บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 249 อ่าน 166,451 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
คห.51: 5 ต.ค. 50, 20:22
เมื่อตะกี้เข้าไปดูคอลลัมน์" PRACTICALFISHKEEPING
เมื่อตะกี้เข้าไปดูคอลลัมน์" PRACTICALFISHKEEPING" ยินดีกับคนไทยอีกครั้งครับ ที่มีการนำชื่อสกุลของคุณ กำพล อุดมฤทธิรุจน์ (MR.KAMPHOL UDOMRITTHIRUJ) มาเป็นเกียรติในการตั้งชื่อปลาตระกูลBOTIA หลังจากที่เราเรียกปลาชนิดนี้ว่า EMPEROR BOTIA มาช่วงนึงมาเป็น BOTIA UDOMRITTHIRUJI .
BOTIA UDOMRITTHIRUJI : พบใน TENASSERIM RIVER ทางตอนใต้ของพม่า ยาวได้ถึง 15 ซม. 6 นิ้ว

คห.52: 6 ต.ค. 50, 18:49
จัดเป็นปลาหมอสีสายพันธุ์เอเชียที่
จัดเป็นปลาหมอสีสายพันธุ์เอเชียที่ หายากที่สุดในอินเดีย แถมยังแพงเป็นบ้าครับผม E. CANARENSIS ยาว11.50 ซม.
คห.53: 6 ต.ค. 50, 19:47
หวัดดีครับน้านก วันนี้ไม่ไปทัวร์บ่
หวัดดีครับน้านก วันนี้ไม่ไปทัวร์บ่ออิทหรือครับ?
คห.54: 6 ต.ค. 50, 22:48
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับน้า ผมเห็นแ
ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับน้า ผมเห็นแต่ในรูปที่เขาตกกันมา ผมยังอยากจะรู้เลยครับว่าในนั้นมีปลาอะไรบ้าง
 
คห.55: 7 ต.ค. 50, 19:05
หวัดดีครับน้าๆเป็นอีกวันที่คงจะบอ
หวัดดีครับน้าๆเป็นอีกวันที่คงจะบอกว่าเป็นข่าวดีของคนรักปลา หลังจากที่มีการตั้งชื่อปลาโดยมีชื่อไทย น้าครับปลานำจืดทั่วโลกมีกี่สายพันธุ์ครับ และอย่างน้อยมีชื่อเป็นคนไทยด้วย บอกเลยครับว่ายากมากๆ ท่านที่ค้นพบต้องฝ่าฟันอุปสรรคหลายอย่างกว่าจะพบตัว กลับมาที่ข่าวดีที่ว่าคือมีการพบปลาสายพันธุ์ใหม่ในบ้านเรา เป็นปลาขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ปลาขยุย เจ้านี่ก็คือ
" AKYSIS PULVINATUS" จากตัวอย่างที่ค้นพบมีความยาวประมาณ 3 ซม. พบในลำธารบนเขา ซึ่งอยู่ทางตอนบนของแม่นำตาปี ทางใต้ของไทย.
 
คห.56: 7 ต.ค. 50, 21:58
ขอเชิญชม SPOTTED EEL LOACH 8ซม. เองครับน้า
 :laughing: :lau
ขอเชิญชม SPOTTED EEL LOACH 8ซม. เองครับน้า
คห.57: 8 ต.ค. 50, 06:35
เดี๋ยวจะหาว่าตัวมันน่าเกลียดน่ากล
เดี๋ยวจะหาว่าตัวมันน่าเกลียดน่ากลัว อย่างที่COMMON NAME ลงท้ายครับ มันเป็นLOACH คือประมาณว่าปลาKHULI LOACH หรือ ปลาปล้องอ้อย  เจ้าSPOTTED EEL LOACH ใหญ่กว่านิดหน่อย อาหารของมันเป็นพวกแมลงนำที่มีขนาดเล็กมากๆครับผม.
 
คห.58: 10 ต.ค. 50, 06:54
คราวนี้ต้องขออนุญาตก็อปปี้ของจริง
คราวนี้ต้องขออนุญาตก็อปปี้ของจริงจาก WWW.SIAMENSIS.ORG อันนี้น่าสนใจมากครับสำหรับผม ผมจำได้เคยดูกระทู้นี้ของน้าเสือข้างลาย พอเห็นรูปแรกผมกลับไม่ค่อยสนใจ เดี๋ยวจะขออนุญาต " น้าเสือข้างลาย" ตรงนี้เลยนะครับขอยืมรูปหน่อยครับ เพราะมันเป็นรูปปลานอนแช่ในทั้ง ถ้าจำไม่ผิดน้าเสือข้างลายยังพูดเปรยๆว่าเหมือนมีคนบอกว่าเป็นกระโห้อะไรซักอย่าง พอเข้าไปชมในเว็บ WWW.SIAMENSIS.ORG เท่านั้นถึงกับงงว่า ปลาชนิดนี้เคยได้ยินมานานแต่ไม่คิดว่าจะเจอของจริง อันนี้ยอมรับตรงๆว่าเพิ่งรู้ครับ ที่ผมไม่สนใจเพราะมีคนเคยบอกว่าสวยสู้กระโห้ไทยไม่ได้  และขอซูฮก น้า PLATEEN กับน้า นณณ์ จริงๆครับ ทั้ง 2 ท่านเลย (ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ)พอเห็นภาพปั๊บ บอกว่าเป็นเจ้า CATLA CATLA เลย และก็จริงๆด้วย ลองดูภาพของน้าเสือข้างลายรูปแรก ถ้าผมจำไม่ผิด ที่โพสท์มานะครับ
คห.59: 10 ต.ค. 50, 06:55
ส่วนนี้รูปที่ 2 ครับผม
 :ohh: :ohh: :ohh: :ohh: :ohh: :ohh:
ส่วนนี้รูปที่ 2 ครับผม
คห.60: 10 ต.ค. 50, 06:57
ส่วนรูปนี้เป็น2รูปที่ผม SEARCH เจอครับ
 :
ส่วนรูปนี้เป็น2รูปที่ผม SEARCH เจอครับ
คห.61: 10 ต.ค. 50, 07:09
นี่รูปที่2 ครับ คือตรงนี้ขอเรียนน้า
นี่รูปที่2 ครับ คือตรงนี้ขอเรียนน้าเสือข้างลายว่าไม่ได้มีเจตนาล้อเลียน หรือ ทำเป็นเรื่องตลกนะครับ สำหรับผมถือเป็นความรู้ทีเดียว และมองเล่นๆว่าไอ้เจ้านี่มันโผล่มาให้ชาวบ้านจับได้ไงเนี่ย? ขอลงข้อมูลอีกนิดที่หาเจอนะครับ.
CATLA CATLA : กระโห้อินเดีย หรือ CATLA พบในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และ พม่า ใหญ่ได้ถึง 1.82 ม.เชียวครับ
คห.62: 10 ต.ค. 50, 21:26
ขอบคุณครับน้าๆ ทุกท่านที่เข้ามาดูก
ขอบคุณครับน้าๆ ทุกท่านที่เข้ามาดูกระทู้นี้ครับผม กำลังสับสนว่าจะเอาปลาชนิดไหนเข้ามาเพิ่มเติม  อย่างเรื่องปลากดหัวเสียมกับญาติของเค้าหน้าห้องภาพไทย หรือ ปลาหว้ากับญาติ(เห็นหลายเว็ปเลย เดี๋ยวมีฉกรูป แหะๆๆๆ) หรือ เจ้า บา-กา-เรียส อีกในนามก็คือ ปลาแค้ เดี๋ยวเข้ามาครับ ตอนนี้กำลังเฝ้าของที่จ้องจะประมูลอยู่ครับ ลองดูหน้าเหมือนปลาหว้าหน้านอหรือญาติของเขาครับ B.DIPLOSTOMA ของเนปาล และอินเดียก่อนครับน้า
หมายเหตุ ถ้ามีการแย้งว่าจากรูปนี้ชัวร์หรือเปล่า ผมพยายามเลือกรูปที่ VERIFIED แล้วเท่านั้นครับ
คห.63: 11 ต.ค. 50, 07:18
ด้วยที่ว่าสายพันธุ์ปลาหว้าหน้านอไ
ด้วยที่ว่าสายพันธุ์ปลาหว้าหน้านอไม่ได้มีเขาชนิดเดียวที่หน้าเป็นนอโนกขึ้นมานะครับ ยังมีเจ้าB.DIPLOSTOMA( เป็นปลาที่พบในเนปาลและอินเดีย ยาว 25 ซม.) ยังมี B.YUNNANENSIS ที่เจอะเจอในจีนอีก(เฉพาะในจีนปาเพิ่มเข้าไปอีกตั้ง 13 ชนิด มี B.DECORA,B.DERO,B.DEVDEVI,B.DISCOGNATHOIDES,B.LEMASSONI,B.LIPPA,B.RENDAHLI,B.TONKINENSIS,B.TUNGTING,B.WUI,B.XANTHOGENYS,B.YUNNANENSIS)ไหนจะรวมกับB.BEHRI(หว้าหน้านอ) ,B.ELEGANS ,B.SINKLERI. ที่มันลำบากคือ ไม่มีรูป รูปมีแต่ไม่VERIFIED. อีกละครับ นี่ละครับปัญหาเบ้งๆเลยครับน้า จะสังเกตได้ว่ามีการค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ๆตลอด หรือมีการเปลี่ยนชื่อนึงมาเป็นอีกชื่อนึง ดูอย่างเจ้ากระโห้อินเดียไงครับ ผมเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่เคยเห็นตัว ยังเง็งว่ามาได้งัย กระโห้เราเป็น CATLOCARPIO อินเดียเป็น CATLA. แต่ก็มันส์ดีครับผม ต่อไปเอาเรื่องชนิดเสือตอคั่นก่อนแล้วกันครับน้า แล้วตบด้วยปลากดหัวเสียม หรือ ปลาแค้ ก่อนน้าโพสท์บอกได้ครับ แต่อย่าหาแปลกมากนะครับ คือ ประมาณว่าไม่ได้เรียนประมงมา เรียนการเงินที่รามฯ มาครับ ไม่จบด้วยแต่ฟัน G การเงินตั้ง13ตัวแหนะ
คห.64: 11 ต.ค. 50, 20:58
ข้อมูลเสือตอต่อไปนี้น้าๆอาจจะพอทร
ข้อมูลเสือตอต่อไปนี้น้าๆอาจจะพอทราบรายละเอียดมาบ้างจากWEB ต่างๆ หนังสืออะไรเหล่านี้ ในส่วนของผมถือซะว่าเป็นกานทบทวนแล้วกันนะครับ.
ปลาเสือตออยู่ในวงศ์ LOBOTIDAE แบ่งเป็น 2 สกุลคือ DATNIOIDES กับ LOBOTES. เสือตออยู่ในกลุ่ม DATNIOIDESครับตอนนี้มีอยู่ 5 ชนิดครับผม ผมจะขออนุญาตจำแนกจากที่เข้าใจง่ายๆไปหายากเลยนะครับน้า.
1) เสือตอปาปัวร์ , DATNIOIDES CAMPBELLI ยาว35-40ซม.พบในปาปัวร์นิวกินี อินโดฯ.
2) เสือตอลายเล็ก,DATNIOIDES UNDECIMRADIATUS ยาวประมาณ 30 ซม. พบในไทย เขมร ลาว เวียตนาม
3) กระพงลาย ,DATNIOIDES QUADRIFASCIATUS ยาว30-40ซม. พบในบริเวณปากแม่นำ ที่มีนำกร่อย ไทย มาเลย์ อินโดฯ เขมร พม่า
หมายเหตุนิดนึงครับผม-คนที่มีหนังสือรวมปลาบางเล่ม ระบุว่า"เสือตอลายคู่" มีชื่อว่าDATNIOIDES POLOTA แต่จริงๆ POLOTA เป็นชื่อเรียกกระพงลายครับผม.
4)เสือตอลายใหญ่,DATNIOIDES PULCHER ยาว 50-60 ซม. พบใน ไทย เขมร ลาว เวียตนาม
5) DATNIOIDES MICROLEPIS ยาวโดยประมาณ 50-60 ซม.พบใน อินโดฯ เขมร ไทย ลาว
หมายเหตุ- จะสังเกตุได้ว่าเจ้าMICRO พบในทั้งไทย เขมร อินโด ลาว ที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นลายไหนนั้น เพราะว่าชนิดนี้มีทั้งลายใหญ่ หรือ ลายคู่(ขออนุญาตที่ใช้คำนี้ เพื่อสะดวกต่อการเข้าใจครับผม) เลยสรุปยังไม่ได้ครับน้าว่า "เสือตอลายคู่"มีชื่อวิทย์เรียกว่าอะไรแน่นอนครับผม
บทส่งท้าย- ชนิดสุดท้ายคือเจ้า "LOBOTES" เป็นปลานำกร่อยจัด กับ ทะเล ที่มีการพูดถึง " LOBOTES SURINAMENSIS" หรือ "กระพงดำ" เนื่องมาจากปลาชนิดนี้ถ้าไซส์ใหญ่นี้เหมือนเสือตอมากนั่นเองครับผม. 
คห.65: 13 ต.ค. 50, 18:36
หวัดดีครับน้าๆทุกท่าน หายไปทำธุระม
หวัดดีครับน้าๆทุกท่าน หายไปทำธุระมาครับผม วันนี้เลยมีโอกาสมาโพสท์ในบอกเล่าเก้าสิบ คือผมจะพยายามหารายละเอียดที่เกี่ยวกับปลาไทยมาลงในกระทู้นี้ให้มากที่สุด วันนี้ก่อนอังกฤษจะเตะยูโรฯ มีกระทู้นึงที่ไม่ทราบว่าน้าๆเคยพบเจอหรือเปล่าครับ อาจจะไม่เกี่ยวกับปลาเกมส์เท่าไหร่ ผมจะให้หัวข้อว่า " ชื่อของปลาฉลามหางไหม้ชนิดใหม่" มีการตีพิมพ์ลงใน " SYSTEMATICS JOURNAL ZOOTAXA" บอกใบ้เลยครับเกี่ยวกับประเทศไทยตรงๆ เริ่มนะครับ
สกุล BALANTIOCHEILOS :SILVER SHARK:BALA SHARK: ปลาฉลามหางไหม้ ประกอบด้วย 2 ชนิด
1) BALANTIOCHEILOS MELANOPTERUS ; ตัวนี้เป็นปลาที่พบในตู้ปลาตามตลาดปลาบ้านเรา มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย
2) BALANTIOCHEILOS AMBUSTICAUDA ; ตัวนี้แหละครับ"ชื่อใหม่"ของสายพันธุ์นี้ แหล่งที่พบคือ บริเวณที่ราบลุ่ม ม.เจ้าพระยา และ ม.โขง (คงจะเริ่มชัดขึ้นแล้วนะครับ)
มีการระบุถึงข้อแตกต่างทั้ง2ชนิดระหว่าง INDOCHINESE กับ SUNDAIC (บริเวณคาบสมุทรมาเลย์ กินส่วนของ SUMATRA , JAVA, BORNEO) มีดังนี้ครับ.
A) บริเวณจมูก(SNOUT) ของB.AMBUSTICAUDA สั้นกว่าประมาณ27.50%-33.90%เทียบจากความยาวส่วนหัว สำหรับB.MELANOPTERUS ประมาณ 33.20%-39.10%เทียบจากความยาวส่วนหัว
B) ผมขออนุญาตใช้คำว่า"แถบดำ" ตามความเข้าใจส่วนตัวของผมนะครับ "แถบดำ"ใน B.AMBUSTICAUDA แถบจะแคบกว่าของB.MELANOPTERUS ซึ่งแถบที่ว่าจะอยู่บรเวณครีบท้องกับครีบก้น
C)สีของตัวปลา มีการระบุว่าสีของB.AMBUSTICAUDA ดูเป็นสีทองบริเวณหัว และ ลำตัว * ของB.MELANOPTERUS จะเป็นสีเงินแววเงา
**คือท่านผู้เขียน บอกว่า เรื่องของสีปลานั้น ได้อ้างอิงมาจาก แม๊กการ์ซีนเด็ก ของไทย เมื่อราวๆปี คศ 1970 อันนี้ผมแปลจากในส่วนของท่านผู้เขียนกล่าวถึง แต่จะเป็นเล่มไหน ชื่ออะไร ผู้เขียนไม่ได้ระบุไว้ครับน้า แต่กระนั้นผู้เขียนก็ยังไม่VERIFIEDเต็ม100%นะครับกับภาพที่ท่านเจอ**
D) ไซส์ที่เล็กกว่าประมาณ 10 นิ้ว
**มีการยืนยันจากนักวิชาการของไทยแน่นอนแล้วว่า B.AMBUSTICAUDA สูญพันธุ์ไปจริงๆ**
**AMBUSTICAUDA = BURNT TAIL,BLACK EDGES OF THE FINS. **
น้าๆลองดูความคิดเห็นของฝรั่งมังค่าเค้าหน่อยนะครับ
 
คห.66: 13 ต.ค. 50, 19:00
" I
" I'm NOT MAKING THIS UP BUT I THOUGHT THAT THERE WAS TWO SILVER SHARKS FOR YEARS. IN MY OLDER FISH BOOKS(30 YEARS PLUS) OFTEN THE SILVER SHARKS HAD REALLY YELLOW FINS AND MORE METALLIC BODIES THAN WHAT WE SEE NOW. YELLOW FINS AREN'T MENTIONED ABOVE THOUGH,AND I AM AWARE THAT FOOT LONG ADULTS DO LOOK QUITE DIFFERENT TO JUVENILES. CAN YOU GET A PICTURE OF ONE MATT ?
JEREMY GAY ,MONDAY APRIL 30TH ,2007
คำตอบผู้เขียนท่านก็เขียนตามที่ผมอธิบายไปแล้วด้านบน ส่วนอีกท่านน้าลองดูครับ
" I HAVE SEEN 15 YEARS OLD ADULT BALA SHARKS WITH GOLD HEADS. I THOUGHT IT WAS DO TO OLD AGE. BUT MAY DIFFERENT SPECIES."
MICHAEL HAGAN TUESDAY MAY 1ST ,2007
นี่คือสิ่งที่ฝรั่งเขาถามถึง "ปลาฉลามหางไหม้ของไทย" ถ้าวันนึงในอนาคตมีคนเข้าถามถึง "ปลาไทยอีกหลายชนิดที่ตอนนี้มีอยู่ ว่าเขาเคยเห็นเมื่อ 15-30ปีที่แล้ว" มันน่าขายหน้านะครับ ว่าเราเองเป็นคนทำลายมันกับมือซะเอง ขอบคุณครับน้าๆที่ผ่านเข้ามาชมกระทู้ผม ขอบคุณครับ
คห.67: 15 ต.ค. 50, 07:25
อันนี้ฟังเป็นเรื่องขำๆนะครับ "ตามก
อันนี้ฟังเป็นเรื่องขำๆนะครับ "ตามกฏหมายไทย ห้ามมีเสือตอไว้ในครอบครอง จำเป็นต้องนำมาจดทะเบียน" ส่วนอันนี้ถามผู้รู้ท่านนึงว่าจริงมั๊ย ท่านบอกว่า "จริงครับ แต่ผมยังเห็นเขาขายกันในอินโดฯ ในเขมร อยู่เลย" ผมเลบอุทานอย่างแรงต้องเน้นอย่างแรงเลย "อ้าว! งัยเป็นอย่างงั้นไปได้" ผู้รู้ท่านนี้ได้แต่อมยิ้ม
เรื่องก็มีอยู่เท่านี้แหละครับ งั้นเราคงจะต้องหารายละเอียดใน CITES กันต่อไป ว่า"จริงมั๊ยน้อ"
คห.68: 18 ต.ค. 50, 18:57
กลับมาแล้วเหรอครับ ! มีชอตเด็ดอะไรท
กลับมาแล้วเหรอครับ ! มีชอตเด็ดอะไรที่ญี่ปุ่น โพสท์ให้ชมหน่อยนะครับน้า
 
คห.69: 19 ต.ค. 50, 00:18
ขอบคุณครับน้าNaibaeที่ให้คำแนะนำ ว่าผม
ขอบคุณครับน้าNaibaeที่ให้คำแนะนำ ว่าผมน่าจะมีเรื่องปลาไทย ที่จริงผมอยากเพิ่มกระทู้อีกผมกลัวจะเกิดปัญหาการขัดแย้งหลายๆอย่างครับ ของผมก็มีทั้งในเว็บ ninekaow , เว็บ SIAMENSIS.ORG ผมก็มีแต่ผมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ครับน้า ผมต้องขออนุญาตน้าๆว่าขอเวลาให้ผมปรับตัวหน่อยนึงครับ ที่ผมกำลังตามอยู่มีทั้งปลาโหดๆ ปลาในแถบINDOCHINESEนี่แหละครับ หรือข่าวคราวปลาที่ถูกค้นพบใหม่ จากนักวิชาการทั่วโลก ยังไงผมก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ หากข้อมูลผมผิดพลาด โพสท์มาบอกได้เลยครับผม ตามสบาย แต่ถ้าประเภทโพสท์มาโวยวายโดยไม่ชี้แจงเหตุผล หรือไม่มีข้อมูลมาหักล้างขอเถอะครับ เรามาแชร์ความรู้กันดีกว่า แล้วให้ผู้ที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ข้อคิด หรืออะไรที่ดีๆ ดีกว่าครับ
คห.70: 19 ต.ค. 50, 01:45
ปลาดังแดง หรือ ปลาแก้มแดง
แหล่งที่พ
ปลาดังแดง หรือ ปลาแก้มแดง
แหล่งที่พบเห็น : แม่นำโขง
    ขนาด        : ใหญ่สุดที่พบ 80 ซม. ประมาณ 8 ก.ก.
                      เป็นปลาฝูงขนาดเล็ก ประมาณ 10 ตัว
  อาหาร        : ปลาขนาดเล็ก กุ้ง แมลง
     
คห.71: 20 ต.ค. 50, 20:36
มีน้าๆหลายท่านว่า เอ!น่าจะลองเอาปล
มีน้าๆหลายท่านว่า เอ!น่าจะลองเอาปลาไทยมาโพสท์ให้ดูบ้าง ก็หาได้หลายชนิดอยู่ครับ แต่ภาพที่ได้มาอาจจะไม่สวยจนน่าประทับใจซักเท่าไหร่ น้าๆคงไม่ว่ากันนะครับ อย่างตัวนี้ผมว่ามันสวยแปลกๆดีครับ เขาชื่อ "ปลาปากเปี่ยน" ดูจากสีสันถ้านำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้คงสวยดีครับ ใหญ่ได้ถึง 25 ซม หรือ 1 ฟุต พอดีไม่เลวนะครับ เป็น OMNIVORES คือกินทั้งพืช และสัตว์ อาจจะเป็น แมลง หรือ กุ้ง ฯลฯ เป็นปลาที่พบใน ม.โขง ทั้งไทย ลาว และเวียตนามครับน้า
คห.72: 20 ต.ค. 50, 21:26
เป็นปลาขนาดกลางๆ ยาวประมาณ 60 ซม. อาศั
เป็นปลาขนาดกลางๆ ยาวประมาณ 60 ซม. อาศัยตามแหล่งนำไหลพบใน ม.สาละวิน , ม.โขง รวมถึงเจ้าพระยา ปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นมากนัก ดูรูปร่าคล้ายปลาพลวงมากครับ ทำไมจะไม่คล้ายละครับ ก็เค้าอยู่ในสกุลเดียวกันนะสิครับ ขอเชิญพบกับ " ปลาปุง "ครับผม
คห.73: 21 ต.ค. 50, 19:58
ปลายี่สก,ปลาเสือ (ISOK BARB) พบในลุ่ม ม.แม่ก
ปลายี่สก,ปลาเสือ (ISOK BARB) พบในลุ่ม ม.แม่กลอง, ม.โขง,ในประเทศ มาเลเซีย มีขนาดยาวได้ถึง 1.50 ม. ยังติด CITES อยู่ครับผม
คห.74: 21 ต.ค. 50, 20:33
ปลาเอินคางมุม,ปลาเอินตาขาว(THICKLIP BARB) พบ
ปลาเอินคางมุม,ปลาเอินตาขาว(THICKLIP BARB) พบในลุ่ม ม.โขง ยาวได้ถึง 1.50 ม. มีคนมักจะสับสนกับปลายี่สกอยู่บ่อย จากที่อ่านเจอ อาจเป็นเพราะว่ามีคนพบว่ามันทั้งสองเดินทางไปด้วยกัน ข้อแตกต่างมีทั้ง ขนาดของปาก จำนวนเกล็ดนับจากครีบหลังลงมาถึงเกล็ดเส้นข้างลำตัว ความแตกต่างของขนาดเกล็ด แถบดำ ความยาวของหนวดปลา ฯลฯ อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ จากข้อแตกต่างที่กล่าวมาและจากรูป  สีของตาอาจจะเป็นตัวบอกได้ส่วนนึง ลำตัวที่กว้างกว่าของปลาเอินตาขาว แถบสีดำที่บางกว่า และมีมากกว่า ในปลาเอินตาขาวหนวดจะสั้นลงในช่วงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ลองดูภาพปลาเอินตาขาวที่หาโพสท์มาได้นะครับผม
คห.75: 21 ต.ค. 50, 20:55
ตัวสุดท้ายคือ ปลาเอินฝ้าย ต้องขอโท
ตัวสุดท้ายคือ ปลาเอินฝ้าย ต้องขอโทษน้าๆนะครับที่ภาพปลาตัวนี้เป็นภาพวาด ปลาเอินฝ้าย (THINLIP BARB) มีความยาวตั้งแต่ 70-150 ซม. เป็นปลาอพยพร่วมกับปลายี่สกด้วยเหมือนกัน แต่แถบดำไม่ชัดเจน มีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า. พบในลุ่มนำโขง

<12345>>>
siamfishing.com © 2024