กระดาน
รีวิว
ตลาด
ประมูล
เปิดท้าย
เรือ
แหล่งตกปลา
ร้านค้า
ค้นหาข้อมูล
Login
สมัคร
26 พ.ย. 67
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP: SiamFishing : Thailand Fishing Community
<<
<
3
4
5
6
7
>
>>
กระดาน
คห. 347 อ่าน 272,333 โหวต 21
มีปลาชนิดไหนบ้างที่พิชิตได้ด้วยMINI FAT RAP
จิรชัย
(970
)
คห.151: 28 ต.ค. 50, 10:08
ขออนุญาต เรียนตามตรงนะครับ ว่าไม่แน่ใจจริงๆ ครับน้า คือไม่ใช่กลัวเสียฟอรม์นะครับ อันนี้ถ้าให้ชัวร์ต้องลองถาม คุณ PLATEEN คุณ นณณ์ คุณ หมี ใน SIAMENSIS เพราะน้าๆเหล่านี้คงดูได้ชัดเจนกว่าผมนะครับ เพราะผมก็อาศัยเทียบ ครีบหลัง ครีบก้น ครีบหาง ครีบหู ดูแผ่นกระโหลก กะจากสายตาย แล้วเทียบกับภาพที่พอๆมีอยู่ครับ ยิ่งพวก JUVENILE ของปลานี่ผมบื้อเลยครับ ไม่ทราบว่าตอนที่ซื้อมาทางคนขายบอกว่าเป็นปลาชนิดไหนครับผม รบกวนโพสท์มาบอกด้วยนะครับน้า หรือน้าลองหาข้อมูลทางMORPHO.ของปลาดุก กับ ปลากด แล้วลองเทียบข้อมูลว่ามันน่าจะเข้าข่ายตัวไหน ลองวัดดูครับผม อาจไม่ได้แต่น่าจะใกล้เคียงนะครับ ผมชอบนะครับที่เจอน้าๆที่ชอบเลี้ยงด้วย อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่ต้นนะครับน้า คือ ผมชอบปลาและอาศัยศึกษาเอง ไปถามคนนู้น คนนี้บ้าง ถนัดคงไม่ถนัดเท่าไหร่นะครับ ขอโทษนะครับที่หาคำตอบให้ไม่ได้ ขอบคุณครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.152: 28 ต.ค. 50, 10:24
ระวังเป็น เจ้านี่นะครับ มรกตดำ จำไม่ได้ว่าได้ข่าวจากที่ไหน แต่เป็นภาคใต้ที่ตกเจ้านี่ได้ คนตกเป็นเง็งครับ ปลาอินโดนีเซีย ว่ายข้ามทะเลมามั๊ง หรือ จะเข้าเขต SUNDAIC ล้อเล่นนะครับน้า
จิรชัย
(970
)
คห.153: 28 ต.ค. 50, 19:13
อย่างที่เรียนไว้นะครับต่อจาก RHAPHIODON ก็เป็น สกุล CYNODON จากข้อสังเกตในรายละเอียดเบื้องต้นที่พอจะจับความแตกต่างในสกุลทั้ง 3 ชนิดนี้ได้.
1) ครีบหลังนำหน้าครีบก้น = HYDROLYCUS.
2) ครีบก้นนำหน้าครีบหลัง = CYNODON , RHAPHIODON.
คราวนี้ จะตัดลงไปอีกว่า RHAPHIODON ทรงตัวยาว และไม่มีครีบท้อง. เพราะฉะนั้นก็คงเหลือปลาที่มีครีบก้นนำหน้าครีบหลัง แถมยังมีครีบท้องอีก คงพอจะเดาออกแล้วนะครับ คงเหลือ แต่ CYNODON ตัวเดียวเท่านั้น.
สกุล " CYNODON " ในปัจจุบันที่มีรายงานพบอยู่ 3 ชนิด หรือ สปีซีย์(SPECIES) จากที่รายงานก็มี.
1) CYNODON GIBBUS.
2) CYNODON SEPTENARIUS.
3) CYNODON MEIONACTIS.
รายละเอียด.
1) CYNODON GIBBUS พบใน ลุ่มนำอเมซอน และ ลุ่มนำโอริโนโค. ในประเทศ โบลิเวีย บราซิล เอกวาดอร์ กิอายน่า เปรู และ เวเนซูเอลล่า ความยาวประมาณ 28 ซม.
2) CYNODON MEIONACTIS พบในแม่นำใน.เฟรนช์กิอายน่า และ สุรินาเม่ ความยาวประมาณ 30 ซม.
3) CYNODON SEPTENARIUS พบใน แม่นำอเมซอน ทางตอนเหนือของแม่นำ โอริโนโค ลุ่มนำและแม่นำของ กิอายน่า บราซิล และ เวเนซูเอลล่า ความยาวประมาณ 31 ซม.
จะเห็นได้ว่า แหล่งที่พบแทบจะไม่สามารถแยกชนิดได้อย่างกระจ่าง ก็เลยต้องมาดูทางด้าน MORPHO. ของแต่ละชนิดซึ่งต้องขอบอกเลยนะครับ การดูลักษณะนี้ ทางที่ดี ตายแล้วจะดีกว่าครับผม. ลองมาดูข้อแตกต่างทางสรีระภายนอกดูนะครับ.
1) CYNODON GIBBUS ; ก้านครีบท้อง= 8 ,ฐานของครีบหางเป็นสีทึบ,ก้านครีบก้น=65-80(ที่ใช้65แทน68เพราะตัวอย่างที่นักวิชาการพบมีก้านครีบ65ก้านครับ) , เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา(ในเว็บเขาใช้ ORBITAL เดี๋ยวผมจะขออนุญาตในหมายเหตุส่วนตัวนะครับ)= 24.9-33.8 ส่วนของความยาวส่วนหัวทั้งหมด.
2) CYNODON MEIONACTIS ; ในรายละเอียดระบุไว้ว่า ก้านครีบก้น = 63-67 , ก้านครีบท้อง = 9 ,เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา = 29.8-34.4 ส่วนของความยาวหัวทั้งหมด
3) CYNODON SEPTENARIUS ; เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่พบในปี 2000 ครับ ส่วนรายละเอียดที่ผมหามาได้ครับ ก้านครีบท้อง =7 , ฐานของครีบหางดูสว่างกว่า ,เส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา = 30.1-34.4 ส่วนของความยาวหัวทั้งหมด.
จากรายละเอียดที่ผมหามายอมรับครับว่า "ยากมาก" ทั้งในส่วนของตัวอย่างที่เก็บ นั่นหมายถึง "ตายแล้ว" แถมยังสับสนในเรื่องข้อมูลในข้อมูลของเส้นผ่าศูนย์กลางดวงตา ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าเทียบจาก ความยาวหัวทั้งหมด ซึ่งความยาวที่กล่าวมานี้ ต้องไปอ้างอิงว่า และความยาวหัวทั้งหมด เป็นกี่ส่วนของความยาวตัวทั้งหมด ในข้อมูลรายละเอียดทั้ง 3 ชนิด มีแต่ของ CYNODON GIBUS ที่= 14.7% ของ ความยาวทั้งหมด ซึ่งวัดตั้งแต่ปลายสุดของจงอยปาก ถึงปลายสุดของครีบหาง ถ้านับจากก้านครีบคงจะง่ายขึ้นอีกนิด ส่วนคำว่า "ดวงตา" หรือ " ORBITAL"ในความหมายส่วนตัวที่น่าจะง่ายและน่าจะพอเข้าใจสุด ยอมรับตรงๆว่าไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรที่สื่อสารให้ง่ายขึ้นครับ ต้องขอโทษน้าๆบางท่านที่มีความรู้ทางสรีระ และผมมาทำความหมายเพี้ยนไป คือ"ORBITAL" ลองนึกภาพ มีวงกลมใหญ่ และมีวงกลมเล็กซ้อนอีก 2 วง โดยวงในสุดเป็นส่วนของตาดำ เรียกว่า "PUPIL" วงที่2 ถัดออกมาเรียกว่า "EYE" วงนอกสุดเรียกว่า" ORBIT" (ออร์-บิท)ในความหมายที่เป็นภาษาอังกฤษ แปลว่า " BONY EYE SOCKET" น่าจะใช่ "กระบอกเบ้าตา" เป็นไงครับน้าๆ ผมคิดว่าถ้าบางครั้งรายละเอียดบางอย่างที่นักวิชาการ เขานำมาเป็นองค์ประกอปในการพิจารณาแยกชนิดของปลา ผมว่าน่าสนใจไม่น้อยทีเดียวนะครับ ถ้าหากน้องๆจะลองนำไปใช้ก็จะดีมากเลยครับ อย่าให้อายฝรั่งมังค่าเขานะครับ ว่าอย่างน้อยผมจะตัดสินว่าเป็นปลาชนิดไหน มันน่าจะมีหลักการให้ดูดีหน่อยใช่มั๊ยครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะปิดรับข้อมูลอื่นๆ ทฤษฎีบางครั้งได้แค่ 40% ที่เหลือก็คือประสบการณ์ครับน้องๆ (อย่าเข้าใจผิดนะครับ เดี๋ยวหาว่าผมเรียกน้าๆ ว่าน้องๆ หมายถึง เด็กๆ ครับ) ก่อนจากฝากทัก แบงค์ กับ พี่เชียร ด้วยครับ แหม เสือตอปาปัวร์อย่างใหญ่ครับ ดูแล MBU ให้ใหญ่ๆเลยนะ พี่เอาใจช่วย น้องคนนี้ชอบปลามากครับ ตีเหยื่อปลอมใช้ได้ด้วย ส่วนอีกคนนึง เป็นเด็กเตรียมอุดมพัฒนาการ ไม่รู้ชื่อ แต่หัวเหม่งๆ เคยซื้อปลาผมไป 6ปีที่แล้วมานั่งคุยกับผมเมื่ออาทิตย์ที่แล้วซะเย็นเลย คนนี้เรื่องปลาใช้ได้เลยครับ ขอบคุณน้าๆทุกท่านที่เข้ามาชมครับผม ในส่วนของHYDROLYCUS ต้องขอโทษนะครับ ขอเป็นวันอังคารนะครับน้า. หลังจากนั้นก็คงจะเป็น " WOLVES FISH" และ "TIGER FISH" ตามมาครับน้า.
จิรชัย
(970
)
คห.154: 28 ต.ค. 50, 22:11
"ดูดตู้" ก็พอมีให้เห็นครับ แต่ " ดูดตังค์ " ทุกร้านเลยครับในสวน หรือ จะเป็นผู้หญิง อืมย์! ยอมให้ดูดเลยครับ เดี๋ยวครับอย่าคิดเลยเถิด ผมหมายถึง ยินยอมมอบให้ น้าอย่าแหย่เรื่องพวกนี้นะ ผมมีภาพอื้อเลย คือภาพปลาอื่นๆ เข้าเรื่องครับ จะเอาไปใช้งานอย่างไหนครับน้า
จิรชัย
(970
)
คห.155: 28 ต.ค. 50, 22:28
อ๋อ! คือผมแซวน้าเขาครับ ก็เลยนึกเรื่องที่น้าท่านนึงตกได้ทางใต้ ก็เลยแหย่ไปครับ ว่าข้ามทะเลมา หรือ อยู่ในโซน SUNDAICขอโทษครับน้า คือ ตัวนี้ก็พบได้ในมาเลย์ กับ อินโดนีเซียด้วยครับ ขอโทษครับน้าNaibae. วันหลังจะไม่แหย่แย้วครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.156: 28 ต.ค. 50, 22:48
น้าครับ ยังอยู่หรือเปล่า เหมือนกะว่าน้าคีย์เสร็จแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้มาดูคำตอบ อ้าว อ้าว......................................
จิรชัย
(970
)
คห.157: 29 ต.ค. 50, 00:42
ตัวนี้น่าจะใช้ได้นะครับสายพันธุ์ใหม่เชียวนะ ใหญ่สุดๆ เกือบ 40 ม.ม. พบใน อาร์เจนติน่า ปลานอกครับขอบอก " HISONOTUS HUNGY "
จิรชัย
(970
)
คห.158: 29 ต.ค. 50, 19:18
ถ้าให้เดาคงหนีไม่พ้นหลักพันละครับ ตอนนี้นักTAXO.รับรองปลาสายพันธุ์ใหม่ๆเรื่อยๆ ยังไงอย่าเพิ่งรีบร้อนครับ สงสัยว่าน้าจะรีบไปไหนครับ เห็นโพสท์มา ประเภท ตรง ฉับไว ตูไปแล้ว? อะไรงะน้า เง็งมั่กๆ
จิรชัย
(970
)
คห.159: 30 ต.ค. 50, 22:50
" SABRE TOOTHED TIGER FISHES " หรือ " HYDROLYCUS SPECIES ". ในปัจจุบันมีรายงานว่าพบอยู่ 4 ชนิด คือ.
1) HYDROLYCUS SCOMBEROIDES
2) HYDROLYCUS WALLACEI. ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาที่ได้หยิบยกปลาชนิดนี้ขึ้นมากล่าวถึง หลังจากที่ท่านได้เดินทางไปสำรวจใน RIO NEGRO. ช่วงคริสตศตวรรษที่ 19.
3) HYDROLYCUS TATAUAIA. โดยที่สังเกตจากสีของหางที่มีเฉดสีแดง และ สีส้ม( TATA = ไฟ , UAI = หาง )
4) HYDROLYCUS ARMATUS หรือ PAYARA.
ลักษณะเด่นสุดที่ทำให้คนกล่าวขวัญถึง คงจะหนีไม่พ้น เขี้ยวใหญ่( BIG FANGS ) ปากที่เทลาดเอียงลง ( OBLIQUE MOUTH ) รูปแบบของฟันเขี้ยว ( CANINE เค-นาย ) ที่เรียวยาว
ในอดีตนักเชี่ยวชาญปลาหลายๆท่านมีการถกเถียง มีความพยายามที่จะจัดสกุล(GENUS) หรือมีการกำหนดว่าชื่อปลาชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกัน(SYNONYM) . เช่น ในช่วงแรกๆมีการโต้เถียงสกุลว่าจะเป็น HYDROCYNUS คือถ้าเป็นสกุลนี้จำเป็นต้องรวมไทเกอร์ฟิชเข้ามาด้วย กับ HYDROCYON หรือ คศ.1841 นักเชี่ยวชาญเรื่องปลาท่าน SCHOMBURGK ค้นพบ HYDROCYON ARMATUS. แตต่อมาในปี คศ.1912 ท่าน CARL H. EIGENMANN นักเชี่ยงชาญเรื่องปลาชาวอเมริกัน รวม HYDROCYON ARMATUS เป็นชนิดเดียวกันกับ HYDROCYON SCOMBEROIDES.หลังจากนั้นมีการทบทวนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมาสรุปที่สกุล HYDROLYCUS.
ในสายตาของชาวต่างชาติบางคนมองปลาชนิดนี้เป็นปลาตะกละ หน้าตาน่ากลัว กินปลาด้วยกันเป็นอาหาร หรือ แม้กระทั่งมุมมองของนักเลี้ยงปลายังมองว่าการจะเลี้ยงให้ใหญ่ๆเลยเป็นการยากมาก คือปลาชนิดนี้โตเร็วในช่วงแรก และค่อยๆโต จำเป็นต้องดูแลมาก (อันนี้คือความเห็นชาวต่างชาติที่ผมแปลมานะครับ ไม่ใช่ผม) อย่างในรัฐ TEXAS มีการสั่งห้ามเลี้ยงปลาชนิดนี้ เพราะทางรัฐเกรงว่าถ้าหลุดลงไปในแหล่งนำธรรมชาติมันจะเพิ่มจำนวนประชากร และ ไปลดจำนวนปลาพื้นเมืองลง ( แหมพี่ ปิรันย่า ยังเคยเจอ ไหนจะเป็นไรเงียวบ้างละ ที่ประกาศห้ามจนเป็นข่าวครึกโครมทั่วโลกมาแล้ว แต่ก็ดีกว่าบ้านเมืองผม กลับไม่ทำอะไรสักเท่าไหร่เลย จับได้แปลกๆก็ไปขอหวยซะงั้น เฮ้อ!).
จิรชัย
(970
)
คห.160: 30 ต.ค. 50, 23:17
"ปลาที่มีครีบหลังนำหน้าครีบก้น" นี่ก็เป็นอีกจุดที่นักเชี่ยวชาญเรื่องปลาให้เราสังเกต พอมาคราวนี้ก็เหมือนกันครับ ทางนักวิชาการเหล่านี่ก็มีกุญแจไขความลับตรงนี้ด้วยเหมือนกันครับ จากที่ผมค้นหาตามเว็บต่างๆ คือข้อมูลที่ได้มาน้อยมากครับผม ถ้าหากน้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนโพสท์มาบอกรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยนะครับผม นอกจากนี้ปัญหาเรื่องภาพที่ลงในเรื่องนี้ ไม่ได้หมายความว่าถูกต้องนะครับ เพราะ ภาพที่โพสท์ลงในเว็บต่างๆ จะมีเรื่องสี แสง องค์ประกอปอีกหลายอย่างที่ผมไม่กล้าฟันธงในแต่ละภาพ แต่ผมจะลองดูนะครับ จะพยายามให้ใกล้เคียง แต่ถ้าไม่ใกล้คงจะต้องรบกวนอ่านรายละเอียด( ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดสุดๆนะครับ ขนาดFISHBASE แทบไม่บอกอะไรเลย) ที่ผมแปลมาเป็นองค์ประกอปนะครับ เริ่มจากชนิดนี้เลยครับผม.
HYDROLYCUS SCOMBEROIDES.
ยาวประมาณ 60 ซม. พบใน RIO AMAZONAS , สาขาย่อยที่อยู่เหนือปากแม่นำ RIO TAPAJOS. นักวิชาการนำตัวอย่างขนาด 10 ซม.มาตรวจสอบ พบว่ามีรอยยักบริเวณขอบวงเกล็ด , ฐานครีบท้องที่อยู่เหนือสูงขึ้นไปอย่างเห็นได้ชัด , จุดดำขนาดเล็กที่พบในสุดของก้านครีบหู , สีที่หัว และลำตัวจะมีสีเงิน ในส่วนที่เป็นสันหลังจะมีสีทึบดำ บริเวณครีบก้นมากกว่าครึ่งก้านครีบที่มีสีดำ ในครีบหางจะมีสีดำตั้งแต่ฐานก้านครีบ ถึง กึ่งกลางก้านครีบ และจะลดความเข้มข้นของสีไปจนถึงปลายก้านครีบหาง นอกจากนี้ ครีบไขมันที่ดูใสจะมีจุดดำที่เห็นชัด แต่ในความคิดส่วนตัว ผมว่าจุดที่น่าจะสังเกตง่ายว่าเป็น H.SCOMBEROIDES คือ จุดดำ ผมใช้ว่า เป็นจุดดำ ที่บริเวณหลังกระดูกแก้มครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.161: 30 ต.ค. 50, 23:40
ชนิดที่ 2 จากที่อ่านหลายรอบผมสังเกตเห็นจุดนึงคือนักวิชาการจะพยายามเทียบเขากับ H.SCOMBEROIDES มากที่สุดครับผม ส่นจะเป็นอย่างไรน้าๆลองอ่านดูครับผม.
HYDROLYCUS WALLACEI.
ยาวประมาณ 33.5 ซม.(อันนี้เป็นข้อมูลจากFISHBASE.) พบใน RIO NEGRO และ ส่วนบนของลุ่มนำORINOCO.จากตัวอย่างที่นักวิชาการกล่าวอ้างถึงระบุว่า ไม่พบรอยยักบนขอบวงเกล็ด ฐานครีบท้องอยู่ระดับล่างขนานกับตัวปลา ไม่พบจุดดำบริเวณฐานก้านครีบหู ไม่มีเกล็ดบนครีบก้น ครีบก้านก้น 36-43 ความยาวสุดของเขี้ยวประมาณ 11.6-17.3%ของความยาวหัวทั้งหมด สีของลำตัวกับครีบ คือหลืบไปทางสีดำ แต่มีบริเวณส่วนกระดูกแก้ม กับกระดูกกระบอกตาที่มีสีเงินให้เห็นอยู่บ้างครับ.แต่จุดสังเกตที่ผมอ่านเจอและคิดว่าน่าจะพอแยกออกได้อีกนิดคือ แต้มดำที่มีรูปทรงยาวบรเวณขอกกระดูกแก้มครับผม
จิรชัย
(970
)
คห.162: 31 ต.ค. 50, 00:05
ชนิดที่3 ก็ถูกจับคู่กับ HYDROLYCUS ARMATUS. คงจะพอทราบแล้วนะครับ.
HYDROLYCUS TATAUAIA.
ยาวประมาณ 45.5 ซม.(อ้างอิงจากFISHBASE) พบใน RIO AMAZONAS , RIO CAPIM , RIO TOCANTINS , ทางตอนบนของ ORINOCO , แม่นำ RUPUNUNI และ แม่นำ ESSEQUIBO ในกิอายน่า( GUYANA. ) จำนวนเกล็ดเส้นข้างลำตัว = 102-119 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวกับจุดเริ่มต้นของครีบหลัง= 20-29 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวกับจุดเริ่มต้นครีบท้อง=14-22 , เกล็ดรอบขอดหาง=25-33 ,สีดำบริเวณครีบไขมันไม่ชัดเจนคือดูไม่เต็ม ส่วนปลายของทั้งครีบก้น และ ครีบหางที่มีสีดำดูกระจายไม่เป็นทรงแถบ สีลำตัวเป็นสีเงินสว่าง หลังหัวกับสันหลังมีสีเข้มกว่า มีแต้มดำที่เป็นทรงยาวหลังกระดูกแก้ม บริเวณฐานครีบก้นและครีบหางจะเป็นสีโทนแดง หรือสีส้ม ในแต่ละตัวอย่างเฉดสีมีอ่อนเข้มต่างกัน.
จิรชัย
(970
)
คห.163: 31 ต.ค. 50, 00:55
ชนิดที่ 4 ยักษ์ใหญ่ของเราครับ
HYDROLYCUS ARMATUS หรือ PAYARA.
ยาวประมาณ 70 ซม.ขึ้นไป พบใน RIO ORINOCO. แม่นำESSEQUIBO ในกิอายน่า ทางตะวันออก และตอนกลางของแม่นำAMAZON. มีเกล็ดบริเวณก้านครีบก้น ก้านครีบก้น=27-37 ,ความยาวเขี้ยว =18.2-29.0%ของความยาวหัวทั้งหมด สีของลำตัวเป็นสีเงิน หรือ สีเหลืองแทน เกล็ดเส้นข้างลำตัว=121-154 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวถึงจุดเริ่มต้นของครีบหลัง = 30-42 , แถวเกล็ดระหว่างเส้นข้างลำตัวถึงจุดเริ่มต้นของครีบก้น= 24-38 , จำนวนเกล็ดรอบขอดหาง = 32-41 , จุดดำบริเวณครีบไขมันเด่นชัด หัวและลำตัวเป็นสีเงิน ค่อยๆเข้มขึ้นบริเวณสันหลัง ตอนต้นของครีบก้น และ ครีบหางมีสีเหลือง ส่วนท้ายของก้านครีบหางเป็นสีดำและปลายสุดขอบหางเป็นสีขาว ส่วนปลายของก้านครีบหลังมีสีดำ.
สุดท้ายแล้วครับผม รายละเอียดที่ผมลองค้นมาคงพอจะมีประโยชน์อยู่บ้างนะครับ ขอบคุณครับที่น้าๆเข้ามาชมกระทู้ผมครับ ก่อนจากนักวิชาการเรื่องปลาชนิดนี้ท่านแนะนำว่าปลาสกุลนี้สามารถกระโดดได้ โดยท่านให้เหตุผลว่าครีบหูของเค้าเหมือนครีบของกลุ่มปลาขวาน(HATCHET FISH)ระวังนะครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.164: 1 พ.ย. 50, 18:53
ขอบคุณมากครับน้า ยินดีที่ได้มีโอกาสคุยด้วยครับ คือ ยอมรับตรงๆว่าปลาไซส์ JUVENILE ไม่แม่นๆจริงครับ มีนักวิชาการ2ท่านได้ให้คำแนะนำผมว่า "ไซส์ลูกปลาดูยากนะให้ระวังด้วย" ผมเลยไม่กล้าเลยครับน้ายิ่งไม่ใช่ลูกหม้อของกรมฯ เหมือนคนอื่นด้วย แค่ใจรักเรื่องปลา คงไม่พอแน่ๆครับ น้าPOP-POP เผอิญน้าเขาทั้งตกด้วย เลี้ยงด้วย บังเอิญน้าเขา เลี้ยงตู้TANGANYIKA CICHLID.(ปลาหมอทังกันยิกา) อยู่ได้มีโอกาสคุยกับน้าเขา(หลังจากที่โพสท์มาถามผม ก็ได้โทรคุยกัน) ก็พอๆแนะนำกันไปครับ ต้องขอขอบคุณน้าที่แนะนำครับผม ส่วนเรื่องมรกตดำใช่ครับ ไทย มาเลย์ อินโด ด้วยครับ เท่าที่ถามๆมานะครับ แหะๆๆ ถ้าอย่างนั้นทีแรกจะไปโพสท์ลงกระทู้อื่น ฝากถึงน้าPOP-POPตรงนี้เลยแล้วกันนะครับ ว่านักวิทยาศาสตร์ได้มีการนำปลาหมอทังกันยิกา(บ้านเราน่าจะเรียกว่า "แซงแซว" นะครับถ้าจำไม่ผิด)2 สายพันธุ์คือ NEOLAMPROLOGUS BRICHARDI กับ N. PULCHER มาทำการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการในระดับโมเลกุลของทั้ง2 ชนิดนี้ หลังจากวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ให้เลือกเป็นชนิดเดียวกันโดยใช้ชื่อ NEOLAMPROLOGUS PULCHER.ครับน้า ขอบคุณที่เข้ามาชมครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.165: 2 พ.ย. 50, 19:41
ประมาณ 2 ปีกว่าๆที่ได้ถูกตีพิมพ์เรื่องราวให้คนรู้จักกัน(เออ! ว่าแต่ว่ามันหลุดรอดตาเราไปได้ไงเนี่ย?) ก็ขอถือโอกาสนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่แล้วกันนะครับ และปลาชนิดนี้เคยมีร้านขายปลาสวยงามนำมาขายแล้ว ตอนนั้นกำลังจะหาน้องให้พี่อโรดำของผมเป็นเพื่อนแก้เซ็งนิดหน่อย เผอิญสนนราคาสูงไปนิดครับ ก็เลยต้องปล่อยวาง ลองดูรายละเอียดนะครับ ไม่ทราบว่าผมลอกมาผลจะเป็นเช่นไรครับ.
OSTEOGLOSSUM CF. FERREIRAI. หรือ BLUE AROWANA.
มีรายงานว่าปลาชนิดนี้ถูกจับได้ทางแถบชายแดนประเทศ โคลอมเบีย-เวเนซูเอลล่า และจากรายงานในขณะนั้นก็เป็นที่เดียวกับที่จับปลาหมอ อูรู( UARU ) ชนิด FERNANDEZYEPEZI. ครับ.
ขนาด อาจใหญ่ได้ถึง 4 ฟุต หรือประมาณ 120 ซม. แต่ไซส์ประมาณ 90 ซม.เขาก็เริ่มจับคู่กันแล้วครับ จากรายงานที่ผู้เขียนเคยเจอ ท่านบอกว่า จริงๆอโรวาน่า ถูกนำมาประกอบอาหารอยู่แล้วพบได้บนแผงในตลาด MANAUS (มาเนาว์) ในบราซิล.เป็นเรื่องปกติครับ.
นิสัยการกิน อย่างที่น้าๆคงทราบ เป็นปลาที่หากินผิวนำ มีการพบว่าปลาชนิดนี้เป็น OMNIVORES หรือ กินทั้งเนื้อและพืช ในความหมายของผู้เขียน ท่านคงหมายถึง อาหารเม็ดครับ.
เรื่องของนำ คงจะเถียงไม่ได้ที่ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในสภาพนำที่ค่อนข้างจะมีสภาพเป็นกรดหน่อย แต่ไม่ใช่เรื่องยากในการที่นำมาเลี้ยงนำอย่างบ้านเรานะครับ.
ตู้ที่จะนำมาเลี้ยง ผู้เขียนท่านได้แนะนำว่า ควรจะเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่ทั้งยาว และกว้าง ก็คงจะเป็นเพราะว่า ปลาชนิดนี้ เป็นปลาที่ต้องการพื้นที่ในการว่าย และตัวเขาก็มีขนาดใหญ่ จะขอยกตัวอย่างขนาดตู้ที่เล็กสุดน่าจะประมาณ 6ft x 2ft x 2ft.(แค่เซอร์เวย์ราคาไซส์นี้ในบ้านเราก็จุกแล้วครับ แหะๆๆ) ตู้ควรมีฝาปิดด้วยครับ กระโดดสูงไม่เบานะเนี่ย ส่วนปลาที่จะนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนกับเขาได้ คงจะต้องดูที่นิสัยที่ไม่ก้าวร้าว(ขอคุย ! ที่บ้านเลี้ยงกับเซวารุ่มครับ) และจะต้องมีขนาดที่ไม่เล็กเกินไปคือ ผู้เขียนท่านคงต้องการบอกว่า ให้ไซส์ใหญ่กว่าปากครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.166: 2 พ.ย. 50, 20:54
มีข้อความจากผู้เขียน จากรายงานนี้ทางผู้เขียนได้กล่าวว่า ในชนิดนี้มี 2 ชนิด ชนิดแรก อะโรวาน่าดำ( OSTEOGLOSSUM FERREIRAI ) พบใน RIO NEGRO และสาขาในบราซิล ชนิดที่2 อะโรวาน่าเงิน ( OSTEOGLOSSUM BICIRRHOSUM ) พบได้ทั่วไป.
อะโรวาน่าดำ ไม่ค่อยได้พบเห็นในตลาดค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดใหญ่ ส่วนอะโรวาน่าเงิน ได้มีรายงานว่าพบใน บราซิล เฟรนช์กิอายน่า เปรู.
เป็นไปได้ที่พ่อค้าพยายามทำให้เชื่อว่า ปลาชนิดนี้ เป็นชนิดย่อยของ อะโวาน่าเงิน ออกไปอีก ( CF. มีความหมายว่า CONFERRE. เป็นภาษาละติน หมายถึง " เปรียบเทียบ หรือ เทียบเคียง" ) แต่จากภาพที่ปรากฏสีฟ้า ขอบชมพู ของครีบก้น หรือ สีของครีบหลัง จะเอนเอียงไปทาง อะโรวาน่าดำมากกว่า.
ทางรายงานจากพิพิธภัณฑ์ ระบุว่าปลาอะโวาน่า ส่วนใหญ่พบในบราซิล และไม่เคยมีรายงานว่า ปลาชนิดนี้ ถูกพบบริเวณแหล่งนำใน โคลอมเบีย หรือ เวเนซูเอลล่า และถ้าระบุว่าเป็นอะโรวาน่าดำ เป็นไปได้ว่ามีเหตุการณ์ใหม่ในชนิดนี้ได้เกิดขึ้นในบริเวณนี้.
มีความคิดเห็นจากพ่อค้าที่เชี่ยวชาญได้พูดคุยกับผู้เขียนว่า เจ้าBLUE AROWANA เป็นรูปแบบย่อยตัวเต็มวัยของ อะโรวาน่าดำ แต่ถ้านำมาเทียบจากลักษณะภายนอก จะเห็นได้ว่าแตกต่างกันจริง. เป็นไปได้ที่ว่า หรือจะมีการแข่งขันกันจริงในชนิดนี้.(ส่วนตัวที่ผมเลี้ยงเจ้านี่ตั้งแต่เล็ก ถ้าจำไม่ผิดสีครีบก้นของผมจะเป็นสีดำส่วนขอบผมจำไม่ได้แน่แต่น่าจะเป็นสีแสดๆนะครับ)
แต่ก็มีหลายความเห็นที่ว่า เป็นฝีมือของผู้ส่งออกที่พยายามสร้างภาพให้น่าสนใจ หรือ เพื่อยกระดับราคาให้สูงขึ้น แต่ที่แน่ๆในปีนั้น เจ้าBLUE AROWANA ที่อังกฤษสนนราคาอยู่ที่ ประมาณ GBP 195.00.ขอบคุณครับที่เข้ามาชมครับผม. ก่อนจากมีข้อความที่อยากให้ลองแปลดูนะครับผม.
" DISAPPEARANCE OF ONE FISH SPECIES MAY LEAD TO A DECLINE IN NUMBERS OF ANOTHER SPECIES."
จิรชัย
(970
)
คห.167: 2 พ.ย. 50, 21:16
สวัสดีครับน้าพรานระพิน ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นเพราะเมื่อเกือบ20กว่าปีที่แล้วตอนนั้นชอบตกปลาเหมือนกันครับ ก็ผันตัวเองมาเลี้ยงปลา และทำปลาเหยื่อส่งขาย ตอนนั้นไปเช่าบ่อเลี้ยงเหมือนกันครับจับยัดโน่นยัดนี่ลงบ่อไปเรื่อยครับ ผมไปปล่อยปลานิลลงคลองถ้านับก่อนจะเลิกทำปลาเหยื่อผมคิดว่าไม่น้อยครับ ต้องบอกก่อนนะครับว่าผมไม่ได้ขายปลาสวยงามครับผม ผมทำงานบริษัท.มีช่วงหลังๆที่มีเวลาอ่านหรือหาข้อมูลปลาไปเรื่อย คือ ผมบอกตัวเองเสมอๆว่าผมชอบปลาแต่ไม่ได้เรียนทางด้านนี้ ยังมีปลาอีกหลายๆชนิดที่ผมไม่ทราบจริงๆครับ ตรงนี้แหละครับผมจึงคิดได้ว่า จริงๆแล้วผมไม่ได้เก่งกว่าน้าๆเลยครับ เพียงแค่ อ่านมากกว่าน้าๆอีกนิดหน่อยเท่านั้นจริงๆครับผม .
จิรชัย
(970
)
คห.168: 4 พ.ย. 50, 08:35
เริ่มต้นกับเช้าวันใหม่ที่สดใสกับปลาสวยๆครับผม.
POLYNEMUSE PARADISEUS.
บ้านเราเรียกทั่วๆไป "หนวดพราหมณ์ " .ชาวต่างชาติเรียก " THE PARADISE THREADFIN "
( หมายเหตุ ; paradise = สวรรค์ , THREAD = เส้นด้าย , FIN = ครีบ. )
SIZE(ขนาด) = 25ซม. หรือ 10 นิ้ว
ORIGIN.(แหล่งกำเนิด) = ปากแม่นำในศรีลังกา , อินเดีย , ปากีสถาน ,ส่วนตัวที่อยู่ในภาพท่านผู้เขียนบอกเลยว่า ไทยแลนด์.
WATER(สภาพนำ) = ชนิดนี้จัดว่าเป็น "ปลาสองนำ" หรือ " EURYHALINE FISH " และตัวเค้าเองก็เข้ามาในนำจืดด้วย.
AQUARIUM( ตู้ ) = เป็นพื้นที่โล่ง , กว้าง และ ลึก (เนื่องจากปลาชนิดนี้มีเส้นอวัยวะที่ใช้ในการรับรู้การเคลื่อนไหว หรือ สิ่งรอบตัวนั่นเอง) , ระบบกรองที่ดีมากๆ(ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อ่อนไหวต่อสภาพนำที่เปลี่ยนไปค่อนข้างสูง) โดยรวมปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับ "มืออาชีพ" หรือ "ผู้เชี่ยวชาญ " หรือ " EXPERT" นั่นเอง ,นอกจากนี้พื้นทรายจะดีมากครับ ตู้เริ่มต้นที่มากกว่า 48 นิ้วครับดีที่สุด.
DIET(อาหาร) = ในธรรมชาติกินลูกปลา ลูกกุ้ง ขนาดเล็ก แต่สำหรับปลาที่นำมาเลี้ยง เริ่มต้นด้วยกุ้งนำเค็มขนาดเล็ก อย่างที่บ้านเราเรียกว่า "เคย" แต่ปลาชนิดนี้ที่ผู้เขียนได้ให้ข้อมูลสมทบเพิ่มคือ จะระริกระรี้ในเวลาให้อาหารครับผม.
รายละเอียดเพิ่มเติม = อยู่ในวงศ์ POLYNEMIDAE ปรากฏที่อยู่ในชนิดนี้มีทั้งหมดในตอนนี้ 33 ชนิด ใน 33 ชนิดนี้อยู่ในสกุลทั้งสิ้น 7 สกุลที่อยู่ใน ทะเล นำกร่อย. ผู้เขียนท่านบอกว่าเป็นการยากสำหรับท่านที่มาระบุชนิดที่ถูกต้องจริง แต่พ่อค้าจะเป็นในทางตรงข้ามครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.169: 5 พ.ย. 50, 19:55
เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับน้าTANเรื่องปลาสองนำ ได้มีโอกาสฟังประสบการณ์ที่ดีๆเกี่ยวกับการตกปลา ต้องขอขอบคุณมากเลยครับผม. เมื่อวานที่ผมได้คุยกับน้าก็จะมีเรื่องของ"ปลาสองนำ" ครับพอดีได้อ่านบทความที่ไม่เคยทราบมาก่อน ก็เลยอยากจะนำมาเล่าให้ฟังสนุกๆครับ เริ่มจากคำศัพท์ที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าว เช่น คำว่า "STENO" = แคบ ส่วน "EURY"= กว้าง หากทั้ง2คำนี้ถ้านำมาใช้เกี่ยวกับความเค็มจะใช้คำว่า "STENOHALINE-EURYHALINE" อย่างบทความของท่านอาจารย์ จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ หัวข้อเรื่องนึงที่ท่านได้กล่าวคือ "ชนิดและสภาพแวดล้อม" ท่านได้จำแนกให้เห็นชัดอยู่3จุดคือ.
A) ปลาที่ทนต่อความเค็มช่วงแคบ (STENOHALINE FISH)= ปลาพวกนี้จะตายในนำที่มีความเค็มต่างไปจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของเค้า.
B) ปลาที่อยู่ได้ทั้งสองนำ (DIADROMOUS FISH) ท่านอาจารย์ได้จำแนกออกเป็น 2 อย่างดังนี้ครับ.
B.1) ANADROMUS FISH = ปลาจากทะเลไปวางไข่ในนำจืด เช่น แซลมอน ฯลฯ
B.2) CATADROMUS = ปลาจากนำจืดออกไปวางไข่ในทะเล ฯลฯ
C) ปลาที่ทนต่อความเค็มในช่วงกว้าง (EURYHALINE FISH) = ปลาเหล่านี้สามารถอาศัยและอยู่รอดได้ในนำที่มีความเค็มที่แตกต่างจากถิ่นที่อยู่ของมันเล็กน้อย เช่นใน นำจืด นำกร่อย นำเค็ม แต่ปลาเหล่านี้ต้องการระยะเวลาการปรับตัวในนำที่มีความเค็มแตกต่างกันมากครับผม.
จากที่ผมได้อ่านของน้าท่านนึงในเว็บบล็อคแกงค์ น้าท่านนี้ให้ข้อมูลที่ผมจะขออนุญาตย่ออย่างง่ายๆนะครับ คือ ท่านได้กล่าวว่า "เราสามารถแบ่งแยกปลาโดยอาศัยการทนต่อความเค็มได้" อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นครับ นอกจากนี้ท่านยังให้หลักของลักษณะร่วมที่เห็นได้ชัดในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังคือ ระดับปริมาณเกลือในเลือด หรือปลาที่ต้องเข้ามาอยู่ในที่ๆมีความเค็มตำ เช่น ตามชายหาด หรือ ปากแม่นำ ปลาจะอาศัยกลไกที่เกี่ยวข้องกับการชดเชยนำที่สูญเสียไปโดยวิธี"ออสโมซิส"จากนำทะเล และขับเกลือส่วนเกินออกไปยังมหาสมุทรที่ที่มีความเค็มมากขึ้น และเพื่ออาศัยในนำจืด ปลาจะต้องชดเชยเกลือที่สูญเสียไปด้วยวิธีการ "แพร่" จากนำจืด (หลักในการแพร่มีอยู่ 5 วิธีที่ท่านอาจารย์ได้นำเสนอไว้ครับ) และขับนำส่วนเกินที่ได้จากสิ่งแวดล้อมออกไปทางอวัยวะขับถ่ายอย่างเช่นออกมาในรูปของยูรีน เป็นต้น เพราะฉะนั้นตับจึงต้องทำงานสลับสับเปลี่ยนเพื่อให้อยู่รอด คือต้องขอโทษจริงๆนะครับน้าหากยิ่งอ่านแล้วเกิดข้อสงสัยมากมาย คือ ผมพยายามย่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นหน่อยนึง ถ้าอย่างนั้นผมจะลองยกตัวอย่างปลาสวยงามบางชนิดที่น้าๆอาจจะรู้จักแล้วผมจะโพสท์ภาพให้ดูนะครับว่าหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างที่ผมทราบมาอย่างปลาในตระกูล สอดเซลฟิน(SAILFIN MOLLY) ปลาชนิดนี้ถิ่นกำเนิดเป็นปลาที่พบในนำกร่อย และตามชายฝั่งทะเลนะครับ ไม่ว่าจะในฟลอริดา แคโรไลน่า ฯลฯ เห็นบางบ้านอยู่ในอ่างบัวอย่างนี้เป็นต้นนะครับ ผมเคยมีโอกาสได้พบอาจารย์ บรรจง ท่านเป็นคนที่เพาะอาร์ทีเมียร์ขายในบ้านเรา ครั้งแรกผมเข้าไปหาท่านซึ่งปกติท่านจะไม่ค่อยว่าง ขณะที่ผมคุยกับท่านผมเห็นตู้ปลา มีหอยเล็บมือเสือ และท่านก็เลี้ยงปลาสอดไว้ด้วยครับ ล่าสุดที่ท่านคุยกับผม ก็เรื่องที่ท่านทำปูทะเลมาเลี้ยงในนำจืด และ ท่านก็แนะนำวิธีการเพาะปลาคาร์ดินัลกับผม หรือ ปลาโกลด์ฟิงเกอร์ (MONODACTYLUS SEBAE) คือปลาตัวนี้เป็นปลาชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของแอฟริกา ระยะที่วัดจากครีบหลังถึงครีบท้องอย่างเราเลี้ยงมี 7-8 นิ้วนะครับ ผมเคยอ่านว่ามีฝรั่งในต่างประเทศท่านนึงเลี้ยงได้ถึงประมาณ14 นิ้วถ้าจำไม่ผิดนะครับ ฝรั่งท่านนี้แนะนำว่าเลี้ยงให้โตเลยนะครับนำจืดช่วงนึงไปนำทะเลต่อเลย อันนี้เราก็ต้องฟังหูไว้หูด้วยนะครับ แต่อย่างไรถิ่นกำเนิดของเขาเป็นปลาทะเลครับ ส่วนอีกตัวอย่างสุดท้ายนะครับ อันนี้ดูจากเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค คือนักวิทยาศาสตร์ท่านตามล่าปลาฉลามวัวในแม่นำคงคาที่กัดคน แต่ท่านต้องสะดุ้งที่เขาเจอคือลูกฉลาม ที่นักวิทยาศาสตร์กลัวนักกลัวหนาคือ วิวัฒนาการว่ามันสามารถสืบพันธุ์ได้ในนำจืดได้เหรอเนี่ย? ขอโทษนะครับพล่ามซะยาวเชียว เพราะฉะนั้นที่น้าTANว่าไปตกปลาและพบปลาทะเลในนำจืดก็ต้องเป็นเรื่องจริงแน่นอนครับผม แต่จะมีหลักวิทยาศาสตร์อะไรที่ทำให้เราเข้าใจในสิ่งนี้มากขึ้นอันนี้สิครับที่สำคัญ ขอบคุณครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.170: 5 พ.ย. 50, 20:17
สวัสดีครับน้าPOP-POP ตัวนี้เป็น "อูรู"ครับ แต่เป็นชนิด FERNANDEZYEPEZI ครับตัวนี้ที่ถูกอ้างอิงว่าพบในแหล่งเดียวกับ BLUE AROWANA.ครับผม ตอนนี้ที่ตามข่าวอยู่มีปลาชนิดใหม่ๆเริ่มทยอยมาให้เราชมอย่างเป็นทางการขึ้น ส่วนที่กำลังสนใจเป็นพิเศษเลยคือ มีนักวิทยาศาสตร์ท่านนำปลาPEACOCK BASS ที่ท่านเชื่อว่าเป็นการผสมกันในธรรมชาติระหว่างตัว CICHLA MONOCULUS. กับ CICHLA TEMENSIS.เมื่อเดือนหรือ2เดือนที่แล้วมีน้าท่านนึงที่โพสท์ภาพที่ตกTEMENSIS กับ MONOCULUSได้ อยากฝากบอกเจ้าของบ่อด้วยนะครับว่าถ้ามันHYBRID กันได้จริงๆเก็บไว้หน่อยนะครับน้า แหะๆๆ คือ ผมมีข่าวในมือแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านเท่าไหร่ กำลังหาปลาดุกอุยมาเลี้ยงอยู่เนียะ หายากมาก คนนู้นคนนี้ก็บอกมี รออยู่ครับ อยากเลี้ยงแค่ไซส์เล็กๆสัก2-3ตัวเองครับ. สบายดีนะครับน้า ปลาที่เลี้ยงเป็นยังไงบ้างเอ่ย ! ขอบคุณนะครับที่ยังไม่ลืมกระผม. ลองดูปลาที่เขาว่าเป็นลูกผสมนะครับน้า.
จิรชัย
(970
)
คห.171: 6 พ.ย. 50, 17:58
CHANNA BARCA. หรือ BARCA SNAKEHEAD.
ถิ่นกำเนิด = จากที่ผู้เขียนท่านรายงานว่า พบเฉพาะที่ อย่างใน สุ่มแม่นำ BRAHMAPUTRA. ทางตอนเหนือของแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดียครับ.
ขนาด = มีคนเคยกล่าวเค้าสามารถยาวได้ถึง 90 ซม.
ขนาดตู้และการดูแล = ตู้ความยาวขั้นตำประมาณ 72 นิ้ว ถ้าใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มขนาด โดยปกติปลาตระกูลนี้ได้รับการดูแลอยู่ระดับนึงแล้ว แต่ C.BARCA เป็นอะไรที่พิเศษกว่านั้น อันเนื่องมาจากสภาพนำที่เป็นแหล่งกำเนิดซึ่งไม่เหมือนจากจุดอื่นๆที่พบปลาชนิอื่นๆนเอง.
อาหาร = ผู้เขียนท่านแนะนำให้เป็นอาหารแช่แข็ง.
หมายเหตุ = พูดถึงการผสมพันธุ์เป็นการยากสุด เพราะไม่มีข้อมูลถึงพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ นอกจากนี้มักมีการสับสนกับ ปลาช่อนAURANTIMACULATA. หรืออย่างกับปลาช่อน SP." MEGHALAYA LEOPARD" ซึ่งผู้เขียนท่านรายงานว่าคล้ายกันมากในช่วงรุ่นๆ. ในประเทศอังกฤษ บริษัท TOM HALVORSEN LTD.ได้ทำการสั่งปลาชนิดนี้เข้ามาคู่นึง ซึ่งราคาต่อคู่ที่มีการบอกกล่าว สนนราคาอยู่ประมาณ GBP 5,000 ต่อ หนึ่งคู่ ส่วนรายละเอียดว่าราคานี้ได้ไซส์ขนาดไหนไม่มีการบอกกล่าวครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.172: 7 พ.ย. 50, 22:33
สวัสดีครับน้าๆทุกท่าน ที่เคยติดเอาไว้เกี่ยวกับเรื่องราวการผสมข้ามสายพันธฺุ์ระหว่าง CICHLA TEMENSIS.(ธีเมนซีส) กับ CICHLA MONOCULUS.(โมโนคิวลัส).
มีคำถามว่าสกุล " CICHLA" ที่มีถิ่นกำเนิดในตามธรรมชาติจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่นั้น?
เพื่อที่จะพิสูจน์ให้ได้ทางสถาบันเซาเปาโล( SAO PAULO INSTITUTION) ได้ทำการศึกษาโครโมโซมของปลาทั้ง3ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่ถูกนำเสนอว่าเป็นลูกผสม และจะได้จัดทำเป็นรายงานใน THE JOURNAL HEREDITAS.(เป็นวารสารที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการศึกษาการสืบรุ่น ทางด้านชีววิทยา การสืบพันธุ์ของคน สัตว์ และ พืช ฯลฯ).ที่ตีพิมพ์ไปแล้วในปี2004.
ปลาที่ถูกเก็บรวบรวมนำมาจากใจกลางของลุ่มแม่นำอเมซอน อย่างปลาที่เชื่อว่าเป็นลูกผสมเก็บตัวอย่างมาจาก RIO UATUMA. ส่วนTEMENSIS.ได้จาก JAU. นอกจากนี้MONOCULUS.ได้มาจาก SOLIMOES.
และจากผลการตรวจสอบได้แสดงให้เห็นว่า โครโมโซมของปลาทั้ง 3 ชนิดคล้ายคลึงกันกล่าวคือ มีโครโมโซมแบบ ACROCENTRIC. และมีจำนวนโครโมโซมที่เท่ากันคือ 2n=48.ในแต่ละชนิดมีการแชร์กันที่นักวิชาการท่านได้กล่าวถึง NOR( A NUCLEOLAR ORGANISING REGION.)ในส่วนที่เป็นแขนของโครโมโซมในแต่ละชนิดที่เกี่ยวพันกัน.
มีการกล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมที่หาดูได้จาก " KARYOLOGICAL EVIDENCE FOR INTERSPECIFIC HYBRIDIZATION BETWEEN C.MONOCULUS AND C.TEMENSIS (PERCIFORMES , CICHLIDAE.) IN THE AMAZON. HEREDITAS.2004" ครับผม จึงขอจบเอวังด้วยประการละฉะนี้.หากมีการแปลผิดพลาดประการใด รบกวนน้าๆที่มีความรู้ในเรื่องโครโมโซมได้ออกมาชี้แนะเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านในคราวต่อไป จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับผม.
จิรชัย
(970
)
คห.173: 8 พ.ย. 50, 01:46
GYMNOTUS TIGRE.
ชื่อทั่วไป = TIGER KNIFEFISH.(ไทเกอร์-ไนฟว์ฟิช) หรือ MACANA TIGRE.
แหล่งที่พบ = หลักๆคือใน โคลอมเบีย , ลุ่มนำอเมซอนในบราซิล และ เปรู.
ขนาด = มีรายงานบันทึกว่าอาจยาวได้ถึง 45 ซม.
อาหาร = ลูกปลา , ลูกกุ้ง
สภาพแวดล้อม = เป็นปลาที่มีกระแสไฟฟ้าในตัวอีกชนิดนึง ซึ่งอาศัยอยู่ภายใต้สายนำสีชาที่เกือบจะเป็นสีดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่จะมีนิสัยที่ก้าวร้าว.
หมายเหตุ = ในสกุล GYMNOTUS. มีทั้งหมด 26 ชนิด ในกลุ่ม GYMNOTUS CARAPO. (คือที่มีทั้งลาย หรือ แถบ ของสีที่พอจะสังเกตเห็นได้ง่ายที่คล้ายกัน) มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ GYMNOTUS TIGRE , G. CARAPO, G. CHOCO, G.ESMERALDAS, G.HENNI , G.PARAGUENSIS.
ขอบคุณครับที่เข้ามาชม.
จิรชัย
(970
)
คห.174: 8 พ.ย. 50, 02:44
GYMNOTUS CARAPO. ครับผม. ขอบคุณครับน้าcatcrave. ที่นู่นคงจะเป็นช่วงบ่ายๆได้ใช่มั๊ยครับ เพื่อนผมที่อยู่ฟลอริดามันบอกไว้ ขอบคุณที่ให้คำแนะนำที่ดีๆ คือข้อมูลที่ผมได้มาคร่าวๆนะครับเขาว่าเอาไว้ คือส่วนตัวผมก็ต้องการหาข่าวนี้มาอ่านเพิ่มเติมเหมือนกันครับ ทีแรกที่ได้ข่าวตัวนี้มายังคิดว่าครบถ้วนมันกลายเป็นคร่าวๆแทน แต่ไม่ใช่ผมว่านะครับอย่าเข้าใจผมผิด ทั้งในส่วนของ ANADROMUS FISH. คือผมอ่านในรายละเอียดที่น้าโพสท์มาเสริม ยอมรับว่าผิดจริงๆครับ คือ ผิดที่ไม่ละเอียดพอว่าตัวอย่างที่อาจารย์ท่านยกมา ตัวอาจารย์ท่านถ้าได้อ่านคงจะสะดุ้งนิดๆเหมือนผมแหละครับ คือถ้ายกแซลมอนขึ้นมา ตัวอ่อนเค้าเลี้ยงตัวในนำจืด และไปโตในทะเล หลังจากนั้นกลับมาในนำจืดเพื่อวางไข่. สุดท้ายต้องฝากขอบคุณน้าcatcrave. นะครับที่คอยให้ข้อมูลที่กระจ่างขึ้น ผมชอบมากครับ และยินดีอย่างยิ่งครับ ผมพยายามจะทำกระทู้ทั้ง 3 อันให้แยกเป็นหมวดๆไป ตอนนี้ยอมรับตรงๆว่าตั้งแต่ผมหยุดตกปลาและหันมาเลี้ยงปลาสิบหกสิบเจ็ดปีมานี้ จนมาไม่นานช่วงปีสองปีนี้ ผมสนใจปลาไทยมากๆครับ. มันหายไปจนน่าตกใจทีเดียวครับ น้าลองติดตามดูเรื่อยๆครับ. เสียดายครับที่น้าไม่ได้อยู่เมืองไทย ไม่งั้นเราคงมีอะไรคุยกันได้มากกว่านี้ ส่วนตัวคนที่ชอบเลี้ยงปลาอาจจะมองว่าเว็บนี้เป็นเพียงแค่เว็บตกปลา มันก็จริงครับ แต่ก็มีน้าหลายๆท่านที่แสดงให้เห็นแล้วว่าการตกปลาจริงๆก็ตกแบบอนุรักษ์ และ แบบมีความรู้ได้ รู้ที่จะสังเกตว่าธรรมชาติมันเป็น เพราะส่วนนึงที่สมัยก่อนผมได้จากเกมส์ตกปลาคือจะทำอย่างไรที่จะเลียนแบบธรรมชาติได้.นั่นคือผมต้องศึกษาครับ.
จิรชัย
(970
)
คห.175: 10 พ.ย. 50, 23:44
อืมย์! เพิ่งจะนึกขึ้นได้นะครับมีน้าท่านนึงโทรมาคุยกับผมเมื่อ3วันก่อน ผมก็นึกอยู่ตั้งนาน ว่าปลาอะไรนะที่น้าเขาถามผมบอกคล้ายๆไทเกอร์แต่ตัวสว่างหน่อยเห็นแกบอกมาอย่างนั้น ก็เลยนึกได้ สำหรับนักนิยมปลาใหญ่ๆ แต่ขอบอกก่อนนะครับว่าถ้าไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงอย่าเลยครับ อย่างที่เคยๆทำกับ อะราไพม่า หรือ อลิเกเตอร์ สงสารปลาเล็กอื่นๆครับ. ผมเคยดูเว็บผู้จัดการว่ามีนักตกปลาตกอลิเกเดอร์ได้ เชื่อมั๊ยครับ มีคนโพสท์ไปบอกกันอื้อเลยว่าเป็นปลาอะไร? ก็คงจะมีคนไทยบางคนคงคิดว่า เชย ในบ้านผมเจอออกบ่อย. โอเคครับนอกเรื่องอีกแล้ว
SORUBIMICHTHYS PLANICEPS.
ชื่อทั่วไป = ในบ้านเราคนเลี้ยงปลายุคก่อนๆจะเรียกทับศัพท์ไปเลยครับว่า "พลานิเซ็ฑ " สำหรับต่างชาติ เขาจะเรียก " FIREWOOD CATFISH."
<<
<
3
4
5
6
7
>
>>
siamfishing.com © 2024