กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<
1
2
3
กระดาน
คห. 70 อ่าน 44,044 โหวต 5
ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.51: 2 มิ.ย. 50, 12:55
ปากเปี่ยน : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scaphognatops bandanensis และ Scaphognathops stejnegeri มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวกว้างและแบนข้างมากกว่า ส่วนหัวเล็ก จงอยปากแหลม ริมฝีปากล่างมนกลมและมีขอบแข็ง ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ก ตัวมีสีเงินอมเทามีแต้มประสีคล้ำบนเกล็ด ขอบครีบหางสีแดงเรื่อ ด้านหลังสีจาง
เป็นปลาที่พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงมา เป็นปลาเศรษฐกิจในภาคอีสาน
ปากเปี่ยน ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปว่า " ตาดำ "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.52: 2 มิ.ย. 50, 12:58
ฝักพร้า : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrocheilichthys macrocheilus มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว
เป็นปลาล่าเหยื่อ พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น
ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไป
ฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น ท้องพลุ, ดาบลาว, ดาบญวน, โกร๋ม เป็นต้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.53: 2 มิ.ย. 50, 13:02
พลวง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Neolissocheilus stracheyi หรือ Neolissocheilus soroides จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า
ปลาพลวง มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก " พุง " หรือ " มุง " บางพื้นที่เรียกว่า " จาด " หรือ " โพ " เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า " ยะโม "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.54: 2 มิ.ย. 50, 13:04
พลวงชมพู : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor douronensis มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห้นชัดเจน ตาอยุ่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก เป็นปลาที่พบค่อนข้างบ่อย มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จังหวัดยะลา มีราคาสูง มีชื่อเรียกเป็นภาษายาวีว่า " กือเลาะห์ " หรือ " กือเลาะห์แมเลาะ
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.55: 2 มิ.ย. 50, 13:11
ยี่สก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni หัวค่อนข้างโต มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่มุมปากบน ปากเล็กยืดหดได้ อยู่คล้อยลงมาใต้ส่วนหัว สีของลำตัวเหลือง มีแถบสีดำ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของ ลำตัว พบตามแหล่งน้ำใหญ่ของภาคกลาง ภาคเหนือและอีสาน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
ยี่สก มีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น " เอิน " หรือ " เอินตาแดง " ในภาคอีสาน " ยี่สกทอง " หรือ " อีสก " หรือ " กะสก " ในแถบแม่น้ำน่าน และที่จังหวัดเชียงรายเรียกว่า " ปลาเสือ " เป็นต้น
เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก เนื้อเหลือง ละเอียดอ่อน นิ่ม รสหวาน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ ยี่สกกลายเป็นปลาที่อยู่สถานะใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันกรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียม
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.56: 2 มิ.ย. 50, 13:14
สะนาก: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus มีลักษณะ ลำตัวยาวทรงกระบอก หัวและปากแหลม ปากกว้างมาก จะงอยปากล่างงุ้มคล้ายตะขอ ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีประสีน้ำเงินคล้ำ หางเว้าเป็นแฉกลึกสีแดงมีแถบสีดำใกล้ขอบบนและขอบล่าง ครีบหลังสีเหลืองอ่อนมีแต้มคล้ำ ในตัวผู้มีตุ่มข้างแก้มแตกต่างจากตัวเมีย เป็นปลากินเนื้อ มีรูปร่างคล้ายปลาแซลม่อน (Salmon) ในต่างประเทศ จึงได้ฉายาจากนักตกปลาว่า " แซลม่อนเมืองไทย "
อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคเหนือ ภาคกลางและอีสาน มีชื่อเรียกต่างออกไปเช่น มะอ้าว ในภาษาไทยใหญ่ น้ำหมึกยักษ์, นางอ้าว, อ้าว, ดอกหมาก, ปากกว้างและจิ๊กโก๋ในภาษาอีสาน
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.57: 2 มิ.ย. 50, 13:19
สะนากยักษ์ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aaptosyax grypus รูปร่างเรียวยาวทรงกระบอก ปากกว้าง ขากรรไกรโค้งคล้ายกรรไกรตัดหมาก ตามีเยื่อไขมันคลุม เกล็ดเล็กมาก ลำตัวสีเงินวาวเหลือบ
เป็นปลาที่หายากมาก ปัจจุบัน มีสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต เหลืองทอง ครีบสีส้มเรือ ๆ
มีพฤติกรรมมักล่าเหยื่อ คือ ปลาที่อยู่ตามผิวน้ำ พบเฉพาะแม่น้ำโขงที่เดียวในโลกเท่านั้น
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น " สะนาก " " สะนากปากเบี้ยว " " สะนากปากบิด " เป็นต้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.58: 2 มิ.ย. 50, 13:22
สะอี : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mekongina erythrospila มีลักษณะทรงกระบอก หัวเล็ก ตาโต จงอยปากงุ้มลง ริมฝีปากมีหนวดสั้น 1 คู่ ครีบหลังสั้น ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก สีลำตัวเป็นสีเขียวมะกอก เป็นปลาที่พบเฉพาะแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา เท่านั้น มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ตอนบนของแม่น้ำในช่วงฤดูน้ำหลากเพื่อวางไข่ ปลาสะอี ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาชะอี","ปลาหว่าชะอี" หรือ "ปลาหว่าหัวแง่ม"
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.59: 2 มิ.ย. 50, 13:26
หนามหลัง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus marginatus มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวแบนข้างมากกว่า ครีบหลังสูงปานกลาง ก้านครีบหลังมีหยักที่ขอบด้านท้าย ที่โคนครีบหลังด้านหน้าสุดมีหนามแหลมสั้นยื่นออกมาทางข้างหน้า
พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศ
หนามหลังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น " ขี้ยอก " หรือ " หนามบี้ " ในภาคอีสาน " หญ้า " ในภาคใต้ ที่เขตแม่น้ำน่านเรียก " หนามไผ่ " เป็นต้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.60: 2 มิ.ย. 50, 13:28
หว้าหน้านอ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bangana behri มีลักษณะเด่นคือ ปลาโตเต็มวัยแล้ว โดยเฉพาะตัวผู้ ส่วนหัวจะมีโหนกและตุ่มเม็ดคล้ายสิวเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของชื่อ
ปลาวัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยเเทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า " ปลางา "
ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.61: 2 มิ.ย. 50, 13:31
หางบ่วง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbichthys nitidus มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนหัวเล็ก ด้านหลังค่อนข้างลึก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จงอยปากยื่น มีริมฝีปากหนาอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ตาเล็ก ครีบหลังและครีบหางใหญ่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเทาหรือเหลืองอ่อน ที่ด้านข้างลำตัวใกล้ครีบอกมีแต้มเล็ก ๆ สีคล้ำ ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่ไหลแรงและลำธารในป่า พบตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นเป็นครั้งคราวในฤดูน้ำหลาก
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.62: 2 มิ.ย. 50, 13:33
แปบควาย : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paralaubuca harmandi, Paralaubuca typus และ Paralaubuca riveroi
ชนิดแรกมีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน ขนาดโดยเฉลี่ย 15 ซ.ม. มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยา กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
ชนิดที่สองมีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายคลึงกับชนิดแรก ต่างกันที่มีลำตัวสั้นกว่า
ชนิดที่สามมีความคล้ายคลึงชนิดที่สอง
แปบควายมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " ท้องพลุ " และในภาษาอีสานเรียกว่า " แตบ ", " แตบขาว " หรือ " มะแปบ " เป็นต้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.63: 2 มิ.ย. 50, 13:34
เพ้า : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sinilabeo elegans หรือ Bangana sinkleri มีลักษณะลำตัวทรงกระบอก หัวโต จงอยปากสั้นเเละมีตุ่มเล็ก ๆ ในตัวผู้ ปากกว้างอยู่ด้านล่าง เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ครีบหลังสูง ลำตัวสีเทาหรือเขียวมะกอก
มักอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ 3-9 ตัว ตามซอกหินหรือแก่งน้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย โดยจะพบเฉพาะที่แม่น้ำโขงที่เดียวเท่านั้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.64: 2 มิ.ย. 50, 13:37
เล็บมือนาง : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crossocheilus reticulatus มีรูปร่างลำตัวเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่างของจงอยปากและมีแผ่นหนังคลุม มีหนวดสั้น 1 คู่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเหลือง มีลายสีคล้ำที่ขอบเกล็ด โคนครีบหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ครีบใสสีเหลืองเรื่อ มีพฤติกรรมอยู่เป็นฝูงใหญ่ตามแก่ง ช่วงฤดูฝนมีการย้ายถิ่นเข้าสู่ทุ่งน้ำหลาก อาศัยตามแม่น้ำสายหลักและแก่ง แหล่งน้ำหลาก
เล็บมือนาง ยังมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า " สร้อยดอกยาง "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.65: 2 มิ.ย. 50, 13:39
เวียน : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจงอยปากงุ้มลง
อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากน้ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า " ปลาเหล แม่น้ำ " นานประมาณ 4-8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์
เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี เพราะเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย
หมูบางปลา
คห.66: 3 มิ.ย. 50, 22:27
ยังอ่านไม่จบ ยกไว้ก่อน ขอบคุณครับที่ให้ความรู้
ceak
(259
)
คห.67: 4 มิ.ย. 50, 10:45
พูดได้คำเดียว "ยอดเยี่ยม"
masternui
(41
)
คห.68: 4 มิ.ย. 50, 13:05
คห.16 กับ 18 บ้านผมเรียกว่า สร้อยนกเขา กับ แก้มช้ำ
domemo
(116
)
คห.69: 4 มิ.ย. 50, 13:27
ขอบคุณมากครับน้า ได้ความรู้มากเลยครับผม
Cc.
(148
)
คห.70: 4 มิ.ย. 50, 13:43
ขอบคุณครับ
<
1
2
3
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024