Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที): SiamFishing : Thailand Fishing Community
<12345>
กระดาน
คห. 130 อ่าน 45,209 โหวต 14
Luzifer Photo ตอน : พื้นฐานการถ่ายภาพ (ก๊อปเขามาอีกที)
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.26: 17 พ.ย. 50, 06:51
ช่องมองภาพ (Finder)

ช่องมองภาพ มีอยู่ถึง 4 ประเภทคือ ช่องมองภาพแบบเล็งระดับ ตา, ช่องมองภาพแบบปรับระยะชัด, ช่อง มองภาพ แบบ จอปรับชัด และช่องมองภาพ แบบปริซึมห้าเหลี่ยม ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ช่องมองภาพ แบบสุดท้าย เนื่องจากเป็น ช่องมองภาพที่ใช้กันทั่วไปในกล้อง 35 มม. SLR ช่องมองภาพแบบปริซึมห้า เหลี่ยม (The Pentaprism) เป็นช่องมอง ภาพที่รับภาพ จากเลนส์ถ่ายภาพโดยตรง ภายตัวกล้อง จะมีกระจกเงาราบ วางทำมุม 45 องศา ภาพจะสะท้อนผ่านแก้วปริซึม พื้นที่หน้าตัดห้าเหลี่ยม ซึ่งจะอยู่ใน ส่วนที่ เรียกว่าหัวกระโหลกกล้อง ทำให้เกิดภาพที่ ช่องมองภาพ ตรงกับ ลักษณะที่ภาพ ตกกระ ทบลงบนแผ่นฟิล์มไม่ว่าจะถอดเปลี่ยนเป็น เลนส์ทางยาวโฟกัสใดก็ตาม ระยะห่าง ระหว่าง เลนส์ ถึง จอรับภาพ (Focusing Screen) จะเท่ากับระยะห่างจากเลนส์ถึง ระนาบฟิล์ม ช่องมองภาพ แบบนี้ จะมีความ สะดวกและได้ผลตรงตามที่ตามองเห็นมาก ที่สุด ในกล้องถ่ายภาพรุ่นสูงๆ
บางรุ่นยังมี ปุ่มปรับแก้สายตาเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทาง สายตาใช้ปรับแก้การมองภาพ โดยปรับได้ ประมาณ -1 ถึง 3 ไดออปเตอร์ และภาย ในช่องมองภาพของกล้องจะมีไฟสัญญาณ LED แสดง การทำงานต่างๆ ทั้งขนาดรูรับ แสง ความเร็วชัตเตอร์ จำนวนภาพ ระบบ บันทึกภาพแบบต่างๆ อีกทั้งยังแสดงการ ปรับโฟกัส เช่น ในกล้องแบบแมนนวลจะมี รูปไมโครปริซึมปรากฏตรงกลางจอภาพ เพื่อปรับระยะชัด ส่วนในกล้องออโต้โฟกัส ที่มีระบบโฟกัสหลายจุด ภายในจอภาพจะ แสดงกรอบโฟกัสหรือจุดโฟกัส ซึ่งผู้ใช้ สามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆ ภายในช่อง มองภาพนั่นเอง
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.27: 17 พ.ย. 50, 06:52
วงแหวนปรับความชัด (Focusing Ring)

บนกระบอกเลนส์ จะมี์ส่วนที่ใช้เพื่อการปรับความชัดของภาพถ่าย คือ วงแหวนปรับความชัด โดยปกติที่ตัวเลนส์จะมีตัวเลขบอกระยะทางความชัดของภาพ เป็นฟุต (f) และเมตร (m) จนถึงระยะไกลสุด (Infinity) การถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ ชัดเจนสมบูรณ์ ผู้ถ่ายภาพต้องคำนวณระยะทางจากกล้องถึงวัตถุแล้วปรับที่วงแหวน เพื่อหาระยะที่จะทำให้ภาพชัดสมบูรณ์
ในกล้องแบบแมนนวลโฟกัส นั้น มีระบบปรับความชัดให้กับภาพแบ่งออก เป็น 2 แบบ คือ แบบปรับให้ภาพซ้อนกัน (Super Impose) คือ ในช่องมองภาพจะมี ภาพสองภาพซ้อนกันอยู่ ต้องปรับวงแหวน ปรับความชัดให้ภาพทั้ง 2 มาซ้อนกันจน ทับสนิทเป็นภาพเดียวกันภาพถึงจะชัดแบบภาพแยก (Split Image) คือ ในช่องมองภาพตรงกลางของระบบนี้ จะมีวงกลมใสๆ ตรงกลางจอรับภาพ มีเส้นผ่าศูนย์กลางแบ่งครึ่งให้ภาพแยกจากกัน ถ้ายังไม่ได้ปรับความคมชัด ภาพส่วนบนและ ส่วนล่างจะไม่ตรงกัน ต้องปรับที่วงแหวน ปรับความชัด จนภาพทั้งสองต่อสนิทตรง กันจึงจะได้ภาพที่มีความชัดสมบูรณ์ ปัจจุบัน ระบบแบบนี้แทบจะไม่มีให้ใช้กันแล้ว เนื่องจากนักถ่ายภาพหันมานิยมกล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ที่มีระบบออโต้โฟกัส ซึ่งทำให้กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมา ต่างต้องแข่งขันกันในเรื่องของการปรับโฟกัสที่รวดเร็วทันใจและแม่นยำ เป็นสำคัญ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.28: 17 พ.ย. 50, 06:52
 [b]1.4 ความสัมพันธ์ ชัตเตอร์กับรูรับแส
1.4 ความสัมพันธ์ ชัตเตอร์กับรูรับแสง 

สิ่งที่มีความละเอียด ซับซ้อน ในกล้องที่จำเป็นต้องอาศัย ความเข้าใจ ในการปรับควบคุม คือ รูรับแสง และ ความเร็วชัตเตอร์ ทั้งสองสิ่งต่าง มีหน้าที่กันคนละส่วน คือ รูรับแสงบนเลนส์ ทำหน้าที่ จำกัด ปริมาณ ของแสง ที่เข้ามา และชัตเตอร์ จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดม่าน เพื่อให้ได้ผลของภาพ ตามเวลา ที่กำหนดไว้ และคุณสมบัติ ของทั้งสอง อีกอย่างคือ รูรับ แสงสร้างผลในเรื่องของความชัดลึก และชัดตื้น ขณะที่ ชัตเตอร์ สร้างผลในเรื่องความสั่นไหว ของกล้อง และ การเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่ ทั้งสอง จะไม่สามารถ แยกอันหนึ่ง อันใด ในการทำงานได้เลย เพราะทั้งสองสิ่งล้วน สัมพันธ์กัน อย่า งแยกจากกัน ไม่ได้ ดังนั้น นักถ่ายภาพ จึงจำเป็น ต้องเลือกค่าที่เหมาะ สมในการบันทึกภาพ โดยใช้ความเร็วชัต เตอร์สูงและรูรับแสงกว้าง หรือจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกับรูรับแสงแคบ ทั้งสองกรณี ฟิล์มจะได้รับแสงในปริมาณที่เท่ากัน และ เป็นความสัมพันธ์ของขนาดรูรับแสงและ ความเร็วชัตเตอร์ การเลือกค่าบันทึกภาพ

บางครั้งสภาพแสงที่ต้องการบันทึกภาพนั้นมีสภาพแสงน้อย ทำให้การบันทึกภาพนั้น ต้องใช้ รูรับแสงกว้าง หรือ ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เพื่อให้ได้ฟิล์มได้รับแสงที่ เพียงพอจะบันทึกภาพนั้นได้ หรือ ถ้าจะบันทึกภาพในที่ที่มีแสงแดดจัด ก็อาจต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นหรือรูรับแสงที่แคบลง เพื่อให้ฟิล์มได้แสงที่เหมาะสม เช่นเดียวกัน ในการบันทึกภาพทั่วๆ ไป จะพบว่า ค่าแสงที่วัดได้ในครั้งแรกนั้นจะเป็นเพียงค่ากลาง จากนั้นนักถ่ายภาพจะพิจารณาว่า ภาพที่ต้องการบันทึก ควรจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไร ใช้รูรับแสงขนาดใด ซึ่งถ้าหากเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เพื่อหยุดความเคลื่อนไหว ก็ต้องชดเชยกับค่าแสงที่สูญเสียไป โดยเลือกรูรับแสงที่กว้างขึ้น หรือ เมื่อต้องการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ก็ต้องใช้รูรับแสงที่แคบขึ้น เพื่อลดค่าแสงที่เข้ามามากกเกินไปนั่นเอง
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.29: 17 พ.ย. 50, 06:56
1.5 ฟิล์มถ่ายภาพ 

การเลือกใช้ฟิล์ม ถือว่า เป็นบันได ขั้นแรก ในการถ่ายภาพ ทั้งนี้เพราะฟิล์ม ถ่ายภาพ แต่ละชนิด มีความไวแสง แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของสีสันและคอนทราสต์ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ตัวคุณเองจะต้อง ทดลองใช้ฟิล์มหลายประเภท หลายยี่ห้อ และที่ความไวแสงแตกต่างกัน เพื่อหา ลักษณะพิเศษของฟิล์มที่คุณต้องการใช้งาน มากที่สุด ฟิล์มในตลาดถ่ายภาพบ้านเรามี ให้เลือกใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ ฟิล์ม เนกาตีฟสี หรือฟิล์มสี เป็นฟิล์มถ่ายภาพที่ ได้รับความนิยม มากที่สุด ในบรรดาฟิล์ม ประเภทอื่นๆ ฟิล์มประเภทต่อมาคือ ฟิล์ม สไลด์สี เป็นฟิล์ม ที่นักถ่ายภาพ ในระดับ จริงจังและนักถ่ายภาพมืออาชีพเลือกใช้งานมากที่สุด เนื่องจากอาศัยขั้นตอนใน กระบวนการล้างภาพน้อยกว่าการล้างฟิล์ม เนกาตีฟสี ทำให้เกิดความผิดพลาดในขั้น ตอนการล้างภาพน้อยกว่า ที่สำคัญฟิล์ม สไลด์สียังให้สีสันของภาพได้ตรงตามจริง ทั้งยังมีความละเอียดของภาพมากกว่าฟิล์ม เนกาตีฟสีซึ่งมีละติจูดที่กว้างกว่า แต่ผู้ที่จะ ใช้ฟิล์มสไลด์สีได้ดีต้องมีประสบการณ์และ ความแม่นยำในเรื่องของการวัดแสงเป็น อย่างมาก เพราะไม่สามารถแก้ไขในขั้น ตอนของการล้างภาพได้เลย ความไวแสงของฟิล์มกับทางยาว โฟกัสเลนส์ที่ใช้ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ นักถ่ายภาพต้องพิจารณา เพื่อใช้ในการ เลือกค่าที่จะบันทึกภาพ

ฟิล์มที่ผลิตและจำ หน่ายในปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบตาม ความต้องการ เช่น ฟิล์มสี ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มอินฟาเรด และฟิล์มขาว-ดำ เป็นต้น และมีให้เลือกมากมายหลายขนาด แต่ในที่ นี้ขอยกความถึง เฉพาะฟิล์มแบบกลักขนาด 135 มม. หรือที่เราเรียกันติดปากว่า ฟิล์ม ขนาด 35 มม. นั่นเอง

ฟิล์มที่ผลิตและจำ หน่ายในปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบตาม ความต้องการ เช่น ฟิล์มสี ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มอินฟาเรด และฟิล์มขาว-ดำ เป็นต้น และมีให้เลือกมากมายหลายขนาด แต่ในที่ นี้ขอยกความถึง เฉพาะฟิล์มแบบกลักขนาด 135 มม. หรือที่เราเรียกันติดปากว่า ฟิล์ม ขนาด 35 มม. นั่นเอง

การเลือกใช้ความไวแสงของฟิล์ม ขึ้นอยู่กับสภาพแสง และ ลักษณะของการ ถ่ายภาพเป็นสำคัญ ฟิล์มที่ความไวแสงต่ำ เช่น ISO 50 และ ISO 64 จะให้ภาพที่มีเกรน ละเอียด สีสันสดใสอิ่มตัว ขยายภาพได้ ใหญ่มากขึ้นโดยไม่เสียรายละเอียด แต่ข้อ เสียคือไม่สามารถใช้รูรับแสงแคบกับความ เร็วชัตเตอร์ที่สูงได้มากนัก เนื่องจากมี ความไวแสงต่ำจึงเหมาะกับการถ่ายภาพที่ สามารถ ใช้ขาตั้งกล้อง บันทึกภาพได้ เป็น ระยะเวลานานๆ หรือในสภาพแสงแดดจัด เป็นต้น

ฟิล์ม ISO 100 จัดเป็นฟิล์มความ ไวแสงปานกลาง ให้เกรนภาพละเอียดพอ สมควร เป็นฟิล์มมาตรฐาน ของ นักถ่ายภาพ โดยทั่วไป ใช้งานได้ครอบคลุมการถ่ายภาพ หลายรูปแบบ ส่วนฟิล์ม ISO 200 จัดว่า เป็นฟิล์มความไวแสงปานกลาง โดยมีความ ไวแสงฟิล์มเพิ่มมาอีก 1 สตอป มีความ ละเอียดดีเยี่ยม เหมาะ สำหรับ การถ่ายภาพทั่วๆ ไป สำหรับฟิล์มความไวแสงสูงเช่น ISO 400, 800 และ 1600 เหมาะสำหรับ การถ่ายภาพ บางประเภทเท่านั้น เช่น ใน เวทีคอนเสิร์ตที่มีสภาพแสงน้อย การแสดง ที่ห้ามใช้แฟลชถ่ายภาพ หรือในการถ่าย ภาพกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงใน การหยุด การเคลื่อนที่ ของนักกีฬา เป็นต้น ฟิล์มความไวแสงสูงจะมีเกรนภาพที่หยาบ และ มีราคาสูงกว่า ฟิล์มความไวแสงสอง อันดับแรกข้างต้น 
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.30: 17 พ.ย. 50, 06:57
 [b]1.6 ระบบวัดแสง  [/b]

ระบบวัดแสง ของกล้อ
1.6 ระบบวัดแสง 

ระบบวัดแสง ของกล้องถ่ายภาพ ถือว่า เป็นระบบการทำงาน ที่สำคัญส่วน หนึ่ง เพื่อที่ นักถ่ายภาพ จะได้บันทึกภาพได้ อย่างถูกต้อง เทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยทำให้ เราสามารถวัดแสงได้มีประสิทธิภาพ รวด เร็ว และแม่นยำมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน เครื่องมือวัดแสงที่ใช้กันมีอยู่สองระบบ คือ วัดแสงสะท้อน (Reflected light meters) และ แบบวัดแสงตกกระทบ (Incident light meters) ซึ่งระบบที่ใช้ใน กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR คือแบบวัดแสงสะท้อนจากวัตถุ เซลวัดแสงภายในตัวกล้อง จะทำ หน้าที่วัดแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามา เซลไวแสง จะถูกวางไว้บนปริซึมห้าเหลี่ยมโดยปกติจะ ใช้ประมาณ 2 ตัว ระบบวัดแสงจะประเมิน ค่าแสงจากสีเทากลาง หรือที่เราเรียกว่าค่า เทากลาง 18% ผลจาก การแสดง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความเร็วชัตเตอร์ และ รูรับแสงที่ใช้ในการบันทึกภาพ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.31: 17 พ.ย. 50, 06:58
ปกติกล้องออโต้โฟกัสจะวางตำแหน่งสำ
ปกติกล้องออโต้โฟกัสจะวางตำแหน่งสำหรับเซนเซอร์ไว้กลางจอรับภาพ และมักจะออกแบบให้เป็นรูปกากบาทเพื่อให้ปรับโฟกัสได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ภาพด้านซ้ายแสดงการวางตำแหน่งตัวเซนเซอร์ CAM246 ของ NIKON F90 อยู่ใต้กระจกสะท้อนภาพโดยแสงที่ผ่านเลนส์เข้ามา( เส้นสีแดง ) จะทะลุกระจกสะท้อนภาพผ่านไปยังกระจกสะท้อน แสงขนาดเล็กที่อยู่ด้านหลังหักเหลงไปยังตำแหน่งของตัวเซนเซอร์ สำหรับเส้นสีฟ้าคือทางเดินของแสงไปยังเซลวัดแสง และเส้นสีเขียวคือระบบวัดแสงแฟลชที่ระนาบฟิล์ม
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.32: 17 พ.ย. 50, 06:59
ใน กล้องรุ่นเก่าเซลวัดแสงมักจะติดตั้งไว้ภาย นอกตัวกล้อง ทำให้เกิดความผิดพลาดจาก การวัดแสง ได้ง่าย เพราะจะอ่านแสงที่มา จากทุกทิศทาง ซึ่งไม่ใช่แสงที่ผ่านเข้าเลนส์ มาโดยตรง ยิ่งหาก ใช้ฟิลเตอร์ ด้วยแล้ว เซลวัดแสง ของกล้อง จะไม่ทำการชดเชยแสงให้ เหมือนกับ กล้องที่ติดตั้ง เซลวัดแสง ไว้ภาย ในตัว

กล้องถ่ายภาพที่ใช้ในปัจจุบันมี ระบบวัดแสงอยู่ภายในตัวกล้องนั้น พอจะ แยกออกได้ 2 แบบคือ ประเภทแรกระบบ วัดแสงจะทำงานแยกเป็นอิสระกับระบบ ของกล้อง โดยจะอ่านค่าแสง ที่มิเตอร์ก่อน จากนั้นจึงปรับขนาดรูรับแสงและความเร็ว ชัตเตอร์ โดยระบบวัดแสงแบบแรกนี้มักจะ พบได้ ในกล้องรุ่นเก่าๆ ส่วนประเภทที่สอง ระบบวัดแสง จะทำงานสัมพันธ์กับ ระบบ ของกล้อง และ ในช่องมองภาพ จะบอกค่า ของแสง จากการปรับตั้ง รูรับแสง และ ความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งในกล้องรุ่นใหม่ๆ

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นไป ในขั้นสูงมากขึ้น คือ ในกล้องบางรุ่นสามารถใช้ระบบวัด แสง ทำงานสัมพันธ์กับกรอบโฟกัส ได้ทันที สำหรับระบบวัดแสงผ่านเลนส์ หรือ TTL เป็นระบบวัดแสง มาตรฐาน ของกล้อง 35 มม. SLR ในปัจจุบัน การทำงาน นั้นเซลวัดแสงจะทำการวัดแสงที่ผ่านเข้ามา ทางเลนส์ โดยทำงานสัมพันธ์กับระบบการ ทำงานของกล้องทั้งรูรับแสงและความเร็ว ชัตเตอร์ นอกจากนี้ ยังสามารถปรับให้ทำ งานในระบบอัตโนมัติหรือระบบโปรแกรมที่ มีอยู่ภายในกล้อง เช่น ระบบออโต้ชัตเตอร์ และระบบออโต้รูรับแสง เป็นต้น

ส่วนใหญ่กล้องถ่ายภาพแบบ 35 มม. SLR นี้ จะวางตำแหน่งของเซลวัดแสง ไว้บริเวณปริซึม ของช่องมองภาพ หรือใต้ กระจก สะท้อนภาพ การทำงาน ของระบบวัดแสง ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ของกล้อง ถ่ายภาพ และจะแสดงค่าการวัดแสงภาย ในช่องมองภาพ โดยใช้เข็ม หรือไฟ สัญญาณ LED หรือแสดงผลในจอ LCD ที่ ติดตั้งในตัวกล้อง สำหรับระบบวัดแสงในปัจจุบันที่ พบเห็นกันโดยทั่วๆ ไปจะมี ระบบวัดแสง เฉลี่ยหนักกลางหรือเฉลี่ยเน้นกลางภาพ ระบบวัดแสงเฉพาะจุด และระบบวัดแสง แบบแบ่งพื้นที่

นอกจากนั้นบริษัทผู้ผลิต กล้องยังทำการคิดค้นระบบวัดแสงแบบ ใหม่ๆ เพื่อให้เป็นจุดขาย และ แสดงประสิทธิภาพ ให้นักถ่ายภาพสนใจ กับระบบวัดแสง ของกล้องรุ่นนั้นๆ เช่น ระบบวัดแสง แบบ 3D Color และ 3D Matrix ของ นิคอน ระบบวัดแสงแบบรังผึ้ง 14 ส่วน ของมินอลต้า และ ระบบวัดแสง แบ่งพื้นที่ 21 ส่วน ของแคนนอน เป็นต้น
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.33: 17 พ.ย. 50, 07:00
ระบบวัดแสงเฉลี่ยเน้นกลางภาพ หรือเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted Metering) เป็นระบบวัดแสง แบบมาตรฐาน ดั้งเดิมของกล้อง 35 มม. SLR ระบบนี้จะ วัดแสงโดยเน้นหนักไปยังบริเวณส่วนกลาง ของภาพมากกว่าพื้นที่รอบนอก อัตราส่วน ของการวัดแสงแตกต่างไปตามสเปกกล้อง ของผู้ผลิต เช่น 60/40, 70/30 จนถึง 80/20 ระบบวัดแสงแบบนี้เหมาะสำหรับ การถ่ายภาพทั่วๆ ไป

ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Metering) เป็นระบบที่เพิ่มเติมมาจาก ระบบแรก ใช้สำหรับ การวัดแสง ที่ต้องการ ความละเอียดสูงในบางสภาวะ อาทิเช่น ใน สภาพแสงที่มีความเปรียบต่างสูง ภาพย้อน แสง เป็นต้น โดยกล้องจะวัดแสงเฉพาะจุด กลางภาพภายในวงกลมขนาดเล็ก 2% ถึง 3% ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้วัดแสงบนวัตถุ ที่มีขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ แต่ผู้ใช้ต้อง ใช้ความพิถีพิถัน และ ระมัดระวัง ในการวัด แสงพอสมควร จึงจะได้ภาพที่มีคุณภาพดี ที่สุด

ระบบวัดแสงแบบแบ่งพื้นที่ (Multi-pattern Metering) เป็นระบบวัด แสงที่ก้าวหน้ามากที่สุด (ไม่นับรวมกับ ระบบวัดแสงสีของ Nikon F5 ซึ่งใช้การวัด สีของวัตถุ) ระบบชนิดนี้ กล้องจะแบ่งพื้นที่ การวัดแสง ในแต่ละพื้นที่ อย่างอิสระ โดย วัดความสว่าง และ ความเปรียบต่างในพื้นที่ แต่ละส่วน กล้องจะทำการวิเคราะห์สภาพแสง ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วจึงนำ ค่าที่ได้ มาประเมินผล หาค่าเฉลี่ยในการ บันทึกภาพ เป็นระบบที่เหมาะที่สุดในการ นำมาใช้กับระบบบันทึกภาพอัตโนมัติ การ เรียกระบบวัดแสงแบบแบ่งพื้นที่นั้น แต่ละ ยี่ห้อก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ระบบ 3D Matrix ของนิคอน ระบบ Multi- Pattern ของเพ็นแท็กซ์ ระบบ Evaluation ของแคนนอน และระบบ Honey-Comb Pattern ของมินอลต้า เป็นต้น
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.34: 17 พ.ย. 50, 07:02
จบแล้วคร๊าบผม


พรุ่งนี้จะลง

การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล

ให้นะครับ

luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.35: 18 พ.ย. 50, 02:05
การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล


1.....การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล

การถ่ายภาพดิจิตอล เป็นการถ่ายภาพโดยใช้กล้องดิจิตอล ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพที่ไม่ได้ใช้ฟิล์ม แต่ใช้อุปกรณ์
รับแสงที่เราเรียกว่า CCDs (Charge-Coupled Devices) หรือ CMOS (Complementary Metal Oxide
Semiconductor) แทนที่ฟิล์ม CCDs หรือ CMOS จะเปลี่ยนแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และสัญญาณไฟฟ้าจะ
ถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูล และสามารถนำข้อมูลดิจิตอลนั้นไปใช้งานต่างๆ ได้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ภาพ, ส่ง
E-Mail, ดูภาพทางโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ฉายภาพออกทาง LCD Projector, ใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์, นำไปใช้ใน
เกมส์ ฯลฯ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.36: 18 พ.ย. 50, 02:06
ภาพถ่ายจากกระบวนการถ่ายภาพดิจิตอลจะประกอบด้วนส่วนเล็กที่สุดที่เราเรียกว่า Pixels หรือ Picture
Elements ซึ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรับคล้ายตารางหมากรุก ส่วนภาพที่เกิดขึ้นบนฟิล์มจะเกิดจากจุดสีที่เรา
เรียกว่า เกรน (Grain) ซึ่งภายในเกรนจะเป็นกลุ่มของเม็ดสี (Color Dye) จับตัวกันอยู่สำหรับภาพสี (Color
Photograph) และเป็นโลหะเงิน (Silver) จับตัวกันเป็นก้อนสำหรับภาพขาวดำ (Black&White Photograph)
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.37: 18 พ.ย. 50, 02:08
กล้องดิจิตอลเป็นเพียงอุปกรณ์หนึ่ง
กล้องดิจิตอลเป็นเพียงอุปกรณ์หนึ่งในการเปลี่ยนภาพที่เรามองเห็นให้เป็นภาพดิจิตอล ได้ กล้องดิจิตอล
แบบคอมแพคหรือ SLR ที่เราเห็นกันทั่วไปเรียกว่า Digital Still Camera หรือ DSC ยังมีอุปกรณ์อีกหลาย
อย่างและมีกระบวนการอีกหลายวิธีที่เราจะสามารถเปลี่ยนภาพที่ตามองเห็นให้เป็นภาพดิจิตอล เช่น กล้อง
VDO Digital ที่สามารถถ่ายภาพนิ่งได้ (ความละเอียดต่ำ) สแกนเนอร์ซึ่งมีทั้งสแกนเนอร์สำหรับใช้สแกนฟิล์
มสไลด์และเนกาติฟ (Transparency Scanner) ซึ่งเรามักเรียกว่า ฟิล์มสแกนเนอร์ และสแกนเนอร์ที่ใช้
สแกนภาพต้นฉบับสะท้อนแสง (Reflection Scanner) หรือที้เรามันเรียกว่า Flatbed Scanner, กล้องวงจร
ปิดหรือกล้องที่ใช้กับการถ่ายทอดภาพทางอินเตอร์เนท (Web Camera) ฯลฯ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.38: 18 พ.ย. 50, 02:09
กระบวนการถ่ายภาพดิจิตอลจะประกอบด้
กระบวนการถ่ายภาพดิจิตอลจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3-ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. Input หรือส่วนที่เปลี่ยนภาพหรือแสงให้เป็นข้อมูลดิจิตอล เช่น สแกนเนอร์ กล้อง Digital Still Camera
กล้อง VDO กล้อง Digital Video นอกจากกล้องถ่ายภาพแล้ว นาฬิกาบางรุ่น โทรศัพท์มือถือบางรุ่นก็ยัง
สามารถถ่ายภาพดิจิตอลได้เช่นกัน

2. Image Processing หรือส่วนที่นำข้อมูลดิจิตอลมาประมวลผล แก้ไข ปรับปรุง ส่วน Image Processing
นี้เป็นส่วนที่ทำให้การถ่ายภาพดิจิตอลมีความสามารถไม่มีที่สิ้นสุด เราสามารถปรับแต่งภาพได้ไม่จำกัดตาม
ความสามารถของ Software จินตนาการ และความสามารถในการทำงานของผู้ใช้ Software
ในส่วนนี้เราสามารถปรับแต่งภาพได้หลากหลาย เช่น ตัดส่วนภาพ ทำภาพพาโนรามา ทำผลพิเศษให้กับ
ภาพ ย่อขยายภาพ ทำภาพสามมิติ ทำภาพบิดเบี้ยว เพิ่มความสว่างหรือ Contrast ทำภาพ Photomontage
ฯลฯ

3. Output เป็นส่วนที่เปลี่ยนภาพดิจิตอลให้เป็นภาพในรูปแบบอื่น ๆ เช่น พิมพ์ภาพออกทางเครื่องพิมพ์,
สอดภาพในงานเอกสาร, ทำเวปไซท์, ส่ง E-Mail, ทำภาพบนวัสดุต่าง ๆ เช่น เสื้อยืด, พวงกุญแจ, เมาท์แพ
ด, เค้ก, คุกกี้, เก็บภาพใน CD ไว้ใช้งาน, ยิงฟิล์มทางเครื่อง Film Recorder หรือฉายออกทาง TV, LCD
Projector ฯลฯ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.39: 18 พ.ย. 50, 02:10
กล้องที่ใช้ฟิล์มจะมีฟิล์มเป็นอุปกรณ์รับภาพ และภาพเกิดขึ้นบนฟิล์ม แต่กล้องดิจิตอลใช้ CCDs เป็นตัวรับภาพ
และมีอุปกรณ์ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นข้อมูลดิจิตอล และต้องมีอุปกรณ์ในการเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอลเป็นภาพ
ที่มองเห็นได้ อุปกรณ์ต่อเนื่องในระบบดิจิตอลจะมากกว่า หากเราอธิบายรายละเอียดของระบบการถ่ายภาพแบบ
ดิจิตอลและฟิล์มจะได้ดังนี้

1. การถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์ม เริ่มจากเริ่มจากมีแหล่งกำเนิดแสงให้แสงตกลงวัตถุ วัตถุสะท้อนแสงไปที่เลนส์
เลนส์จะทำหน้าที่รวมแสงและควบคุมปริมาณแสง (โดยใช้ม่านช่องรับแสงหรือ Diaphragm) แสงไปยังกล้องผ่านม่านชัตเตอร์ (ควบคุมเวลาที่แสงตกลงฟิล์ม) แสงไปตกลงยังฟิล์มเกิดภาพแฝง (Latent Image) ขึ้น
จากนั้นเราเอาฟิล์มไปล้างด้วยน้ำยาสร้างภาพ (Developer) น้ำยาฟอกภาพ (Bleach) น้ำยาคงสภาพ (Fixer)
ล้างน้ำ อบแห้ง เราก็จะได้ภาพเนกาติฟบนฟิล์ม หากเป็นฟิล์มสไลด์จะใช้ชุดน้ำยาที่แตกต่างออกไป แต่ได้ภาพ
ที่เสมือนจริงบนฟิล์ม ส่วนฟิล์มเนกาติฟจะได้ภาพที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงบนฟิล์ม เมื่อนำไปเข้าเครื่องอัด
ขยายภาพ ทำการฉายแสงลงบนกระดาษขยายภาพ และนำกระดาษไปล้าง (กระบวนการคล้ายฟิล์ม) จะได้ภาพ
สีสะท้อนแสงหรือภาพ Print ออกมา เป็นภาพเสมือนจริง
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.40: 18 พ.ย. 50, 02:12
2.การถ่ายภาพดิจิตอล เริ่มจากมีแหล่งกำเนิดแสงให้แสงตกลงวัตถุ วัตถุสะท้อนแสงไปที่เลนส์ เลนส์จะทำ
หน้าที่รวมแสงและควบคุมปริมาณแสง (โดยใช้ม่านช่องรับแสงหรือ Diaphragm) แสงไปยังกล้อง ผ่านม่าน
ชัตเตอร์ (กล้องรุ่นแพง ๆ เท่านั้นถึงจะมีม่านชัตเตอร์ ซึ่งจะเรียกว่า Mechanical Shutter ซึ่งหมายถึงม่าน
ชัตเตอร์ควบคุมด้วยไฟฟ้าหน้าระนาบฟิล์ม สังเกตว่ากล้องประเภทนี้ไม่สามารถดูภาพที่กำลังจะถ่ายได้ทางจอ
LCD ด้านหลังตัวกล้อง ดูได้เฉพาะภาพที่ถ่ายแล้วเท่านั้น ส่วนกล้องดิจิตอลทั่วไปไม่มีม่านชัตเตอร์หน้า CCDs
ทำให้ CCDs ได้รับแสงตลอดเวลา สามารถดูภาพที่จะถ่ายทางจอ LCD ได้ เวลาเปิดรับแสงควบคุมด้วยเวลาใน
การสแกนภาพของ CCDs เรียกว่า Electronic Shutter) จากนั้นแสงจะตกลงบน CCDs เกิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้น
มา เป็นสัญญานไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง (analog) สัญญานไฟฟ้าจะถูกส่งไปยังเครื่องแปรสัญญานไฟฟ้าให้เป็น
ข้อมูลดิจิตอล(Encoder) ข้อมูลดิจิตอลจะถูกส่งไปที่ Image Processor (CPU) ในตัวกล้องเพื่อปรับแต่งภาพ
โดยภาพจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำชั่วคราว (Ram) เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว ภาพจะถูกส่งไปที่แผ่น
เก็บข้อมูล(Storage Media) ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น แผ่น Floppy Disk , CD, Smart Media, Memory Stick,
Compact Flash
หากเราต้องการภาพอัดขยาย เราจะต้องนำเอาภาพในการ์ดเก็บข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้นถึงจะพิมพ์
ภาพออกมาเป็นภาพสีสะท้อนแสงหรือภาพ Print หากต้องการภาพเป็นฟิล์มจะต้องใช้ Film Recorder หรือ
เครื่องยิงฟิล์มยิงภาพออกมา
แม้ว่าจะระบบถ่ายภาพแบบดิจิตอลจะมีขั้นตอนการทำงานมากกว่า แต่ในการใช้งานจริง ๆ กลับใช้เวลาน้อยกว่า
โดยเฉพาะในขั้นตอนการถ่ายภาพจนถึงภาพที่เห็นได้ กล้องที่ใช้ฟิล์มจะต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัด
ขยาย(ฟิล์มเนกาติฟ) ถึงจะได้ภาพออกมา ยกเว้นแต่ใช้ฟิล์ม Instant หรือที่เรามักเรียกกันว่า ถ่ายภาพโพลา
ลอยด์เท่านั้นถึงจะเห็นภาพได้เลย แต่กล้องดิจิตอล ถ่ายภาพเสร็จก็สามารถดูภาพได้ทางจอมอนิเตอร์แบบ LCD
ที่ด้านหลังตัวกล้องได้เลย ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นหลังจากการถ่ายภาพเสร็จสิ้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทันจิ่ค๊าบ..............กระทู้นี้ กะว่าจะยาวถึงปีหน้า เพราะว่ามีเยอะเหลือเกิน
สวัสดีตอนตี 2 กว่าๆนะค๊าบน้าบุ๊ง 
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.41: 18 พ.ย. 50, 02:13
ผู้ที่กำลังจะซื้อกล้องถ่ายรูปตัวใ
ผู้ที่กำลังจะซื้อกล้องถ่ายรูปตัวใหม่ หากที่บ้านมีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว หรือคิดจะมีคอมพิวเตอร์ในอนาคตอัน
ใกล้ มักคิดเปรียบเทียบระหว่างกล้องดิจิตอลกับกล้องที่ใช้ฟิล์มว่าจะเลือกซื้อกล้องแบบใดดี หากเป็นเมื่อต้น
ที 2544 หรือก่อนหน้านั้นคงตัดสินใจได้ไม่ยาก เพราะกล้องดิจิตอลในขณะนั้นราคาค่อนข้างสูง และคุณภาพ
ยังห่างจากกล้องใช้ฟิล์มอยู่มากพอควร (เปรียบเทียบในราคาใกล้ ๆ กัน) ส่วนกล้องดิจิตอลที่คุณภาพเทียบ
ได้กับฟิล์มถ่ายภาพ ราคายังเกือบล้านหรือมากกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งยากที่นักถ่ายภาพสมัครเล่นทั่วไปจะลง
ทุนซื้อ
แต่กล้องดิจิตอลปัจจุบันคุณภาพดีขึ้นมาก ในราคาไม่แพง ส่วนกล้องที่คุณภาพเทียบได้กับฟิล์ม ราคาอยู่ที่
หลักแสนถึงสามแสนบาท ซึ่งลดลงมากว่าเดิมมาก แต่อาจจะยังสูงอยู่สำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่นทั่วไปซึ่ง
ไม่ได้ทำเงินกับการถ่ายภาพ
การจะติดสินใจซื้อกล้องแบบใด คงต้องดูข้อได้เปรียบเสียเปรียบของกล้องชนิดนั้นๆ เสียก่อนที่จะตัดสินใจ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.42: 18 พ.ย. 50, 02:14
ข้อได้เปรียบของกล้องดิจิตอล


1. ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะกล้องดิจิตอลไม่จำเป็นต้องใช้ฟิล์ม จึงไม่ต้องเสียค่าฟิล์ม ค่าล้างฟิล์ม
และค่าอัดขยายภาพในการดูภาพ ยกเว้นแต่ต้องการพิมพ์ภาพออกมาถึงจะต้องใช้วัสดุสิ้นเปลือง หากคิดค่า
ฟิล์มเนกาติฟม้วนละ 100 บาท ค่าล้าง 30 บาท และค่าอัดขยายภาพ 5 บาท/ใบ ค่าใช้จ่ายในการถ่ายภาพ
จะตกม้วนละ 310 บาท ส่วนกล้องดิจิตอลที่ให้คุณภาพเทียบเท่าฟิล์มกับการอัดขยายภาพในขนาด 4R จะ
ประมาณ 1800x1200 pixels หรือประมาณ 2.3 ล้านพิกเซล ซึ่งราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นต้น ๆ เท่านั้น
เท่ากับการใช้ฟิล์มประมาณ 70 ม้วนเท่านั้น หรือถ้าคิดเฉพาะค่าฟิล์มก็จะอยู่ที่ 200 ม้วน

2. สามารถเห็นภาพและแก้ไขภาพได้ทันที ไม่ต้องรอ กล้องดิจิตอลในปัจจุบันจะมีจอ LCD อยู่ด้านหลัง ทำ
หน้าที่แสดงภาพที่ถ่ายแล้วให้เห็น ซึ่งเป็นจุดที่ดีมาก ๆ ของกล้องดิจิตอล ผู้ใช้สามารถดูภาพได้ทันทีหลัง
จากถ่ายภาพเสร็จ หากภาพถูกใจ ใช้งานได้ก็บันทึกลงบนแผ่นเก็บข้อมูล แต่ถ้าภาพผิดปกติ เช่น สว่างเกิน
ไป มืดเกินไป สีผิดเพี้ยน องค์ประกอบไม่ดี ภาพเสียงจังหวะ ฯลฯ ก็สามารถถ่ายภาพใหม่ๆได้ทันที ไม่ต้อง
ไปลุ้นภายหลังว่าภาพจะออกมาเป็นอย่างไร ทำให้ได้จำนวนภาพสวยงามมากกว่าการใช้ฟิล์ม

3. สามารถเลือกเก็บเฉพาะภาพที่ชอบ และลบภาพที่ไม่ชอบทิ้งได้ เราสามารถถ่ายภาพเผื่อเอาไว้เยอะ ๆ ได้
โดยไม่ต้องกลัวเปลือง แล้วมาดูภาพในภายหลังว่า จะเอาภาพใดไว้ และลบภาพใดออกไปจากแผ่นเก็บ
ข้อมูลได้ สะดวกในการทำงานมาก

4. ไม่มีสารพิษหรือมลภาวะในการใช้งาน เนื่องจากไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการถ่ายภาพ ในบางกระบวน
การอาจจะใช้บ้าง เช่น การพิมพ์ภาพ แต่ก็ใช้สารเคมีและเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากระบวนการ
ถ่ายภาพด้วยฟิล์มมาก ๆ

5. ไม่ต้องรอถ่ายภาพให้หมดก็สามารถดูภาพได้ และนำภาพไปใช้งานเมื่อไรก็ได้ หากเป็นฟิล์มเราจะต้อง
ถ่ายภาพให้หมดม้วนถึงจะนำไปล้างได้ หรือถ้าไม่หมดม้วนก็ต้องทำการตัดฟิล์มล้าง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยง
ต่อการเสียหาย และสิ้นเปลืองมาก
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.43: 18 พ.ย. 50, 02:16
6. การจัดเก็บสะดวกกว่า เพราะเป็นข้อมูลดิจิตอล เราสามารถเก็บภาพอุปกรณ์ความจุสูงและราคาไม่แพง
เช่น CD (หรือ DVD ในอนาคต) CD 1 แผ่นราคาประมาณ 20 บาท ความจุ 650 MB สามารถเก็บภาพคุณภาพสูงได้นับร้อยภาพ ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ สามารถเรียกใช้ได้ง่าย และเราสามารถจัดหวดหมู่
ภาพได้ง่ายกว่า ส่วนฟิล์มนั้น จัดเก็บยาก แบ่งหมดหมู่ลำบากกว่ามาก เปลืองพื้นที่ในการเก็บ เช่น งานรับ
ปริญญา หากอยู่ใน CD แผ่นเดียวจะเก็บรักษาได้ง่ายกว่าเป็นอัลบั้ม 10 อัลบั้มแน่นอน

7. ภาพไม่เสื่อมตามกาลเวลา เนื่องจากข้อมูลเป็นดิจิตอล หากเราไม่ทำแผ่นเก็บข้อมูลชำรุด รูปเราจะคง
สภาพไม่เสียหายไปตามกาลเวลา ส่วนภาพจากฟิล์มจะเสื่อมสภาพจากความร้อน สารเคมี และความชื้น เก็บ
ได้ไม่นานก็จะเสื่อมสภาพ หมดอายุ รูปที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบันจะถูกเก็บเป็นไฟล์ดิจิตอลกัน
เป็นส่วนใหญ่แล้ว

8. สามารถทำสำเนาได้ไม่จำกัด และได้คุณภาพเท่าต้นฉบับ เนื่องจากเป็นข้อมูลดิจิตอลเป็นตัวเลข สามารถ
ทำสำเนาเหมือนต้นฉบับได้ 100% จำนวนเท่าใดก็ได้ ต่างจากการก็อปปี้ภาพที่เป็นฟิล์ม คุณภาพจะตกลง
เรื่อย ๆ ตามขั้นตอน

9. สามารถนำไปใช้กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ส่ง E-Mail, WebPages, ใช้ในงานโฆษณา,
ทำสิ่งพิมพ์ ไม่ต้องนำภาพไปสแกนเหมือนภาพจากฟิล์ม

10. สามารถแก้ไขภาพด้วยโปรแกรม Photo Editing ต่าง ๆ ได้ทันที เช่น แก้ตาแดง ลบสิว แต่งหน้า
เปลี่ยนฉากหลัง ส่วนภาพจากฟิล์มต้องทำการสแกนเป็นดิจิตอลก่อน แต่ถ้าจะแต่งภาพโดยใช้วิธีแบบเก่า
คือ ใช้สีแต้มที่ภาพ จะใช้เวลานาน ใช้ความชำนาญสูงมาก และได้งานไม่ดีเท่ากับระบบดิจิตอล
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.44: 18 พ.ย. 50, 02:17
ข้อเสียเปรียบของกล้องดิจิตอล


1. ตัวกล้องมีราคาสูง เมื่อเทียบกับกล้องที่ใช้ฟิล์ม กล้องดิจิตอลจะมีราคาสูงกว่าในระดับกล้องใกล้เคียงกัน
ราคากล้องดิจิตอลจะไม่ลดลงมากนักในอนาคต เพราะผู้ผลิตต้องพยายามตรึงราคากล้องไม่ให้ลดลงไปมาก
ซึ่งจะมีปัญหากับกล้องที่ตกค้างอยู่ในตลาด จะใช้วิธีการออกรุ่นใหม่ที่มีระบบการทำงานมากกว่าเดิม รูปร่าง
สวยงามน่าสนใจกว่าเดิม แต่ไม่ลดราคาลงไปมากนัก

2. ต้องมีอุปกรณ์ต่อเนื่องหลายส่วน เช่น ผู้ใช้กล้องดิจิตอลควรมีคอมพิวเตอร์ มีเครื่องพิมพ์ภาพระบบ Inkjet
หากต้องการขยายภาพเอง มีการ์ดเก็บข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์ต่อเนื่องมีราคาค่อนข้างสูง

3. ตกรุ่นเร็วมาก เพราะเป็นสินค้าเทคโนโลยี เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา รุ่นเก่าจะเลิกผลิตและตกรุ่นไปใน
ทันที

4. ไม่สามารถอัพเกรดฮาร์ดแวร์ของตัวกล้องได้ เช่น ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ CCD รุ่นใหม่ เพิ่ม Ram หรือ
เปลี่ยน Processor ใหม่ได้ เพราะกล้องดิจิตอลถูกสร้างขึ้นมาเป็น Unit เดียว ไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะส่วน
เหมือนคอมพิวเตอร์ได้ หากต้องการความละเอียดของภาพเพิ่ม ต้องเปลี่ยนกล้องอย่างเดียว ผิดกับกล้องใช้
ฟิล์มที่สามารถเปลี่ยนไปใช้ฟิล์มรุ่นใหม่ที่คุณภาพสูงขึ้นได้

5. อายุการใช้งานสั้น ทั้งปัญหาเรื่องความทนทานของตัวกล้องที่ไม่ยืดยาวเท่ากล้องใช้ฟิล์ม อะไหล่ และ
ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนกล้องเพราะว่ามีกล้องรุ่นใหม่ที่น่าสนใจมากกว่า ผู้ใช้กล้องดิจิตอลมักจะเปลี่ยนกล้องทุก
ๆ 1 หรือ 2 ปี เพราะสนใจกล้องรุ่นใหม่กว่า
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.45: 18 พ.ย. 50, 02:19
6. เปลืองพลังงานค่อนข้างมาก แม้ว่ากล้องรุ่นใหม่จะใช้แบตเตอรี่น้อยลงและแบตเตอรี่รุ่นใหม่สามารถเก็บ
ไฟได้มากขึ้น แต่กล้องดิจิตอลก็ยังใช้พลังงานค่อนข้างมาก กล้องรุ่นใหม่บางรุ่น ใช้แบตเตอรี่เปลืองกว่าค่า
ฟิล์มด้วยซ้ำ

7. ต้องมีการ์ดเก็บข้อมูลความจุสูง หากความจำในการ์ดเต็มต้องทำการถ่ายภาพออก เพื่อจะนำการ์ดมาใช้
งานใหม่ได้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ใช้กล้องดิจิตอลถ่ายภาพจำนวนมาก ๆ ในแต่ละครั้งต้องพกกาคอมพิวเตอร์ไปเพื่อถ่ายโอนข้อมูลด้วยเสมอ

8. ขายต่อราคาตกมาก พอตกรุ่นแล้ว ราคากล้องจะราว ๆ 50% เลยทีเดียว โดยเฉพาะกล้องความละเอียด
ต่ำ หากชอบเปลี่ยนกล้องบ่อย ๆ ต้องพยายามขายกล้องออกในช่วงที่กล้องยังไม่ตกรุ่นหรือตกไม่นานนัก

9. หาร้านอัดขยายภาพได้ยาก ส่วนใหญ่จะมีเครื่อง Inkjet อยู่ที่บ้านกันอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการอัดขยายภาพ
เป็นรูปถ่ายโดยใช้เครื่อง Digital Print อย่าง Frontier 350 ซึ่งให้ภาพคุณภาพเท่าภาพถ่ายจากฟิล์ม จะ
ลำบากสักหน่อยในการหาร้านอัดขยาย เพราะเครื่องยังไม่แพร่หลายมากนักในตลาด (ฟูจิจะมีประมาณ 400
เครื่องในสิ้นปี 2547 ส่วนยี่ห้ออื่นมีบ้างแต่น้อยมาก)

แม้ว่า การจะได้ภาพดิจิตอล มีหลายวิธีทาง เช่น ใช้เครื่องสแกนเนอร์สแกนภาพจากฟิล์มหรือภาพถ่าย ใช้
กล้อง VDO ซึ่งให้ภาพไม่ดีนัก แต่กล้องกล้องดิจิตอลยังคงเป็นหนทางที่น่าสนใจที่สุดในการถ่ายภาพ
ดิจิตอล เพราะกล้องดิจิตอลประหยัดกว่ากับการใช้งานมาก ๆ ในระยะยาว ให้ความสะดวก เห็นภาพได้ทันที
ปรับแต่งภาพได้หลากหลาย โอกาสถ่ายภาพเสียหรือผิดพลาดต่ำ นอกจากใช้งานถ่ายภาพแล้ว กล้อง
ดิจิตอลยังสามารถใช้งานอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น ในปัจจุบัน กล้องดิจิตอลยังใช้ฟังเพลงในระบบ MP3 ได้ เช่น
กล้อง FinePix 50I ของฟูจิ ใช้บันทึกเสียงแทนเทปบันทึกเสียง ใช้ถ่ายภาพวิดิโอ ใช้เป็นกล้องวิดิโอวงจร
ปิด ถ่ายภาพพร้อมบันทึกเสียงลงในภาพได้ และในอนาคตยังจะทำงานอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ประโยชน์
ของกล้องดิจิตอลจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่ถ่ายภาพอย่างเดียว แต่จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ มากมายในเชิง
Information Technology เช่น เป็นโทรศัพท์มือถือ เล่นอินเตอร์เนท เป็น GPS ฯลฯ
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.46: 18 พ.ย. 50, 02:19
เมื่อไรที่ควรเลือกใช้กล้องดิจิตอล


หลายคนอาจจะกำลังคิดจะซื้อกล้องสัก 1 ตัว หากมีกล้องใช้ฟิล์มอยู่แล้ว บ้านมีคอมพิวเตอร์ และต้องใช้งาน
ภาพดิจิตอล ส่วนมากจะเลือกซื้อกล้องดิจิตอล แต่ถ้าไม่ เป็นการตัดสินใจยากเหมือนกันว่าจะซื้อกล้อง
ดิจิตอลที่ให้ความสะดวกสบาย หรือกล้องใช้ฟิล์มซึ่งใช้งานง่ายกว่า แนะนำให้อ่านข้อดีข้อด้อยของกล้อง
ดิจิตอล และคิดถึงการใช้งานของตัวเอง คงจะตัดสินใจได้ไม่ยาก ซึ่งผมขอให้คำแนะนำดังนี้

1. ถ้าต้องการภาพไปใช้ในอินเตอร์เนท ทำเวป ส่งเมล เอาภาพไปใช้กับงานพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่นัก แทรก
ภาพในเอกสาร Word Exel หรือ Pagemaker แนะนำให้ใช้กล้องดิจิตอล

2. ถ้าถ่ายภาพบ่อยมากๆ แต่ไม่ได้ขยายภาพใหญ่โตอะไรมากนัก ไม่ได้ขยายภาพทุกภาพ ใช้ดูทาง
คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ แนะนำกล้องดิจิตอล

3. ถ้าต้องการความทันสมัย เป็นแฟชั่น ดูเท่ห์ เก๋ ล้ำยุค ไม่ห่วงเรื่องราคา พร้อมจะจ่ายเงิน แนะนำกล้อง
ดิจิตอล

4. ถ้าถ่ายภาพเพื่อความสนุก ไม่ได้เอาคุณภาพอะไรนักหนา ถ่ายภาพสัพเพเหระได้ทั้งวัน แนะนำ กล้อง
ดิจิตอล

5. ต้องการดูภาพทันทีที่ถ่ายเสมอ ต้องการความแน่นอน แนะนำ กล้องดิจิตอล

6. ถ้าต้องการอัดขยายภาพแจกจ่ายเพื่อนฝูง ให้ญาติผู้ใหญ่ดูภาพ ไม่ชอบดูภาพทีเปิดคอมพิวเตอร์ที เลือก
กล้องใช้ฟิล์ม

7. ถ้าต้องการความเร้าในการถ่ายภาพ ชอบลุ้นภาพเวลาล้าง เป็นพวกอนุรักษ์นิยม แนะนำกล้องใช้ฟิล์ม

8. ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพน้อยมาก ต้องการประหยัด ต้องการความทนทาน เลือก กล้องใช้ฟิล์ม

9. ไม่รู้จะเอาภาพไปใช้อะไรกันแน่ ถ่ายภาพไปเรื่อย ๆ ไว้ก่อน เลือก กล้องใช้ฟิล์ม

10. ถ่ายภาพเพื่ออัดขยายขนาดใหญ่มาก ๆ ชอบภาพจากกระบวนการอัดภาพ ไม่ชอบภาพเป็นจุด ๆ ของ
Inkjet เลือก กล้องใช้ฟิล์ม
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.47: 18 พ.ย. 50, 02:24
จบแล้วคร๊าบ

พรุ่งนี้ค่อยมาต่อ

ระบบต่าง ๆ ของกล้องดิจิตอล



โปรดติดตามชม ตอนต่อไป

luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.48: 18 พ.ย. 50, 22:20
สวัสดีค๊าบ วันนี้มาต่อกันเลย

ส่วนของน้าเนย์ ผมมีคู่มือ350D(ภาษาไทย) เป็นไฟล์ pdf ถ้าจะเอา โพสเมลล์ไว้เลยครับผม


ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตนะคร๊าบ  
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.49: 18 พ.ย. 50, 22:22
ระบบต่าง ๆ ของกล้องดิจิตอล


1. การกำหนดขนาดภาพ (Image Size)


ขนาดภาพของกล้องดิจิตอล คือ จำนวน Pixels ในภาพที่บันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3
รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

1. จำนวน Pixels บน Image Sensor หมายถึงจำนวน Pixels ทั้งหมดที่อยู่บน Image Sensors

2. จำนวน Pixels ที่ถูกใช้งานในการบันทึกภาพ จะเรียกว่า Effective Pixels จำนวน Effective Pixels จะน้อย
กว่าจำนวน Pixels ทั้งหมดบน Image Sensor บางครั้งเราเรียกว่า Optical Resolution

3. จำนวน Pixels ที่บันทึกลงบนภาพ มักเรียกว่า Recording Pixels หรือ Output Pixels เป็นจำนวน Pixelsจริง
ที่จะถูกบันทึกลงบนการ์ดเก็บข้อมูลโดยจะมีจำนวนใกล้เคียงกับ Effective Pixels แต่กล้องบางตัวอาจจะมี
Recording Pixelsมากกว่า Effective Pixels ถึง 1.5 หรือ 2 เท่า ซึ่งจำนวน Pixels ที่เพิ่มขึ้นมานั้น ได้จากการ
จำลองข้อมูลจาก Effective Pixels ขึ้นมา เพื่อให้ภาพมีจำนวน Pixels มากขึ้น แต่คุณภาพโดยรวมจะไม่เพิ่มขึ้น

โดยปกติการเลือกซื้อกล้องดิจิตอลหรือการเลือกขนาดความละเอียดของภาพมาใช้งาน จะพิจารณาจากจำนวน
Effective Pixels กล้องที่มีจำนวน Effecive Pixels มากมีแนวโน้มว่าจะมีคุณภาพดีกว่ากล้องที่มีจำนวน
Effecive Pixels น้อย แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาดของ Image Sensor ขนาดของ Photo detector ความลึกสี ระบบ
ประมวลผล เลนส์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
luzifer(3326 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.50: 18 พ.ย. 50, 22:24
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกจำนวน Pix
กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะเลือกจำนวน Pixels ในการถ่ายภาพได้หลายค่า เช่น กล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล อาจ
จะเลือกถ่ายภาพได้ที่ 5 ล้านพิกเซล, 3 ล้านพิกเซล, 1ล้านพิกเซล, และ 7 แสนพิกเซล โดยทั่วไป เราสามารถ
เข้าไปเลือกความละเอียดของภาพได้โดยการเข้าไปที่ Menu (หรือ Setting) แล้วเข้าไปที่ Image Size (หรือ
Quality) จะปรากฏเมนูในการตั้งความละเอียดของภาพขึ้น

โดยทั่วไป ภาพที่มีจำนวน Pixels มาก จะสามารถนำไปขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่าภาพที่มีจำนวน Pixels
น้อย ให้ความคมชัด ความละเอียดที่ดีกว่า ภาพแตกเป็นสี่เหลี่ยมได้ยากกว่า แต่จำนวน Pixels ที่มากกว่า ก็ต้อง
ใช้เนื้อที่ของหน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมากกว่า สิ้นเปลืองพลังงานในการประมวลผลมากกว่า กล้องทำงาน
ช้ากว่า ทั้งการเก็บข้อมูลและการเรียกดูภาพบนการ์ดเก็บข้อมูล การตั้งความละเอียดไว้สูงสุดอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดี
ที่สุดในการบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิตอล เรามีวิธีในการเลือกความละเอียดของภาพโดยพิจารณาจากการนำ
ภาพไปใช้งาน
<12345>
siamfishing.com © 2024