ส่วนครีบหู ครีบท้อง และครีบก้นมีลักษณะปลายมน สีของลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาเข้ม ท้องสีเทา มีแถบสีดำจางที่โคนครีบหาง กินตัวอ่อนแมลง และหนอนที่อยู่ตามโคลนตม ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามบริเวณพื้นโคลน ตอไม้ รากไม้ และซอกหินใต้น้ำ

การแพร่กระจาย
              ปลาหมูหางแดงพบมากในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง


jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.78: 3 ก.ค. 55, 22:40
ชื่อสามัญ  Red tail หรือ Tinfoil barb 

 ปลาตะเพียน
ชื่อสามัญ  Red tail หรือ Tinfoil barb

ปลาตะเพียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Barbonymus  altus  (G&uuml;nther, 1868)

ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนทอง

              ลำตัวเป็นสีน้ำตาลทองซึ่งในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีสีลำตัวเป็นสีเหลืองทอง ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับปลาตะเพียนขาว คือ ลำตัวแบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากขอบส่วนโค้งยกสูงขึ้น ความยาวของลำตัวเท่ากับ 2.5 เท่าของความสูง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็ก ๆ 2 คู่ ลำตัวเป็นสีเงิน ส่วนหลังมีสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาว โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ปลาตะเพียนทองมีสีสวยงามกว่า ที่ฐานของครีบหางเป็นสีแดงส้ม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบก้นมีสีส้ม ซึ่งสีลดลงเมื่อปลาอายุมากขึ้น การกินอาหารกินพืช และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วางไข่ในฤดูฝน โดยวางไข่บริเวณน้ำไหล เป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย

การแพร่กระจาย

              ปลาตะเพียนทองอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบ นอกจากนี้ยังพบแพร่กระจายอยู่ ลาว กัมพูชา มลายู  และ อินโด
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.79: 3 ก.ค. 55, 22:42
ปลากาแดง

ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow 

ชื่อวิ
ปลากาแดง

ชื่อสามัญ Rainbow sharkminnow

ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  frenatum  (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลากาแดง

            ปลากาแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กาแดงนคร อยู่ในสกุลเดียวกับปลาทรงเครื่องดูคล้ายปลาทรงเครื่องมาก แต่แตกต่างที่ลำตัวค่อนข้างยาว เรียวกว่า ตัวไม่ดำอย่างปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่มีลักษณะ มีรูปร่างยาวเพรียว คล้ายฉลาม หัวเล็กปากเล็ก มีหนวด 4 เส้น ครีบมีขนาดใหญ่ และสูง จัดเป็นปลาที่สวยงามชนิดเนื่องจากมีครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงสด หรือ สีส้มอมแดง ตัดกับลำตัวสีดำ มีเส้นสีดำคาดตา และจุดสีดำรูปไข่  บริเวณโคนที่คอดหาง ในอดีตจับได้จำนวนมากจากแม่น้ำโขง ที่จังหวัดนครพนม จึงได้ชื่อว่า “กาแดงนครพนม” และพบที่แม่น้ำสงคราม กินอาหารจำพวกสาหร่าย และตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน แพลงก์ตอนสัตว์ และเศษพืชเน่าเปื่อย ปลาชนิดนี้มีขนาดเล็กเพียง 12 เซนติเมตรเท่านั้น

การแพร่กระจาย

              ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบในแม่น้ำภาคกลางตั้งแต่ แม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง และแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี กาญจนบุรี ภาคเหนือที่สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่แม่น้ำโขง


jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.80: 3 ก.ค. 55, 22:45
ปลาทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ  Redtail sharkminnow
ปลาทรงเครื่อง

ชื่อสามัญ  Redtail sharkminnow


ชื่อวิทยาศาสตร์ Epalzeorhynchos  bicolor  (Smith, 1931)

ลักษณะทั่วไปของปลาทรงเครื่อง

            ลักษณะของปลาทรงเครื่องจะมีลำตัวยาวเรียว จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาค่อนข้างโต ว่ายน้ำปราดเปรียว ลำตัวแบนข้าง มีสีดำหรือน้ำเงินเข้มปนดำ ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบสูง และมีขนาดใหญ่สะดุดตา  ครีบหางมีขนาดใหญ่ และเว้าลึกเป็นแฉกสีแดง หรือแดงอมส้ม และครีบอื่น ๆ มีสีเทาจาง ปลาทรงเครื่องมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากบนงุ้ม ยาวกว่าริมฝีปากล่าง ปากอยู่ในระดับขนานกับพื้นท้องน้ำ ขอบของริมฝีปากบนมีลีกษณะเป็นขอบครุย บริเวณข้างลำตัวมองเห็นจุดสีดำอยู่ข้างละ 1จุด อยู่เหนือครีบอก มีความยาวประมาณ 9-10 ซม. ตัวใหญ่มาก ๆ ที่พบมีขนาดประมาณ 12 ซม. ในวงการปลาสวยงามเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาฉลามหางแดง เพราะมีหุ่นเพรียวเป็นปลาที่ปราดเปรียว และว่องไว คล้ายฉลาม ปลาทรงเครื่องเป็นปลาปากคว่ำ ชอบซอนไซ้หากินตามพื้นตู้ ก้นบ่อ และชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินอาหารพวกสาหร่าย ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหิน

การแพร่กระจาย

          ปลาทรงเครื่อง ตามประวัติพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น พบในลุ่มน้ำแม่กลองที่กาญจนบุรี เจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด และบางปะกง เคยเป็นหนึ่งในชนิดพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จัดให้อยู่ในสถานภาพของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แต่ในปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้


jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.81: 3 ก.ค. 55, 22:48
ต่อไปจะเป็นประเภทปลา เสือ นะคับ

ปล
ต่อไปจะเป็นประเภทปลา เสือ นะคับ

ปลาเสือสุมาตรา
ชื่อสามัญ Tiger barb

ชื่อวิทยาศาสตร์  Puntius  partipentazona  (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ

          ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปลำตัวมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ ตั้งแต่หัว หน้าครีบหลัง บนครีบหลัง เหนือครีบก้น และปลายคอดหาง  บริเวณปลายครีบมีสีส้ม  ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา และมีความว่องไว ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ปลาตัวผู้มีสีเข้มสดใส ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ แต่มีนิสัยก้าวร้าว โตเต็มที่มีขนาด 5 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

            ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณหมู่เกาะสุมาตราบอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณ แม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาคของไทย

การเพาะพันธุ์ปลาเสือสุมาตรา
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

          ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวแลดูยาว และแบนข้างมากกว่าตัวเมีย บริเวณปาก และครีบ มีสีออกแดง ส่วนตัวเมียมีลำตัวใหญ่ และป้อมกว่า ส่วนบริเวณปากมีสีไม่เข้มเหมือนตัวผู้ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

การเพาะพันธุ์

          ปลาเสือสุมาตราเพาะพันธุ์โดยการวางไข่ ไข่จะมีส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ไข่มีสีออกค่อนข้างเหลือง ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด ลูกปลาใช้เวลาในการฟักตัวออกจากไข่ประมาณ 36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตู้เพาะพันธุ์ควรใช้ตู้ปลาขนาด 12x20 นิ้ว โดยใส่สาหร่ายลงในตู้ เพื่อให้ไข่ปลาเกาะได้ น้ำควรเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และกำจัดคลอรีนแล้ว เมื่อเตรียมอุปกรณ์ พร้อมแล้วให้นำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในตู้ ปกติปลาชนิดนี้ไข่ในช่วงเช้ามืด จำนวนไข่ในแต่ละคอกเฉลี่ยประมาณ 200-300 ฟอง เมื่อพบปลาวางไข่เป็นที่เรียบร้อย แล้วให้ตักพ่อแม่ปลาออก

การอนุบาลลูกปลา

          เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร ประมาณ 2 วัน ลูกปลายังคงใช้อาหารสำรอง และเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ควรให้อาหารโดยใช้ไข่ต้มสุกแล้วนำเฉพาะไข่แดงมาบดให้ละเอียด แต่อย่าให้อาหารปลามากจนเกินไปเพราะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย หรือถ้ามีโรติเฟอร์ก็ควรให้กินในระยะนี้ เพราะทำให้ลูกปลามีอัตราการรอดตายสูงขึ้น หลังจากนั้นควรเริ่มให้ลูกไรเป็นอาหารอาหารสำหรับลูกปลา ปลาเสื่อสุมาตรา สามารถกินได้แทบทุกชนิด รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.82: 3 ก.ค. 55, 22:52
ปลาเสือตอ
ชื่อสามัญ  Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datn
ปลาเสือตอ
ชื่อสามัญ  Tiger fish , Siamess tigerfish , Gold datnoid

ชื่อวิทยาศาสตร์  Datnioides  undecimradiatus  (Roberts & Kottelat, 1994)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือตอ

              ปลาเสือตอเป็นปลาในวงศ์ Family Lobotidae ซึ่งปลาในวงศ์นี้ ในแหล่งน้ำจืดของประเทศไทย พบเพียง 2 ชนิด คือ ปลาเสือตอ และปลากระพงลาย ปลาทั้งสองชนิดมีรูปร่างคล้ายกันมากต่างกันที่ลายบนตัวปลาซึ่งในปลาเสือตอมีเส้นลายดำพาดขวางประมาณ 6 แถบ แต่ในปลากระพงลายเส้น ลายดำมีถึง 8-10 แถบ และสีของปลาเสือตอเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ส่วนของปลากระพงลาย เป็นสีเงินอมเทา ปลาเสือตอเป็นปลาที่มีรูปร่างค่อนข้างแปลก หัวแหลมท้ายกว้าง ลำตัวค่อนข้างลึกแบนข้าง ลำตัวสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อน จุดเด่น คือ มีลายดำพลาดขวางลำตัว 6 ลาย จะงอยปากยื่นยาว ปากกว้างสามารถยืดหดได้ ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ ส่วนหัวลาดลงเป็นปลายแหลม และมีครีบ 7 ครีบ ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแหลมแข็งแรง 12 อัน  ครีบท้อง 1 คู่ อยู่ใต้ครีบอก ครีบก้นเป็นหนามแข็ง 3 อัน และส่วนที่เหลือเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางมีลักษณะกลมแบบพัด ในแหล่งน้ำธรรมชาติพบมีความยาวประมาณ 40 ซม. สำหรับปลาเพศผู้หรือเมียค่อนข้างดูยาก

              ปลาเสือตอที่พบในประเทศไทยมีลายบนตัวแตกต่างกันเป็น 2 พวก โดยพวกแรกมีลายสีดำที่มีขนาดใหญ่ พื้นที่ของเส้นดำกลางตัวกว้างพอ ๆ กับส่วนของสีพื้น ซึ่งเป็นสีอ่อน มักรู้จักในชื่อเฉพาะว่า “ปลาเสือตอลายใหญ่” และอีกชนิดหนึ่งลักษณะเส้นของลายดำที่พาดแต่ละเส้นมีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่าชนิดลายใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่านั้น ปลาลายเส้นเล็กนี้เป็นปลาที่พบทั่วไปเป็นส่วนใหญ่เรียกว่า “ปลาเสือตอลายเล็ก” ตามธรรมชาติปลาเสือตอชอบหากินอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-3 เมตร ไม่ชอบที่มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นหนาแน่น แต่ชอบอยู่ในที่มีเสาหลัก ต่อไม้ใต้น้ำ อุปนิสัยคอยจ้องจับเหยื่อโดยแฝงตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ซึ่งการชอบอาศัยอยู่ที่ตอไม้นี่เอง จึงถูกเรียกว่าปลาเสือตอ อาหารของปลาเสือตอ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก และลูกกุ้ง การกินอาหารของปลาเสือตอโดยการพุ่งเข้าฮุบเหยื่ออย่างว่องไว ขณะที่กินอาหารปลาจะมีสีที่สดใส และมักกางหนามของครีบหลังตั้งขึ้น เป็นปลาที่มีประสาทตาไว คอยระมัดระวังตัวอยู่เสมอ ปลาเสือตอเป็นปลาที่รักสงบไม่ก้าวร้าวสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายตัว และสามารถเลี้ยงปนกับปลาอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้ ปลาเสือตอในภาคกลาง ปัจจุบันนี้ได้ลดจำนวนลงมาก และกำลังจะสูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง             

              ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสาน เป็นปลาเสือตอลายเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า "เสือตอลายเล็ก" พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ในแม่น้ำมูล มีจำนวนค่อนข้างมาก  ราคาซื้อขายขนาดเล็ก 2 นิ้วฟุต ตัวละ 20-50 บาท

              ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ปลาเสือตอทั้ง 2 ชนิด นี้ต้องนำเข้ามาจากประเทศเขมร เป็นปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ทะเลสาบในประเทศเขมร โดยมีพ่อค้าคนกลางเก็บรวบรวม ปลาเสือตอทุกขนาดลำเลียงเข้ามาในประเทศไทย เพื่อขายส่งต่อไปยังต่างประเทศทั่วโลกเป็นสินค้าปลาสวยงามนิ้วละ 60-100 บาท

การแพร่กระจาย

              การแพร่กระจายของปลาเสือตอ มีชุกชุมบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ในแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีพบที่แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง ส่วนในต่างประเทศพบที่ กัมพูชา สุมาตรา พม่า บอร์เนียว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.83: 3 ก.ค. 55, 22:56
ปลาเสือพ่นน้ำ

ชื่อสามัญ  Archer fish

 ชื่อ
ปลาเสือพ่นน้ำ

ชื่อสามัญ  Archer fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes  chatareus  (Hamilton, 1822)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ

              ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัว และลำตัว ประกอบด้วยจุดสีดำกลม หรือรี จำนวน 6-7 จุด ครีบหางตัดตรงมีสีส้มอมเหลือง ครีบหลัง และครีบก้นมีสีเหลืองขอบเป็นสีดำ จะงอยปากแหลม ตามีขนาดใหญ่ค่อนไปทางด้านบน จึงมีความสามารถมองเห็นเหนือผิวน้ำได้ดี ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ลำตัวรูปทรงขนมเปียกปูน ป้อมสั้น แบนข้าง โดยเฉพาะท้องแบนเป็นสัน บริเวณท้องมีสีเงิน ลำตัวสีเหลืองลายดำเหมือนเสือ จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือ มีขนาดลำตัวทั่วไปยาวเฉลี่ยไม่เกิน 20 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 25 ซม. การแยกเพศสังเกตจากลักษณะภายนอก เพศเมียมีช่วงท้องยาวกว่าเพศผู้ ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำขึ้นมาตามผิวน้ำหรือระดับใต้ผิวน้ำพอดี การเคลื่อนที่ในระยะยาวมักเคลื่อนไปในแนวเส้นตรง และมองเห็นน้ำแยกเป็นทางที่ปลายขอบกระพุ้งแก้ม จนทำให้สามารถรู้ว่ามีปลาว่ายน้ำในบริเวณนั้น การที่ปลาเสือพ่นน้ำ มีนิสัยว่ายน้ำแบบนี้เนื่องจาก ปลาต้องคอยมองหาเหยื่อที่จะกินเป็นอาหารส่วนมากเป็นแมลงขนาดเล็ก ๆ และอีกประการหนึ่งเนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในบริเวณปากอ่าวปากแม่น้ำที่น้ำมีความขุ่นสูง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้สายตาในน้ำมีจำกัด ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์ โรติเฟอร์ ตัวอ่อนแมลงน้ำ ลูกกุ้ง สัตว์จำพวกมด และแมลง สามารถฝึกให้กินเนื้อปลาสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้  นอกจากนี้ปลาเสือพ่นน้ำมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการกินแมลง โดยมีวิวัฒนาการทำให้เหงือกเกิดช่องใต้เพดานปาก เพื่อสามารถพ่นน้ำออกไปได้เป็นลำด้วยแรงอัดของแผ่นปิดเหงือก

การแพร่กระจาย

                ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศแถบตะวันออก เช่น หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า และอินเดีย ในประเทศไทยพบอยู่ตามแม่น้ำ และลำคลอง หนอง บึง ที่มีการเชื่อมต่อกับแม่น้ำ และพบมากในบริเวณปากแม่น้ำ ปลาเสือพ่นน้ำพบชุกชุมในเขตภาคกลาง และภาคใต้
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.84: 3 ก.ค. 55, 22:58
ตก ปลาสร้อยไป  ขอเพิ่มนะคับ  :grin:
ปลาสร
ตก ปลาสร้อยไป  ขอเพิ่มนะคับ 
ปลาสร้อยขาว (อังกฤษ: Siamese mud carp) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร

ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย"

มีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น ส้อยหัวกลม ในภาษาอีสาน, หรือ กระบอก ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.85: 3 ก.ค. 55, 23:00
ปลาสร้อยนกเขา

ชื่ออื่นๆ ขี้ขม , ซ่า ,
ปลาสร้อยนกเขา

ชื่ออื่นๆ ขี้ขม , ซ่า , นกเขา , พรมหัวเหม็น (ภาคกลางและภาคใต้) , อีไทย (ภาคเหนือและอีสาน) , อิกันตูโบ (มลายู)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Osteochilus hasseltii (Valenciennes, 1842)

ชื่ออังกฤษ Nilem carp, Carp, Javakarpe

ถิ่นอาศัย พบในทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบในประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะอินดีสตะวันออก

ขนาด มีขนาด 15-20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 30 เซนติเมตร

ลักษณะ ปลาสร้อยนกเขาจัดเป็นปลากินพืช(Herbivorous) ปลาน้ำจืดมีเกล็ด ลำตัวค่อนข้างแบน ปากเล็ก มีหนวด 2 คู่คือที่บริเวณ ขากรรไกรบน และใต้คางอย่างละ 1 คู่ จากข้อมูลลักษณะภายนอก ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย ปลาสร้อยนกเขาที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ตลอดข้างลำตัวมีจุดสีดำเรียงกระจายต่อกันเป็นแนวจากหลังช่องเหงือกจรดโคนหาง พบจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนครีบหาง พบจุดสีส้มประกระจายบริเวณด้านหน้าของลำตัว บริเวณส่วนท้องมีสีขาว ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น ครีบหลัง และครีบหางมีสีแดง ดวงตามีขนาดปานกลาง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.86: 3 ก.ค. 55, 23:02
ต่อไปเป็นตระกูลปลาหมอ นะคับ

ปลาหม
ต่อไปเป็นตระกูลปลาหมอ นะคับ

ปลาหมอ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anabas testudineus ในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) มีรูปร่างป้อม ลำตัวแบนข้าง ตาโต ปากกว้าง ขอบฝาปิดเหงือกหยักแข็ง เกล็ดใหญ่คลุมทั้งลำตัว มีขอบเกล็ดแบบหยัก ผิวสาก เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหลังยาวเกือบเท่าความยาวลำตัว มีก้านครีบแข็งแหลมคมจำนวนมากเช่นเดียวกับครีบก้น แต่ครีบก้นสั้นกว่า ครีบอกเล็กเป็นรูปไข่ ครีบหางปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกและมีลายประสีคล้ำที่ข้างลำตัว ครีบใส ลำตัวด้านท้องมีสีเหลือง ขอบฝาปิดเหงือกตอนบนมีแต้มสีคล้ำ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นแผ่นริ้วย่น ๆ อยู่ตอนบนของของช่องเหงือก จึงสามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ออกซิเจนละลายในน้ำ และสามารถอยู่บนบกหรือพื้นที่ขาดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งในฤดูฝนบางครั้งจะพบปลาหมอแถกเหงือกไถลคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ ด้วยความสามารถอันนี้ในภาษาอังกฤษจึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "Climbing perch" หรือ "Climbing gourami"

ความยาวยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ใหญ่สุดพบถึง 20 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับที่วางไข่ โดยวางไข่ลอยเป็นแพ แต่จะปล่อยให้ลูกปลาเติบโตขึ้นมาเอง

ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน และมีความเชื่อว่าหากปล่อยปลาหมอจะทำให้ไม่เป็นโรคหรือหายจะโรคได้ ด้วยชื่อที่มีความหมายถึงหมอหรือแพทย์ผู้รักษาโรค และนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งในปลาที่มีสีกลายไปจากสีปกติ เช่น สีทองยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่มีราคาขายแพงอีกด้วย

มีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาหมอไทย, ปลาเข็งหรือสะเด็ดในภาษาอีสาน เป็นต้น
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.87: 3 ก.ค. 55, 23:03
ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปล
ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis mossambicus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีปากกว่าที่ยื่นยาวกว่า และไม่มีลายบนครีบ

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 โดยผ่านมาจากปีนัง แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคของปลาหมอเทศสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่อจากเนื้อค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.88: 3 ก.ค. 55, 23:05
ปลาหมอตาล (อังกฤษ: Kissing gourami) หรือที่นิยม
ปลาหมอตาล (อังกฤษ: Kissing gourami) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาจูบ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ในวงศ์ Helostomatidae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้

มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้ ริมฝีปากหนา นัยน์ตาอยู่ในระดับเดียวกันกับมุมปาก มีเกล็ดขนาดปานกลางปกคลุมส่วนหัวและลำตัว ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็งและอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 5 ซี่ เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบท้องและครีบก้นยาว ลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หลังมีสีเทาปนดำ ท้องสีขาว มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาในวงศ์ Osphronemidae จึงสามาถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่ต่ำได้

ปลาหมอตาล มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีพฤติกรรมที่แปลกไปกว่าปลาชนิดอื่น คือ เมื่อจะต่อสู้หรือข่มขู่กัน จะใช้ปากตอดกันคล้ายกับการจูบที่แสดงออกถึงความรักของมนุษย์จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาจูบ" วางไข่แบบไข่ลอยบนผิวน้ำ

พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำทั่วไปรวมถึงนาข้าวหรือท้องร่องสวนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12-20 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 30 เซนติเมตร สำหรับในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน่าน และพบบางส่วนในป่าพรุทางภาคใต้

กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์น้ำตลอดจนถึงแมลงและแพลงก์ตอน โดยใช้ปากที่ยืดหดได้นี้ตอดกิน จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเพื่อความเพลิดเพลินและทำความสะอาดภายในตู้ปลา โดยนิยมเลี้ยงกันในตัวที่มีสีพื้นลำตัวเป็นสีขาวนวลหรือสีชมพู ในขณะที่ปลาที่มีสีตามธรรมชาติจะนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจเพื่อการบริโภค

นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ใบตาล, อีตาล, ตาล, ปากง่าม, อีโก๊ะ หรือ วี ในภาษาใต้ เป็นต้น[
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.89: 3 ก.ค. 55, 23:06
ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อว
ปลาสลิด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลายจะงอยปาก ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ตัวมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัวตั้งแต่ข้างแก้มจนถึงกลางลำตัวสีดำ และมีแถบเฉียงสีคล้ำตลอดแนวลำตัวด้านข้างและหัว ครีบมีสีคล้ำ

ขนาดโดยเฉลี่ย 10-16 เซนติเมตร พบขนาดใหญ่สุดถึง 25 เซนติเมตร นับเป็นปลาในสกุล Trichogaster ที่ใหญ่ที่สุด

มีถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งที่มีพืชน้ำและหญ้ารกริมตลิ่งของภาคกลาง, ภาคอีสานและภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในประเทศรอบข้าง

พฤติกรรมในการสืบพันธุ์เริ่มขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม โดยจะวางไข่โดยการก่อหวอดตามผิวน้ำติดกับพืชน้ำหรือวัสดุต่าง ๆ มักวางไข่ในช่วงกลางวันที่มีแดดรำไร หลังวางไข่เสร็จแล้วตัวพ่อปลาจะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 4,000-10,000 ฟอง ในการเลี้ยงทางเศรษฐกิจนิยมให้เป็นการผสมพันธุ์หมู่

ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า "ปลาสลิดบางบ่อ" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

มีชื่อเรียกในภาษามาเลย์ว่า "sepat siam" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่หนังงู" (snakeskin gourami) และมีชื่อเรียกในราชาศัพท์อีกว่า "ปลาใบไม้" ทั้งนี้เนื่องจากคำว่า "สลิด" เพี้ยนมาจากคำว่า "จริต" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ทรงแนะนำให้เรียกปลาสลิดในหมู่ราชบริพารว่า ปลาใบไม้ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.90: 3 ก.ค. 55, 23:08
สกุลปลากระดี่ (อังกฤษ: Gourami, อินโดนีเซี
สกุลปลากระดี่ (อังกฤษ: Gourami, อินโดนีเซีย: Sepat, อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichogaster ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae

มีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนัก[1]

เป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่

พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่

ปลากระดี่มุก (Trichogaster leerii)
ปลากระดี่นาง (Trichogaster microlepis)
ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis)
ปลากระดี่หม้อ (Trichogaster trichopterus)
มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ จึงสามารถดำรงชีพอยู่ในน้ำที่ออกซิเจนต่ำได้เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ แต่ทว่า สำหรับปลากระดี่แล้วอวัยวะส่วนนี้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสู้ปลาชนิดอื่นไม่ได้ จึงจะเห็นปลากระดี่ในบางครั้งจะลอยตัวขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำเสมอ ๆ อุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร แต่ไม่เท่ากับปลาในสกุลอื่น เช่น สกุลปลากัด (Betta spp.) หรือ สกุลปลากริม (Trichopsis spp.) การผสมพันธุ์และวางไข่จะกระทำในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป โดยมีการก่อหวอดเช่นเดียวกับปลากัดและปลากริม แต่ทว่าลักษณะฟองหวอดของปลากระดี่จะมีขนาดเล็กกว่า แต่จะติดกันเป็นแพใหญ่กว่า และบางครั้งอาจมีเศษหญ้าหรือพืชน้ำหรือสาหร่ายผสมร่วมด้วย และยังแตกต่างออกไปในแต่ละชนิด[2]

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ สำหรับการบริโภค โดยนำไปทำเป็นปลาแห้ง ซึ่งนิยมกันมาก โดยเฉพาะปลาสลิด ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างมากโดยเฉพาะในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และปรุงสด ๆ อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย[3] โดยเฉพาะ ปลากระดี่หม้อที่มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันมาก

ปลากระดี่นับเป็นปลาอีกจำพวกหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน จนเกิดมีภาษิตที่ว่า "กระดี่ได้น้ำ" อันหมายถึง คนที่มีพฤติกรรมระริกระรี้กระหยิ่มดีใจจนเกินเหตุ[4] และมีชื่อบ้านนามเมืองของ ชุมชนบางกระดี่ ที่ตั้งอยู่ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เล่ากันว่าเป็นเพราะในสมัยก่อนมีปลากระดี่ชุกชุม
(อันนี้เป็นกระดี่หม้อ นะคับ)
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.91: 3 ก.ค. 55, 23:09
ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มี
ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อ "กระดี่มุก" ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง

มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น

เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น

นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ

[แก้] อ้างอิง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.92: 3 ก.ค. 55, 23:10
ปลากระดี่นาง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มี
ปลากระดี่นาง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster microlepis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีลำตัวรูปไข่และแบนข้างมาก หลังยกสูงเล็กน้อย ด้านท้ายเรียวเล็ก หัว ตา และปากเล็ก ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ลำตัวสีเงินนวลเหลือบด้วยสีเขียวและสีฟ้า โดยไม่มีลวดลายใด ๆ ครีบสีจางใส

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวเฉลี่ย 7-14 เซนติเมตร

เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำในภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นในภูมิภาคอินโดจีนอีกด้วย

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือก เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะก่อหวอดผสมกับเศษหญ้าหรือพืชไม้ชนิดต่าง ๆ

เป็นปลาที่สามารถใช้บริโภคได้ ในพื้นที่อีสานนิยมบริโภคโดยปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาแห้ง อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

ด้วยความที่เป็นปลาที่มีสีเงินทั้งลำตัว จึงได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า "กระดี่แสงจันทร์" (Moonlight gourami, Moonbeam gourami) มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "สลาก" หรือ "สลาง"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.93: 3 ก.ค. 55, 23:13
ปลากริม (อังกฤษ: Threestripe gourami) เป็นปลากริมช
ปลากริม (อังกฤษ: Threestripe gourami) เป็นปลากริมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichopsis schalleri ในวงศ์ Osphronemidae

มีรูปร่างและสีสันคล้ายกับปลากริมมุก (T. pumilus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ทว่ามีครีบหลังและครีบอกยาวกว่า

ปลากริมอีสานนั้นมีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะลุ่มน้ำโขงทางภาคอีสานของไทยเท่านั้น ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง แรกเริ่มเคยเชื่อว่าเป็นความหลากหลายทางสีสันของปลากริมควาย (T. vitatus) ซึ่งเป็นปลากริมชนิดที่พบชุกชุมมากที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดที่คล้ายคลึงกันและพบในแหล่งเดียวกัน แต่เมื่อได้ศึกษาไปแล้วพบว่าทั้ง 2 ชนิด นี้ไม่ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กัน จึงถือว่าเป็นชนิดใหม่[1]

มีความยาวลำตัวประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.94: 3 ก.ค. 55, 23:15
ปลากัดหม้อ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว
ปลากัดหม้อ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลากัด เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบ Ctenoid ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง

มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.95: 3 ก.ค. 55, 23:17
ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

     เป็นปลา
ปลาป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง

    เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหางมีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบจะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า “ปลาป่า” หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.96: 3 ก.ค. 55, 23:17
ปลากัดจีน
    เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา
ปลากัดจีน
    เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีนเป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.97: 3 ก.ค. 55, 23:22
ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน
ปลานิล (อังกฤษ: Nile Tilapia, Mango fish, Nilotica) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ถิ่นกำเนิดปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา

ผลการทดลองปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล (โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica) และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี

ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงและแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุ์ปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

[แก้] ลักษณะทั่วไปปลานิลมีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร

[แก้] อาหารปลานิลกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ผักบุ้ง

[แก้] นิสัยปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่าปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพัน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

[แก้] การสืบพันธุ์ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไปพร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ

ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป

หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.98: 3 ก.ค. 55, 23:24
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย
ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์โดย เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ บริษัท ซีพี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน จนได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ที่อดทน สามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อยได้ เนื้อแน่นมีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา เนื่องจากมีสีขาวอมแดงเรื่อ ๆ คล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า "ปลาทับทิม
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.99: 3 ก.ค. 55, 23:25
ปลาแรด (อังกฤษ: Giant gourami-แปลตรงตัว "ปลากร
ปลาแรด (อังกฤษ: Giant gourami-แปลตรงตัว "ปลากระดี่ยักษ์"; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus goramy) เป็นปลาน้ำจืดในสกุลปลาแรด ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae นับเป็นปลาแรดชนิดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด
ลักษณะลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทย โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป

[แก้] อาหารเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ แต่นิยมกินพืชมากกว่า มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคใต้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร จึงนับว่าเป็นปลาชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ Osphronemidae แต่ว่าขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 30-40 เซนติเมตร

[แก้] ที่อยู่เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย โดยนิยมเพาะเลี้ยงกันในหลายพื้นที่ เช่น นิยมเลี้ยงกันที่แม่น้ำสะแกกรัง ในจังหวัดอุทัยธานี ที่มีเลี้ยงกันในกระชังในแม่น้ำจนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี[1]

นอกจากนี้แล้ว ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยในปลาธรรมดาจะเรียกกันว่า "แรดดำ" และในปลาที่มีผิวเผือกจะเรียกว่า "แรดเผือก" หรือ "แรดเผือกตาแดง" นอกจากนี้แล้วยังมีปลาที่สีแตกต่างออกไปด้วย

[แก้] ชื่อเรียกอื่นปลาแรดชนิดนี้ มีชื่อเรียกในภาษาอีสานและภาษาลาวว่า "มิน" ขณะที่ภาษาใต้จะเรียกว่า "เม่น"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.100: 3 ก.ค. 55, 23:27
ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae
ปลาแป้นแก้ว (วงศ์: Ambassidae อดีตเคยใช้ Chandidae, อังกฤษ: Asiatic glassfish) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง พบทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล

มีลักษณะโดยรวมมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้ามแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวโดยมากเป็นสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน

เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย มีทั้งหมด 8 สกุล 49 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบในน้ำจืด 5 ชนิด โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาแป้นแก้ว (Parambassis siamensis) และชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาแป้นแก้วยักษ์ (P. wolffii)

มีชื่อสามัญเรียกโดยรวมว่า "แป้นแก้ว" หรือ "แป้นกระจก" หรือ "กระจก" หรือ "ข้าวเม่า" ในภาษาถิ่นเหนือเรียกว่า "แว่น" ในภาษาอีสานเรียกว่า "คับของ" หรือ "ปลาขี้ร่วง"

มีความสำคัญคือเป็นปลาเศรษฐกิจใช้บริโภคในพื้นถิ่น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง โดยทำปลาแห้งและบริโภคสด อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมักฉีดสีเข้าในลำตัวปลา เป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีเหลือง, สีส้ม, สีน้ำเงิน และเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาเรนโบว์" หรือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งเมื่อเลี้ยงนานเข้า สีเหล่านี้จะหลุดหายไปเอง โดยที่ปลาไม่ได้รับอันตราย
<12345>>>
no ads
siamfishing.com © 2024