บันทึกแห่งความตาย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<1234>
กระดาน
คห. 88 อ่าน 5,838 โหวต 10
บันทึกแห่งความตาย
คห.51: 18 มิ.ย. 65, 11:30
แต่การนำพาวิถีแห่งธรรมะไปปฏิบัติน
แต่การนำพาวิถีแห่งธรรมะไปปฏิบัตินั้น คนเป็นกลับให้ค่ากับ “ความตาย” ทำให้กลายเป็นสิ่งที่ “มีราคา” ก็เลยแอบนึก แอบคิดเงียบ ๆ ในใจแต่เพียงผู้เดียวว่า มูลค่าราคาของความตายนั้น มันขึ้นอยู่กับอะไร เช่น ชาติกำเนิด เกิดมาจากที่ไหน เป็นลูกเต้าเหล่าใคร ใช้นามสกุลอะไร ถูกขัดเกลาจิตใจแบบไหนให้เติบโตมา ใส่หัวโขนอะไรในสังคมเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ญาติโกโหติกามีอิทธิพลส่งผลให้เกิดความเชื่อต่างๆ นานา อย่างไร จึงได้ถือ “ปฏิบัติสืบต่อกันมา” หรือเพราะว่ามันคือ การแสดงแสนยานุภาพทางเศรษฐกิจของเจ้าภาพว่าด้วยโลงจำปา ณ ราคาตลาดที่ซื้อขาย เมื่อคิดสงสัยเช่นว่านั้น พลันปุจฉาก็โผล่ขึ้นมา จึงโยนความสงสัยให้กับปุจฉาไปว่า เมื่อคนเราละสังขารไปแล้ว เอาเสื่อเก่า ๆ พันร่างไร้วิญญาณแล้วโยนเข้าเตาเผาเลยจะได้ไหม หากอยากจะสิ้นข้อสงสัยให้ได้มาซึ่งวิสัจนา คงต้องศึกษาจากคำสอน...ใช่หรือไม่ 
คห.52: 18 มิ.ย. 65, 11:31
หรือจะปล่อยให้การระลึกถึงกุศลตาม “
หรือจะปล่อยให้การระลึกถึงกุศลตาม “กุสลา ธมฺมา” นั้น เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ ที่ถูกนิมนต์ให้มานั่งท่องบ่นบทสวดมนต์ประกอบพิธีเท่านั้นหรือ นี่คือ ปุจฉา ส่วนฆราวาสที่มาร่วมในพิธี ณ ยุค Online ในสมัยนี้ มันเสมือนหนึ่งการ “คืนสู่เหย้า” ที่ทั้งฉันและเธอ ต่างก็ได้มีโอกาสมาประสบพบเจอ จับเข่าเม้าท์มอยกันแบบตัวเป็น ๆ แทนการพิมพ์คอมเม้นท์เป็นข้อความใน Application Platforms หรืออย่างไร ด้วยความฉงนจึงเก็บความสงสัยนี้ไว้ในใจ จนกระทั่งเรื่องราวตามบันทึกฉบับนี้ ได้นำพาให้ขีดเขียนข้อสงสัยไว้ในบรรทัดนี้ แต่กระนั้น ผมก็ยังมิวายแอบคิดสงสัยต่อไปในใจว่า สินค้าที่ “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” นั้นมันขึ้นอยู่กับความต้องการของใคร คนตายหรือ...คนเป็น
คห.53: 18 มิ.ย. 65, 11:33
ทำไมต้อง “ดอกเดียว” ตามทำนองเพลงขอ
ทำไมต้อง “ดอกเดียว” ตามทำนองเพลงของพี่ป้าง ขอหลาย ๆ ดอกจะได้ไหม? แล้วทำไมต้องจุดมัน เหตุผล(ตามพุทธปฏิบัติ)นั้นคืออะไร หรือเป็นเพียงแค่ “ความเชื่อ” (Belief) ที่ถูกเติมแต่งให้เป็นเครื่องเคียงประกอบพิธีกรรม จากคำบอกกล่าวเล่าขานของใครต่อใคร แล้วใครคนที่บอกนั้นมีความรู้เพียงใด อาศัยหลักเกณฑ์อะไรมาอ้างอิง ทั้งหมดนี้ มันคือ “ความสงสัย” ที่ใคร่ได้คำตอบ สนองความอยากรู้ของผม...ก็เท่านั้น

จากการสืบค้นหาข้อมูล ก็ได้ความว่า การแสดงความเคารพศพนั้นหนา จะต้องกราบพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วนการจุดธูปหน้าศพนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหลานหรือศิษยานุศิษย์หรือผู้เคารพนับถือผู้วายชีวี ที่มีความประสงค์จะแสดงความเคารพด้วยการจุดธูป (ที่มาของข้อมูล กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, มารยาทไทย มารยาทในสังคม, (พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2563), หน้า 20–25.) จากแหล่งข้อมูลเช่นว่านี้ พอจะสรุปให้กับความเข้าใจกับตัวผมเองได้ว่าการจุดธูปนั้น มันก็คือ “ความประสงค์” ที่(ใครต่อใคร)ต้องการแสดงออกซึ่งการเคารพผู้วายชีวีด้วยการจุดธูป พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็แปลว่า ไม่ต้องจุด(ธูป)...ก็ได้
 
คห.54: 18 มิ.ย. 65, 11:36
กุศโลบายในทางพระนั้น ท่านได้เอ่ยเฉ
กุศโลบายในทางพระนั้น ท่านได้เอ่ยเฉลย “แนวความคิด” เอาไว้ว่า การจุดธูป 1 ดอก นั้นหนาหมายความถึง “ชีวิตของคน” แต่ละคนมี 1 ชีวิตเท่ากัน ธูปส่วนที่ถูกเผาไหม้ไปแล้วนั้น หมายถึง ช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตผ่านมาแล้ว ส่วนธูปที่ยังคงเหลืออยู่ นั่นก็คือ ช่วงเวลาของชีวิตที่ยังเหลืออยู่ พระท่านยังบอกอีกต่อไปว่า เมื่ออยู่หน้าศพ ก็ให้ระลึกไว้ 3 อย่าง หนึ่งคือ “เอวัง ภาวี” หมายถึง ต่อไปเราก็ต้องเป็นแบบนี้ อีกหนึ่งคือ “เอวัง ธัมโม” สิ่งนี้ คือ ธรรมชาติ และอีกหนึ่งคือ “เอวัง อะนาติโต” ทุกชีวิตไม่สามารถหนีสิ่งนี้พ้น จากแนวความคิดนี้ ย่อมอาจแสดงได้ว่า ชีวิตคนเรานั้นเป็น “สิ่งสมมติ” รวมทั้งการจุดธูปด้วยกระมังครับ...หลวงพี่

ถ้าหากจะพิจารณาด้วย “ปัญญา” อย่างไม่ยึดติด คิดเป็นวิทยาศาสตร์ ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นหนึ่งเดียว คือ “ธรรมชาติ” องค์เทพเทวาที่เคารพยึดเหนี่ยวจิตให้ชีวิตเข้มแข็งก็อาจรวมได้เป็นหนึ่งเดียว เรียกขานกันว่า “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” หรือสิ่งที่มนุษย์ใช้ความกลัวที่อยู่ภายในใจของตัวเอง “อุปโลก” สร้างวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา สุดแท้แต่ใครจะเรียกขานวัตถุเหล่านั้นว่าอะไร จุดประสงค์ก็เพื่อใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวดวงจิต ขจัดความกลัวในใจออกไป เมื่อคนแรกคิดและลงมือทำ คนที่สองทำตาม(แต่ไม่คิดตาม) ตามด้วยคนที่สาม สี่ซ้า และห้าหก และสืบต่อ ๆ ไป (และก็ไม่ได้คิดหาเหตุผลอะไร) จึงยึดถือปฏิบัติตามๆ กันไป นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(เหตุผลนั้นหนา คืออะไร...ก็ยังไม่รู้) เมื่อเวลาดำเนินผ่าน กาลเนิ่นนานไป การปฏิบัติที่สืบต่อกันมานี้ไซร์ จึงถือกำเนิดเกิดเป็น “ความเชื่อ” (Belief) ขึ้นมา หากความเชื่อนั้นมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าปะปนอยู่ ก็จะยกระดับ Upgrade ให้กลายเป็นแรง “ศรัทธา” (Faith) จ้องมองหาวัตถุอะไร แขวนคล้องห้อยไว้เป็น “ขวัญและกำลังใจ” ให้ชีวิตดำเนินได้ต่อไป อย่างไร้ซึ่งความกลัว ส่วนเหตุผลที่ “เป็นจริง” นั้น ก็ยังไม่รู้...สืบต่อไป
     
แก้ไข 4 พ.ย. 67, 14:03
คห.55: 18 มิ.ย. 65, 11:37
ในทางวิทยาศาสตร์ “ควันธูป” ประกอบไ
ในทางวิทยาศาสตร์ “ควันธูป” ประกอบไปด้วยสารก่อมะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เบนซีน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน เป็นตัวการหลักในการก่อมะเร็งและโรคทางเดินหายใจ เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อและทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆแตกต่างกัน (แหล่งข้อมูลจาก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดังนั้น หลายต่อหลายที่ในเวลานี้ ได้ผลักดันให้เกิดความผกผันที่มีต่อ “ความเชื่อ” อันว่าด้วย “สารก่อมะเร็ง” ซึ่งมีมูลมาจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และพิสูจน์ได้ ดังนี้ แปลความได้ว่า “แนวความคิด” ในทางพระที่มีต่อการจุดธูปแสดงความเคารพผู้วายชีวีนั้น ย่อมแปลเปลี่ยนได้ตามหลักเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์...ใช่หรือไม่
คห.56: 18 มิ.ย. 65, 11:40
ครั้นเมื่อแอบนึกคิดถึงวัตถุที่สร้
ครั้นเมื่อแอบนึกคิดถึงวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อแขวนห้อยคล้องไว้ใช้ติดตัว (ด้วยความเคารพมิได้ลบหลู่) กระบวนการผลิตคงจะเริ่มมาจากความเชื่อ ไต่ระดับ ขยับไซด์ กลายเป็นแรงศรัทธา “ขวัญและกำลังใจ” นั้นหนา คือ วัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้น ถ้าอุปสงค์ (Supply) ในการผลิตมีจำนวนน้อย แต่อุปทาน (Demand) หรือความต้องการในตลาดมีมาก ตามหลักเศรษฐศาสตร์จึงถือกำเนิดเกิดมี “ราคา” กับผู้ที่อยากจะ “ซื้อ” หามาไว้ครอบครอง (ผมไม่ใช้คำว่า “เช่า” ตามที่ใครต่อใครพูดกล่าวกันนะครับ ทั้งนี้ ก็เพราะว่ากรรมสิทธิ์ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน ตามมาตรา 458 ปพพ. แต่ทว่า การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ในกรณีนี้ กฎหมายมิได้กำหนดให้วัตถุสร้างขึ้นเพื่อแขวนห้อยคล้องไว้ใช้ติดตัวนี้ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 703 ปพพ. ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์จึงสมบรูณ์ด้วยการที่ผู้ขาย “ส่งมอบ” วัตถุให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 461 ปพพ. เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มันโอนกรรมสิทธิ์ไปได้ ดังนั้น มันจึงไม่ใช่การ “เช่า” แต่อย่างใด)

วันหนึ่ง มีเด็กน้อยขี้สงสัยคนหนึ่ง เอ่ยถามท่านผู้ใหญ่ด้วยเสียงอันกล้า ๆ เกรง ๆ ว่า ท่านผู้ใหญ่ครับ อันว่า “ปืนผาหน้าไม้” จะถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งได้หรือไม่ ลูกบ้านหลายคน เมื่อได้ยินคำถามของเด็กน้อย ก็เริ่มสงสัยว่า “ไอ้นี่มันคงจะบ้า!” ด้วยรูปลักษณ์และลัคนาของมัน ถ้าหากฉันเป็นมัน คงจะไม่กล้าคิด เอ่ยถามอะไรออกมาเช่นว่านี้ โถไอ้หม่า! เมื่อเด็กน้อยได้ยินเสียงบ่นของลูกบ้าน พิจารณาแล้วหาได้เป็นผลลัพธ์แห่งคำตอบในใจ จึงโยนคำถามถัดไปให้กับผู้ใหญ่ไปอีกหนึ่งคำถามว่า แล้วไฉนในเวลาที่ท่านผู้ใหญ่ไปไหนมาไหนในที่เปลี่ยว ทำไมถึงต้องมี “โค้ลท์ตราควาย” เหน็บที่เอวละครับ สรรพคุณของมันใช้กดทับเส้นประสาทแห่งความกล้า ณ ที่เอว แล้วให้เลี้ยวกลับขึ้นไปสร้างความอบอุ่นได้ที่ใจของท่านผู้ใหญ่ อย่างงั้นเหรอ พลางก็ทำหน้านิ่วคิ้วชนกันเมื่อจบคำถามที่สองให้ท่านผู้ใหญ่ได้เห็นถึงความสงสัยของเด็กน้อย ด้วยความใคร่รู้ เด็กน้อยจึงหันกลับไปถามลูกบ้านลิ่วล้อท่านผู้ใหญ่คนนั้นอีกหนึ่งคำถามว่า ไอ้ความรู้สึก “อุ่นใจ” ที่ว่านี้มันคือ “ขวัญและกำลังใจ” ที่ทำให้ท่านผู้ใหญ่หัวใจพองโต หึกเหิม กล้าเดินในซอยเปลี่ยว ตัวคนเดียว...ใช่ไหมครับ

ระหว่างที่ท่านผู้ใหญ่กำลังคิดหาคำตอบให้กับปุจฉาของเด็กน้อยคนนั้น เด็กน้อยก็ยิงความสงสัยออกไปให้ผู้ใหญ่อีกหนึ่งคำถามเพิ่มเติมออกไปว่า “ปุถุชน คนธรรมดา” จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนอื่นได้ด้วยไหมครับ คำถามนี้ ทำให้ท่านผู้ใหญ่นึกย้อนอดีตกลับไปในสมัยที่ยังเป็นเด็กวัดขึ้นมา เรื่องก็มีอยู่ว่า “เฮ้ย! ไอ้เกลอแก้วเพื่อนรัก เอ็งช่วยเดินไปส่งข้าฯ เอาเชี่ยนหมากให้หลวงตาที่กุฎิหลังวัดหน่อยดิว่ะ” อ้าวเฮ๊ย! (มึง)กำลังจะเอา(กู)ไปแขวนห้อยคล้องไว้สร้างขวัญและกำลังใจให้(มึง) “อุ่นใจ” (ไม่กลัวผี)แล้วหรือ การช่วยหาวิสัชนาให้กับผู้ใหญ่นั้น เห็นทีคงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามให้เป็นอีกหนึ่งปุจฉา อันว่าความอุ่นอกอุ่นใจในร่างกายของมนุษย์นั้นหนา สามารถ “เกิดขึ้นเอง” ได้ด้วย “จิต” ของตัวเราเอง...หรือไม่
   
แก้ไข 20 มิ.ย. 65, 13:02
คห.57: 18 มิ.ย. 65, 11:42
ตามทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิส
ตามทฤษฎีของจอห์น ดาลตัน (John Dalton) นักฟิสิกส์และเคมีชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ว่า "สสารย่อมไม่สูญหายไปจากโลก เพราะอะตอมเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร ไม่สามารถจะแยกออกไปได้อีก" สดับรับฟังดูแล้วน่าเชื่อถือ แต่ทว่า ยังมีท่านผู้รู้อีกหนึ่งคน ที่จามไออย่างมีสไตล์ เขาคิดต่างและมองคนละมุม เขาได้กล่าวถึงมุมมองที่แตกต่างของเขาไว้ว่า "สสารนั้นย่อมมีการสูญสลาย นอกจากพลังงานเท่านั้นที่จะไม่สูญหาย เพราะพลังงานเกิดขึ้นจากสสารที่หายไป และอะตอมไม่ใช่ส่วนที่เล็กที่สุดของสสาร เพราะฉะนั้นจึงสามารถแยกออกได้อีก” ต่างมุมมอง สองความคิด ว่ากันไป แต่ส่วนตัวผมนั้นไซร้ เรียนกฎหมาย ไม่ได้จบฟิสิกส์ คงมิบังอาจไปแสดงความคิดเห็นอะไรเฉกเช่นคนที่จามไออย่างมีสไตล์ได้ (แค่จามไอแล้วปิดปาก ใส่หน้ากากอย่างเปิดเผยก่อนเข้าไปพบไปหาใคร โดยไม่ถูกดราม่าใส่ ก็พอแล้ว ในเวลานี้)

ความจริงอันเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของผมนั้น “สสาร(ศพ)เมื่อถูกเผา มันสูญสลายกลายเป็นควัน” (รู้ได้ไงฟ่ะ ก็(กู)เห็นควันที่ปลายปล่องยอดเมรุเผาศพไง) ส่วนพลังงานความร้อนจากการเผา(ศพ) ก็สูญสลาย เพราะไม่ได้นำเอาความร้อนนั้นมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด คงเหลือไว้แต่ขี้เถ้าในวันรุ่งขึ้น แล้วอะไรที่เล็กกว่าสสารของขี้เถ้านั้น มันคงมีแน่ เพียงแต่ผมยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรในเวลานี้ (และก็ยังมีสิ่งที่ผมไม่รู้...อีกเยอะ) นี่คือ ความเป็นจริงที่ผมสัมผัสได้จากทฤษฏีของคนที่จามไออย่างมีสไตล์ ดังนั้น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ที่ผมทำให้ผม “มั่นใจ” ในการใช้ชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจากภัยในจิตใจ นั่นคือ “ความเข้าใจ” ในเหตุแห่งปัจจัย...ที่เกิดขึ้น 
 
แก้ไข 4 พ.ย. 67, 14:11
คห.58: 18 มิ.ย. 65, 11:43
ปุจฉา...ทำไมต้อง [b]“เผา”[/b] (นั่นซิ! ใคร่
ปุจฉา...ทำไมต้อง “เผา” (นั่นซิ! ใคร่อยากรู้) การตามหาวิสัชนา ก็เลยจำต้องชวนคุยกันในเรื่องกายวิภาคของร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบไปด้วยเซลหลายล้านเซลเป็นหน่วยพื้นฐานของ “การมีชีวิต” เช่น มีเนื้อเยื่อ มีอวัยวะ มีระบบและกลไกหลายอย่าง ปฏิสัมพันธ์กันเพื่อรักษาสมดุลย์ที่ปลอดภัยให้กับชีวิตในร่างกาย เมื่อร่างกายไร้ชีวิต ก็กลายเป็นศพ เน่าเปื่อยผุพัง สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น แมลง แบคทีเรีย เชื้อรา กัดจะเข้ามากินเนื้อเยื่อที่เน่าเปื่อยนั้นเป็นอาหาร ในขณะที่ร่างกายยังมีชีวิตอยู่ ภายในร่างกายประกอบไปด้วยจุลินทรีย์จำนวนมหาศาล มีชื่อเรียกรวม ๆ กันว่าไมโครไบโอม (microbiome) เมื่อเสียชีวิต ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะหยุดทำงาน จุลินทรีย์ที่อยู่ภายในร่างกายก็จะกินร่างกาย(ศพ)และสร้างก๊าซ ทำให้ศพขึ้นอืด เมื่อมีแรงดันภายในศพมาก ศพก็จะปริแตก ทำให้จุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าไปช่วยรุมกินศพภายในด้วย รวมไปถึงแมลงต่าง ๆ ที่มุดเข้าไปตามรอยปริแตกของศพ เมื่ออากาศแทรกเข้าไปในศพได้ แบคทีเรียที่เข้าไปกินศพชนิดที่ชอบออกซิเจน หรือที่เรียกว่า aerobic bacteria ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อพัฒนาการก้าวมาถึงตอนนี้ความเร็วในการย่อยสลายจะเพิ่มมากขึ้น ศพจะแห้งลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เมื่อมีการค้นพบศพที่สงสัยว่าจะถูกฆาตกรรม และไม่ปรากฎหลักฐานอื่นที่แสดงได้ว่าศพนี้ถูกฆาตรกรรมเมื่อไหร่ จุลินทรีย์ที่กัดกินศพ จึงสามารถช่วยประเมินเวลาการเสียชีวิต เพื่อไขคดีต่อไปได้ (ข้อมูลจาก Page เรื่องเล่าจากร่างกาย) 
คห.59: 18 มิ.ย. 65, 11:43
ครั้นเมื่อร่ายกาย กลายเป็นศพ เน่าเ
ครั้นเมื่อร่ายกาย กลายเป็นศพ เน่าเปื่อยผุพัง แมลงต่างๆ ก็จะเข้ามารุมกัดกินเป็นอาหาร สิ่งที่ติดตามมากับแมลงนั้น คงหาได้มีแต่เพียงแบคทีเรียอย่างเดียวไม่ อาจจะมีเชื้อโรคประเภทอื่น สายพันธุ์ใด ปะปนเข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์แทะกินซากศพที่เน่าเปื่อยผุพังนี้ด้วยเป็นแน่แท้ ด้วยเหตุฉะนี้ จึงจำต้องหามาตราการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่คน ดังนั้น วิสัชนา...ว่าด้วยการนำเอา “ความร้อน” มาใช้ในการทำให้สสารนั้นเปลี่ยนสภาพไป จึงเป็นการตัดองค์ประกอบวงจรพาหะการแพร่กระจายของเชื้อโรค ที่อาจเป็น “กุศโลบาย” ทางเลือกที่ใช้ “กำจัด” เชื้อโรค...ก็เป็นได้

ส่วนพิธีการต่าง ๆ ก่อน(เผา)นำเอาความร้อนมากำจัดเชื้อโรคนั้น ก็ยังเป็นอีกหนึ่ง “กุศโลบาย” ตามความเชื่อของ “คนเป็น” ให้ได้มีโอกาสคืนสู่เหย้า นั่งเม้าท์กันในงาน อีกทั้ง ยังมีโอกาสได้ร่วมทำบุญ ถวายทาน ฟังธรรม ตามประเพณี เพื่อให้เกิดการปลงสลดสังเวชขึ้นใน “จิตใจ” ของคนเป็นว่า อนิจจัง นั้นมันไม่เที่ยง ตายไปแล้ว ก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว ต่อแต่นี้ไปในวันหนึ่ง เรา ๆ ท่าน ๆ เองก็จะถูกคนเป็นนำเอาความร้อนมากำจัดเชื้อโรคที่แอบเข้ามากัดแทะกินซากร่ายกายที่ไร้วิญญาณของเรา เพื่อตัดวงจรพาหะนำเชื้อโรคสู่คนเช่นว่านี้เหมือนกัน เอวังก็มี...ด้วยประการฉะนี้
คห.60: 18 มิ.ย. 65, 11:44
บันทึกแห่งความตามภาพนี้ คือ อีกหนึ
บันทึกแห่งความตามภาพนี้ คือ อีกหนึ่งกุศโลบายที่ใช้ในการตัดวงจรพาหะนำเชื้อโรคจากสสาร(ศพ)มาสู่คนเป็น
คห.61: 18 มิ.ย. 65, 11:44
“กระดูกและขี้เถ้า” คือ สสารหลงเหลื
“กระดูกและขี้เถ้า” คือ สสารหลงเหลือจากการใช้ความร้อน ในการตัดวงจรพาหะนำเชื้อโรคจากคนตายมาสู่คนเป็น นี่คือความจริงที่ปรากฎในสายตาของผม แต่อีกหนึ่งมุมตามความเชื่อของคนเป็น ในเช้าวันถัดไปหลังจากการเผาไหม้สิ้นสุดลง ก็จะต้องรีบตื่นแต่เช้า เตรียมอุปกรณ์ข้าวของต่าง ๆ นานา เชิญญาติสนิท มิตรสหาย และนิมนต์พระจากวัดกลับไปยังลาน ณ สถานที่เผาสสารอีกหนึ่งครา เพื่อท่องบ่นภาษาบาลี ก่อนหยิบจัดเศษกระดูกและขี้เถ้าใส่บรรจุภัณฑ์ดินเผา แล้วเดินทางไปไหนต่อไหนตามแต่ใจต้องการ เพื่อเอาเศษกระดูกปนกับขี้เถ้าไปโปรยในที่ ๆ ญาติสนิท มิตรสหาย เห็นพ้องต้องกันอย่างเอกฉันท์ว่าต้องเป็นที่นั่น ที่โน่น แต่ไม่ใช่ที่ตรงนี้ เป็นต้น ทั้งนี้ ก็สุดแท้แต่ความต้องการของ “คนเป็น” มีความอยากจะไปเที่ยวกันที่ไหน...ก็เลือกกันไป
คห.62: 18 มิ.ย. 65, 11:45
ด้วยความที่เป็นคนขี้สงสัย ก็เลยแอบ
ด้วยความที่เป็นคนขี้สงสัย ก็เลยแอบตั้งปุจฉาคิดในใจคนเดียวขึ้นมาว่า หากการเกิดแบบมีชีวิตใด ได้สิ้นสภาพภาพบุคคลลงเมื่อตาย และถูกสลายสภาพของร่างกายมนุษย์ไปแล้วนั้น สสารที่เหลืออยู่จากการใช้ความร้อนกำจัดเชื้อโรค(เศษกระดูกและขี้เถ้า) สามารถปัดกวาดสสารเช่นว่านั้นทิ้งคืนสู่ดินเฉย ๆ อย่างปราศจากพิธีรีตองอะไร ในวันรุ่งขึ้นจะได้ไหม วิสัจนานั้นอาจมีหลายหลาก แต่คำสอนนั้น...มีว่าไว้อย่างไร
คห.63: 18 มิ.ย. 65, 11:45
อำลา...อาลัย #1
อำลา...อาลัย #1
คห.64: 18 มิ.ย. 65, 11:45
อำลา...อาลัย #2
อำลา...อาลัย #2
คห.65: 18 มิ.ย. 65, 11:46
อำลา...อาลัย #3
อำลา...อาลัย #3
คห.66: 18 มิ.ย. 65, 11:46
ถ้าวันหนึ่งมนุษย์สามารถเอาชนะความ
ถ้าวันหนึ่งมนุษย์สามารถเอาชนะความตายได้ อัตราการเกิดมีจำนวนเท่าใด มันก็จะคงจำนวนเช่นว่านั้นสืบเนื่องต่อไปนั้น ทว่า สิ่งใดจะเกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ติดตามมานั้น ปุจฉา...ตามหลักเศรษฐศาสตร์จึงมีอยู่ว่า เมื่ออุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการในการบริโภคสิ่งต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แต่อุปทาน (Supply) หรือปริมาณสินค้าในตลาด ที่สามารถผลิตตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้หรือไม่ นั่นคือ ประเด็นที่ต้องหยิบยกขึ้นมา...พิจารณา

การวินิจฉัยประเด็นพิจารณานั้น ใจก็นึกถึงโจทก์คำถามตุ๊กตาในสมัยเป็นนักศึกษาร่ำเรียนเขียนอ่านกฎเกณฑ์แห่งกติกาของสัตว์สังคม เจตนารมณ์ของโจทก์คำถามตุ๊กตา ก็คือ ให้ฝึกพินิจและไตร่ตรอง เรื่องมีอยู่ว่า ณ ครอบครัวหนึ่ง เริ่มก่อร่างสร้างความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา ในบ้านหลังเล็ก ๆ หลังหนึ่ง อยู่ไป-อยู่มา ก็กำเนิดเกิดมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น เป็นไปตามครรลองของการวางแผนชีวิตคู่ที่ตกลงกันไว้เมื่อเริ่มต้นสร้างครอบครัว สองสามขวบปีผ่าน ชั่วโมงบินทั้งสามีและภรรยาในการใช้ชีวิตคู่ก็เพิ่มขึ้น ความชำนาญก็ตามมา ในชนิดที่ว่า “แค่มองตา ก็รู้ใจ” ความประมาทนั้นไซร้ จึงแทรกเข้ามา ทำให้ข้าฯ “ชักช้า” เพราะชะล่าใจ อีกเก้าเดือนต่อมานั้นไซร็ สมาชิกใหม่คนที่สองจึงตามมา แผนชีวิตที่เราเคยวางด้วยกัน จำต้องขยับ ปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่...อยู่อาศัย

แต่สิ่งที่แน่นอน ก็คือ ความไม่แน่นอน (What is certain is uncertainty) ในค่ำหนึ่งคืนใด ไม่รู้ว่าXOXOกันอีท่าไหน ดันไม่เอานิ้วออกนอกโกร่งไก “เปรี้ยง” คือเสียงปืนลั่นก็เกิดขึ้นอีกอย่างไม่ได้ตั้งใจ แผนชีวิตที่วางไว้จึงแตกลงตรงกลางเป้าพอดิบพอดี เมื่อ “แผนแตก” กลางสเตจ (Stage) ที่แข่งขัน ด้วยสปิริตของนักกีฬา จึงต้องแข็งขันยิงต่อไปให้จบครบทุกเป้า (The show must go on) อีกเก้าเดือนคงต้องเบียดเสียดกันเพิ่มขึ้นมากกว่านี้แน่ ๆ กาลเวลาเดินผ่าน วันหนึ่งคนโตและคนกลาง เริ่มเติบโตและย้ายออกบ้านไปเรียนต่ออยู่หอพัก อุปสงค์ (Demand) ที่ต้องการใช้พื้นที่อันจำกัดก็ “ลดลง” อุปทาน (Supply) เริ่มเอนไปยังทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยเหตุฉะนี้แล้วไซร้ วิสัจนา จึงมีคำถามกลับไปว่า อุปทานที่ไม่เอื้อต่ออุปสงค์นั้น จะทำให้ชีวิตที่ไร้ความตายมีสมดุลย์...ได้อย่างไร
คห.67: 18 มิ.ย. 65, 11:50
[b]“กรรม”[/b] ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถ
“กรรม” ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง “การกระทำ” ที่ผู้ลงมือกระทำหนึ่งครั้งคราวเดียว มิได้ต่างวาระกัน และผิดกฎหมายหลายบทนั้น พึงลงโทษบทที่หนักแก่ผู้กระทำความผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ 759/2457) กรณีต่างกรรมต่างวาระนั้น หรือเรียกว่า ลงมือกระทำหลายครั้งและผิดหลายกระทงนั้น พึงลงโทษผู้นั้นทุกกระทงความผิด

“นิติกรรม” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความว่า “การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”

จะเห็นได้ว่ากรรมทั้งในทางอาญาและแพ่งนั้น “เหตุ” คือการ “การกระทำ” อย่างหนึ่งอย่างใด มุ่งหวังให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีเหตุแล้ว ก็ต้องมีผลลัพธ์ ดังนั้น “ผล” ก็มีทั้งในรูปแบบที่ (ก) สมบรูณ์ในวินาทีที่ตัดสินใจลงมือกระทำ หรือ (ข) ไม่มีผลสมบรูณ์แม้แต่นิดตั้งแต่ลงมือกระทำ เรียกว่า “โมฆะ” หรือ (ค) อาจมีผลสมบรูณ์ได้ในภายหลังด้วยการให้ “สัตยาบัน” (ง) แต่ถ้าหากถูกบอกล้างการกระทำในภายหลัง ผลที่เคยสมบรูณ์มาก่อนหน้านั้น จะถูกเรียกว่า “โฆฆียะ” เป็นต้น ดังกล่าวนี้ มันก็คือ “กติกา” ในการรวมกลุ่ม รวมฝูง อยู่ด้วยกันในรูปแบบของสัตว์สังคม ต่างสถานที่ ต่างสายพันธุ์ ก็ต่างกติกา สรุปได้ว่า หากผู้หนึ่งคนใด ทำกรรมอะไรไว้ เมื่อไหร่ กี่วาระก็ตาม ไอ้อีผู้หนึ่งคนนั้น ต้องรับผลที่ตนได้ลงมือกระทำตาม “กฎแห่งกรรม” (Law of Action) เป็นลำดับ (Consequence) ติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่คือ “กฎ” ข้อที่สามของการเกิดแบบมีชีวิตที่...ยุติธรรมเสมอ
คห.68: 18 มิ.ย. 65, 11:50
“การมีชีวิต” ต้องการ อากาศ น้ำ อาหาร
“การมีชีวิต” ต้องการ อากาศ น้ำ อาหาร ยารักษาโรค และปัจจัยที่ 5 ต่าง ๆ นานา สุดแท้แต่กิเลสของปัจเจกชนคน ๆ นั้น จะมีความอยากในปัจจัยที่ 5 เป็นอะไร อยากได้แค่ไหน และได้มาอย่างไร สุจริตหรือไม่ อาจจะไม่ใช่สาระสำคัญ เป็นต้น แต่ “ความตาย” นั้น ดำรงอยู่ด้วยจิตสมถะ ไม่มีความโลภ โกรธ หรือหลง มีสิ่งเดียวที่ต้องการ นั่นก็คือ...“การไม่หายใจ”
คห.69: 18 มิ.ย. 65, 11:53
การเก็บสะสมบันทึกภาพแห่งความตาย ต่
การเก็บสะสมบันทึกภาพแห่งความตาย ต่างกรรม ต่างวาระ ที่ผ่านมา ทำให้เรียนรู้แล้วว่า ระหว่างการดำรงค์ชีวิตอยู่นั้น จะมีผู้คนแวะเวียนผ่านเข้ามา ได้พบ ได้รู้จักกัน ผูกพันธ์กัน และก็จากกันไป ไม่เวลาใด ก็วันหนึ่ง ไม่อย่างใด ก็ทางหนึ่ง เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ หรือวาระแห่งกรรมของแต่ละปัจเจกชนที่ได้ทำไว้ แต่ทว่า ในระหว่างการดำรงค์อยู่ของชีวิตตามอายุไขนั้น ในวันหนึ่ง กาละแห่งเวลา ก็ได้สอนให้ผมได้เรียนรู้กับอีกหนึ่งบทเรียนที่ว่า ความตายนั้นหนา หาได้เกิดเฉพาะกับสิ่งที่มีชีวิตแต่เพียงอย่างเดียวไม่ “สิ่งที่ไม่มีชีวิตก็อาจถึงแก่ความตายได้” ด้วยเช่นกัน หลายท่านอาจสงสัยว่า ผมไปโดนตัวไหนมา ถึงพูดจาเพ้อเจ้ออะไรแบบนี้ หลายแก้วที่กระดกเครื่องดื่มน้ำสีอัมพันผ่านลำคอลงไป ทำให้ผมเองก็งง ๆ ว่า(กู)เขียน(ห่า)อะไรลงไปในข้อนี้(ว่ะ)

กาแฟดำ ร้อน ๆ สองสามแก้วตอนรุ่งเช้าของวันถัดไป ทำให้คลายหายแฮงค์ พอกลับมานั่งทบทวนกับสิ่งที่ได้เขียน(ห่า)อะไรลงไป ก็นึกถึง บทเรียนบทหนึ่ง ที่ได้เรียนรู้มาระหว่างการเดินทางของชีวิต เรียนวันไหน รู้เวลาใดนั้น ไม่มีค่าให้จดจำ (แต่จำเหตุแห่งการเกิดได้) ผลลัพธ์ของมัน ได้สอนเอาไว้ว่า “สิ่งที่ไม่มีชีวิตก็อาจถึงแก่ความตายได้” ไอ้สิ่งที่ว่านั้น มันถูกเริ่มจากคนสองคนใช้เวลา ร่วมด้วยช่วยกันสร้างมันขึ้นมา แต่เหตุบังเอิญอย่างหนึ่งอย่างใดนั้นหนา ทั้งที่เข้าท่าหรือไม่เข้าทีก็ตาม ทั้งในโลก Online หรือในโลกแห่งชีวิตจริงที่ไม่อิง any platforms ใด ๆ ก็ตาม ทั้งที่รู้เท่าถึงการณ์หรือจะอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม มันทำให้เอ็งและข้าฯ ต่างก็หายและหน้าหายตา จากกันไป แถมยังเต็มไปด้วยเงื่อนไขที่จะหวนคืนกลับมา ดั่งเช่นวันวาน นั่นก็คือ “ความสัมพันธ์” ที่ฉันไม่อยากพบเจอกับเธอ เพราะวันวาน มันไม่หวานอีกต่อไป ทั้งเอ็งและข้าฯ ต่างก็ได้ “ตายจากกัน” ทั้ง ๆ ที่สองเรานั้น...ยังมีชีวิตอยู่
 
แก้ไข 4 พ.ย. 67, 14:23
คห.70: 18 มิ.ย. 65, 11:54
หลายภาพแห่งความตายในบันทึกฉบับนี้
หลายภาพแห่งความตายในบันทึกฉบับนี้ ได้เดินเหินผ่านวิถีการเกิดแบบมีชีวิตของผมไปหลายเวลา มันทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า เส้นทางของชีวิตที่เกิดมา มีสภาพบุคคล แล้วอยู่รอดมาจนถึงขณะที่ขีดเขียนอ่านถึงบรรทัดนี้ มันเคยล้ม ลุก คลุกคลาน ไข้วเขว เกเรเดินไม่ตรงทาง เข้าซอยโน้น ออกซอยนี้ หลงไหลไปตามสิ่งเร้าก็มีหลายครั้งหลายครา แต่ทว่า ตราบใดที่ “หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” สิ่งที่ทำให้ไขว้เขวต่าง ๆ นานา ที่ผ่านมา มันทำให้ผมได้เรียนรู้แล้วว่า แต่ละชีวิตที่ผ่านเข้ามาให้เราได้คบหากันนั้น ยากนักที่จะรู้ว่า แท้จริงแล้ว เขาและเธอเหล่านั้นเป็นคนแบบไหน อาเฮียคนนั้น...บอกว่าตัวข้าฯ เป็นคนดี แต่อาตี๋คนนี้ก็บอกว่า...ไอ้คนนั้นมันไม่ใช่(คนดี) แต่ในความเป็นจริง ทั้งเอ็งและข้าฯ ก็อาจไม่ได้เป็นคนดี สมกับคำล่ำลือของผู้คนในสังคมเลย ก็เป็นได้ แต่ “กาลเวลา” จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ได้เองว่า ทั้งเอ็งและข้าฯนั้น มันเป็นคนแบบไหน ดังนั้น เวลานั้นจึงมีค่าต่อชีวิต เพื่อไม่ให้เสียเวลาในชีวิต พินิจแล้วจึงได้เล็งเห็นว่า อันว่าตัวข้าฯ ก็คือ ตัวกู และเวลาที่เหลืออยู่ (กู)จะไม่ยอมเป็นหุ่นไล่กาหรือลูกไล่ใคร และจะไม่ยอมแกล้งทำเป็นไม่รู้สึกรู้สา ไร้ชีวิตชีวาอะไรกับใครอีกต่อไป ขอเลือกความ “ชัดเจน” ให้กับตัวเอง เจ็บก็ชัดเจน ไม่เจ็บก็ชัดเจน ก็ยังดีกว่าชีวิตนี้ปราศจากซึ่งความกล้า...คาราคาซัง (Don’t like me? F**k off, Problem Solved!)
แก้ไข 4 พ.ย. 67, 14:25
คห.71: 18 มิ.ย. 65, 11:56
[b]“ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”[/b] สำน
“ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” สำนวนนี้ มักใช้กล่าวถึงประสบการณ์ชีวิตของคนในเรื่องหนึ่งเรื่องใด บอกเตือนสอนคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ให้พึงระวังผลที่จะติดตามมา กล่าวคือ “ถ้ายังไม่พบเจอประสบการณ์ร้าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็ยากจะสำนึกและเลิกทำเรื่องที่ไม่ดี” เป็นต้น แต่ธรรมชาติของผู้ที่น้อยประสบการณ์ ก็มักใคร่ไคว่คว้า จับโน่น ทำนี่ เพิ่มบทเรียนให้ชีวีได้มีประสบการณ์ ให้อาจหาญทัดเทียม เท่าทันกับผู้มากประสบการณ์ได้ในเร็ววัน หากได้ “ลองของ” ตามครรลอง...ต้องไม่ธรรมดา

ปุจฉา...ลอง(ของ)แล้วได้ดี...มีใครบ้างไหม ลอง(ของ)แล้วกร่าง...มีมากถมไป หากได้ลอง(ของ)แล้ว...ชีวิตจะถูก(ของ)ตอบสนองอย่างไรนั้น การหาคำตอบให้กับวิสัชนานั้น คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามครรลองของกฎธรรมชาติเอาเองก็แล้วกัน ถ้ามันลองแล้วพลาด มีโอกาสได้เป็น “อาจารย์ใหญ่” ก็จะทำให้คนรุ่นต่อไป ได้เห็น “โลงศพ” จะได้ “ไม่หลั่งน้ำตา” แล้วเรียนรู้ว่า...อย่าได้หาทำ
 
คห.72: 18 มิ.ย. 65, 11:57
ขอขอบคุณนายแบบทั้งหลาย ที่ให้ความร
ขอขอบคุณนายแบบทั้งหลาย ที่ให้ความร่วมมือในการถ่ายทำอย่างเป็นธรรมชาติในเทคเดียว (บ้างก็ถูกแอบถ่าย Snapshot) ผลงานของท่านได้ร่วมเล่าขานการเดินทาง “บันทึกแห่งความตาย” ตั้งแต่ภาพแรกจนถึงภาพเกือบท้ายสุด ความตายของท่านทั้งหลายนั้นเป็น “ครู” สอนให้ผมเข้าใจ “เงื่อนไขของเวลา” ที่มีอยู่ในทุกชีวาว่า มันลดน้อยถอยลงไปทุกวี่ทุกวัน และ “ความสุข” ก็ไม่ได้เกิดจากการที่จะต้องมีอะไรหรือต้องมีเท่าไหร่ แต่มันอยู่ที่เราจะ “พอ” ได้เมื่อไหร่ “สิ่งใดที่ควบคุมไม่ได้” มันกำลังสอนให้ผมปล่อยวาง เริ่มที่จะ “ไม่คิดเยอะเกินไปกว่าวันนี้” เพราะไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้ จะมีหรือไม่ เริ่ม “ช่างแม่ง” ให้กับหลาย ๆ เรื่องในชีวิต เพราะไม่มีอะไรเป็นไปตามที่คาดหวังได้ตลอด เลิกเสียดายอดีตที่ผ่านมา และ “อยู่กับปัจจุบัน” เพราะปลายทางของชีวิตนั้น มันอาจไม่มีจริง ท้ายที่สุด มันทำให้ผมได้รู้จักกับ “มรณานุสติ” ว่าทุกชีวิตนั้น “มีพบ มีพราก มีจาก มีลา” เวียนไป วนมา เป็นเรื่องธรรมดาตามวัฏสงสารที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนในภพภูมิมนุษย์ มันไม่ง่ายที่จะทำใจ แต่มันก็ต้องทำใจ...“ได้แค่ไหน ก็แค่นั้น”
คห.73: 18 มิ.ย. 65, 11:58
สิ่งที่เป็นโศกนาถกรรมของชีวิตนั้น
สิ่งที่เป็นโศกนาถกรรมของชีวิตนั้น หาใช่ความตายแต่อย่างใดไม่ แต่มันคือ สิ่งที่ “ตาย” อยู่ภายในร่างกายขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ต่างหาก คำพูดนี้ มันทำให้ผมนึกถึง “เงื่อนไขของเวลา” ในการเกิดแบบมีชีวิตว่า หากเงื่อนเวลานี้เอื้ออำนวยให้ร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถลงมือทำอะไรต่อมิอะไรได้ครบ จบสมบรูณ์ดั่งที่ได้ตั้งใจไว้ มันก็คงจะดี แต่บางทีเวลามันก็มีไม่มากพอให้บางชีวิต ได้คิด ได้ทำอะไร ๆ ดังที่ใจต้องการ เสมือนหนึ่งการนั่งทำข้อสอบ เมื่อ “หมดเวลา” ก็ต้องวางปากกา แล้วส่งกระดาษคำตอบ ทำได้ถึงข้อไหน ก็ได้คะแนนแค่นั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากบทเพลงนี้ นั่นก็คือ ผมจะรีบทำโจทย์ข้อสอบให้ได้มากข้อที่สุด ในขณะที่กรรมการยังไม่เป่านกหวีดหมดเวลา (อย่างน้อยผมก็ยังได้รู้จักกับ “ความรัก” ที่เป็น “สัญญาขันธ์” และก็ยังสละมันไม่ได้) ดังนั้น เมื่อผม “มีเวลา ก็ใช้เวลา มีชีวิต ก็ใช้ชีวิต” ผมจะไม่ยอมให้ชีวิตของผมตายลงไปในร่างกายที่ยังมีเวลา...เด็ดขาด
แก้ไข 4 พ.ย. 67, 14:29
คห.74: 18 มิ.ย. 65, 11:59
ขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับนายแบบต่างวั
ขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับนายแบบต่างวัยในภาพนี้ ที่เตือนให้ผมระลึกถึงคำว่า “Dance before the music is over. Live before your Life is over” อยู่เสมอ ผมยังจำวันแรกที่เราพบเจอกันได้ ที่สนามแข่งขันยิงปืน IPSC ที่ จ.เชียงราย เมื่อหลายปีผ่านมาแล้ว We had beer and a fun chat together while we were waiting for our reward of medals after the competition match. นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เราร่วมการแข่งขันยิงปืนทั้ง IPSC และ IDPA ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดความสนิทสนม ผูกพันธ์กัน และกลายเป็นเพื่อนต่างวัยกันในที่สุด ประสบการณ์ความรู้หลายอย่างที่เพื่อนต่างวัยคนนี้ ได้เดินเหินผ่านเส้นทางชีวิตมาก่อนผมเกือบสามสิบปี และได้กรุณานำเอามาถ่ายทอด บอกสอน ทำให้ผมประหยัดเวลาในชีวิตที่จะเรียนรู้อะไรบางอย่างในอนาคตลงไปได้อีกเกือบสามสิบปี ผมจึงไม่อิดออดที่จะนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการแข่งขันและชีวิตจริงให้เหมาะสมกับตัวผม วันที่บันทึกฉบับนี้ได้นำเผยแพร่ออกสื่อ (18 มิถุนายน 2565) คือ วันสุดท้ายที่กายหยาบหรือ “รูปขันธ์” ของเพื่อนต่างวัยคนนี้ ยังมีอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ก่อนเปลี่ยนสถานะเป็นกายละเอียดหรือกลายเป็นขี้เถ้าในวันรุ่งขึ้น These 77 photos of this memorandum are therefore reflected your age and my condolence. I’ll miss you. Rest-in-Peace, Uncle Bruce.
คห.75: 18 มิ.ย. 65, 11:59
ขอขอบคุณพี่เล็ก-แปดริ้ว น้าเว็ป พี่
ขอขอบคุณพี่เล็ก-แปดริ้ว น้าเว็ป พี่เต่า-Trophy ที่ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพให้ผมที่ร้าน “อินโฮม” เมื่อเกือบยี่สิบขวบปีที่ผ่านมา และครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ไม่ได้เอ่ยชื่อเสียงเรียงนามในที่นี้ หากไม่ได้ร่ำเรียนวิชาจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายในวันนั้น ผมคงไม่มีความรู้และกล้าพอที่จะเดินไป-ถ่ายไป เก็บภาพมาร้อยเรียงเขียนเป็นเรื่องราว เล่าขานการเดินทางในรูปแบบของผม (อาจจะยังถ่ายยังไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ร่ำเรียนมา แต่ก็จะพยายามพัฒนาต่อไปนะครับ) ขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับน้าเว็ป ที่ยังดูแลพื้นที่อุปทานของบ้านหลังนี้เป็นอย่างดี และให้ผมได้นำเอาวัตถุดิบที่เก็บรวบรวมได้ในขณะที่เดินทาง กลั่นกรองนำมาทำให้เป็นอุปสงค์ เพื่อ Share & Learn กับพี่ ๆ น้อง ๆ ให้ได้รับชมและเรียนรู้ไปด้วยกัน...เสมอมา
<1234>
siamfishing.com © 2024