บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<<34567
กระดาน
คห. 249 อ่าน 165,729 โหวต 12
บอกเล่าเก้าสิบ ตอน FRESHWATER PUFFER FISH
คห.151: 10 ก.พ. 51, 22:10
เลยขอนำปลาหนามหลังชนิดนึงมานำเสนอ
เลยขอนำปลาหนามหลังชนิดนึงมานำเสนอก่อนน่ะครับ.
Mystacoleucus marginatus.
ชื่อทั่วไป  = ปลาหนามหลัง.
ขนาด      =  20 ซม.
แหล่งที่พบ = แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา พม่า อินโดนีเซีย ลาว และ กัมพูชา
อาหาร      =  เป็น Omnivores. คือ พืช และ สัตว์(แมลงน้ำ)
ลักษณะเด่นๆของปลาหนามหลังชนิดนี้คือ
1) ครีบหลังมีเส้นรอบนอกเป็นสีดำ.
2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 24-26
3) ฐานของเกล็ดลำตัวมีสีดำ.
ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม.

คห.152: 16 ก.พ. 51, 22:09
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน เมื่อวานนี้โ
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน เมื่อวานนี้โพสท์ถามปลาขนาดเล็กอยู่ชนิดหนึ่ง จริงๆแล้วปลาขนาดเล็กดูค่อนข้างจะอ่อนไหว ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมได้ค่อนข้างไวกว่าปลาขนาดใหญ่ หรือแม้แต่การหายสาปสูญไปก็อาจจะไม่มีใครกล่าวถึง เนื่องจากไม่มีใครทราบมาก่อนว่ามีปลาขนาดเล็กชนิดนั้นอยู่ในเมืองไทย บางชนิด เป็นปลาสกุลเดียว หรือเป็นปลาที่พบในเฉพาะที่ ที่ผมจะขอกล่าวถึงในวันนี้เป็นชนิดนี้ครับ.
Phenacostethus smithi. Myers, 1928.
ชื่อทั่วไป  = Smith's priapium fish. ในบ้านเราเรียกว่า " ปลาบู่ใส."
ขนาด      =  2 ซม.
แหล่งที่พบ= พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ไทย กัมพูชา และ สุมาตรา.
อาหาร    = เป็นแมลงน้ำขนาดเล็ก.
(ในภาพเป็นปลาเพศผู้ครับผม.)

คห.153: 16 ก.พ. 51, 22:16
ปลาบู่ใสเพศผู้จะสังเกตดูคล้ายก้อน
ปลาบู่ใสเพศผู้จะสังเกตดูคล้ายก้อนเนื้อที่อยู่ใต้ส่วนหัว จริงๆแล้วตรงนี้คือ ครีบท้อง ที่มีการเปลี่ยแปลงในรูปแบบที่ซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะส่วนอก.

 
คห.154: 16 ก.พ. 51, 22:25
ในขณะที่ตัวเมียจะไม่มีอวัยวะส่วนน
ในขณะที่ตัวเมียจะไม่มีอวัยวะส่วนนี้ครับ
ส่วนลักษณะเฉพาะของปลาชนิดนี้มีรายละเอียดดังนี้ครับผม.
1) ครีบหลังแรกหดเล็กลงเป็นก้านครีบเดี่ยว.
2) จำนวนก้านครีบก้น = 14-15 ก้านครีบ.
3) ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นพ้นจากขากรรไกรบน.
ขอบคุณน้าๆน้องๆทุกท่านที่เข้าชมกระทู้นี้ครับผม.

คห.155: 25 ก.พ. 51, 22:55
วันนี้ขอนำข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในกร
วันนี้ขอนำข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในกระทู้ส่วนตัว แต่ไม่หวงถ้าน้าๆน้องๆท่านใดที่พอสนใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้เข้ามาชมได้ครับ.
การแบ่งระบบแม่น้ำในประเทศไทย มี 2 รูปแบบ.
รูปแบบที่1 : การแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ยึดถือตาม Kottelat(1984) และ Rainboth (1991)
รูปแบบที่2 : การแบ่งลุ่มน้ำโดยยึดหลักของกรมชลประทาน.

1) การแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ แบ่งได้ 6 ลุ่มน้ำ ดังนี้.
A) ระบบแม่น้ำสาละวิน. 
B) ระบบแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำเพชรบุรี.
C) ระบบแม่น้ำในภาคใต้.
D) ระบบแม่น้ำในภาคตะวันออก.
E) ระบบแม่น้ำเจ้าพระยา.
F) ระบบแม่น้ำโขง.

2) การแบ่งตามกรมชลประทาน แบ่งเป็น 25 ลุ่มน้ำ ได้แก่.
A) ลุ่มแม่น้ำสาละวิน.            B) ลุ่มน้ำโขง.   
C) ลุ่มน้ำกก.                        D) ลุ่มน้ำชี.
E) ลุ่มน้ำมูล.                        F) ลุ่มน้ำปิง.
G) ลุ่มน้ำวัง.                        H) ลุ่มน้ำยม.
I)  ลุ่มน้ำน่าน.                      J) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา. 
K) ลุ่มน้ำสะแกกรัง.                L) ลุ่มน้ำป่าสัก.
M)ลุ่มน้ำท่าจีน.                    N) ลุ่มน้ำแม่กลอง.
O)ลุ่มน้ำปราจีนบุรี.                P) ลุ่มน้ำบางประกง. 
Q)ลุ่มน้ำโตนเลสาบ.              R) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก
S)ลุ่มน้ำเพชรบุรี.                  T) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันตก
U)ลุ่มน้ำตาปี.                        V) ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา.
W)ลุ่มน้ำปัตตานี.
X) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งออก.
Y) ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตก.

ถ้าน้าท่านใดมีรายละเอียดเพิ่มเติม ขอความกรุณาเพิ่มเติมให้ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณครับ.

ก่อนจากลืมบอกไปในความเห็น " ปลาบู่ใส  " เป็นปลาเฉพาะถิ่น ( Endemic fish.) ไม่สามารถนำกลับมาได้หากสูญพันธุ์ไปครับผม. ขอบคุณอีกครั้งครับผม.

คห.156: 6 มี.ค. 51, 19:30
ผมไม่ทราบว่าปลาชนิดนี้สามารถจัดเป
ผมไม่ทราบว่าปลาชนิดนี้สามารถจัดเป็นปลาเกมส์ขนาดเล็กได้หรือไม่ แต่เท่าที่ตัวเองเคยทดลองลองเลี้ยงยอมรับว่านักล่าขนาดย่อมชนิดนี้น่าสนใจมากทีเดียวครับ ไม่ว่าจะใส่ปลาเหยื่อขนาดเล็ก กุ้งฝอย ดูแล้วเขาไม่มีพลาดเป้าจริงๆ สำหรับ " ปลาแป้นแก้วยักษ์. "

คห.157: 6 มี.ค. 51, 19:55
Parambassis wolffii ( Bleeker,1851.)

ชื่อทั่วไป   = ปลาแป้นแ
Parambassis wolffii ( Bleeker,1851.)

ชื่อทั่วไป  = ปลาแป้นแก้วยักษ์ , Thai chandid , Duskyfin glassy perchlet.

ขนาด      = 20 ซม. หรือ 8 นิ้ว

แหล่งที่พบ = พบใน เวียตนาม ไทย ลาว กัมพูชา บรูไน และ อินโดนีเซีย ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักใน ลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา และ แม่น้ำโขง.

อาหาร      = ลูกกุ้ง ลูกปลา และ แมลงน้ำ.

**หมายเหตุ - ปลาแป้นที่มีการระบุว่าพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติขณะนี้ มีทั้งที่พบในน้ำกร่อย และ น้ำจืด ระบุได้ทั้งหมด 14 ชนิด.
                - หากน้าๆน้องๆท่านใดคิดจะนำมาเลี้ยงต้องใช้เวลาในการเลี้ยงซักหน่อยน่ะครับ ถึงแม้ว่าปลาชนิดนี้จะเป็นปลาน้ำจืดก็ตามอย่างไรก็ต้องปรับน้ำครับ และตู้ขอแนะนำว่าขนาดควรจะอยู่ที่ความยาว 48 นิ้วครับ.

ลักษณะที่โดดเด่นของปลาชนิดนี้ คือ
1) ขากรรไกรล่างที่ยื่นยาว.

2) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว =  40-46.

3) จำนวนก้านครีบอ่อนของครีบท้อง = 9-10.

4) ก้านครีบแข็งลำดับที่ 2 ของครีบท้องยาวกว่าก้านครีบอ่อนที่เป็นก้านครีบฐาน.

คห.158: 6 มี.ค. 51, 20:05
ต้องขออนุญาตเรียนตามตรงเลยน่ะครับน้า herofluck.  คือปลาทะเลไม่ทราบเลยครับน้า คงต้องรบกวนให้น้าท่านอื่นเข้ามาตอบแทนแล้วล่ะครับน้า ขนาดปลาน้ำจืดผมยังไม่รู้ก็มีอีกหลายสกุล หลายชนิดเลยล่ะครับน้า ต้องขอโทษจริงๆน่ะครับน้า.

 
คห.159: 6 มี.ค. 51, 22:03
สวัสดีครับน้า herofluck. , น้าkanok.และน้า na_palm. ครับผม ต้องขอโทษอีกครั้งสำหรับน้า herofluck. ครับที่หาข้อมูลให้ไม่ได้จริงๆครับผม เพราะที่สนใจยังเป็นปลาน้ำจืดอยู่ และยังผิวเผินอยู่ครับน้า. แหะ แหะ แหะ แหะ
น้าkanok. พูดถึง mini fat rap ผมมี 22 สีแล้ว อ่ะ! ล้อเล่นน่ะครับ ผมว่ามันคลาสสิคดีน่ะผมชอบ เพราะถ้าพูดถึงมันรับปลาได้หลากชนิดกว่าน่ะ หรือน้าว่ายังไงครับ อิ อิ อิ อิ
ขอบคุณน้า na_palm. น่ะครับที่เข้ามาชมกระทู้ผม ผิดพลาดประการใด หรือ มีข้อมูลเพิ่มเติมโพสท์ลงมาได้ครับผม.

คห.160: 11 มี.ค. 51, 19:44
มีการค้นพบปลาชนิดใหม่ในวงศ์ Sisoridae. อย
มีการค้นพบปลาชนิดใหม่ในวงศ์ Sisoridae. อย่าเพิ่งตกใจครับ ไม่ใช่ Alien species. แต่อย่างใดครับ แต่จะขอปลื้มล่วงหน้าเลยครับ มาอีกชนิดนึงแล้ว.

 
คห.161: 11 มี.ค. 51, 20:22
เดี๋ยวน้าๆจะหาว่าผมพูดกำกวม เลยขอเ
เดี๋ยวน้าๆจะหาว่าผมพูดกำกวม เลยขอเชลยว่าปลาชนิดใหม่นี้เป็นปลาที่พบในไทย ทางภาคตะวันตก และพบในส่วนของพม่าอีกด้วย  อยู่ในสกุลปลาแค้ ( Glyptothorax.)ครับผม. บังเอิญเป็นข่าวที่อ่านเมื่อสักครู่นี้แหละครับน้า รายละเอียดที่ได้มาจึงยังขาดความสมบูรณ์ไปหน่อย.

Glyptothorax rugimentum.
(อ่าน กลีพ-โท-ทอ-แรกซ์ รู-จิ-เม็น-ทัม)
**ความหมาย** Glyptos. = Carved (ถูกตัด หรือ ถูกแกะสลัก) , thorax = breastplate.(เสื้อเกราะที่ป้องกันส่วนบนของร่างกาย.) , ruga = crease ( รอยพับ) , mentum = chin ( คาง) 

ขนาด            = ยังไม่มีการระบุอย่างเป็นทางการ.

แหล่งที่พบ      = ถ้าดูจากชื่อปลาชนิดนี้พบได้ในลำธารบนเขา  แม่น้ำอทารัน แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสะโตง ทางภาคตะวันตกของไทย และ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า.

อาหาร            = แมลงน้ำขนาดเล็ก.

คห.162: 11 มี.ค. 51, 20:38
ขออนุญาตแก้คำผิดครับ จาก "เชลย" เป็น "
ขออนุญาตแก้คำผิดครับ จาก "เชลย" เป็น "เฉลย"ครับรีบไปหน่อย.

ลักษณะเด่นอย่างคร่าวๆของปลาชนิดนี้ - หัวกว้าง ตาใหญ่  จุดเริ่มต้นครีบท้องตรงกับฐานก้านครีบสุดท้ายของครีบหลัง แถบสีเข้มบริเวณขอดหาง.

คห.163: 12 มี.ค. 51, 19:55
ในความคิดผมส่วนตัว น้าน่าจะลองซื้อ
ในความคิดผมส่วนตัว น้าน่าจะลองซื้อหนังสือของ ADA contest. มาดูก่อนน่ะครับ เพราะมันจะมีผู้ประกวดที่เขาส่งไอเดียเข้าแข่งมากมาย แล้วอิเมจ ว่าจะลด หรือ จะเปลี่ยน จากต้นไม้เป็นหิน อันนี้คือคอนเซพท์แบบง่ายๆ แต่อย่างไรก็ตามผมว่าคำนึงถึงชนิดปลา ควบคู่กันไป ทีแรกผมจะเสนอให้น้าพิจารณาชนิดปลาก่อนเป็นหลัก แต่ที่น้าต้องการคือ การตกแต่งตู้เป็นหลักก่อนชนิดปลา. อย่างที่น้าเคยดูในกระทู้เรื่องเกี่ยวกับการจัดตู้ในลักษณะต่างๆแบบง่ายๆ ในกระทู้ " ได้โปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ."

คห.164: 12 มี.ค. 51, 20:26
อย่างที่เคยคุยกับน้าล่ะครับ ในช่วง
อย่างที่เคยคุยกับน้าล่ะครับ ในช่วงที่คนเขานิยมเลี้ยงปลาผมกลับหาหนังสือมาอ่าน อย่างเล่มนี้ เป็นเล่มที่ทำให้ผมสนใจปลาไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ระบุตีพิมพ์ ปี พ.ศ. 2488 ครับ ตีพิมพ์โดยสถาบัน สมิทช์โซเนี่ยน ของ อาจารย์ Huge M. Smith ครับ

คห.165: 12 มี.ค. 51, 20:28
กับเล่มนี้ครับน้า สมัยก่อนนู้นดวงก
กับเล่มนี้ครับน้า สมัยก่อนนู้นดวงกมล นำมาขายครับ. ถ้าผมจำไม่ผิดน่ะครับ. แหะ แหะ แหะ

คห.166: 27 มี.ค. 51, 00:33
คิดไว้หลายวันแล้วครับว่าจะเอาข้อม
คิดไว้หลายวันแล้วครับว่าจะเอาข้อมูลปลาชนิดนี้มาให้ชมกัน นานวันจัดเลยลืม วันนี้สงสัยว่าวันดีนึกขึ้นมาได้  เลยขอนำเสนอปลาขนาดเล็กชนิดนึง ในกลุ่มย่อยของปลาชนิดนี้ที่พบในเมืองไทย บอกได้เลยครับว่ามี เขาชนิดเดียวโดดๆ.


 
คห.167: 27 มี.ค. 51, 00:59
Abbottina rivularis ( Basilewsky,1855.)

ชื่อทั่วไป       =  ปลาสร
Abbottina rivularis ( Basilewsky,1855.)

ชื่อทั่วไป      =  ปลาสร้อยบู่.หรือ Chinese false gudgeon.

ขนาด          =  4 - 5 ซม.

แหล่งที่พบ    =  ในเมืองไทยมีการรายงานว่าพบในแม่น้ำโขง บริเวณ เชียงของ จังหวัดเชียงราย. เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามผืนกรวด หรือ ผืนทราย ที่ปกคลุมด้วยตะไคร่สีเขียวๆ.

สุดท้ายขอบคุณครับที่เข้ามาชมกระทู้นี้ครับผม ฝากเจ้าตัวน้อยนี้ใว้ในอ้อมใจของน้าๆด้วยน่ะครับ เพราะเป็นปลาสกุลที่มีชนิดเดียวที่เข้ามาในไทย. สถารภาพในปัจจุบันของเขาค่อนข้างจะล่อแหลมทีเดียวครับผม.


คห.168: 29 มี.ค. 51, 20:04
เรียนน้า nantich. ครับ ข้อแตกต่างของปลาทั้ง 2 สกุล ดูจากภายนอกค่อนข้างชัดเจนน่ะครับ อลิเกเตอร์มองจากด้านบนยิ่งชัดเจน ความกว้างของปากบนที่ชัดเจนทั้งความกว้างและเป็นทรงมน กว่า ฟลอริดา ปลาในวงศ์นี้ถ้าคนเคยเลี้ยงบอกเป็นเสียงเดียวว่าเลี้ยงง่าย ส่วนตัวกล้าบอกเลยครับว่าถ้าถึงจุดนึงคนเลี้ยงส่วนใหญ่จะเบื่อ จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ เช่น เปลือง หรือ เลี้ยงไปเลี้ยงมาเบื่อ ดูไม่มีสเน่ห์ ค่าเลี้ยงดูสูง ฯลฯ ตรงนี่แหละครับคือจุดเปลี่ยนว่ามันจะอยู่ในบ่อ ในตู้ หรือ ตามแม่น้ำลำคลอง เลยรบกวนฝากให้น้าพิจารณาอีกครั้งครับ.

คห.169: 29 มี.ค. 51, 20:29
ตอนนี้ราคาผมไม่ทราบจริงๆครับน้า ฟลอริดาไม่ใช่ปลาใหญ่ถ้าเทียบกับอลิเกเตอร์ เพราะฉะนั้นการเติบโตแตกต่างกันแน่นอนครับถ้าเทียบกับระยะเวลาในการเลี้ยงที่เท่ากัน.

คห.170: 4 เม.ย. 51, 22:20
วันนี้ขอนำรายละเอียดเล็กๆมาบอกกล่
วันนี้ขอนำรายละเอียดเล็กๆมาบอกกล่าวเล่าสู้ให้น้าๆน้องๆที่ชอบปลาน้ำจืดไทยเหมือนกันครับ. จากที่เราทราบมาตลอดว่าสกุลปลากะทิงในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด คือ.

1) ปลากะทิง Mastacembelus armatus ( Lacepede,1800.)

2) ปลากะทิงไฟ Mastacembelus erythrotaenia Bleeker,1850.

3) ปลากะทิงลาย Mastacembelus favus Hora,1923.

คห.171: 4 เม.ย. 51, 22:32
ชนิดที่ 4 ครับ.

4) Mastacembelus alboguttatus. Boulenger , 1893. มีก
ชนิดที่ 4 ครับ.

4) Mastacembelus alboguttatus. Boulenger , 1893. มีการแพร่กระจายประชากรในฝั่งไทยด้วยครับ นอกจากนี้ปลาชนิดนี้เท่าที่มีคนบอกมาน่าสงสารมากๆครับ คือมีคนไปรับซื้อปลาชนิดนี้ถึงที่เพื่อนำมาขึ้นเหลา.

 
คห.172: 4 เม.ย. 51, 22:40
ชนิดที่ 5 ครับ.

5) Mastacembelus tinwini Britz,2007. ครับ ปลา
ชนิดที่ 5 ครับ.

5) Mastacembelus tinwini Britz,2007. ครับ ปลาชนิดนี้มีการแพร่กระจายมาในฝั่งไทยด้วย.

อาจจะสรุปได้ว่าปลากะทิงที่พบในไทยมีทั้งหมด 5 ชนิดครับ. สุดท้ายขอบคุณที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

คห.173: 30 เม.ย. 51, 21:10
ขออนุญาตแก้ไข รายละเอียดที่เคยโพสท
ขออนุญาตแก้ไข รายละเอียดที่เคยโพสท์เอาไว้ครับผม.

ก่อนนอื่นต้องขออนุญาตขอโทษน้าท่านนึงที่เป็นเจ้าของกระทู้และเจ้าของภาพ ที่นำภาพมาโพสท์ใช้โดยมิได้บอกกล่าว แต่มีความประสงค์ที่แก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตัวเองบอกรายชื่อปลาผิดพลาดไปครับ อ้างถึงปลาเล็ก (ตามภาพ.) ที่ผมบอกชื่อว่าเป็น Dangila sp. cf. cuvieri.  หรือ  Dangila leptocheilus. ด้วยภาพที่เห็นผมระบุชื่อนี้เพราะ.
1) จุดดำบริเวณโคนหาง.
2) แถบประสีดำยาวตามลำตัว.


 
คห.174: 30 เม.ย. 51, 21:25
ขอแก้ไขเป็น Labiobarbus spilopleura Smith , 1934. เราสามารถ
ขอแก้ไขเป็น Labiobarbus spilopleura Smith , 1934. เราสามารถเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลาซ่า ด้วยเหตุผลที่ว่า.
1) ปลาชนิดมีครีบหลังที่ยาวเกือบถึงขอดหางเหมือนกับปลาที่ผมบอกชื่อผิดไปครับ.
2) ถ้าสังเกตุจากภาพจริงจะเห็นวงรีที่อยู่เหนือครีบหู และมีจุดดำที่โคนหาง.(ตามภาพวาด)

ถ้าหากนำปลาชนิดนี้ไปเทียบกับปลาสร้อยนกเขา ข้อแตกต่างคือ ปลาสร้อยนกเขาจะตัวกว้างกว่า ในขณะที่ครีบหลังของปลาสร้อยนกเขาจะสั้นกว่ากว่าปลาซ่าด้วย (จำนวนก้านครีบหลังของปลาสร้อยนกเขาจะน้อยกว่าคือ = 15-18  ในขณะที่ปลาซ่า หรือ ปลาสร้อยลูกกล้วยชนิดนี้มีถึง 25-26.ครับผม )

คห.175: 30 เม.ย. 51, 21:28
สุดท้ายขอบคุณน้าๆที่เข้ามาชมกระทู้ผมครับ.

<<<34567
ทำการ login ก่อนส่งความเห็น
siamfishing.com © 2024