มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<1234>
กระดาน
คห. 99 อ่าน 22,107
มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ
คห.51: 19 ม.ค. 46, 07:47
ข้อมูลกำลังเข้มข้นขึ้นแล้วครับ ขอบคุณครับเวป
POMBINTHAI
คห.52: 19 ม.ค. 46, 09:27
เป็นข้อมูลที่ผมเองไม่เคยรู้มาก่อนเลย ว่ายังมีประการังเทียมรูปทรงแปลกๆ ( มีการคำนวนการอยู่อาศัย และกระแสน้ำ ) เยี่ยมมากเลยครับ สำหรับรีฟบอลนี่น่าสนใจมากเลยนะครับ
คห.53: 20 ม.ค. 46, 01:11
ผมยังตามอยู่นะครับ
คห.54: 20 ม.ค. 46, 08:02
สนับสนุนเช่นเคยครับ
ป.ประจิณ
คห.55: 22 ม.ค. 46, 01:28
เห็นดีด้วยครับในเมื่อของจริงถูกทำลายไปมาก จากการดำน้ำดูในหลายแห่งและการพูดคุยกับไต๋เรืออวนลากต้องเป็นวัสดุที่แข็งแรงครับถึงจะต้านทานลวดสลิงและโซ่จากเรือไหว พวกเรือเขาจะมาร์คตำแห่นงลงgps ไม่กล้าลากผ่าน ควรอยู่ใกล้ฝั่งหรือเกาะที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ด้วย ผมพบเรือปั่นไฟดึงปลาออกมาล้อมเกือบจะทุกหมายของการออกตกปลาในอ่าวไทยตอนบนตั่งแต่สีชังยันช่องแสมสาร  จากจอเห็นแต่ซากแดงโล่ไม่พบเชื้อปลา นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะต้องทำปะการังเทียมกันในวันนี้ ถึงจะสู้ของจริงไม่ได้แต่ความพิกลพิการของทะเลไทยวันนี้ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเสียเลย อย่างน้อยการอนุรักษ์ที่เป็นรูปเป็นร่างก็เริ่มขึ้นจากนักตกปลา เราอยากมีบ้านที่อบอุ่นและปลอดภัยปลาก็เช่นกัน
  "  เรามีเรือและเพื่อนนักดำน้ำคอยช่วยครับพร้อมเมื่อไรขอให้บอก"


คห.56: 22 ม.ค. 46, 16:31
รู้สึกปลื้มใจมากครับที่เห็นทุก ๆ ท่านช่วยกันหาข้อมูลมาถกกัน เพื่อให้ได้บทสรุปที่ลงตัว ขอร่วมเป็นหนึ่งในมดงานด้วยครับ
คห.57: 22 ม.ค. 46, 16:43
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการ ทำปะการังเทียม แต่ที่กว่านั้นอยากจะให้ช่วยกันดูแล ปะการังแท้ไม่ให้ถูกทำลายจนสิ้นซาก
คห.58: 22 ม.ค. 46, 21:53
ข้อมูลเริ่มชัดเจนขึ้นมากแล้วนะครับ  ผมขอเริ่มเป็นเชื้อก่อนเลยครับ  ผมขอบริจาคสมทบทุนโครงการนี้  10,000  บาทครับ (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  เพื่อนสมาชิกช่วยประสานต่อด้วยครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.59: 22 ม.ค. 46, 22:54
เฮียเหลา และเพื่อนๆ ที่ติดตามครับ เป็นไปได้มั้ยที่เราจะหล่อปะการังเทียมคอนกรีตในลักษณะลูกเต๋าเหมือนกรมประมง (หรือรูปแบบอื่น) แต่มีขนาดที่สามารถใช้แรงงานคน (พวกเรา) หล่อกันเอง รวมไปถึงการขนลงเรือ และทิ้งลงทะเลโดยใช้เรือปะมงทั่วๆ ไป

ตัวอย่างเช่น อาจจะหล่อเป็นลูกเต๋าขนาด กว้างxยาว 2x2 ฟุต (หรืออาจเล็กกว่านี้หากหนักไป) โดยอาศัยทิ้งเป็นกลุ่มๆ เหมือนกับที่ทิ้งยางรถยนต์ เพื่อให้เกิดกอง(ของ)ปะการังเทียมทับซ้อนกันขึ้นไป เวลาทิ้งเป็นไปได้มั้ยที่จะอาศัยกว้านสมอของเรือ ค่อยๆ ปล่อยลงไปเพื่อไม่ให้กระแทกกันแตก (ขั้นตอนนี้อาจต้องอาศัยเพื่อนนักดำน้ำช่วย)

รูปแบบนี้อาจจะไม่แข็งแรงเหมือนของกรมประมง (ซึ่งลูกใหญ่มาก) แต่ก็น่าจะคงทนมากกว่าแบบยางรถยนต์ และความคมของคอนกรีตน่าจะปกป้องเรืออวนขนาดได้บ้าง ที่สำคัญเรารวมตัวทำกันเองได้ (พิจารณาทั้งในแง่การผลิต การขนย้าย การทิ้ง และค่าใช้จ่ายทั้งหมด) และหากทำได้ผลดี ก็น่าจะนำไปสู่การเผยแพร่ให้กลุ่มอื่นๆ ได้รวมตัวกันทำในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งจะนำไปสู่การรวมตัวเพื่อปกป้อง ดูแลทรัพยากรณ์ของตนเองในที่สุด
คห.60: 23 ม.ค. 46, 00:19
ขอเสนอขั้นตอนอีกครั้งนะครับ (เคยเสนอไปแล้วที่ คห.35)
1. โหวตให้แน่นอนก่อนว่าจะทำหรือไม่
2. ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ วิธีการ งบประมาณ สถานที่ ฯลฯ
3. กรณีเป็นไปไม่ได้ เพราะเราไม่พร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านใด ตั้งกองทุนบริจาคให้หน่วยงานสักแห่งหนึ่งที่เขาทำอยู่แล้ว แบบว่าสมทบกับเขา
4. ถ้าเป็นไปได้ ก็ตั้งคณะทำงาน แล้วก็ลงมือ

ผมว่า เราต้องเริ่มที่จะทำหรือไม่ ถ้าจะทำขอให้กลุ่มหัวหอกประกาศตัวออกมาช่วยกันค้นคว้าและศึกษาความเป็นไปได้ต่อไปเป็นขั้นตอนที่สอง
ถ้าจะทำ ผมขอเสนอตัวเป็นหนึ่งในคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้ในการวางปะการังเทียม ซึ่งต้องเป็นวิธีง่ายๆ และควรทำได้เองโดยชาวสยามฟิชชิ่งครับ
เรื่องรายละเอียดเช่นรูปแบบและวิธีของการทำปะการังเทียม สถานที่ที่จะวาง ขั้นตอนปฏิบัติการนั้นต้องว่ากันทีหลัง ต้องเริ่มที่จะทำหรือไม่ก่อนเพราะถ้าไม่เริ่มตอนนี้ก็ไม่ได้เริ่มกันเสียทีครับ

ขอเสนอให้น้าเวปตั้งกระทู้ให้ชาวสยามฟิชชิ่งแสดงความคิดเห็นว่าควรทำหรือไม่ และถ้าควรทำ สมาชิกแต่ละคนจะให้ความร่วมมืออย่างไร
ดีไหมครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.61: 23 ม.ค. 46, 06:56
พอดีเช้านี้ต้องรีบเดินทางครับพี่สิงห์
ผมมีความเห็นค่อนข้างมากในเรื่องนี้จึงเรียบเรียงไม่ทันครับ

ขอบคุณครับ
คห.62: 23 ม.ค. 46, 08:02
ผมขอยกมือว่า "ทำ" ครับ คุณสิงห์ และขอบริจาคสมทบเฮียเหลา 5,000.-ครับ ผมมีข้อเสนอใหม่ครับ เดี๋ยวผมโทรคุยกับคุณสิงห์ครับ
คห.63: 23 ม.ค. 46, 09:01
เฝ้าติดตามอยู่ครับ
หมึก
คห.64: 23 ม.ค. 46, 16:49
ชอบตกปลาก..กะชอบดำน้ำพอ ๆ กัน
สมัครช่วยเหลืองานใต้น้ำเต็มที่ครับ...
คห.65: 24 ม.ค. 46, 00:56
จริงๆแล้วขั้นตอนต้องเป็นไปตามที่คุณสิงห์ว่าแหละครับ  แต่เพื่อนๆที่มีเวลายังไม่มีใครเริ่ม  เห็นมีคุยๆกันบ้างเหมือนกัน  ผมก็เลยโยนเชื้อเพลิงเข้าไปก่อนครับ  แล้วให้เพื่อนๆตามไปจุดไฟต่อครับ 5555
   
    พี่เวปพูดถึงรายละเอียดที่จะให้พวกเราช่วยกันทำแบบลูกเต๋าแล้วนำไปทิ้งทะเล  ผมว่าเป็นไปได้ครับ  ค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้มากมายเกินไป  ด้วยว่านำเหล็กที่ใช้งานแล้วระดับหนึ่ง  มาเชื่อมทำเป็นโครงอย่างที่เขาหล่อ ฟุตติ้ง ตอนสร้างบ้าน  แล้วประกอบแบบเทคอนกรึต  กลายเป็น ฟุตติ้ง หรือลูกเต๋า  คอนกรึตเสริมเหล็ก  แข็งแรงมากครับ  สถานที่ทำต้องใกล้กับแหล่งที่เราจะไปทิ้ง  เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านขนส่ง 
   
      งานนี้เป็นงานที่ต้องใช้ทุนเยอะมาก  อาจจะต้องค่อยๆทำ  สมมติเราหาทุนมาได้ซัก  2-3 แสนบาท  ทำขึ้นมาแล้ว  ไปทิ้งลงทะเล  ผลที่ำด้รับคือ  มีกองหินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น   
      ที่ผมพูดอย่างงี้  เดี๋ยวจะถอดใจกันหมด  เอาเป็นว่าลองคำนวนค่าใช้จ่ายต่างๆดู
      ใครมีความรู้และมีเวลาช่วยคำนวนหน่อยครับ  ผมให้ข้อมูลกลางๆ
  สมมติเราจะหล่อลูกเต๋าขนาด 2 x 2 x 2  ลูกบาสฟุต  ใช้เหล็กลูกละ 10.3 เมตร  สมมติใช้เหล็กขนาด 9 มิล  ตกค่าเหล็กประมาณ 70 บาท
      ใช้ปูนลูกหนึ่งประมาณ 0.22 คิว  ค่าปูนประมาณ 484 บาท  ค่าแบบ 4 ด้าน  ค่าขนส่งรถ 10 ล้อ  เที่ยวหนึ่งทุกได้  12-13 ตัน  ราคา/เที่ยวประมาณ  2500  บาท  ตกลูกละ 45 บาท  ค่าเรือที่จะเอาไปหย่อนลงทะเล  ค่าแรงงานเด็กขน  ค่าแรงงานดัดเหล็ก  เด็กหล่อ    คร่าวๆดูลูกหนึ่งต้องใช้งบประมาณ 700 -800 บาท  เงิน 100,000 บาท  ก็จะได้ 135 ลูก  ถูกรึเปล่าไม่รู้  ใครว่างช่วยคำนวณหน่อยครับ   
คห.66: 24 ม.ค. 46, 07:26
เฮียเหลาครับ อันนี้เป็นความเห็นของผมนะครับ แต่ไม่ทราบว่าจะเข้าท่าหรือเปล่า ถ้าพวกเราใช้ท่อซีเมนต์ ซี่งตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างมีจำหน่าย และมีอยู่หลายไซด์หลายขนาด จะช่วยเป็นการประหยัดเวลาไหมครับ
คห.67: 24 ม.ค. 46, 07:36
ถ้ามีงานเกี่ยวกับเชื่อมเหล็ก ผมช่วยได้ครับ ส่วนเรื่องเงิน ไม่กล้าพูดถึงครับ เอาเป็นว่าช่วยแรงแล้วกันครับ ดำน้ำพอเป็นครับ
คห.68: 24 ม.ค. 46, 16:36
ตามที่พี่หมูว่า...น่าจะดีนะครับใช้ท่อซีเมนต์+กับล้อรถ....จะช่วยให้ขนาดของกองประการังเทียมมีขนาดใหญ่ขึ้น..
คห.69: 27 ม.ค. 46, 00:06
เรียนพี่หมู.... ครับ  ใช้ท่อซีเมนต์ก็ใช้ได้ครับ  แต่ไม่น่าใช้ครับ  ด้วยเหตุผลว่า  ท่อซีเมนต์ที่มีขายผลิตจาก ปูนผสมกับทรายละเอียดและวัสดุอื่น  แล้วมาอัดขึ้นรูปหุ้มเส้นลวดขนาด 3-4 มิลที่ขดเป็นวง  ไม่ค่อยแข็งแรงครับ  เวลาเคลื่อนย้ายจะแตกง่าย  เมื่อทิ้งลงทะเลก็จะกระทบกันแตกหรือถูกคลื่นใต้น้ำรวมทั้งสมอเรือลากแตกหมดครับ  แล้วสุดท้ายจะกลายเป็นทรายใต้น้ำครับ   
      วัสดุที่แข็งแรงที่สุดน่าจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างที่พี่เวปเสนอครับ  น่าจะอยู่คงทนเป็นร้อยๆปี    ที่ผมคำนวนคร่าวๆ  เรายังสามารถลดต้นทุนลงมาได้อีก  ซึ่งต้องหาวิธีการหาวัสดุทดแทนหรือต่อรองเวลาซื้อวัสดุ  เช่น เราใช้ปูนผสมที่ความแข็งซัก  210  ก็พอ  ซึ่งสเป็ก 210  ส่วนผสมก็จะเป็นประมาณ  1 : 3 : 5  คือปูน 1 ส่วน ต่อทราย 3 ส่วน ต่อหิน 5 ส่วน  ซึ่งเป็นสเป็กที่ใช้เทพื้นคอนกรีต  ราคาต่อ คิวน่าจะอยู่พันกว่าบาท  เหล็ก  เราอาจหาซื้อเหล็กถูกหน่อย  คือพวกหางเหล็ก  ความยาวอาจจะเป็น 3 - 7 เมตร  ราคาต่อ กก. ก็จะถูกลง อีก 10-50 %    ถ้าจะทำกันจริงๆ  ผมมีเหล็กเส้นที่ใช้มัดเหล็กเป็นมัดๆ  ยินดียกให้โครงการ  ซัก 5 - 10 ตันครับ  แต่ต้องหาคนมาดัดหรือเหยียดให้ตรง  หรือใช้เครื่องเหยียดตรงก็จะเซฟเวลาไปได้เยอะ  เหล็กพวกนี้ผมเอาไว้มัดเหล็กเป็นมัดๆ  ชั่งน้ำหนักขายให้ลูกค้า  มีมูลค่าเหมือนกันนะครับ  ตันหนึ่งก็ประมาณ หมื่นกว่าบาท  เดี๋ยวจะคิดว่าเป็นแค่เศษเหล็ก 
  ยังอยากเสนอว่า  ให้ดำเนินงานตามขั้นตอนคุณ สิงห์ ปล. คือ
  1. ให้พี่เวปหรือพี่หมูหรือคุณสิงห์หรือใครก็ได้ที่คิดว่าจะเดินเรื่องนี้ตลอดงาน  ตั้งกระทู้ถามเลยครับ  ว่าเราจะทำหรือไม่
  2. ถ้าไม่ทำก็จบ  ถ้าทำก็ตั้งชุดทำงานหาข้อมูล  สำรวจแหล่งที่จะทำซัก 2-4 จุดทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องทำทีเดียวพร้อมกันทุกจุด  ค่อยๆลงทีละจุดและอาจลงต่อเนื่องทุกปี  ถ้ากำลังพอหรือถ้าพร้อม  เนื่องจากสมาชิกมีทั่วประเทศ  หาทุนที่จะใช้ทำ  สรุปว่าชุดทำงานทำทุกเรื่องครับ
   
คห.70: 27 ม.ค. 46, 08:29
ขอบคุณครับเฮียเหลา ที่ชี้แจงอย่างละเอียดยิบ เป็นข้อมูลที่ผมก้อไม่ทราบมาก่อนครับ
mairoo(19 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบเทา
คห.71: 27 ม.ค. 46, 14:19
เฮียเหลาครับ ผมได้ตามไปดูเวบที่เกี่ยวกับ Reef Ball  ได้เห็รรูป ๆ นึง ของโครงร่างมัน ทำให้ผมนึกถึงตุ่มน้ำที่เป็นซีเมนต์อะครับ แต่เป็นตุ่มครึ่งใบ แล้วเจาะรูในด้าน ข้าง ๆ อะครับ

คห.72: 28 ม.ค. 46, 00:41
น้าำไม่ครับ  ตุ่มน้ำผมไม่มีความรู้ครับ  แต่รู้สึกว่า  จะทำจากดินเหนียวผสมทราย  แล้วเผาให้สุก  จะได้ความแกร่งระดับนึงครับ
 
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.73: 28 ม.ค. 46, 07:35
ไปทริพหมายนอกกลับมา มีได้ความเห็นจากเพื่อนร่วมทริพหลายท่าน
ไว้กลับจากทำงาน ผมจะนำเสนอเพิ่มเติมอีก และตอบข้อเสนอแนะของหลายท่านอีกครั้งครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.74: 29 ม.ค. 46, 07:15
1. เรื่องการโวต จะทำหรือไม่
ผมมีความเห็นว่า เป็นเรื่องว่ามีทุนทรัพย์ และจำนวนคนที่สนจนจะมาร่วมกันทำมากพอหรือไม่เป็นสำคัญ หากเพียงพอก็ทำ หากไม่พอ ก็เลื่อนออกไปจนกว่าโอกาศจะเหมาะสม โดยสรุปคือเป็นเรื่องของการอาสา มากกว่าเป็นเรื่องการขอมติ

2. การตั้งคณะกรรมการศึกษา
เนื่องจากเราเป็นกลุ่มคนเล็กๆ และเป็นการรวบรวมข้อมูลมานำเสนอมากกว่าเป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้น หากใครมีข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้เลย อย่างที่ปรากฎอยู่ครับ

ผมเห็นว่าขณะนี้อยู่ในช่วงที่ผู้สนใจหลายท่านกำลังรวบรวมข้อมูล และความเห็นจากผู้ที่เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้านอยู่ ว่ารูปแบบปะการังเทียมที่จะทำออกมาควรมีลักษณะอย่างไร สร้างอย่างไร ขนย้ายอย่างไร ทิ้งลงทะเลอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ หากมีการเสนอมาหลายรูปแบบ ถึงจุดนั้นน่าจะมีการคัดเลือกกัน เมื่อได้ต้นแบบปะการังเทียมที่จะทำแล้ว ก็จะนำไปสู่การวางแผนงานในขั้นการตอนไปครับ
2-Speed(1124 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.75: 29 ม.ค. 46, 09:38
ได้อ่านของทุกท่านแล้ว ทำให้มีความมุ่งมั่นที่อยากจะทำครับ...ผมจะลองหางบประมาณจากหน่วยงาน รชก. มาช่วยอีกทางนะครับ  แต่ขอทำโปรเจคตัวนี้ก่อน เพราะทำ Report ตัวนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานต่างๆทราบต่อไป....อาจจะใช้ระยะเวลาสักหน่อย และจะติดตามต่อๆไปน่ะครับสำหรับกระทู้นี้
<1234>
siamfishing.com © 2024