กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<
1
2
3
>
กระดาน
คห. 70 อ่าน 44,045 โหวต 5
ตะเพียน และญาติๆ...แห่งสยามประเทศ
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.26: 1 มิ.ย. 50, 15:34
ตะกาก: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi มีรูปร่างเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังยกสูงมาก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น
ตะกาก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " ปากบาน " หรือ " โจกเขียว "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.27: 1 มิ.ย. 50, 15:41
ตะพาก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง ตะพากมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กระพาก, พาก, สะป๊าก, ปากคำ, ปากหนวด, ปีก เป็นต้น
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.28: 1 มิ.ย. 50, 15:43
ตะเพียน : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus gonionotus อันนี้ไม่ต้องบรรยายสัพคุณ พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน
gid
(34
)
คห.29: 1 มิ.ย. 50, 15:47
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.30: 1 มิ.ย. 50, 15:55
ตะโกก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos มีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม.
พบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย
ตะโกก มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " โจก "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.31: 1 มิ.ย. 50, 15:56
เดี๋ยวมาต่อให้ที่เหลือครับน้าๆ ขอบคุณครับที่เข้ามาชม
มือใหม่เอี่ยมอ่อง
(14
)
คห.32: 1 มิ.ย. 50, 16:00
ชอบครับ เอาไปเลย 55555555555555555แต้ม
babe
(324
)
คห.33: 1 มิ.ย. 50, 17:20
ขอบคุณอย่างแรงครับ ได้ความรุ้เพียบ
ศาลายอด
(5588
)
คห.34: 1 มิ.ย. 50, 17:44
คห.16 พัทลุงเรียกปลา.. ขี้ขม..ครับ
คห.18 พัทลุงเรียกปลา..แก้มช้ำ..ครับ
มีที่อื่นเรียกชื่อเหมือนบ้านผมบ้างหรือเปล่า
ส่วนปลาตะเพียนทองที่พัทลุงเรียกว่า..ปลาลำปำ..ครับ จากข้อมูลเรียกเหมือนกับภาคอีสานเลยหรือครับ...ที่พัทลุงจะมีทะเลสาบลำปำ (ส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา) และปลาตะเพียนทองจะเป็นปลาประจำถิ่นที่นี่...ชาวบ้านเรียกว่าปลาลำปำเหมือนสถานที่ครับ
ยา
(7
)
คห.35: 1 มิ.ย. 50, 17:50
คห 16 บ้านผมเรียกปลาสร้อยนกเขาครับดูจากลำตัวจะมีลวดลายสร้อยคล้ายนกเขาครับ
jaja_4133
(241
)
คห.36: 1 มิ.ย. 50, 19:06
ดีมากเลย ชอบมากๆ
chaybird
คห.37: 1 มิ.ย. 50, 21:58
ขอบคุณครับ..ได้ความรู้ดีครับ
zomby
(1418
)
คห.38: 1 มิ.ย. 50, 22:17
ธนาวัส
(58
)
คห.39: 1 มิ.ย. 50, 22:47
Gapzilla_77
(2
)
คห.40: 1 มิ.ย. 50, 23:01
kaewniticmu
(110
)
คห.41: 1 มิ.ย. 50, 23:27
ได้ความรู้ครับชอบๆ
A21
(2434
)
คห.42: 2 มิ.ย. 50, 00:14
ขอบคุณครับ
fis
(196
)
คห.43: 2 มิ.ย. 50, 00:32
ชอบครับท่านเอามาให้ดูอีกนะครับ
คิด
(1734
)
คห.44: 2 มิ.ย. 50, 11:23
VIPER II
(1
)
คห.45: 2 มิ.ย. 50, 12:26
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.46: 2 มิ.ย. 50, 12:42
ตุ่ม หรือ ตุม : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Puntioplites bulu มีรูปร่างเหมือนปลากระมัง เว้นแต่ก้านครีบก้นไม่มีรอยหยัก เกล็ดเล็กกว่า และลำตัวมีรอยขีดสีคล้ำตามขวางประมาณ 7-8 รอย
เป็นปลาที่พบได้น้อย โดยจะพบแต่เฉพาะภาคใต้เท่านั้น ที่สามารถพบชุกชุมได้แก่ ทะเลสาบสงขลาตอนในที่เป็นส่วนของน้ำจืด
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.47: 2 มิ.ย. 50, 12:45
นวลจันทร์ : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus microlepis ปลาในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มแม่น้ำโขงจะเป็นสีชมพู
เป็นปลาที่หายาก ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขง
นวลจันทร์มีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า " พอน "
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.48: 2 มิ.ย. 50, 12:48
น้ำหมึก : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius pulchellus
Oxygastrini ครีบหลังมีแต้มสีแดงเห็นชัดเจน มีขนาดประมาณ 10 ซ.ม.พบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่และลำธารในป่าและเชิงเขาที่น้ำสะอาดไหลแรงที่ภาคเหนือของประเทศไทย พบในแม่น้ำโขงด้วย แต่ไม่พบในแม่น้ำสาละวิน
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.49: 2 มิ.ย. 50, 12:50
น้ำหมึกโคราช : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opsarius koratensis มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้างปลายแหลม เกล็ดใหญ่ค่อนข้างบาง มีลายขีดข้างลำตัวเล็กสีน้ำเงินตามแนวตั้ง ครีบสีเหลือง มีแต้มสีน้ำเงินหรือสีคล้ำอยู่ตรงกลางระหว่างขากรรไกรล่าง
เป็นปลากินเนื้อ พบในลำธารในป่าและบริเวณเชิงเขาในภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย รวมทั้งพบในแม่น้ำโขงด้วย
ซิวอ้าว
(2055
)
คห.50: 2 มิ.ย. 50, 12:52
บัว : มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus มีรูปร่างคล้ายปลากาดำ แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่
เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา
บัว มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า " หว้าซวง " หรือ " ซวง "
<
1
2
3
>
siamfishing.com © 2024