กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
30 พ.ย. 67
หลายครั้งแล้วที่เป็นแบบนี้ ( นอกเรื่องครับขออภัย ): SiamFishing : Thailand Fishing Community
<
1
2
3
>
กระดาน
คห. 71 อ่าน 5,440
หลายครั้งแล้วที่เป็นแบบนี้ ( นอกเรื่องครับขออภัย )
kondoy
(2143
)
คห.26: 7 ก.ย. 54, 13:21
อ้างถึง: ลูกพระใสTEAM posted: 07-09-2554, 13:02:39
ระวังเรื่องอาหารครับน้า ออกกำลังกาย อย่าไปกลัวครับ เป็นได้ก็ต้องหายได้ครับ เป็นกำลังจัยให้ครับ ขอให้หายไวๆ
ขอบคุณมากมายครับน้า
kondoy
(2143
)
คห.27: 7 ก.ย. 54, 13:21
อ้างถึง: โกต๊อก posted: 07-09-2554, 13:02:45
ขอให้หายไวๆครับ โรคนี้ต้องควบคุมการกินอาหารครับ
ขอบคุณมากครับน้า ซึ้งจริงๆ เลย
kondoy
(2143
)
คห.28: 7 ก.ย. 54, 13:24
อ้างถึง: ปุ๊เอง posted: 07-09-2554, 13:05:05
ผมก็เป็นแบบเดียวกันครับ และจะเป็นส่วนใหญ่ที่บริเวณเท้าทั้ง 2 ข้างระหว่างข้อนิ้ว อาการก็จะเป็นดังนี้ แรกๆเวลาเดินจะเริ่มตึงๆแล้วบริเวณผิวหนังก็จะเริ่มเป็นสีแดงซึ่งหมายถึงการอักเสพจากด้านใน แล้วต่อมาเริ่มบวม ถ้าลองเอาหลังมือไปแตะเบาๆจะร้อนๆ หลังจากนั้นเดินไม่ได้ ใส่รองเท้าไม่ได้ ต้องเดินขาข้างเดียวและต้องใช้ไม้ค้ำประคองไว้ครับ ทรมาณสุดๆ ผมรักษาอาการนี้มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ปีแรกๆก็กินยามากมายจำไม่ได้ว่าของอะไรบ้าง อาการก็เริ่มทุเลา โดยทั้งนี้ต้องลดการกินสัตว์ปีกทุกชนิด เครื่องในสัตว์ ผักแทงยอด ปลาบางชนิด เช่นปลาดุก ลดทุกอย่าง แล้วที่สำคัญ
หน่อไม้ [b] หลังสุดผมไปกินข้าวราดแกงมา แกงไก่หน่อไม้ดอง กินเช้า บ่ายๆเดินขาลาก ร้องจ๊ากเป็นลิงเลย
ตอนนี้ผมขอแนะนำยารักษาที่ผมใช้กับอาการลักษณะนี้นะ
[b] ปวดกระทันหัน
ผมจะให้แพทย์ฉีดยา โวทาเรน เข้าร่างกายเพื่อลดการอักเสพ แก้ไข ลดอาการปวดลง หลังจากนั้นผมจะทานยา อาโคเซีย 90 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอนหลังอาหาร ( ตัวยาอาโคเซียนี้ อย่าทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจมีผลต่อตับและไตได้นะ ) หลังจากอาการดีขึ้น ( ส่วนใหญ่ที่ผมเป็นอาการจะดีขึ้นภายใน 2 วัน ) ผมจะทานยาลดกรดยูริค เป็นยาไซโรลิคและโครชิซีน ควบคู่กันไป เพื่อขับกรดยูริค ออกจากร่างกายครับ
[b] ส่วนเรื่องการตรวจสุขภาพ ควรไปตรวจระดับกรดยูริค อย่างน้อย 6 เดือนครั้งนะ [b]
หายเร็วๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คร๊าบบบบบบบบบบบบบ
ครับเฮียปุ๊ เป็นพระคุณอย่างสูงครับ สำหรับรายละเอียดที่มอบให้
ต่อไปผมคงต้องรักาสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมไม่เคยดูแลตัวเองเลย
ดีแต่บอกคนอื่น ส่วนเรื่องยาเดี๋ยวผมจะลองไปหาดูนะครับ
ขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ
kondoy
(2143
)
คห.29: 7 ก.ย. 54, 13:24
อ้างถึง: hunter_noo posted: 07-09-2554, 13:05:24
เอาใจช่วยครับขอให้หายเร็วๆนะครับ
ขอบคุณมากครับน้า
kondoy
(2143
)
คห.30: 7 ก.ย. 54, 13:25
อ้างถึง: ARMY_RX7 posted: 07-09-2554, 13:07:03
ขอเสริมนิดนึงครับ.........จากข้อมูลน้าสมยศ
ประเภทผักก็ต้องระวังนะครับ ผักจำพวก ยอดของผักทุกชนิด ยิ่งหน่อไม้นี่ตัวดีเลย
การดูแลรักษาตัวเอง ก็แค่ควบคุมอาหาร ที่น้าสมยศ กล่าวมาข้างต้น และก็เพิ่มผักด้วย
ดูแลตนเองก่อน แต่ทางที่ดี ไปพบแพทย์ เจาะเลือดตรวจเพื่อความแน่นนอนนิดเดียวเองครับ แค่มดกัด(ประโยคอมตะ).........
งานเข้าล่ะทีนี้...............อาหารยังพอควบคุม แต่เรื่องดื่มนี่สิเรื่อง.................
งานนี้ต้องเลิกเลยครับ ไม่ขอเสี่ยงอีกแล้ว
ขอบคุณมากครับสำหรับความห่วงใย
kondoy
(2143
)
คห.31: 7 ก.ย. 54, 13:26
อ้างถึง: รักษ์น้ำ posted: 07-09-2554, 13:09:25
จะหน้าหนาวแล้วยิ่งปวดไปใหญ่ กลัวเข็มหราาาาาาาน้าอาม ไงก็รักษาสุขภาพนะครับ เผื่อมีโอกาสเจอกันจะพาไปกิงตับเด็ก
แว้กกกกกกกกกก น้าป้า เค้าเพิ่งจะบอกไปหยกๆ ว่าไม่ให้รับทานเครื่องใน
แต่ข้างนอกไม่แน่นะ เอิ้กๆๆๆๆๆๆ
ขอบคุณมากครับที่เป็นห่วง
kondoy
(2143
)
คห.32: 7 ก.ย. 54, 13:27
อ้างถึง: เมาะละเหม่ง posted: 07-09-2554, 13:13:28
ควบคุมอาหารออกกำลังกายสม่ำเสมอขอให้หายไวๆนะคับน้า
ขอบคุณมากครับน้า
kondoy
(2143
)
คห.33: 7 ก.ย. 54, 13:28
อ้างถึง: IsSuE` posted: 07-09-2554, 13:20:47
หายไวๆนะครับน้าอาม
ขอบคุณมากครับน้าก้อง
ผมจะต้องรีบหายไวๆ ครับเดี๋ยวไม่มีใครเอารูปสาวๆ มาลงให้น้าก้องดูนะ
ไก่ชน
(8680
)
คห.34: 7 ก.ย. 54, 14:07
ดูแลสุขภาพด้วยครับ
kondoy
(2143
)
คห.35: 7 ก.ย. 54, 14:37
อ้างถึง: ไก่ชน posted: 07-09-2554, 14:07:46
ดูแลสุขภาพด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ น้าแป๊ะ
losakorn
คห.36: 7 ก.ย. 54, 14:50
ขอให้หายป่วยเร็วๆครับน้าเป้นกำลังใจให้ครับ
kondoy
(2143
)
คห.37: 7 ก.ย. 54, 15:05
อ้างถึง: losakorn posted: 07-09-2554, 14:50:21
ขอให้หายป่วยเร็วๆครับน้าเป้นกำลังใจให้ครับ
ขอบคุณมากครับน้า
สาวกปลาตาย
(831
)
คห.38: 7 ก.ย. 54, 15:13
แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ
1. รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษาอาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
2. ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
3. รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน
การรักษาในระยะเฉียบพลัน
1. จุดประสงค์เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น
2. ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน
3. ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
4. การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม
5. การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ
การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด
1. การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค
2. ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
3. ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
4. ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า
5. ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา
นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้
1. หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดกรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์
2. พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ
3. ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย
4. ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
batoo
(665
)
คห.39: 7 ก.ย. 54, 15:24
เป็นกำลังใจครับ
โอเลี้ยง
(836
)
คห.40: 7 ก.ย. 54, 15:27
หลีกเลี่ยงอาหารประเภทสัตว์ปีก และประเภทที่เป็นข้อๆๆ(คุณพ่อผมที่บ้านแกก็เป็นเก๊าแต่กินต้มยำไก่(ชน...(แพ้)..ง
)เป็นอาจิน...แค่ตอนต้มตัดปีกไก่ออกก็ไม่มีปีก
)
ไปปรึกษาคุณหมอรับยามาทานก็น่าโอแล้วครับ...หายไวๆครับน้า
kondoy
(2143
)
คห.41: 7 ก.ย. 54, 15:33
อ้างถึง: สาวกปลาตาย posted: 07-09-2554, 15:13:48
แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ
1. รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษาอาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
2. ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
3. รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน
การรักษาในระยะเฉียบพลัน
1. จุดประสงค์เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น
2. ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน
3. ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
4. การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม
5. การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว
6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ
การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด
1. การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค
2. ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
3. ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
4. ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า
5. ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา
นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้
1. หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดกรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์
2. พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ
3. ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย
4. ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
ขอบพระคุณอย่างสูงครับน้า ดูจากการแต่งตัวแล้วน้าคงจะเป็นแพทย์นะครับ
kondoy
(2143
)
คห.42: 7 ก.ย. 54, 15:34
อ้างถึง: batoo posted: 07-09-2554, 15:24:33
เป็นกำลังใจครับ
ขอบคุณมากครับน้า
kondoy
(2143
)
คห.43: 7 ก.ย. 54, 15:34
อ้างถึง: โอเลี้ยง posted: 07-09-2554, 15:27:04
หลีกเลี่ยงอาหารประเภทสัตว์ปีก และประเภทที่เป็นข้อๆๆ(คุณพ่อผมที่บ้านแกก็เป็นเก๊าแต่กินต้มยำไก่(ชน...(แพ้)..ง
)เป็นอาจิน...แค่ตอนต้มตัดปีกไก่ออกก็ไม่มีปีก
)
ไปปรึกษาคุณหมอรับยามาทานก็น่าโอแล้วครับ...หายไวๆครับน้า
ขอบคุณมากครับน้า
pongdanai938
(74
)
คห.44: 7 ก.ย. 54, 15:35
ของผมแพทย์แผนไทย น่ะครับ.......บางอย่างอาจจะขัดๆๆ กับแผนปัจจุบันอยู่บ้าง......ถ้าอยากได้ข็อมูลก็ PM มาแล้วกันคราบ......แนะนำให้ ระวังเรื่องอาหารครับ....ของแสลงมันเยอะ หุหุ
jeffrykub
(39
)
คห.45: 7 ก.ย. 54, 15:37
สู้ๆครับ
kondoy
(2143
)
คห.46: 7 ก.ย. 54, 15:39
อ้างถึง: pongdanai938 posted: 07-09-2554, 15:35:37
ของผมแพทย์แผนไทย น่ะครับ.......บางอย่างอาจจะขัดๆๆ กับแผนปัจจุบันอยู่บ้าง......ถ้าอยากได้ข็อมูลก็ PM มาแล้วกันคราบ......แนะนำให้ ระวังเรื่องอาหารครับ....ของแสลงมันเยอะ หุหุ
โอ้วว ขอบคุณมากครับน้า
เยี่ยมเลยครับ
ผมกลัวว่ากินยามาก ไต จะวายซะก่อน
kondoy
(2143
)
คห.47: 7 ก.ย. 54, 15:39
อ้างถึง: jeffrykub posted: 07-09-2554, 15:37:39
สู้ๆครับ
ขอบคุณมากครับน้า
narita
(4636
)
คห.48: 7 ก.ย. 54, 15:48
เซาเจ็บ เซาป่วยไวๆเด้อน้า อาม
KricsanM
(24
)
คห.49: 7 ก.ย. 54, 15:54
ขอให้หายไวๆครับ
ARTER
(9
)
คห.50: 7 ก.ย. 54, 16:06
อาการของโรคนี้จะมอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ครับ
<
1
2
3
>
siamfishing.com © 2024