มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<1234>
กระดาน
คห. 99 อ่าน 22,540
มาทำปะการังเทียมกันดีมั้ยครับ
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.26: 11 ม.ค. 46, 22:30
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=4279
http://www.talaythai.com/issue/thereef
ลองดูดีๆครับมีอีกหลายวิธีที่ยั่งยืนกว่าเช่นการควบคุมคนชั่วส่งเสิรมคนดีให้ความรู้เด็กๆในท้องถิ่นให้รุ้จักรักและหวงแหนในธรรมชาติทที่แก่แล้วสอนไม่ไหวก็ให้ช่วยกันห้ามอย่าให้ทำห้ามแล้วไม่ฟังก็ยิงทิ้งแล้วถีบลงทะเลไปเลย ผมเห็นด้วยกับการทำกองประการังเทียมแต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำการบ้านกันอีกเยอะครับ ลองดูที่link ด้านบน ของ น้าสิงห์ทำเอาไว้ครับ
@
คห.27: 12 ม.ค. 46, 15:03
ผมออกทะเลแถวคลองวาฬ ออกฝั่งไม่ไกล แต่เจอโฉมฝูงใหญ่ (หรืออาจจะโชคดี) ไต๋ต้องเอาเรืออีกลำมาจองหมาย ไต๋บอกว่าเป็นจุดที่ทางการเอาปะการังเทียมมาลงไว้ เป็นแท่งปูนนะครับ เห็นด้วยอีกคนครับ
คห.28: 13 ม.ค. 46, 07:31
          เอาไงก็เอากันครับ ยินดีสนับสนุนในทุกรูปแบบครับ
คห.29: 13 ม.ค. 46, 11:14
ที่โคราชผมเคยติดต่อร้านยางไว้ครับเค้ายินดีให้ฟรีๆเลยครับแต่เนื่องจากมีจำนวนมากพอควรผมไม่มีปัญญาขนไปได้ครับ.....โครงการนี้เห็นดีเห็นงามด้วย100%ครับ
feen(407 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.30: 13 ม.ค. 46, 11:50
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง...สนับสนุนด้วยอีก 1 เสียงครับ...จะได้มีปลาให้ลูกหลานดูครับ...มีให้เห็นตัวเป็นๆ ดีกว่ามีให้เห็นแต่รูปภาพครับ..
คห.31: 13 ม.ค. 46, 15:12
ขอเพิ่มเติมความเห็นจากคุณโอนะคับ ปัจจุบันที่ปัตตานี ได้รับพระราชทานฯตู้รถไฟ(โบกี้เก่า)210 ลูกได้ทิ้งหน้าสายบุรีแบ่งเป็นสามกองใหญ่ บริเวณที่ทิ้งน้ำลึกประมาณ 20 เมตร บางแห่ง 26 เมตร เวลาผ่านไป ครบ1 ปี ขณะนี้ผลที่ออกมาเกินคาดครับ ปัจจุบัน พวกปลา มูโด๊ะ หรือตระกูล กระมงนี่แหละครับ ร่วมหมื่น ๆ ตัว ทุกขนาด ที่อยู่ประจำเลยก็คือ ช่อนทะเลแทบทุกขนาด 5-30 กก ส่วนปลาอื่นเช่น อั้งเกย เก๋า เล็กใหญ่ จะชุมเป็นพิเศษ หมายนี้คาดว่าจะเป็นหมายสำคัญมาก ในการแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรีครั้งที่ 16 ที่จะมีขึ้นในช่วงวันที่ 25-27 เมษายน 2546 นี้ครับ ก็อยากถือโอกาสเชิญชวนสมาชิกสยามฟิชชิ่งที่สนใจ มาลองดู มีอะไรอยากทราบเพิ่มเติมกรุณาโทรผมได้ตลอดเวลาครับ 01 9903199
mairoo(19 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offlineใบเทา
คห.32: 13 ม.ค. 46, 16:32
เห็นด้วยครับ กับโครงการแบบนี้
พี่ติ่งครับ แฮ่ ๆ ไงก็รบกวนพี่ ลองเช็คข่าวแถว ๆ บางเสร่หน่อยสิครับ ว่าเราจะทำอะไรได้มั่งมะครับ
ส่วนพี่บิ๊ก เด๋วเราไปเรือกัปตันแดงเที่ยวนี้ เราลองไปเช็คข่าวแถว ๆ นั้นดูเป็นไง ว่าหน่วยงานไหน ที่พวกเรา ๆ จะประสาน งา เอ๊ย ประสานงานได้มั่งดีปะ
SPNoffline
คห.33: 13 ม.ค. 46, 22:13
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับยินดีให้ความสนับสนุนครับแต่ต้องวางแผนและศึกษาวิธีการที่ถูกต้องกันก่อนนะครับจะได้ไม่เหนื่อยเปล่าพอดีผมเคยมีเพื่อน
อยู่กรมประมงทางทะเลจะลองติดต่อสอบถามดูเผื่อจะขอความช่วยเหลือจากภาครัฐฯได้บ้าง
คห.34: 14 ม.ค. 46, 10:29
ขอเพิ่มเติมความเห็นส่วนตัวอีกนะครับ ปัจจุบัน ซากรถยนต์ต่าง ๆ ที่สิงสถิตตามสถานีตำรวจแทบทุกสถานี ล้วนแต่ไม่มีเจ้าของ(เพราะเสียชีวิตหมด)เป็นขยะที่น่าจะสร้างปัญหาต่อพื้นที่ในอนาคต ซึ่งก็ไม่เห็นมีใคึรคิดหาทางทำลายหรือกำจัด น่าจะมีใครที่น่าจะเป็นตัวตั้งต้นเรื่องนี้สักคน อาจทำเป็นเรื่องจากองค์กรก็น่าจะได้นะครับ เอาไปทิ้งในทะเลห่างจากฝั่งพอสมควร ลักษณะการทิ้งก็ทิ้งถมเป็นกอง ๆ กันพวกทำประมงผิดกฏจะได้ไม่เข้าารุกราน เศษเหล็กพวกนี้จะมีประโยชน์ต่อไปในอนาคตเพราะอายุการใช้งานจะนานมากร่วมสี่ห้าสิบปี ผมสังเกตุจากการดำน้ำดูเศษซากเรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่สองร่วมห้าสิบกว่าปี เห็นยังอยู่ในสภาพดีก็เยอะครับ น่าจะเป็นแหล่งที่ดีอีกแหล่งในการอาศัยของฝูงปลาเล็กซึ่งในที่สุดปลาใหญ่ก็จะตามเข้ามาร่วมแจมด้วยอย่างแน่นอน
คห.35: 14 ม.ค. 46, 11:17
ใครจะเป็นคนเริ่มลงมือ.....

ขอเสนอขั้นตอน
1. โหวตให้แน่นอนก่อนว่าจะทำหรือไม่
2. ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ วิธีการ งบประมาณ สถานที่ ฯลฯ
3. กรณีเป็นไปไม่ได้ เพราะเราไม่พร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านใด ตั้งกองทุนบริจาคให้หน่วยงานสักแห่งหนึ่งที่เขาทำอยู่แล้ว แบบว่าสมทบกับเขา
4. ถ้าเป็นไปได้ ก็ตั้งคณะทำงาน แล้วก็ลงมือ

เอายังไงกันดีครับ ว่ามาเลย 
คห.36: 14 ม.ค. 46, 11:23
- เยี่ยมครับ ขอร่วมด้วยช่วยอีกแรงครับ เท่าที่ผมจะช่วยได้
- ซากรถยนต์ ตามที่คุณอัศวินว่านั้น ผมว่าน่าจะดีไม่น้อย เพราะคงทนนานวันเป็นแน่ มีอยู่มากมายครับไม่เฉพาะสถานีตำรวจเท่านั้น
- ทั้งนี้ คงต้องถามผู้รู้ถึงผลกระทบที่อาจมีขึ้นในภายหน้าด้วย อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการขนย้ายไปยังแหล่งที่จะทิ้งอีก
- แต่อย่างไรเสีย โครงการนี้ดีแน่นอนครับ แม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เพียงจุดเดียวก็ตาม ทุกอย่างต้องเริ่มจาก 1 ทั้งนั้นครับ
POMBINTHAI
คห.37: 14 ม.ค. 46, 12:48
ไหนๆ ก็ได้กรรมการชุดใหม่แล้ว น่าจะให้เป็นของขวัญแก่ธรรมชาติสักอย่างนะครับ กองทุนที่น้าสิงห์ฯ ว่าก็น่าจะดี ( เพราะมีคนดำเนินโครงการอยู่แล้ว เราก็ช่วยสนับสนุนอีกทาง ) แต่ดูแล้ว สมาชิกทั้งหลายอยากให้เป็น 1ในงานของ SFC มากกว่า พึ่งหน่วยงานอื่นๆ น่ะครับ
tomtom(6 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.38: 14 ม.ค. 46, 13:30
ปะการังจากซากรถน่าสนใจมากครับ
น่าลองทำหนังสือถึงกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชี้แจงแนวทาง..เพื่อตรวจดูความเป็นไปได้ในแง่การปฎิบัติ
ถ้าจะเป็นไปได้ คงต้องผลักดันให้เป็นผลงานส่วนหนึ่งของหน่วยงานใดที่จะร่วมด้วย...ได้หน้าได้ตากันทั่วหน้า..ก็มีโอกาสจะเกิด...
ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย..ผมเชื่อว่าคงสูงแน่..หาทางแก้ปัญหาอีกที
คห.39: 14 ม.ค. 46, 20:12
เห็นด้วยกับซากรถยนต์เก่าครับได้ประโยชน์ทั้งสองทางเราน่าจะมีวิธีประสานงานกับภาครัฐนะครับโครงการนี้ผมขอช่วยด้วยแรงนึงครับ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.40: 14 ม.ค. 46, 21:54
(อีกความเห็นจากคุณอาวันชัย แจ้งอัมพร ที่พี่หมูเมล์มาให้ครับ)

ซั้ง VS ปะการังเทียม โดย วันชัย แจ้งอัมพร 11-01-2546   

การอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล โดยเฉพาะกับพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ นั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทางด้านของวงการตกปลา ให้ความสำคัญกับงานอนุรักษ์ธรรมชาติค่อนข้างมาก จะเห็นได้ว่าโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลานานาชนิด เกิดจากวงการตกปลามากกว่าวงการอื่นใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การตกปลาแล้วปล่อย (Catch & Release) การติดเครื่องหมายบนตัวปลา (Tag & Releases) การกำหนดมาตรการในการตกปลา เช่น ฤดูที่ปลาวางไข่, ขนาด และปริมาณของปลา, ชนิดของปลาบางประเภท เป็นต้น นอกจากนี้ ซั้ง และปะการังเทียม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ ที่วงการตกปลาดำเนินการมาโดยตลอด ในบ้านเราเองรู้จักกับการวางซั้ง และปะการังเทียมมานานพอสมควร ปัจจุบันหลายต่อหลายฝ่ายก็ให้ความสำคัญมากขึ้น

ปะการังเทียม  มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า  อิมมิเตชั่น รีฟ (Imitation Reef)  ความหมายของมันก็คือ กองหินเทียมที่ใต้น้ำ เป็นการเลียนแบบ โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี แต่ในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม กันจนคุ้นเคยเสียแล้ว ก็คงต้องเรียกเช่นนั้นตามไปด้วย โขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ และแนวปะการัง เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยหากินของพวกมันนั่นเอง แต่สิ่งดังกล่าวนั้นไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเล จึงมีการ สร้าง บ้านใหม่ให้พวกมันได้อยู่อาศัย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในบริเวณที่ต้องการ มีสิ่งที่นักตกปลารู้กันดีอย่างหนึ่งก็คือ บริเวณที่เป็นซากเรือจม จะมีปลาอยู่ชุกชม จึงมีการเลียนแบบซากเรือจม โดยใช้วัสดุเหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้แล้ว เช่น เรือ, รถไฟ, เครื่องบิน, รถยนต์, แท่งคอนกรีต และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง นำไปทิ้งลงในบริเวณที่กำหนด เพื่อให้ปลาได้เข้ามาอยู่อาศัย แต่ในบางท้องถิ่นไม่ได้มีสิ่งของดังกล่าวเสมอไป จึงต้องหาวัสดุอื่นมาทดแทน เช่น ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เนื่องจากมีปริมาณเหลือใช้ค่อนข้างมาก จึงมีการนำมามัดรวมกันเป็นชุดๆ ชาวประมงท้องถิ่นสามารถทำได้เองในราคาที่ค่อนข้างถูก ส่วนทางภาครัฐ คือกรมประมง ก็มีโครงการทำปะการังทียม โดยการหล่อคอนกรีต เป็นก้อนสี่เหลี่ยมโปร่ง นำไปทิ้งตามจุดที่กำหนดในแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่อนข้างได้ผลเช่นเดียวกับหินกองใต้น้ำตามธรรมชาติ

ปะการังเทียมเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยรวม มีสัตว์น้ำนานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง,หอย, ปู และปลาหลายชนิดที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิด, ปลาเก๋า และปลาในแนวปะการังทั่วไป ถ้าจะพูดถึงกิจกรรมการตกปลากันแล้ว แนวปะการังเทียมนั้นตกปลาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปลาจะอาศัยอยู่ ตามซอกโพรงของกองหินเทียม ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญมากต่อสายเบ็ดตกปลา ประกอบกับในแนวปะการังเทียม มีปลาเกมที่นักตกปลาต้องการอยู่น้อยชนิด แต่ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์กับ ชาวประมงพื้นบ้านในแนวน้ำตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่ช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน

ซั้ง  มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า ฟิช แอกกรีเกทติ้ง ดีไวซ์ (Fish Aggregating Device) เรียกกันย่อๆ ว่า แฟ้ดส์ (FADs) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้ปลามาอยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยน้ำต่างๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยน้ำ โดยใช้วัสดุต่างๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ ซั้ง อาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่า ปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมของการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งเขาจะลงทุนทำซั้งเป็นจำวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วก็จะจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมากๆ  ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลามากกว่าปะการังเทียม

ซั้ง เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างถูก และทำงานง่าย แต่จะไม่อยู่ถาวรเหมือนปะการังเทียม ต้องมีการทำเพิ่มเติมอยู่เสมอ การวางปะการังเทียมต้องลงทุนสูงกว่า , การขนส่งที่ค่อนข้างลำบาก และอาศัยแรงงานมาก รวมทั้งต้องขอความร่วมมือ และอาจต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง และกรมเจ้าท่าในกรณีไปกีดขวางการจราจรทางน้ำ แต่ซั้งไม่ได้ใช้วัสดุถาวร จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านนี้เท่าใดนัก

โดยสรุปแล้ว ปะการังเทียมจะให้ประโยชน์ทางด้านอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชาวประมงพื้นบ้านได้มาก แต่ซั้งจะให้ประโยชน์กับกิจกรรม ของการตกปลาโดยตรงเสียมากกว่า จะอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ มีการวางซั้ง และแนวปะการังเทียมไปพร้อมๆ กัน จึงเกิดประโยชน์ทั้งอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน และกับวงการตกปลาด้วยเช่นกัน
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.41: 14 ม.ค. 46, 23:01
จากที่ได้คุยกับคุณอาวันชัย แจ้งอัมพรวันนี้ ก็ได้มุมมองที่น่าสนใจหลายประการ

คุณอาเคยร่วมกับนักศึกษา ทำปะการังเทียมจากยางรถยนต์เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วที่พัทยา โดยใช้ยางมากกว่า 1,000 เส้น ทั้งหมดมีผู้บริจาคให้ฟรี แต่ต้องหารถมาขนย้ายเองซึ่งก็ต้องขนกันหลายสิบเที่ยว การผูกยางก็ต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก แต่ก็อาศัยนักศึกษาที่สมัครใจมาช่วยกันทำ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรืออนุเคราะห์เรือมาขนย้ายไปยังหมายอีกด้วย  การทำปะการังเทียมในครั้งนั้นไม่ได้เทคอนกรีตในยางที่เป็นฐาน เวลาปล่อยลงท้องทะเล ยางจึงลอยน้ำ จึงต้องมีทีมนักประดาน้ำคอยพลิกยางไปมาเพื่อไล่ฟองอากาศไปด้วย การวางปะการังเทียมในครั้งนั้นใช้งบประมาณไปราว 3 หมื่นบาท
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.42: 14 ม.ค. 46, 23:22
หลังจากนั้นผมก็ได้โทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่กรมประมง และก็ได้คุยกับนักวิชาการชื่อ คุณกรวิทย์ ซึ่งดูแลเรื่องปะการังเทียมโดยเฉพาะ  ข้อมูลที่ได้รับก็พอสรุปได้คราวๆ ได้นี้

กรมประมงได้ทำการทิ้งปะการังเทียมคอนกรีตเสริมเหล็กแบบโครงสี่เหลี่ยมลูกเต๋ามานาน และทำต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งทิ้งเสริมในบริเวณเดิมที่ทรุดโทรมไป และด้วยความที่การทิ้งปะการังเทียมแบบนี้ใช้งบประมาณค่อนข้างมาก จึงมักแนะนำให้ชาวประมงที่สนใจสอบถามเข้ามาเรื่องการปะการังเทียม ให้ทำซั้งเสริมบริเวณปะการังเทียมแทน โดยให้ทิ้งในช่วงหลังหมดมรสุม ทั้งนี้ซั้งจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการรวมตัวของฝูงปลาได้เร็ว อย่างไรก็ตามซั้งจะเสื่อมสลายค่อนข้างเร็ว ส่วนการทำปะการังเทียมด้วยยางนั้น นิยมทำกันเองในหลายท้องที่ ทั้งนี้เพราะราคาถูก และมีน้ำหนักเบา จึงดำเนินการจัดทำและทิ้งได้ง่าย  แต่ปะการังเทียมที่ทำจากยาง จะไม่คงทนและเมื่อเวลาผ่านไป ยางจะหลุดออกจากกัน กระจัดกระจายกลายเป็นขยะในท้องทะเล บางส่วนก็จะถูกพัดขึ้นฝั่ง

รายละเอียดในเรื่องปะการังเทียมยังมีอีกมาก นักวิชาการท่านนี้ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านทำงานอยู่ที่กรมประมง ม.เกษตร บางเขน โทร (02) 562-0600 ถึง 2 ต่อ 4708
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.43: 15 ม.ค. 46, 21:00

คุณอัศวินครับเหล็กเรือรบกับเหล็กจากซากรถยี่ปุ่นมันคนละแบบกันครับอย่าเอาซากรถยนต์ขนาดเล็กไปทิ้งเลยครับเอาแค่จอดริมทะเลไม่กี่ปีก็กองลงมาที่พื้นแล้วยังมีนํามันตามห้องเครื่อง เกียร อีกที่ต้องเอาออก โบกี้รถไฟก็เหล็กดีครับ ตู้คอนเทนเนอใส่สินค้าก็เป็นที่นิยมเพราะขนส่งสะดวกเนื่องจากอยู่ที่ท่าเรือ วัสดุที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการขนส่ง ควรหาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆครับ ถ้ามีใครที่พิจิตรให้ยางผมสัก8-9000เส้นผมเอาเงินค่าขนส่งมาหล่อคอนกรีตดีกว่า
ที่มาเลเซียก็มีการวางกองยางรถยนต์เหมือนกันแต่เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นเป็นทรายเลนการวางก็มีวิธีที่ต่างออกไปคือแทนที่จะมัดเป็นก้อนแบบที่เคยเห็นกันก็ใช้วิธีมัดต่อๆกันแบบโซ่เรียงๆกันโดยใช้เชือกไนล่อนหรือมานิลาขนาดนิ้วชี้ผู้ใหญ่6รอบ ที่เส้นยางก็เจาะรูทั้ง4ทิศ หรือ 12  3  6  9  นาฬิกา ไม่ต้องให้ใครลงไปดำนําไล่อากาศ ล่างสุดถ่วงด้วยแท่งคอนกรีตหล่อขนาด80x80 ซม ตันสนิทบนสุดใส่ทุ่นทำจากถังนําขนาด100ลิตรหรือใหญ่กว่าตามจำนวนยางและความลึกของนํา ทิ้งเป็นแถว 5 แถว แถวละ15ชุดคือ1กองระยะต่อชุดไม่ห่างมากนักเมื่อวางเสร็จจะมีลักษณะคล้ายๆกลุ่มสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ขึ้นลงได้ตามนํา(ที่ผมเห็นวางถึงผิวนําเลยลึกราวๆ15-20เมตรกระแสนําแรงพอควรแต่ก็ไม่มากนัก มีทุ่นผูกเรือด้วยนะเพราะลอยเสมอนําห้ามเรือผ่าน)การวางลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่จมเลน ซ่อมแซมง่าย อายุค่อนข้างยืน(อาจเป็นเพราะว่าซ่อมง่าย)ราคาถูก ง่ายทั้งวิธีการทำและการวาง(ถ้าคิดจะทำวิธีนี้ผมว่าหล่อคอนกรีต50x50ซัก2ลูกน่าจะยกสบายกว่ากันวางถึงกลางนําก็พอ)พอจะนึกภาพออกไหมครับ
pinto2(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.44: 15 ม.ค. 46, 21:00
ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือจากคนในท้องถิ่นนั้นๆที่จะคอยดูแล  คือมันต้องมีคนดูแลครับไม่งั้นก็วางแล้วางอีก
มะเหมี่ยว
คห.45: 15 ม.ค. 46, 22:28
ใหม่ควรทำของธรรมชาติต้องดูแลอย่าให้เสียหายมากขึ้น
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.46: 18 ม.ค. 46, 20:20
ปะการังเทียมอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเ
ปะการังเทียมอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "reef ball" ถูกออกแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย Reef Ball Development Group, Ltd

- ลักษณะครึ่งวงกลมจะทำให้วางบนพื้นทรายได้มั่นคง
- มีรูโดยรอบเพื่อให้ปลาเล็กได้หลบภัย วางไข่ และทำให้กระแสน้ำใหลผ่านได้จึงไม่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป
- มีรูด้านบนซึ่งจะทำลายแรงยกตัวของกระแสน้ำที่พัดผ่านเข้ามา

รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.reefball.com
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.47: 18 ม.ค. 46, 20:34
diagram และ reef ball ที่เพิ่งหล่อเสร็จ
diagram และ reef ball ที่เพิ่งหล่อเสร็จ
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.48: 18 ม.ค. 46, 20:38
ความลึก 42 ฟุต, อายุปะการัง 2 ปี
ความลึก 42 ฟุต, อายุปะการัง 2 ปี
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.49: 18 ม.ค. 46, 20:49
reef ball อายุ 8 ปี
reef ball อายุ 8 ปี
webmaster(2910 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.50: 18 ม.ค. 46, 20:54
ภาพ reef ball ในสถานที่ต่างๆ อีกมากมายดูได้ที่
http://www.artificialreefs.org/Photogallery/gallery.htm

ท่านที่สนใจค้นคว้าเพิ่มเติมลองค้นด้วย http://www.google.com ด้วยคำว่า
- artificial reef
- imitation reef
- reef ball
<1234>
siamfishing.com © 2024