บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<<56789>>>
กระดาน
คห. 249 อ่าน 166,448 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
kanok(17611 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.201: 20 ม.ค. 51, 10:55
คห.202: 20 ม.ค. 51, 19:09
สวัสดีครับน้าkanok. เคยตกปลาชนิดนี้ได้หรือเปล่าครับ ถ้าน้าเป็นนักตกปลาที่ท่องเที่ยวตกปลาทั่วไทย สันทัดทั้งน้ำจืด ทั้งทะเล Perfect. สุดๆครับ นึกถึงหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนึง คือ ซันเป้ ฟิชชิ่งบอย มันส์สุดๆ.
ขอมา Say hi ! น้า nunkungthailand. กับน้า anjoras. ในกระทู้นี้ทั้งคู่เลยแล้วกันครับ แต่บอกก่อนน่ะครับ ไม่รู้ทุกชนิดน่ะครับน้าเดี๋ยวจะผิดหวังครับผม อะไรที่ผมมีข้อมูลผมก็จะบอกน่ะครับ อย่างที่บอกครับน้าแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ คนเราเรื่องไม่รู้ย่อมต้องมีแน่นอนครับผม ขอบคุณอีกครั้งครับ.

 
คห.203: 2 ก.พ. 51, 08:37
ขออนุญาตมาเสริมรายละเอียดเรื่อง "ป
ขออนุญาตมาเสริมรายละเอียดเรื่อง "ปลาแรดแม่น้ำโขง " ในกระทู้นี้ซึ่งจะเน้นปลาไทยเป็นหลัก เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบกับปลาแรดในบ้านเราน่ะครับ ดังนั้นในรายละเอียดนี้ของดในส่วนที่เป็นปลาแรดทางมาเลย์เซีย กับที่พบในอินโดนีเซียก่อนน่ะครับ.
Osphronemus exodon.
ชื่อทั่วไป    = Elephant ear gourami. , ปลาเม่น(ภาษาลาว)
แหล่งที่พบ  =  หลักๆจากรายละเอียดทั้ง 3 ประเทศที่พบคือ แม่น้ำโขง นอกจากนั้นพบใน ลาว กัมพูชา ครับ
ขนาด        = 60 ซม.
อาหาร        = เป็นปลาที่กินพืชและสัตว์ หรือ Omnivores.
คห.204: 2 ก.พ. 51, 08:58
ต้องขออนุญาตคุณหมีจาก Siamensis.ขอหยิบยก
ต้องขออนุญาตคุณหมีจาก Siamensis.ขอหยิบยกภาพขึ้นมากล่าวอ้างก่อนน่ะครับ.เลยมีภาพให้นำมาเปรียบเทียบกับOsphronemus gouramy. หรือ ในบ้านเราเรียกว่า "ปลาแรดดำ." ส่วนข้อแตกต่าง ของปลาทั้ง 2 ชนิดนี้คือ จำนวนก้านครีบแข็ง และ ก้านครีบอ่อน ที่ไม่เท่ากัน ในส่วนของปลาแรดแม่น้ำโขงจะมากกว่า อีกจุดที่แตกต่างคือ ฟัน ในปลาแรดแม่น้ำโขงจะโชว์ให้เห็นได้จากภายนอก ในขณะที่ปลาแรดดำเราอยู่ภายในครับผม.
สุดท้ายขอบพระคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมในกระทู้นี้ครับ หากมีท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมใส่มาได้เลครับผม แลกเปลี่ยนกันครับ.
คห.205: 2 ก.พ. 51, 11:58
สวัสดี น้า จีรชัย สบายดีนะครับ
คห.206: 2 ก.พ. 51, 20:02
ขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่พิมพ์ตกไป
ขอเพิ่มเติมรายละเอียดที่พิมพ์ตกไปน่ะครับ ที่ว่าก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน หมายถึงก้านครีบหลัง และก้านครีบท้องครับ.
สวัสดีครับน้าลุงหนุ่ม สบายดีน่ะครับ ต้องขอโทษที่เสียมารยาทที่มาทักทายซะเย็นเลยครับผม ส่วนตัวผมนับถือน้าเป็นกูรู Rapala. คนนึงเลยน่ะครับ ถ้าจำไม่ผิดเคยเห็นภาพที่น้าถือชะโด น่าจะเป็นช่วงปีที่แล้ว  แต่ก่อนโทรถามน้าบ่อยๆเรื่อง Rapala. ผมชอบน่ะครับได้ความรู้ใหม่ๆเยอะเลยครับ จากที่เคยสะสมแบบเดาสุ่ม. ขอบคุณมากครับน้าลุงหนุ่มที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.
   
pop pop(22 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.207: 2 ก.พ. 51, 23:09
คห.208: 2 ก.พ. 51, 23:16
สวัสดีครับน้า pop-pop ลองดูรายละเอียดดีๆน่ะครับ จะเข้าใจว่าปลาในแต่ละวงศ์ แต่ละสกุล มันมีคีย์ครับ เป็นพื้นฐานง่ายๆ ครับ อาทิตย์หน้าแน่นอนครับ.
 
คห.209: 10 ก.พ. 51, 21:20
เงียบหายไปนานเลยครับ บังเอิญเมื่ออ
เงียบหายไปนานเลยครับ บังเอิญเมื่ออาทิตย์ก่อนมีโอกาสได้คุยกับคุณตาท่านนึงท่านชอบเลี้ยงปลาในสกุล Botia.(สกุลเก่า.) ท่านถามผมว่า "ทำไมแต่ก่อนเป็น Botia. เดี๋ยวนี้ทำไมไปแยกซะมากมาย มีทั้งใช้เป็นสกุล Syncrossus. เอย ทั้ง Yasuhikotakia. นี่ยังมีอีกหรือเปล่า? ทำไมต้องเปลี่ยน ถ้าไม่มีคนบอกไม่รู้เลยน่ะ" ผมได้แต่อึ้งกิมกี่ไปเลยครับ แต่ลืมบอกยังมีเป็น Botia. เดิม กับมี Sinibotia. ด้วยแต่ขอเป็นคิดในใจดีกว่า ถ้าบอกว่ามีเดี๋ยวจะยาวผมได้แต่หัวเราะ แหะแหะ เพราะผมเคยได้ยินว่าแยกตามแผ่นกระดูกเบ้าตาหรือเปล่า ขอบอกไม่แน่ใจอย่างแรงแรงเลย ยังไม่ละจากคำถามแรกคุณตาท่านก็ถามว่า เออ! มีปลาอยู่ชนิดนึงท่านว่าสวยมากๆ ท่านก็ทำหน้านึกตั้งนาน และก็เอ่ยมาชื่อนึงว่า " อ๋อ! ปลาหนามหลัง. รู้จักหรือเปล่า? เขาน่าจะเพาะน่ะ ไม่ค่อยเห็นเลย" คือยอมรับตามตรงว่าตัวจริงไม่เคยเห็นครับ แต่รู้ว่ามี ไม่แน่ใจว่ามีอยู่3-4ชนิดหรืออย่างไรนี่แหละ. คือขอบอกตรงๆว่าคุณตาท่านนี้มีตัวตนจริงๆครับ ท่านจะมาเดินกับลูกชาย หรือ หลานนี่แหละครับ.


คห.210: 10 ก.พ. 51, 22:10
เลยขอนำปลาหนามหลังชนิดนึงมานำเสนอ
เลยขอนำปลาหนามหลังชนิดนึงมานำเสนอก่อนน่ะครับ.
Mystacoleucus marginatus.
ชื่อทั่วไป  = ปลาหนามหลัง.
ขนาด      =  20 ซม.
แหล่งที่พบ = แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา พม่า อินโดนีเซีย ลาว และ กัมพูชา
อาหาร      =  เป็น Omnivores. คือ พืช และ สัตว์(แมลงน้ำ)
ลักษณะเด่นๆของปลาหนามหลังชนิดนี้คือ
1) ครีบหลังมีเส้นรอบนอกเป็นสีดำ.
2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 24-26
3) ฐานของเกล็ดลำตัวมีสีดำ.
ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม.

คห.211: 16 ก.พ. 51, 22:09
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน เมื่อวานนี้โ
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน เมื่อวานนี้โพสท์ถามปลาขนาดเล็กอยู่ชนิดหนึ่ง จริงๆแล้วปลาขนาดเล็กดูค่อนข้างจะอ่อนไหว ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมได้ค่อนข้างไวกว่าปลาขนาดใหญ่ หรือแม้แต่การหายสาปสูญไปก็อาจจะไม่มีใครกล่าวถึง เนื่องจากไม่มีใครทราบมาก่อนว่ามีปลาขนาดเล็กชนิดนั้นอยู่ในเมืองไทย บางชนิด เป็นปลาสกุลเดียว หรือเป็นปลาที่พบในเฉพาะที่ ที่ผมจะขอกล่าวถึงในวันนี้เป็นชนิดนี้ครับ.
Phenacostethus smithi. Myers, 1928.
ชื่อทั่วไป  = Smith's priapium fish. ในบ้านเราเรียกว่า " ปลาบู่ใส."
ขนาด      =  2 ซม.
แหล่งที่พบ= พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ไทย กัมพูชา และ สุมาตรา.
อาหาร    = เป็นแมลงน้ำขนาดเล็ก.
(ในภาพเป็นปลาเพศผู้ครับผม.)

คห.212: 16 ก.พ. 51, 22:16
ปลาบู่ใสเพศผู้จะสังเกตดูคล้ายก้อน
ปลาบู่ใสเพศผู้จะสังเกตดูคล้ายก้อนเนื้อที่อยู่ใต้ส่วนหัว จริงๆแล้วตรงนี้คือ ครีบท้อง ที่มีการเปลี่ยแปลงในรูปแบบที่ซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะส่วนอก.

 
คห.213: 16 ก.พ. 51, 22:25
ในขณะที่ตัวเมียจะไม่มีอวัยวะส่วนน
ในขณะที่ตัวเมียจะไม่มีอวัยวะส่วนนี้ครับ
ส่วนลักษณะเฉพาะของปลาชนิดนี้มีรายละเอียดดังนี้ครับผม.
1) ครีบหลังแรกหดเล็กลงเป็นก้านครีบเดี่ยว.
2) จำนวนก้านครีบก้น = 14-15 ก้านครีบ.
3) ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นพ้นจากขากรรไกรบน.
ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้าชมกระทู้นี้ครับผม.

คห.214: 25 ก.พ. 51, 22:55
วันนี้ขอนำข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในกร
วันนี้ขอนำข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในกระทู้ส่วนตัว แต่ไม่หวงถ้าน้าๆน้องๆท่านใดที่พอสนใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้เข้ามาชมได้ครับ.
การแบ่งระบบแม่น้ำในประเทศไทย มี 2 รูปแบบ.
รูปแบบที่1 : การแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ยึดถือตาม Kottelat(1984) และ Rainboth (1991)
รูปแบบที่2 : การแบ่งลุ่มน้ำโดยยึดหลักของกรมชลประทาน.

1) การแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ แบ่งได้ 6 ลุ่มน้ำ ดังนี้.
A) ระบบแม่น้ำสาละวิน. 
B) ระบบแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี.
C) ระบบแม่น้ำในภาคใต้.
D) ระบบแม่น้ำในภาคตะวันออก.
E) ระบบแม่น้ำเจ้าพระยา.
F) ระบบแม่น้ำโขง.

2) การแบ่งตามกรมชลประทาน แบ่งเป็น 25 ลุ่มน้ำ ได้แก่.
A) ลุ่มแม่น้ำสาละวิน.            B) ลุ่มน้ำโขง.   
C) ลุ่มน้ำกก.                        D) ลุ่มน้ำชี.
E) ลุ่มน้ำมูล.                        F) ลุ่มน้ำปิง.
G) ลุ่มน้ำวัง.                        H) ลุ่มน้ำยม.
I)  ลุ่มน้ำน่าน.                      J) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา. 
K) ลุ่มน้ำสะแกกรัง.                L) ลุ่มน้ำป่าสัก.
M)ลุ่มน้ำท่าจีน.                    N) ลุ่มน้ำแม่กลอง.
O)ลุ่มน้ำปราจีนบุรี.                P) ลุ่มน้ำบางประกง. 
Q)ลุ่มน้ำโตนเลสาบ.              R) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
S)ลุ่มน้ำเพชรบุรี.                  T) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก
U)ลุ่มน้ำตาปี.                        V) ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา.
W)ลุ่มน้ำปัตตานี.
X) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งออก.
Y) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตก.

ถ้าน้าท่านใดมีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอความกรุณาเพิ่มเติมให้ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณครับ.

ก่อนจากลืมบอกไปในความเห็น " ปลาบู่ใส  " เป็นปลาเฉพาะถิ่น ( Endemic fish.) ไม่สามารถนำกลับมาได้หากสูญพันธุ์ไปครับผม. ขอบคุณอีกครั้งครับผม.

คห.215: 6 มี.ค. 51, 19:30
ผมไม่ทราบว่าปลาชนิดนี้สามารถจัดเป
ผมไม่ทราบว่าปลาชนิดนี้สามารถจัดเป็นปลาเกมส์ขนาดเล็กได้หรือไม่ แต่เท่าที่ตัวเองเคยทดลองลองเลี้ยงยอมรับว่านักล่าขนาดย่อมชนิดนี้น่าสนใจมากทีเดียวครับ ไม่ว่าจะใส่ปลาเหยื่อขนาดเล็ก กุ้งฝอย ดูแล้วเขาไม่มีพลาดเป้าจริงๆ สำหรับ " ปลาแป้นแก้วยักษ์. "

herofluck(1379 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.216: 6 มี.ค. 51, 19:39
น้าจิรชัย ช่วยหาข้อมูลตัวนี่ให้หน่
น้าจิรชัย ช่วยหาข้อมูลตัวนี่ให้หน่อยครับ


http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=39528&begin=0  รบกวนด้วยครับน้า
คห.217: 6 มี.ค. 51, 19:55
Parambassis wolffii ( Bleeker,1851.)

ชื่อทั่วไป   = ปลาแป้นแ
Parambassis wolffii ( Bleeker,1851.)

ชื่อทั่วไป  = ปลาแป้นแก้วยักษ์ , Thai chandid , Duskyfin glassy perchlet.

ขนาด      = 20 ซม. หรือ 8 นิ้ว

แหล่งที่พบ = พบใน เวียตนาม ไทย ลาว กัมพูชา บรูไน และ อินโดนีเซีย ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักใน ลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา และ แม่น้ำโขง.

อาหาร      = ลูกกุ้ง ลูกปลา และ แมลงน้ำ.

**หมายเหตุ - ปลาแป้นที่มีการระบุว่าพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติขณะนี้ มีทั้งที่พบในน้ำกร่อย และ น้ำจืด ระบุได้ทั้งหมด 14 ชนิด.
                - หากน้าๆน้องๆท่านใดคิดจะนำมาเลี้ยงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงซักหน่อยน่ะครับ ถึงแม้ว่าปลาชนิดนี้จะเป็นปลาน้ำจืดก็ตามอย่างไรก็ต้องปรับน้ำครับ และตู้ขอแนะนำว่าขนาดควรจะอยู่ที่ความยาว 48 นิ้วครับ.

ลักษณะที่โดดเด่นของปลาชนิดนี้ คือ
1) ขากรรไกรล่างที่ยื่นยาว.

2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว =  40-46.

3) จำนวนก้านครีบอ่อนของครีบท้อง = 9-10.

4) ก้านครีบแข็งลำดับที่ 2 ของครีบท้องยาวกว่าก้านครีบอ่อนที่เป็นก้านครีบฐาน.

คห.218: 6 มี.ค. 51, 20:05
ต้องขออนุญาตเรียนตามตรงเลยน่ะครับน้า herofluck.  คือปลาทะเลไม่ทราบเลยครับน้า คงต้องรบกวนให้น้าท่านอื่นเข้ามาตอบแทนแล้วล่ะครับน้า ขนาดปลาน้ำจืดผมยังไม่รู้ก็มีอีกหลายสกุล หลายชนิดเลยล่ะครับน้า ต้องขอโทษจริงๆน่ะครับน้า.

 
kanok(17611 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.219: 6 มี.ค. 51, 21:08
 :grin: :grin:....หวัดดี น้าจิรชัย อิอิ ตัวนี้ก
....หวัดดี น้าจิรชัย อิอิ ตัวนี้กัด มินิแฟทแรพอ่ะค้าบ อิอิ....
na_palm(19 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.220: 6 มี.ค. 51, 21:17
คห.221: 6 มี.ค. 51, 22:03
สวัสดีครับน้า herofluck. , น้าkanok.และน้า na_palm. ครับผม ต้องขอโทษอีกครั้งสำหรับน้า herofluck. ครับที่หาข้อมูลให้ไม่ได้จริงๆครับผม เพราะที่สนใจยังเป็นปลาน้ำจืดอยู่ และยังผิวเผินอยู่ครับน้า. แหะ แหะ แหะ แหะ
น้าkanok. พูดถึง mini fat rap ผมมี 22 สีแล้ว อ่ะ! ล้อเล่นน่ะครับ ผมว่ามันคลาสสิคดีน่ะผมชอบ เพราะถ้าพูดถึงมันรับปลาได้หลากชนิดกว่าน่ะ หรือน้าว่ายังไงครับ อิ อิ อิ อิ
ขอบคุณน้า na_palm. น่ะครับที่เข้ามาชมกระทู้ผม ผิดพลาดประการใด หรือ มีข้อมูลเพิ่มเติมโพสท์ลงมาได้ครับผม.

kanok(17611 คะแนนโหวตจากผู้ชมกระทู้)offline
คห.222: 7 มี.ค. 51, 03:33
น้าkanok. พูดถึง mini fat rap ผมมี 22 สีแล้ว อ่ะ!

ขอสักสองสามสีสิค้าบอยากได้อยู่ อิอิ
คห.223: 11 มี.ค. 51, 19:44
มีการค้นพบปลาชนิดใหม่ในวงศ์ Sisoridae. อย
มีการค้นพบปลาชนิดใหม่ในวงศ์ Sisoridae. อย่าเพิ่งตกใจครับ ไม่ใช่ Alien species. แต่อย่างใดครับ แต่จะขอปลื้มล่วงหน้าเลยครับ มาอีกชนิดนึงแล้ว.

 
คห.224: 11 มี.ค. 51, 20:22
เดี๋ยวน้าๆจะหาว่าผมพูดกำกวม เลยขอเ
เดี๋ยวน้าๆจะหาว่าผมพูดกำกวม เลยขอเชลยว่าปลาชนิดใหม่นี้เป็นปลาที่พบในไทย ทางภาคตะวันตก และพบในส่วนของพม่าอีกด้วย  อยู่ในสกุลปลาแค้ ( Glyptothorax.)ครับผม. บังเอิญเป็นข่าวที่อ่านเมื่อสักครู่นี้แหละครับน้า รายละเอียดที่ได้มาจึงยังขาดความสมบูรณ์ไปหน่อย.

Glyptothorax rugimentum.
(อ่าน กลีพ-โท-ทอ-แรกซ์ รู-จิ-เม็น-ทัม)
**ความหมาย** Glyptos. = Carved (ถูกตัด หรือ ถูกแกะสลัก) , thorax = breastplate.(เสื้อเกราะที่ป้องกันส่วนบนของร่างกาย.) , ruga = crease ( รอยพับ) , mentum = chin ( คาง) 

ขนาด            = ยังไม่มีการระบุอย่างเป็นทางการ.

แหล่งที่พบ      = ถ้าดูจากชื่อปลาชนิดนี้พบได้ในลำธารบนเขา  แม่น้ำอทารัน แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสะโตง ทางภาคตะวันตกของไทย และ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า.

อาหาร            = แมลงน้ำขนาดเล็ก.

คห.225: 11 มี.ค. 51, 20:38
ขออนุญาตแก้คำผิดครับ จาก "เชลย" เป็น "
ขออนุญาตแก้คำผิดครับ จาก "เชลย" เป็น "เฉลย"ครับรีบไปหน่อย.

ลักษณะเด่นอย่างคร่าวๆของปลาชนิดนี้ - หัวกว้าง ตาใหญ่  จุดเริ่มต้นครีบท้องตรงกับฐานก้านครีบสุดท้ายของครีบหลัง แถบสีเข้มบริเวณขอดหาง.

<<<56789>>>
siamfishing.com © 2024