Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที): SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>
กระดาน
คห. 130 อ่าน 45,208 โหวต 14
Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที)
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.51: 18 พ.ย. 50, 22:27
1. ถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อส่ง E-Mail หรือ
1. ถ้าต้องการถ่ายภาพเพื่อส่ง E-Mail หรือใช้ทำ Presentation ้ในคอมพิวเตอร์ ความละเอียด 1 ล้านพิกเซลถือ
ว่าเพียงพอ

2. ต้องการไปใช้งานพิมพ์ งานอัดขยายภาพด้วยเครื่อง Printer คุณภาพสูง (Photo Quality) ควรดูว่าจะขยาย
ภาพขนาดเท่าไร จากนั้นเอาขนาดภาพคูณด้วย 300 จะได้ขนาดของภาพที่ควรตั้ง เช่น ขยายภาพขนาด 4x6
นิ้ว ควรตั้งที่ความละเอียด 4x300 , 6x300 = 1200x1800 pixels = 2.16 ล้านพิกเซลถ้าอัตราขยายภาพสูงมาก ๆ แต่กล้องไม่สามารถตั้งความละเอียดตามที่ต้องการได้ ควรตั้งความละเอียดไว้ที่สูง
สุดเท่าที่กล้องจะสามารถทำได้ แต่ต้องทำใจเอาไว้นิดหน่อยว่า ภาพอาจจะแตกและคุณภาพไม่ดีนัก เมื่อมอง
ในระยะใกล้

3. ใช้งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet ให้ใช้ขนาดภาพที่ต้องการใช้งานคูณด้วย 150 แต่ถ้าเป็นเครื่อง
Inkjet ที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ ต้องคูณด้วย 300
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.52: 18 พ.ย. 50, 22:28
 :grin:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.53: 18 พ.ย. 50, 22:28
 :ohh:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.54: 18 พ.ย. 50, 22:30
การกำหนดคุณภาพของภาพ (Image Quality)


กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปจะเก็บภาพเป็น Photoshop TIFF File, JPEG File หรือ RAW Files คุณภาพของภาพที่
ได้จากไฟล์แบบต่างๆ จะมีคุณภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราเรียกคุณภาพที่แตกต่างกันจากการรูปแบบการเก็บ
ภาพนี้ว่า Image Quality สามารถเข้าไปตั้งค่า Image Quality ได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้ว
เข้าไปที่ Image Quality
Image Quality มักจะแบ่งออกเป็นระดับคือ

1. High จะเก็บภาพแบบ TIFF File 8 bit/color ซึ่งจะไม่มีการบีบอัดข้อมูล ทำให้ได้คุณภาพสูงสุดจากกล้องตัว
นั้น แต่จะใช้เนื้อที่การเก็บภาพมาก ไฟล์มีขนาดใหญ่ ประมวลผลช้า เปลืองพลังงาน และทำให้ใช้ระบบถ่าย
ภาพบางอย่างไม่ได้ หรือได้น้อยลง เช่น ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง เป็นต้น เหมาะสำหรับการเก็บภาพที่ต้องการ
คุณภาพสูงสุด

2. Fine , Normal , Basic จะเก็บภาพในรูปแบบของ JPEG File 8 bit/color ซึ่งมีการบีบอัดข้อมูล ทำให้เกิด
การสูญเสียคุณภาพของภาพไป โดยที่ Fine จะบีบอัดข้อมูลน้อยที่สุด ไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า และ Basic บีบอัด
ข้อมูลมากที่สุด และไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด โดยทั่วไป หากใช้ภาพเพื่องานอัดขยาย แนะนำให้ตั้ง Fine แต่ถ้า
ต้องการเก็บภาพลง CD หรือใช้กับคอมพิวเตอร์ แนะนำให้ใช้ Normal และถ้าต้องการใช้ส่ง E-Mail แนะนำให้
ใช้ Basic ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการ์ดเก็บข้อมูลและจำนวนภาพที่ต้องการบันทึก

3. RAW เป็นไฟล์เฉพาะซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมเฉพาะของกล้องในการเปิด ไม่สามารถใช้โปรแกรมทั่วไปในการ
เปิดได้ RAW File เป็นข้อมูลดิจิตอลที่มาจาก Image Sensor ไม่ผ่านการปรับแต่งใด ๆ จาก Processor ของตัว
กล้อง ทำให้ได้คุณภาพที่แท้จริงจากกล้องตัวนั้น ๆ โดยเฉพาะเรื่องการไล่ระดับโทนสี หรือ Bit Depth กล้อง
ดิจิตอลในปัจจุบันจะมีความลึกสีประมาณ 12 bit/color แต่เมื่อเก็บภาพเป็น TIFF File จะถูกบีบลงเหลือ 8
bit/color เท่านั้น การเก็บเป็น RAW File จึงให้จำนวนเฉดสีที่มากกว่า เมื่อเปิดด้วย Software เฉพาะ จะ
สามารถปรับแต่งสี ความคมชัด และคุณภาพอื่น ๆ ได้ จากนั้นถึงจะเปลี่ยน RAW File เป็น TIFF หรือ JPEG
เพื่อนำไปใช้งานอื่น ๆ ต่อไป

มืออาชีพจำนวนมากที่นิยมถ่ายภาพด้วย RAW FILE และเก็บภาพต้นฉบับลง CD แบบ RAW FILES เนื่องจาก
ไม่สูญเสียคุณภาพ โดยเฉพาะความลึกสี (Bit Depth) สามารถใช้ Software ในการปรับคุณภาพภายหลังได้
ปรับภาพได้หลากหลายรูปแบบ และแก้ไขใหม่ได้ถ้าไม่พอใจ และถ้าภายหลังมี software รุ่นใหม่ออกมา ก็จะ
ทำให้ภาพมีคุณภาพดีขึ้นด้วย ในขณะที่การเก็บแบบ TIFF FILE หรือ JPEG ไม่สามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพของ
ภาพในภายหลังได้ เมื่อจะใช้งาน จึงค่อยแปลง RAW FILES เป็น TIFF หรือ JPEG
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.55: 18 พ.ย. 50, 22:32
 [q]การตั้งความไวแสง[/q]

กล้องดิจิตอลไ
การตั้งความไวแสง


กล้องดิจิตอลไม่มีความไวแสงที่แท้จริงความไวแสงที่มีให้ปรับตั้งนั้นเป็นความไวแสงเทียบเคียง (ISO
Equivalent) เมื่อเทียบกับฟิล์มถ่ายภาพ ความไวแสงของกล้องดิจิตอลจะสามารถปรับตั้งได้หลายค่า มีตั้งแต่
ISO 100 ไปจนถึง ISO 3200 แล้วแต่รุ่นกล้องความไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้ขนาดช่องรับแสงแคบและ
ความเร็วชัตเตอร์สูงมาก ๆ ได้ ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้สะดวกการตั้งความไวแสงของกล้องดิจิตอล ส่วน
ใหญ่จะอยู่ที Menu > ISO &#63242;

แต่ก็จะเกิดปัญหาภาพมีสัญญาณรบกวนสูง เนื่องจากการเพิ่มความไวแสง กล้องจะต้องเพิ่มสัญญาณไฟฟ้าเข้า
ไปในระบบ ทำให้สัญญาณรบกวนสูงตามไปด้วย ผู้ผลิตกล้องดิจิตอลปัจจุบันพยายามแก้ปัญหาสัญญาณรบกวน
โดยการออกแบบวงจรหรือใช้ระบบประมวลผล เพื่อลดสัญญาณรบกวนลงให้เลือกน้อยที่สุด ผลจากสัญญาณ
รบกวนทำให้ภาพขาดความคมชัด สีไม่อิ่มตัว คล้าย ๆ กับเกรนแตกในฟิล์มความไวแสงสูง จะเห็นได้ชัดบริเวณ
ส่วนสีทึบหรือส่วนมืดของภาพ

ควรใช้ความไวแสงต่ำที่สุดเท่าที่ยังสามารถถ่ายภาพได้ในขณะนั้น จะได้ภาพที่ดีที่สุด
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.56: 18 พ.ย. 50, 22:33
 :blush:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.57: 18 พ.ย. 50, 22:34
 :laughing:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.58: 18 พ.ย. 50, 22:35
 [q]การตั้งระดับความคมชัด[/q]

กล้องดิจ
การตั้งระดับความคมชัด


กล้องดิจิตอลบางรุ่นสามารถตั้งความคมชัดของภาพได้หลายระดับ โดยการเข้าไปที่ Menu > Sharpness
สามารถเลือกความคมชัดได้ 3 ระดับคือ Normal คมชัดปานกลาง, Soft ไม่ปรับความคมชัด และ Hard
(Sharp) ปรับความคมชัดสูงสุด โดยปกติจะปรับความคมชัดเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นการถ่ายภาพบุคคลที่ต้อง
การความนุ่มนวล จะปรับเอาไว้ที่ Soft และถ้าเป็นภาพสินค้า ภาพวิว หรือภาพในระยะไกล จะปรับความคมชัด
เอาไว้ที่ Hard
ความคมชัดของกล้องดิจิตอลเกิดจากการใช้ Software เมื่อสั่งเพิ่มความคมชัดมาก ๆ จะเกิดขอบคล้าย ๆ กับ
การใช้คำสั่ง Sharpen ใน Filter ของ Photoshop
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.59: 18 พ.ย. 50, 22:36
 [q]ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation)[/q]

ในกล้อง
ความอิ่มตัวของสี (Color Saturation)


ในกล้องดิจิตอลระดับกลางบางรุ่น และกล้องดิจิตอลระดับมืออาชีพ สามารถตั้งความอิ่มตัวของสีได้ โดยการเข้า
ไปที่ Menu > Color ระดับความอิ่มตัวของสีจะมีให้เลือก 4 ระดับคือ High ความอิ่มตัวของสีสูงสุด, Normal
ความอิ่มตัวของสีปานกลาง, Original ไม่มีการปรับความอิ่มตัวของสี และ B&W ภาพขาวดำ

โดยปกติจะตั้งความอิ่มตัวของสีเอาไว้ที่ Normal ยกเว้นกับภาพที่ต้องการความจัดจ้านของสีมาก ๆ จะตั้งไว้ที่
High ภาพบุคคลมักตั้งเอาไว้ที่ Original เพื่อไม่ให้สีผิวจัดจ้านเกินไป และถ้าต้องการภาพขาวดำตั้งที่ B&W

การปรับความอิ่มตัวของสีมาก ๆ จะทำให้การไล่ระดับโทนสีของภาพลดลงเล็กน้อย สีผิวจะเปลี่ยนไป และภาพ
ดูกระด้างขึ้นในบางภาพ เหมาะกับการถ่ายภาพวิว หรือภาพสินค้าที่ต้องการสีสด ๆ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.60: 18 พ.ย. 50, 22:37
 :kiss:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.61: 18 พ.ย. 50, 22:38
 [q]การตั้งระดับความเปรียบต่าง (Contrast, Tone)[
การตั้งระดับความเปรียบต่าง (Contrast, Tone)


กล้องดิจิตอลในรุ่นปานกลางถึงรุ่นสูงจะสามารถตั้งค่าความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเข้าไปที่
Menu>Contrast โดยปกติ ค่าความเปรียบต่างจะถูกตั้งไว้ที่ Normal หรือปานกลาง ผู้ใช้สามารถลดหรือเพิ่ม
ความเปรียบต่างของภาพได้ โดยการเลือกไปที่ High หรือ Low

การปรับตั้งความเปรียบต่างจะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการถ่ายภาพนอกสถานที่ซึ่งไม่สามารถควบคุมความ
แตกต่างของแสงได้ ผู้ใช้สามารถตั้งความเปรียบต่างของภาพที่กล้องเพื่อชดเชยความเปรียบต่างที่มากหรือ
น้อยเกินไปของสภาพแสงได้ เช่น ถ่ายภาพในสภาพแสงครึ้มฟ้าครึ้มฝน ความแตกต่างของแสงในส่วนมืดและ
ส่วนสว่างจะน้อยมาก ภาพที่ได้จะมีความเปรียบต่างต่ำ ส่วนขาวไม่ขาว และส่วนดำไม่ดำ ภาพดูเทาไปหมดทั้ง
ภาพ เราสามารถแก้ไขโดยการเพิ่มความเปรียบต่างของภาพไปที่ High ความเปรียบต่างของภาพจะสูงขึ้น ภาพ
มีสีสันดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากไปถ่ายภาพที่มีความแตกต่างของแสงสูงมาก ๆ เช่น การถ่ายภาพในอาคาร
ย้อนออกไปภายนอก ความแตกต่างของแสงส่วนมืดและสว่างจะสูงมาก ทำให้ส่วนขาวและส่วนมืดไม่มีราย
ละเอียด สามารถแก้ไขได้โดยการปรับความเปรียบต่างที่ตัวกล้องไปที่ Low กล้องจะลดความเปรียบต่างของ
ภาพลด และได้รายละเอียดในส่วนมืดและสว่างมากยิ่งขึ้น

การตั้งความเปรียบต่างให้เหมาะสมกับภาพแต่ละลักษณะเป็นประโยชน์มากในการใช้งานกล้องดิจิตอล และเป็น
สิ่งที่ทำให้กล้องดิจิตอลได้เปรียบกล้องใช้ฟิล์ม เพราะฟิล์มไม่สามารถเปลี่ยนความเปรียบต่างไปมาในแต่ละ
ภาพได้ ต้องไปเปลี่ยนในขั้นตอนการอัดขยายภาพโดยการเลือกความเปรียบต่างของกระดาษ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.62: 18 พ.ย. 50, 22:44
ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed, Exposure Time)


ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed, Exposure Time)
กล้องดิจิตอลจะกำหนดเวลาในการรับแสงของ CCD เช่นเดียวกับเวลาในการเปิดรับแสงของกล้องใช้ฟิล์ม เวลา
ที่แสงตกลงบน Image Sensor เราเรียกว่า เวลาเปิดรับแสง (Exposure Time) หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter
Speed) กล้องดิจิตอลแบบ SLR จะมีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง ส่วน
กล้องดิจิตอลแบบคอมแพค หรือกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวิดีโอ หรือดูภาพที่ที่จะถ่ายทางจอ LDC ด้านหลัง
กล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image
Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่งเวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการคือ

1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความ
เร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความ
ไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที

2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่
ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.63: 18 พ.ย. 50, 22:46
เวลาเปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาท
เวลาเปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์
ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์
ให้ทราบ ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์มีดังนี้ T , B , 30s ,15s , 4s , 2s , 1s , 1/2s , 1/4s , 1/8s , 1/15s ,
1/30s , 1/60s , 1/125s , 1/250s , 1/500s , 1/1000s , 1/2000s , 1/4000s , 1/8000s

ความเร็วชัตเตอร์ T และ B เป็นการเปิดชัตเตอร์นานมาก ๆ เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ ส่วนใหญ่จะไม่จำกัดเวลาเปิดรับ
แสง s คือ วินาที 30s ถึง 1s คือเวลาเปิดรับแสงเป็นจำนวนเต็มวินาที ส่วนตัวเลขถัดไปจะเป็นเศษส่วน เช่น
1/2s , 1/125s ซึ่งบางครั้งจะเขียนเป็นจำนวนเต็ม แต่ไม่มี s ต่อท้าย เช่น 125 คือ 1/125 วินาที 30 คือ 1/30
วินาที ส่วน 30s คือ 30 วินาที

การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ และความ
สามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่
นิ่งแต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง
ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามันมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเร็ว
ชัตเตอร์ที่ต่ำลง
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.64: 18 พ.ย. 50, 22:48
สวัสดีค๊าบน้าเบนซ์  :grin:
สวัสดีค๊าบน้าเบนซ์ 
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.65: 18 พ.ย. 50, 23:20
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ

พรุ่งนี้มาทำความเข้าใจกับ

"ขนาดช่องรับแสง"

กันครับผม
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.66: 19 พ.ย. 50, 22:00
 [q]ขนาดช่องรับแสง[/q]

เลนส์ของกล้องดิ
ขนาดช่องรับแสง


เลนส์ของกล้องดิจิตอลจะมีม่านช่องรับแสง เป็นใบโลหะลักษณะเป็นกลีบเรียงตัวซ้อนกันเกิดเป็นช่องเปิดตรง
กลาง เรียกว่า ช่องรับแสง การทำงานของช่องรับแสงในกล้องดิจิตอลจะขึ้นกับชนิดของกล้อง ถ้าเป็นกล้องที่ไม่
มีม่านชัตเตอร์ ม่านรับแสงจะทำงานตลอดเวลาตามความสว่างของแสง เพื่อควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงบน
Image Sensor และความสว่างของภาพที่ดูทางจอ LCD ส่วนกล้องดิจิตอลที่มีม่านชัตเตอร์หรือกล้องดิจิตอล
แบบ SLR ช่องรับแสงจะเปิดกว้างที่สุดเพื่อให้แสงเข้าไปในช่องมองภาพได้มาก จะมองเห็นภาพได้ชัดเจน เมื่อ
ชัตเตอร์ทำงาน ม่านรับแสงก็จะปิดลงมาตามขนาดของช่องรับแสงทีได้ปรับตั้งเอาไว้ขนาดของช่องรับแสงทำ
หน้าที่ 2 ประการคือ

1. ควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงยัง Image Sensor ขน่าดช่องรับแสงกว้าง แสงจะตกลง Image Sensor
มากกว่าขนาดช่องรับแสงแคบ

2. ควบคุมความชัดของวัตถุด้านหน้าและหลังของตำแหน่งที่ปรับความชัด ซึ่งเรียกว่า ความชัดลึก (Depth of
Field)

ขนาดช่องรับแสงจะระบุเป็นตัวเลข เรียกว่า F-Number หรือ F-Stop ซึ่งจะมีค่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1 , 1.4 , 2 ,
2.8 , 4 , 5.6 , 8 , 11 , 16 , 22 , 32 , 45 , 64

ตัวเลขขนาดช่องรับแสงเป็นส่วนกลับ ซึ่งได้มาจากการคำนวณขนาดของลำแสงที่ผ่านเข้าเลนส์ไปยังภาพ หาร
ด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ ตัวเลขจึงเป็นส่วนกลับ เช่น 1.4 คือ 1/1.4 5.6 คือ 1/5.6 เป็นต้น

ตัวเลขน้อย ขนาดช่องรับแสงจะกว้าง แสงเข้าได้มาก และให้ความชัดลึกต่ำ ตัวเลขมาก แสงเข้าได้น้อย มีความ
ชัดลึกสูง

การเลือกใช้ขนาดช่องรับแสง จะพิจารณาจากความต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังมีความคมชัด ต้องเปิดช่อง
รับแสงแคบลง แต่ถ้าต้องการให้ฉากหน้าและฉากหลังเบลอ ควรเปิดช่องรับแสงกว้าง ภาพวิว ภาพระยะใกล้
ภาพหมู่ มักเปิดช่องรับแสงแคบเพื่อให้ฉากหลังและฉากหน้ามีความคมชัดสูงส่วนภาพบุคคลเดี่ยวหรือภาพที่
ต้องการให้ชัดเฉพาะส่วนมักเปิดช่องรับแสงกว้าง เป็นต้น
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.67: 19 พ.ย. 50, 22:00
 :blush:
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.68: 19 พ.ย. 50, 22:02
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ

พรุ่งนี้มาทำความรู้จักกับ

"ระบบถ่ายภาพ (Exposure Mode)"

กันนะครับ 
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.69: 20 พ.ย. 50, 17:56
เยี่ยมยอดเลยครับ  สุดยอดกระทู้ถ่ายภาพเลยครับ น้า 

แค่เอาสิ่งที่มีอยู่มาแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่านเล่นๆครับน้าพิชัย 
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.70: 20 พ.ย. 50, 17:59
มาต่อกันเลยครับ

 [q]ระบบถ่ายภาพ (Exposure Mod
มาต่อกันเลยครับ

ระบบถ่ายภาพ (Exposure Mode)


โดยทั่วไป ระบบถ่ายภาพหมายถึงการควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงให้สอดคล้องกับปริมาณ
แสงในแต่ละภาพ ตามการชี้นำของเครื่องวัดแสง หรือ วิธีการปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสง นั้น
เอง สำหรับกล้องดิจิตอล นอกจากการควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงแล้ว ยังควบคุมระบบอื่น ๆ
อีกด้วย เช่น ความคมชัด ความอิ่มตัวของสี ความเปรียบต่าง ระบบวัดแสง ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง ระบบปรับ
ความชัด ฯลฯ

การเข้าสู่ระบบถ่ายภาพ เลือก Menu > Mode หรืออาจจะมีวงแหวนปรับตั้งระบบถ่ายภาพด้านบนตัวกล้องโดย
ตรงระบบถ่ายภาพในกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีให้เลือกใช้งานดังนี้

1. ระบบ Auto เป็นระบบถ่ายภาพแบบ Fully Automatic ซึ่งควบคุมการทำงานกล้องทั้งหมดแบบอัตโนมัติ ทั้ง
ระบบถ่ายภาพ ความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง ระบบสี ความคมชัด ระบบแฟลช ฯลฯ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่
ต้องการความรวดเร็ว และไม่ต้องการปรับตั้งระบบการทำงานของกล้องมากมายนัก
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.71: 20 พ.ย. 50, 18:01
2. ระบบถ่ายภาพแบบโปรแกรมถ่ายภาพแบบต่างๆ (Special Program) ออกแบบมาให้ใช้ถ่ายภาพในลักษณะ
ต่าง ๆ กันตามลักษณะของภาพ เนื่องจากภาพแต่ละรูปแบบต้องการการปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์ ขนาดช่องรับ
แสง ความคมชัด ความเปรียบต่าง ความอิ่มตัวของสี ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตกล้องจึงสร้างโปรแกรมถ่ายภาพ
แบบต่าง ๆ ตามลักษณะภาพออกมาให้เลือกใช้งาน โดยทั่วไปจะมีให้เลือกใช้งานดังนี้

1. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพบุคคล สำหรับการถ่ายภาพบุคคล

2. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพเคลื่อนไหว สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนที่ให้หยุดนิ่ง

3. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพกลางคืน สำหรับถ่ายภาพในสภาพแสงน้อย

4. ระบบโปรแกรมถ่ายภาพทิวทัศน์ สำหรับถ่ายภาพวิวหรือภาพในระยะไกล ภาพมุมกว้าง

5. ภาพมาโคร สำหรับถ่ายภาพในระยะใกล้

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมถ่ายภาพแบบอื่นๆ อีกมากแล้วแต่ผู้ผลิตจะออกแบบมาให้ใช้งาน เช่น โปรแกรมถ่าย
ภาพแพนกล้อง โปรแกรมถ่ายภาพย้อนแสง โปรแกรมถ่ายภาพกลางคืนโดยใช้แฟลช ฯลฯ เหมาะสำหรับการ
ถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวก และได้ผลดี หรือผู้ใช้ไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมากนัก การใช้งาน
ระบบโปรแกรมควรดูค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงว่ามากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะบางครั้งเรา
เลือกระบบถ่ายภาพเคลื่อนไหวเพื่อต้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง แต่ปริมาณแสงไม่มากพอทำให้ใช้
ความเร็วชัตเตอร์สูงไม่ได้ ทำให้ได้ภาพไม่เป็นไปตามจุดประสงค์
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.72: 20 พ.ย. 50, 18:02
3. ระบบโปรแกรม (Program) เป็นระบบถ่ายภาพอัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้ไม่ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับ
แสง สามารถถ่ายภาพได้เลยโดยระบบประมวลผลในกล้องจะควบคุมความเร็วชัตเตอร์ ขนาดช่องรับแสง ให้
เหมาะสมกับสภาพแสงอัตโนมัติ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็วหรือความสะดวกผู้ใช้ควรดูค่า
ความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงที่กล้องเลือกให้ ว่าเหมาะสมในการใช้งานด้วยหรือไม่ โดยดูจากข้อมูล
เปิดรับแสงในช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังกล้อง
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.73: 20 พ.ย. 50, 18:03
4. ระบบโปรแกรมชิพ (Program Shift, P*) การทำงานเหมือนกับระบบโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยน
แปลงค่าความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสงได้ตามต้องการ (ในขณะที่ระบบโปรแกรมธรรมดาไม่สามารถ
ทำได้) เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว แต่ยังสามารถควบคุมความเร็วชัตเตอร์และขนาด
ช่องรับแสงได้
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.74: 20 พ.ย. 50, 18:03
5. ระบบถ่ายภาพแบบช่องรับแสงอัตโนมัติ (Shutter Priority) ผู้ใช้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการใช้ ส่วน
กล้องจะตั้งขนาดช่องรับแสงที่เหมาะสมให้อัตโนมัติตามสภาพแสง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความ
รวดเร็ว และผู้ใช้ต้องการควบคุมความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก
ระบบช่องรับแสงอัตโนมัติ มีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ขนาดช่องรับแสงที่ปรับได้มีจำกัด บางสภาพแสงกล้องอาจจะไม่
สามารถตั้งขนาดช่องรับแสงให้ได้ เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงในสภาพแสงน้อย หรือตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำในสภาพแสงจ้า ทำให้กล้องปรับช่องรับแสงไม่ได้ กล้องจะเตือนว่าภาพสว่างไป มืดไป หรือไม่ทำงานโดยแสดง
สัญลักษณะที่จอแสดงการทำงาน เช่น ขนาดช่องรับแสงเปลี่ยนเป็นสีแดง กระพริบ หรือมีข้อความขึ้นเตือน
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.75: 20 พ.ย. 50, 18:05
6. ระบบถ่ายภาพแบบความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ (Aperture Priority) ผู้ใช้ต้องตั้งขนาดช่องรับแสงที่ต้องการใช้
กล้องจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้อัตโนมัติตามสภาพแสง เหมาะกับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว และควร
คุมขนาดช่องรับแสงเป็นหลัก
ระบบความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้างตรงที่ ความเร็วชัตเตอร์มีให้ใช้งานจำกัด บาง
ครั้งกล้องอาจจะปรับตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ไม่ได้ เช่น เปิดช่องรับแสงแคบในสภาพแสงน้อย ทำให้ความเร็ว
ชัตเตอร์ต่ำเกินไป หรือเปิดช่องรับแสงกว้างในสภาพแสงจ้า ทำให้ความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไป ซึ่งกล้องจะเตือน
ให้ผู้ใช้ทราบโดยแสดงสัญลักษณ์ หรือตัวเลขความเร็วชัตเตอร์กระพริบ เป็นต้น
<12345>
siamfishing.com © 2024