กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
28 พ.ย. 67
ทางเลือกใหม่ของทุ่นตกปลา(แบบชิงหลิว): SiamFishing : Thailand Fishing Community
<
1
2
3
>
กระดาน
คห. 195 อ่าน 113,533 โหวต 81
ทางเลือกใหม่ของทุ่นตกปลา(แบบชิงหลิว)
Sombat.J
(191
)
คห.26: 18 ก.ย. 53, 15:03
พันด้ายสายสิน เสร็จแล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิทจะนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของกาวครับ
Sombat.J
(191
)
คห.27: 18 ก.ย. 53, 15:08
ขั้นตอนที่ 6
เมื่อแกะกาวออก จะเป็นลักษณะนี้ครับ แทบไม่ต้องพอกเลย จากนั้นก็เริ่มเอากระดาษทรายขัดให้เรียบ
Sombat.J
(191
)
คห.28: 18 ก.ย. 53, 15:09
เมื่อขัดเสร็จแล้ว พ่นด้วยรองพื้น และตกแต่งไม่ให้มีรอย
Sombat.J
(191
)
คห.29: 18 ก.ย. 53, 15:10
นำไปทดสอบในน้ำถ่วงด้วยตะกั่ว ทุ่นดอกนี้ ถ่วงตะกั่ว 0.70 กรัม ในเบื้องต้นยังไม่เสร็จนะครับ
Sombat.J
(191
)
คห.30: 18 ก.ย. 53, 15:12
ขั้นตอนที่7
ที่นี้มาถึงเรื่องของความสวยงามแล้วนะครับ นำทุ่นมา Paint สีด้วยสีอะคริลิค แล้วแต่เราจะจินตนาการอะไรลงไป ดอกนี้เป็นมังกรพันหล้ก สีดำครับ
Sombat.J
(191
)
คห.31: 18 ก.ย. 53, 15:15
เป็นภาพของครูที่สวนศิลปที่เขียนทุ่นนี้ครับ
Sombat.J
(191
)
คห.32: 18 ก.ย. 53, 15:19
ทาสีเสร็จถึงขั้นตอนที่จะต้องเลือปลายทุ่นต้องถามตัวเองอีกว่า จะตกอะไร ถ้าตามรูปเป็นหางกระเบน เขียวแดงเหลือง ควรตกใกล้มากว่า ถ้าใกล้มากกว่า ถ้าไกลและกลางคืน ปลายทุ่นควรใหญ่กว่า และสะท้อนแสงได้ดี
Sombat.J
(191
)
คห.33: 18 ก.ย. 53, 15:20
เมื่อเลือกทุ่นได้แล้วนำมาประกอบใช้หัวแล้ง ไฟฟ้าปรับไฟให้อ่อนที่สุดจี้ลงไปที่โคนหางทุ่น วัตถุประสงค์เพื่อทำให้บาน และเข้าสนิทกับตัวทุ่น
Sombat.J
(191
)
คห.34: 18 ก.ย. 53, 15:26
ในช่วงพลาสติกอ่อนตัวรีบนำไปเสียบกับตัวทุ่นแล้วใช้มือคลึงให้สนิท ที่เขาเรียกกันว่ายอดทุ่นแบบหัวหมวกนั่นเอง จากนั้นก็ทากาว ตรงนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ถ้าไปเสียบไว้เฉย ๆ อย่าลืมว่าเวลาเราวัดปลาความรุนแรงและความเร็วนั้น เร็วมากและมีแรงกระชากสูงถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่แข็งแรง ก็จะทำให้แตกและน้ำจะเข้าไปได้ ถึงตอนนั้นคุณจะต้องตั้งตะกั่วไม่รู้เรื่องแล้วครับ เพราะน้ำเข้าไปในตัวทุ่นแล้ว
เสร็จขั้นตอนการทำทุ่นแล้วครับ ที่นี้มาดูการเคลือบมีความสำคัญมาก ไม่ว่าเรื่องของการ Paint เรื่องของไม้ทุกอย่างต้องถูกเคลือบ หรือเรียกว่า เคลือบ Flex นั่นเอง Flex ภาษาไทยคือ การอ่อนตัวเวลาเราวัดปลาทุ่นจะอ่อนตัวตลอดจนโค้งไป ๆ มา น้ำยาเคลือบควรมีคุณสมบัติ เมื่อแห้งแล้วต้องอ่อนตัวและนิ่ม
Sombat.J
(191
)
คห.35: 18 ก.ย. 53, 15:30
ขั้นตอนที่ 8
การผสมน้ำยาส่วนมากใช้ 2 ชนิด อัตราส่วน มีส่วนสำคัญมาก ควรชั่งจะแน่นอนมากกว่า ถ้าผิดมันจะออกมาเหนียว ๆ เหนอะหนะ ไม่ยอมแห้งครับ
Sombat.J
(191
)
คห.36: 18 ก.ย. 53, 15:32
กาว Flex แทบทุกตัวจะแห้งช้าเวลาทากาวจะเจอปัญหาการไหลย้อยของกาว ควรสร้างตัวหมุนทุ่นขึ้นมาแล้วปรับสปีดได้ จะได้ปรับความเร็วได้ที่เราต้องการ
Sombat.J
(191
)
คห.37: 18 ก.ย. 53, 15:35
เมื่อผสมเสร็จตัวปรับความเร็วได้ที่แล้วก็เริ่มทา Flex ควรทา 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ทาบาง ๆ รอให้แห้งแล้วค่อยกลับมาทาครั้งที่ 2 พอทาเสร็จ ก็ปล่อยให้มอเตอร์หมุนรอบที่ 2 ไม่ควรปรับความเร็วๆจนเกินไป จนกว่า Flex จะแห้งภายใน 12 ชั่วโมง การใช้มอเตอร์ ข้อดี คือ ผิวที่เคลือบจะกลมสวยงามไม่ไหลย้อยไปทางใดทางหนึ่งครับ
Sombat.J
(191
)
คห.38: 18 ก.ย. 53, 15:36
ครั้นเสร็จแล้วหน้าตาของตัวทุ่นออกมาเป็นแบบนี้ครับ ลายมังกรพันหลัก
Sombat.J
(191
)
1
คห.39: 18 ก.ย. 53, 15:37
ครั้นครบขั้นตอนการทำ 8 ขั้นตอนแล้วครับ พอจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ แต่ยังไม่จบครับ ยังเหลือการถ่วงตะกั่ว และทดสอบสนามจริงครับ
Sombat.J
(191
)
คห.40: 18 ก.ย. 53, 15:38
ทุ่นที่ทำเสร็จแล้ว เปรียบเทียบกับ หางนกยูงตั้กม้อ (ตราตาแป๊ะของแท้อันละ 550 บาท มีขายที่ อินฟินิตี้)
Sombat.J
(191
)
1
คห.41: 18 ก.ย. 53, 15:39
เริ่มถ่วงตะกั่วอีกครั้งหลังจากทำเสร็จแล้ว
- ตัวแรกทางซ้ายของตราตะแป๊ะ ซื้อมา กินตะกั่ว 0.75 กรัม
- ตัวที่สองรูปปลา ทำจากหางนกยูง กินตะกั่ว 1.00 กรัม
- ตัวที่สามมังกรเขียว ทำจากหางนกยูง กินตะกั่ว 1.30 กรัม
- ตัวที่สี่ มังกรดำ ทำจากต้นสีหมอก กินตะกั่ว 0.75 กรัม
สังเกตดูให้ดีครับ การกินตะกั่วแต่ละตัวจะไม่เท่ากันเมื่อตั้งให้ปลายทุ่น เหลือจากน้ำ 1 ข้อ ทุ่นเสือหมอบมังกรดำ ตัวทุ่นจะใหญ่แต่จะกินตะกั่ว น้อยมากเท่ากับตราตะแป๊ะที่เล็กกว่ามากแต่ทำจากหางนกยูง
Sombat.J
(191
)
1
คห.42: 18 ก.ย. 53, 15:43
ทีนี้ลองมาตั้งทุ่นแบบให้เหลือครึ่งข้อจากหัวทุ่นจะมีข้อแตกต่างกันที่ระหว่างหางนกยูงกับสีหมอก หางนกยูงไม่ว่าทุ่นเล็กหรือใหญ่จะมีผลต่างเพียง 0.10 กรัมเอง ทุ่นเสือหมอบจะมีผลต่าง 0.25 กรัม นี่แหละคงเป็นคำตอบว่าทุ่นตัวไหนไวกว่าเวลาปลาดูดเหยื่อ ทำให้นักตกปลาถึงกลับบอกว่า หางนกยูงจะไวกว่าแบบอื่นๆ
Sombat.J
(191
)
คห.43: 18 ก.ย. 53, 15:43
ลงสนามทดสอบแล้วครับ ที่บ่อ ป.ปลา วันนี้เราจะตกกลางคืน รูปนี้ถ่ายประมาณ 6 โมงเย็นครับ
Sombat.J
(191
)
คห.44: 18 ก.ย. 53, 15:48
พอเริ่มมืดปลายทุ่นเริ่มมีปัญหาแล้วมองไม่เห็นครับ ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า เราทำทุ่นจะตกกลางวันหรือกลางคืน
Sombat.J
(191
)
คห.45: 18 ก.ย. 53, 15:49
วันนั้นเราทำทุ่นไป 2 แบบ 0.7 กรัม (เบอร์ 1.5) และ 1.0 กรัม (เบอร์ 2) แต่ปลายทุ่นไม่เหมือนกัน เหมาะสำหรับตกกลางคืนใช้คันละ 5.4 เมตร เราจึงตัดสินใจนำทุ่นแบบสะท้อนแสงมา ทดสอบแทนแต่ก็ทำมาจาก ต้นเสือหมอบและเป็นเบอร์ 2
Sombat.J
(191
)
คห.46: 18 ก.ย. 53, 15:53
สักพักก็ได้เล่นปลาแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าปลาอะไร
Sombat.J
(191
)
คห.47: 18 ก.ย. 53, 15:55
อ้อปลาช่งครับ
Sombat.J
(191
)
คห.48: 18 ก.ย. 53, 15:55
น้าเล็กเจ้าของบ่อปลา ช่วยกรุณาถือทุ่นสีหมอกที่ตกปลาตัวนี้สังเกตลายทุ่นจะสะท้อนแสงได้ดีครับ
Sombat.J
(191
)
คห.49: 18 ก.ย. 53, 15:56
ครับตัวต่อไป
Sombat.J
(191
)
คห.50: 18 ก.ย. 53, 16:02
รูปปลายทุ่นใช้คัน 5.4 เมตร ที่ตกแบบหน้าดิน ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งว่า ปลายทุ่นที่มีเขียว เหลือง แดง ถึงสีไหนควรจะวัดอะไรทำนองนั้น แต่บางบ่อ คงใช้ไม่ได้แล้ว ถ้าตกแบบหน้าดินนะครับ ผมจะไม่ขอพูดแบบตกลอย เพราะต้องใช้ทุ่นอีกประเภทหนึ่งครับ บางที ครึ่งข้อต้องวัดดวงกัน แล้วว่าปลาหรือคนตกใครจะไวกว่ากัน
<
1
2
3
>
siamfishing.com © 2024