พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>>>
กระดาน
คห. 229 อ่าน 412,558 โหวต 31
พันธุ์ปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.51: 3 ก.ค. 55, 20:23
สุดท้ายพี่ใหญ่ใน ตระกูลนี้คับ
ปลาช
สุดท้ายพี่ใหญ่ใน ตระกูลนี้คับ
ปลาชะโด (อังกฤษ: Great snakehead, Giant snakehead) เป็นชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa micropeltes อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสีของเปลือกหอยแมลงภู่แทน

โดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า "ชะโด" หรือ "อ้ายป๊อก" เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า "แมลงภู่" ตามสีของลำตัว

นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้แล้ว ยังมีอุปนิสัยดุร้ายมากที่สุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า "ชะโดตีแปลง"

เป็นปลาที่พบได้ทุกภาคของประเทศ และพบในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย, อินเดีย, อินโดนีเชีย ตอนใต้ของจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย

ชะโดมีการเลี้ยงในกระชังตามแม่น้ำสายใหญ่เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, สะแกกรัง และอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์, เขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี มักจะบริโภคด้วยการทำเป็นปลาเค็มและตากแห้งมากกว่าปรุงสด เพราะเนื้อแข็งและมีก้างเยอะ[1]

นอกจากเป็นปลาเศรษฐกิจแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะลูกปลา พบมีขายในตลาดปลาสวยงามบ่อย ๆ และมีราคาถูก
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.52: 3 ก.ค. 55, 20:25
ต่อไปเป็นตระกูล ปลาคาร์ฟ  

ปลาไน หร
ต่อไปเป็นตระกูล ปลาคาร์ฟ 

ปลาไน หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาคาร์ป (อังกฤษ: Carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง

เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำ

ปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 40 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาแต้จิ๋วว่า หลีฮื้อ (จีนตัวเต็ม: &#39881;&#39770;) (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค เช่น ออสเตรเลีย ปลาไนได้ถูกนำเข้าและถูกปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาต้ จนแพร่ขยายพันธุ์กระทบต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ มีฉายาเรียกว่า "กระต่ายแม่น้ำ" (River Rabbit)

ในประเทศไทยถูกนำเข้าโดยชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ในปี พ.ศ. 2455 เพื่อเป็นอาหาร และได้ถูกเลี้ยงครั้งแรกในพื้นที่แถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.53: 3 ก.ค. 55, 20:27
ปลากระมัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ
ปลากระมัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites proctozysron อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนและปลาตะพาก แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร

พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ นิยมบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

กระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.54: 3 ก.ค. 55, 20:28
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ป
ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร

เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.55: 3 ก.ค. 55, 20:28
ปลากระสูบขีด (อังกฤษ: Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปล
ปลากระสูบขีด (อังกฤษ: Hampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H. dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่

พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่าปลากระสูบจุด[1]

เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "สูบ", "สูด", "สิก" หรือ "ขม" เป็นต้น
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.56: 3 ก.ค. 55, 20:29
ปลากระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อ
ปลากระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ

นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

กระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ" ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.57: 3 ก.ค. 55, 20:31
ปลากระโห้ (อังกฤษ: Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปล
ปลากระโห้ (อังกฤษ: Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
ลักษณะทางกายภาพมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catlocarpio siamensis จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียว ที่อยู่ในสกุล Catlocarpio[2] มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง

แหล่งอาศัยพบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยจะวางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 มิลลิเมตร ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ

อาหารของปลากระโห้คือ แพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้

ปลากระโห้นอกจากนำมาทำเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย

ชื่อเรียกอื่นนอกจากชื่อกระโห้แล้ว ในภาษาอีสานจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า "คาบมัน" หรือ "หัวมัน" ภาษาเหนือเรียกว่า "กะมัน" ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เรียกว่า "ปลาสา"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.58: 3 ก.ค. 55, 20:32
ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหน
ปลากาดำ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo chrysophekadion อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร[1]

มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยการแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย พบในแม่น้ำขนาดใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นภาคใต้

บริโภคโดยการปรุงสด เช่น ลาบหรือน้ำยา เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่มีเนื้อมาก และยังทำเป็นปลาร้าได้อีกด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่มีนิสัยก้าวร้าวชอบระรานปลาตัวอื่นโดยเฉพาะจะใช้ปากไปดูดแทะเนื้อตัวปลาตัวอื่น

ปลากาดำ ยังมีชื่อที่เรียกแตกต่างออกไปตามภาษาถิ่น เช่น "เพี้ย" ในภาษาเหนือ "อีตู๋" หรือ "อีก่ำ" ในภาษาอีสาน ปัจจุบันปลากาดำเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายในบ่อเลี้ยง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.59: 3 ก.ค. 55, 20:33
ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มี
ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร

เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น

เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C. enoplus) เพราะเนื้อแข็งกว่า

พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "กระมังครีบสูง "

และมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปากบาน" หรือ "โจกเขียว"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.60: 3 ก.ค. 55, 20:35
ปลาตะโกก (อังกฤษ: Soldier river barb) เป็นชื่อปลา
ปลาตะโกก (อังกฤษ: Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
ลักษณะมีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย, ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

ที่อยู่พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ เป็นต้น โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "โจก"

ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยเฉพาะตัวที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.61: 3 ก.ค. 55, 20:36
ปลาตะพาก เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่
ปลาตะพาก เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypsibarbus (/ฮีพ-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลาง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์และวงศ์ย่อยเดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น

โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 9 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (Hypsibarbus wetmorei)[2] โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห[3]

ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ ปากหนวด, ปีก (ภาษาอีสาน), ปากคำ หรือ สะป๊าก (ภาษาเหนือ) เป็นต้น
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.62: 3 ก.ค. 55, 20:37
ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver barb) เป็นชื่อ
ปลาตะเพียน (อังกฤษ: Java barb, Silver barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างเหมือนปลาในตระกูลปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ปลาตะเพียนชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกเช่น "ตะเพียนขาว" หรือ "ตะเพียนเงิน" ภาคอีสานเรียกว่า "ปาก"

ปลาตะเพียนชนิดนี้นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช แมลง สัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้

มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.63: 3 ก.ค. 55, 20:41
ปลานวลจันทร์ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิด
ปลานวลจันทร์ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม

นวลจันทร์มีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ

เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง

นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "พอน" และ "พรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นปลาประจำจังหวัดสุรินทร์[1] เช่นเดียวกับปลาแกง (C. multitorella) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันที่เป็นปลาประจำจังหวัดเลย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.64: 3 ก.ค. 55, 20:43
ปลาบ้า (อังกฤษ: Mad carp, Sultan fish) เป็นชื่อปลาน
ปลาบ้า (อังกฤษ: Mad carp, Sultan fish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง

ปลาบ้า ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น ปลาไอ้บ้า, ปลาพวง ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาโพง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "แซมบ้า"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.65: 3 ก.ค. 55, 20:45
ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (เบงกาลี: 
ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (เบงกาลี: &#2480;&#2497;&#2439;) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60-80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริสสา, รัฐพิหารและรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่

เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511 เช่นเดียวกับ ปลากระโห้เทศ (Catla catla) และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย เช่น ที่แม่น้ำโขง
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.66: 3 ก.ค. 55, 20:46
สกุลปลายี่สก หรือ สกุลปลาเอิน (ชื่อว
สกุลปลายี่สก หรือ สกุลปลาเอิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Probarbus, อังกฤษ: Striped barb) เป็นชื่อสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

อองรี เอมิล โซวาค นักมีนวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลาสกุลนี้ในปี ค.ศ. 1880 และในปีถัดมาได้กลับมาบรรยายเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง โดยปลาที่เป็นต้นแบบมีความยาว 34 และ 53 เซนติเมตร ตามลำดับ ลักษณะที่สำคัญอีกประการ คือ มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว จำนวนทั้งหมดสี่ซี่ มีหนวดที่ริมฝีปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังมีก้านครีบแขนงเก้าก้าน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังสั้น แข็ง และมีขอบเรียบ ตามลำตัวมีเส้นขีดตามแนวนอนแตกต่างกันออกตามแต่ละชนิด

จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกจำพวกหนึ่งในวงศ์นี้ โดยขนาดเมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 135 เซนติเมตร ปลาตัวเมียเมื่อถึงฤดูวางไข่อาจมีน้ำหนักตัวถึง 36 กิโลกรัม โดยช่วงที่ไข่สุกพร้อมที่จะถูกปล่อยออกมาผสมกับน้ำเชื้อของตัวผู้อยู่ในช่วงปลายปีจนถึงต้นฤดูร้อนของปีถัดมา[1]

มีการกระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงและที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และมีพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในมาเลเซียอีกด้วย

เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก จึงถูกจับจนใกล้จะสูญพันธุ์แล้วในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม

มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "เอิน" ขณะที่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย จะเรียกว่า "ปลาเสือ"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.67: 3 ก.ค. 55, 20:51
ปลาพรมหัวเหม็น เป็น ปลาน้ำจืด อีกชน
ปลาพรมหัวเหม็น เป็น ปลาน้ำจืด อีกชนิดนึง ของบ้านเรา ซึ่งตอนนี้ จากการสำรวจ พบว่า จำนวน ประชากร ของปลาชนิดนี้ ตามแหล่งน้ำสาธารณะ ต่างๆ ได้ลดจำนวนลงกว่า ในอดีต เป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจาก หลายประการ เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ จำนวนของเสีย ที่ถูกปล่อยลง แหล่งน้ำธรรมชาติ มี{จำนวนเพิ่มตามไปด้วย จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ทำให้ แหล่งน้ำ ธรรมชาติ เกิดการเน่าเสีย ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาพรมหัวเหม็น

ข้อมูล ทั่วๆ ไป ของ ปลาพรมหัวเหม็น
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลำตัวค่อนข้างยาว หัวทู่ ปากอยู่ต่ำและมีขนาดเล็ก ริมฝีปากล่างมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ อยู่รวมเป็นกระจุก บริเวณข้างลำตัวเหนือครีบอกมีแถบสีดำพาดตามขวาง 1 แถบเพศผู้และเพศเมีย ลักษณะภายนอกเหมือนกัน เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลเดียวกันและกล่าวกันว่าที่หัวมีกลิ่นเหม็น คาวจัด ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า ปลาพรมหัวเหม็น ถิ่นอาศัย อยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและไหล พบทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วไป อาหาร กินอาหารพวกตะไคร่น้ำ พืชน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 13-50 ซ.ม. ประโยชน์ ปรุงเป็นอาหารได้

ปลาพรมหัวเหม็น มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
GREATER BONY LIPPED BARB Osteocheilus melanopleura
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.68: 3 ก.ค. 55, 20:52
ปลาบัว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง
ปลาบัว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีรูปร่างคล้ายปลากาดำ (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว

เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา

ปลาบัว มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู"
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.69: 3 ก.ค. 55, 20:53
ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer barb) เป็นชื่อปลาน้ำ
ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissochilus stracheyi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ

อาหารได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม

ปลาพลวง มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก "พุง" หรือ "มุง" บางพื้นที่เรียกว่า "จาด" หรือ "โพ" หรือ "พลวงหิน" เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "ยะโม"

ในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพบปลาพลวงได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ น้ำตกพริ้วและน้ำตกลำนารายณ์ จ.จันทบุรี อุทยานถ้ำปลาและอุทยานถ้ำธารลอด จ.แม่ฮ่องสอน
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.70: 3 ก.ค. 55, 20:54
ปลาเวียน (อังกฤษ: Thai Mahseer, Greater Brook Carp) เป็นชื
ปลาเวียน (อังกฤษ: Thai Mahseer, Greater Brook Carp) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวง (Neolissochilus soroides) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร

อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4-8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม

เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี เพราะเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.71: 3 ก.ค. 55, 21:04
สกุลปลาแปบควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubu
สกุลปลาแปบควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralaubuca) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งชนิด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Alburninae

มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50-85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.72: 3 ก.ค. 55, 21:05
ปลาซิว (อังกฤษ: Minnow) เป็นชื่อสามัญในภา
ปลาซิว (อังกฤษ: Minnow) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Chela ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ

แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น

โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร

นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น

อนึ่ง คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า ใจปลาซิว เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า ปลาซิว ปลาสร้อย หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.73: 3 ก.ค. 55, 21:05
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลา
ปลาซิวอ้าว (อังกฤษ: Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

ซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น นางอ้าว, อ้ายอ้าว
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.74: 3 ก.ค. 55, 21:06
ชื่อสามัญ Silver shark

ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantioch
ชื่อสามัญ Silver shark

ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilos  melanopterus  (Bleeker, 1851)

ลักษณะทั่วไปของปลาหางไหม้

    ปลาหางไหม้เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างเรียวแบนด้านข้าง ขนาดที่พบในประเทศไทยประมาณ 20 เซนติเมตร แต่ในเกาะบอร์เนียวพบขนาดยาวถึง 35 เซนติเมตร ส่วนปากอยู่ด้านใต้ของส่วนหัว ริมฝีปากบนหนาเป็นปุ่ม และริมฝีปากล่างมีร่องซึ่งมีลักษณะคล้ายถุงเปิดออกทางด้านหลัง ขอบด้านหลังของครีบหลังและครีบก้นเว้าเห็นได้ชัด ก้านครีบก้านสุดท้ายของครีบหลัง หนา แข็ง และมีหยักซี่เล็ก ๆ ครีบหางมีลักษณะเป็นหางสามเหลี่ยมเว้าลึก ไม่พบว่ามีหนวดเลย ลำตัวทางด้านหลังสีเทาอมฟ้า ข้างลำตัวสีเงินวาว ครีบทุกครีบสีเหลืองขลิบดำทางด้านหลังยกเว้นครีบหู  ปลาชนิดนี้ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในแม่น้ำ และลำธารทั่วไป มีนิสัยชอบกินทั้งพืช และสัตว์ เช่น กุ้งขนาดเล็ก แมลงน้ำ และสัตว์ขนาดเล็ก ฯลฯ ปลาชนิดนี้มีความสามารถในการกระโดดลอยสูงจากผิวน้ำได้สูงถึง 2 เมตร ปลาตัวเมียค่อนข้างก้าวร้าวกว่าปลาตัวผู้ ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม

การแพร่กระจาย

              ปลาหางไหม้ในประเทศไทย พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำ และลำธารทั่วไป ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังพบแพร่กระจายอยู่ลาว กัมพูชา มลายู สุมาตราและบอร์เนียว

สถานภาพ

              ในอดีตเคยมีปลาหางไหม้ชุกชุมในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำโขง มีชุกชุมเป็นพิเศษในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์  สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์ เกิดจากการจับปลาหางไหม้เป็นจำนวนมากจากแหล่งน้ำธรรมชาติในระยะ 20 ปีที่แล้ว และการเน่าเสียของแหล่งอาศัยได้ทำให้ปลาชนิดนี้หมดไปจากแหล่งน้ำในหลายบริเวณ อย่างน้อยที่สุดก็หมดไปจากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ปัจจุบันยังพอพบได้จากแหล่งน้ำอื่น ๆ  ปีละ 5-10 ตัวเท่านั้น
jungka(336 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.75: 3 ก.ค. 55, 21:07
เดี๋ยวต่อใหม่นะคับ
<12345>>>
no ads
siamfishing.com © 2024