มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<<7891011>>>
กระดาน
คห. 347 อ่าน 272,330 โหวต 21
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP
คห.251: 2 พ.ย. 50, 19:41
ประมาณ 2 ปีกว่าๆที่ได้ถูกตีพิมพ์เรื
ประมาณ 2 ปีกว่าๆที่ได้ถูกตีพิมพ์เรื่องราวให้คนรู้จักกัน(เออ! ว่าแต่ว่ามันหลุดรอดตาเราไปได้ไงเนี่ย?) ก็ขอถือโอกาสนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่แล้วกันนะครับ และปลาชนิดนี้เคยมีร้านขายปลาสวยงามนำมาขายแล้ว ตอนนั้นกำลังจะหาน้องให้พี่อโรดำของผมเป็นเพื่อนแก้เซ็งนิดหน่อย เผอิญสนนราคาสูงไปนิดครับ ก็เลยต้องปล่อยวาง ลองดูรายละเอียดนะครับ ไม่ทราบว่าผมลอกมาผลจะเป็นเช่นไรครับ.
OSTEOGLOSSUM CF. FERREIRAI. หรือ BLUE AROWANA.
มีรายงานว่าปลาชนิดนี้ถูกจับได้ทางแถบชายแดนประเทศ โคลอมเบีย-เวเนซูเอลล่า และจากรายงานในขณะนั้นก็เป็นที่เดียวกับที่จับปลาหมอ อูรู( UARU ) ชนิด FERNANDEZYEPEZI. ครับ.
ขนาด อาจใหญ่ได้ถึง 4 ฟุต หรือประมาณ 120 ซม. แต่ไซส์ประมาณ 90 ซม.เขาก็เริ่มจับคู่กันแล้วครับ จากรายงานที่ผู้เขียนเคยเจอ ท่านบอกว่า จริงๆอโรวาน่า ถูกนำมาประกอบอาหารอยู่แล้วพบได้บนแผงในตลาด MANAUS (มาเนาว์) ในบราซิล.เป็นเรื่องปกติครับ.
นิสัยการกิน อย่างที่น้าๆคงทราบ เป็นปลาที่หากินผิวนำ มีการพบว่าปลาชนิดนี้เป็น OMNIVORES หรือ กินทั้งเนื้อและพืช ในความหมายของผู้เขียน ท่านคงหมายถึง อาหารเม็ดครับ.
เรื่องของนำ คงจะเถียงไม่ได้ที่ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในสภาพนำที่ค่อนข้างจะมีสภาพเป็นกรดหน่อย แต่ไม่ใช่เรื่องยากในการที่นำมาเลี้ยงนำอย่างบ้านเรานะครับ.
ตู้ที่จะนำมาเลี้ยง ผู้เขียนท่านได้แนะนำว่า ควรจะเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ทั้งยาว และกว้าง ก็คงจะเป็นเพราะว่า ปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่ต้องการพื้นที่ในการว่าย และตัวเขาก็มีขนาดใหญ่ จะขอยกตัวอย่างขนาดตู้ที่เล็กสุดน่าจะประมาณ 6ft x 2ft x 2ft.(แค่เซอร์เวย์ราคาไซส์นี้ในบ้านเราก็จุกแล้วครับ แหะๆๆ) ตู้ควรมีฝาปิดด้วยครับ กระโดดสูงไม่เบานะเนี่ย ส่วนปลาที่จะนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนกับเขาได้ คงจะต้องดูที่นิสัยที่ไม่ก้าวร้าว(ขอคุย ! ที่บ้านเลี้ยงกับเซวารุ่มครับ) และจะต้องมีขนาดที่ไม่เล็กเกินไปคือ ผู้เขียนท่านคงต้องการบอกว่า ให้ไซส์ใหญ่กว่าปากครับ.
   
คห.252: 2 พ.ย. 50, 20:40
เข้ามาอ่านกระทู้ของน้า จิรชัย แล้วผมเหมือนหลุดจากกะลาเรื่องปลาเลยครับ ได้ความรู้เพียบจริงๆ ที่บ้านมีปลาหมอสีอยู่ตัวเดียว ตัวต่อไปอยากได้ กระทิงไฟมาเลี้ยงมั่ง ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ 
คห.253: 2 พ.ย. 50, 20:54
มีข้อความจากผู้เขียน จากรายงานนี้ท
มีข้อความจากผู้เขียน จากรายงานนี้ทางผู้เขียนได้กล่าวว่า ในชนิดนี้มี 2 ชนิด ชนิดแรก อะโรวาน่าดำ( OSTEOGLOSSUM FERREIRAI ) พบใน RIO NEGRO และสาขาในบราซิล ชนิดที่2 อะโรวาน่าเงิน ( OSTEOGLOSSUM BICIRRHOSUM ) พบได้ทั่วไป.
อะโรวาน่าดำ ไม่ค่อยได้พบเห็นในตลาดค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดใหญ่ ส่วนอะโรวาน่าเงิน ได้มีรายงานว่าพบใน บราซิล เฟรนช์กิอายน่า เปรู.
เป็นไปได้ที่พ่อค้าพยายามทำให้เชื่อว่า ปลาชนิดนี้ เป็นชนิดย่อยของ อะโวาน่าเงิน ออกไปอีก ( CF. มีความหมายว่า CONFERRE. เป็นภาษาละติน หมายถึง " เปรียบเทียบ หรือ เทียบเคียง" ) แต่จากภาพที่ปรากฏสีฟ้า ขอบชมพู ของครีบก้น หรือ สีของครีบหลัง จะเอนเอียงไปทาง อะโรวาน่าดำมากกว่า.
ทางรายงานจากพิพิธภัณฑ์ ระบุว่าปลาอะโวาน่า ส่วนใหญ่พบในบราซิล และไม่เคยมีรายงานว่า ปลาชนิดนี้ ถูกพบบริเวณแหล่งนำใน โคลอมเบีย หรือ เวเนซูเอลล่า และถ้าระบุว่าเป็นอะโรวาน่าดำ เป็นไปได้ว่ามีเหตุการณ์ใหม่ในชนิดนี้ได้เกิดขึ้นในบริเวณนี้.
มีความคิดเห็นจากพ่อค้าที่เชี่ยวชาญได้พูดคุยกับผู้เขียนว่า เจ้าBLUE AROWANA เป็นรูปแบบย่อยตัวเต็มวัยของ อะโรวาน่าดำ แต่ถ้านำมาเทียบจากลักษณะภายนอก จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันจริง. เป็นไปได้ที่ว่า หรือจะมีการแข่งขันกันจริงในชนิดนี้.(ส่วนตัวที่ผมเลี้ยงเจ้านี่ตั้งแต่เล็ก ถ้าจำไม่ผิดสีครีบก้นของผมจะเป็นสีดำส่วนขอบผมจำไม่ได้แน่แต่น่าจะเป็นสีแสดๆนะครับ)
แต่ก็มีหลายความเห็นที่ว่า เป็นฝีมือของผู้ส่งออกที่พยายามสร้างภาพให้น่าสนใจ หรือ เพื่อยกระดับราคาให้สูงขึ้น แต่ที่แน่ๆในปีนั้น เจ้าBLUE AROWANA ที่อังกฤษสนนราคาอยู่ที่ ประมาณ GBP 195.00.ขอบคุณครับที่เข้ามาชมครับผม. ก่อนจากมีข้อความที่อยากให้ลองแปลดูนะครับผม.
" DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
คห.254: 2 พ.ย. 50, 21:16
สวัสดีครับน้าพรานระพิน ผมตั้งกระทู
สวัสดีครับน้าพรานระพิน ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นเพราะเมื่อเกือบ20กว่าปีที่แล้วตอนนั้นชอบตกปลาเหมือนกันครับ ก็ผันตัวเองมาเลี้ยงปลา และทำปลาเหยื่อส่งขาย ตอนนั้นไปเช่าบ่อเลี้ยงเหมือนกันครับจับยัดโน่นยัดนี่ลงบ่อไปเรื่อยครับ ผมไปปล่อยปลานิลลงคลองถ้านับก่อนจะเลิกทำปลาเหยื่อผมคิดว่าไม่น้อยครับ ต้องบอกก่อนนะครับว่าผมไม่ได้ขายปลาสวยงามครับผม ผมทำงานบริษัท.มีช่วงหลังๆที่มีเวลาอ่านหรือหาข้อมูลปลาไปเรื่อย คือ ผมบอกตัวเองเสมอๆว่าผมชอบปลาแต่ไม่ได้เรียนทางด้านนี้ ยังมีปลาอีกหลายๆชนิดที่ผมไม่ทราบจริงๆครับ ตรงนี้แหละครับผมจึงคิดได้ว่า จริงๆแล้วผมไม่ได้เก่งกว่าน้าๆเลยครับ เพียงแค่ อ่านมากกว่าน้าๆอีกนิดหน่อยเท่านั้นจริงๆครับผม  .
 
คห.255: 4 พ.ย. 50, 08:35
เริ่มต้นกับเช้าวันใหม่ที่สดใสกับป
เริ่มต้นกับเช้าวันใหม่ที่สดใสกับปลาสวยๆครับผม.
POLYNEMUSE PARADISEUS.
บ้านเราเรียกทั่วๆไป "หนวดพราหมณ์ " .ชาวต่างชาติเรียก " THE PARADISE THREADFIN "
( หมายเหตุ ; paradise = สวรรค์ , THREAD = เส้นด้าย , FIN = ครีบ. )
SIZE(ขนาด) = 25ซม. หรือ 10 นิ้ว
ORIGIN.(แหล่งกำเนิด) = ปากแม่นำในศรีลังกา , อินเดีย , ปากีสถาน ,ส่วนตัวที่อยู่ในภาพท่านผู้เขียนบอกเลยว่า ไทยแลนด์.
WATER(สภาพนำ) = ชนิดนี้จัดว่าเป็น "ปลาสองนำ" หรือ " EURYHALINE FISH " และตัวเค้าเองก็เข้ามาในนำจืดด้วย.
AQUARIUM( ตู้ ) = เป็นพื้นที่โล่ง , กว้าง และ ลึก (เนื่องจากปลาชนิดนี้มีเส้นอวัยวะที่ใช้ในการรับรู้การเคลื่อนไหว หรือ สิ่งรอบตัวนั่นเอง) , ระบบกรองที่ดีมากๆ(ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อ่อนไหวต่อสภาพนำที่เปลี่ยนไปค่อนข้างสูง) โดยรวมปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับ "มืออาชีพ" หรือ "ผู้เชี่ยวชาญ " หรือ " EXPERT" นั่นเอง ,นอกจากนี้พื้นทรายจะดีมากครับ ตู้เริ่มต้นที่มากกว่า 48 นิ้วครับดีที่สุด.
DIET(อาหาร) = ในธรรมชาติกินลูกปลา ลูกกุ้ง ขนาดเล็ก แต่สำหรับปลาที่นำมาเลี้ยง เริ่มต้นด้วยกุ้งนำเค็มขนาดเล็ก อย่างที่บ้านเราเรียกว่า "เคย" แต่ปลาชนิดนี้ที่ผู้เขียนได้ให้ข้อมูลสมทบเพิ่มคือ จะระริกระรี้ในเวลาให้อาหารครับผม.
รายละเอียดเพิ่มเติม = อยู่ในวงศ์ POLYNEMIDAE ปรากฏที่อยู่ในชนิดนี้มีทั้งหมดในตอนนี้ 33 ชนิด ใน 33 ชนิดนี้อยู่ในสกุลทั้งสิ้น 7 สกุลที่อยู่ใน ทะเล นำกร่อย. ผู้เขียนท่านบอกว่าเป็นการยากสำหรับท่านที่มาระบุชนิดที่ถูกต้องจริง แต่พ่อค้าจะเป็นในทางตรงข้ามครับผม.
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.256: 5 พ.ย. 50, 10:12
ตัวในความเห็นที่ 253 สวยน่ะครับน้า
คห.257: 5 พ.ย. 50, 19:55
เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับน้าTANเรื่อ
เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับน้าTANเรื่องปลาสองนำ ได้มีโอกาสฟังประสบการณ์ที่ดีๆเกี่ยวกับการตกปลา ต้องขอขอบคุณมากเลยครับผม. เมื่อวานที่ผมได้คุยกับน้าก็จะมีเรื่องของ"ปลาสองนำ" ครับพอดีได้อ่านบทความที่ไม่เคยทราบมาก่อน ก็เลยอยากจะนำมาเล่าให้ฟังสนุกๆครับ เริ่มจากคำศัพท์ที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าว เช่น คำว่า "STENO" = แคบ ส่วน "EURY"= กว้าง หากทั้ง2คำนี้ถ้านำมาใช้เกี่ยวกับความเค็มจะใช้คำว่า "STENOHALINE-EURYHALINE" อย่างบทความของท่านอาจารย์ จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์  หัวข้อเรื่องนึงที่ท่านได้กล่าวคือ "ชนิดและสภาพแวดล้อม" ท่านได้จำแนกให้เห็นชัดอยู่3จุดคือ.
A) ปลาที่ทนต่อความเค็มช่วงแคบ (STENOHALINE FISH)= ปลาพวกนี้จะตายในนำที่มีความเค็มต่างไปจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของเค้า.
B) ปลาที่อยู่ได้ทั้งสองนำ (DIADROMOUS FISH) ท่านอาจารย์ได้จำแนกออกเป็น 2 อย่างดังนี้ครับ.
B.1) ANADROMUS FISH = ปลาจากทะเลไปวางไข่ในนำจืด เช่น แซลมอน ฯลฯ
B.2) CATADROMUS = ปลาจากนำจืดออกไปวางไข่ในทะเล ฯลฯ
C) ปลาที่ทนต่อความเค็มในช่วงกว้าง (EURYHALINE FISH) =  ปลาเหล่านี้สามารถอาศัยและอยู่รอดได้ในนำที่มีความเค็มที่แตกต่างจากถิ่นที่อยู่ของมันเล็กน้อย เช่นใน นำจืด นำกร่อย นำเค็ม แต่ปลาเหล่านี้ต้องการระยะเวลาการปรับตัวในนำที่มีความเค็มแตกต่างกันมากครับผม.
จากที่ผมได้อ่านของน้าท่านนึงในเว็บบล็อคแกงค์ น้าท่านนี้ให้ข้อมูลที่ผมจะขออนุญาตย่ออย่างง่ายๆนะครับ คือ ท่านได้กล่าวว่า "เราสามารถแบ่งแยกปลาโดยอาศัยการทนต่อความเค็มได้" อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นครับ นอกจากนี้ท่านยังให้หลักของลักษณะร่วมที่เห็นได้ชัดในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังคือ ระดับปริมาณเกลือในเลือด หรือปลาที่ต้องเข้ามาอยู่ในที่ๆมีความเค็มตำ เช่น ตามชายหาด หรือ ปากแม่นำ ปลาจะอาศัยกลไกที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยนำที่สูญเสียไปโดยวิธี"ออสโมซิส"จากนำทะเล และขับเกลือส่วนเกินออกไปยังมหาสมุทรที่ที่มีความเค็มมากขึ้น และเพื่ออาศัยในนำจืด ปลาจะต้องชดเชยเกลือที่สูญเสียไปด้วยวิธีการ "แพร่" จากนำจืด (หลักในการแพร่มีอยู่ 5 วิธีที่ท่านอาจารย์ได้นำเสนอไว้ครับ) และขับนำส่วนเกินที่ได้จากสิ่งแวดล้อมออกไปทางอวัยวะขับถ่ายอย่างเช่นออกมาในรูปของยูรีน เป็นต้น เพราะฉะนั้นตับจึงต้องทำงานสลับสับเปลี่ยนเพื่อให้อยู่รอด คือต้องขอโทษจริงๆนะครับน้าหากยิ่งอ่านแล้วเกิดข้อสงสัยมากมาย คือ ผมพยายามย่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นหน่อยนึง ถ้าอย่างนั้นผมจะลองยกตัวอย่างปลาสวยงามบางชนิดที่น้าๆอาจจะรู้จักแล้วผมจะโพสท์ภาพให้ดูนะครับว่าหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างที่ผมทราบมาอย่างปลาในตระกูล สอดเซลฟิน(SAILFIN MOLLY) ปลาชนิดนี้ถิ่นกำเนิดเป็นปลาที่พบในนำกร่อย และตามชายฝั่งทะเลนะครับ ไม่ว่าจะในฟลอริดา แคโรไลน่า ฯลฯ เห็นบางบ้านอยู่ในอ่างบัวอย่างนี้เป็นต้นนะครับ ผมเคยมีโอกาสได้พบอาจารย์ บรรจง ท่านเป็นคนที่เพาะอาร์ทีเมียร์ขายในบ้านเรา ครั้งแรกผมเข้าไปหาท่านซึ่งปกติท่านจะไม่ค่อยว่าง ขณะที่ผมคุยกับท่านผมเห็นตู้ปลา มีหอยเล็บมือเสือ และท่านก็เลี้ยงปลาสอดไว้ด้วยครับ ล่าสุดที่ท่านคุยกับผม ก็เรื่องที่ท่านทำปูทะเลมาเลี้ยงในนำจืด และ ท่านก็แนะนำวิธีการเพาะปลาคาร์ดินัลกับผม หรือ ปลาโกลด์ฟิงเกอร์ (MONODACTYLUS SEBAE) คือปลาตัวนี้เป็นปลาชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของแอฟริกา ระยะที่วัดจากครีบหลังถึงครีบท้องอย่างเราเลี้ยงมี 7-8 นิ้วนะครับ ผมเคยอ่านว่ามีฝรั่งในต่างประเทศท่านนึงเลี้ยงได้ถึงประมาณ14 นิ้วถ้าจำไม่ผิดนะครับ ฝรั่งท่านนี้แนะนำว่าเลี้ยงให้โตเลยนะครับนำจืดช่วงนึงไปนำทะเลต่อเลย อันนี้เราก็ต้องฟังหูไว้หูด้วยนะครับ แต่อย่างไรถิ่นกำเนิดของเขาเป็นปลาทะเลครับ ส่วนอีกตัวอย่างสุดท้ายนะครับ อันนี้ดูจากเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค คือนักวิทยาศาสตร์ท่านตามล่าปลาฉลามวัวในแม่นำคงคาที่กัดคน แต่ท่านต้องสะดุ้งที่เขาเจอคือลูกฉลาม ที่นักวิทยาศาสตร์กลัวนักกลัวหนาคือ วิวัฒนาการว่ามันสามารถสืบพันธุ์ได้ในนำจืดได้เหรอเนี่ย? ขอโทษนะครับพล่ามซะยาวเชียว เพราะฉะนั้นที่น้าTANว่าไปตกปลาและพบปลาทะเลในนำจืดก็ต้องเป็นเรื่องจริงแน่นอนครับผม แต่จะมีหลักวิทยาศาสตร์อะไรที่ทำให้เราเข้าใจในสิ่งนี้มากขึ้นอันนี้สิครับที่สำคัญ ขอบคุณครับผม.

 
คห.258: 5 พ.ย. 50, 20:17
สวัสดีครับน้าPOP-POP ตัวนี้เป็น "อูรู"คร
สวัสดีครับน้าPOP-POP ตัวนี้เป็น "อูรู"ครับ แต่เป็นชนิด FERNANDEZYEPEZI ครับตัวนี้ที่ถูกอ้างอิงว่าพบในแหล่งเดียวกับ BLUE AROWANA.ครับผม ตอนนี้ที่ตามข่าวอยู่มีปลาชนิดใหม่ๆเริ่มทยอยมาให้เราชมอย่างเป็นทางการขึ้น ส่วนที่กำลังสนใจเป็นพิเศษเลยคือ มีนักวิทยาศาสตร์ท่านนำปลาPEACOCK BASS ที่ท่านเชื่อว่าเป็นการผสมกันในธรรมชาติระหว่างตัว CICHLA MONOCULUS. กับ CICHLA TEMENSIS.เมื่อเดือนหรือ2เดือนที่แล้วมีน้าท่านนึงที่โพสท์ภาพที่ตกTEMENSIS กับ MONOCULUSได้ อยากฝากบอกเจ้าของบ่อด้วยนะครับว่าถ้ามันHYBRID กันได้จริงๆเก็บไว้หน่อยนะครับน้า แหะๆๆ คือ ผมมีข่าวในมือแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านเท่าไหร่ กำลังหาปลาดุกอุยมาเลี้ยงอยู่เนียะ หายากมาก คนนู้นคนนี้ก็บอกมี รออยู่ครับ อยากเลี้ยงแค่ไซส์เล็กๆสัก2-3ตัวเองครับ. สบายดีนะครับน้า ปลาที่เลี้ยงเป็นยังไงบ้างเอ่ย ! ขอบคุณนะครับที่ยังไม่ลืมกระผม. ลองดูปลาที่เขาว่าเป็นลูกผสมนะครับน้า.
 
คห.259: 6 พ.ย. 50, 17:58
CHANNA BARCA. หรือ BARCA SNAKEHEAD. 
ถิ่นกำเนิด = จากที่ผ
CHANNA BARCA. หรือ BARCA SNAKEHEAD.
ถิ่นกำเนิด = จากที่ผู้เขียนท่านรายงานว่า พบเฉพาะที่ อย่างใน สุ่มแม่นำ BRAHMAPUTRA. ทางตอนเหนือของแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดียครับ.
ขนาด = มีคนเคยกล่าวเค้าสามารถยาวได้ถึง 90 ซม.
ขนาดตู้และการดูแล = ตู้ความยาวขั้นตำประมาณ 72 นิ้ว ถ้าใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มขนาด โดยปกติปลาตระกูลนี้ได้รับการดูแลอยู่ระดับนึงแล้ว แต่ C.BARCA เป็นอะไรที่พิเศษกว่านั้น อันเนื่องมาจากสภาพนำที่เป็นแหล่งกำเนิดซึ่งไม่เหมือนจากจุดอื่นๆที่พบปลาชนิอื่นๆนเอง.
อาหาร = ผู้เขียนท่านแนะนำให้เป็นอาหารแช่แข็ง.
หมายเหตุ = พูดถึงการผสมพันธุ์เป็นการยากสุด เพราะไม่มีข้อมูลถึงพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ นอกจากนี้มักมีการสับสนกับ ปลาช่อนAURANTIMACULATA. หรืออย่างกับปลาช่อน SP." MEGHALAYA LEOPARD" ซึ่งผู้เขียนท่านรายงานว่าคล้ายกันมากในช่วงรุ่นๆ. ในประเทศอังกฤษ บริษัท TOM HALVORSEN LTD.ได้ทำการสั่งปลาชนิดนี้เข้ามาคู่นึง ซึ่งราคาต่อคู่ที่มีการบอกกล่าว สนนราคาอยู่ประมาณ GBP 5,000 ต่อ หนึ่งคู่ ส่วนรายละเอียดว่าราคานี้ได้ไซส์ขนาดไหนไม่มีการบอกกล่าวครับผม.
 
คห.260: 7 พ.ย. 50, 22:33
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน ที่เคยติดเอา
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน ที่เคยติดเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องราวการผสมข้ามสายพันธฺุ์ระหว่าง CICHLA TEMENSIS.(ธีเมนซีส) กับ CICHLA MONOCULUS.(โมโนคิวลัส).
มีคำถามว่าสกุล " CICHLA" ที่มีถิ่นกำเนิดในตามธรรมชาติจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่นั้น?
เพื่อที่จะพิสูจน์ให้ได้ทางสถาบันเซาเปาโล( SAO PAULO INSTITUTION) ได้ทำการศึกษาโครโมโซมของปลาทั้ง3ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่ถูกนำเสนอว่าเป็นลูกผสม และจะได้จัดทำเป็นรายงานใน THE JOURNAL HEREDITAS.(เป็นวารสารที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการศึกษาการสืบรุ่น ทางด้านชีววิทยา การสืบพันธุ์ของคน สัตว์ และ พืช ฯลฯ).ที่ตีพิมพ์ไปแล้วในปี2004.
ปลาที่ถูกเก็บรวบรวมนำมาจากใจกลางของลุ่มแม่นำอเมซอน อย่างปลาที่เชื่อว่าเป็นลูกผสมเก็บตัวอย่างมาจาก RIO UATUMA. ส่วนTEMENSIS.ได้จาก JAU. นอกจากนี้MONOCULUS.ได้มาจาก SOLIMOES.
และจากผลการตรวจสอบได้แสดงให้เห็นว่า โครโมโซมของปลาทั้ง 3 ชนิดคล้ายคลึงกันกล่าวคือ มีโครโมโซมแบบ ACROCENTRIC. และมีจำนวนโครโมโซมที่เท่ากันคือ 2n=48.ในแต่ละชนิดมีการแชร์กันที่นักวิชาการท่านได้กล่าวถึง NOR( A NUCLEOLAR ORGANISING REGION.)ในส่วนที่เป็นแขนของโครโมโซมในแต่ละชนิดที่เกี่ยวพันกัน.
มีการกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมที่หาดูได้จาก " KARYOLOGICAL EVIDENCE FOR INTERSPECIFIC HYBRIDIZATION BETWEEN C.MONOCULUS AND C.TEMENSIS (PERCIFORMES , CICHLIDAE.) IN THE AMAZON. HEREDITAS.2004" ครับผม จึงขอจบเอวังด้วยประการละฉะนี้.หากมีการแปลผิดพลาดประการใด รบกวนน้าๆที่มีความรู้ในเรื่องโครโมโซมได้ออกมาชี้แนะเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในคราวต่อไป จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับผม.
catcrave(6 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.261: 8 พ.ย. 50, 01:26
Khun Jerachai krub,
I just read the journal. They assigned hybrid status based on the intermediet range of morphological features then they look at the karyotype of the C. temensis, C. monoculus and the hybrids. They looked at the size of the chromosome, the NOR region and the C band. They found similarity in the NOR region (on the second pair chromosome in C. monoculus and on the third pair in C. tememsis). One group of hybrid had NOR on the third chromosome pair and another group had NOR on the second chromosome pair. The size of the chromosome also reviewed two distinct hybrid types. Anyhow, all of these suggested that they do hybridize. However, It did not prove that they were hybrids. They needed to be able to show that hybrids really came from two parent species which they did not prove that. Notice that in the conclusion they used the word "could" which is not a forcefully conclusion. In my humble opinion,they need to do further do sequence analysis in those two NOR regions or maybe look at the codominant expression nuclear genes and some mitochondrial genes to determine the hybrid status. Hope this helps krub.
catcrave(6 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.262: 8 พ.ย. 50, 01:43
In the Euryhaline species,
      Anadromous fishes are fishes that are born in freshwater and later spent their life in saltwater and returned to freshwater to spawn. They are not saltwater fish by definition. The problem in some salmon (atleast in Oncorhynchus nerka and O. tshawytsha), there are some part of the population that does not spent their life in the ocean (saltwater) at all so they are  definitely different from saltwater fishes. Catadromouse fishes in the opposite of that. The euryhaline fishes are definitely on their own catagory.
คห.263: 8 พ.ย. 50, 01:46
GYMNOTUS TIGRE.
ชื่อทั่วไป = TIGER KNIFEFISH.(ไทเกอร์-ไนฟ
GYMNOTUS TIGRE.
ชื่อทั่วไป = TIGER KNIFEFISH.(ไทเกอร์-ไนฟว์ฟิช) หรือ  MACANA TIGRE.
แหล่งที่พบ = หลักๆคือใน โคลอมเบีย , ลุ่มนำอเมซอนในบราซิล และ เปรู.
ขนาด = มีรายงานบันทึกว่าอาจยาวได้ถึง 45 ซม.
อาหาร = ลูกปลา , ลูกกุ้ง
สภาพแวดล้อม = เป็นปลาที่มีกระแสไฟฟ้าในตัวอีกชนิดนึง ซึ่งอาศัยอยู่ภายใต้สายนำสีชาที่เกือบจะเป็นสีดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่จะมีนิสัยที่ก้าวร้าว.
หมายเหตุ = ในสกุล GYMNOTUS. มีทั้งหมด 26 ชนิด ในกลุ่ม GYMNOTUS CARAPO. (คือที่มีทั้งลาย หรือ แถบ ของสีที่พอจะสังเกตเห็นได้ง่ายที่คล้ายกัน) มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ GYMNOTUS TIGRE , G. CARAPO, G. CHOCO, G.ESMERALDAS, G.HENNI , G.PARAGUENSIS.
ขอบคุณครับที่เข้ามาชม.
คห.264: 8 พ.ย. 50, 02:44
GYMNOTUS CARAPO. ครับผม. ขอบคุณครับน้าcatcrave. ที่น
GYMNOTUS CARAPO. ครับผม. ขอบคุณครับน้าcatcrave. ที่นู่นคงจะเป็นช่วงบ่ายๆได้ใช่มั๊ยครับ เพื่อนผมที่อยู่ฟลอริดามันบอกไว้ ขอบคุณที่ให้คำแนะนำที่ดีๆ คือข้อมูลที่ผมได้มาคร่าวๆนะครับเขาว่าเอาไว้ คือส่วนตัวผมก็ต้องการหาข่าวนี้มาอ่านเพิ่มเติมเหมือนกันครับ ทีแรกที่ได้ข่าวตัวนี้มายังคิดว่าครบถ้วนมันกลายเป็นคร่าวๆแทน แต่ไม่ใช่ผมว่านะครับอย่าเข้าใจผมผิด ทั้งในส่วนของ ANADROMUS FISH. คือผมอ่านในรายละเอียดที่น้าโพสท์มาเสริม ยอมรับว่าผิดจริงๆครับ คือ ผิดที่ไม่ละเอียดพอว่าตัวอย่างที่อาจารย์ท่านยกมา ตัวอาจารย์ท่านถ้าได้อ่านคงจะสะดุ้งนิดๆเหมือนผมแหละครับ คือถ้ายกแซลมอนขึ้นมา ตัวอ่อนเค้าเลี้ยงตัวในนำจืด และไปโตในทะเล หลังจากนั้นกลับมาในนำจืดเพื่อวางไข่. สุดท้ายต้องฝากขอบคุณน้าcatcrave. นะครับที่คอยให้ข้อมูลที่กระจ่างขึ้น ผมชอบมากครับ และยินดีอย่างยิ่งครับ ผมพยายามจะทำกระทู้ทั้ง 3 อันให้แยกเป็นหมวดๆไป ตอนนี้ยอมรับตรงๆว่าตั้งแต่ผมหยุดตกปลาและหันมาเลี้ยงปลาสิบหกสิบเจ็ดปีมานี้ จนมาไม่นานช่วงปีสองปีนี้ ผมสนใจปลาไทยมากๆครับ. มันหายไปจนน่าตกใจทีเดียวครับ น้าลองติดตามดูเรื่อยๆครับ. เสียดายครับที่น้าไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่งั้นเราคงมีอะไรคุยกันได้มากกว่านี้ ส่วนตัวคนที่ชอบเลี้ยงปลาอาจจะมองว่าเว็บนี้เป็นเพียงแค่เว็บตกปลา มันก็จริงครับ แต่ก็มีน้าหลายๆท่านที่แสดงให้เห็นแล้วว่าการตกปลาจริงๆก็ตกแบบอนุรักษ์ และ แบบมีความรู้ได้ รู้ที่จะสังเกตว่าธรรมชาติมันเป็น เพราะส่วนนึงที่สมัยก่อนผมได้จากเกมส์ตกปลาคือจะทำอย่างไรที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้.นั่นคือผมต้องศึกษาครับ.
 
คห.265: 10 พ.ย. 50, 23:44
อืมย์! เพิ่งจะนึกขึ้นได้นะครับมีน้
อืมย์! เพิ่งจะนึกขึ้นได้นะครับมีน้าท่านนึงโทรมาคุยกับผมเมื่อ3วันก่อน ผมก็นึกอยู่ตั้งนาน ว่าปลาอะไรนะที่น้าเขาถามผมบอกคล้ายๆไทเกอร์แต่ตัวสว่างหน่อยเห็นแกบอกมาอย่างนั้น ก็เลยนึกได้ สำหรับนักนิยมปลาใหญ่ๆ แต่ขอบอกก่อนนะครับว่าถ้าไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงอย่าเลยครับ อย่างที่เคยๆทำกับ อะราไพม่า หรือ อลิเกเตอร์ สงสารปลาเล็กอื่นๆครับ. ผมเคยดูเว็บผู้จัดการว่ามีนักตกปลาตกอลิเกเดอร์ได้ เชื่อมั๊ยครับ มีคนโพสท์ไปบอกกันอื้อเลยว่าเป็นปลาอะไร? ก็คงจะมีคนไทยบางคนคงคิดว่า เชย ในบ้านผมเจอออกบ่อย. โอเคครับนอกเรื่องอีกแล้ว
SORUBIMICHTHYS PLANICEPS.
ชื่อทั่วไป = ในบ้านเราคนเลี้ยงปลายุคก่อนๆจะเรียกทับศัพท์ไปเลยครับว่า "พลานิเซ็ฑ " สำหรับต่างชาติ เขาจะเรียก " FIREWOOD CATFISH."
 
คห.266: 11 พ.ย. 50, 00:17
ขนาด(SIZE) = ตั้งแต่ 1 ม. - 1.6 ม.บางท่านอาจจะส
ขนาด(SIZE) = ตั้งแต่ 1 ม. - 1.6 ม.บางท่านอาจจะสับสนกับไทเกอร์ สำหรับท่านที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่ถ้าเคยเลี้ยงจะเห็นได้ชัดเลยครับ หัวเขาจะแบน ลำตัวจะกลมเรียวยาว ยิ่งตัวใหญ่ที่สีเริ่มออกถือว่าสวยเลยครับผม กลางลำตัวเหมือนมีแถบขาวพาดผ่านยาวตลอดลำตัว.
แหล่งที่พบ = บราซิล เปรู เวเนซูเอลล่า
อาหาร = ลูกปลา ลูกกุ้ง ครับ การชารจ์เหยื่อ เหมือนไทเกอร์ครับ เขาจะใช้ SNOUT BARBELS(หนวดที่อยู่ใกล้รูจมูก) เป็นตัวกะระยะการเข้าชารจ์เหยื่อ.
บางครั้งผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันสำหรับพ่อค้าขายปลาบ้านเราว่า ที่ไม่มีขายเป็นเพราะเขาไม่รู้จัก หรืออะไรกันแน่ สมัยก่อนมีปลาที่ดุๆ รองรับแฟนๆปลาหลากหลายกว่ายุคนี้จริงๆ ครับ ถ้าน้าๆบางท่านที่เคยเดินสวนฯคงยังจำกันได้ยังมี FILAMENTOSUM.(เป็นปลาที่ใหญ่ได้มากกว่า 2 เมตร) ขายอยู่เลยครับ แต่ปัจจุบันวันนี้ส่วนตัวผมเพิ่งจะกลับมามองความสำคัญของปลาไทยมากกว่าครับ คือ จริงๆแล้วปลาไทยเป็นปลาที่น่าสงสารมากครับ เรียกว่าเป็นปลาที่รองรับอารมณ์ของคนไทยจริงๆ เพราะในเมืองไทยมีรายงานชนิดปลายังไงเมื่อ10ปีที่แล้ว ข้อมูลบางอย่างในตอนนี้ก็เหมือนคราวนั้น น่าเสียดายที่ในมือเราๆมีของอยู่เท่าไหร่เรายังไม่รู้เลยครับ ก่อนจากนะครับถ้าท่านไม่พร้อมจะเลี้ยงปลาใหญ่ก็อย่าเลยครับ ผมผ่านจุดนั้นมาแล้ว ยังมีปลาที่มีเสน่ห์อีกเยอะครับที่ไม่ใหญ่แต่เร้าใจครับ เฮ้อ...สำหรับปลาไทย ขอบคุณครับที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ. 
คห.267: 11 พ.ย. 50, 18:34
สวัสดีครับน้องวิน ปกติน้องคนนี้จะม
สวัสดีครับน้องวิน ปกติน้องคนนี้จะมากับแม่เดินดูปลาทุกอาทิตย์ ดูๆเหมือนน้องเขาเห็นผมก็คงอยากจะเดินหนีกระมัง ประมาณว่าเจออีกแล้ว ตาคนนี้เนี่ย! ก่อนเริ่มขอฉลองกับเสือใต้ที่ช่วงหลังออกทะเลอีกแล้วครับ โดนม้าขาวเตะซะเละหมดลายว่าที่แชมป์บุนเดสลีกาเลยครับ คราวนี้คงจะต้องเชื่อสักทีว่า ลีกเยอรมัน เป็นลีกที่อ่อนจริงๆ  คราวนี่เข้าเรื่องปลาจริงๆซักทีนะครับ หลังจากที่ท่านด็อคเตอร์ ชวลิต ท่านบอกเรื่องอินทรีย์ทะเลสาปเขมร เลยเริ่มติดใจ บังเอิญพบอยู่อีกชนิดนึง ผมไม่ทราบว่าบ้านเราเรียกอย่างไร? เป็นอันว่าไซส์บิ๊คเชียวครับ. สำหรับ  " MILKFISH ".
คห.268: 11 พ.ย. 50, 19:28
CHANOS CHANOS.
ชื่อทั่วไป = MILKFISH.หรือ นวลจันทร์
CHANOS CHANOS.
ชื่อทั่วไป = MILKFISH.หรือ นวลจันทร์ทะเล.
ขนาด = โดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 1.24 ม. เคยมีรายงานงานพบได้ถึง 1.80 ม.
แหล่งที่พบ = เป็นปลาที่เดินทางตามแนวชายฝั่งของ อินโด-แปซิฟิค ( INDO-PACIFIC) บางครั้งก็แวบเข้ามาตามปากแม่นำ หลังจากนั้นก็เริ่มเข้ามาตามแม่นำใหญ่ อย่างที่มีรายงานว่าพบในแม่นำโขง แถบปากแม่นำประเทศเวียตนาม ยังมีอีกหลายแหล่งที่เคยพบปลาชนิดนี้ในเขตนำจืด อย่างใน ม.เอธิ-กาลาน่า-ซาบากิ ในเคนย่า หรือใน ม.เกาปิง ทางตอนใต้ของไต้หวัน เป็นต้น
อาหาร = เห็นใหญ่ๆอย่างนี้เป็นปลากินพืชนะครับ.
ลักษณะเด่นในปลาชนิดนี้.
1) ไม่มีฟันที่ขากรรไก ( JAWS TOOTHLESS.)
2) ก้านกระดูกที่ยึดกับแผ่นปิดเหงือก มีหน้าที่ช่วยขับดันนำให้ผ่านช่องเหงือก มี 4 ก้านครับ.
ขอบคุณครับน้าๆที่เข้ามาชมกระทู้ปลา ไว้ค่อยเจอกันใหม่ครับ.

คห.269: 13 พ.ย. 50, 19:39
สวัสดีครับน้าๆ น้องๆ ทุกท่าน วันนี้
สวัสดีครับน้าๆ น้องๆ ทุกท่าน วันนี้เอารูปปลาสวาย มาให้ชมกันครับ แต่พบแถบ สุรินาเม (SURINAME.) ในอเมริกาใต้ครับน้า ไหนๆก็ห่างตกปลามานานเลยลืมหน้าสวายว่ามันเป็นอย่างนี้ได้หรือเปล่าเอ่ย?

 
maroopon(3166 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.270: 13 พ.ย. 50, 19:47
แล้วเลดเทรแคดฟิชมันจะใหมใหมครับ
คห.271: 13 พ.ย. 50, 20:01
ยอมรับตรงๆนะครับ ทีแรกจะลองหยุดโพส
ยอมรับตรงๆนะครับ ทีแรกจะลองหยุดโพสท์ และทิ้งไว้ซัก2-3วันต่อ แต่ก็กลัว น้าๆที่ทั้งตกและเลี้ยงปลาสวยงามก่นด่าไม่ไหว แน่เลย AGENEIOSUS. เป็นCATFISH.อีกชนิดนึงในดินแดนAMAZONIA. ที่รอรับ FISHER MAN.ที่หลงสเน่ห์ปลาแปลกๆในดินแดนแห่งนี้ครับ สกุล(GENUS.)AGENEIOSUS. มีหลายชนิดและเคยนำเข้ามาขายเป็นปลาสวยงามไซส์ขนาดย่อมมาแล้ว ส่วนตัวนี้อาจจะไม่สวยงามเท่าชนิดอื่นแต่ก็ถือว่าใหญ่มากกว่าชนิดอื่น.
AGENEIOSUS INERMIS.
ชื่อทั่วไป = ในภาษาอังกฤษ เรียก "MANDUBA"  นอกจากนี้จะเป็นชื่อที่ถูกเรียกในแต่ละท้องถิ่นที่พบ.อย่างเช่น FIDALGO. ,BOCUDO. หรือ PAYPAY เป็นปลาที่จัดว่าปากกว้างมากชนิดนึง.
แหล่งที่พบ = สุรินาเม ใน อเมริกาใต้
ขนาด = 54 -59 ซม.
อาหาร = เป็นCARNIVORES.(กินเนื้อเป็นอาหาร) เช่น ลูกปลา กุ้ง ฯลฯ.
ขอบคุณมากนะครับที่เข้ามาชมกระทู้ผม คอยติดตามนะครับเพราะยังตั้งใจเอามาฝากอีกครับ.
 
Sarat.L(42 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.272: 13 พ.ย. 50, 21:06
มีแต่ปลา แปลก ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น เลยครับ ได้ความรู้เพียบ
คห.273: 13 พ.ย. 50, 23:28
ข่าวสั้นๆก่อนเข้านอน ในเดือนนี้มีก
ข่าวสั้นๆก่อนเข้านอน ในเดือนนี้มีการระบุ ปลาDOGTOOTH CHARACIN. ชนิดใหม่ขึ้นมาอีก 1 ชนิดในสกุล CYNOPOTAMUS.คือ " CYNOPOTAMUS XINGUANO" ชนิดนี้ถูกค้นพบที่แม่นำ XINGU.ซึ่งเป็นสาขาย่อยทางใต้ของลุ่มนำอเมซอน ข้อแตกต่างของชนิดนี้ถ้าเทียบกับชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน จะมีในส่วนของ
1)จำนวนก้านครีบหลัง(DORSAL-FIN RAYS.)
2)จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว( LATERAL LINE SCALES.)
3)จำนวนของซี่กรองเหงือก ฯลฯ. รวมถึงรายละเอียดจากภายนอกที่เห็นได้ชัดเจนกว่า วันหลังก็คงจะลองหาข้อมูลของปลาสกุลนี้ให้น้าๆได้ยลโฉมเพิ่มอีกสักหน่อย แต่ก่อนจะถึงวันนั้นลองชมภาพชนิดนึงในสกุลCYNOPOTAMUS.ดูก่อนนะครับ แต่ไม่ใช่ภาพชนิดใหม่นี้นะครับ.
คห.274: 15 พ.ย. 50, 18:53
สวัสดีครับ อันนี้เกิดคันไม้คันมือข
สวัสดีครับ อันนี้เกิดคันไม้คันมือขึ้นมา หลังจากที่ได้ดู VCDเรื่อง สายนำเพื่อชีวิต ของร้านแม่งป่อง หาใช่ว่าผมจะโฆษณาให้ร้านนะเขานะครับ เพียงอยากบอกสำหรับน้าๆ และ น้องๆ ที่รักปลาได้มีโอกาสชมธรรมชาติที่เกิดภายใต้ผืนนำ อย่างเช่น การล่าเหยื่อในยามวิกาลของปลาในตระกูล MORMYROPS. ที่ผมเคยลงไว้ในความเห็นที่101 รวมถึงการมาของ เสือนำ หรือ โดราโด้ หรือที่มีคนเรียกว่า แซลมอนอเมริกาใต้. เข้าโจมตีเหยื่อ ทั้ง2เหตุการณ์ที่กล่าวมา ส่วนตัวยอมรับว่าไม่เคยเห็นเลยครับ เห็นก็แต่ที่ตกเจ้าMORMYROPS.ได้ น่าสนใจมากครับ ถ้าเป็นไปได้หา VCD. มาดูคงพอครับ เพราะDVDเขาขายยกเซ็ท. แล้วแต่น้าๆน้องๆจะสนใจเป็นแบบไหน ขอบคุณครับผม.
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.275: 16 พ.ย. 50, 13:43
น้าขอตระกูลปลาบู่บ้างสิ 
<<<7891011>>>
siamfishing.com © 2024