มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<<678910>>>
กระดาน
คห. 347 อ่าน 272,328 โหวต 21
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP
คห.226: 28 ต.ค. 50, 08:39
 :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :love: :
Raphiodon(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.227: 28 ต.ค. 50, 09:24
เห็นน้าอัฟปลาแปลกมานานและขอสะรูปล
เห็นน้าอัฟปลาแปลกมานานและขอสะรูปละกันตุ่นน้อย
คห.228: 28 ต.ค. 50, 09:32
ข้อมูลเพียบ
คห.229: 28 ต.ค. 50, 09:37
หวัดีครับน้า RHAPHIODON ไม่ทราบว่า ใช่ ALBINO RHAM
หวัดีครับน้า RHAPHIODON ไม่ทราบว่า ใช่ ALBINO RHAMPHICHTHYS หรือเปล่าครับ น้าคล้ายๆ ขอบคูณน้าที่เข้ามาชมครับผม คือ ทำเพราะสนุกด้วย และอยากแชร์ๆ ความรู้กับน้าๆที่ชอบปลาหลากหลายชนิด ผมก็เลยลองหาสายพันธุ์ที่อาจจะมีคนรู้จัก หรือไม่รู้จักให้ดูกันเล่นๆนะครับ และเผื่อน้องๆที่เข้ามาดูและพออะไรที่ใช้ประโยชน์ได้บ้าง หากต้องการหาเว็บปลาครับผม
Raphiodon(1 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.230: 28 ต.ค. 50, 09:46
ไม่รู้ชื่อวิทยาศาสตร์อะครับต้องเปิดในaquaก่อนอิอิจำไม่ได้ตกภาษาอังกฤษ แต่เวปนายเก๋าเขาดีจิงๆวันหลังไปตกปลาที่สวนดีกว่าปลาแปลกเยอะดี
T backpacker(706 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.231: 28 ต.ค. 50, 09:46
น้าจิรชัย ช่วยดูหน่อยคร๊าบบ
 ว่าใช่
น้าจิรชัย ช่วยดูหน่อยคร๊าบบ
ว่าใช่ลูกปลากดคังหรือปล่าว 
คห.232: 28 ต.ค. 50, 10:08
ขออนุญาต เรียนตามตรงนะครับ ว่าไม่แ
ขออนุญาต เรียนตามตรงนะครับ ว่าไม่แน่ใจจริงๆ ครับน้า คือไม่ใช่กลัวเสียฟอรม์นะครับ อันนี้ถ้าให้ชัวร์ต้องลองถาม คุณ PLATEEN คุณ นณณ์ คุณ หมี ใน SIAMENSIS เพราะน้าๆเหล่านี้คงดูได้ชัดเจนกว่าผมนะครับ เพราะผมก็อาศัยเทียบ ครีบหลัง ครีบก้น ครีบหาง ครีบหู ดูแผ่นกระโหลก กะจากสายตาย แล้วเทียบกับภาพที่พอๆมีอยู่ครับ ยิ่งพวก JUVENILE ของปลานี่ผมบื้อเลยครับ ไม่ทราบว่าตอนที่ซื้อมาทางคนขายบอกว่าเป็นปลาชนิดไหนครับผม รบกวนโพสท์มาบอกด้วยนะครับน้า หรือน้าลองหาข้อมูลทางMORPHO.ของปลาดุก กับ ปลากด แล้วลองเทียบข้อมูลว่ามันน่าจะเข้าข่ายตัวไหน ลองวัดดูครับผม อาจไม่ได้แต่น่าจะใกล้เคียงนะครับ ผมชอบนะครับที่เจอน้าๆที่ชอบเลี้ยงด้วย อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่ต้นนะครับน้า คือ ผมชอบปลาและอาศัยศึกษาเอง ไปถามคนนู้น คนนี้บ้าง ถนัดคงไม่ถนัดเท่าไหร่นะครับ ขอโทษนะครับที่หาคำตอบให้ไม่ได้ ขอบคุณครับผม.
T backpacker(706 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.233: 28 ต.ค. 50, 10:16
ขอบคุณคร๊าบบ น้าจิรชัย  ตอนนี้ปล่อยลงบ่อไปประมาณเดือนกว่าๆแล้วครับ
.
.ซื้อจากฟาร์มที่ไว้ใจได้ฟาร์มนึง 
เห็นตัวมันดำๆเลยไม่ค่อยแน่ใจ
และไม่เคยเห็นมาก่อนเหมือนกันครับ
.
.
.
เอาไว้ลุ้นตอนโต  ว่าจะมีปลาคังลวกจิ้มในบ่อหลังบ้านตัวเองหรือปล่าว
คห.234: 28 ต.ค. 50, 10:24
ระวังเป็น เจ้านี่นะครับ มรกตดำ จำไม
ระวังเป็น เจ้านี่นะครับ มรกตดำ จำไม่ได้ว่าได้ข่าวจากที่ไหน แต่เป็นภาคใต้ที่ตกเจ้านี่ได้ คนตกเป็นเง็งครับ ปลาอินโดนีเซีย ว่ายข้ามทะเลมามั๊ง หรือ จะเข้าเขต SUNDAIC ล้อเล่นนะครับน้า
 
คห.235: 28 ต.ค. 50, 19:13
อย่างที่เรียนไว้นะครับต่อจาก RHAPHIODON ก
อย่างที่เรียนไว้นะครับต่อจาก RHAPHIODON ก็เป็น สกุล CYNODON จากข้อสังเกตในรายละเอียดเบื้องต้นที่พอจะจับความแตกต่างในสกุลทั้ง 3 ชนิดนี้ได้.
1) ครีบหลังนำหน้าครีบก้น = HYDROLYCUS.
2) ครีบก้นนำหน้าครีบหลัง = CYNODON , RHAPHIODON.
คราวนี้ จะตัดลงไปอีกว่า RHAPHIODON ทรงตัวยาว และไม่มีครีบท้อง. เพราะฉะนั้นก็คงเหลือปลาที่มีครีบก้นนำหน้าครีบหลัง แถมยังมีครีบท้องอีก คงพอจะเดาออกแล้วนะครับ คงเหลือ แต่ CYNODON ตัวเดียวเท่านั้น.
สกุล " CYNODON " ในปัจจุบันที่มีรายงานพบอยู่ 3 ชนิด หรือ สปีซีย์(SPECIES) จากที่รายงานก็มี.
1) CYNODON GIBBUS.
2) CYNODON SEPTENARIUS.
3) CYNODON MEIONACTIS.
รายละเอียด.
1) CYNODON GIBBUS พบใน ลุ่มนำอเมซอน และ ลุ่มนำโอริโนโค. ในประเทศ โบลิเวีย บราซิล เอกวาดอร์ กิอายน่า เปรู และ เวเนซูเอลล่า ความยาวประมาณ 28 ซม.
2) CYNODON MEIONACTIS พบในแม่นำใน.เฟรนช์กิอายน่า  และ สุรินาเม่ ความยาวประมาณ 30 ซม.
3) CYNODON SEPTENARIUS พบใน แม่นำอเมซอน ทางตอนเหนือของแม่นำ โอริโนโค ลุ่มนำและแม่นำของ กิอายน่า บราซิล และ เวเนซูเอลล่า ความยาวประมาณ 31 ซม.
จะเห็นได้ว่า แหล่งที่พบแทบจะไม่สามารถแยกชนิดได้อย่างกระจ่าง ก็เลยต้องมาดูทางด้าน MORPHO. ของแต่ละชนิดซึ่งต้องขอบอกเลยนะครับ การดูลักษณะนี้ ทางที่ดี ตายแล้วจะดีกว่าครับผม. ลองมาดูข้อแตกต่างทางสรีระภายนอกดูนะครับ.
1) CYNODON GIBBUS ; ก้านครีบท้อง= 8 ,ฐานของครีบหางเป็นสีทึบ,ก้านครีบก้น=65-80(ที่ใช้65แทน68เพราะตัวอย่างที่นักวิชาการพบมีก้านครีบ65ก้านครับ) , เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา(ในเว็บเขาใช้ ORBITAL เดี๋ยวผมจะขออนุญาตในหมายเหตุส่วนตัวนะครับ)= 24.9-33.8 ส่วนของความยาวส่วนหัวทั้งหมด.
2) CYNODON MEIONACTIS ; ในรายละเอียดระบุไว้ว่า ก้านครีบก้น = 63-67 , ก้านครีบท้อง = 9 ,เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา = 29.8-34.4 ส่วนของความยาวหัวทั้งหมด
3) CYNODON SEPTENARIUS ; เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่พบในปี 2000 ครับ ส่วนรายละเอียดที่ผมหามาได้ครับ ก้านครีบท้อง =7 , ฐานของครีบหางดูสว่างกว่า ,เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา = 30.1-34.4 ส่วนของความยาวหัวทั้งหมด.
จากรายละเอียดที่ผมหามายอมรับครับว่า "ยากมาก" ทั้งในส่วนของตัวอย่างที่เก็บ นั่นหมายถึง "ตายแล้ว" แถมยังสับสนในเรื่องข้อมูลในข้อมูลของเส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าเทียบจาก ความยาวหัวทั้งหมด ซึ่งความยาวที่กล่าวมานี้ ต้องไปอ้างอิงว่า และความยาวหัวทั้งหมด เป็นกี่ส่วนของความยาวตัวทั้งหมด ในข้อมูลรายละเอียดทั้ง 3 ชนิด มีแต่ของ CYNODON GIBUS ที่= 14.7% ของ ความยาวทั้งหมด ซึ่งวัดตั้งแต่ปลายสุดของจงอยปาก ถึงปลายสุดของครีบหาง ถ้านับจากก้านครีบคงจะง่ายขึ้นอีกนิด ส่วนคำว่า "ดวงตา" หรือ " ORBITAL"ในความหมายส่วนตัวที่น่าจะง่ายและน่าจะพอเข้าใจสุด ยอมรับตรงๆว่าไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรที่สื่อสารให้ง่ายขึ้นครับ ต้องขอโทษน้าๆบางท่านที่มีความรู้ทางสรีระ และผมมาทำความหมายเพี้ยนไป คือ"ORBITAL" ลองนึกภาพ มีวงกลมใหญ่ และมีวงกลมเล็กซ้อนอีก 2 วง โดยวงในสุดเป็นส่วนของตาดำ เรียกว่า "PUPIL" วงที่2 ถัดออกมาเรียกว่า "EYE" วงนอกสุดเรียกว่า" ORBIT" (ออร์-บิท)ในความหมายที่เป็นภาษาอังกฤษ แปลว่า " BONY EYE SOCKET" น่าจะใช่ "กระบอกเบ้าตา" เป็นไงครับน้าๆ ผมคิดว่าถ้าบางครั้งรายละเอียดบางอย่างที่นักวิชาการ เขานำมาเป็นองค์ประกอปในการพิจารณาแยกชนิดของปลา ผมว่าน่าสนใจไม่น้อยทีเดียวนะครับ ถ้าหากน้องๆจะลองนำไปใช้ก็จะดีมากเลยครับ อย่าให้อายฝรั่งมังค่าเขานะครับ ว่าอย่างน้อยผมจะตัดสินว่าเป็นปลาชนิดไหน มันน่าจะมีหลักการให้ดูดีหน่อยใช่มั๊ยครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะปิดรับข้อมูลอื่นๆ ทฤษฎีบางครั้งได้แค่ 40% ที่เหลือก็คือประสบการณ์ครับน้องๆ (อย่าเข้าใจผิดนะครับ เดี๋ยวหาว่าผมเรียกน้าๆ ว่าน้องๆ หมายถึง เด็กๆ ครับ) ก่อนจากฝากทัก แบงค์ กับ พี่เชียร ด้วยครับ แหม เสือตอปาปัวร์อย่างใหญ่ครับ ดูแล MBU ให้ใหญ่ๆเลยนะ พี่เอาใจช่วย น้องคนนี้ชอบปลามากครับ ตีเหยื่อปลอมใช้ได้ด้วย ส่วนอีกคนนึง เป็นเด็กเตรียมอุดมพัฒนาการ ไม่รู้ชื่อ แต่หัวเหม่งๆ เคยซื้อปลาผมไป 6ปีที่แล้วมานั่งคุยกับผมเมื่ออาทิตย์ที่แล้วซะเย็นเลย คนนี้เรื่องปลาใช้ได้เลยครับ ขอบคุณน้าๆทุกท่านที่เข้ามาชมครับผม ในส่วนของHYDROLYCUS ต้องขอโทษนะครับ ขอเป็นวันอังคารนะครับน้า. หลังจากนั้นก็คงจะเป็น " WOLVES FISH" และ "TIGER FISH" ตามมาครับน้า.
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.236: 28 ต.ค. 50, 21:58
มีปลาชนิดอื่นที่มันดูดตู้บ้างไหมครับ ที่ไม่ใช่พวกSuckerน่ะ
Naibae(55 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.237: 28 ต.ค. 50, 22:07
.. สำหรับ มรกตดำ .. เป็นปลาท้องถิ่นบ้านเราด้วยนี่ครับน้าจิรชัย .. ผมเลี้ยงมาหลายตัวแล้ว .. ดุโค ต ร ๆ .. 

เคยตกได้ตัวด้วยที่ .. แก่งน้าโจน .. เมื่อนานมาแล้ว ..     
คห.238: 28 ต.ค. 50, 22:11
"ดูดตู้" ก็พอมีให้เห็นครับ แต่ " ดูดตั
"ดูดตู้" ก็พอมีให้เห็นครับ แต่ " ดูดตังค์ " ทุกร้านเลยครับในสวน หรือ จะเป็นผู้หญิง อืมย์! ยอมให้ดูดเลยครับ เดี๋ยวครับอย่าคิดเลยเถิด ผมหมายถึง ยินยอมมอบให้ น้าอย่าแหย่เรื่องพวกนี้นะ ผมมีภาพอื้อเลย คือภาพปลาอื่นๆ เข้าเรื่องครับ จะเอาไปใช้งานอย่างไหนครับน้า
คห.239: 28 ต.ค. 50, 22:28
อ๋อ! คือผมแซวน้าเขาครับ ก็เลยนึกเรื
อ๋อ! คือผมแซวน้าเขาครับ ก็เลยนึกเรื่องที่น้าท่านนึงตกได้ทางใต้ ก็เลยแหย่ไปครับ ว่าข้ามทะเลมา หรือ อยู่ในโซน SUNDAICขอโทษครับน้า คือ ตัวนี้ก็พบได้ในมาเลย์ กับ อินโดนีเซียด้วยครับ ขอโทษครับน้าNaibae. วันหลังจะไม่แหย่แย้วครับ.
คห.240: 28 ต.ค. 50, 22:48
น้าครับ ยังอยู่หรือเปล่า เหมือนกะว
น้าครับ ยังอยู่หรือเปล่า เหมือนกะว่าน้าคีย์เสร็จแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้มาดูคำตอบ อ้าว อ้าว......................................
คห.241: 29 ต.ค. 50, 00:42
ตัวนี้น่าจะใช้ได้นะครับสายพันธุ์ใ
ตัวนี้น่าจะใช้ได้นะครับสายพันธุ์ใหม่เชียวนะ ใหญ่สุดๆ เกือบ 40 ม.ม. พบใน อาร์เจนติน่า ปลานอกครับขอบอก " HISONOTUS HUNGY "
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.242: 29 ต.ค. 50, 09:25
ตัวหางแดงสวยดีน่ะครับ แต่ท่าทางจะแพงแน่เลย
คห.243: 29 ต.ค. 50, 19:18
ถ้าให้เดาคงหนีไม่พ้นหลักพันละครับ
ถ้าให้เดาคงหนีไม่พ้นหลักพันละครับ ตอนนี้นักTAXO.รับรองปลาสายพันธุ์ใหม่ๆเรื่อยๆ ยังไงอย่าเพิ่งรีบร้อนครับ สงสัยว่าน้าจะรีบไปไหนครับ เห็นโพสท์มา ประเภท ตรง ฉับไว ตูไปแล้ว? อะไรงะน้า เง็งมั่กๆ
คห.244: 30 ต.ค. 50, 22:50
" SABRE TOOTHED TIGER FISHES " หรือ " HYDROLYCUS SPECIES ". ในปัจจุบัน
" SABRE TOOTHED TIGER FISHES " หรือ " HYDROLYCUS SPECIES ". ในปัจจุบันมีรายงานว่าพบอยู่ 4 ชนิด คือ.
1) HYDROLYCUS SCOMBEROIDES
2) HYDROLYCUS WALLACEI. ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาที่ได้หยิบยกปลาชนิดนี้ขึ้นมากล่าวถึง หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปสำรวจใน RIO NEGRO. ช่วงคริสตศตวรรษที่ 19.
3) HYDROLYCUS TATAUAIA. โดยที่สังเกตจากสีของหางที่มีเฉดสีแดง และ สีส้ม( TATA = ไฟ , UAI = หาง )
4) HYDROLYCUS ARMATUS หรือ PAYARA.
ลักษณะเด่นสุดที่ทำให้คนกล่าวขวัญถึง คงจะหนีไม่พ้น เขี้ยวใหญ่( BIG FANGS ) ปากที่เทลาดเอียงลง ( OBLIQUE MOUTH ) รูปแบบของฟันเขี้ยว ( CANINE เค-นาย ) ที่เรียวยาว
ในอดีตนักเชี่ยวชาญปลาหลายๆท่านมีการถกเถียง มีความพยายามที่จะจัดสกุล(GENUS) หรือมีการกำหนดว่าชื่อปลาชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกัน(SYNONYM) . เช่น ในช่วงแรกๆมีการโต้เถียงสกุลว่าจะเป็น HYDROCYNUS  คือถ้าเป็นสกุลนี้จำเป็นต้องรวมไทเกอร์ฟิชเข้ามาด้วย กับ HYDROCYON หรือ คศ.1841 นักเชี่ยวชาญเรื่องปลาท่าน SCHOMBURGK ค้นพบ HYDROCYON ARMATUS. แตต่อมาในปี คศ.1912 ท่าน CARL H. EIGENMANN นักเชี่ยงชาญเรื่องปลาชาวอเมริกัน รวม HYDROCYON ARMATUS เป็นชนิดเดียวกันกับ HYDROCYON SCOMBEROIDES.หลังจากนั้นมีการทบทวนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมาสรุปที่สกุล HYDROLYCUS.
ในสายตาของชาวต่างชาติบางคนมองปลาชนิดนี้เป็นปลาตะกละ หน้าตาน่ากลัว กินปลาด้วยกันเป็นอาหาร หรือ แม้กระทั่งมุมมองของนักเลี้ยงปลายังมองว่าการจะเลี้ยงให้ใหญ่ๆเลยเป็นการยากมาก คือปลาชนิดนี้โตเร็วในช่วงแรก และค่อยๆโต จำเป็นต้องดูแลมาก (อันนี้คือความเห็นชาวต่างชาติที่ผมแปลมานะครับ ไม่ใช่ผม) อย่างในรัฐ TEXAS มีการสั่งห้ามเลี้ยงปลาชนิดนี้ เพราะทางรัฐเกรงว่าถ้าหลุดลงไปในแหล่งนำธรรมชาติมันจะเพิ่มจำนวนประชากร และ ไปลดจำนวนปลาพื้นเมืองลง ( แหมพี่ ปิรันย่า ยังเคยเจอ ไหนจะเป็นไรเงียวบ้างละ ที่ประกาศห้ามจนเป็นข่าวครึกโครมทั่วโลกมาแล้ว แต่ก็ดีกว่าบ้านเมืองผม กลับไม่ทำอะไรสักเท่าไหร่เลย จับได้แปลกๆก็ไปขอหวยซะงั้น เฮ้อ!).
คห.245: 30 ต.ค. 50, 23:17
"ปลาที่มีครีบหลังนำหน้าครีบก้น"  นี่
"ปลาที่มีครีบหลังนำหน้าครีบก้น"  นี่ก็เป็นอีกจุดที่นักเชี่ยวชาญเรื่องปลาให้เราสังเกต พอมาคราวนี้ก็เหมือนกันครับ ทางนักวิชาการเหล่านี่ก็มีกุญแจไขความลับตรงนี้ด้วยเหมือนกันครับ จากที่ผมค้นหาตามเว็บต่างๆ คือข้อมูลที่ได้มาน้อยมากครับผม ถ้าหากน้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนโพสท์มาบอกรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยนะครับผม นอกจากนี้ปัญหาเรื่องภาพที่ลงในเรื่องนี้ ไม่ได้หมายความว่าถูกต้องนะครับ เพราะ ภาพที่โพสท์ลงในเว็บต่างๆ จะมีเรื่องสี แสง องค์ประกอปอีกหลายอย่างที่ผมไม่กล้าฟันธงในแต่ละภาพ แต่ผมจะลองดูนะครับ จะพยายามให้ใกล้เคียง แต่ถ้าไม่ใกล้คงจะต้องรบกวนอ่านรายละเอียด( ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดสุดๆนะครับ ขนาดFISHBASE แทบไม่บอกอะไรเลย) ที่ผมแปลมาเป็นองค์ประกอปนะครับ เริ่มจากชนิดนี้เลยครับผม.
HYDROLYCUS SCOMBEROIDES.
ยาวประมาณ 60 ซม. พบใน RIO AMAZONAS , สาขาย่อยที่อยู่เหนือปากแม่นำ RIO TAPAJOS. นักวิชาการนำตัวอย่างขนาด 10 ซม.มาตรวจสอบ พบว่ามีรอยยักบริเวณขอบวงเกล็ด , ฐานครีบท้องที่อยู่เหนือสูงขึ้นไปอย่างเห็นได้ชัด , จุดดำขนาดเล็กที่พบในสุดของก้านครีบหู , สีที่หัว และลำตัวจะมีสีเงิน ในส่วนที่เป็นสันหลังจะมีสีทึบดำ บริเวณครีบก้นมากกว่าครึ่งก้านครีบที่มีสีดำ ในครีบหางจะมีสีดำตั้งแต่ฐานก้านครีบ ถึง กึ่งกลางก้านครีบ และจะลดความเข้มข้นของสีไปจนถึงปลายก้านครีบหาง นอกจากนี้ ครีบไขมันที่ดูใสจะมีจุดดำที่เห็นชัด แต่ในความคิดส่วนตัว ผมว่าจุดที่น่าจะสังเกตง่ายว่าเป็น H.SCOMBEROIDES คือ จุดดำ ผมใช้ว่า เป็นจุดดำ ที่บริเวณหลังกระดูกแก้มครับผม.
คห.246: 30 ต.ค. 50, 23:40
ชนิดที่ 2 จากที่อ่านหลายรอบผมสังเกต
ชนิดที่ 2 จากที่อ่านหลายรอบผมสังเกตเห็นจุดนึงคือนักวิชาการจะพยายามเทียบเขากับ H.SCOMBEROIDES มากที่สุดครับผม ส่นจะเป็นอย่างไรน้าๆลองอ่านดูครับผม.
HYDROLYCUS WALLACEI.
ยาวประมาณ 33.5 ซม.(อันนี้เป็นข้อมูลจากFISHBASE.) พบใน RIO NEGRO และ ส่วนบนของลุ่มนำORINOCO.จากตัวอย่างที่นักวิชาการกล่าวอ้างถึงระบุว่า ไม่พบรอยยักบนขอบวงเกล็ด ฐานครีบท้องอยู่ระดับล่างขนานกับตัวปลา ไม่พบจุดดำบริเวณฐานก้านครีบหู ไม่มีเกล็ดบนครีบก้น ครีบก้านก้น 36-43 ความยาวสุดของเขี้ยวประมาณ 11.6-17.3%ของความยาวหัวทั้งหมด สีของลำตัวกับครีบ คือหลืบไปทางสีดำ แต่มีบริเวณส่วนกระดูกแก้ม กับกระดูกกระบอกตาที่มีสีเงินให้เห็นอยู่บ้างครับ.แต่จุดสังเกตที่ผมอ่านเจอและคิดว่าน่าจะพอแยกออกได้อีกนิดคือ แต้มดำที่มีรูปทรงยาวบรเวณขอกกระดูกแก้มครับผม
 
คห.247: 31 ต.ค. 50, 00:05
ชนิดที่3 ก็ถูกจับคู่กับ HYDROLYCUS ARMATUS. คงจะ
ชนิดที่3 ก็ถูกจับคู่กับ HYDROLYCUS ARMATUS. คงจะพอทราบแล้วนะครับ.
HYDROLYCUS TATAUAIA.
ยาวประมาณ 45.5 ซม.(อ้างอิงจากFISHBASE) พบใน RIO AMAZONAS , RIO CAPIM , RIO TOCANTINS , ทางตอนบนของ ORINOCO , แม่นำ RUPUNUNI และ แม่นำ ESSEQUIBO ในกิอายน่า( GUYANA. ) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 102-119 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวกับจุดเริ่มต้นของครีบหลัง= 20-29 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวกับจุดเริ่มต้นครีบท้อง=14-22 , เกล็ดรอบขอดหาง=25-33 ,สีดำบริเวณครีบไขมันไม่ชัดเจนคือดูไม่เต็ม ส่วนปลายของทั้งครีบก้น และ ครีบหางที่มีสีดำดูกระจายไม่เป็นทรงแถบ สีลำตัวเป็นสีเงินสว่าง หลังหัวกับสันหลังมีสีเข้มกว่า มีแต้มดำที่เป็นทรงยาวหลังกระดูกแก้ม บริเวณฐานครีบก้นและครีบหางจะเป็นสีโทนแดง หรือสีส้ม ในแต่ละตัวอย่างเฉดสีมีอ่อนเข้มต่างกัน.
คห.248: 31 ต.ค. 50, 00:55
ชนิดที่ 4 ยักษ์ใหญ่ของเราครับ 
HYDROLYCUS ARMAT
ชนิดที่ 4 ยักษ์ใหญ่ของเราครับ
HYDROLYCUS ARMATUS หรือ PAYARA.
ยาวประมาณ 70 ซม.ขึ้นไป พบใน RIO ORINOCO. แม่นำESSEQUIBO ในกิอายน่า ทางตะวันออก และตอนกลางของแม่นำAMAZON. มีเกล็ดบริเวณก้านครีบก้น ก้านครีบก้น=27-37 ,ความยาวเขี้ยว =18.2-29.0%ของความยาวหัวทั้งหมด สีของลำตัวเป็นสีเงิน หรือ สีเหลืองแทน เกล็ดเส้นข้างลำตัว=121-154 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวถึงจุดเริ่มต้นของครีบหลัง = 30-42 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวถึงจุดเริ่มต้นของครีบก้น= 24-38 , จำนวนเกล็ดรอบขอดหาง = 32-41 , จุดดำบริเวณครีบไขมันเด่นชัด หัวและลำตัวเป็นสีเงิน ค่อยๆเข้มขึ้นบริเวณสันหลัง ตอนต้นของครีบก้น และ ครีบหางมีสีเหลือง ส่วนท้ายของก้านครีบหางเป็นสีดำและปลายสุดขอบหางเป็นสีขาว ส่วนปลายของก้านครีบหลังมีสีดำ.
สุดท้ายแล้วครับผม รายละเอียดที่ผมลองค้นมาคงพอจะมีประโยชน์อยู่บ้างนะครับ ขอบคุณครับที่น้าๆเข้ามาชมกระทู้ผมครับ ก่อนจากนักวิชาการเรื่องปลาชนิดนี้ท่านแนะนำว่าปลาสกุลนี้สามารถกระโดดได้ โดยท่านให้เหตุผลว่าครีบหูของเค้าเหมือนครีบของกลุ่มปลาขวาน(HATCHET FISH)ระวังนะครับผม.
คห.249: 1 พ.ย. 50, 09:37
ค.ห.ที่231เป็นปลากดคังครับถึงจะมองไม่เห็นครีบแต่หนวดสีขาวนั่นเป็นสัญลักษณ์ของปลากดคังครับ
มีปลาชนิดอื่นที่มันดูดตู้บ้างไหมครับ ที่ไม่ใช่พวกSuckerน่ะ

เยอะแยะครับ http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=4778.msg5345
.. สำหรับ มรกตดำ .. เป็นปลาท้องถิ่นบ้านเราด้วยนี่ครับน้าจิรชัย .. ผมเลี้ยงมาหลายตัวแล้ว .. ดุโค ต ร ๆ .. 

ผมก็ว่าเป็นปลาของไทยนะเพราะตอนเก็กๆเคยเห็นลุงสุธีย์ สุธิวงศ์ตกได้ที่ลำเขางูจากหนังสือตกปลาเล่มนึง
คห.250: 1 พ.ย. 50, 18:53
ขอบคุณมากครับน้า ยินดีที่ได้มีโอกา
ขอบคุณมากครับน้า ยินดีที่ได้มีโอกาสคุยด้วยครับ คือ ยอมรับตรงๆว่าปลาไซส์ JUVENILE ไม่แม่นๆจริงครับ มีนักวิชาการ2ท่านได้ให้คำแนะนำผมว่า "ไซส์ลูกปลาดูยากนะให้ระวังด้วย" ผมเลยไม่กล้าเลยครับน้ายิ่งไม่ใช่ลูกหม้อของกรมฯ เหมือนคนอื่นด้วย แค่ใจรักเรื่องปลา คงไม่พอแน่ๆครับ น้าPOP-POP เผอิญน้าเขาทั้งตกด้วย เลี้ยงด้วย บังเอิญน้าเขา เลี้ยงตู้TANGANYIKA CICHLID.(ปลาหมอทังกันยิกา) อยู่ได้มีโอกาสคุยกับน้าเขา(หลังจากที่โพสท์มาถามผม ก็ได้โทรคุยกัน) ก็พอๆแนะนำกันไปครับ ต้องขอขอบคุณน้าที่แนะนำครับผม ส่วนเรื่องมรกตดำใช่ครับ ไทย มาเลย์ อินโด ด้วยครับ เท่าที่ถามๆมานะครับ แหะๆๆ ถ้าอย่างนั้นทีแรกจะไปโพสท์ลงกระทู้อื่น ฝากถึงน้าPOP-POPตรงนี้เลยแล้วกันนะครับ ว่านักวิทยาศาสตร์ได้มีการนำปลาหมอทังกันยิกา(บ้านเราน่าจะเรียกว่า "แซงแซว" นะครับถ้าจำไม่ผิด)2 สายพันธุ์คือ NEOLAMPROLOGUS BRICHARDI กับ N. PULCHER มาทำการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลของทั้ง2 ชนิดนี้ หลังจากวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ให้เลือกเป็นชนิดเดียวกันโดยใช้ชื่อ NEOLAMPROLOGUS PULCHER.ครับน้า ขอบคุณที่เข้ามาชมครับผม.
 
<<<678910>>>
siamfishing.com © 2024