กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
29 พ.ย. 67
*** ชวนคุย *** ................ คุยเฟื่องเรื่อง TEXAS ...............: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<
<
5
6
7
8
9
กระดาน
คห. 207 อ่าน 57,467 โหวต 48
*** ชวนคุย *** ................ คุยเฟื่องเรื่อง TEXAS ...............
Beethoven
(2077
)
คห.201: 11 พ.ค. 54, 11:54
Texas ด้วยไส้เดือนยาง เจอปลากดครับ
จากทริปนี้ครับ
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=632141
boll5555
(1121
)
คห.202: 11 พ.ค. 54, 17:44
moo_yai13
(14
)
คห.203: 16 พ.ค. 54, 14:36
สุดยอดความรู้เลยครับ
A3
(6259
)
คห.204: 16 พ.ค. 54, 18:44
++
ทำไมอ่านบทความของ MrShark แล้ว ยิ่งอ่านยิ่งเพลิน
++
สุดยอดมาครับสำหรับการถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ขอบคุณครับ
ขอบคุณน้า beethoven ที่ช่วยตั้งกระทู้ดีๆ และประคับประคองมาจนเป็นกระทู้ที่สาระแน่นปั๊ก
ปล. ผมตามอ่านตั้งแต่วันที่ตั้งกระทู้ คิดในใจอยู่เหมือนกัน ว่าท่านโปร texus ทั้งหลายจะมีเวลามาเล่าความรู้ให้ฟังมั้ย
ประสบความสำเร็จแล้วครับ น้า beethoven
คงถึงเวลาเอาเจ้าชุดนี้ ออกตก Texus มั่งแล้วหลังจากใช้แค่ จิ๊กกระพง ด้วย หนอน-ปลาเล็ก กับหัวจิ๊กขนาด 2-3 กรัม
MrSHARK
(2963
)
คห.205: 16 พ.ค. 54, 19:01
พอดีผมไปแสดงความเห็นเรื่องการเลือกสีของเหยื่อที่ใช้ในอีกกระทู้หนึ่ง
ขออนุญาตตัดแปะมาไว้ที่นี่ด้วยครับ จะได้อยู่รวม ๆ กัน
การเลือกสีของเหยื่อในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อยู่ที่สภาพแวดล้อม ความเคยชินของเหยื่อที่ปลาล่าเป็นอาหาร เราต้องหาให้เจอ
โดยปกติเรามักคิดแทนปลาว่า เลือกสีที่ปลามองเห็นชัด ๆ "เราเห็น ปลาก็ต้องเห็น"
ความคิดนี้ จึงถูกบัญญัติเป็นพื้นฐานของการเลือกสีของเหยื่อ ว่า "ควรเลือกสีที่ตัดกับสภาพแหล่งน้ำ" เป็นอันดับต้น ๆ ข้อเท็จจริงจึงถูกมองข้ามไปว่า...
ปลามีสัมผัสพิเศษ คือ "เ้ส้นประสาทรับความรู้สึกข้างลำตัว" (Lateral Line)
และการรับรู้จากกลิ่น...
เพื่อเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่านั่นคือ "อาหาร"
ถ้าปลาใช้ตาเป็นหลัก ในน้ำขุ่น ๆ ปลาคงอดอาหารตายเพราะหาเหยื่อไม่เจอ ปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำหรือในทะเลลึกมาก ๆ ที่แสงไปไม่ถึงก็จะหาอาหารไม่ได้เลย
และถ้าปลาใช้ตาเป็นหลัก ปลาล่าเหยื่อจะไม่กัดเหยื่อปลอม เราจะใช้เหยื่อปลอมหลอกปลาไม่ได้เลย เพราะปลามันรู้ว่า "ปลอม"
ผมจึงเชื่อว่าแอ็คชั่นของเหยื่อที่สร้างการสั่นสะเทือนได้ใกล้เีคียงกับสิ่งที่เป็นอาหารของปลา เรียกความสนใจของปลาเป็นลำดับที่หนึ่ง ลำดับที่สองคือกลิ่น (ซึ่งเหยื่อปลอมต้องมองข้ามไป) และลำดับสุดท้ายของการตัดสินใจโจมตีเหยื่อคือสายตา ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญเลย เราจะพบว่าบางครั้งเพียงเหยื่อตกน้ำ ปลาก็หลับหูหลับตาเข้ากัดแล้ว (ถ้ารู้ว่ากินไม่ได้มันก็คายทิ้ง) ปลาล่าเหยื่อมีสัญชาตญาณที่รู้ดีว่ามันมีโอกาสไม่มากนักในการเข้ากัดเหยื่อ ปลาเหล่านี้จึงอาศัยความเร็วเป็นหลักในการเข้าโจมตีเพื่อไม่ให้เหยื่อได้ทันตั้งตัว...
แต่แน่นอนว่า ถ้าสีไม่สำคัญ เหยื่อปลอมในโลกนี้คงมีสีเดียวแน่ ๆ ซึ่งน่าจะเป็นสีขาว
สำหรับเหยื่อยาง การเลือกเหยื่อออกจากกล่องมาใช้ เชื่อว่า หลายคนมีเหยื่อตัวเก่งส่วนตัว ประเภทนี้ สีนี้ ไม่เคยทำให้ผิดหวัง อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้ตัวเอาฤกษ์เอาชัยไว้ก่อน เหยื่อตัวเก่งจึงมักถูกอัญเชิญมาประเดิมหมายใหม่ ๆ ก่อนเป็นลำดับแรก....
ถ้าได้ตัว ก็มีโอกาสที่เหยื่อประเภทนั้น สีนั้น จะถูกใช้ไปตัวเดียวทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่ยังมีแบบอื่นอยู่เต็มกล่อง
พกเหยื่อมาเต็มกล่องใหญ่ ๆ เดินแบกไปด้วยระยะทางเป็นกิโล ๆ ใช้เหยื่อตัวแรกตีไปสองไม้กัดเลย ได้ตัว เลยใช้อยู่แบบเดียวสีเดียวทั้งวัน แล้วจะแบกที่เหลือไปทำไม
เสน่ห์ของการใช้เหยื่อยาง (รวมทั้งเหยื่อปลอมทุกประเภท) ก็เลยหายไป เพราะต้องการให้ได้ตัวแน่ ๆ และเยอะ ๆ อย่างเดียว
สรุปความเห็นของผมเรื่องสีของเหยื่อ อยู่ที่ย่อหน้าแรก ขอบคุณครับ...
:
Beethoven
(2077
)
คห.206: 16 พ.ค. 54, 22:28
อ้างถึง: A3 posted: 16-05-2554, 18:44:17
++
ทำไมอ่านบทความของ MrShark แล้ว ยิ่งอ่านยิ่งเพลิน
++
สุดยอดมาครับสำหรับการถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ ขอบคุณครับ
ขอบคุณน้า beethoven ที่ช่วยตั้งกระทู้ดีๆ และประคับประคองมาจนเป็นกระทู้ที่สาระแน่นปั๊ก
ปล. ผมตามอ่านตั้งแต่วันที่ตั้งกระทู้ คิดในใจอยู่เหมือนกัน ว่าท่านโปร texus ทั้งหลายจะมีเวลามาเล่าความรู้ให้ฟังมั้ย
ประสบความสำเร็จแล้วครับ น้า beethoven
คงถึงเวลาเอาเจ้าชุดนี้ ออกตก Texus มั่งแล้วหลังจากใช้แค่ จิ๊กกระพง ด้วย หนอน-ปลาเล็ก กับหัวจิ๊กขนาด 2-3 กรัม
สวัสดีและขอบคุณครับน้า A3
ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
เพื่อ....
1. ผมและเพื่อนๆ ที่กำลังจะศึกษา หรือศึกษาอยู่บ้างแล้ว เรียกว่า บรรดามือใหม่ทั้งหลาย จะได้มีผู้มีความรู้ มาช่วยบอกเล่าแนะนำสอนพวกเราครับ
2. น้าๆ ทั้งหลายที่มีความรู้อยู่แล้ว เรียกว่า **มือโปรหรือมือเก่า** จะได้นำเทคนิคพิเศษส่วนตัวมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
3. ข้อนี้สำคัญสำหรับผมมากๆ เลย
ผมมีเพื่อนรุ่นน้องใจดีคนหนึ่ง อยู่ จ.พัทลุงเหมือนกัน ชื่อ AlaZ คอยบอกสอนแนะนำเรื่อง Texas อยู่บ้างมาก่อนแล้วเหมือนกัน แต่การโทรคุยกัน มันไม่สามารถจะบันทึกรายล่ะเอียดได้ทั้งหมด สรุปว่าผมแก่แล้ว เลยจำได้ไม่หมด ผมจึงคิดว่า สร้างเป็นกระทู้ขึ้นมาดีกว่า มีเวลาก็จะได้เปิดอ่านทบทวนความรู้ต่างๆ ได้เสมอครับ
กระทู้นี้จึงเกิดขึ้นมาครับ
ต่อมาก็โชคดีมากๆ ที่มีน้าๆ ใจดีใน SFC มาช่วยกันต่อยอดกระทู้นี้
ต้องขอขอบคุณน้าๆ ผู้มีน้ำใจทุกๆ คน
Beethoven
(2077
)
คห.207: 16 พ.ค. 54, 22:33
อ้างถึง: MrSHARK posted: 16-05-2554, 19:01:29
พอดีผมไปแสดงความเห็นเรื่องการเลือกสีของเหยื่อที่ใช้ในอีกกระทู้หนึ่ง
ขออนุญาตตัดแปะมาไว้ที่นี่ด้วยครับ จะได้อยู่รวม ๆ กัน
การเลือกสีของเหยื่อในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน อยู่ที่สภาพแวดล้อม ความเคยชินของเหยื่อที่ปลาล่าเป็นอาหาร เราต้องหาให้เจอ
โดยปกติเรามักคิดแทนปลาว่า เลือกสีที่ปลามองเห็นชัด ๆ "เราเห็น ปลาก็ต้องเห็น"
ความคิดนี้ จึงถูกบัญญัติเป็นพื้นฐานของการเลือกสีของเหยื่อ ว่า "ควรเลือกสีที่ตัดกับสภาพแหล่งน้ำ" เป็นอันดับต้น ๆ ข้อเท็จจริงจึงถูกมองข้ามไปว่า...
ปลามีสัมผัสพิเศษ คือ "เ้ส้นประสาทรับความรู้สึกข้างลำตัว" (Lateral Line)
และการรับรู้จากกลิ่น...
เพื่อเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่านั่นคือ "อาหาร"
ถ้าปลาใช้ตาเป็นหลัก ในน้ำขุ่น ๆ ปลาคงอดอาหารตายเพราะหาเหยื่อไม่เจอ ปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำหรือในทะเลลึกมาก ๆ ที่แสงไปไม่ถึงก็จะหาอาหารไม่ได้เลย
และถ้าปลาใช้ตาเป็นหลัก ปลาล่าเหยื่อจะไม่กัดเหยื่อปลอม เราจะใช้เหยื่อปลอมหลอกปลาไม่ได้เลย เพราะปลามันรู้ว่า "ปลอม"
ผมจึงเชื่อว่าแอ็คชั่นของเหยื่อที่สร้างการสั่นสะเทือนได้ใกล้เีคียงกับสิ่งที่เป็นอาหารของปลา เรียกความสนใจของปลาเป็นลำดับที่หนึ่ง ลำดับที่สองคือกลิ่น (ซึ่งเหยื่อปลอมต้องมองข้ามไป) และลำดับสุดท้ายของการตัดสินใจโจมตีเหยื่อคือสายตา ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญเลย เราจะพบว่าบางครั้งเพียงเหยื่อตกน้ำ ปลาก็หลับหูหลับตาเข้ากัดแล้ว (ถ้ารู้ว่ากินไม่ได้มันก็คายทิ้ง) ปลาล่าเหยื่อมีสัญชาตญาณที่รู้ดีว่ามันมีโอกาสไม่มากนักในการเข้ากัดเหยื่อ ปลาเหล่านี้จึงอาศัยความเร็วเป็นหลักในการเข้าโจมตีเพื่อไม่ให้เหยื่อได้ทันตั้งตัว...
แต่แน่นอนว่า ถ้าสีไม่สำคัญ เหยื่อปลอมในโลกนี้คงมีสีเดียวแน่ ๆ ซึ่งน่าจะเป็นสีขาว
สำหรับเหยื่อยาง การเลือกเหยื่อออกจากกล่องมาใช้ เชื่อว่า หลายคนมีเหยื่อตัวเก่งส่วนตัว ประเภทนี้ สีนี้ ไม่เคยทำให้ผิดหวัง อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้ตัวเอาฤกษ์เอาชัยไว้ก่อน เหยื่อตัวเก่งจึงมักถูกอัญเชิญมาประเดิมหมายใหม่ ๆ ก่อนเป็นลำดับแรก....
ถ้าได้ตัว ก็มีโอกาสที่เหยื่อประเภทนั้น สีนั้น จะถูกใช้ไปตัวเดียวทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่ยังมีแบบอื่นอยู่เต็มกล่อง
พกเหยื่อมาเต็มกล่องใหญ่ ๆ เดินแบกไปด้วยระยะทางเป็นกิโล ๆ ใช้เหยื่อตัวแรกตีไปสองไม้กัดเลย ได้ตัว เลยใช้อยู่แบบเดียวสีเดียวทั้งวัน แล้วจะแบกที่เหลือไปทำไม
เสน่ห์ของการใช้เหยื่อยาง (รวมทั้งเหยื่อปลอมทุกประเภท) ก็เลยหายไป เพราะต้องการให้ได้ตัวแน่ ๆ และเยอะ ๆ อย่างเดียว
สรุปความเห็นของผมเรื่องสีของเหยื่อ อยู่ที่ย่อหน้าแรก ขอบคุณครับ...
:
ขอบคุณน้า MrSHARK อีกครั้งครับ
บทความนี้ที่น้า MrSHARK ช่วยนำมาลงไว้ให้
เป็นสิ่งที่อยากรู้มากๆ มานานแล้วครับ
ที่ผ่านมาก็ได้แต่คิดสงสัยว่า เอ๊ะ มันจะเป็นอย่างนี้ไหม อย่างนั้นหรือเปล่า
เมื่อน้า MrSHARK มาช่วยบอกใบ้ให้ ทำให้สมองของผมก็ฉลาดขึ้นมาอีกมากเลยครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ
http://www.siamfishing.com/searchmember.php?word=57&scope=topic
ตะกี้ผมเข้าไปดูกระทู้ก่อนๆ ของน้า MrSHARK มา
มันส์มากๆ เห็นแล้ว ** แซ่บ แซ่บ ** ได้ใจเลย
<<
<
5
6
7
8
9
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024