ทุ่นมีชีวิต: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<123
กระดาน
คห. 60 อ่าน 9,301 โหวต 2
ทุ่นมีชีวิต
Pom P(7 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.51: 27 ก.พ. 50, 16:19
คห.52: 17 ก.ค. 50, 16:42
เมื่อวานผมเล่นที่ช.ช้าง
แค่ปลาอมทุ่นก็วัดได้แฮะ
แบบว่าพึ่งหัดตกอะครับอว่าจะอ่านทุ่นเป็นเล่นเอาตาลาย
audi(45 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.53: 17 ก.ค. 50, 17:56
ต้องหัดท่องเป็นกลอนต่อเนื่องเวลาตกได้จำได้
สุดยอดมากครับน้าแหลมแท่น เคล็ดไม่ลับ จริงๆ
jaja_4133(241 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.54: 17 ก.ค. 50, 21:43
jedi(100 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.55: 18 ก.ค. 50, 06:35
หัดท่องเหมือนกันครับ
ann1956(25 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.56: 18 ก.ค. 50, 09:00
ค่อยๆจมและก็ค่อยๆลอย แรดครับแรดผมไปเอามาเยอะแล้ว
PJR(10 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบเทา
คห.57: 18 ก.ค. 50, 14:20
  น้าแหลมคับ  ขออนุญาตนำความเห็นที่ผมเคยตอบไว้ในกระทู้อื่น  มาลงซ้ำที่กระทู้นี้อีกครั้งเพื่อเป็นการรวมข้อสังเกต  เกี่ยวกับการอ่านทุ่น


ปกติผมจะตั้งทุ่นแบบไม้ตาย (ลูกหมุนแตะพื้น)  เนื่องจากผมจะใช้เหยื่อขนมปังเป็นหลัก  ซึ่งเป็นเหยื่อที่มีน้ำหนักน้อย  การอ่านทุ่นจึงแตกต่างกับการอ่านทุ่นที่ตั้งแบบ บาลานซ์

หลายครั้ง  ที่มือสะปิ๋วป้ายแดงออกอาการตวัดเบ็ดวืดวาด  จนอาจจะรู้สึกเซ็ง..จนอาจเลิกตกสนใจสะปิ๋ว+ชิงหลิวไปเลย  ก็เนื่องจากไม่มั่นใจในจังหวะการตวัดเบ็ด

ถ้าจะลองว่าตามลักษณะการเคลื่อนไหวของทุ่นที่ตั้งแบบไม้ตาย โดยทั่วไปก็น่าจะมีคำอธิบายคร่าว ๆ ได้คับ

"ตอนทุ่นจมแบบแรงๆ วัดดูก็ไม่ติด " 
อันนี้ต้องพิจารณาก่อนว่ามีการขยับขึ้น-ลงเล็กน้อยก่อนหรือไม่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมการไซร้เหยื่อ ก่อนกิน  ถ้าไม่มีก็อาจเป็นไปได้ตามนี้
- ปลาจะเข้าฝูงจนอาจว่ายชนสายเบ็ด เกิดจากการอ่อยเหยื่อมาก ๆ 
- เหยื่อ+ตัวเบ็ด ใหญ่เกินไป  ปลาเล็กมักจะรีบคาบเหยื่อหนีปลาใหญ่  เบ็ดจึงไม่ฮุกเข้าปาก

"ค่อยๆ จม แล้ววัดดูก็ไม่ติด" 
- สายเบ็ดอาจจะลอยอยู่บนผิวน้ำ  เมื่อมีลมพัดสายจะตกท้องช้างจนดึงทุ่นค่อยๆจมลงไป (จมลงช้า ๆ แต่เสม่ำเสมอ)
- เป็นลักษณะการกินเหยือของปลาดุก  ที่ปากค่อนข้างแคบ จึงยังไม่กลืนเหยื่อ
- กระแสน้ำ ที่พัดเหยื่อไหลไปจากจุดเดิม  ในขณะที่สายเบ็ดตึงอยู่เหยื่อที่ถูกพัด ก็จะรั้งให้ทุ่นจมลงช้า ๆ ได้เช่นกันคับ

"ค่อยๆ ลอยขึ้นแล้วจม ก็ไม่ติด" 
- โดยปกติ ถ้าทุ่นค่อยๆลอยขึ้น เรามักจะตวัดเบ็ดในจังหวะนั้น เพราะเหยื่อจะอยู่ในปากของปลาแล้ว ปลาจึงลอยตัวขึ้น  จังหวะนี้มักจะไม่ค่อยพลาด
- แต่ถ้าลอยจนหยุดแล้วเริ่มจม นั่นคือปลาคายเหยื่อแล้วคับ

"จมลงมาสักสองข้อ วัดดูก็ไม่ติดอีก บ่อยมาก ๆ " 
- อาจจะเป็นแค่จังหวะที่ปลากำลังพ่นเหยื่อ ถ้ายังจม ๆ ลอย ๆ ยังไม่ต้องวัดหรอกคับ  ส่วนใหญ่จะวืด  แต่ถ้าหลังจากนั้น จมแล้วแช่  ก็ลองดูคับ  หรือว่าจะใจเย็นอีกนิด รอจังหวะลอยตัว  อันนี้ตามแต่ความถนัดของแต่ละคนคับ 



พฤติกรรมการกินเหยื่อของปลาแต่ละชนิดก็สำคัญนะคับ
ปลานิล - มักพ่นเหยื่อก่อน  เมื่อกลืนเหยื่อแล้วจะลอยตัวทุ่นจึงถอนขึ้นมา
ปลาตะเพียน - มักจะโฉบเหยื่อจนทุ่นจมแต่จะไม่พรวดพราดมากนัก
ปลาไน - มักพ่นเยื่อเบา ๆ จนยุ่ยก่อนกลืน จึงจับจังหวะได้ค่อนข้างยาก
ปลายี่สก - พ่นเหยื่อเบา ๆ  แล้วฉวยวิ่ง

เหล่านี้เป็นแต่ข้อสังเกตเท่านั้นนะคับ  ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวเหมือนสูตรคณิตศาสตร์  ต้องใช้จินตนาการปรับแต่งกลยุทธ  เพื่อความสำเร็จ  ตามความเหมาะสม ... 


ปล. ขอบคุณน้าแหลมเจ้าของกระทู้คับ 
คห.58: 18 ก.ค. 50, 17:11
ขอบคุณมากๆครับ...ข้อมูลเพียบเลย




                            ใกล้วันเข้ามาแว้ว...งานกาปิ๋ซโอเพ่น


จาได้อาวไปหัดตกกะเค้ามัง
jedi(100 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.59: 24 ต.ค. 50, 06:50
ทบทวนกันอีกครั้ง ครับ

ปล..ตกปลาเล่น ๆ ไม่จน ไม่เครียด ยะฮิ้ววววว
คห.60: 24 ต.ค. 50, 08:01
ขอบคุณครับ  คงมีประโยชน์มากกับผม
<123
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024